งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พ.ศ

2 ความเป็นมา ฐานข้อมูลอุบัติเหตุจราจรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้ เป็นวิทยานิพนธ์คณะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (การขนส่ง) ของนางสาวชนิดา ฆังคะจิตร เมื่อปี พ.ศ และได้รับการพัฒนาระบบจัดการข้อมูล จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล ชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ ได้รับอนุญาตใช้ฐานข้อมูลนี้ เพื่อบันทึกและติดตามความรุนแรงจากอุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน ตั้งแต่ปี 2547 ฐานข้อมูลนี้ได้กำหนดรหัสกำกับจุดตัดของถนนและช่วงถนนทั้งหมด 456 จุด เฉพาะเส้นทางสายหลักในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และเส้นทางหลวงที่อยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

3 แหล่งข้อมูลและการจัดการ
ข้อมูล : รับข้อมูลจากศูนย์วิทยุกู้ภัย มูลนิธิมิตรภาพสามัคคีท่งเซีย-เซี่ยงตึ๊ง จำเพาะรายที่ศูนย์วิทยุกู้ภัย ได้รับแจ้งและช่วยผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร รายละเอียดข้อมูล : ประกอบด้วย เลขรหัสอุบัติเหตุ วันที่ วันประจำสัปดาห์ เวลา ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ยานพาหนะ จุดที่เกิดเหตุ บาดเจ็บสาหัสหรือเล็กน้อย หรือเสียชีวิต โปรแกรม : MapInfo การบันทึกข้อมูล : ชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ บันทึกข้อมูล : นางสาวปฐมพร ซื่อธานุวงศ์ ให้ข้อคิดเห็น : นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย

4 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแหล่งความชุกของอุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามแนวโน้มการเคลื่อนย้ายแหล่งความชุกของอุบัติเหตุแหล่งใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยรวม เช่น วันของสัปดาห์ เวลา และพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ ต่อสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มอ.(สวรส.) เพื่อการวิจัยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

5 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลในด้าน
รายงานจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามปี เดือน วันของสัปดาห์ และช่วงเวลา จำนวนและประเภทของยานพาหนะ ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุด้วยจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุของช่วงถนนหรือจุดตัดบนโครงข่ายถนน ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุด้วยการจัดลำดับจำนวนอุบัติเหตุ และค่าดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุ วิเคราะห์แหล่งที่มีความรุนแรงเพื่อเป็นกรณีศึกษา 2 แหล่ง หมายเหตุ : การวิเคราะห์ผลไม่นำปริมาณการจราจรมาร่วมพิจารณา โปรแกรมสามารถวิเคราะห์เรื่องอื่น ๆ เช่น การใช้อุปกรณ์นิรภัย ปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ อายุผู้ขับขี่ ฯลฯ แต่เนื่องจากไม่มีการบันทึกข้อมูลส่วนนี้ จึงไม่สามารถวิเคราะห์ผล

6 * ในบางช่วงจะมีการให้ข้อคิดเห็นเพื่อให้ผุ้อ่านพิจารณาเพิ่มเติม และหรือเพื่อคิดใช้สำหรับลงลึกการทำวิจัย *

7 ขั้นตอนในการเสนอข้อมูลใน power point นี้
ข้อมูลภาพรวมเพื่อแสดงการกระจายของอุบัติเหตุ จำแนกตามปี เดือน วันของสัปดาห์ และเวลา ข้อมูลของตัวอย่างแหล่งความชุกสูงและต่อเนื่อง ในเมืองหาดใหญ่(รวมทั้งข้อบกพร่อง) ภาคผนวก - วิเคราะห์แหล่งความชุก[สำหรับผู้สนใจที่รู้จักพื้นที่] ก. ลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ ข. คำนวณค่าดัชนีความรุนแรง

8 เฉลี่ยจำนวนอุบัติเหตุต่อเดือน
จำนวนครั้ง

9 ข้อคิดเห็น – 1 (อุบัติเหตุต่อปี)
จำนวนอุบัติเหตุที่ต่ำในปี 2547 อาจเพราะการบันทึกข้อมูล ณ ที่เกิดเหตุยังไม่สมบูรณ์ (ชี้แจง : เพราะจำนวนอุบัติเหตุในแต่ละปีแตกต่างกัน และเพื่อสามารถเปรียบเทียบระหว่างปีหรือเดือน ฯลฯ จึงปรับหน่วยเป็นร้อยละ(%) ของค่าเฉลี่ยต่อเดือนหรือต่อสัปดาห์หรือต่อชั่วโมงของปี)

10 ความชุกจำแนกตามเดือน
% ค่าเฉลี่ย

11 ข้อคิดเห็น – 2 (อุบัติเหตุต่อเดือน)
2. จะสังเกตว่า จำนวนอุบัติเหตุในช่วงต้นของปี 2547 มีน้อย เพราะวิธีเฉลี่ย แล้วเลยเพิ่มมากเมื่อปลายปี 3. สำหรับปี 48, 49 แทบทุกเดือนจะมีปริมาณอุบัติเหตุ เท่า ๆกัน (คือประมาณ %)

12 อุบัติเหตุจำแนกตามวันของสัปดาห์
% ค่าเฉลี่ย

13 ข้อคิดเห็น – 3 (อุบัติเหตุต่อวันของสัปดาห์)
4. จำนวนอุบัติเหตุสูงตั้งแต่วันพฤหัสฯ ถึงวันอาทิตย์ไม่ว่าปีใด (สังเกต: เฉลี่ย พุธ = 90% สูงสุดท้ายสัปดาห์ = 110%) คำถามวิจัย : มีสาเหตุอื่นไหม นอกจาก “เที่ยว” และ “ดื่ม” ที่ทำให้อุบัติเหตุเพิ่มจาก 75-90%(วันจันทร์ถึงพุธ) ไปเป็น % วันท้ายสัปดาห์

14 อุบัติเหตุจำแนกตามช่วงเวลาของวัน
% ค่าเฉลี่ย ช่วงเวลา(นาฬิกา)เกิดเหตุ 5 = น.

15 ข้อคิดเห็น – 4 (อุบัติเหตุต่อชั่วโมง)
5. อุบัติเหตุจะมีมากตั้งแต่ เวลา – น. 6. สังเกตว่ามี 1 ชั่วโมง(24.00 หรือ 1.00 น.) ที่จำนวนลดลง–ทำไม?– น่าจะมาจากการบันทึก/รวบรวมข้อมูล คำถามวิจัย : เช่นเดียวกับข้อ 4 หรือเปล่า เตือน : เราไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบพาหนะที่ร่วมอุบัติเหตุในต่างช่วงเวลา แต่ก็อาจออกมาในลักษณะภาพถัดไป

16 สัดส่วนพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ
ร้อยละ ปี 2547 จยย. = 702, กระบะ =200, เก๋ง =133, อื่นๆ = 51 ปี 2548 จยย. = 879, กระบะ =252, เก๋ง =163, อื่นๆ = 78 ปี 2549 จยย. = 1132, กระบะ =256, เก๋ง =209, อื่นๆ = 94 หมายเหตุ : ข้อมูลที่มียังไม่สามารถคำนวณ % ของการบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต จากประเภทยานพาหนะ

17 ในภาพถัด ๆไปจะแสดง 2 แหล่งตัวอย่าง (ที่หาดใหญ่) เพื่อศึกษาลงลึก
ในภาพถัด ๆไปจะแสดง 2 แหล่งตัวอย่าง (ที่หาดใหญ่) เพื่อศึกษาลงลึก

18 วิเคราะห์แหล่งความชุกจากแผนที่โครงข่าย ปี 2547 – 2549
วัตถุประสงค์ : เพื่อติดตามข้อมูลเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและสูงต่อเนื่องตลอด 3 ปี (ปี จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุเพียง 9 เดือน) แนวทางการศึกษา : จัดลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ กำหนดเกณฑ์ความชุกคือ จุดตัด/ช่วงถนนที่มีอุบัติเหตุ 10 ครั้งขึ้นไป/ปี (ภาคผนวก ก.) คำนวณค่าดัชนีความรุนแรงเกณฑ์ กำหนดค่าความรุนแรง 4 ขึ้นไป (ภาคผนวก ข.) ข้อมูลเพื่อศึกษา - จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ - จำนวนผู้เสียชีวิต - จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส และจำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย - ประเภทพาหนะ พาหนะระหว่างคู่กรณีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยรวม คือวันเกิดเหตุของสัปดาห์ เวลาเกิดเหตุ

19 แหล่งความชุก : ตัวอย่างการศึกษา 2 แหล่ง
แหล่งความชุก : ตัวอย่างการศึกษา 2 แหล่ง แยกถนนเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ ถึงมูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดตัดของถนนสายหลักกับถนนที่เป็นแหล่งสถานบันเทิง (แหล่ง ก) 2. ถนนเพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง ซึ่งเป็นช่วงถนนสายหลัก 4 เลนส์ ความยาวช่วงถนนประมาณ 2,600 เมตร (เครื่องมือวัดระยะทางของฐานข้อมูล) (แหล่ง ข) เหตุผลที่เลือกเป็นแหล่งศึกษา : เป็นทางแยก/ช่วงถนน ที่มีจำนวนครั้งของอุบัติเหตุและค่าความรุนแรงในระดับสูงจากการวิเคราะห์ข้อมูลรายปี ระหว่างปี

20 แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ ปี 2547-2549
ข้อมูลอุบัติเหตุ 2547 – อุบัติเหตุ 19 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 8 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 16 ราย อุบัติเหตุ 13 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 5 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 12 ราย อุบัติเหตุ 16 ครั้ง, เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บสาหัส 2 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 22 ราย

21 แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี 2547-2549
แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี จำนวนคน ชาย 45 หญิง 21

22 แหล่ง ก : จำแนกอุบัติเหตุตามวันของสัปดาห์ (รวม) ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ บริเวณแยกนี้อุบัติเหตุเกิดชุกในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และจันทร์ = 79% (วันจันทร์ เริ่มจากหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์คือเวลา – น.)

23 ข้อคิดเห็น - 5 คำถามวิจัย : - ทำไมความชุกจึงเพิ่ม 5 เท่า
7. สำหรับทางแยกนี้–วันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์, จันทร์(เริ่ม0.00 น.) มีความชุก 5 เท่าของวันพุธ ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลของอุบัติเหตุรวม(ต่อปี) ในรายงานที่ได้เสนอมา คำถามวิจัย : - ทำไมความชุกจึงเพิ่ม 5 เท่า - ข้อมูลของการกระจายอุบัติเหตุตามช่วงเวลาจะช่วยหรือไม่(ภาพหน้า)

24 แหล่ง ก : จำแนกอุบัติเหตุตามช่วงเวลา ปี 2547-2549
จำนวนครั้ง เวลา 1= น. อุบัติเหตุเกิดชุกช่วงระหว่างเวลา น. = 67%

25 ข้อคิดเห็น - 6 คำถามวิจัย : สถานบันเทิงอยู่ที่ไหน?
8. จะเห็นว่าอุบัติเหตุเพิ่ม 4–6 เท่าในช่วงเวลา 22.00–03.00 9. ที่ไปโป่งอีกทีตี 5 และไม่มีอุบัติเหตุตี 4 นั้น อาจมาจากวิธีบันทึก/วิเคราะห์ข้อมูล คำถามวิจัย : สถานบันเทิงอยู่ที่ไหน? สภาพของผู้ขับขี่ก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างไร?

26 แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะ ปี 2547-2549
แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะ ปี จำนวน อุบัติเหตุเกิดกับผู้ใช้รถ จยย. = 73%

27 แหล่ง ก. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย ซึ่งคล้ายกับข้อมูลของอุบัติเหตุทุกระดับของความรุนแรง

28 แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะเฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ

29 แหล่ง ก : สรุปวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส
แยกถนนเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ ถึงมูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ เป็นจุดตัดที่มีสัญญาณไฟจราจร และสัญญาณไฟทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ผู้เสียชีวิต เป็นชาย 1 ราย เวลา จากรถจยย. ชนเสาไฟฟ้า บาดเจ็บสาหัส : ก. ผู้ที่บาดเจ็บสาหัส เป็นชาย 14 ราย หญิง 1 ราย ข. รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะของผู้บาดเจ็บสาหัส 14 ใน 15 ครั้ง ค. ช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุรุนแรงระหว่าง น. 5 ใน 15 ครั้ง

30 แหล่ง ก : จำแนกตามวันของสัปดาห์เฉพาะรายที่เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงกระจายอยู่ที่วันจันทร์ พฤหัสฯ ศุกร์ และเสาร์ (วันจันทร์ เริ่มจากหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์คือเวลา – น.)

31 แหล่ง ก : จำแนกตามเวลาเกิดอุบัติเหตุเฉพาะรายที่เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ หน่วยนับ = ทุก 2 ชม.

32 แหล่ง ข.

33 แหล่ง ข : จำนวนอุบัติเหตุ ปี 2547-2549
ข้อมูลอุบัติเหตุ 2547 – อุบัติเหตุ 23 ครั้ง, เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บสาหัส 6 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 19 ราย อุบัติเหตุ 16 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 5 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 19 ราย อุบัติเหตุ 25 ครั้ง, เสียชีวิต 3 ราย, บาดเจ็บสาหัส 2 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 26 ราย

34 แหล่ง ข : สรุปวิเคราะห์อุบัติเหตุ
แหล่งนี้เป็นช่วงถนนที่มีระยะทางประมาณ 2,600 เมตร ซึ่งค่อนข้างยาวเมื่อเปรียบกับช่วงถนนอื่นในแผนที่โครงข่าย เป็นเส้นทางสู่เส้นทางหลวง ระหว่างเส้นทางมีจัดตัดเชื่อมต่อชุมชนโดยรอบ เช่น บ้านควน บ้านท่าทอน บางแฟบ บ้านหน้าควนลัง ผู้เสียชีวิตเป็นชายทั้ง 4 ราย ดังนี้ - เก๋ง ชน จยย เวลา น. บริเวณมัสยิด ควนลัง - กระบะ ชน จยย เวลา บริเวณโรงเรียนนานาชาติ - จยย ชน ประตูบ้าน เวลา 0.34 น. เพชรเกษม ซอย 41 - กระบะ ชน คนเดินเท้า เวลา น. เพชรเกษม ซอย 41 บริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ปากซอยเพชรเกษม 27 ตลาดเกษตร-เพชรเกษม ซอย 41 โรงเรียนบริหารธุรกิจนานาชาติ-มัสยิดควนลัง

35 แหล่ง ข : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี 2547-2549
จำนวนคน ชาย 57 หญิง 25

36 แหล่ง ข : จำแนกอุบัติเหตุตามวันของสัปดาห์ ปี 2547-2549
จำนวนครั้งของอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงคือ วันเสาร์และอาทิตย์ = 52%

37 แหล่ง ข : จำแนกอุบัติเหตุตามช่วงเวลา ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ เวลา 1= น. อุบัติเหตุเกิดชุกช่วงระหว่างเวลา น. = 20%

38 คำถามวิจัย : ทำไมการกระจายจึงแตกต่างจาก “แหล่ง ก”
ข้อคิดเห็น - 7 10. ลักษณะอุบัติเหตุตามเวลาของวัน จะแตกต่างจาก “แหล่ง ก” สังเกตว่า “แหล่ง ข” กลางวันก็มีจำนวนอุบัติเหตุสูง ส่วนกลางคืนก็มีมากกว่าเพียง 2–3 เท่า เท่านั้น และหนักเพียง 2 วันคือ วันเสาร์/อาทิตย์(หลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์ก็ไม่สูง) คำถามวิจัย : ทำไมการกระจายจึงแตกต่างจาก “แหล่ง ก”

39 แหล่ง ข : จำนวนพาหนะและคนเดินเท้า ปี 2547-2549
จำนวนพาหนะ/คนเดินเท้า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับผู้ใช้รถ จยย. = 60%

40 แหล่ง ข. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย
แหล่ง ข. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย

41 แหล่ง ข : พาหนะคู่กรณีเฉพาะรายที่เสียชีวิตและเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ อุบัติเหตุที่รุนแรงเกิดกับผู้ใช้รถจยย. 14 ครั้งจากการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 15 ครั้ง

42 แหล่ง ข : วันของสัปดาห์เฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงกระจายอยู่ในวันพฤหัสฯ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

43 แหล่ง ข : เวลาเกิดอุบัติเหตุเฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549
จำนวนครั้งอุบัติเหตุ หน่วยนับ = ทุก 2 ชม.

44 ข้อเสนอแนะจากข้อมูล การศึกษาเพื่อลดความรุนแรงและอัตราอุบัติเหตุ :
กำหนดเกณฑ์ประเมินพื้นที่อันตราย ว่าจะใช้หน่วยนับชนิดใด หรือจะรวมส่วนใด เช่น ความถี่ของอุบัติเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิต, จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส หรือพื้นที่ใกล้สถานบันเทิง ฯลฯ ศึกษาปัจจัยเกี่ยวข้องต่อการเกิดอุบัติเหตุ : - คน : พฤติกรรมการขับขี่, ความรู้ความเข้าใจต่อกฎหมายและวินัย จราจร, การใช้สารเสพติด, อายุ ฯลฯ - ยานพาหนะ : ความเหมาะสมต่อการใช้งาน, การบำรุงรักษา ฯลฯ - ถนน : จุดบังสายตา, ระบบไฟแสงสว่าง, ป้ายสัญญาณจราจร, การจัดระบบจราจร ฯลฯ มาตรการแก้ไข/ควบคุมความถี่และความรุนแรง ทัศนะของชุมชน

45 ข้อคำนึงต่อภาพรวมของข้อมูล
จำนวนอุบัติเหตุนี้คือ ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวแทนเพื่อหาแหล่งความชุกของอุบัติเหตุ ฐานข้อมูลได้จัดทำเมื่อ พ.ศ ซึ่งไม่ครอบคลุมถนนบางสาย ที่รองรับการขยายตัวของเมือง/การสัญจรที่เคลื่อนตัวและอาจมีอุบัติเหตุมาก แต่เนื่องจากไม่อยู่ในระบบประมวลฐานข้อมูล จึงไม่ได้นำมาจัดลำดับความชุก เช่น แยกท่าเคียน, ถนนพลพิชัย-สราญราษฎร์, สาครมงคล เป็นต้น การนำเสนอวิเคราะห์/เปรียบเทียบ เพื่อเห็นจุดอันตรายซ้ำซาก และการกระจายข้อมูลที่ต่างในแต่ละปี การวิเคราะห์แหล่งความชุก ไม่ได้นำปริมาณรถที่สัญจรมาพิจารณาการจัดลำดับ

46 ภาคผนวก ก. : วิเคราะห์แหล่งความชุกโดยลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ ปี 2547-2549
แหล่งความชุกจากลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ (10 ครั้งขึ้นปี) ปี แหล่ง ปี แหล่ง ปี แหล่ง แหล่งที่เกิดอุบัติเหตุสูง และสูงทั้ง 3 ปี (จำนวนครั้งอุบัติเหตุตามลำดับปี) เพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง (23, 16, 40) มูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ถึง ถึงเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ (19, 13, 18) ศรีภูวนารถใน ถึง ราษฎร์อุทิศ 4 (19, 23, 15) แยกราษฎร์อุทิศ 21 ถึง รัตนอุทิศ 5 (19, 35, 16)

47 ภาคผนวก ข. : วิเคราะห์แหล่งความชุกโดยลำดับค่าดัชนีความรุนแรง ปี 2547-2549
แหล่งความชุกจากค่าดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุ (ค่าความรุนแรง 4) ปี แหล่ง ปี แหล่ง ปี แหล่ง แหล่งที่เกิดอุบัติเหตุสูง และสูงทั้ง 3 ปี (ค่าความรุนแรงตามลำดับปี) เพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง (11.1, 7.7, 19.4) มูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ถึง เพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ (8.9, 6.1, 8.7) ราษฎร์อุทิศ 21 ถึง รัตนอุทิศ 5 (8.7, 15.9, 7.3) ศรีภูวนารถใน ถึง ราษฎร์อุทิศ 4 (8.3, 9.8, 6.6) เชิงสะพานรัชมัคลาภิเษก ถึง สัจจกุล (5.2, 7.9, 5.4)

48 ภาคผนวก ข. : การคำนวณค่าดัชนีความรุนแรง
การคำนวณค่าดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุ * โดยสมมติตัวเลขค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผู้เสียชีวิต = 4 ต่อคน จำนวนเกิดอุบัติเหตุ = 3 ต่อครั้ง ผู้บาดเจ็บสาหัส = 2 ต่อคน ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย = 1 ต่อคน ค่าความรุนแรง = [3(จำนวนอุบัติเหตุ)+4(จำนวนผู้เสียชีวิต)+2(จำนวนผู้บาดเจ็บ สาหัส)+1(จำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย)]/(ผลรวมค่าน้ำหนักแต่ละประเภท) เกณฑ์ค่าความรุนแรง = 4 ขึ้นไป เป็นจุดที่ต้องได้รับการแก้ไข * อ้างอิงจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพัฒนาฐานข้อมูลอุบัติเหตุจราจร : กรณีศึกษา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยนางสาวชนิดา ฆังคะจิตร หน้า


ดาวน์โหลด ppt วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google