งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ: สถานภาพและบริบทของ สารสนเทศศึกษาในประเทศไทย (Information Storage and Retrieval: A focus on Information Studies in Thailand)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ: สถานภาพและบริบทของ สารสนเทศศึกษาในประเทศไทย (Information Storage and Retrieval: A focus on Information Studies in Thailand)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ: สถานภาพและบริบทของ สารสนเทศศึกษาในประเทศไทย (Information Storage and Retrieval: A focus on Information Studies in Thailand) อาจารย์ศรีอร เจนประภาพงศ์ อาจารย์ ดร. จอมขวัญ ผลภาษี อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ (STKS)

2 เหตุใดจึงสนใจอยากทำ มีตำรา ISAR ที่เป็นภาษาไทยน้อยมาก
เนื้อหาหลากหลาย คาบเกี่ยวกับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ต้องประยุกต์จากหนังสือสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ต้องการสำรวจความคาดหวังของตลาดงาน “ความรู้และทักษะ ISAR” เพื่อวิเคราะห์สถานภาพและบริบทของเนื้อหาวิชา ISAR เพื่อสร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาที่พึงมีในตำรา ISAR ของ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษาในประเทศไทย รวมถึงแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของวิชา ISAR

3 วัตถุประสงค์การวิจัย
1. วิเคราะห์สถานภาพและบริบทของตำรา ISAR ทั้งที่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษและภาษาไทย 2. เปรียบเทียบบริบทของเนื้อหาตำรา ISAR ทั้งที่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษและภาษาไทย 3. สำรวจความคาดหวังของตลาดงานในความรู้และทักษะด้าน ISAR ที่ต้องการ 4. สร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาที่พึงมีในตำรา ISAR ของสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาในประเทศไทย 5. กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชา ISAR ของสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาในประเทศไทย

4 ขอบเขตของการวิจัย เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบสถานภาพและบริบทของเนื้อหาในตำรา ISAR ที่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษและภาษาไทยทั้งที่อยู่ในรูปเล่มหนังสือ และ e-Book ใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคาดหวังของกลุ่มตัวอย่างตลาดงานที่เป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในกรุงเทพมหานคร ใน “ความรู้และทักษะด้าน ISAR” ที่ต้องการ

5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้เกณฑ์และแนวทาง - จัดทำตำรา ISAR ของวิชาการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศของ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษาในประเทศไทย - การจัดการเรียนการสอนของวิชา ISAR ของสาขาวิชาสารสนเทศ ศึกษาในประเทศไทย

6 ระเบียบวิธีวิจัย 1. ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ - ลักษณะเนื้อหา ISAR - การจัดการเรียนการสอนวิชา ISAR - ความคาดหวังของตลาดงาน ในความรู้และทักษะด้าน ISAR 2. รวบรวมตำราภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ISAR ทั้งที่ อยู่ในรูปเล่มหนังสือ และ e-Book จากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ 3. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบสถานภาพและบริบทของตำรา ISAR ทั้งที่เป็น เอกสารภาษาอังกฤษและภาษาไทย

7 ระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ)
ระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ) 4. รวบรวมตลาดงานที่เป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศในกรุงเทพมหานครและกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยต้องเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกึ่งหนึ่งเท่ากัน 5. ออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคาดหวังของตลาดงานที่เป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศในความรู้และทักษะด้าน ISAR ที่ต้องการ 6. ทดสอบแบบสอบถามกับหน่วยงานบริการสารสนเทศภาครัฐและภาคเอกชนที่มีคุณสมบัติเป็นประชากรแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างรวม 5 แห่ง จากนั้นปรับปรุงแบบสอบถามเพื่อเตรียมส่งให้กลุ่มตัวอย่างต่อไป 7. ส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง และในกรณีได้แบบสอบถามกลับมาไม่ถึง 50 % จะจัดการส่งรอบที่ 2

8 ระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ)
8. วิเคราะห์แบบสอบถามด้วยสถิติ: ร้อยละ ค่า Mean ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9. สร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาที่พึงมีในตำรา ISAR ของสาขาวิชา สารสนเทศศึกษาในประเทศไทย 10. กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชา ISAR ของสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาในประเทศไทย 11. สรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย

9 สรุปงานที่ได้ทำไปแล้ว
กำหนดโครงร่างงานวิจัยได้ 50% Review Literature จากวรรณกรรมของต่างประเทศ

10 วิจัย: การสอน IR IR เปรียบเสมือนหัวใจหลักของสารสนเทศศึกษา / บรรณารักษศาสตร์ Bawden, D. (2007). Information Seeking and Information Retrieval: The Core of the Information Curriculum? Journal of Education for Library and Information Science, 48(2), Fernandez-Luna, J.M.; Huete, J.F.; MacFarlane, A.; Efthimiadis, E.N. (2009). Teaching and learning in information retrieval. Information Retrieval, 12, 201 – 226. IR เปรียบเสมือนหัวใจหลักของสารสนเทศศึกษา / บรรณารักษศาสตร์ ด้านความรู้ = การบริหารจัดการข้อมูล โครงสร้างของข้อมูล ระบบสืบค้น การจัดหมวดหมู่ การค้นคืน ด้านทักษะ = เทคนิคการสืบค้นต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการข้อมูล การวางแผน วิเคราะห์ขั้นตอนและองค์ประกอบ ประเมินวิธีการในการสืบค้น

11 วิจัย: การสอน IR ด้านเนื้อหารายวิชา ข้อมูล: สภาวะและองค์ประกอบของ
การสืบค้น: กลยุทธ์การสืบค้น ความท้าทาย ปัญหาและอุปสรรคในการสืบค้น ระบบ: หลักการออกแบบหรือโครงสร้างเบื้องหลังการทำงานของระบบสืบค้น Johnson, F. (2008). On the relation of search and engines. In Proceedings of the second international workshop on teaching and learning of information retrieval. Retrieved from Jones, G. (2007). Teaching information retrieval using research questions to encourage creativity and assess understanding. In Proceedings of the first international workshop on teaching and learning of information retrieval. Retrieved from Henrich, A. & Sieber, S. (2009). Blended learning and pure e-learning concepts for information retrieval: experiences and future directions. Information Retrieval, 12, 117–147. งานวิจัยด้านการสอน IR แสดงถึงลักษณะสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชา ที่หลายสถาบันการศึกษาพิจารณาระดับความสำคัญของวิชา Information Storage and Retrieval ต่างกัน และเปิดรายวิชาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระดับความลึกของเนื้อหาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของหลักสูตร ความเชื่อมโยงกับวิชาชีพ และ ความสามารถของการจัดการเรียนการสอน เนื้อหามีความแตกต่างกัน 2 ประการ ได้แก่ ความต้องการ update อย่างต่อเนื่อง และหัวข้อที่เป็นเรื่องหลักการและแนวคิดที่ไม่จำเป็นต้องมีการ update บ่อยครั้ง ส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน และปรับปรุงตำราหรือเอกสารประกอบ

12 วิจัย: การสอน IR ด้านตำรา A broad view of basic IR issues
Special areas เช่น algorithms and heuristics, Web IR Baeza-Yates, R. A., & Ribeiro-Neto, B. A. (1999). Modern information retrieval. Addison-Wesley. Bawden, D., Bates, J., Steinerovu, J.,Vakkari, P., & Vilar, P. (2007). Information retrieval curricula; contexts and perspectives. In A. McFarlane, J. M. Fernandez Luna, I. Ounis, & J. F. Huete (Eds.), Proceedings of the First International Conference on Teaching and Learning Information Retrieval, London, UK. Grossman, D. A., & Frieder, O. (2004). Information retrieval—algorithms and heuristics (2nd ed.). Dordrecht: Springer. Mizarro, S. (2007). Teaching of web information retrieval: Web first or IR first? In A. McFarlane, J. M. Fernandez Luna, I. Ounis, & J. F. Huete (Eds.), Proceedings of the First International Conference on Teaching and Learning Information Retrieval, London, UK.

13 วิจัย: การสอน IR ด้านวิธีการสอน
การสอนแบบผสมผสานเนื้อหาเข้ากับสื่อดิจิทัลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 2. ความสำคัญด้านการเตรียมความพร้อมทางหน่วยสนับสนุนเทคนิคและอุปกรณ์ Henrich, A. & Sieber, S. (2009). Blended learning and pure e-learning concepts for information retrieval: experiences and future directions. Information Retrieval, 12, 117–147. Jones, N. (2006). E-College Wales, a case study of blended learning. In C. J. Bonk & C. R. Graham (Eds.), Handbook of blended learning (pp. 182–194). Henrich, A. & Sieber, S. (2009). Blended learning and pure e-learning concepts for information retrieval: experiences and future directions. Information Retrieval, 12, 117–147.

14 วิจัย: การสอน IR ด้านผู้สอน
หลักการ  สร้างสรรค์  รักษา  ใช้ประโยชน์  มีส่วนร่วม Henrich, A. & Sieber, S. (2009). Blended learning and pure e-learning concepts for information retrieval: experiences and future directions. Information Retrieval, 12, 117–147. รักษาคุณภาพ และความทันสมัยของการดูแลเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน คำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน และการเข้าถึงเนื้อหาทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบดิจิทัล พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผสมผสาน Henrich, A. & Sieber, S. (2009). Blended learning and pure e-learning concepts for information retrieval: experiences and future directions. Information Retrieval, 12, 117–147.


ดาวน์โหลด ppt การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ: สถานภาพและบริบทของ สารสนเทศศึกษาในประเทศไทย (Information Storage and Retrieval: A focus on Information Studies in Thailand)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google