งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น

2 การเจริญเติบโตในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นการเจริญเติบโตในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกันชัดเจน เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ

3 ในเพศหญิง เริ่มมี growth spurt (โตอย่างรวดเร็ว) อายุ 11 ปี ความสูงเพิ่มขึ้น 7 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 14 – 15 ปี ความสูงลดลงเหลือเพียง 0.5 – 1 ซม./ปี ความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงไทยขณะมีประจำเดือนครั้งแรก คือ ซม. และสูงเต็มที่วัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6.2 ซม.

4 ในเพศชาย เริ่มมีความสูงอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น 6 ซม./ปี อายุ 14 ปี เริ่มมีการเพิ่มความสูงมากที่สุด 8 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงช้าลง อายุ 17 – 18 ปี ความสูงของคนไทย โดยเฉลี่ย 169.6 ซม.

5 ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของคนเรา

6 กรรมพันธุ์ รูปร่างของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นตัวกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของลูกหลาน

7 ภาวะโภชนาการ อาหารมีผลต่อความแข็งแรงของ
กระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ซึ่งกระดูกจะมีการพอกพูนให้มีความแข็งแกร่งได้ ต่างจากในช่วงวัยอื่น ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่อย่างพอเพียง สารอาหารที่สำคัญในการทำให้กระดูกแข็งแรง ก็คือแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย ที่กินได้ทั้งก้าง กุ้งแห้ง ผักที่มีสีเขียว เข้มๆ ถั่วเหลือง และงา เป็นต้น

8 ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือ - Growth hormone จากการที่ฮอร์โมนตัวนี้ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าว คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้จะมี รูปร่างเตี้ยเล็กกว่าปกติ - Thyroid hormone ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสร้างจากต่อมไทรอยด์ ก็มีผลต่อสมอง และความสูงอย่างมาก ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ มักจะมีพัฒนาการช้าและเตี้ย

9 Sex hormone ฮอร์โมนเพศก็สำคัญเช่นกัน
หากเด็กเป็นสาวเป็นหนุ่มเร็ว จะส่งผลให้กระดูกปิดเร็ว และค่อยๆ หยุดเจริญเติบโตในที่สุด พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สูง ส่วนมากเด็กหญิงที่มีประจำเดือนแล้ว 3 ปี และเด็กชายที่เสียงแตกมาแล้ว 3 ปี มักจะหยุดโตและหมดโอกาสที่จะสูงได้อีก นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนบางชนิดก็อาจทำให้เด็กเตี้ยได้ ได้แก่ การมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป เด็กจะมีรูปร่างอ้วนเตี้ย

10 การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย
จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งgrowth hormone ได้เหมือนกัน และยัง กระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างเนื้อกระดูกดึง แคลเซียมจากเลือดมาสร้างกระดูก และ สร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกด้วย นอกจากนี้การได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงในตอนเช้าหรือเย็น จะช่วยให้มีการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้ คนที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ พัฒนาการของกระดูกจะช้ากว่าคนที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

11 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้สนิทและนานพอ จะทำให้ร่างกายหลั่ง growth hormone ออกมาได้อย่างเต็มที่ และพบว่าควรนอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่ง growth hormone ออกมาได้สูงสุด การนอนดึกมีผลทำให้ hormone หลั่งออกมาน้อย และมีผลต่อความสูงได้ ในอนาคต

12 สุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยบ่อยๆ จะทำให้การเติบโตหยุดชะงัก การใช้ยาบางชนิดก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นตัวบั่นทอนการเจริญเติบโตได้เช่นกัน

13 หลายคนมาที่นึกอยากสูงขึ้น เมื่ออายุเลยวัยรุ่น
ไปแล้ว จึงไม่สามารถจะทำได้ เพราะกระดูกได้ ปิดไปแล้ว การที่จะฉีดกระตุ้น Growth hormone ในขณะที่ระดับฮอร์โมนตัวนี้ในร่างกายปกติ จะก่อให้เกิดผลเสียเพราะมีผลกระทบต่อฮอร์โมนตัวอื่นๆ ในร่างกายให้ผิดปกติได้ และก็จะมีผลต่อระบบความดันโลหิตและหัวใจ ดังนั้น คนที่ยังอยู่ในวัยที่สร้างความสูงได้ ควรใส่ใจกับการสร้างความสูงและความแข็งแรงของกระดูกเสียตั้งแต่วัยเด็ก ดังปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก่อนจะสายเกินไป

14 ภายใน 2 เดือน น้ำหนัก ตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนสูง เพิ่มขึ้น
ส่วนสูง เพิ่มขึ้น สมรรถภาพ ดีขึ้น


ดาวน์โหลด ppt การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google