งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
อ.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน

2 การคัดเลือกหรือการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
หมายถึง กระบวนการตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อนการจัดหา ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้จะต้องพิจารณาเลือกเฉพาะทรัพยากรที่มีคุณค่า ตรงกับความสนใจ และความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร

3 แนวคิดในการเลือก เลือกเพื่อตัวเอง เลือกเพื่อคนอื่น

4 ปรัชญาของรังกานาธาน(Mr. Ranganathan )
หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (books are for use) ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (every reader his book) หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (every book its reader) ประหยัดเวลาผู้อ่าน (save the time of the reader) ห้องสมุดเป็นสิ่งที่มีชีวิตเติบโตได้ (a library is a growing organ)

5 ความสำคัญของการคัดเลือก หรือทำไมเราถึงต้องเลือก?
การคัดเลือกมีผลต่อการให้บริการในอนาคต ใช้วัดมาตรฐานของห้องสมุดได้ ห้องสมุดมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้แตกต่างกัน / ความต้องการต่างกัน ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมาก ความแตกต่างกันของทรัพยากรสารสนเทศ คุณภาพที่ดีสำหรับให้บริการ

6 ความสำคัญของการคัดเลือก หรือทำไมเราถึงต้องเลือก?
จำนวนงบประมาณ สถานที่ของห้องสมุด ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมาก ความแตกต่างกันของทรัพยากรสารสนเทศ คุณภาพที่ดีสำหรับให้บริการ

7 การคัดเลือกหรือการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
ลักษณะการคัดเลือกจำแนกเป็น 2 ส่วนคือ การเลือกในระยะยาว การเลือกตามสาขาวิชาโดยจำแนกเป็นร้อยละ การเลือกในระยะสั้น เลือกตามรายการที่ผู้ใช้เสนอ

8 ผู้ที่ทำหน้าที่ในการคัดเลือก
บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครู อาจารย์ คณะกรรมการห้องสมุด ผู้บริหาร ผู้ใช้บริการห้องสมุด

9 ข้อเสียของการคัดเลือกเพียงคนเดียวหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
มักเลือกเฉพาะหนังสือที่ใช้เฉพาะการสอน เลือกหนังสือที่ตนคุ้นเคย เลือกตามความสนใจส่วนตัว เลือกตามหัวข้อการวิจัยในงานของตน เลือกที่ต้องกำหนดให้นักเรียนอ่าน เลือกเพื่อใช้เงินให้หมด ได้หนังสือไม่สมดุลกับสาขาวิชาที่สอน

10 คุณสมบัติของผู้คัดเลือก
มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหนังสือในสาขาวิชา รู้จักนักเขียนในแต่ละสาขาวิชา รู้ถึงพัฒนาการวรรณกรรมในแต่ละสาขาวิชา รู้จักสำนักพิมพ์ ความมีชื่อเสียงแต่ละด้าน มีความรู้ทางวิชาการสาขาต่างๆ

11 คุณสมบัติของผู้คัดเลือก
รู้จักและคุ้นเคยกับผู้ใช้ห้องสมุด มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่อคติ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือช่วยในการเลือก ทรัพยากรสารสนเทศ มีความสามารถในการอ่านได้รวดเร็ว เข้าใจได้ทันที

12 คุณสมบัติของผู้คัดเลือก
เป็นนักอ่าน พยายามอ่านหนังสือทุกประเภท ติดตามความเคลื่อนไหว มีความรู้ในวิธีพิจารณาหนังสือ วิจารณ์หนังสือ มีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของห้องสมุด

13 วิธีการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
บรรณารักษ์ทำหน้าที่เพียงคนเดียว มีคณะกรรมการทำหน้าที่ในการคัดเลือก ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน การแบ่งความรับผิดชอบตามความสนใจและความถนัด

14 แนวทางในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
การระบุคู่มือในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ ข้อกำหนดในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ การประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ ความต้องการหรือความจำเป็นของผู้ใช่ คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ

15 แนวทางในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ ราคา การเปรียบเทียบกับรายการเดิมที่มีอยู่

16 แนวทางในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
ข้อกำหนดในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ การจัดกลุ่มทรัพยากรสารสนเทศที่ประเมินคุณค่าแล้ว ต้องซื้อ ควรซื้อ สามารถซื้อได้ การตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

17 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทั่วไป
เลือกทรัพยากรที่ให้ประโยชน์ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายห้องสมุด เลือกให้ครอบคลุม มีสัดส่วนสมดุลกันแต่ละสาขา เลือกทรัพยากรที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ใช้หลักประเมินคุณค่าในการคัดเลือก

18 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทั่วไป
ไม่อคติ เป็นทรัพยากรที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี เลือกทรัพยากรที่คนจะใช้มาก เลือกที่มีความใหม่ ทันสมัย เลือกตามงบประมาณ เลือกที่จำเป็นกับห้องสมุด

19 ข้อควรคำนึงถึงในการคัดเลือก
ความสนใจของผู้อ่าน ผู้ใช้ จำนวนและประเภทของทรัพยากรในแต่ละสาขา แผนพัฒนาห้องสมุดในอนาคต สำรวจตลาดหนังสือเพื่อทราบความเคลื่อนไหว

20 ปัญหาในการคัดเลือกทรัพยากร
ทรัพยากรบางประเภท บางสาขา มีเฉพาะบางภาษา ขาดแคลนคู่มือ แหล่งในการคัดเลือก ทรัพยากรบางรายการอาจไม่ได้เห็นฉบับจริงก่อนตัดสินใจเลือก ห้องสมุดบางแห่งมีผู้คัดเลือกเพียงคนเดียว หรือเฉพาะคนบางกลุ่ม


ดาวน์โหลด ppt การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google