งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 12

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 12"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 12
รัฐประศาสนศาสตร์กับการมีส่วนร่วม รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 1

2 การมีส่วนร่วมของประชาชน
หมายถึง การให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในกระบวนการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ การวางแผน การดำเนินงาน การใช้ประโยชน์ การประเมินผล

3 ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน
ความสำคัญต่อประชาชน - ประชาชนได้เรียนรู้ - ประชาชนได้รับการพัฒนา - ให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา - ปรับปรุงผลลัพธ์ทางสังคม ความสำคัญต่อการบริหารงานภาครัฐ - งานสำเร็จมากเสียค่าใช้จ่ายน้อย - จนท.มีความใกล้ชิดประชาชน - เสริมแนวทางพัฒนาจากล่างขึ้นบน - สร้างเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน - สร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ

4 แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
Im เห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องคำนึงถึง - การมีส่วนร่วมเกิดที่ใด - ใครมีส่วนร่วม - มีส่วนร่วมเพียงใด - ขนาดชุมชนเป็นอย่างไร - อะไรคืออำนาจหน้าที่ของชุมชน

5 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. การมีส่วนร่วมแบบเฉยเมย ( passive participation) ถูกบอกเล่าว่า มีอะไรเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้น 2. การมีส่วนร่วมในการให้ข่าวสาร ( participation in information giving ) ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตอบคำถาม 3. การมีส่วนร่วมโดยให้คำปรึกษา (participation by consultation ) ประชาชนมีส่วนร่วมโดยถูกปรึกษาและบุคคลภายนอกฟังความเห็น ต่าง 4. การมีส่วนร่วมด้วยสิ่งจูงใจทางวัตถุ (participation for material incentives) ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการให้ทรัพยากรต่าง ๆ 5. การมีส่วนร่วมเชิงหน้าที่ (functional participation) ประชาชนมี ส่วนร่วมโดยก่อตั้งกลุ่มที่ริเริ่มจากภายนอกเพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ 6. การมีส่วนร่วมเชิงปฏิสัมพันธ์ (interactive participation) ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ซึ่งนำไปสู่แผนปฏิบัติการและการ ก่อตั้งสถาบันใหม่ ๆ ในท้องถิ่น 7. การระดมตน (self – mobilization) ประชาชนมีส่วนร่วมโดยไม่ ขึ้นกับสถาบันภายนอก ประชาชนพัฒนาการติดต่อกับภายนอกเพื่อ ทรัพยากรต่าง ๆ และคำแนะนำทางวิชาการที่ตนจำเป็น 8. การเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง ( catalyzing change) เป็นการมี ส่วนร่วมของประชาชนที่สมาชิกในชุมชนมีส่วนผลักดันให้คนอื่น ๆ ใน ชุมชนริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

6 เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารภาครัฐ
Irvin and Stansbury 1. เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของประชาชน - เครื่องชี้วัดค่าใช้จ่ายต่ำ - เครื่องชี้วัดผลประโยชน์สูง 2. เงื่อนไขการไม่มีส่วนร่วมของประชาชน - เครื่องชี้วัดค่าใช้จ่ายสูง - เครื่องชี้วัดผลประโยชน์ต่ำ

7 หลัก 4’s ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. Starting Early 2. Stakeholders 3. Sincerity 4. Suitability

8 แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. แนวทางตามประเพณี/แนวทางดั้งเดิม - องค์กรประชาชน - การพัฒนาชุมชน (Community Development) - ถูกชี้นำโดยโครงการขนาดใหญ่ 2. แนวทางยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง - เพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชนและ ผู้ด้อยโอกาส

9 ตัวแบบการมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research) 2. การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (Methods for Active Participation) 3. การประเมินชนบทแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal) 4. การฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Training for Transformation) 5. การวางแผนและการประเมินผลิตภาพ (Productivity Systems Assessment and Planning) 6. การเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Participation and Learning Method)

10 กระบวนการมีส่วนร่วม 1. ขั้นการออกแบบโครงการ
2. ขั้นการปฏิบัติตามโครงการ 3. ขั้นการประเมินผลโครงการ

11 ความเชื่อ 14 ประการ ของการมีส่วนร่วมของประชาชน (James Yen)
1. ไปหาประชาชน (Go to the people) 2. อยู่ร่วมกับประชาชน (Live among the people) 3. เรียนรู้จากประชาชน (Learn from the people) 4. วางแผนกับประชาชน (Plan with the people) 5. ทำงานกับประชาชน (Work with the people) 6. เริ่มจากสิ่งที่ประชาชนรู้ (Start with what the people know) 7. สร้างจากสิ่งที่ประชาชนมี (Build on what the people have) 8. สอนโดยการทำให้ดู (Teach by showing)

12 ความเชื่อ 14 ประการ ของการมีส่วนร่วมของประชาชน (James Yen)
9. เรียนรู้จากการกระทำ (Learning by doing) 10. ไม่ใช่แสดงโอ้อวด แต่ทำเป็นแบบแผน (Not a show case but a pattern) 11. ไม่ใช่ทำเล็กๆน้อยๆ แต่ทำเป็นระบบ (Not odds and ends but a system) 12. ไม่ใช่ทำทีละชิ้น แต่ทำแบบผสมผสาน (Not piecemeal but integrated approach) 13. ไม่ยอมตาม แต่เปลี่ยนแปลง (Not a conform but to transform) 14. ไม่สงเคราะห์ แต่ปลดปล่อย (Not relief but release)

13 แนวคิดพื้นฐานของ ระบบการมีส่วนร่วมในภาครัฐ
1. ตอบสนองความคาดหวังกลุ่มเป้าหมาย 2. ระบบเครือข่ายในการทำงาน 3. สร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วม 4. สนับสนุนและช่วยเหลือการทำกิจกรรมใน ด้านต่างๆ 5. กำหนดระดับการมีส่วนร่วม 6. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

14 ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ ) : 1. วิสัยทัศน์ สร้างระบบราชการที่กระบวนการบริหารราชการที่เป็น ประชาธิปไตย ซึ่งยอมรับและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงานเป็นหุ้นส่วนเครือข่ายและร่วม ตรวจสอบผลการดำเนินงาน 2. พันธกิจ ส่งเสริมและกำหนดมาตรการเพื่อการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหาร ราชการและปรับกระบวนทัศน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐให้ยอมรับและเข้าใจระบบ บริหารราชการในระบบเปิด เพื่อที่การบริหารราชการและการให้บริการ สาธารณะจะนำไปสู่การบริหารราชการที่เอ้อประโยขน์สุขของประชาชน 3. มาตรการการเปิดระบบราชการ -กำหนดเงื่อนไขและแนวทางเพื่อส่งเสริม -วางหลักเกณฑ์ให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มี ระบบปรึกษาหารือกับประชาชน -จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน (Citizen Advisory Board) -จัดให้มีอาสาสมัครภาคประชาชน -นำเสนอข้อมูลสารสนเทศให้ประชาชนทราบผลงาน -กำหนดให้การมีส่วนร่วมเป็นตัวชี้วัดหนึ่ง


ดาวน์โหลด ppt 33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 12

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google