งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

4/4/2017.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "4/4/2017."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 4/4/2017

2 ในโอกาสเยี่ยมชื่นชมหอสมุดฯ
การนำเสนอผลการดำเนินงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเยี่ยมชื่นชมหอสมุดฯ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ 4/4/2017

3 ระบบสารสนเทศ และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีระบบสารสนเทศที่ใช้ในการควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากร ที่สำคัญ คือ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Innopac Millennium ซึ่งเป็นระบบควบคุมทรัพยากรทั้งหมดของห้องสมุดกว่า 25 แห่ง ที่ตั้งกระจายอยู่ตามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย คือ วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตพญาไท วิทยาเขตบางกอกน้อย วิทยาเขตราชวิถี วิทยาเขตกาญจนบุรี และวิทยาเขตนครสวรรค์ ระบบเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ใช้นอกมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ทราบว่า ห้องสมุดแต่ละแห่งมีทรัพยากรที่สามารถใช้ร่วมกัน อาทิ หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย และ ทรัพยากรประเภทมัลติมีเดีย รวมกว่า 600,000 รายการ อำนวยความสะดวกเพื่อการสืบค้นทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในรูปแบบสาระสังเขป (Abstract) และเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ได้มากกว่า 30,000 รายการ เข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในระบบได้กว่า 40,000 เรื่อง ระบบช่วยให้ห้องสมุดทุกแห่งตรวจทรัพยากรสารสนเทศก่อนสั่งซื้อเพื่อลดความซ้ำซ้อน ร่วมกันใช้งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรต่างๆ ให้คุ้มค่า สามารถแลกเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้ทุกวิทยาเขต ผ่านบริการ Book Delivery 4/4/2017

4 ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนทรัพยากรสารสนเทศในภาพรวมของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามสาขาวิชา ประเภททรัพยากรสารสนเทศ สาขาวิชา (รายการ) รวม วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ วารสารฉบับพิมพ์ 765 99 113 977 วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 8,529 7,778 16,044 32,351 หนังสือฉบับพิมพ์ 87,368 50,054 100,465 237,885 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 24,622 25,470 19,202 69,294 ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 47 42 31 75 4/4/2017 4/4/2017 4 4

5 จำนวนวารสารฉบับพิมพ์จำแนกตามสาขาวิชา ปีงบประมาณ 2551-2553

6 จำนวนวารสารอิเล็กทรอนิกส์จำแนกตามสาขาวิชา ปีงบประมาณ 2551-2553

7 จำนวนหนังสือฉบับพิมพ์จำแนกตามสาขาวิชา ปีงบประมาณ 2551-2553

8 จำนวนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำแนกตามสาขาวิชา ปีงบประมาณ 2551-2553

9 การใช้บริการห้องสมุด ปีงบประมาณ 2551-2553

10 สถิติการให้บริการวิชาการ จำแนกตามห้องสมุด ปีงบประมาณ 2553
ห้องสมุดคณะ/สถาบัน สมาชิก ยืมหนังสือ ยืมวารสาร ตอบคำถาม คน/เรื่อง Book Delivery 1 หอสมุดกลาง 17,495 67,389 12,351 11,263/22,101 4,520 2 ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์ 573 15,292 11,894 2,360/2,777 571 3 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี 4,847 42,171 58,943 11,897/16,314 2,547 4 ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ 990 10,108 1,810 1,613/1,633 369 5 ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมฯ 798 27,526 1,191 734/1,914 238 6 ห้องสมุดสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน 105 1,524 586 441/303 318 7 ห้องสมุดวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย 290 25,259 1,111 343/444 147 8 ห้องสมุดวิจัยประชากรและสังคม 23 3,793 199 247/352 335 9 ห้องสมุดวิจัยโภชนาการ 350 11,500 583 70/115 145 10 ห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา 25 1,467 113 181/181 78 11 ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ 1,250 49,185 - 12 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ รพ รามาธิบดี 1,376 47,988 13 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 6,320 50,117 14 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ 3,199 45,429 รวม 25,496 206,029 88,781 29,149/46,134 9,268

11 เครือข่ายและความร่วมมือ : ในประเทศ
หอสมุดฯมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสมาชิกเครือข่ายมีความร่วมมือกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ มีผู้แทนเข้าร่วมเข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือต่างๆ 6 กลุ่มได้แก่ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มวารสารและเอกสาร กลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มบริการสารสนเทศ 4/4/2017

12 ความร่วมมือกับสำนักพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ( สกอ. )
โครงการ UNINET ( University Network ) – ThaiLIS Union Catalog ( จฬ ) จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษารัฐ 24 แห่ง Digital Collection ( มช ) จัดทำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ บทความ งานวิจัย ฯลฯ ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของห้องสมุด 86 แห่ง Reference Database ( มม ) จัดหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการแก่ มหาวิทยาลัยรัฐ 77 แห่ง 4/4/2017

13 ความร่วมมือกับภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ จัดฝึกอบรมและปฏิบัติงานนักศึกษาปริญาตรี-โท ร่วมกับ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ประมาณปีละ 8-10 ราย เป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ปีละประมาณ 8 ราย 4/4/2017

14 ความร่วมมือกับต่างประเทศ
WHO/SEARO ให้บริการและขอสำเนาเอกสารจากต่างประเทศผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์เมล์ ฝึกอบรมและเป็นแหล่งศึกษาดูงานแก่ห้องสมุดของประเทศ สมาชิก AUNILO ( ASEAN University Network Inter Library Online ) ส่งบุคลากรห้องสมุดเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนา บุคลากรห้องสมุด ร่วมกิจกรรมสำรวจความพร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมุลกับ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN เข้าร่วมประชุมประจำปี 4/4/2017

15 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน ของ หอสมุดและคลังความรู้ฯ
4/4/2017

16 โครงการปรับปรุงกายภาพและภูมิทัศน์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะที่ 1
หอสมุดฯ จัดทำโครงการปรับปรุงด้านกายภาพและภูมิทัศน์ อาคารสำนัก หอสมุด เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และจัดระบบการ บริการเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยแก่นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปให้ศึกษาได้มีด้วยตนเอง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล ในการ ปรับปรุงพื้นที่ในระยะแรกของโครงการ บริเวณชั้น 1 อาคารเดิม ในส่วน บริการเทคโนโลยีการศึกษาและมัลติมีเดีย ส่วนโถงทางเข้า เคาน์เตอร์ บริการและต้อนรับ บริเวณพักผ่อน บริเวณหน้าอาคารและทางเข้า สำนักหอสมุด มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 6,250 ตารางเมตร ว่าจ้างการออกแบบ การปรับปรุงด้านกายภาพและภูมิทัศน์ พร้อมทั้งว่าจ้าง การควบคุมงาน โครงการปรับปรุงด้านกายภาพฯ ระยะที่ 1 นี้ดำเนินการ แล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 4/4/2017

17

18

19 โครงการปรับปรุงกายภาพและภูมิทัศน์
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะที่ 1 พัฒนาห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทันสมัย มีความหลากหลายของความรู้และเพียงพอตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 4/4/2017

20 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (e-Thesis)
มีกระบวนการใช้โปรแกรมคัดกรองวิทยานิพนธ์ก่อนนำออกเผยแพร่ จัดหาโปรแกรมระบบตรวจสอบคัดลอกบทความทางวิชาการ Turn it in จำนวน 6,000 License โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กรอง การคัดลอกผลงานวิชาการโดยใช้ร่วมกันระหว่าง อาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยของทุกคณะ/สถาบัน/ วิทยาลัย วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทุกสาขาวิชา ทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ผ่านการคัดกรองแล้ว ถูกจัดเก็บ เข้าคลังความรู้เพื่อเผยแพร่ในรูปวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับเต็ม ผ่านเว็บไซต์ 4/4/2017

21 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (e-Thesis)
จัดเก็บเข้าระบบฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiLIS-Digital Collection)  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล กับสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา  เป็นการจัดเก็บ และบริการ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Full text) พร้อมภาพ ร่วมกับ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 86 แห่ง ปีงบประมาณ นี้ มีการจัดเก็บข้อมูลในระบบ จัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 5,960 รายการ 4/4/2017

22 โครงการบริการวิดีทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานในระบบดิจิทัล (e-Lecture)
จากภารกิจสำคัญในด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัย หอสมุดฯ จึงเห็นความสำคัญและความ จำเป็นของการทบทวนการบรรยายรายวิชาพื้นฐานและได้ ทำโครงการบันทึกการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 ให้บริการในรูปแบบเทปวีดิทัศน์ระบบอนาล็อก ปีงบประมาณ 2552ได้รับงบสนับสนุนจากรายได้ มหาวิทยาลัยจัดหาระบบอุปกรณ์ ผลิตสื่อโดยการบันทึกการ เรียนการสอนคำบรรยายรายวิชาพื้นฐานจากอาคารบรรยาย รวม 1 อาคารบรรยายรวม 2 และห้องบรรยาย (OP1-2) จาก สำนักงานอธิการบดี โดยใช้ฐานการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ จากห้องควบคุม ณ อาคาร หอสมุดฯ 4/4/2017

23 โครงการบริการวิดีทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานในระบบดิจิทัล (e-Lecture)
สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล บริการในรูปแบบแผ่น วีดิทัศน์(DVD) และขยายฐานการให้บริการไปสู่การบริการ ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย (Intranet) ด้วยการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของอาจารย์และ นักศึกษา ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ ให้ความอนุเคราะห์ด้านเนื้อหา การบรรยายรายวิชาพื้นฐาน โดยความร่วมมือจากอาจารย์ผู้สอน ที่รับผิดชอบการสอนรายวิชา ปีงบประมาณ 2552 มีผู้มาขอใช้บริการ รวมทั้งสิ้น 17,758 ราย ปีงบประมาณ 2553 มีผู้มาขอใช้บริการ รวมทั้งสิ้น 40,272 ราย 4/4/2017

24 สรุปการให้บริการ E-Lecture & Multimedia ปี 2552-2554
เดือน 2552 2553 2554 มกราคม 2,645 4,047 14,277 กุมภาพันธ์ 2,371 3,104 10,981 มีนาคม 8 23  1,048 เมษายน -  787 พฤษภาคม  303 มิถุนายน 535 887 กรกฎาคม 2,212 4,152 สิงหาคม 1,836 4,425 กันยายน 3,047 7,422 ตุลาคม 10 1,565 พฤศจิกายน 1,297 6,016 ธันวาคม 3,797 8,631 รวม 17,758 40,272 27,396 4/4/2017

25 4/4/2017

26 สถิติการใช้บริการ e-Lecture และการจองสื่อ ปี 2553
นักศึกษา จำนวน คณะพยาบาลศาสตร์ 4,833 คณะเทคนิคการแพทย์ 3,890 คณะสาธารณสุขศาสตร์ 3,342 คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3,348 คณะทันตแพทยศาสตร์ 5,097 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 6,327 คณะกายภาพบำบัด 1,500 คณะศิลปศาสตร์ 1,770 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 4,482 คณะเภสัชศาสตร์ 4,368 26 4/4/2017

27 สถิติการใช้บริการ e-Lecture และการจองสื่อ ปี 2553
นักศึกษา จำนวน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1,145 คณะแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร 1,751 คณะวิทยาศาสตร์ 1,142 สถาบันพระบรมราชชนก 2,472 คณะสัตวแพทยศาสตร์ 1,120 วิทยาลัยศาสนศึกษา 332 วิทยาเขตกาญจนบุรี 326 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 131 รวม 47,376 27 4/4/2017

28 โครงการ “รักการอ่าน สร้างการเรียนรู้ ”
การส่งเสริมการอ่านเป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่งที่ห้องสมุดจะต้องมีบทบาท ในการฝึกฝนและปลูกฝังให้แก่นักศึกษาและประชาคมมหาวิทยาลัยใน การเป็นปัญญาของแผ่นดิน หอสมุดฯได้เริ่มกิจกรรม “มหิดล บุ๊คแฟร์” ปีละ 2 ครั้งเพื่อให้ผู้สนใจได้ ซื้อหนังสือในราคาถูก กิจกรรมที่จัดจะมีทั้งโดยตรงและอาศัยสื่อ ทันสมัยสังคมออนไลน์ มีคอลัมน์ต่างๆ เช่น อ่านตรงนี้มีรางวัล อ่าน สบายๆคลายเครียด น่าอ่าน น่ารู้ แนะนำหนังสือเล่มโปรด สุดยอดนัก อ่านประจำปี ให้รางวัลผู้ที่ยืมหนังสือมากที่สุดประจำเดือน 4/4/2017

29 โครงการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัย (R2R)
โครงการประเมินทรัพยากรสารสนเทศ สรุปผลการศึกษาในช่วงปี หอสมุดฯ ซื้อหนังสือ 15,895 ชื่อ / 18,073 เล่ม เป็นเงิน ,259, บาท ราคาเฉลี่ย 1, บาท/เล่ม มีการใช้จำแนกตามสาขา ดังนี้ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ ใช้ 53,473 ครั้ง ครั้ง /เล่ม / บาท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ใช้ 42,783 ครั้ง 9.83 ครั้ง /เล่ม / บาท สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ใช้ 66,577 ครั้ง 7.67 ครั้ง /เล่ม / บาท 4/4/2017

30 โครงการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัย (R2R)
โครงการประเมินผลการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลรวมถึงห้องสมุดคณะ/สถาบัน/วิทยาลัยภายในมหาวิทยาลัยมหิดลใช้งบประมาณจำนวนมากในการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUC-Net) ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างคณะ สถาบัน วิทยาลัย หน่วยงานทุกแห่งในมหาวิทยาลัยและจากภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบร่วมกันโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยของประชาคมมหาวิทยาลัย โครงการนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ช่องทางการเข้าใช้ ปัญหาการเข้าใช้ของผู้ใช้ทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัย ตลอดจนการวิเคราะห์และประเมินผลจากสถิติการใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินมาใช้เป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและพัฒนาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด 4/4/2017

31 โครงการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัย (R2R)
โครงการประเมินผลการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผลของโครงการในระยะ 6 เดือน รวบรวม / จัดเก็บข้อมูลการเข้าใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์จาก ฐานข้อมูลต่างๆ แต่ละฐานข้อมูล ต่ำสุด 46 ครั้ง/เดือน (American Society of Mechanical Engineers/ASME Digital Library) สูงสุด 199,915 ครั้ง/เดือน (ScienceDirect) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยต้นทุนการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 2.90 บาท ต่อบทความ 4/4/2017

32 โครงการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัย (R2R)
โครงการสำรวจความพึงพอใจการใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล ค่าเฉลี่ยผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละห้องสมุด คิดเป็นร้อยละได้ดังนี้ หอสมุดกลาง ร้อยละ 28.27 ห้องสมุดคณะเทคนิคฯ ร้อยละ 14.20 ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมฯ ร้อยละ 7.39 ห้องสมุดสถาบันโภชนาการฯ ร้อยละ 6.53 ห้องสมุดสถาบันวิจัยประชากรฯ ร้อยละ 7.10 ห้องสมุดวิจัยภาษาฯ ร้อยละ 2.70 ห้องสมุดสถาบันพัฒนาสุขภาพฯ ร้อยละ 4.40 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี ร้อยละ 16.76 ห้องสมุดคณะเภสัชฯ ร้อยละ 12.64 4/4/2017

33 4/4/2017

34 4/4/2017

35 4/4/2017

36 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
บันทึกข้อมูลไม่ต่ำกว่า 500 รายการ จัดอบรมการบันทึกข้อมูลให้บุคลากรหอสมุดฯ เผยแพร่ฐานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ บันทึกข้อมูลผลงานวิชาการ 5 สาขาวิชา ดังนี้ - Arts, Language and Culture 35 รายการ - Basic Science, Applied Science and Technology 60 รายการ - Health Sciences and Public Health 458 รายการ - Medicine and Clinical Sciences 260 รายการ - Social Sciences, Humanities, Management and Liberal Arts รายการ รวมผลงานวิชาการ 990 รายการ ( 4/4/2017

37 โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Press )
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศ อาจารย์ นักวิจัยและ บุคลากรของมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ผลงานเผยแพร่เป็นจำนวนมากโดยอาศัย สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆและทั่วไป หอสมุดฯมหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญในการรวบรวมให้ผลงาน วิชาการซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในรูปแบบหลากหลายให้มา รวมในแหล่งพิมพ์และเผยแพร่ในนามมหาวิทยาลัยอันจะเป็นการสร้างความ น่าเชื่อถือในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในการเรียนรู้อันเป็นปัจจัยสำคัญ ก่อให้เกิดปัญญาสมดังปณิธาน จัดทำโครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในระยะเริ่มแรกหอสมุดและ คลังความรู้มหาวิทยาลัย จะเป็นแหล่งประสานการดำเนินงานของสำนักพิมพ์ตาม นโยบายของคณะกรรมการนโยบายสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี คณะกรรมการดำเนินงานสำนักพิมพ์ และคณะกรรมการส่งเสริมผลงานวิชาการเพื่อ การเผยแพร่ ร่วมเป็นส่วนพิจารณาและกำกับการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยสนับสนุน งบจัดพิมพ์จากรายได้มหาวิทยาลัยเบื้องต้น 4/4/2017

38 โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Press )
มีการจัดพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม ในนามสำนักพิมพ์ ผลงานวิชาการที่ผ่านการพิจารณาและอยู่ระหว่างบรรณาธิกร 2ชื่อ มีเว็บไซต์เป็นแหล่งประสานงานระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงาน กับ สำนักพิมพ์ 4/4/2017

39 โครงการปรับปรุงเทคโนโลยีห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ (e-Music)
หัวข้อ ข้อมูลปัจจุบัน Domain Name สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเลือก (21 พ.ย. 2553) ทรงทดลองเข้าใช้เมื่อ วันที่ 7 ธ.ค ณ ศาลาดุสิตาลัย ขนาดข้อมูล 600 Gigabyte ถ่ายโอนข้อมูลเก็บที่ กองเทคโนโลยีสารสนเทศ ขนาด Server กองเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล (20 TeraByte) 4/4/2017

40 โครงการพัฒนาหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล
สืบเนื่องจากการข้อตกลงการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement) ของส่วนงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 อธิการบดี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้ให้นโยบายในการพัฒนางานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นอย่างเป็นระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยมอบหมายให้ รองอธิการบดีฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กำกับดูแล และให้ ผนวกงานก่อสร้างหอพระราชประวัติสมเด็จพระราชบิดา หอเกียรติยศแห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ห้องนิทรรศการและห้องจดหมายเหตุแผนที่และผัง แม่บท ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน 4/4/2017

41 โครงการพัฒนาหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ รวบรวม จัดเก็บและอนุรักษ์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ วัตถุและสิ่งของที่มีคุณค่า มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งให้บริการข้อมูลจดหมายเหตุเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสังคมภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหิดล 4/4/2017

42 แผนการดำเนินงาน ในอนาคต
4/4/2017

43 โครงการปรับปรุงกายภาพและภูมิทัศน์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะที่ 2
4/4/2017

44 โครงการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU - eLearning)
แนวโน้มของรูปแบบการเรียนการสอน กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย (e-Learning) ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน ด้วยการที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองภารกิจในการทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนโยบายที่มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางการผลิตสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายของมหาวิทยาลัย จึงจัดทำโครงการพัฒนาการผลิตสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย (MU-eLearning) ขึ้น 4/4/2017

45 โครงการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU-eLearning)
แผนงาน จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อทำความเข้าใจและหาแนวทางการพัฒนา e-Learning จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ Open Source with Moodle (LMS) ให้กับหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งผู้ดูและระบบ (Admin) และอาจารย์ผู้สอน เป็นศูนย์กลางการผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบทเรียน e-Learning ของมหาวิทยาลัย เป้าหมาย หน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ต่ำกว่า 15 หน่วยงาน ได้พัฒนา e-Learning ของหน่วยงานตนเองขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียน การสอนของอาจารย์และนักศึกษา และยังมีหน่วยงานอีกหลายแห่งอยู่ใน ขั้นตอนการพัฒนา 4/4/2017

46 โครงการพัฒนาระบบการเผยแพร่สื่อวีดิทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Lecture on Web) โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อวีดิทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานผ่านเครือข่าย Internet ให้สามารถใช้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของไฟล์ดิจิทัล สามารถรองรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น Computer Notebook, Netbook, โทรศัพท์มือถือแบบต่างๆ เช่น iPhone, iPod, Android, Window Mobiles เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตอบสนองความต้องการใช้งานของนักศึกษา สามารถรองรับกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานในการพัฒนาระบบการศึกษา สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และความเป็นเลิศทางวิชาการ 4/4/2017

47 แผนภาพ : ระบบ e-Lecture on Web
4/4/2017

48 เป้าหมายของโครงการ มีระบบการเผยแพร่สื่อวิดีทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานดิจิทัลผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ( E-Lecture on Web ) ที่สามารถศึกษาผ่าน Computer Notebook , Netbook , โทรศัพท์มือถือแบบต่างๆ เช่น iPhone , iPod , Android , Window Mobiles ซึ่งทันสมัยสะดวกต่อ การจัดเก็บ การศึกษาค้นคว้าและตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของนักศึกษา มีนักศึกษามาใช้บริการสื่อวิดีทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ( E-Lecture on Web ) ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 คน 4/4/2017

49 โครงการ “รักการอ่าน สร้างการเรียนรู้ สู่ชุมชน”
เพื่อเสริมนโยบายวาระการอ่านแห่งชาติให้ประชาชนทุกกลุ่มตระหนักความสำคัญของ การอ่านและเปลี่ยนค่านิยมมารักการอ่าน โดยอาศัยสื่อทุกแขนง หอสมุดฯ ได้เข้าร่วมเป็นภาคีการอ่านกรุงเทพฯ ตาม โครงการส่งเสริมกรุงเทพให้เป็นมหานครแห่งการอ่านในปี 2013 ขององค์การ UNESCO โดยเข้าร่วมกิจกรรมกับภาคีเครือข่าย เช่น ทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกับห้องสมุดประชาชนพุทธมณฑล จัดมุมหนังสือและเล่านิทานสำหรับเด็กช่วงปิดภาคฤดูร้อน ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในหอพักนักศึกษา ฯลฯ 4/4/2017

50 โครงการเทียบเคียงทรัพยากรสารสนเทศ (Collection Development)
การพัฒนาหรือการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศนับเป็นกระบวนการแรกเริ่มในการคัดสรรสารสนเทศประเภทต่างๆ เข้าห้องสมุดให้ครอบคลุมและครบถ้วนตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอน สนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัย มีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย เพื่อให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด 4/4/2017

51 โครงการเทียบเคียงทรัพยากรสารสนเทศ (Collection Development)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เป็นผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว ห้องสมุดส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ไม่สามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาบริการได้ครบถ้วนทั้งหมดตามที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อมิให้ภาวะการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด หอสมุดและคลังความรู้ฯ จึงดำเนินการประเมินทรัพยากรสารสนเทศโดยเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในแต่ละสาขาวิชา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างระบบเครือข่ายของห้องสมุดและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดฯ ให้เป็นสากล และคาดว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับห้องสมุดระดับนานาชาติ และเป็นแหล่งอ้างอิงการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยระดับสากล 4/4/2017

52 โครงการเทียบเคียงทรัพยากรสารสนเทศ (Collection Development)
ผลของโครงการในระยะ 6 เดือน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมการสร้างระเบียนบรรณานุกรม ทรัพยากรสารสนเทศในระบบออนไลน์ ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมหิดลที่นำเข้าฐานข้อมูลของ ต่างประเทศเพื่อการเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในแต่ละ สาขา มีจำนวนประมาณ 190,000 รายการ จากจำนวนทั้งหมด 258,500 รายการ 4/4/2017

53 โครงการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของบุคลากรห้องสมุด อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั้งองค์กร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรด้านระบบบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคลากร การเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการสร้างความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร ความพึงพอใจเกี่ยวกับผู้บริหาร นโยบายและการบริหารจัดการของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในปัจจุบัน 4/4/2017

54 โครงการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
ความพึงพอใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในหน่วยงาน ความทันสมัยและเพียงพอของเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ทำงา ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินในขณะทำงาน ความพึงพอใจเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ความเหมาะสมของงานในความรับผิดชอบของท่าน ความท้าทายของงานที่รับมอบหมาย งานของท่านมีการเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง และรับการสนับสนุนให้พัฒนาความรู้ ความสามารถในตำแหน่งงานอย่างต่อเนื่อง 4/4/2017

55 โครงการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
ความพึงพอใจเกี่ยวกับค่าตอบแทนและสวัสดิการ การประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนมีความเหมาะสมเป็นธรรม การได้รับค่าตอบแทนพิเศษ และเงินรางวัลฯลฯ เป็นธรรม และเหมาะสมกับคุณภาพ และปริมาณงาน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย และความก้าวหน้าในทางอาชีพในองค์กร กระบวนการบรรจุและแต่งตั้ง เลื่อนระดับ มีความโปรงใส เป็นธรรม ความพึงพอใจเกี่ยวกับการสื่อสารในองค์กร การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงาน ช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน การประชุมชี้แจง/หารือ/ขอความคิดเห็นในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับองค์กร การเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานมีแหล่งข้อมูลข่าวสารให้สามารถเข้าถึงได้ การได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงาน การสื่อสาร การรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมในหน่วยงาน 4/4/2017

56 โครงการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของบุคลากรห้องสมุด อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั้งองค์กร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรด้านระบบบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคลากร การเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการสร้างความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร 4/4/2017

57 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง ตลอดจนเพิ่มพูนความรู้และประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้มาตรฐาน โดยการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้านการพัฒนาความรู้และทักษะตามสายงาน ด้านจิตใจ ร่างกาย อารมณ์ และบุคลิกภาพ โดยการจัดอบรม สัมมนา การเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ พร้อมทั้งจัดหาสื่อเผยแพร่อิเล็กทรอนิกส์ เปิดโอกาสให้บุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรไปศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรหอสมุดและคลังความรู้ฯ มีความพร้อมในการให้บริการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4/4/2017

58 ทรัพยากรบุคคล ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างชั่วคราว รวม 47 61 7 4 119 39 % 51% 6% 3% 4/4/2017

59 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา 2551 (ราย/ครั้ง) 2552 2553 รับการฝึกอบรม - ในประเทศ 70/275 81/339 71/378 - ต่างประเทศ - 1/1 ประชุม/สัมมนา 101/421 101/614 98/612 1/2 2/2 3/3 ดูงาน - ในประเทศ 23/59 6/6 28/30 - ต่างประเทศ 4/1 5/2 4/4/2017

60 งบประมาณที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
แหล่งเงิน ปีงบประมาณ 2551 2552 2553 2554 เงินงบประมาณแผ่นดิน 23,164,900 18,393,100 9,108,600 เงินรายได้หอสมุดและคลังความรู้ฯ 1,285,000 700,900 1,203,600 11,232,600 เงินรายได้มหาวิทยาลัย 18,920,000 18,880,000 24,938,600 25,229,100 เงินรายได้สนับสนุนจาก ส่วนงาน  49,617,400 54,712,300 57,412,900 4/4/2017


ดาวน์โหลด ppt 4/4/2017.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google