งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนะนำคู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับ อสม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนะนำคู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับ อสม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนะนำคู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับ อสม
แนะนำคู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับ อสม. และแกนนำชุมชน ธีระ ศิริสมุด, โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP), 16 กันยายน 2556

2 แนวคิดการพัฒนาคู่มือฯ
เน้นให้เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยเล็กที่สุด แต่อยู่ใกล้ชาวบ้านหรือผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่สุด รู้จริง ทำได้จริง เพื่อถ่ายทอดสู่ญาติ/คนใกล้ชิด/ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตต่อไปได้ "การฆ่าตัวตาย ปัญหาใหญ่ที่คุณมีส่วนช่วยได้" เน้นการประเมินหรือเฝ้าระวังผู้มีกลุ่มเสี่ยง/ประชาชน โดยเน้นให้ "สังเกตและเข้าใจสัญญาณเตือน" ซึ่งเคยโปรยคำว่า "ปัญหาสุขภาพทางใจ จะแก้ไขก็ต้องใช้ใจมอง” เมื่อแยกกลุ่มเสี่ยงโดย "สังเกตสัญาณเตือน“ จะมีวิธีการช่วยเหลือ รักษา ส่งเสริมสนับสนุน ในแต่ละกลุ่มที่จำเพาะ ต่อไป เน้นว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ได้ทำเพียงลำพัง แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพ. เครือข่าย ภาคีอื่น ช่วยด้วย

3 โครงสร้างเนื้อหา ความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตาย
สาเหตุของปัญหาการฆ่าตัวตาย แนวทางการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตาย ประเมินกลุ่มเสี่ยง การรับรู้ สังเกตและทราบถึงสัญญาณเตือนก่อนการฆ่าตัวตาย การช่วยเหลือผู้มีความเสี่ยงต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและการเสริมความเข้มแข็งด้านจิตใจกับครอบครัวและชุมชน แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย

4 แนวทางการใช้คู่มือในพื้นที่ควรเป็นอย่างไร
ข้อจำกัดของการใช้คู่มือ และทางแก้ไข (จากประสบการณ์ในพื้นที่) แนวทางการนำไปใช้ ควรมีการจัดอบรมหรือไม่ อย่างไร ทำอย่างไรให้ผู้ใช้เห็นความสำคัญของคู่มือ (ต้องเริ่มจากตระหนักในปัญหา) สร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้คู่มืออย่างไร

5 ตัวอย่างกลยุทธ์การนำคู่มือด้านสาธารณสุขไปใช้
แน่ใจว่าคู่มือนั้นแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมในกระบวนการ ทั้งแกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำทางความคิด รวมถึงชาวบ้าน สร้างบรรยายกาศให้เกิดการสนับสนุนการใช้คู่มือ (มีมาตรการอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย) พัฒนาเครื่องมือ/มาตรการอื่นๆ มาสนับสนุน (เช่น สมุดบันทึก กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น) แสดงให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ มีการประเมินติดตาม มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ใช้ พัฒนาอุปกรณ์/เครื่องมือที่มาสนับสนุนการสร้างความตระหนักต่อคู่มือ และกระตุ้นให้เกิดการนำไปใช้

6 ตัวอย่างกิจกรรมเสริมคู่มือในพื้นที่ศึกษา (นำคู่มือไปต่อยอด)
จัดอบรมให้ความรู้ให้แก่ผู้ประกาศหอกระจายข่าว ดีเจวิทยุชุมชน พระสงฆ์และศิษยาภิบาล (ครูสอนศาสนาคริสต์) สร้างแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ในการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านผู้ประกาศหอกระจายข่าว ดีเจวิทยุชุมชนแนวทางการให้ความรู้โดยพระสงฆ์ในพิธีกรรมต่างๆและแนวทางการให้ความรู้โดยศิษยาภิบาล ผลิตสื่อภาษาท้องถิ่นสนับสนุนหอกระจายข่าว ติดตามประเมินผลการให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นทุก 2 เดือน

7


ดาวน์โหลด ppt แนะนำคู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับ อสม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google