งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาสตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาสตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศาสตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
โครงการความร่วมมือไทย-เซิร์น เพื่อการพัฒนากำลังคนและวิจัยพัฒนา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ 16 พฤศจิกายน 2556

2 เซิร์น(CERN)แห่งสวิตเซอร์แลนด์:
การค้นหาอนุภาคพระเจ้า(God Particle)(1/2) สถานีตรวจวัด 6 สถานีได้แก่ ALICE, ATLAS, CMS, LHCb, LHCf และ TOTEM เครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน (LHC: Large Hadron Collider) เส้นรอบวง 27 กิโลเมตรอยู่ในอุโมงค์ลึกใต้ผิวดิน 100 เมตรในพรมแดนทั้งสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส เร่งโปรตอนให้มีความเร็ว %ของความเร็วแสงในสุญญากาศ ลงทุน 6030 ล้านสวิสฟรังค์ เริ่มเปิดการทดลองเมื่อก่อนฤดูหนาว ค.ศ.2008 แต่ต้องปิดทำการซ่อมแซมแม่เหล็ก เปิดทำงานแล้วเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ.2009 และทดสอบสำเร็จเมื่อ 30 มีนาคม 2010 ท่อเร่งอนุภาคโปรตอนภายในอุโมงค์

3 ALICE Detector: การค้นหาอนุภาคพระเจ้า(God Particle)(2/2)
เซิร์น (CERN) แห่งสวิตเซอร์แลนด์: การค้นหาอนุภาคพระเจ้า(God Particle)(2/2) ALICE Detector: ตัวอย่างสำคัญของการค้นหา Higgs particle, Dark Matter, Dark Energy, Extra Dimensions (Tuesday March 30, 2010)

4 RSIS: Role of Science in Information Society
1.การเสด็จเยือนเซิร์น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จเยือนเซิร์น 4 ครั้ง 18 พฤษภาคม 2543 DELPHI Detector, LEP 8 ธันวาคม 2546 RSIS: Role of Science in Information Society 13 เมษายน 2553 LHC Briefing 16 มีนาคม 2552 CMS Detector, LHC

5 2.MoU ในการเสด็จเยือนครั้งที่ 3 เมื่อ16 มีนาคม 2552 ได้มีการลงนามใน EOI (Expression of Interest) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนประเทศไทยกับ CMS (Compact Muon Solenoid) Experiment ของเซิร์น

6 3. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำงานตาม EOI
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแต่งตั้งคณะอนุกรรมกรรมการความร่วม มือด้านวิชาการและวิจัยเซิร์นลงวันที่ 25 ธันวาคม 2552 ประกอบ ด้วยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ร่วมกันกำหนดแผนงาน จัดหาแหล่งทุนและทรัพยากรเพื่อสนับสนุน การทำงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน แหล่งทุนปัจจุบันได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางฟิสิกส์ สสวท คปก(สกว) และบริษัท IRPC 4. ลักษณะของการสนับสนุน 4.1 การส่งนักศึกษาและครูฟิสิกส์ฤดูร้อนอย่างละ 2 คนต่อปี 4.2 การจัด CERN School Thailand และ Thailand Experimental Particle Physics Novice Workshop ทุก 2 ปี 4.3 การจัดตั้ง National eScience Infrastructure Consortium โดยแต่ละหน่วยงานได้แก่ เนคเทค/สวทช สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำหรับกรณีนี้แต่ละหน่วยงานต่างลงทุนและดำเนินการเอง 4.4 การให้ทุนโท/เอก 2 ประเภท (1) สสวท.และคปก.(สกว) พร้อมจะให้ทุนการศึกษาระดับโทเอกใน มหาวิทยาลัย ภายในประเทศและส่งไปทำวิจัยที่เซิร์น (2) สสวท.และกพ. สนับสนุนทุนพัฒนาอาจารย์/นักวิจัยให้ไปศึกษาใน มหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กับเซิร์น

7 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ CMS เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 ณ วังสระปทุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุมัติงบประมาณจำนวน 15.6 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดตั้งเป็น CMS Tier-2 โดยเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับกลุ่มการทดลอง CMS ขึ้น ณ วังสระปทุม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีลงนาม การลงนามดังกล่าวทำให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีสถานภาพเป็น CMS Full Membership และได้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลการทดลองของ CMS เพื่อประโยชน์ต่องานวิจัยต่อไป

8 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี กับ ALICE เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 ณ วังสระปทุม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี และ A Large Ion Collider Experiment (ALICE) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 ณ วังสระปทุม การลงนามดังกล่าวทำให้ มทส.เป็นมหาวิทยาลัยแรกในภูมิภาคอาเซียนที่เป็นสมาชิกกับ ALICE สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมสร้าง บำรุงรักษา และใช้ข้อมูลจากหัววัดไอออนหนักของ ALICE ได้

9 Roadmaps 2019-2020 Test run / Full run 2021 Complete ALICE ITS Upgrade
Assembly / Installation Construction / Test detector modules 2014 Final Design 2013 Selection of Technology

10 4.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและ ครูฟิสิกส์ฤดูร้อน (1/4)
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาและครูฟิสิกส์ฤดูร้อนเมื่อ 8 กันยายน 2552 และ 25 มิถุนายน 2556 (เพิ่มเติม) ทำหน้าที่คัดเลือกในเบื้องต้นแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเพื่อทรงคัดเลือกขั้นตอนสุดท้าย ปัจจุบันมี 4 รุ่นแล้ว ( ) นักศีกษาและครูฟิสิกส์ปี2553เข้าเฝ้าหลังกลับจากเซิร์นที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน นักศึกษาปริญญาตรี 2 คน 5 กรกฏาคม-30 สิงหาคม 2553 ประจำปี 2553 Summer Student Programme 1.นายฐาปกรณ์ ภู่ลำพงษ์ ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบัน: เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ตามความต้องการของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 2. นายอภิมุข วัชรางกูร ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน: กำลังศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ คิงส์คอลเลจ ประเทศสหราชอาณาจักร ตามความต้องการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) Physics High School Teacher Programme 1.น.ส.สุพัตรา ทองเนื้อห้า จากโรงเรียนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบัน: ลาออกจากราชการ แต่งงานและมีครอบครัวอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย 2. น.ส.พิมพร ผาพรม จากโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์ ปัจจุบัน: ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

11 4.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและ ครูฟิสิกส์ฤดูร้อน (2/4)
ประจำปี 2554 Summer Student Programme 1.นางสาวนันทา โสภณรัตน์ ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบัน: กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 1 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้อยู่ระหว่างการปฏิบัติงานวิจัย ณ Brown University ประเทศสหรัฐอเมริกา 2.นายสุโข ก่องตาวงษ์ ปริญญาโทปีที่ 1 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน: ปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิจัยผู้ช่วย ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) Physics High School Teacher Programme นายอนุชา ประทุมมา จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ปัจจุบัน: กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขา Nano Science and Technology ณ มหาวิทยาลัย Sungkyunkwan ประเทศเกาหลีใต้ 2. นายลือชา ลดาชาติ จากโรงเรียนสายบุรี “แจ้งประภาคาร” จ.ปัตตานี ปัจจุบัน: ย้ายมาปฏิบัติงาน ณ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

12 4.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและ ครูฟิสิกส์ฤดูร้อน (3/4)
ประจำปี 2555 Summer Student Programme 1.นายนวเดโช ชาญขุนทด ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบัน: ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ด้านนาโนเทคโนโลยี ตามความต้องการของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโท-เอก ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อมหาวิทยาลัย 2. นายรัฐกร แก้วอ่วม ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน: กำลังศึกษาระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 2 สาขาฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Physics High School Teacher Programme 1. นายสุรศักดิ์ ศรีสุวงศ์จากโรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี ปัจจุบัน: ย้ายมาประจำอยู่ที่โรงเรียนเกษมสีมาวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี 2. นางสาวชุลีณี พาหุรัตน์จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2556 Summer Student Programme เข้าร่วมโปรแกรม ณ เซิร์น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม สิงหาคม 2556 1.นางสาวภัทราวรรณ พาสุวรรณ ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน: ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. นายสาโรช ลี่ดำรงวัฒนากุล ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัจจุบัน: ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล Physics High School Teacher Programme เข้าร่วมโปรแกรม ณ เซิร์น ตั้งแต่วันที่ 31 มิถุนายน กรกฎาคม 2556 1. นางสาวปิยะมาศ บุญประกอบ จากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ จ.กรุงเทพมหานคร 2. นางสาวบุษกร การอรชัย โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 จ.สุราษฎร์ธานี (ตั้งครรภ์ จึงให้เลื่อนการเดินทางไปปี 2557)

13 4.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและ ครูฟิสิกส์ฤดูร้อน (4/4):กิจกรรมก่อนและหลังเดินทางไปเข้าร่วมโครงการ
อบรมเซิร์น เดซี ลินเดา 2553 ก่อนการเดินทาง: นศ. DESY / นศ. และครู CERN จะเข้ามารับการอบรม ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ตั้งแต่ปี จัดให้นศ. DESY ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากเริ่มโครงการ CERN ในปี 2553 จึงได้ให้ทั้ง นศ. DESY และนศ./ครู CERN ระหว่าง พ.ค. 53 ปี สถาบันฯ ได้จัดให้นศ.DESY และนศ. CERN จำนวน 4 คน เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์แสงสยาม และครู CERN 2 คนเข้าร่วมโครงการอบรมครูฟิสิกส์ระหว่างวันที่ พ.ค. 54 และ พ.ค. 55 4. ปี 2556 นศ.DESY นศ.CERN และครู CERN เข้าร่วมอบรมค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน 29 เม.ย. – 3 พ.ค. 56 (หมายเหตุ:ในบางปีจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ LINDAU ด้านฟิสิกส์มาร่วมด้วย) ค่ายและอบรมครู2554 CERN School Thailand 2553 ภายหลังการเดินทาง ผู้เข้าร่วมโครงการจะไปประชา สัมพันธ์โครงการและบรรยายประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในงานดังนี้ ค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน และโครงการอบรมครู วิทยาศาสตร์ ของ สซ.ซึ่งจัดขึ้นทุกปี 2. โครงการ CERN School Thailand / อนุภาคน้อย 3. โครงการอบรมครู สควค. และ พสวท. จัดโดย สสวท. 4. กิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช.

14 5. กิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น
CERN School Thailand ครั้งที่ 1 (4-13 ตุลาคม 2553, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) การประชุมสัมมนาเพื่อให้นักศึกษาไทย บุคคลที่สนใจและสื่อมวลชนได้ทราบวิชาการและความก้าวหน้าของเซิร์น ขณะเดียวกันโน้มน้าวให้นักศึกษาได้เข้าใจ Particle Physics และ High Energy Physics เบื้องต้นและสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยไทยระดับโท-เอก การสัมมนาเต็มรูปแบบ 7-13 ตุลาคม 2553 และลักษณะTutorial School 4-6 ตุลาคม 2553 บรรยายโดยอาจารย์ทั้งจากไทยและจากเซิร์น 6 คน นำโดย Prof. Emmanuel Tsesmelis และ Prof. Albert De Roeck ครูฟิสิกส์และนักศึกษาที่ไปโครงการฤดูร้อน 2553 ทั้ง 4 คน ได้เข้าร่วมอภิปรายประสบการณ์ด้วย มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 46 คน CERN School Thailand ครั้งที่ 2 (30 ม.ย.-4 พ.ค. 2555, ม.เทคโนโลยีสุรนารี) บรรยายโดยอาจารย์ทั้งจากไทยและจากเซิร์น 12 คน นำโดย Prof. Tsesmelis และ Prof. De Roeck ครูฟิสิกส์และนักศึกษาที่ไปโครงการฤดูร้อน 2555 ทั้ง 4 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนการเดินทาง โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 52 คน Albert De Roeck Emmanuel Tsesmelis

15 1st Thailand Experiental Particle Physics Novice Workshop 2012 (23-28 เม.ย. 2555, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาคให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี บรรยายโดยวิทยากร 6 คน นำโดย ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ ครูฟิสิกส์และนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฤดูร้อน 2555 ทั้ง 4 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 17 คน 2nd Thailand Experiental Particle Physics Novice Workshop 2013 (25-29 มี.ค. 2556, มหาวิทยาลัยมหิดล) เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาคให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี และครูวิทยาศาสตร์ ครูฟิสิกส์และนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฤดูร้อน 2556 ทั้ง 4 คน และนักเรียน รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 135 คน

16 6.โครงการเครือข่ายความร่วมมือโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ สมรรถนะสูงแห่งชาติ (National e-Science Infrastructure Consortium) ของ 5 พันธมิตร พิธีลงนามพันธมิตร วันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554 WLCG :Worldwide LHC Computing Grid ความร่วมมือของศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกกว่า 140 แห่งใน 34 ประเทศ สถานีทดลองทั้ง 4 แห่งของ LHC และโครงการกริดแห่งชาติและนานาชาติ เนคเทค/สวทชทำหน้าเป็น ‘Tier-2’ เชื่อมต่อไปยัง ‘Tier-1’ ที่ไต้หวัน จุฬาและสุรนารีเป็น ‘Tier-3’ ซึ่งนักวิจัยฟิสิกส์อนุภาคเรียกข้อมูลจากเนคเทคไปใช้ได้ พระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตรจะเริ่มงานวิจัยที่ไม่ใช้ข้อมูลจากเซิร์นจึงยังไม่ลงทะเบียนเป็น ‘Tier-3’ กับเซิร์น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระราชทานดำริว่าควรใช้ประโยชน์งานอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศด้วย ขณะนี้มีโครงการด้านแพทย์ สภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม เกษตรและพลังงาน เช่นการคำนวณปริมาณฝนที่จะตกใน 3 วันล่วงหน้า การจำลองการเคลื่อนที่ของน้ำในอ่าวไทยที่ มีผลต่อน้ำขึ้นน้ำลง และ การเกิดพายุหมุนซัดฝั่งเป็นต้น แม้นว่าการลงนามของพันธมิตรทั้ง 5 แห่งจะเกิดขึ้นเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554 ก็ตาม แต่การวางแผน การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และการวิจัยของบางหน่วยงานก็ได้ดำเนินมาก่อนหน้านั้นแล้ว ขนาดของระบบเต็มรูปแบบที่แต่ละหน่วยงานของทั้ง 5 แห่งในปีค.ศ.2012 (ขณะนี้ที่ติดตั้งใช้งานแล้วเฉพาะสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตรสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

17 การลงนามบันทึกความความร่วม (MOU) กับ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG)
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ได้มีการลงนามบันทึกความความร่วม (MOU) ระหว่างเซิร์น ในฐานะ “ห้องปฏิบัติการเจ้าภาพ” (Host Laboratory) ในการดำเนินงานของ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในนามของภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium) เพื่อแสดงเจตจำนงและความตั้งใจในการดำเนินความร่วมมือสร้างเครือข่าย WLCG โดยการร่วมจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับ 2 ขึ้นในประเทศไทย และประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ได้เข้าร่วมเครือข่าย WLCG โดยพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีลงนามดังกล่าว ณ วังสระปทุม

18 7. หลักสูตรฟิสิกส์อนุภาคและฟิสิกส์พลังงานสูงและ การส่งนักศึกษาและนักวิจัยไทยระดับโทเอกไปทำงานวิจัยที่เซิร์น (1/2) สาขาฟิสิกส์อนุภาค ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ University of Antwerp ปัจจุบันปฏิบัติงานวิจัย ณ CMS ในนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยเรื่องอนุภาคสื่อแรงโน้มถ่วง (Graviton) ที่อาจเกิดขึ้นและเดินทางในมิติอื่น ๆ สสารมืดในเครื่องเร่งอนุภาคตามงานวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และอนุภาคฮิกส์ที่สลายตัวเป็นอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจวัดได้โดยตรง นายทุตานนท์ สินธุประสิทธิ์ อดีตนักศึกษาทุน พสวท. ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาปริญญาเอก ณ Brown University ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวข้องกับ axigluon/coloron/hyper-pion และหลุมดำขนาดจิ๋ว (microscopic black hole) ณ CMS และ Fermi National Accelerator Laboratory รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นางสาวชญานิตย์ อัศวตั้งตระกูลดี นักศึกษาทุนพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กำลังศึกษา ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ปัจจุบันปฏิบัติงานวิจัย ณ CMS (ทำงานวิจัยหลักร่วมกับ Imperial College London, University of Bristol, กลุ่มวิจัยจากอินเดีย และดร.นรพัทธ์ฯ ในการศึกษาอนุภาคฮิกส์ที่สลายตัวเป็นอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจวัดได้โดยตรง) นางสาวนันทา โสภณรัตน์ (อดีตนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น) กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาฟิสิกส์พลังงานสูง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนงานวิจัยทางด้านการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS ร่วมกับ Brown University นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ ทุตานนท์ สินธุประสิทธิ์ ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี

19 ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ
7. หลักสูตรฟิสิกส์อนุภาคและฟิสิกส์พลังงานสูงและ การส่งนักศึกษาและนักวิจัยไทยระดับโทเอกไปทำงานวิจัยที่เซิร์น (2/2) ฐาปกรณ์ ภู่ลำพงษ์ สาขาเครื่องเร่งอนุภาค นายฐาปกรณ์ ภู่ลำพงษ์ (อดีตนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น) บุคลากรของสถาบันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้รับทุนพัฒนาบุคลากรจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปศึกษาปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค ปัจจุบันศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร นายจตุพร พันตรี ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความต้องการของสถาบันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค ปัจจุบันศึกษา ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร นายฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความต้องการของสถาบันวิจัยแสงซินโคร-ตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค ปัจจุบันศึกษา ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร โดยมี Prof. Emmanuel Tsesmelis เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษา จตุพร พันตรี ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ

20 รายละเอียดค่าใช้จ่าย
8. ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งนักศึกษา 2 คนและครูสอนฟิสิกส์ 2 คน เข้าร่วมโครงการนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น (1/2) รายละเอียดค่าใช้จ่าย ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 (บาท) ค่าตั๋วเครื่องบิน 194,400 167,571 96,197 56,754 ค่า Living Expense (เฉพาะส่วนที่โครงการฯ รับผิดชอบ) (น.ศ. 1 คน ครู 1 คน) 193,773 245,277 230,530 163,472 ค่า Allowance (4 คน) 40,000 ค่าประกันสุขภาพ (4 คน) 8,680 9,130 9,540 7,715 ค่าวีซ่า (4 คน) 10,480 4,800 3,150 ค่าเรียนภาษาอังกฤษ (ครูฟิสิกส์ 2 คน) 32,645 20,000 ค่าพาหนะเดินทาง (ร่วมรับเสด็จ/ทำวีซ่า/ประชุม) 15,830 3,650 14,226 6,908 ค่าที่พัก (ทำวีซ่า/ประชุม) 1,600 1,680 8,800.00 4,650.00 รวมค่าใช้จ่าย 497,408 467,308 424,093 302,649 - ค่า Living Expense แตกต่างกัน เป็นผลเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน โดยในปี 2553 อัตราแลกเปลี่ยน CHF อยู่ที่ 28.4 บาท แต่ในปี 2554 อัตราแลกเปลี่ยน CHF อยู่ที่ บาท - เซิร์นรับผิดชอบ น.ศ. 1 คน ครู 1 คน โครงการฯ รับผิดชอบ

21 8.เงินสนับสนุนโครงการนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น(2/2)
หน่วยงาน จำนวนเงิน (บาท) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) 1,000,000 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 950,000 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ 900,000 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) 600,000 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) บริษัท IRPC จำกัด (มหาชน) รวมจำนวนเงินสนับสนุน 6,050,000

22 9. โครงการจัดส่งนักเรียนไปศึกษาดูงานที่เซิร์น
Prof. Emmanuel Tsesmelis ได้กราบบังคมทูลต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสนอให้จัดส่งนักเรียนไทยไปศึกษาดูงานที่เซิร์น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งให้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่มีศักยภาพ เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานที่เซิร์น โดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งมีความพร้อม ณ ขณะนั้น ได้รับดำเนินงานสนองพระราชดำริ โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีความเหมาะสม จำนวน 10 คน เดินทางไปศึกษาดูงานที่เซิร์น ในช่วงระหว่างวันที่ 4-11 กรกฎาคม 2556 ซึ่งก่อนการเดินทางนักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือก ได้เข้าร่วมกิจกรรม 2nd Thailand Experimental Particle Physics Novice Workshop 2013 (อนุภาคน้อย) ที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหาทางด้านฟิสิกส์อนุภาคด้วย

23 10.สรุปและแผนอนาคต 1.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูฟิสิกส์ฯ โครงการ CERN School Thailandและ Thailand Experimental Particle Physics Novice Workshop สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืนเพราะมีผู้สนใจเข้าร่วมและมีเงินทุนสนับสนุนเพียงพอ 2.โครงการ National eScience Infrastructure Consortium มีความยั่งยืนเช่นกันเพราะ(i)มิได้พึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลโดยตรงแต่ผ่านมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย(ii)ผู้บริหารของทั้ง 5 พันธมิตรสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์อื่นของมหาวิทยาลัย/หน่วยวิจัยได้ด้วย 3.ขณะนี้มีหลักสูตรฟิสิกส์พลังงานสูงฟิสิกส์อนุภาคและเครื่องเร่งอนุภาคที่จุฬาและสุรนารี(ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน) ต่อไปควรพยายามชักชวนให้มหาวิทยาลัยอื่นเช่นเชียงใหม่ มหิดล นเรศวรเป็นต้นได้เข้ามาร่วมซึ่งมหาวิทยาลัยดูแลค่าใช้จ่ายตนเอง 4.สสวท.คปก.(สกว.)และกพ. สามารถสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศแก่มหาวิทยาลัยได้ 5.จุฬาและสุรนารีได้ดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของ CMS Experiment และ ALICE Experiment ตามลำดับของขั้นตอน ประโยชน์ได้แก่(i)การเข้าถึงข้อมูลผ่านWLCGและข้อมูลห้องสมุดออนไลน์(ii)การมีชื่อองค์กรและนักวิจัยปรากฏอยู่ในสิ่งตีพิมพ์ของเซิร์นและ(iii)การเข้าร่วมประชุมวิชาการกับเซิร์นปีละ 4 ครั้งเป็นต้น

24 จบ

25 ตัวอย่างคณาจารย์ด้านฟิสิกส์อนุภาคและฟิสิกส์พลังงานสูง
1. อ.ดร.อภิสิทธิ์ อึ้งกิจจานุกิจ (จุฬาฯ) - Field Theory 2. ผศ.ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ (จุฬาฯ) - Quantum Field Theory 3. ผศ.ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช (มทส.) - Standard Model Physics, Heavy Ion Physics 4. อ.ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ (จุฬาฯ) - Experimental Particle Physics 5. ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ (จุฬาฯ) - Monte Carlo for Particle Physics 6. ผศ.ดร.ปิยบุตร บุรีคำ (จุฬาฯ) - Beyond Standard Model Physics 7. ผศ.ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย (มน.) - Cosmology

26 ค่าใช้จ่ายการเข้าเป็นสมาชิก
จุฬากำลังดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของ CMS Experiment ค่าใช้จ่ายราว 150,000 สวิสฟรังค์(ราว 4.5 ล้านบาท)ทยอยจ่าย 4 ปี และสุรนารีจะเข้าเป็นสมาชิกของ ALICE Experiment ค่าใช้จ่ายราว 50,000 สวิสฟรังค์(ราว 1.5 ล้านบาท) ทยอยจ่าย 4 ปีได้เช่นกัน ประโยชน์ได้แก่(i)การเข้าถึงข้อมูลจากการชนอนุภาคผ่านWLCGและข้อมูลห้องสมุดออนไลน์เพื่องานวิจัย(ii)การมีชื่อองค์กรและนักวิจัยปรากฏอยู่ในสิ่งตีพิมพ์ของเซิร์น(ซึ่งต้องจ่ายรายปีอีกราว 10,000 สวิสฟรังค์หรือราว300,000บาทต่อปี)และ(iii)การเข้าร่วมประชุมวิชาการกับเซิร์นปีละ4ครั้ง (1 สวิสฟรังค์ประมาณ 30 บาท)

27

28

29

30

31

32


ดาวน์โหลด ppt ศาสตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google