งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและสนับสนุน และขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน

2 เนื้อหา คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการและสนับสนุน ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ

3 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือ กลุ่มสหกรณ์ ซึ่งมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลุ่มผู้สนใจ อาทิเช่น อาสาสมัครพลังงานชุมชน (อส.พน.) เครือข่ายภาคประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง หรือพื้นที่พิเศษที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพลังงาน โดยจะต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ นิติบุคคลอย่างใดอย่างหนึ่ง

4 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีพื้นที่โครงการที่มีแหล่งทรัพยากรพลังงานทดแทนภายในชุมชนเพียงพอ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะยาว สามารถจัดหาทรัพยากรได้โดยง่าย ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีความพร้อมในด้านการลงทุน สามารถแสวงหาแหล่งทุนอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนนอกเหนือจากเงินสนับสนุนจากกองทุนฯได้

5 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เมื่อโครงการดำเนินการก่อสร้างและทดสอบเดินระบบผลิตพลังงานทดแทนแล้วเสร็จจะต้องสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานให้แก่ผู้สนใจหรือชุมชนอื่นๆได้

6 ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้
เป็น “โครงการที่สามารถผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนได้” โดยมีแหล่งพลังงานทดแทนภายในชุมชนของตนเอง คือ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ และน้ำ ไม่จำกัดรูปแบบของระบบหรือเทคโนโลยีเปลี่ยนรูปพลังงาน และจะต้องสามารถเปลี่ยนรูปพลังงานทดแทนมาให้อยู่ในรูปพลังงานเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้แก่ พลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าได้

7 พลังงานทดแทน แสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ความร้อน ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ น้ำ

8 ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้
เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการจะต้องสร้างรายได้หรือลดรายจ่ายให้แก่ชุมชน โดยจะต้องมีการบริหารการจัดการรายได้ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชน

9 ตัวอย่างโครงการ 1 : การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG
วิสาหกิจชุมชน ก. (ข้อมูลสมมุติ) ข้อมูลทั่วไป มีครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ประมาณ 50 ครัวเรือน มูลวัวทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางกลิ่น + แมลงวันรบกวน การแก้ไข นำมูลวัวไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ ต่อท่อก๊าซชีวภาพจ่ายให้กับครัวเรือนทั้ง 50 ครัวเรือนภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

10 ตัวอย่างโครงการ 1 : การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG
เกษตกรผู้เลี้ยงวัวมีรายได้จากการขายมูลสัตว์ และเงินปันผล รับงินค่า ก๊าซชีวภาพ วิสาหกิจชุมชน ก. จ่ายเงินค่า มูลสัตว์ ค่าดูแล + บำรุงรักษา

11 ตัวอย่างโครงการ 1 : การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG
การบริหารจัดการ รายรับ => รับเงินค่าก๊าซชีวภาพจากเกษตรผู้เลี้ยงวัว => รับเงินค่าก๊าซชีวภาพจากชุมชนใกล้เคียง รายจ่าย => จ่ายเงินค่าซื้อมูลสัตว์จากเกษตรผู้เลี้ยงวัว 50 ครัวเรือน => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพ กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน

12 รับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกร
ตัวอย่างโครงการ 2 :การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทนไฟฟ้า วิสาหกิจชุมชน ข. (ข้อมูลสมมุติ) เกษตรกรปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น นำพืชพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้มาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อปั่นไฟส่งขายให้กับการไฟฟ้า ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ขายให้เกษตรต่อไป ผลิตก๊าซชีวภาพ รับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกร ขายไฟให้ การไฟฟ้า ขายปุ๋ยให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ข.

13 ตัวอย่างโครงการ 2 :การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทนไฟฟ้า
การบริหารจัดการ รายรับ => รับเงินค่าขายไฟจากการไฟฟ้า => รับเงินค่าปุ๋ยอินทรีย์จากเกษตรกร รายจ่าย => จ่ายเงินค่าพืชพลังงานให้เกษตรกร => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพ กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน

14 รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร
ตัวอย่างโครงการ 3 : การผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวล วิสาหกิจชุมชน ค. (ข้อมูลสมมุติ) มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ เศษไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่งขายให้กับการไฟฟ้า รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร ขายไฟให้ การไฟฟ้า วิสาหกิจชุมชน ค.

15 ตัวอย่างโครงการ 3 : การผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวล
การบริหารจัดการ รายรับ => รับเงินค่าขายไฟจากการไฟฟ้า รายจ่าย => จ่ายเงินค่าเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับเกษตรกร => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบไฟฟ้าจากชีวมวล => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าจากชีวมวล กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน

16 ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งโรงงาน รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร
ตัวอย่างโครงการ 4 : การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากชีวมวล วิสาหกิจชุมชน ง. (ข้อมูลสมมุติ) มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ เศษไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผลิตได้ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียงเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตภายในโรงงานต่อไป ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งโรงงาน รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ง.

17 ตัวอย่างโครงการ 4 : การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากชีวมวล
การบริหารจัดการ รายรับ => รับเงินค่าขายเชื้อเพลิงอัดแท่งจากโรงงานต่างๆ รายจ่าย => จ่ายเงินค่าเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับเกษตรกร => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษา ระบบผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน

18 ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 1
วิสาหกิจชุมชนแม่คำปอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำ เดิมไม่มีระบบไฟฟ้าใช้ในชุมชน แต่ปัจจุบันมีไฟฟ้าเข้าบางส่วน มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำเพื่อใช้ในชุมชน ได้รับการสนับสนุนจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

19 ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 2
วิสาหกิจชุมชนบ้านผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง มีเครือยข่ายวิสาหกิจชุมชนย่อยๆ 15 วิสาหกิจร่วมกัน วิสาหกิจชุมชนผาปัง => เชื่อมโยงเครือข่ายทั้ง 15 วิสาหกิจ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนผาปัง => กำกับทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทั้งระบบ มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง => หน่วยอำนวยการบริหารจัดการ

20 นำมาฆ่าเชื้อโดยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 2 วิสาหกิจชุมชนบ้านผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ปลูกไผ่เพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตะเกียบ นำมาฆ่าเชื้อโดยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ตะเกียบส่งขาย Hot Pot และวิสาหกิจครัวชุมชน ไผ่ ไม้จิ้มฟัน ไม้เสียบ ไม้ก้านธูป ข้อไผ่ + ขี้เลื่อย ถ่านอัดแท่ง เศษตะเกียบ เชื้อเพลิงผลิต Gasification ไฟฟ้า

21 กระแสไฟฟ้าปั๊มน้ำประชาหมู่บ้าน 4-5 ชม.
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 3 วิสาหกิจชุมชนบ้านไร่ป่าคา อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มูลวัว ก๊าซชีวภาพ (40 ลบ.ม. ต่อวัน) LPG/ก๊าซหุงต้ม 18 กก. กระแสไฟฟ้าปั๊มน้ำประชาหมู่บ้าน 4-5 ชม. ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว การทดลองปลูกพืชพลังงานชนิดทานตะวัน ตั้งเป้าเพื่อผลิตไบโอดีเซลออกมาใช้ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำบาดาลเก็บไว้ในถังเก็บ ก่อนส่งเข้าเครื่องผลิตน้ำ และน้ำในขั้นตอนสุดท้ายจะถูกนำมาขายผ่านตู้ขายแบบหยอดเหรียญในชุมชน นำพลังงานชีวมวล หรือพลังงานจากของเหลือในอุตสาหกรรมและชุมชน มาใช้จ่ายความร้อนให้แก่เครื่องอบลำไยแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม

22 หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน
100 คะแนน การประเมินทางด้านเทคนิค 35 คะแนน เทคโนโลยีที่เลือกใช้ ในโครงการ 15 คะแนน ศักยภาพพลังงาน 20 คะแนน การประเมินทางด้านศักยภาพการลงทุน 65 คะแนน แหล่งเงินทุน 30 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 35 คะแนน

23 การประเมินทางด้านเทคนิค
การประเมินทาง ด้านเทคนิค 35 คะแนน เทคโนโลยีที่เลือกใช้ ในโครงการ 15 คะแนน ศักยภาพพลังงาน 20 คะแนน

24 เทคโนโลยีที่เลือกใช้ในโครงการ (15 คะแนน)
จะพิจารณาจาก ร้อยละของ มูลค่าอุปกรณ์ที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ต่อ มูลค่าอุปกรณ์ทั้งหมด 80% เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนที่มีภายในประเทศ และเป็นการเพิ่มการสร้างงานภายในประเทศ ลดการนำเข้าอุปกรณืจากต่างประเทศ

25 เทคโนโลยีที่เลือกใช้ในโครงการ (15 คะแนน)
ตัวอย่าง เช่น เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก อุปกรณ์ แหล่งผลิต มูลค่า (บาท) คอนกรีตผสมเสร็จ ไทย 44,000 เหล็กกล่อง 1,000 ท่อเหล็ก 5,725 เหล็กแบน 3,500 ประตูเครื่องอบ 3,000 ชั้นวางผลิตภัณฑ์ 36,500 พัดลมระบายอากาศขนาดเล็ก 3,465 พัดลมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 7,600 แผ่นโพลีคาร์บอเนต ต่างประเทศ 24,500 รวม 129,290 เทคโนโลยีนี้ ใช้อุปกรณ์จากไทยทั้งหมด 104,790 บาท คิดเป็น 81% ได้ 15 คะแนน

26 การประเมินทางด้านเทคนิค
การประเมินทาง ด้านเทคนิค 35 คะแนน เทคโนโลยีที่เลือกใช้ ในโครงการ 15 คะแนน ศักยภาพพลังงาน 20 คะแนน

27 ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน)
จะพิจารณาจาก ร้อยละของ ปริมาณของวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ต่อ ขนาดของระบบที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุน 0% 40% 60% 80% 100% 1. เหตุผลที่ต้องเกิน 100% จึงจะได้คะแนนเต็ม เพราะต้องการใช้มีทรัพยากร หรือ วัตถุดิบมากเพียงพอที่การนำเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง 2. ต้องการเน้นศักยภาพภายในชุมชน ดังนั้น ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีภายในชุมชนควรจะมีอย่างเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการผลิตพลังงานทดแทนในระยะยาว 3. เป็นการสร้างงาน สร้างมูลค่าจากทรัพยากรในชุมชน ไม่ต้องการในนำเข้าจากแหล่งอื่น เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆเกิดขึ้น เช่นค่าขนส่ง เป็นต้น

28 ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน)
ตัวอย่างการคำนวณ 1 เชื้อเพลิงชีวมวล(กรณีใช้เป็นความร้อน) ปริมาณ 10,000 กิโลกรัมต่อปี ค่าความร้อน 10 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ประสิทธิภาพการเผาไหม้ 70% ในหนึ่งวันระบบทำงาน 8 ชั่วโมงและเดินระบบทุกวัน ขนาดสูงสุดที่โครงการสามารถติดตั้งได้ คือ กำลังการผลิต = ปริมาณต่อปี x ค่าความร้อน x ประสิทธิภาพการเผาไหม้ 3.6 x จำนวนวันเดินระบบในหนึ่งปี x จำนวนชั่วโมงเดินระบบต่อวัน กำลังการผลิต = 10,000 x 10 x 0.7 = 6.6 กิโลวัตต์ 3.6 x 365 x 8 ถ้าเสนอระบบขนาด 10 กิโลวัตต์ (นำชีวมวลมาจากพื้นที่อื่นเพิ่มเติม) ศักยภาพพลังงานคือ 66% ได้รับ 10 คะแนน ถ้าเสนอระบบขนาด 6 กิโลวัตต์ ศักยภาพพลังงานคือ 110% ได้รับ 20 คะแนน

29 ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน)
ตัวอย่างการคำนวณ 2 ชุมชนเลี้ยงวัว จำนวน 60 ตัว ซึ่งมูลวัวรวมทั้งหมดสามารถนำมาผลิต ก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน ถ้าเสนอระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร/วัน ศักยภาพพลังงานคือ 80% ได้รับ 15 คะแนน ถ้าเสนอระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาด 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน ศักยภาพพลังงานคือ 100 % ได้รับ 20 คะแนน

30 การประเมินทางด้านศักยภาพการลงทุน
การประเมินทางด้านศักยภาพการลงทุน 65 คะแนน แหล่งเงินทุน 30 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 35 คะแนน สัดส่วนเงินสนับสนุนต่อมูลค่าของโครงการ 15 คะแนน ระยะคืนทุน (Payback Period : PB) 10 คะแนน อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) 10 คะแนน

31 เงินทุนของตนเองหรือจากการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ
แหล่งเงินทุน (30 คะแนน) เงินลงทุน เงินทุนของตนเองหรือจากการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ เงินทุนจากการกู้ยืม

32 แหล่งเงินทุน (30 คะแนน) หากอยู่ระหว่างการอนุมัติเงินกู้ 5 คะแนน
ทั้งนี้ผู้ขอเข้าร่วมโครงการจะต้องแนบหลักฐานการอนุมัติเงินกู้ หรือหลักฐานการขอกู้มาพร้อมกับข้อเสนอโครงการด้วย หากได้รับอนุมัติการกู้แล้ว ยื่นเสนอโครงการต่อ พน.ภายหลังไม่ได้รับการสนันสนุน ก้อสามารถนำข้อเสนอโครงการไปปรับตามประเด็นชี้แจงของคณะทำงานฯ และส่งมาขอรับเงินสนับสนุนใหม่ได้ เช่น อาจจะออกแบบระบบไม่เหมาะสม ขนาดระบบใหญ่เกินไป หรืออาจจะสามารถหาซื้ออุปกรณ์ที่มีในประเทศได้ เมื่อยื่นเข้ามาใหม่คะแนนข้ออื่นๆก้อจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ หากอยู่ระหว่างการอนุมัติเงินกู้ 5 คะแนน หากยังไม่ได้ดำเนินการกู้ยืม/ยังไม่มีแหล่งเงินทุน 0 คะแนน

33 การประเมินทางด้านศักยภาพการลงทุน
การประเมินทางด้านศักยภาพการลงทุน 65 คะแนน แหล่งเงินทุน 30 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 35 คะแนน สัดส่วนเงินสนับสนุนต่อมูลค่าของโครงการ 15 คะแนน ระยะคืนทุน (Payback Period : PB) 10 คะแนน อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) 10 คะแนน

34 สัดส่วนเงินที่ขอรับการสนับสนุน 15 คะแนน
จะพิจารณาจาก สัดส่วนของ ร้อยละของเงินที่ขอรับการสนับสนุน ต่อ ร้อยละของวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้

35 การประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์
กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นรายปี (Cash Flow) รายละเอียด ปีที่ 1 2 3 4 5 xx รายได้รายปี 1. ผลประหยัดที่เกิดขึ้น/รายได้จากการขายพลังงาน เงินลงทุน 1. เงินลงทุน ค่าใช้จ่ายรายปี 1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operation cost) 2. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง (Maintenance cost) 3. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 4. ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง 5. ดอกเบี้ยธนาคาร รวมรายจ่ายทั้งหมด กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) กระแสเงินสดสะสม ระยะเวลาคืนทุน และ IRR คำนวณใน 2 กรณี คือ ลงทุนเองทั้งหมด: เงินลงทุน = มูลค่าโครงการ ได้รับการสนับสนุนบางส่วน:เงินลงทุน = มูลค่าโครงการ-วงเงินสนับสนุน แยกทำเป็น 2 ตาราง

36 ระยะคืนทุน (Payback Period : PB) 10 คะแนน
หลังจากได้รับการสนับสนุนแล้ว ระยะคืนทุน คะแนน น้อยกว่า 2 ปี 10 2 ปี – 4 ปี 8 4 ปี – 6 ปี 6 6 ปี – 8 ปี 4 มากกว่า 8 ปี 2 หากระยะคืนทุนเกินอายุการใช้งานระบบ จะไม่ได้รับคะแนน

37 อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) 10 คะแนน
หลังจากได้รับการสนับสนุนแล้ว การพิจารณา คะแนน IRR > r 10 IRR = r 5 IRR < r r หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพื่อให้การดำเนินโครงการคุ้มค่าต่อการลงทุน หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ IRR > 9%

38 หลักเกณฑ์ในการสนับสนุนโครงการ
ให้การ สนับสนุนไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าโครงการ หรือสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ไม่สนับสนุนในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทน การจ่ายเงินสนับสนุนจะจ่ายงวดเดียวเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จเท่านั้น การดำเนินงานของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องมีการเดินระบบเพื่อทดสอบการผลิตพลังงานทดแทนไม่น้อยกว่า 1 เดือน ก่อนที่จะขอเบิกจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ หมายเหตุ : การพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการต่างๆให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะทำงานฯ คณะทำงานฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้รับการสนับสนุน กรณีที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไม่สามารถเริ่มดำเนินงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้

39 ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ : การสมัครเข้าร่วมโครงการ => การจ่ายเงินสนับสนุน

40 ขั้นตอนดำเนินงาน : การสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ มช.ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ไม่ครบ ติดต่อผู้สมัครเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม ครบ มช.พิจารณากลั่นกรองเอกสารเบื้องต้นและจัดทำสรุปผลการคัดเลือกตามลำดับคะแนนและประเภทพลังงาน ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ภายในวันที่ 25 ของทุกเดือน มช. จัดส่งเอกสารเสนอต่อคณะทำงานฯ คณะทำงานฯพิจารณาอนุมัติโครงการ ไม่ผ่าน ภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน แจ้งผลต่อผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ ผ่าน มช.แจ้งผล+จัดทำบันทึกข้อตกลง ให้ผู้เข้าร่วมโครงการลงนาม

41 ขั้นตอนดำเนินงาน : การจ่ายเงินสนับสนุน
ผู้ร่วมโครงการดำเนินการตามแผนงาน พนจ. + มช. ติดตามคืบหน้าและประเมินผล ผู้ร่วมโครงการดำเนินงานแล้วเสร็จ + ทดสอบการใช้งานของระบบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ผู้ร่วมโครงการจัดส่งรายงานสรุปผลการดำเนินงาน + หนังสือขอเบิกเงินสนับสนุน สนย + พนจ + มช. ร่วมตรวจสอบหน้างานเพื่อทำการตรวจรับงาน มช.จัดทำสรุปผลการตรวจรับงานเสนอต่อคณะทำงานฯ คณะทำงานฯพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินสนับสนุน สนย.ดำเนินการจ่ายเงินสนับสนุนให้ผู้ร่วมโครงการ

42 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
“โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน” ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ชั้น 8 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ , โทรสาร

43 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google