งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น
Education Policy and Planning for Locality Development

2 หลัก 3 V ของการเป็นนักบริหาร
Vision ผู้บริหารจะต้องเฉลียวฉลาด มองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อย่างชัดเจน รู้จักคาดการณ์ล่วงหน้า Visual ผู้บริหารต้องเป็นคนของสังคม ปรากฏกายต่อสังคมให้คนมองเห็น คือ รู้จักออกสังคมบ้างอย่าเอาแต่เก็บเนื้อเก็บตัว “การเป็นผู้บริหารที่ดีกับการเป็น สามีที่ดี ไปด้วยกันไม่ได้” โสเครตีส กล่าวไว้ Vocal ผู้บริหารต้องแสดงรู้จักแสดงออก รู้จักพูดคุย เพราะยิ่งพูดคนยิ่งรู้จัก ยิ่ง ศรัทธาในความเป็นผู้นำ อย่าเป็นคนที่คมแต่ในฝัก (สึกดีกว่าเป็นสนิม)

3 ทักษะทางการบริหาร เก่งงาน (Technical Skill): เก่งคน (Human Skill):
รอบรู้: สารเชิงเทคนิคของงาน รอบคอบ: ในการกำหนดมาตรฐานของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (standard operating procedure=SOP) รอบด้าน: ในการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติงาน เก่งคน (Human Skill): อ่านคนออก ดูคนเป็น ใช้คนถูก ผูกใจคนได้ ให้รางวัลแล้วยอมรับ ลงโทษแล้วได้รับความนับถือ เก่งคิด (Conceptual Skill): คิดงานให้คนทำ ปรับปรุงหรือพัฒนางานเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ คิดงานใหม่ ให้เหมาะสมกับกำลังคนที่มีอยู่ ปรับปรุง พัฒนาศักยภาพของคน และสรรหาคนรุ่นใหม่ให้สอดรับกับกลยุทธ์ที่เปลี่ยนไป

4 บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

5 บริบทของการเปลี่ยนแปลง
สังคม เศรษฐกิจ บริบทของการเปลี่ยนแปลง การบริโภค ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี

6 บริบทของการเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม
สังคม สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความอบอุ่น/ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง เด็ก/เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมมากขึ้น ภัยจากการก่อการร้าย ปัญหาภาวะสุขภาพที่เกิดจากสาเหตุใหม่หรือโรคระบาด เศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ฐานการผลิต หลากหลาย พึ่งพิงการนำเข้าสูง ทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ลดลง ดินเสื่อมโทรม แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน เก็บน้ำได้น้อยลง น้ำเสีย สภาพอากาศ ไม่เป็นไปตามฤดูกาล ระบบนิเวศน์เริ่มเสียสมดุล ความหลากหลายชีวภาพถูกคุกคาม คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยี ติดต่อสื่อสาร/บันเทิง มากขึ้น การใช้โทรศัพท์ มือถือเพิ่มขึ้นมากทั้ง ในระดับบุคคลและ ครอบครัว นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยี ชีวภาพ การบริโภค เปลี่ยนเป็นการซื้อ ทุกอย่าง เลียนแบบการ บริโภค วิถีชีวิตแบบคน เมืองมากขึ้น การใช้จ่าย ฟุ่มเฟือยมี แนวโน้มมากขึ้น

7 นโยบาย (Policy)

8 นโยบาย (Policy) คืออะไร
ขอบเขตของเหตุผลที่ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ (William G. Scott , 1974) การพูด หรือการเขียนถึงขอบเขต และแนวทางทั้งหมดของการปฏิบัติงาน (George R.Terry, 1977) หลักการ แผนการ หรือแนวทางของการปฏิบัติงาน (Charles E. Jacop, 1966) การตัดสินใจขั้นตอน อย่างกว้างๆ จากข้อมูลทั่วไป เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการ ปฏิบัติงาน ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ (William T. Greenwood, 1965) อุบายหรือ กลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นแนวทางที่จะ นำไปสู่เป้าหมายของส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสม (อมร รักษาสัตย์)

9 นโยบาย (Policy) คืออะไร
หมายถึง ข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้างๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของผู้บริหารผู้ที่ออกนโยบายต้องเป็นที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงานองค์กรนั้น ๆ

10 นโยบาย (Policy) คืออะไร
กล่าวโดยสรุป นโยบาย คือ แนวคิดหรือข้อความที่เข้าใจร่วมกัน แนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารหรือหน่วยงาน บอกทิศทางในการทำงาน (Direction) บอกเป้าหมาย (Ultimate Goal) เป็นยุทธศาสตร์ในการบริหาร (Strategy) ช่วยให้ผู้ร่วมงานเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน (Objective) เป็นกรอบที่ดี/แนวทาง/ประโยชน์ต่อส่วนรวม (Stakeholder/Customer)

11 นโยบาย แยกตามลักษณะงาน
11 ด้าน เศรษฐกิจ พลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ สวัสดิการสังคม ความเท่าเทียมกัน ด้านการศึกษา สิทธิมนุษยชน ธุรกิจ แรงงาน เกษตร ความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Anderson)

12 การจำแนกนโยบาย แหล่งที่มา (Source)
นโยบายริเริ่ม (Originate Policy) เกิดจากผู้บริหารระดับสูง จัดทำขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหมด นโยบายร้องเรียน (Imposed Policy) เกิดจากแรงกดดันภายนอกองค์การ เช่น อิทธิพลรัฐบาล กฎระเบียบ กลุ่มอิทธิพล ซึ่งองค์การ หลีกเลี่ยงไม่ได้ นโยบายโดยปริยาย (Implied Policy) นโยบายของผู้บริหารที่ผู้บริหารใหม่ ใช้เชื่อมต่อการปฏิบัติขององค์กร

13 ลักษณะการเกิด (Origin)
การจำแนกนโยบาย ลักษณะการเกิด (Origin) 1.นโยบายภายใน (Interval Policy) เกิดจากองค์กร กำหนดใช้เป็นแนวการดำเนินงาน อาจได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ กลุ่มบุคคลในหน่วยงาน (Originated or Appealed Policy) 2.นโยบายภายนอก (External Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานสนองตอบ อิทธิพลจากภายนอก ที่มากระทบองค์กร เช่น กฎหมาย นโยบายรัฐ การแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ

14 ระดับชั้นการบริหารองค์กร (Original level of Management)
การจำแนกนโยบาย ระดับชั้นการบริหารองค์กร (Original level of Management) 1.นโยบายพื้นฐาน (Basic Policy) กำหนดโดย Top Executives เพื่อองค์กรทั่วไป ลักษณะแนวคิดกว้าง ๆ 2.นโยบายทั่วไป (General Policy) กำหนดโดย Middle Managers เพื่อให้ รายละเอียดสอดคล้องรับกับ Basic Policy 3. นโยบายเฉพาะหน่วยงาน (Departmental Policy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยย่อย ขององค์กร

15 จำแนกตามลักษณะ (Attributed Policy)
การจำแนกนโยบาย จำแนกตามลักษณะ (Attributed Policy) 1.นโยบายควบคุม เช่น ภาษี เกณฑ์ทหาร ทรัพยากร อัตราแลกเปลี่ยน 2.นโยบายแจกจ่าย เช่น การพัฒนาด้านต่างๆ งบประมาณ โครงการ 3. นโยบายการจัดการทรัพยากร นโยบายน้ำ นโยบายป่าไม้ ที่ดิน 4. นโยบายการระดมความร่วมมือ เช่น ระดมทุน การมีส่วนร่วม 5. นโยบายส่งเสริม วัฒนธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต

16 ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย (Charies O Jones)
การก่อตัวของปัญหา การหยิบยกปัญหา มาพิจารณา การกำหนดนโยบาย หรืออนุมัติให้ใช้ การปฏิบัติตามนโยบาย การประเมินผลนโยบาย

17 ลักษณะของนโยบายที่ดี
เป็นแนวทางการปฏิบัติงานขององค์กร ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ทำให้ทุกคนในองค์กรทราบถึงแนวทางโดยรวมขององค์กร เป็นข้อความที่เข้าใจง่าย และต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ชี้ให้เห็นถึงเงื่อนไข และช่วงทางการปฏิบัติงานในอนาคต เป็นเหตุ เป็นผล และนำไปปฏิบัติได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าจำเป็น และมีเหตุผล ต้องได้รับการตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เปิดโอกาสให้ผู้นำไปปฏิบัติ แปลความ และตัดสินใจด้วยตนเอง (Joseph L. Massie and John Douglas, 1981)

18 ลักษณะของนโยบายที่ดี
กำหนดบนพื้นฐานของข้อมูลความจริง นโยบายบังคับบัญชาและใต้บังคับ ต้องไม่ขัดกัน นโยบายต่างแผนกในองค์กรเดียวกันไม่ควรขัดแย้งกัน เป็นข้อความที่ให้ความหมาย ที่เข้าใจได้และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ยืดหยุ่นแต่มั่นคงในหลักการ ควรมีขอบเขตที่เข้าใจได้ด้วยเหตุผล (Wayne R. Mondy and Associates, 1988)

19 ความสำคัญของนโยบาย 1.เป็นแนวทางการปฏิบัติ (A Guide of Action) อย่างกว้างๆ ที่มีลักษณะ เป็นAbstract 2.ช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า จะมีภารกิจของหน่วยงาน และการดำเนินงาน ขององค์การอย่างไร 3. ช่วยทุกฝ่ายในองค์กร เข้าใจภารกิจของหน่วยงาน ภารกิจไม่ซ้ำซ้อน และ ประสานการทำงานกัน 4. ก่อให้เกิด เป้าหมายในการปฏิบัติ ประสิทธิภาพในงาน เกิดพลัง หรือ ศักยภาพในบุคลากร 5. สนับสนุน ส่งเสริมการใช้อำนาจของผู้บริหาร ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง มี เหตุผลและยุติธรรม สร้างความเชื่อถือ จงรักภักดี และน้ำใจ

20 ความสำคัญของนโยบาย 6. ก่อให้เกิดการพัฒนาทางการบริหาร เมื่อมีการแปลความ (Interpretation) ไปสู่การปฏิบัติได้ (Feasibility) ของผู้บริหาร 7. นโยบายช่วยประหยัดเวลา เพราะได้คาดเดาไว้ล่วงหน้าแล้ว 8. นโยบายก่อให้เกิดความมั่นคง ในองค์กร และลดความเครียดเพื่อทราบ ทิศทาง 9.นโยบายก่อให้เกิดการประสานงาน และประสานการทำงาน 10. เป็นโครงร่าง ให้ผู้บริหารตัดสินใจ เมื่อได้รับมอบหมายงาน

21 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ. ศ
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ – รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 1. ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากร เพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง ระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชา แกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาท การศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเรียนรู้ที่ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดถึงการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อ นำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง 2. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ 3. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมี วิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิต ของครู ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากร ให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยี สารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า 4. จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกาย และสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

22 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ. ศ
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ – รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 5. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัด กลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับ การพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา 6. ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและ ปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 7. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เชิงสร้างสรรค์ อย่าง ชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ 8. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดย ใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษาเป็นหลัก ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของ มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

23 งานที่มอบหมายครั้งที่ 1
แบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเลือกวิเคราะห์นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน จำนวน 1 ข้อ แล้วนำเสนอตามประเด็นดังต่อไปนี้ ประเด็นที่ได้จากนโยบายข้อนี้มีอะไรบ้าง ท่านคิดว่านโยบายข้อนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่ ท่านมีแนวทาง/วิธีการ ในการขับเคลื่อนนโยบายนี้อย่างไร

24 การวางแผนและแผน (Planning & Plan)

25 แผนและการวางแผน (Plan & Planning )

26 การวางแผน (Planning) การวางแผนคืออะไร
โดยรูปศัพท์แล้ว คำว่า การวางแผน (Planning) มาจากคำในภาษาลาตินว่า Planum ซึ่งหมายถึงพื้นราบ (Flat Surface) และได้นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในความหมายดั้งเดิมว่า “การกำหนดแบบฟอร์มในทางราบ” เช่น แผนผัง แผนที่ ตลอดจนแบบพิมพ์ของสิ่งก่อสร้างต่างๆ (Blue Print) (Dictionary of the English Language, : 100) Herbert และ Gullett, (1987) ให้ความหมายว่า เป็นการกำหนดความสำเร็จล่วงหน้าที่วิเคราะห์จากข้อมูลจาก การตัดสินใจที่ผ่านมาและประเมินถึงอนาคต Putti (198 : 97) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการคาดการณ์ถึงหน้าที่การบริหารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระบวนการ รับรู้ การวิเคราะห์ การได้รับความรู้โดยได้รับจากการสื่อสาร การตัดสินใจและการดำเนินการ อุทัย บุญประเสริฐ (2532 : 19) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความเพียรพยายามขององค์การและหน่วยงานในการ กำหนดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติจัดทำ เพื่อให้ตอบสนองต่อภารกิจตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการให้ได้ผลดี ที่สุด ด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด มีประสิทธิภาพสูงภายใต้ความ

27 การวางแผน (Planning) การวางแผน (Planning)
เป็นกระบวนการเลือกวิธีดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ในอนาคต

28 องค์ประกอบของการวางแผน
องค์ประกอบ 3 ประการ ของการวางแผน เป็นกระบวนการ (Process) เป็นการเลือกกำหนดวิธีดำเนินการหรือการกระทำ (Alternative the Action) เป็นการทำงานที่ต่อเนื่องกันไปให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (Action to Objective) เป็นการคาดการณ์ถึงความสำเร็จในอนาคต (Future Forecasting) ปัจจุบันอยู่ที่ใด อนาคตต้องการจะไปที่ใด ทำอย่างไรจึงจะไปถึง

29 ความสำคัญของการวางแผน
1. ทำให้การทำงานของบุคลากรประสานงานซึ่งกันและกัน โดยมีแผนเป็นกรอบในการ ดำเนินงาน (Frame of Reference) 2. ช่วยให้เกิดการประหยัดในการบริหารทรัพยากร เช่น คน เงิน วัสดุและการจัดการ แทนที่จะต้องเสียเวลาดำเนินการไปโดยไม่มีทิศทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายขององค์การซึ่งจะทำให้เสียหายต่อทรัพยากรในการบริหารดังกล่าว 3. ช่วยให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพราะมีแผนเป็น แนวปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางอยู่แล้ง 4. เป็นการแบ่งเบาภาระ หน้าที่การงานของบุคลากรระดับบริหารได้เป็นอย่างดี เพราะการมี แผนจะต้องมีการกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงาน (Job Description) 5. ทำให้สามารถระดมสรรพกำลังของทรัพยากร (Mobilization of Resources) ได้อย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ และการจัดการ 6. หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา สามารถทราบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงานตามแผน (Plan Implementation) ได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคได้ทันท่วงที

30 หลักสำคัญของการวางแผน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้ได้ผลดี
ควรพิจารณาในสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ 1. การวางแผนควรกระทำเมื่อใด โดยปกติการวางแผนนั้นควรจะได้เริ่มปฏิบัติจัดทำขณะที่ เริ่มดำเนินงานเป็นอันดับแรก ผู้บริหารจะต้องวางแผนใหม่เพื่อให้ได้ผลประโยชน์อย่าง เต็มที่ 2. วัตถุ ประสงค์ นโยบาย จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ชัดเจนเพราะเป็น จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของการวางแผน แผนงานที่กำหนดขึ้นจะล้มเหลวและไร้ ความหมายหากไม่ทำความเข้าใจให้ดีก่อน 3. ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผนที่สำคัญได้แก่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ คนเงิน วัสดุ สิ่งของ สถานที่เวลา ฯลฯ จะต้องจัดเตรียมให้พร้อม 4. วิธีดำเนินงานตามแผน กล่าวคือ เมื่อวางแผนแล้ว ต้องพิจารณาหาลู่ทางวิธีการที่จะ ดำเนินการตามแผนที่กำหนดขึ้นไว้ให้ล่วงหน้าเพื่อสามารถวางมาตรการในการควบคุมได้ 5. คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ตลอดจนธรรมเนียมของคนกลุ่มนั้นๆ ยึดถือ

31 ขั้นตอนของการวางแผน 1. การกำหนดเป้าหมาย (Setting Objectives)
1.1 วิเคราะห์แนวโน้มทางสิ่งแวดล้อม (Analysis Environmental Trends) 1.2 พัฒนาเป้าหมาย (Develop Objectives) 1.3 พัฒนาลำดับความสำคัญของเป้าหมาย (Develop a Hierarchy of Objectives) 1. การกำหนดเป้าหมาย (Setting Objectives) 2. กำหนดทางเลือก (Listing Alternative Ways) 3. เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Choosing the Best Alternative) 4. การปฏิบัติตามแผน (Implementation) 5. การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluating and Review) 2.1 ศึกษาทางเลือก (Study) 2.2 กำหนดทางเลือก (List) 2.3 วิเคราะห์ทางเลือก (Analysis) 2.4 ลำดับความสำคัญ (Set priority) 4.1 นำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Put the Plan into Action) 3.1 แยกแยะปัญหาที่มีอยู่ (Identify Exciting Problem) 3.2 กำหนดทางเลือกที่ชัดเจนของปัญหา (List Alternative Problem Solution) 3.3 เลือกทางเลือกที่มีคุณค่าที่สุด (Select the Most Beneficial Alternative) 3.4 นำทางเลือกนั้นไปปฏิบัติ (Implement Chosen Alternative) 3.5 รวบรวมปัญหา รอผลการปฏิบัติ (Gather Problem Related Feedback)

32 ประโยชน์ของการวางแผน
มีความชัดเจนในการดำเนินงานทุกระดับในองค์การ ลดความเสี่ยงของความผิดพลาดในการดำเนินงาน ลดความสูญเสีย (เวลา งบประมาณ ทรัพยากร) เพิ่มประสิทธิภาพงานตามเป้าหมาย เป็นเครื่องมือควบคุมงาน

33 อุปสรรคของวางแผน ผู้บริหารกับการเห็นความสำคัญ สนับสนุน
ความสมบูรณ์ของข้อมูลในการจัดทำแผน ความสามารถ ทักษะ ในการจัดทำแผน ความร่วมมือของคนในองค์การ ประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ

34 แผน (Plan) แผน (Plan) แนวทางหรือวิธีการหรือกลุ่มของแผนงาน โดยจะรวมแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

35 ประเภทของแผน แผนแบ่งตามระยะเวลา
แผนระยะสั้น (Short – Range Plan) ระยะเวลา 1-2 ปี แผนระยะปานกลาง (Medium – Range Plan) ระยะเวลา 5-7 ปี แผนระยะยาว (Long – Range Plan) ระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป

36 ประเภทของแผน แผนพัฒนา แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ระยะยาว
ระยะกลาง ระยะกลาง แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ระยะสั้น

37 ประเภทของแผน ตามสถานที่ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตามสายงาน แผนระดับชาติ
แผนระดับภาค แผนระดับจังหวัด แผนระดับอำเภอ แผนระดับตำบล ตามหลักเศรษฐศาสตร์ แผนมหภาค แผนรายสาขา ตามสายงาน แผนระดับกระทรวง แผนระดับกรม หรือสำนักงาน หรือองค์การ แผนระดับกอง หรือฝ่าย

38 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
มาตรา 76 คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

39 ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ข้อ 28/1 ให้จังหวัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด และจัดส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าสิบห้าวันพร้อมกับคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของจังหวัด แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแล้วในวรรคหนึ่ง ให้จังหวัดใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด

40 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 52 วรรคสามเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด

41 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 “การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 13) ให้ส่วนราชการต้องกำหนดแผนปฏิบัติราชการไว้ล่วงหน้า โดยแผนนั้นต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา งบประมาณที่จะต้องใช้ดำเนินการในแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจและตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ และต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น”

42 สรุป นโยบาย (Policy) การวางแผน (Planning) แผน (Plan)
ข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้างๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหาร ผู้ที่ออกนโยบายต้องเป็นที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงานองค์กรนั้น ๆ การวางแผน (Planning) กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์และการระบุถึงสิ่งที่ควรจะทำให้สำเร็จ ผลที่ได้จากการวางแผน คือตัวแผนนั่นเอง แผน (Plan) แนวทางหรือวิธีการหรือกลุ่มของแผนงาน โดยจะรวมแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

43 การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)

44 เป้าหมายสูงสุดขององค์กร
นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จตามภารกิจ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สามารถก่อให้เกิดคุณค่าหรือประโยชน์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้

45 ทำไมต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์
การวางแผนในองค์กรจะมองระยะยาว การจัดโครงสร้างองค์กรจะเป็นแนวราบและเป็นเครือข่าย (Flat Organization & Networking) การกระจายอำนาจตัดสินใจสู่ผู้ปฏิบัติจะมากขึ้น (Empowerment) องค์กรช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น รัฐจะช่วยน้อยลง (Self-sustainable) ประชาคมจะมีส่วนร่วมมากขึ้น (Participation) การใช้ความรู้เชิงสหวิทยาการมีความจำเป็นมากขึ้น การแก้ปัญหาจะต้องมองภาพที่เป็นลักษณะองค์รวม เรื่องงปม.ก็ขอตรงจากสำนักงบประมาณได้

46 ปัญหาและข้อจำกัดของวางแผนยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน
ความสับสนในความหมายที่แท้จริงของยุทธศาสตร์ กำหนดยุทธศาสตร์โดยขาดพื้นฐานที่เพียงพอและความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ความยึดมั่นในทฤษฎีมากเกินไป การกำหนดยุทธศาสตร์มักจะมุ่งเน้นจากภายใน มากกว่ามองจากภายนอก การบริหารยุทธศาสตร์ที่เป็นชิ้นส่วน (Parts) และเป็นขนมชั้น การขาดความเชื่อมโยงที่นำไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง บุคลากรมุ่งแต่งานประจำ ละเลยยุทธศาสตร์ ขาดผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

47 ความหมาย ยุทธศาสตร์ (Strategy)
ภาษากรีก Strategia หมายถึง การนำทัพ (Generalship) หรือ แปลว่า ศิลปะในการนำทัพของแม่ทัพ หรือความเป็นผู้นำ (Arts of general or Leadership) สิ่งที่เกี่ยวกับกลวิธีที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ เป้าประสงค์ (ทองหล่อ เดชไทย 2544) วิธีหรือแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดเพื่อให้เกิดผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบ และสามารถบรรลุถึง วัตถุประสงค์อันใดอันหนึ่งหรือหลายวัตถุประสงค์พร้อมกัน โดยมีความ เสี่ยงน้อยที่สุด (ธงชัย สันติวงษ์ 2539)

48 ความหมาย ยุทธศาสตร์ (Strategy)
วิธีหรือแนวทางในการบรรลุจุดหมายของหน่วยงาน ที่มีการใช้ความคิดเป็นพิเศษ เพื่อกลั่นเอาแนวทางที่ดีที่สุด และสามารถแปรเปลี่ยนสถานการณ์ทุกประเภท ให้กลับกลายเป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน ไม่ว่าขณะนั้นองค์การจะอยู่ในสถานการณ์ใด ไม่ว่าจะเป็นช่วงได้เปรียบ หรือเสียเปรียบก็ตาม วิธีหรือแนวทางที่พิเศษ ดีที่สุด สามารถแปรเปลี่ยนสถานการณ์ทุกประเภท ให้กลับกลายเป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน าม

49 การวางแผนยุทธศาสตร์และการวางกลยุทธ์เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายและแนวทางการดำเนินงานขององค์การในระยะยาว

50 ลักษณะงานที่จัดอยู่ในยุทธศาสตร์
งานใหม่ ยุทธศาสตร์ การพัฒนางานประจำ งานประจำที่ดำเนินการเป็นปกติ

51 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์

52 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
การวางยุทธศาสตร์ (Strategic Formulation) การแปลงยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation /Execution) การประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ (Strategic Measurement and Evaluation)

53 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
การวางยุทธศาสตร์ (Strategic Formulation) การวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) เป็นการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ ได้ข้อมูลสำหรับการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ การกำหนดทิศทางขององค์การ (Strategic Direction Setting) เป็นการกำหนดทิศทางที่องค์การต้องการมุ่งไปสู่ เปรียบเสมือนเป็นผลลัพธ์ระดับสูงที่องค์การต้องการที่ จะบรรลุ ได้แก่ การกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์ การวางยุทธศาสตร์ (Strategy Development) เป็นการกำหนดแนวทาง วิธีการ สิ่งที่องค์การจะมุ่งเน้น ให้ความสำคัญ วางแผน ที่จะทำเพื่อให้สามารถ บรรลุในทิศทางหรือผลลัพธ์ที่องค์การต้องการ การสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์ (Strategy Communication and Translation) เป็นการสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์ให้อยู่ในรูปที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายสำหรับบุคลากรทุก ระดับในองค์การ เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติต่อไป ที่มา : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิงหาคม 2548

54 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ กับยุทธศาสตร์ (Strategic Alignment) 1) โครงการและงบประมาณ (Projects and Budget) ภายหลังจากที่ได้มีการกำหนด ยุทธศาสตร์แล้ว องค์การจะต้องแปลงยุทธศาสตร์สู่โครงการและงบประมาณต่างๆ ซึ่งโครงการและการจัดสรร งบประมาณนั้น ควรจะมีลักษณะที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์เป็นหลัก เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อ ได้รับงบประมาณ และมีการดำเนินโครงการตามที่ได้วางแผนไว้ จะส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดขึ้น 2) โครงสร้างและกระบวนการทำงาน (Structure and Work Processes) ภายหลังจากกำหนดยุทธศาสตร์เสร็จสิ้นแล้ว การจัดโครงสร้างและกระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์การควร จะต้องปรับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ (Structure follow Strategy) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์การเองมีรูปแบบ โครงสร้าง และกระบวนการในการทำงานที่สนับสนุนต่อยุทธศาสตร์ทั้งนี้เนื่องจากถ้าโครงสร้างและกระบวนการ ทำงานที่สำคัญขาดความสอดคล้องและเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์แล้ว ยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ก็ ยากที่จะบังเกิดผลสัมฤทธิ์

55 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ กับยุทธศาสตร์ (Strategic Alignment) 3) สมรรถนะและความสามารถของบุคลากร (Personnel Competencies) การที่ยุทธศาสตร์จะได้รับการขับเคลื่อนได้นั้นจะต้องอาศัยบุคลากรเป็นสำคัญปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในองค์การทั่วไป คือบุคลากรขาดความรู้ ความสามารถทักษะ ทัศนคติ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ดังนั้นการที่จะทำให้ ยุทธศาสตร์ได้รับการขับเคลื่อนและปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดีจากบุคลากรในองค์การ จะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะ ของบุคลากรให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ขององค์การ 4) วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน (Organization Culture and Shared Value) นอกเหนือจากสมรรถนะของบุคลากรที่จะต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แล้ววัฒนธรรมและ ค่านิยมในการทำงานของบุคลากรในองค์การก็จะควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ขององค์การด้วย เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติของบุคลากรต่างๆ ในองค์การเป็นไปใน ทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ขององค์การ

56 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ กับยุทธศาสตร์ (Strategic Alignment) 5) ความรู้และระบบข้อมูลสารสนเทศ (Knowledge and Information Systems) ในการดำเนินงานขององค์การนั้น ผู้บริหารย่อมจะต้องอาศัยข้อมูลทั้งที่เป็นความรู้ (Knowledge) และ ข้อมูลสารสนเทศ (Information) สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ โดยทั้งความรู้และข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการนั้น ควรจะเป็นความรู้และระบบข้อมูลสารสนเทศที่ผู้บริหารสามารถ ใช้ได้ รวดเร็ว ทันเวลา 6) ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement Systems) เพื่อให้บุคลากรทุกระดับในองค์การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ (Accountability) ระบบในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในทุกระดับควรจะเป็นระบบที่ผลักดันและ สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าบุคลากรขาดความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรับผิดชอบต่อ ยุทธศาสตร์แล้ว ผู้บริหารระดับสูงคงไม่สามารถที่จะผลักดันให้ยุทธศาสตร์สัมฤทธิผลได้ ซึ่งการที่จะทำให้บุคลากรมี ส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อยุทธศาสตร์นั้น ควรจะต้องผูกระบบในการประเมินผลในทุกระดับขององค์การให้เข้ากับ ยุทธศาสตร์

57 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ กับยุทธศาสตร์ (Strategic Alignment) 7) ระบบการจูงใจและผลตอบแทน (Incentives and Motivation Systems) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบุคลากรทุกระดับในองค์การได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ และผลักดันให้ยุทธศาสตร์สัมฤทธิ์ผล จะต้องมีการออกแบบระบบการจูงใจและผลตอบแทนที่เกื้อหนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ นอกเหนือจากการ ผูกระบบการประเมินผลเข้ากับยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติของมนุษย์ คนเรามักจะปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับ การจูงใจ ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้มุ่งเน้นและปฏิบัติยุทธศาสตร์ ระบบการจูงใจและผลตอบแทนขององค์การก็ควรที่จะ มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ด้วย

58 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) ความสามารถที่องค์การควรจะมีเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Strategic Capability) 1) ทักษะ ความสามารถของผู้บริหาร (Leadership Skills and Style) การจะแปลง ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้นั้น ทักษะ ความสามารถของผู้บริหารระดับสูงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง เนื่องจาก การที่จะทำให้ทั่วทั้งองค์การมุ่งมั่น และเชื่อมโยงต่อยุทธศาสตร์ได้นั้น จะต้องเริ่มต้นจากตัวผู้บริหารระดับสูงก่อน อย่างไรก็ดีปัญหาที่สำคัญก็คือผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่จะได้รับการพัฒนามาให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้ดี แต่ ขาดการพัฒนาทักษะและความสามารถที่จะช่วยในการแปลงหรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ 2) ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร (Passion and Commitment from Top Management in Implementing Strategy) นอกเหนือจากทักษะ ความสามารถของผู้บริหารที่จะต้อง มีแล้ว ผู้บริหารระดับสูงยังจะต้องมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องจากการแปลง ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัตินั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถดำเนินการได้สำเร็จภายในเวลาชั่วข้ามคืน อีกทั้งยังต้องอาศัยความ ต่อเนื่องในการดำเนินการ รวมทั้งยังมักจะมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นความมุ่งมั่นและทุ่มเท ของผู้บริหารระดับสูงต่อการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ

59 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) ความสามารถที่องค์การควรจะมีเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Strategic Capability) 3) การมีผู้รับผิดชอบต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัตินั้น จำต้องมีหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลที่เข้ามาดูแลและรับผิดชอบโดยเฉพาะ ทั้งนี้ถึงแม้หน่วยงานทุกหน่วยงานจะมีความ เกี่ยวข้องกับการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันแต่ละหน่วยงานก็จะให้ความสำคัญต่องานในส่วนที่ ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น แต่ขาดการมองภาพรวมหรือความเชื่อมโยงทั้งหมด นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงเองก็ยังขาด เวลาและไม่สามารถลงมาติดตามงานในรายละเอียดในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้ ดังนั้นจำต้องมีกลุ่ม บุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะ 4) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นและมุ่งเน้นนวัตกรรม (Organization Agility and Innovation) เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงจำต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ บริบทต่างๆ อีกทั้งจำต้องมีความสามารถในการพัฒนาและสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ สุดท้ายแล้วก็เพื่อให้ตัวองค์การมีความสามารถในการปรับตนเองให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนไป

60 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
2. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation Execution) ความสามารถที่องค์การควรจะมีเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Strategic Capability) 5) การทำงานร่วมกับผู้อื่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Open and Collaborative) การที่องค์การจะสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิผลนั้น ในหลายๆ สถานการณ์ที่จำต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ดังนั้นการที่องค์การสามารถทำงานร่วมกับองค์การอื่นๆ ในหลากหลายรูปแบบ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 6) การแบ่งปันความรู้ที่สำคัญภายในองค์การ (Best Practices and Knowledge Sharing) ในหลายๆ ครั้งเราจะพบว่าความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นั้น มีอยู่ในองค์การ อยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ทราบว่าความรู้นั้นอยู่ ณ จุดใดในองค์การ ดังนั้นการแบ่งปันความรู้ที่สำคัญและแนวทางในการ ปฏิบัติที่ดีระหว่างหน่วยงานหรือบุคลากรต่างๆ ภายในองค์การ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้ทั้งองค์การมีความรู้ และแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

61 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
3. การประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ (Strategic Measurement and Evaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานว่าได้นำไปสู่การแก้ไข ปัญหาหรือไม่อย่างไร ซึ่งการประเมินแผนยุทธศาสตร์มีความแตกต่างจากการประเมินผลโครงการ เพราะความสำเร็จของโครงการอาจมิใช่ความสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานได้ ต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และมีความเป็นรูปธรรม เช่น มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เป็นต้น มุ่งสู่ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่ สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด (Efficiency is to do thing right) และประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง การปฏิบัติงานให้ บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Effectiveness is to do right things) 

62 ขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์
ภายนอก สภาพแวดล้อมทางสังคมสภาพแวดล้อมของงาน “STEP Analysis” สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) นโยบาย&กฎเกณฑ์ของรัฐ (Political) ภายใน “McKinsey 7s Framework” กลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบ (System) บุคลากร (Staff) ทักษะ (Skill) สไตล์ (Style) ค่านิยมร่วม (Shared values) การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม การวางยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation) วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กลยุทธ์ เป้าประสงค์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การกับยุทธศาสตร์ (Strategic Alignment) โครงการและงบประมาณ โครงสร้างและกระบวนการทำงาน สมรรถนะและความสามารถของบุคลากร วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน ความรู้และระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบการจูงใจและผลตอบแทน ความสามารถที่องค์การควรจะมีเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Strategic Capability) ทักษะ ความสามารถของผู้บริหาร ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร การมีผู้รับผิดชอบต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นและมุ่งเน้นนวัตกรรม การทำงานร่วมกับผู้อื่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การแบ่งปันความรู้ที่สำคัญภายในองค์การ การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation) การควบคุม กำกับ ยุทธศาสตร์ (Strategic Control) ผลผลิตการปฏิบัติงาน/ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ตามแผน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ตัวชี้วัดบุคคล ความพึงพอใจ Individual SC / Balanced Scorecard / PMQA

63 HPO Balanced Scorecard วิธีการ Value Chain Individual SC Networking
เพื่อเป็นการถ่ายทอดนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน มากำหนดเป็นทิศทางการปฏิบัติราชการ (ยุทธศาสตร์)ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เพื่อเป็นการถ่ายทอดยุทธศาสตร์มาเป็นแผนการปฏิบัติงานราชการประจำปี คือ โครงการที่แสดงรายละเอียดผลผลิต ผลลัพธ์ ทรัพยากรที่จะใช้ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการดำเนินงานด้านต่างๆ แผนการใช้เงิน การบริหารเงินสดผ่านระบบ GFMIS ทั้งนี้ ให้มีการวิเคราะห์ gaps ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้าง กระบวนงาน เทคโนโลยี พัฒนาขีดความสามารถ กระบวนทัศน์ ค่านิยมของบุคลากร เพื่อเป็นการทบทวน ติดตาม ประเมินผลตามแผนการปฏิบัติราชการ โดยให้หน่วยงานจัดทำ SAR และให้มีการเข้าไปตรวจสอบ ทานผล รวมทั้งให้ผู้ประเมินอิสระเป็นผู้ประเมินผลด้วย ให้มีการให้รางวัลตอบแทนผลการปฏิบัติงานที่บรรลุตามเป้าหมาย วัฒนธรรมองค์การ ปรับเปลี่ยน ออกแบบองค์การ และกระบวนงาน บริหารทุนด้าน ทรัพยากรบุคคล จัดการ ยุทธศาสตร์ ตลาดและ ลูกค้าสัมพันธ์ จัดการข้อมูล บริหาร บริหารจัดการ ด้านการเงิน ประเมินผล การปฏิบัติงาน สร้างเครือข่าย HPO การวางยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation) การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation) การควบคุม กำกับ ยุทธศาสตร์ (Strategic Control) Strategy Map วิธีการ Value Chain Individual SC Networking ศูนย์บริการร่วม Benchmarking การจัดทำบัญชีต้นทุน GSMS/GFMIS SWOT Analysis Structure Design PMQA ประเมินความคุ้มค่า Risk Management Capacity Building Blueprint for Change Process Improvement Change Management Technology Development Knowledge Management สำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการ eAuction/eProcurement Participation Balanced Scorecard

64 การจัดการยุทธศาสตร์ (PDCA Cycle)
วงล้อของการจัดการยุทธศาสตร์ 1. วางแผนยุทธศาสตร์ (Plan): ศึกษาปัญหา ค้นหาโอกาส วางแผนแก้ปัญหา รับมือกับโอกาส 2. นำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ (Do): ลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน 4. ปรับปรุงแก้ไข และติดตามผล (Act): ปรับปรุงแก้ไข ต่อยอดอย่างต่อเนื่อง 3. ทบทวน ประเมินผลและเรียนรู้ (Check): เรียนรู้ และติดตามประเมินผล ตามตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงาน

65 รูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่
Strategy Formulation การวางแผนยุทธศาสตร์ รูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ( ) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี S W O T Vision Strategic Issue Goal (KPI / target) Strategies Strategic Control การกำกับและติดตามผล Strategy Implementation การปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ Action Plan Strategic Management Process Risk Assessment & Management การประเมินและบริหารความเสี่ยง บุคคล/วัฒนธรรม กระบวนงาน ระบบสารสนเทศ การปรับเชื่อมโยง กฎ/ระเบียบ โครงสร้าง ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง


ดาวน์โหลด ppt นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google