งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานด้านเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รับเด็กใหม่เข้ามา จำนวน ๑๓ คน มีเด็กรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน แยกเป็นประเภทดังนี้ ประเภท จำนวน/คน เด็กกำพร้า ๓๑ เด็กยากจน ๔๑ ครอบครัวแตกแยก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "งานด้านเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รับเด็กใหม่เข้ามา จำนวน ๑๓ คน มีเด็กรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน แยกเป็นประเภทดังนี้ ประเภท จำนวน/คน เด็กกำพร้า ๓๑ เด็กยากจน ๔๑ ครอบครัวแตกแยก."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายงานการดำเนินงาน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม ๒๕๔๘

2 งานด้านเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รับเด็กใหม่เข้ามา จำนวน ๑๓ คน มีเด็กรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน แยกเป็นประเภทดังนี้ ประเภท จำนวน/คน เด็กกำพร้า ๓๑ เด็กยากจน ๔๑ ครอบครัวแตกแยก ๔๗ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กถูกทารุณกรรม

3 งานชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดทุกขณะจึงจัดให้มีห้องเรียนธรรมชาติโดยสมาชิกในชุมชนช่วยกันสร้าง และจัดบรรยากาศ กระตุ้นให้คนในชุมชนศึกษาเรื่องของธรรมชาติ ทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ บรรยากาศภายในโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

4 งานด้านสุขภาพจิต งานด้านการศึกษา
ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬา มีทั้งแข่งขันภายในโรงเรียน และแข่งขันกับต่างโรงเรียน งานด้านการศึกษา งานด้านสุขภาพจิต แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนหมู่บ้าน เด็กที่ผ่านมา เน้นทักษะการใช้ชีวิตร่วมกันในลักษณะ เป็นครอบครัว ชุมชน สังคม

5 งานวัฒนธรรมของหมู่บ้านเด็ก
ชุมชนหมู่บ้านเด็กมีวิธีคิดในการดำเนินชีวิตโดยเน้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย กำหนดการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เน้นความหลากหลาย ปรารถนาสร้างชุมชนทางเลือกให้คนทุกเพศทุกวัยอยู่ด้วยกันมีความสุข แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ได้จัดเป็นห้องเรียนธรรมชาติ บรรยากาศเป็นห้องเรียนที่เรียนอยู่ใต้ต้นไม้ ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นเรียนรู้เรื่องพันธุ์ไม้นานาชนิด เรื่องแมลง ดิน หิน ระบบนิเวศน์

6 โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ
มูลนิธิเด็กโดยมอบให้ทางฝ่ายโรงเรียนหมู่บ้านเด็กซึ่งเป็นโครงการที่ทำงานด้านเด็กโดยตรง และได้ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสหรือได้รับความเดือดร้อน หลังจากเกิดภัยพิบัติครั้งนี้ ทางโครงการได้พยายามประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างเร่งด่วน มีการทำงานในพื้นที่จริงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน และเพื่อให้การทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างเต็มที่ หลังจากสำรวจสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้ประสบภัย และได้พบพื้นที่ๆยังมีความเหลื่อมล้ำในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน ทางโครงการได้มีการจัดตั้งศูนย์อยู่ในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ “สึนามิ” ซึ่งได้เริ่มการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว ๕ ศูนย์ คือ ศูนย์ที่ ๑ บ้านทุ่งขมิ้น ศูนย์ที่ ๒ บ้านทับตะวัน ศูนย์ที่ ๓ บ้านปากเตรียม ศูนย์ที่ ๔ บ้านในไร่ ศูนย์ที่ ๕ เกาะเหลานอก

7 ๑. บ้านทุ่งขมิ้น อยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยไหม่ (มอแกลน) มี ๗๓ ครอบครัว จำนวน ๒๘๙ คน อาหารเช้าทำให้เราแข็งแรง อาสาสมัครสอนเด็กระบายสี อาสาสมัครสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ ฝึกอาชีพดอกไม้จากแป้งปั้น เด็กๆ ชอบวาดภาพระบายสี

8 ๒. บ้านทับตะวัน อยู่ที่หมู่ ๗ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยใหม่ (มอแกลน) มี ๑๐๐ ครอบครัว จำนวน ๒๙๓ คน ภาพศูนย์การเรียนรู้ที่ทับตะวัน อาสาสมัครสอนคอมพิวเตอร์ให้กับเด็ก การเล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ สอนฝึกอาชีพด้วยการเพาะเห็ดนางฟ้า เด็กๆ ฝึกทำอาหารจากเห็ด

9 ๓. บ้านปากเตรียม อยู่ที่ หมู่ ๕ ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยมุสลิม มี ๒ ครอบครัว จำนวน ๙ คน กำลังฝึกแป้งปั้น ฝึกใช้ปากกาหัวแลงก์วาดภาพ อาสาสมัครกำลังช่วยกันคัดเลือกหนังสือ ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ โรงเพาะเห็ดที่บ้านปากเตรียม ป้ายศูนย์การเรียนรู้ฝีมืออาสาสมัครและเด็กๆ

10 ๔. บ้านในไร่ อยู่ที่หมู่ ๗ ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยมุสลิม ๓๐ ครอบครัว จำนวน ๑๔๓ คน ภาพศูนย์การเรียนรู้บ้านในไร่ เจ้าหน้าที่กำลังเล่านิทานให้เด็กฟัง กิจกรรมสันทนาการบนชายหาด ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ อาหารอร่อย ร่างกายแข็งแรง ฝึกทำเรือจากไม้

11 ๕. เกาะเหลา อยู่ที่หมู่ ๖ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นชาวไทยใหม่ (มอแกลน) มี ๗๐ ครอบครัว จำนวน ๓๐๐ คน ภาพบรรยากาศของเกาะเหลา เจ้าหน้าที่เยี่ยมชาวบ้าน กินข้าวอิ่มแล้ว มีขนมกินอีกด้วย ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ เด็กๆ ที่เกาะเหลา เมื่อกินอิ่มแล้วเด็กๆ ต้องช่วยกันล้างจาน


ดาวน์โหลด ppt งานด้านเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รับเด็กใหม่เข้ามา จำนวน ๑๓ คน มีเด็กรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน แยกเป็นประเภทดังนี้ ประเภท จำนวน/คน เด็กกำพร้า ๓๑ เด็กยากจน ๔๑ ครอบครัวแตกแยก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google