งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม Radiation therapy for breast cancer

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม Radiation therapy for breast cancer"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม Radiation therapy for breast cancer
พ.ญ. อรวรรณ คำเจริญคุณ

2 ช่วงเวลาของการรักษาด้วยรังสีรักษา
การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา

3 รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
รังสีพลังงานสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งหรือป้องกันเซลล์มะเร็งเติบโตมี 2วิธี การฉายแสงภายนอก (Teletherapy)  เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีพลังงาน สูงส่งรังสีไปยังบริเวณก้อนเนื้องอก ผนังหน้าอก หรือต่อมน้ำเหลือง การฝังแร่ (Brachytherapy) เป็นการใช้สารกัมมันตรังสีติดกับอุปกรณ์บาง ชนิด เช่น เข็ม, ลวด จากนั้นนำไปวางไว้ในบริเวณที่เป็นเนื้องอกหรือบริเวณ ข้างเคียง

4 ข้อบ่งชี้ของการใช้รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
หลังการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (breast conservative surgery) ทุกราย หลังการผ่าตัด MRM ในรายต่อไปนี้ ขนาดก้อนมะเร็ง >5 ซม ลุกลามเข้าผิวหนังหรือผนังหน้าอก (invade skin or chest wall) ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกไม่หมด (close or positive margin) กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง≥4 ต่อม (LN involve≥4,adequate LN dissecsion ≥10 nodes) กระจายออกนอกต่อมน้ำเหลือง (perinodal extension)

5 การฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
เริ่มฉายหลังได้รับการผ่าตัดและตามหลังการให้เคมีบำบัดประมาณ3-4 สัปดาห์ ฉายรังสีวันละ 1ครั้ง สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนราบ ศีรษะและไหล่อยู่บนกระดานสามเหลี่ยมรูปลิ่ม ฉายครอบคลุมบริเวณเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอในบางราย

6 ห้องจำลองการฉายรังสี

7 เครื่องฉายรังสี

8 ขอบเขตของการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

9 ขอบเขตของการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

10 การฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ภาพจาก Dr. Pittaya Dankulchai, Siriraj hospital, Mahidol University

11 การปฏิบัติตัวระหว่างฉายรังสี
ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ เนื้อผ้าอ่อนนุ่ม ควรเป็นเสื้อผ่าหน้า หลีกเลี่ยงการใส่ เสื้อชั้นในที่รัดหรือคับเกินไป เสื้อยกทรงควรงดโดยเด็ดขาด ห้ามลบเส้นบริเวณที่ฉายรังสีที่แพทย์ขีดไว้ และห้ามขีดเส้นที่เลือนใหม่ด้วย ตัวเอง ผิวหนังอาจมีสีแดง แห้งตึง เกิดอาการคัน ดำคล้ำ และตกสะเก็ด หรือแตก เป็นแผล ห้ามถู แกะ เกา ควรตัดเล็บ ให้สั้นเพื่อป้องกันการแกะเกา อาบน้ำได้ บริเวณที่ฉายรังสี ให้น้ำผ่านได้ ห้ามถูสบู่ และควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่ อ่อนนุ่มซับให้แห้งทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการขัดถู หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด หรือการสัมผัสบริเวณที่ฉายรังสีโดยตรงกับ ความร้อนหรือความเย็น ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ

12 การปฏิบัติตัวระหว่างฉายรังสี
ห้ามทาแป้งฝุ่น เพราะแป้งฝุ่นอาจมีส่วนผสมของโลหะหนัก ทำให้ระคาย เคือง ผิวดำคล้ำมากขึ้น บริเวณรักแร้ควรหลีกเลี่ยงการเสียดสี เวลาเดินควรเดินกางแขนหรือเดินเท้า เอว พยายามเปิดรักแร้ อย่าให้อับชื้น ควรเปิดให้ลมโกรกหรือใช้พัดลมเป่า ห้ามทายา และครีมทุกชนิดในบริเวณที่ฉายรังสียกเว้นแพทย์สั่ง ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หากมีแผลจะแห้งและหายเป็นปกติได้ภายใน 1 สัปดาห์

13 การปฏิบัติตัวทั่วไประหว่างการฉายรังสี
ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม และไข่ เพราะระหว่างการรักษาร่างกายต้องการโปรตีนสูง ควรดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร (8-10แก้ว) ควรงดดื่ม น้ำชา กาแฟ เหล้า เบียร์ งดสูบบุหรี่ ควรบริหารเพื่อป้องกันข้อไหล่ยึดติดและแขนบวม ต้องปฏิบัติสม่ำเสมอ ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตแต่ห้ามหักโหมเพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้

14 การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม

15 การผ่าตัดแบบMRM

16 ภาวะแทรกซ้อนระหว่างฉายรังสี
สีผิวเข้มขึ้น แห้งเป็นขุยหรืออาจเป็นแผล อาจมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน อาจมีอาการเจ็บคอในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณต่อมน้ำเหลือง อ่อนเพลีย

17 Erythematous changes

18 Dry desquamation

19 Dry desquamation

20 Moist desquamation

21 ภาวะแทรกซ้อนหลังการฉายรังสี
แขนบวม (arm lymphedema) Skin telangiectasia Subcutaneous fibrosis Lung pneumonitis/fibrosis Cardiac toxicity Brachail plexus injury Shoulder stiffness Fracture rib Secondary malignancy (<0.03%)

22 Telangiectasia

23 Arm lymphedema

24 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม Radiation therapy for breast cancer

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google