งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยเรียนที่ 1 เบื้องต้นกับจรรยาบรรณวิศวกร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยเรียนที่ 1 เบื้องต้นกับจรรยาบรรณวิศวกร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยเรียนที่ 1 เบื้องต้นกับจรรยาบรรณวิศวกร
แนวคิด งานทางด้านวิศวกรรมโยธา เกี่ยวข้องอย่างมากกับความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิศวกร จะช่วยป้องกันความผิดพลาดดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝัง จรรยาบรรณวิศวกร ไว้ในใจของผู้เรียน

2 ประวัติของจรรยาบรรณวิศวกร
เป็นที่ทราบกันทั่วไป สำหรับผู้เรียนและผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมว่า ปัจจุบันจรรยาบรรณวิศวกร ประกอบด้วย 15 ข้อได้แก่ ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำทุกอย่างตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือใช้ผลประโยชน์แก่บุคคลใด เพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับงาน หรือไม่ได้รับงาน ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบจากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณาซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่หรือสำนักงานของผู้นั้น) ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ (8) ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร

3 (9) ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในงานที่ตนไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง (10) ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง (11) ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น (12) ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงาน หรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว (13) ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อเป็นการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรกและได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว (14) ไม่ใช้ หรือคัดลอกรูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น (15) ไม่กระทำการใดๆโดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

4 หรือที่หลายๆ คนท่องจำกันแบบกระชับ ว่า
(1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (2) ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ (3) ซื่อสัตย์สุจริต (4) ไม่ใช้อิทธิพล (5) ไม่รับทรัพย์สินโดยมิชอบ (6) ไม่โฆษณาเกินจริง (7) ไม่ทำงานเกินความสามารถ (8) ไม่ละทิ้งงาน (9) ไม่ลงลายมือชื่องานที่ไม่ได้ทำ (10) ไม่เปิดเผยความลับ (11) ไม่แย่งงาน (12) ไม่ทำงานชิ้นเดียวกับผู้อื่น (13) ไม่รับทำงานชิ้นเดียวกันให้กับ ผู้ว่าจ้างรายอื่น (14) ไม่คัดลอกงานคนอื่น (15) ไม่จงใจทำให้ผู้ร่วมอาชีพเสื่อมเสีย แต่ละหัวข้อมีความสำคัญ และรายละเอียดปลีกย่อย แตกต่างกัน

5 แต่ตอนนี้อยากจะแนะนำประวัติและที่มาของจรรยาบรรณเหล่านี้ ให้ท่านฟัง เป็นเกร็ดความรู้ สักเล็กน้อย
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ กลุ่มนายช่างชาวไทยและต่างประเทศที่ประกอบอาชีพทางช่าง ได้พยายามก่อตั้งสมาคมทางการช่างขึ้น แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตลอด เพราะการช่างในสมัยนั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และยังไม่เห็นความจำเป็น การบริหารงานของสมาคมนี้จึงได้ยุติลงในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ นักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งที่ได้ไปศึกษาวิชาการก่อสร้างที่ประเทศอังกฤษและกลับมาทำงานในประเทศไทย ได้เริ่มรวมตัวฟื้นฟูสมาคมสำหรับผู้ประกอบอาชีพทางช่างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในปีนี้เอง ก็ได้จดทะเบียนก่อตั้ง สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ นายช่างที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งสมาคมวิศวกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการร่วมมือทางวิชาชีพวิศวกรรมในหมู่สมาชิกด้วยกัน

6 เมื่อเวลาผ่านไปสมาชิกของ สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม ได้ลดลงมาก เพราะต่างก็เกษียณราชการไปเป็นส่วนมาก ขณะที่ สมาคมวิศวกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงเกิดแนวความคิดที่จะรวมสองสมาคมเป็นสมาคมเดียวกัน โดยรัฐบาลในสมัยนั้นเองก็มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมอาชีพวิศวกรรมให้เจริญเป็นปึกแผ่น จึงได้มีข้อตกลงที่ให้ต่างฝ่ายต่างเลิกสมาคมของตนและมารวมกันตั้งเป็นสมาคมใหม่คือ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งก่อตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ และได้โปรดเกล้าฯ ให้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ เป็นต้นมา สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง รวมทั้งหมด 27 คน โดยงานแรกที่ได้รับมอบหมายคือการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม

7 พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ขึ้น
ในประเทศไทย กฎหมายสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับอาชีพวิศวกร เริ่มประกาศใช้ครั้งแรก คือพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม ซึ่ง วสท. เป็นผู้จัดทำร่างและเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ จนประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ เกิดเป็น พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ ขึ้น โดยมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ใช้อำนาจผ่าน กองงานคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม (กองงาน ก.ว.และ ก.ส.) ทำหน้าที่ดูแล กำกับ การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ทั่วประเทศ อาทิเช่น การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การออกข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 2 ครั้งได้แก่ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520 ซึ่งกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. วิชาชีพวิศวกรรม ดังกล่าวในการประกาศใช้กฎกระทรวงเป็นลำดับมา รวม 8 ฉบับ ดังนี้

8 (1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (ข้อ 1 ในปัจจุบัน)
กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (จอมพล ป.จารุเสถียร) กำหนด มารยาทแห่งวิชาชีพวิศวกรรม 10 ข้อ (อาจเขียนย่อได้ดังนี้) (1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (ข้อ 1 ในปัจจุบัน) (6) ไม่โฆษณาเกินจริง (ข้อ 6 ในปัจจุบัน) (3) ซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ ไม่ละทิ้งงาน (ข้อ 3, 2 และ 8 ในปัจจุบัน) (4) ไม่รับทำงานชิ้นเดียวกันให้กับผู้ว่าจ้างรายอื่น (ข้อ 13 ในปัจจุบัน) (5) ไม่ทำงานชิ้นเดียวกับผู้อื่น (ข้อ 12 ในปัจจุบัน) (6) ไม่แย่งงาน (ข้อ 11 ในปัจจุบัน) (7) ไม่ใช้อิทธิพล (ข้อ 4 ในปัจจุบัน) (8) ไม่เปิดเผยความลับและไม่คัดลอกงานคนอื่น (ข้อ 10, 14 ในปัจจุบัน) (9) ไม่จงใจทำให้ผู้ร่วมอาชีพเสื่อมเสีย (ข้อ 15 ในปัจจุบัน) (10) ไม่รับทรัพย์สินโดยมิชอบ (ข้อ 5 ในปัจจุบัน) ในตอนนั้นยังไม่มี ข้อ 7 และ 9 ในปัจจุบัน ได้แก่ ไม่ทำงานเกินความสามารถ และไม่ลงลายมือชื่องานที่ไม่ได้ทำ

9 ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร ทำใบอนุญาต 100 150 200 ต่ออายุ 50 75
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (จอมพล ป.จารุเสถียร) กำหนด อัตราค่าทำใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ค่าต่ออายุบัตร เป็นต้น ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร ทำใบอนุญาต 100 150 200 ต่ออายุ 50 75 ออกใบแทน 10

10 กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ประกาศเมื่อปี พ. ศ. 2508 โดย รมว. มหาดไทย (จอมพล ป
กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (จอมพล ป.จารุเสถียร) กำหนดงานทางวิศวกรรม สาขา แขนงและขนาด ใดบ้าง เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา แบ่งเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ งานออกแบบและคำนวณ หมายถึงการใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมโยธา เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง โดยแสดงเป็นแบบรูป ข้อกำหนด และประมาณการ งานควบคุมการก่อสร้าง หมายถึงการอำนวยการ ควบคุม ดูแลการก่อสร้างในสาขาวิศวกรรมโยธา ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบรูป และข้อกำหนด งานพิจารณาตรวจสอบ หมายถึงการค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ การหาข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัย งานในสาขาวิศวกรรมโยธา งานวางโครงการก่อสร้าง หมายถึงการวางแผนผังหรือการวางแผนงานการก่อสร้างในสาขาวิศวกรรมโยธา งานให้คำปรึกษา หมายถึงการให้ข้อแนะนำ และหรือการตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ข้อ (1) (2) (3) และ (4) ข้างต้น

11 โดยแบ่งลักษณะและขนาดของสิ่งก่อสร้างเป็น 17 ประเภท ดังนี้
อาคารตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างห่างจากทางสาธารณะไม่เกิน 14 เมตร โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าเพลาขึ้นไป อาคารถาวรที่ใช้เป็นอาคารสาธารณะ หรือเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลจำนวนมาก เช่นโรงมหรสพ โรงเรียน โรงแรม ภัตตาคาร หอประชุม หอสมุด อาคารแบบแฟลต หรืออาคารแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน สะพานที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อช่วงใดช่วงหนึ่งยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ท่าสำหรับเทียบเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป อู่เรือหรือคานเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป เขื่อนกั้นน้ำที่ต้องรับความดันของน้ำหลังเขื่อนที่มีความลึกตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป กำแพงกันดินที่ต้องรับความดันของดินหลังกำแพงที่มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป โครงสร้างสำหรับรองรับถังน้ำ ถังน้ำมัน หรือเสาที่ใช้ในการส่งวิทยุหรือโทรทัศน์ หรือใช้ในการอื่นใด ที่มีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เว้นแต่โครงสร้างชั่วคราว ปล่องไฟ หรือเสาที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ และมีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เว้นแต่ที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ชั่วคราว

12 (11) ถังเก็บของไหล เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำมันที่มีความจุ ตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป
ทางรถไฟ หรือทางรถราง ที่มีความยาวตั้งแต่ 10 กิโลเมตร ขึ้นไป ทางประเภท ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง สนามบิน ทางวิ่ง หรือลานจอดเครื่องบิน อุโมงค์สาธารณะ สระว่ายน้ำสาธารณะ งานผลิตน้ำประปาสำหรับประชาชน ที่มีปริมาณการผลิตตั้งแต่ 1000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป

13 กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ประกาศเมื่อปี พ. ศ. 2508 โดย รมว. มหาดไทย (จอมพล ป
กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (จอมพล ป.จารุเสถียร) กำหนดขอบข่ายงานของ ภาคี สามัญ และวุฒิวิศวกร ดังนี้

14 ต่ออายุ (ก่อนหมดอายุ) (หลังหมดอายุ)
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (จอมพล ป.จารุเสถียร) กำหนดลักษณะบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎกระทรวงฉบับที่ 6 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (นายสมัคร สุนทรเวช) ปรับปรุงขอบข่ายงาน ของวิศวกรรมไฟฟ้า (ภาคี สามัญ และวุฒิวิศวกร) กฎกระทรวงฉบับที่ 7 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวิญญู อังคนารักษ์) เป็นผู้ใช้อำนาจของ รมว.มหาดไทย ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวมทั้งการสอบวัดระดับ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร ทำใบอนุญาต 160 240 320 (960 ตลอดชีพ) ต่ออายุ (ก่อนหมดอายุ) (หลังหมดอายุ) 80 160 ออกใบแทน 20 ทดสอบความรู้ 320

15 (1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (2) ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ (3) ซื่อสัตย์สุจริต
กฎกระทรวงฉบับที่ 8 ประกาศเมื่อปี พ.ศ โดย รมว.มหาดไทย (พลเอก สิทธิ จิรโรจน์) ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 1 และกำหนดมารยาทแห่งวิชาชีพวิศวกรรม 15 ข้อ ดังอาจสรุปย่อได้ดังนี้ (1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (2) ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ (3) ซื่อสัตย์สุจริต (4) ไม่ใช้อิทธิพล (5) ไม่รับทรัพย์สินโดยมิชอบ (6) ไม่โฆษณาเกินจริง (7) ไม่ทำงานเกินความสามารถ (8) ไม่ละทิ้งงาน (9) ไม่ลงลายมือชื่องานที่ไม่ได้ทำ (10) ไม่เปิดเผยความลับ (11) ไม่แย่งงาน (12) ไม่ทำงานชิ้นเดียวกับผู้อื่น (13) ไม่รับทำงานชิ้นเดียวกันให้กับ ผู้ว่าจ้างรายอื่น (14) ไม่คัดลอกงานคนอื่น (15) ไม่จงใจทำให้ผู้ร่วมอาชีพเสื่อมเสีย

16 ต่อมารัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิศวกร พ. ศ
ต่อมารัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ (ฉบับปัจจุบัน) โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรมทั้ง 3 ฉบับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ใน พรบ. วิศวกร 2542 นี้ กำหนดให้มี สภาวิศวกร ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ในหมู่วิศวกรทั่วประเทศ ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบอาชีพวิศวกรรมควบคุม แทน กองงาน ก.ว.และ ก.ส. ซึ่งสังกัดสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจ จากกระทรวงมหาดไทย มาสู่ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมทั่วประเทศ เพื่อให้ดูแลกันเองเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ กองงาน ก.ว. และ ก.ส. เดิม ได้รวมเข้ากับ กองนิติการ ตั้งขึ้นเป็น สำนักกฎหมาย สังกัดสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (มีระดับสูงขึ้นกว่าระดับกอง) และแบ่งการบริหารเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานคดีและนิติกรรมสัญญา กลุ่มงานร่างกฎหมาย กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย และกลุ่มงานบริหารทั่วไป (ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลควบคุม วิศวกร และสถาปนิก เช่นในอดีต อีกต่อไป) เมื่อ สภาวิศวกร ได้จัดตั้ง สำเร็จแล้ว สภาวิศวกร ได้ประกาศให้มี จรรยาบรรณวิศวกร 15 ข้อโดยยกมาจาก มารยาทแห่งวิชาชีพ เดิม และถือใช้เป็น จรรยาบรรณวิศวกร มาจนปัจจุบัน (ประกาศสภาวิศวกร 2543)

17 อย่างไรก็ตาม วสท. ได้มีการประกาศจรรยาบรรณวิศวกรต่อสมาชิกของสมาคม (จำนวน 8 ข้อ) มานานแล้ว ดังนี้
1. วิศวกรต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อสวัสดิภาพสุขภาพ และความปลอดภัยของสาธารณชน และต่อสิ่งแวดล้อม 2. วิศวกรต้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความซื่อสัตย์จริง 3. วิศวกรต้องดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศและศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม 4. วิศวกรต้องปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความรู้ความสามารถเพียงพอเท่านั้น 5. วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงานและต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม 6. วิศวกรต้องรับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน 7. วิศวกรต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพของตน เพื่อประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าซึ่งตนปฏิบัติงานให้เหมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ 8. วิศวกรต้องพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบอาชีพ

18 และ วสท. ยังได้ประกาศ คำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อ ดังนี้
ข้าพเจ้า คือ วิศวกร 1. ข้าพเจ้า มีความภูมิใจอย่างยิ่งกับอาชีพของข้าฯ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะความอหังการ ข้าพเจ้า มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามโดยดุษฎี ซึ่งข้าฯเองก็กระหายใคร่จะปฏิบัติอยู่แล้ว 2. ในฐานะที่เป็นวิศวกร ข้าพเจ้า จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในงานที่สุจริตเท่านั้น ผู้ใดก็ตามที่มารับบริการจากข้าฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้จ้าง หรือลูกค้าของข้าฯก็ตาม เขาย่อมได้รับบริการที่ดีที่สุด ด้วยความซื่อตรงเที่ยงธรรมอย่างที่สุด 3. เมื่อถึงคราวที่จำเป็น ข้าพเจ้า จะทุ่มเทความรู้และทักษะของข้าฯให้แก่กิจการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะอย่างเต็มกำลัง เพราะใครคนใดมีความสามารถพิเศษด้านใด เขาคนนั้นย่อมมีพันธกรณีที่จะต้องใช้ความสามารถด้านนั้นอย่างดี เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ข้าฯขอรับความท้าทายตามนัยนี้ 4. ด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิแห่งงานอาชีพของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า จะพยายามปกป้องผลประโยชน์และชื่อเสียงของวิศวกรทุกคนที่ข้าฯ รู้ดีว่าสมควรจะได้รับความปกป้องคุ้มครอง พร้อมกันนี้ข้าฯ ก็จะไม่หลบเลี่ยงภาระหน้าที่ที่จะต้องเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับบุคคลใดก็ตามที่ได้กระทำผิดทำนองคลองธรรม ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะอยู่ในวงงานอาชีพวิศวกรรมได้

19 5. ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก็เพราะอัจฉริยภาพของบรรพชนในวงงานอาชีพของข้าพเจ้า ท่านเหล่านั้นได้นำทรัพยากรวัสดุและพลังงานมากมายในธรรมชาติ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หลักการทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางเทคโนโลยีที่ได้พัฒนา และนำมาปฏิบัติตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เป็นผลงานของบรรพชนทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าปราศจากมรกดตกทอดที่เป็นประสบการณ์สั่งสมเหล่านี้ ผลงานจากความเพียรพยายามข้องข้าพเจ้า ก็คงจะต่ำต้อยด้อยคุณค่าลงไปมาก ข้าพเจ้า จึงขออุทิศตนเพื่อการเผยแพร่ความรู้ทางวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแนะนำสั่งสอน ให้สมาชิกรุ่นหลังๆ ในวงงานอาชีพของข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงศิลปะและขนบธรรมเนียมประเพณีทุกอย่างในงานอาชีพนี้ 6. ข้าฯขอให้คำมั่นสัญญาต่อเพื่อนร่วมอาชีพของข้าพเจ้า อย่างแข็งขัน เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าเรียกร้องจากพวกเขาว่า ข้าพเจ้าจะดำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม ความอดทนและความเคารพต่อผู้อื่นอีกทั้งการอุทิศตนเพื่อมาตรฐานและศักดิ์ศรีแห่งอาชีพวิศวกรรมของเรา ทั้งนี้ด้วยการระลึกอยู่เสมอว่าความเชี่ยวชาญพิเศษของพวกเราที่เป็นวิศวกรนั้น มีมาพร้อมกับพันธกรณีที่จะต้องรับใช้มนุษยชาติ ด้วยความจริงใจถึงที่สุด

20 มาถึงตรงนี้อาจมีคำถามเกิดขึ้นได้ เช่น
เราสามารถสังเกตได้ว่า จรรยาบรรณวิศวกร 8 ข้อของ วสท. นั้นมีเนื้อหาแตกต่าง แต่เจตนารมณ์ ใกล้เคียงกับ มรรยาทแห่งวิชาชีพ 15 ข้อเดิมที่ สภาวิศวกร ประกาศใช้เป็นจรรยาบรรณวิศวกร ในปัจจุบัน มาถึงตรงนี้อาจมีคำถามเกิดขึ้นได้ เช่น - ทำไม มารยาทแห่งวิชาชีพ ที่รัฐประกาศใช้มาเกือบ 40 ปี (ตั้งแต่ พศ. 2508) จึงกลายเป็น จรรยาบรรณวิศวกร ได้ ? - เราควรที่จะยึดตามจรรยาบรรณ 8 ข้อหรือ 15 ข้อ ดี ? - วิศวกรต่างประเทศมีจรรยาบรรณหรือไม่ มีกี่ข้อ อะไรบ้าง ? - อนาคต สภาวิศวกร จะประกาศ จรรยาบรรณวิศวกร ฉบับใหม่อีกหรือไม่ ? - คำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อของ วสท. จะใช้เป็นจรรยาบรรณได้หรือไม่ ? - จรรยาบรรณวิศวกรที่แท้จริงแล้วคืออะไร ? ฯลฯ

21 ทำไม มารยาทแห่งวิชาชีพ ที่รัฐประกาศใช้มาเกือบ 40 ปี (ตั้งแต่ พศ
ทำไม มารยาทแห่งวิชาชีพ ที่รัฐประกาศใช้มาเกือบ 40 ปี (ตั้งแต่ พศ. 2508) จึงกลายเป็น จรรยาบรรณวิศวกร ได้ ? ตอบ เพราะ พรบ.วิศวกร พ.ศ ระบุไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 80 ว่าในระหว่างที่สภาวิศวกรยังไม่ประกาศให้มีจรรยาบรรณวิศวกร ผู้ที่กระทำผิดมารยาทแห่งวิชาชีพ ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2529) ถือว่าทำผิดจรรยาบรรณวิศวกรใน พรบ.วิศวกร พ.ศ ด้วย และ ในปีถัดมา (พ.ศ. 2543) สภาวิศวกร ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ได้ประกาศจรรยาบรรณวิศวกรขึ้น โดยใช้มารยาทแห่งวิชาชีพดังกล่าว เราควรที่จะยึดตามจรรยาบรรณ 8 ข้อหรือ 15 ข้อ ดี ? ตอบ จรรยาบรรณ 15 ข้อที่ประกาศโดย สภาวิศวกร มีผลทางกฎหมาย หากมีการทำผิดจรรยาบรรณ และมีผู้ร้องเรียน จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ ขึ้นสอบสวน และหากพบว่ามีความผิดจริง ก็จะมีการลงโทษ ตามระดับ เช่น ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้หรือยกเลิกใบอนุญาต เป็นต้น ส่วน จรรยาบรรณ 8 ข้อของ วสท นั้นเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ และหากเราทำตามจรรยาบรรณ 8 ข้อแล้วก็ไม่น่าจะมีความผิดเกิดขึ้น (หมายความว่าน่าจะครอบคลุม จรรยาบรรณ 15 ข้ออยู่แล้ว)

22 - วิศวกรต่างประเทศมีจรรยาบรรณหรือไม่ มีกี่ข้อ อะไรบ้าง ?
ตอบ วิศวกรทุกที่ มีจรรยาบรรณ อาจมีจำนวนข้อไม่เท่ากัน และรายละเอียดก็น่าจะแตกต่างกัน บางแห่งอาจไม่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เลยเสียด้วยซ้ำ - อนาคต สภาวิศวกร จะประกาศ จรรยาบรรณวิศวกร ฉบับใหม่อีกหรือไม่ ? ตอบ ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง ขนาดรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศยังแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมได้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จรรยาบรรณวิศวกร อาจได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกว่าเดิมได้เช่นกัน - คำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อของ วสท. จะใช้เป็นจรรยาบรรณได้หรือไม่ ? ตอบ เช่นเดียวกับจรรยาบรรณ 8 ข้อของ วสท. ถ้าทำตามคำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อดังกล่าวได้ก็น่าจะคลอบคลุมจรรยาบรรณ 15 ข้อเช่นกัน - จรรยาบรรณวิศวกรที่แท้จริงแล้วคืออะไร ? ตอบ เป็นคำถามที่น่าคิด พวกเราควรช่วยกันหาคำตอบว่า จรรยาบรรณวิศวกร แท้จริงแล้วคืออะไร วิศวกรแต่ละแห่ง แต่ละที่ ล้วนประกาศออกมาแตกต่างกัน (จะเป็นของจริงเหมือนกันทุกที่ หรือจริงบางที่ หรือเป็นของปลอมหมดกันแน่)

23 นิทาน พระหนุ่ม ได้มาถามปัญหาธรรมะกับพระผู้เฒ่าว่า
ศีลข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ 227 ข้อ มีความละเอียดมาก ปฏิบัติตามได้ยาก จะทำอย่างไรดี พระผู้เฒ่าก็ตอบว่าถ้าอย่างนั้นท่านจงรักษาศีลเพียง 3 ข้อเถิด พระหนุ่ม จึงถามว่า ศีล 3 ข้อนั้นคืออะไร กระผมยินดีปฏิบัติตาม พระผู้เฒ่าว่า รักษา กาย วาจาและใจ ให้บริสุทธิ์ พระหนุ่มปฏิบัติตามด้วยความเคร่งครัด ต่อมาไม่นานจึงบรรลุธรรม เราจะเห็นว่า จำนวนข้อห้ามนั้นไม่สำคัญเท่ากับ หัวใจของศีล

24 เรื่องจากพระไตรปิฎก หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ศีล 227 ข้อของพระสงฆ์ นั้น เกิดขึ้นจากการบัญญัติของพระพุทธเจ้าเป็นลำดับมาตลอดระยะเวลา 45 พรรษาแห่งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จนมีคนกล่าวกันเล่นๆ ว่าหากพระพุทธองค์ยังมีชีวิตอยู่จนถึงบัดนี้ ศีลของพระสงฆ์คงจะมีมากขึ้นอีกหลายร้อยข้อ และอาจมีศีลบางข้อที่ปรับปรุงหรือยกเลิกไปบ้าง ก็เป็นได้ ในขณะที่หลักปฏิบัติสำคัญของศาสนาได้แสดงไว้ในโอวาทปาติโมกข์ (ทรงแสดงในพรรษาแรกของพระพุทธองค์คือ 8 เดือนหลังการตรัสรู้) อย่างที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันบ่อยๆว่า 1. การไม่ทำบาปทั้งปวง 2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตให้บริสุทธิ์ หลัก 3 ประการนี้สมบูรณ์ในตัวเอง เป็นจริงตลอดไป ไม่ต้องปรับปรุงอีก จัดว่าเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา

25 จากทั้ง 2 เรื่องที่แสดงไปสักครู่ เราจะเห็นว่า แต่เดิม หัวใจของศาสนา (และหัวใจของศีล) ได้เกิดขึ้นก่อน แล้วศีลข้อห้ามปลีกย่อยต่างๆ จึงเกิดตามมา ด้วยเหตุผลนานัปการ เช่น เพื่อให้สงฆ์สามัคคีกัน เพื่อไม่ให้สงฆ์ยึดติดในสิ่งของ เพื่อไม่ให้สงฆ์รบกวนทรัพย์ของชาวบ้านผู้มีศรัทธามากจนเกินไป เป็นต้น พระหนุ่มผู้บวชใหม่ (ในเรื่องแรก) ยังไม่เข้าใจในหัวใจของศีล เมื่อพบกับข้อห้ามจำนวนมากมาย ก็เกิดความท้อใจ แต่สุดท้ายเขาก็ค้นพ้บหัวใจที่แท้จริงของศีลและศาสนาได้ เหมือนกับพวกเราทุกคนที่เกิดมาบนแผ่นดินไทยแล้วต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ถ้ารวมทุกพระราชบัญญัติ ทุกกฎกระทรวง ทุกประกาศ ทุกมาตรา คงจะมีหลายพันหรือหลายหมื่นข้อเลยทีเดียว แถมกฎหมายยังประกาศด้วยว่าเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่จะต้องรู้กฎหมาย จะอ้างว่าไม่รู้แล้วกระทำความผิดนั้น ไม่สามารถเป็นเหตุให้ละเว้นโทษได้ ถ้าอย่างนั้นหัวใจของ จรรยาบรรณวิศวกร แท้จริงแล้วคืออะไร?

26 เราลองมาค้นหา หัวใจของจรรยาบรรณวิศวกร กันดีกว่า
ผู้คนในสังคมนั้นเมื่อถึงเวลาอันควรแล้วจะต้องประกอบอาชีพของตน หากจะสังเกตกันจริงๆ อาชีพที่แต่ละคนทำนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ผู้อื่น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งทั้งสิ้น หากใครสามารถที่จะทำการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการได้ดีมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะมากไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่มาในรูปของวัตถุ เงินทอง สิ่งของ หรือความเคารพนับถือ ต่างๆ

27 วิศวกรโยธาก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ผู้มาขอใช้บริการมีความคาดหวังค่อนข้างสูงจากการทำงานของวิศวกร วิศวกรอาจถูกว่าจ้างให้ทำการ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุขนาดใหญ่ประเภทต่างๆ เช่น ถนน สะพาน เขื่อน รวมถึงระบบสาธารณูประโภคพื้นฐานต่างๆ มากมาย งานที่วิศวกรทำล้วนแต่มีความสำคัญต่อสังคมทั้งสิ้น

28 เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีผู้คนมากมายเข้ามาใช้ประโยชน์ หากการก่อสร้างได้มาตรฐาน อาคารที่ได้แข็งแรงเพียงพอวิศวกรจะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่ได้เห็นหรือนึกถึงอาคารที่ตนได้มีส่วนร่วมก่อสร้างขึ้น

29 และในทางตรงกันข้ามหากการก่อสร้างมีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของวิศวกรแล้ว วิศวกรผู้นั้นก็อาจจะต้องรับผิดทางทางอาญา เพราะมักจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อผู้คนในสังคมเป็นส่วนใหญ่

30 บ้าน คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นสำหรับการครองชีพของทุกคน คือทรัพย์สินถาวรที่มีราคาสูง ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ คนไทยส่วนใหญ่จะมีกำลังซื้อบ้านเพียงครอบครัวละไม่เกิน 1 หลัง และจะต้องผ่อนส่งกับธนาคารอย่างน้อยสิบหรือสิบห้าปีขึ้นไป ทุกคนที่แสวงหาบ้าน ล้วนแล้วแต่คาดหวังจะได้บ้านที่แข็งแรงมีอายุการใช้งานนานเพียงพอ สมกับกำลังทรัพย์ที่แต่ละคนจะแสวงหาได้

31 หากวิศวกรตั้งใจทำงานและได้ผลงานที่ดีมีมาตรฐาน เจ้าของบ้านสามารถใช้งานบ้านของตนได้อย่างสบายใจ เจ้าของบ้านก็จะประทับใจและนึกชื่นชมวิศวกรผู้นั้นไปอีกนาน รวมทั้งจะบอกต่อแก่ผู้อื่นให้ใช้บริการจากวิศวกรผู้นั้นเมื่อมีโอกาส อาชีพการงานของวิศวกรผู้นั้นก็จะเจริญก้าวหน้าและมีชีวิตที่ดีงามต่อไป

32 แต่ในทางตรงกันข้าม หากวิศวกรคนใดไม่ตั้งใจทำงานของตนให้ดีเพียงพอ จนเจ้าของบ้านประสพปัญหาต่างๆ เช่นอาคารร้าว น้ำรั่ว ท่อน้ำอุดตัน ฯลฯ เจ้าของบ้านอาจทำใจยอมรับสภาพได้หากปัญหาไม่ใหญ่จนทนไม่ได้แต่ก็อาจนึกตำหนิผู้เกี่ยวข้องอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หรืออาจเรียกร้องความเป็นธรรมจากหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค หรือสภาวิศวกร เป็นต้น

33 การทำงานของตนให้ดีตามมาตรฐานเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ค่าตอบแทนของวิศวกรนั้น หากเทียบกับความรับผิดชอบแล้ว ไม่คุ้มค่าเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวิศวกรโยธา

34 เมื่อทำการออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างอาคารหลังใดแล้ว ตามกฎหมาย วิศวกรผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อความแข็งแรงตลอดอายุการใช้งานอาคารหลังนั้นหรือตลอดอายุของวิศวกรผู้นั้นเอง แต่กลับได้ค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียวหรือเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง

35 ต่างกันอย่างยิ่งกับอีกหลายอาชีพ อาทิเช่น งานเขียนนิยาย ผู้เขียนเขียนเพียงครั้งเดียวแต่จะสามารถได้รับค่าลิขสิทธิ์ของตนไปตลอด เป็นต้น หากไม่พร้อมที่จะเป็นวิศวกรที่ดีก็ควรที่จะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นเสียเลยจะดีและปลอดภัยกว่า

36 หลายคนอาจคิดว่า จริงๆ แล้วผู้ก่อสร้างอาคารตัวจริงคือ ช่างฝีมือและกรรมกร ไม่ใช่ วิศวกร ดังนั้นอาชีพดังกล่าวจึงน่าเห็นใจกว่าอาชีพวิศวกรที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ามาก กรรมกรและช่างฝีมือนั้น เมื่อหมดวันแล้วก็หยุดงาน หาข้าวปลารับประทานและพักผ่อนเพื่อที่จะเริ่มงานใหม่ตามที่หัวหน้างานหรือวิศวกรได้มอบหมายให้

37 ผิดกับวิศวกรที่จะต้องวางแผนจัดสรร ทรัพยากร วัสดุ ช่างฝีมือ กรรมกร และเครื่องจักร อย่างเหมาะสมเพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้มาตรฐาน เมื่อเสร็จงานแล้ว วิศวกรจะต้องรับผิดชอบต่อความแข็งแรงของอาคารนี้ไปอีกนาน แต่ช่างฝีมือและกรรมกร จะไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ เลย เมื่อรับค่าจ้างแล้วก็ถือว่าสิ้นสุด

38 การทำงานให้ดีของช่างฝีมือและกรรมกรนั้น ขึ้นกับฝีมือและจริยธรรมภายในใจของแต่ละคนทั้งสิ้น แม้แต่ กรรมกร ยังมีจรรยาบรรณ วิศวกรเองก็ควรที่จะมี จรรยาบรรณ เช่นกัน

39 มีผู้รู้ท่านหนึ่งเคยพูดไว้ว่า “โลกนี้เปรียบเสมือนกระจกใบใหญ่ หากเรายิ้มให้กับโลก โลกก็จะยิ้มตอบเรา” เป็นการแสดงแนวความคิดที่ว่าเราทุกคนควรที่จะกระทำความดีให้แก่สังคม หากพวกเรามีจิตใจที่จะรักษาสังคมแล้ว สังคมโดยรวมก็จะสงบสุขปลอดภัย สามารถไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ วิศวกรโยธาเองก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเช่นกัน

40 บางครั้งวิศวกรจะต้องทำหน้าที่ในการก่อสร้างอาคารสาธารณะหรือโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย (เช่น ถนน สะพาน เขื่อน ระบบประปาหมู่บ้าน สถานที่กำจัดขยะ เป็นต้น) ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อสร้างตามงบประมาณของรัฐบาลที่ได้มาจากเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ โครงการก่อสร้างดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของมวลชน และจะมีผู้คนมากมายเข้ามาใช้ประโยชน์ บ่อขยะ

41 หากวิศวกรปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรฐานแล้ว สิ่งก่อสร้างที่ได้ก็จะมีความแข็งแรง ทนทาน สามารถให้บริการได้นาน แต่หากวิศวกรไม่ใส่ใจทำหน้าที่ของตนให้ดี เราอาจจะได้สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีคุณภาพ ใช้ไปไม่นานก็ชำรุด เสียหาย ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ได้รับความไม่สะดวกสบาย เกิดความเดือดร้อนต่อสังคมได้มาก หากวิศวกรทำให้สังคมเดือดร้อน วิศวกรผู้นั้นก็มีแนวโน้มที่จะได้รับความเดือดร้อน (ในรูปแบบต่างๆ) จากสังคมเช่นกัน

42 หากมองตามกฎแห่งกรรมของศาสนาพุทธแล้ว เราจะเห็นได้ว่า “อาชีพ” เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกคน หากผู้ใดประกอบอาชีพที่เป็นบุญกุศล (เช่น พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ แพทย์ พยาบาล) ก็นับว่าเป็นผู้ที่โชคดี เพราะทุกๆ วันที่ผ่านไปจะได้มีโอกาสทำบุญกุศล อยู่เสมอ แต่ผู้ใดประกอบอาชีพที่มีบาปเป็นฐานนั้น เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับการพนันหรือการทำผิดกฎหมายต่างๆ นับว่าเป็นผู้ที่น่าเห็นใจมาก เพราะทุกวันที่ผ่านไป ตนเองได้สะสมบาปให้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน

43 รวบสองพระโฉดพร้อมศิษย์ !! เปิดพิสดาร หมาย่างทั้งเป็นแกล้มเหล้า
แต่ถ้าผู้ที่มีอาชีพที่เป็นบุญ กลับไม่ทำให้สมกับอาชีพของตน เช่นพระสงฆ์กระทำผิดศีลธรรม (เห็นทั่วไปตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน) ก็จะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก แทนที่ชีวิตนี้จะได้กำไรคือบุญกลับขาดทุนเพราะทำบาป พระโฉด เสพกาม รวบสองพระโฉดพร้อมศิษย์ !! เปิดพิสดาร หมาย่างทั้งเป็นแกล้มเหล้า

44 สำหรับวิศวกรนั้น จัดเป็นอาชีพที่เป็นกลางค่อนข้างไปในทางบุญมากกว่าบาป หากวิศวกรท่านใดส่งมอบงานที่ดีให้แก่ผู้รับบริการทุกครั้ง ก็สงเคราะห์เป็นการทำบุญไปในตัวด้วย และในทางตรงกันข้ามหากวิศวกรท่านใดส่งมอบงานที่ไม่ดี (จะโดยเจตนาหรือเนื่องจากความไม่ใส่ใจเท่าที่ควรก็ตาม) ก็จัดเป็นการประกอบอาชีพที่ได้บาปติดตัวมาด้วย

45 เมื่อเวลาผ่านไปจนกรรมนั้นให้ผล วิศวกรสองคนนี้จะมีชีวิตที่แตกต่างกัน ผู้ที่ทำดีก็จะได้ในสิ่งที่ดี มีมาตรฐาน เหมาะสมกับตน หากเจ็บป่วยไปรักษาที่สถานพยาบาลก็จะได้รับการรักษาอย่างดีมีมาตรฐาน ยารักษาโรคที่ได้รับก็จะเป็นยาดีมีประสิทธิภาพ และจะได้พบแพทย์ที่ดี มีทั้งฝีมือและจรรยาบรรณ

46 ต่างกันมากกับวิศวกรผู้ไม่มีจรรยาบรรณ ที่จะได้รับแต่สิ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นอาจจะได้รับยาที่ไม่มีมาตรฐาน หรืออาจจะพบกับแพทย์ที่ไม่มีจรรยาบรรณ เช่นเดียวกับตนเอง เป็นต้น

47 กุญแจ เปิดสู่ โชคลาภแห่งชีวิต
แท้จริงแล้วคนเราทุกคนมีงานอยากจะทำ อยู่ 2 อย่าง คือ 1. การหาความสุข ความเจริญ 2. การป้องกันความทุกข์ ความเสื่อม วิชาความรู้ที่ได้สั่งสมมาทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ จะเปรียบเสมือนกุญแจ เปิดสู่โชคลาภแห่งชีวิต ทำให้ชีวิตนี้ได้ประสพกับความสุขและความเจริญ ตามกำลังความสามารถของแต่ละคน “ความรู้” กุญแจ เปิดสู่ โชคลาภแห่งชีวิต ยศ ทรัพย์ ไมตรี ชื่อเสียง ตำแหน่ง

48 แล้วเราล่ะคิดอย่างไร?
การประกอบอาชีพอย่างมีจรรยาบรรณนั้นเปรียบเสมือนรั้ว ที่ใช้ป้องกันภัยอันตรายและความเสื่อมต่างๆอันอาจจะเกิดขึ้นกับ ชีวิตของเรารวมถึงทรัพย์สินต่างๆที่หามาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่คิดว่าข้อห้ามต่างๆที่กำหนดขึ้นในข้อกฎหมายหรือในบทบัญญัติของจรรยาบรรณนั้นเปรียบเสมือนกรงขังที่จำกัดอิสรภาพ ไม่ยอมให้ทำในสิ่งต่างๆที่ยากจะทำ แล้วเราล่ะคิดอย่างไร?

49 ∞ ผู้รู้ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า
ชีวิตของเราตั้งอยู่บนทางสองแพร่งที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด เราจะต้องตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำอะไรอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นขึ้นมาบนโลกใบนี้ หากเราตัดสินใจทำในสิ่งใดๆ ด้วยความถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสม ผลที่ได้รับก็น่าจะดีด้วย และในทางตรงกันข้ามหากเราตัดสินใจผิดพลาดหรือแก้ไขได้ไม่ทันการณ์ อาจทำให้เกิดผลเสียหายตามมาได้ การตัดสินใจทำงานของเราโดยระลึกถึงจรรยาบรรณเสมอ น่าจะช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

50 ผู้รู้อีกท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ความรู้และประสบการณ์ ของแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมายาวนานและหลากหลายรูปแบบนั้น รวบรวมอยู่ในบุคคลนั้นเป็น การตกผลึกทางความคิด หรือ กระบวนการเกิดความคิดรวบยอด ซึ่งแต่ละคนจะมีความคิดรวบยอดในชีวิตแตกต่างกัน และความคิดรวบยอดนี้ยังปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเหตุปัจจัยอีกด้วย พีชคณิต การบวก การลบ การคูณ การหาร การวัด เรขาคณิต คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา สังคม อริยสัจธรรม 4 จรรยาบรรณ เพื่อน ครอบครัว บุคคล ศีลธรรม ดนตรี กีฬา ธุรกิจ สุขภาพ กลศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ โยธา โครงสร้าง แรงกระทำ ภาษา กฎหมาย การเมือง ผลประโยชน์ อาชีพ

51 ตัวอย่างเช่น ในสมัยเด็กๆ ตอนที่เรายังไม่เกิดความคิดรวบยอดในวิชาคณิตศาสตร์ คุณครูจะสอน และให้เรา บวก,ลบ,คูณและหาร ตั้งมากมาย หลายพันข้อ 1+2 = 3 40+5 = 45 8-0.5 = 7.5 6x0.4 = 2.4 8÷0.5 = 16 20÷2.5 = 8 9x9 = 81 19+9 = 28 = 289.5 49+2 = 51 = 10900 3x1.4 = 4.2 จนเมื่อเราเข้าใจหลักการคำนวณนี้แล้ว เราจึงสามารถบวก,ลบ,คูณและหารได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าโจทย์จะเป็นอย่างไร และที่น่าสนใจก็คือว่า เราไม่ต้องเอ่ยออกมาเป็นคำพูด หลักการหรือทฤษฏี ทั้งๆที่เราสามารถทำการคำนวณได้อย่างถูกต้องอัตโนมัติ

52 พระโพธิญาณเถระ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
ตัวอย่างเช่น พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมะ ได้พยายามแสวงหาความหลุดพ้นแห่งจิต โดยการสังเกตความยึดติดของตนอยู่ตลอดเวลา พระโพธิญาณเถระ (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย เมื่อสังเกตต่อไปเรื่อยๆ ก็จะได้ข้อสรุปที่ว่า หากไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวกูของกู แล้วก็จะไม่ทุกข์ สมดังคติพจน์สำคัญบทหนึ่งของหลวงพ่อชา (สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ว่า การสังเกตความยึดและการหัดปล่อยวางความยึดนั้น ก็เหมือนเด็กหัดบวกเลข บวกไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะบวกได้ ไม่ว่าโจทย์จะมาแบบไหนก็บวกได้หมด หากหัดปล่อยวางไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็จะปล่อยวางได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

53 เมื่อเรียนมาถึงตรงนี้
หลายคนอาจจดจำจรรยาบรรณทั้ง 15 ข้อ (หรือ 8 ข้อ) ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งคำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อ อาจท่องได้ครบทุกตัวอักษร แต่ยังมีคำถามสำหรับพวกเราที่ช่วยกันค้นหาและยังไม่ได้ตอบตั้งแต่ตอนแรก ว่า - ทราบหรือยังว่าจรรยาบรรณวิศวกรที่แท้จริงแล้วคืออะไร ? - อะไรคือหัวใจของจรรยาบรรณวิศวกร ? - ทำอย่างไรเราจึงจะเป็นวิศวกรที่มี จรรยาบรรณ ได้ ? คำถามเหล่านี้อาจารย์เชื่อว่า พวกเราทุกคนจะต้องตอบได้ และเป็นคำตอบที่ถูกด้วย

54 - ท่านคิดว่า จริงๆ แล้ว ท่านมี จรรยาบรรณวิศวกร ในใจของท่านหรือยัง ?
และ คำถามสุดท้าย จบหน่วยเรียนที่ 1

55 บรรณานุกรม ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม (อุปนายก วสท.), บทความ วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร, รวบรวมจรรยาบรรณอาจารย์และจรรยาบรรณวิชาชีพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2534 ผศ.ดร.พิภพ วชังเงิน, จริยธรรมวิชาชีพ, อมรการพิมพ์ กรุงเทพฯ 2545 ดร.ปรัชญา กล้าผจัญ, คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ, เยลโล่การพิมพ์ กรุงเทพฯ 2544 พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542 กฎกระทรวง ฉบับที่ 1-8 ออกตามความใน พรบ.วิชาชีพวิศวกรรม พศ. 2505


ดาวน์โหลด ppt หน่วยเรียนที่ 1 เบื้องต้นกับจรรยาบรรณวิศวกร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google