งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มาตรการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มาตรการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ การสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : จากหิ้งสู่ห้าง” คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร 3 กันยายน 2553 อุทยานวิทยาศาสตร์ รังสิต

2 % Total R&D / GDP ของไทยเทียบกับประเทศอื่น : ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
Japan Korea 2.62 Taiwan China 1.49 World Average R&D Intensity ของประเทศผู้นำในเอเชียเช่น ญี่ปึ่น เกาหลี ไต้หวัน อยู่ในระดับสูงเกิน2% ขณะที่จีนซึ่งเคยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ก้าวกระโดดมาเหนือระดับเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงที่จีนยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (1.04%) ก็ยังมีสัดส่วนสูงกว่าไทยมาก - Thailand ที่มา : IMD 3M Plus

3 % Private R&D / GDP ของไทยเทียบกับประเทศอื่น : ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
1.81 1.05 World Average ในภาคเอกชน ของประเทศอื่นๆก็ตื่นตัว ถ้ามองเฉพาะ Private R&D Intensity แล้ว สัดส่วนของจีนขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 1%แล้วในปี 2007 ประเทศไทยยังอยู่ห่างไกลจากกลุ่มมาก ต่ำกว่าค่า Average 7 เท่า ที่มา : IMD 3M Plus

4 Thailand’s Competitiveness IMD-2010

5 บูรณาการงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของกระทรวง
ยังไม่รวมงบวิจัยในรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ3 ของกำไร งบประมาณปี 2550 ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ถึงเกือบสองพันล้านเป็น เป็นส่วนเพิ่มจากกิจกรรมดังนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ 783,525,900 สกอ. โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง 479,861,900 สกอ. ผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี 392,193,150 (หน่วยงานอิสระที่มีงบในปี 50 คือ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ที่มา : ประมวลผลจากข้อมูลงบประมาณแผ่นดิน สำนักงบประมาณ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ()

6 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน (แยกรายอุตสาหกรรม*) ปี 2006
Total 8, Millions 3M Plus ที่มา : สวทน./สวทช.

7 Total R&D personnel per capita in 2007 (FTE per 10,000 people)
Nationwide สัดส่วน R&D Personnel ของไทย ยังต่ำมาก ทั้งในระดับประเทศและ ในภาคธุรกิจ In Business Note : * Average of the World Source : IMD 3M Plus

8 บุคลากรทางการวิจัยและพัฒนาที่ทำการวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลา(FTE) จำแนกตามอาชีพและวุฒิการศึกษาปี 2550
บุคลากรทางการวิจัยและพัฒนาครึ่งหนึ่งเป็นนักวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาโท ขณะที่ผู้ทำงานสนับสนุนและผู้ช่วยนักวิจัยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มา : ร่าง การสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย ปี 2552

9 จำนวนนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2550
สายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ปริญญาเอก 2,059 (60%) 1,753 (40%) ปริญญาโท 11,123 (22%) 39,200 (78%) ปริญญาตรี 145,298 (30%) 340,801 (70%) 187,161 (55%) 153,832 (45%) มัธยมปลาย ปวช. 123,602 (61%) 77,407 (39%) มัธยมต้น ที่มา : สวทน. Presentation เรื่อง ข้อเสนอโครงการจัดทำนโยบายและมาตรการการพัฒนากำลังคน วทน. ของประเทศไทย 2552 883,937 400 300 200 100 100 200 300 400 หมายเหตุ: ข้อมูล นศ. ป.เอก รวม แพทยศาสตร์ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ที่มา: สพฐ สอศ. สกศ. และ สกอ. ที่มา : สศช. Presentation เรื่อง คลัสเตอร์ที่ควรให้ความสำคัญ สิงหาคม 2552 (1,000 คน)

10 การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนค่าใช้จ่าย R&D แยกตามภาคอุตสาหกรรมหลักของไทย
Food และ Chemicals เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน R&D สูง ค่อนข้างสม่ำเสมอ 2007 2005 กลุ่มที่มีการเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ในขณะที่กลุ่มที่ยานยนต์ที่ค่อนข้างผันผวน 2003 ที่มา : สวทช. วิเคราะห์โดย สวทน. 3M Plus

11 ความสัมพันธ์ของ R&D กับการเพิ่มผลิตภาพการผลิต
R&D Intensity Productivity Growth Critical Point 0.17% R&D Intensity สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ Productivity 30-40% จากการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง TFPG กับ RD intensity พบว่า RD Intensity มีส่วนอธิบายการเพิ่มขึ้นของ Productivity ได้ % ในส่วนที่เหลืออาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้แก่ FDI , Technology Transfer จากต่างประเทศ แหล่งที่มา : NESDB, สวทช และวิเคราะห์โดย สวทน 3M Plus

12 เป้าหมายการเพิ่ม R&D Intensity จาก 0.25% เป็น 1% ในปี 2559
เป้าหมายการเพิ่ม R&D Intensity กับผลต่อ Productivity %R&D Intensity 1.0% เป้าหมายการเพิ่ม R&D Intensity จาก 0.25% เป็น 1% ในปี 2559 จะเชื่อมโยงให้ Productivity เพิ่มขึ้น 30% 0.25% Total Factor Productivity Growth : TFPG 30% TFPG = ( )+(35.12 x R&D Intensity)+Ei 4% ที่มา : สวทช. และวิเคราะห์โดย สวทน. 3M Plus

13 ความเท่าเทียมในสังคม
ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร พลังงาน-สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โลกาภิวัตน์ บริบทประเทศไทย ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ความมั่นคง เศรษฐกิจพอเพียง ความยั่งยืน ความสามารถ ในการแข่งขัน ความเท่าเทียมในสังคม Sustainability คุณภาพชีวิต เสถียรภาพ

14 ความเท่าเทียมในสังคม
ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร พลังงาน-สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โลกาภิวัตน์ การศึกษา ปฏิรูปสังคม ภาคสังคม สุขภาพ การจ้างงาน ความมั่นคง เศรษฐกิจพอเพียง แรงงานเคลื่อนย้าย ความตระหนัก ความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขัน ความเท่าเทียมในสังคม การบริหารทรัพยากร การกระจายอำนาจ Sustainability คุณภาพชีวิต เสถียรภาพ การเข้าถึงความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี สังคมดิจิทอล ภูมิปัญญา

15 ความเท่าเทียมในสังคม
ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร พลังงาน-สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โลกาภิวัตน์ การบริโภค เศรษฐกิจ Post-Modern ภาคเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสุขภาพ ผลิตภาพแรงงาน ความมั่นคง เศรษฐกิจพอเพียง ไทยจีนอินเดีย พลังงานทดแทน ความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขัน ความเท่าเทียมในสังคม เศรษฐกิจนอกร้ว เศรษฐกิจ ฮาลาล Sustainability คุณภาพชีวิต เสถียรภาพ ยุทธศาสตร์อาหาร&เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม อุตสาหกรรมเขียว เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่องเที่ยว-ระบบรางทั่วไทย

16 ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
สถานภาพ ณ ปี 2550 R&D /GDP = 0.2 % R&D Personnel (FTE) 6.5:10,000 R&D expenditure (Private:Government) 40:60 เป้าหมาย ~ปี 2559 R&D /GDP = 1 % R&D Personnel (FTE) 10:10,000 R&D expenditure (Private: Government) 50:50 หมายเหตุ : ปี 2550  R&D Exp = 18,225 MB  R&D Exp : Gov : Private =10,935:7,290 MB  R&D Personnel = 42,624 (man-year) IMD Average: R&D / GDP = 1.04% R&D Personnel = 25:10,000 Private : Government = 70 : 30

17 %Private R&D / GDP %Public R&D / GDP
Private R&D VS. Public R&D Intensity ของไทยเทียบกับประเทศอื่น ปี 2550 %Private R&D / GDP Israel Mean (Private 70: Public 30) Japan Sweden Korea Finland USA Taiwan Germany Denmark Singapore Luxembourg Belgium France Netherlands Australia China Canada Average Norway Russia Portugal Malaysia Brazil Lithuania Romania Thai Philippines %Public R&D / GDP Sources : IMD 3M Plus 17

18 กลยุทธ์ มิติใหม่ในการขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์
ใช้อุปสงค์นำ (demand-led) เป็นกลยุทธ์เพื่อเชื่อมโยงสู่การประยุกต์เชิงพาณิชย์ กลยุทธ์ บูรณาการหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย บูรณาการการจัดสรรทุนวิจัยและการวิจัย โดยหน่วยงาน เช่น สกว. วช. สวทช. ร่วมมือกันใกล้ชิดขึ้น เน้นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลัก เช่น บริการ (ท่องเที่ยว สุขภาพ) เกษตร (ข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน กุ้ง มันสำปะหลัง กุ้ง ไก่), อุตสาหกรรม (อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ยานยนต์ สิ่งแวดล้อม) ศูนย์วิจัยและพัฒนา ส่งเสริมบริษัทใหญ่ในประเทศ & บริษัทข้ามชาติ ให้จัดตั้ง R&D Center โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ผูกเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เช่น การขนส่งระบบราง (Regional Innovation System) ระบบนวัตกรรมภูมิภาค การพัฒนาระบบนวัตกรรมในพื้นที่ เช่น ชายฝั่งตะวันออก เป็นต้น รวมถึง Cluster ของ SMEs ในพื้นที่ต่างๆ การร่วมมือภาครัฐ-เอกชน (PPP) เน้นการมีส่วนร่วมลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มมาตรการจูงใจรูปแบบต่างๆ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เน้นให้เอกชนมีบทบาทนำ ส่วนรัฐเป็น Facilitator

19 มาตรการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน วทน.
1% of GDP บุคลากร (R&D Personnel) (50%รัฐ : 50%เอกชน) สถาบันวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีชั้นสูง THAIST PhD, MSc ที่ร่วมให้ทุน โดยภาคอุตสาหกรรม Income Contingent Loan (ICL) นักเรียนทุนทำงานเอกชน 2 ปีโดยคิดเป็นการใช้ทุน ยกเว้นภาษีรายได้บุคคล ธรรมดาแก่บุคลากรวิจัย การลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา ของบริษัทขนาดใหญ่ เงื่อนไขถ่ายทอดเทคโนโลยีและ สัดส่วน R&D ในโครงการขนาด ใหญ่และโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ การจัดตั้งเขตนวัตกรรม (Innovation District) Matching Grants & Equity Financing โครงการระดับชาติ ลดหย่อนภาษีวิจัย % ระบบนวัตกรรมและ กองทุนนวัตกรรมภูมิภาค ปฏิรูประบบวิจัยประเทศ

20 การออกแบบระบบเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
National Targets R&D Centers Innovation Districts Regional Innovation System กลไกสำคัญของประเทศ (Mechanisms) โครงสร้างพื้นฐาน เชิงกายภาพ/ สถาบัน (Physical/ Institutional Infrastructures) เป้าหมายระดับชาติ (Target) R&D 300% Tax Deduction Young Ph.D. Internship Income Contingent Loan Researcher’s Income Tax 0%, 5 years Industrial M.Sc./Ph.D. Matching Grants THAIST Research System Government Technology Procurement Mega-Projects มาตรการและสิ่ง จูงใจ (Schemes) การออกแบบระบบเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

21 1. กำหนดให้มีเป้าหมายใหญ่ระดับชาติ (National Target) และโครงการใหญ่ระดับชาติ (Mega-Projects)
ให้มีเป้าหมายใหญ่ระดับชาติ (National Target) ที่รองรับด้วยโครงการลงทุนวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ของประเทศ (National Projects / Mega-Projects) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีงานวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบสำคัญ สามารถระดมบุคลากรวิจัยมาร่วมมือกันทำงานแบบรวมศูนย์โดยมีเป้าหมายระดับชาติที่เฉพาะเจาะจง การระบุเป้าหมายดังกล่าวควรให้อยู่ในสาขาที่กำหนดแล้วว่าเป็นเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ ซึ่งครอบคลุม: พลังงาน สิ่งแวดล้อม (และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เกษตรกรรมและอาหาร ปิโตรเคมี การแพทย์และสุขภาพ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โลจิสติกส์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

22 2. ใช้กลไกจัดซื้อจัดจ้างหรือโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ หรือโครงการพิเศษของภาครัฐที่ใช้เทคโนโลยีสูง จะต้องมีข้อกำหนดในการลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้าน วทน. ของประเทศ ที่เหมาะสมกับมูลค่าโครงการ โดยให้ สวทน. สนับสนุนการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สศช. และหน่วยงานเจ้าของโครงการในการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับแต่ละโครงการ ข้อกำหนดดังกล่าวอาจครอบคลุม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน การประเมินผลกระทบเชิงบวกและลบ

23 ตัวอย่างมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของต่างประเทศ
การพัฒนารถไฟด่วน: สวีเดน ใช้วิธีร่วมลงทุนวิจัยโดยจัดให้มีการเปิดประมูลอย่างอิสระ ได้ประโยชน์ทั้งจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้น และประโยชน์ต่อสังคมและภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่: ฟินแลนด์ มีการว่าจ้างบริษัทต่างชาติ เพื่อเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ และกระตุ้นให้ภาคเอกชนทำวิจัยร่วมในเวลาเดียวกัน บริษัทท้องถิ่นได้ประโยชน์เพราะมีความสามารถเพิ่มในการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ การพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์/สินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม: ญี่ปุ่น รัฐออกนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมเร่งพัฒนาการผลิต เป็นที่ต้องการของตลาด และเกิดการกระตุ้นให้บริษัทท้องถิ่นใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ

24 3. บูรณาการและปฏิรูปงานวิจัยของประเทศ
ทบทวนและปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ทั้งในด้านองค์กร ด้านวิธีการให้ทุนวิจัย และวิธีใช้ประโยชน์จากการวิจัย เพื่อให้มีการมุ่งเป้าหมายร่วมกันมากขึ้น โดยใช้โจทย์ของประเทศเป็นหลัก จัดทำฐานข้อมูลของงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เชื่อมโยงงานวิจัยเข้ากับการใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ

25 4. ใช้กลไกสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (THAIST: Thailand Advanced Institute of Science and Technology) ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานในลักษณะเครือข่ายสูง การทำงานร่วมกับสถาบันในต่างประเทศ รวมทั้งการตอบโจทย์ของประเทศที่มีความเร่งด่วน ให้ใช้กลไกบริหารจัดการของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ ในการสร้างเครือข่ายเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ

26 ห่วงโซ่มูลค่าของสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนในโครงการของสถาบัน THAIST
สถาบันการ ศึกษาที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย สถาบันวิจัยที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย ภาคเอกชนที่เข้าร่วมในโครงการ - การเชื่อมโยงและความร่วมมือกับภาคการผลิตและบริการ และสถาบันวิจัยอื่นๆ หลักสูตรใหม่ งานวิจัยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการวิจัย ผลิตนักศึกษา/นักวิจัยด้าน วทน ที่เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพ และตรงความต้องการเอกชน การเชื่อมโยงและความร่วมมือกับภาคการผลิตและบริการ และสถาบันวิจัยอื่นๆ งานวิจัยใหม่ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ผลิตนักวิจัยด้าน วทน ที่เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพ การพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ได้ผลจากงานวิจัยไปต่อยอด มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีระบบ ได้บุคลากรที่มีความรู้ตรงความต้องการมาร่วมงาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

27 5. ลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาแก่บุคลากรวิจัย
ให้มีมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุคลากรวิจัย เพื่อเป็นการสนับสนุนวิชาชีพ โดยกระตุ้นให้ผู้ที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มีแรงจูงใจที่จะประกอบอาชีพบุคลากรวิจัย และไม่เปลี่ยนอาชีพ ยกเว้นทั้งหมด 0% ในระยะ 5 ปีแรก สำหรับบุคลากรวิจัยที่ทำงานในเขตนวัตกรรมของภาคเอกชน หลังจากนั้นทบทวนว่า เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลตามที่คาดหวังหรือไม่ และอาจจะพิจารณาขยายกรอบเวลาและขอบเขต

28 ตัวอย่างอัตราภาษีรายได้ของแรงงานต่างชาติ (expatriate) ด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศต่างๆ (พ.ศ ) มาตรการจูงใจด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่สามารถแข่งขันได้เลย แม้กระทั่งอัตราภาษีสำหรับผู้ทำงานที่ใช้ภูมิรู้ (Knowledge Worker) ที่ 15% ตลอด 4 ปี (เทียบกับ 30% ในปัจจุบัน) ก็ไม่สามารถเทียบกับอัตราถาวรที่ 0% ที่ดูไบ อัตรา 7.5% สำหรับ 2 ปี แรก ที่เกาหลี (ตามด้วยอัตราคงที่ที่ 15%) อัตรา 14% ที่สิงค์โปร์ หรือ อัตรา 15% ที่มาเลเซีย และฮ่องกง (รูปที่ 1) ที่มา: การดึงดูดการลงทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมในประเทศไทย โดย InterlaceInvent, 2553

29 อัตราภาษีรายได้ของแรงงานต่างชาติ (expatriate) ในประเทศไทย
ที่มา: Taxation of Expatriate Employees in Thailand, Grant Thornton, 2009

30 6. ให้บริษัทเอกชนหักภาษีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา 300% และปรับปรุงขั้นตอนการอนุมัติ
ให้เพิ่มการหักภาษีค่าใช้จ่ายวิจัยให้มากขึ้น สำหรับเอกชนที่เคยยื่นขอหักภาษีตามมาตรการนี้ และเพิ่มเงินลงทุนในปีถัดไป โดยให้หักภาษีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาได้เป็น 300% เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้น ให้มีคณะทำงานพิจารณาทบทวนระบบการขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการหักค่าใช้จ่ายฯ และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงมาตรการฯ ที่ประกอบด้วย กรมสรรพากร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

31 ปัญหาที่พบในปัจจุบัน
ในกระบวนการอนุมัติ จำเป็นต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายโดยละเอียด ทำให้ใช้เวลานาน ในกรณีที่ผู้ยื่นขอลดหย่อนให้ข้อมูลมาไม่เพียงพอก็จะต้องประสานขอข้อมูลหลายครั้ง ทุกโครงการที่จะผ่านกระบวนการอนุมัติต้องผ่านคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (R&D Certification Committee) ซึ่งไม่สามารถนัดประชุมได้บ่อย ในกรณีที่การอนุมัติรับรองโครงการไม่เสร็จสิ้นภายในปีภาษีที่ยื่นขอต่อกรมสรรพากร จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดทำเอกสารการขอยกเว้นภาษี ทำให้เอกชนหลายรายตัดสินใจไม่ยื่นขอยกเว้นภาษีต่อกรมสรรพากร มีบริษัทผู้ยื่นขอน้อยราย

32 จำนวนโครงการที่ขอใช้สิทธิหักภาษีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา 200% แยกตามปีงบประมาณ
ดอกจันทน์หมายถึงคิดถึงเดือนมีนาคม 2553? ถามอ.สมชาย ที่มา: คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา, 2553

33 มูลค่าโครงการ (ล้านบาท) แยกตามปีงบประมาณ
ที่มา: คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา, 2553

34 จำนวนบริษัทที่ยื่นขอรับรองโครงการ แยกตามทุนจดทะเบียน (163 ราย)
ที่มา: คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา, 2553

35 จำนวนโครงการแยกตามประเภทอุตสาหกรรม
ที่มา: คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา, 2553

36 บริษัท 10 อันดับแรก ที่มีจำนวนโครงการยื่นขอรับรองสูงสุด
เจ้าของโครงการ จำนวนโครงการ มูลค่าโครงการที่ยื่นขอรับรอง (บาท) 1 บจก.รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม 142 315,733,617.27 2 บมจ.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ 77 133,627,209.00 3 บจก.ปูนซิเมนต์ไทย(แก่งคอย) 58 130,566,585.00 4 บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี 57 50,835,772.45 5 บจก.ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 52 198,403,995.00 6 บจก.มินีแบไทย 51 164,974,979.01 7 บจก.ปูนซิเมนต์ไทย(ท่าหลวง) 36 118,173,980.00 8 บจก.แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ 34 138,176,547.00 9 บจก.ยูคาลิปตัส เทคโนโลยี 31 166,838,229.82 10 บจก.อีสท์ เวสท์ ซีด 293,025,716.00 ที่มา: คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา, 2553

37 7. ลงทุนและดำเนินการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก (Industrial MSc, PhD) ให้ขยายการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ในลักษณะการลงทุนและดำเนินการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม โดยนำเอารูปแบบที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมาขยายจำนวนให้มากขึ้น โดยใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (THAIST) และดำเนินการร่วมกับสถาบันเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยต่างๆ สถาบันวิจัย และหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ

38 8. มาตรการเงินให้เปล่าสมทบ (Matching Grants) และ/หรือร่วมลงทุน (Equity Financing) ภาครัฐ
ที่ผ่านมามีการสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบเงินกู้ เงินร่วมลงทุนจากภาคเอกชน (venture capital) และการลดหย่อนทางภาษี แต่ไม่สามารถใช้ได้ดีกับบริษัทที่อยู่ในช่วงการวิจัยเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ (seed) เริ่มก่อตั้ง (startup) และช่วงเริ่มเติบโต (early growth) เนื่องจากบริษัทมีความเสี่ยงสูง ต้องการกระแสเงินสด ยังไม่มีกำไรและผลประกอบการตลอดจนหลักทรัพย์ค้ำประกัน หน่วยงานที่อาจเป็นเจ้าภาพ สวทน. (ผู้กำหนดและผลักดันนโยบาย) สวทช. (ผู้ให้ทุนและเงินร่วมลงทุุน โดยต่อยอดจากโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ) สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ ทัศนคติต่อการใช้เงินหลวงในการสนับสนุนภาคเอกชน และประเด็นการทำให้แน่ใจในเรื่องความโปร่งใส ระยะ สัดส่วนเงินให้เปล่าสมทบและ/หรือเงินร่วมลงทุน ภาครัฐ : เอกชน เงินให้เปล่าสมทบและ/หรือ เงินร่วมลงทุนจากภาครัฐ Seed 1:1 ไม่เกิน 1 ล้านบาท Startup 1:2 ไม่เกิน 5 ล้านบาท Early growth 1:3 ไม่เกิน 10 ล้านบาท

39 “Valley of Death” – the funding gap at survival stage
ความสำคัญของกลไกสนับสนุนด้านการเงิน แก่ SME ในการก้าวข้ามเหวมรณะ “VALLEY OF DEATH” สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ “Valley of Death” – the funding gap at survival stage Technology Creation Biz. and Product Development Commercialization Distribution Sales $ Cash flow Idea, R&D Product Dev. Production Time “Valley of Death” Cash flow To succeed, you must proceed through what investors call the “valley of death”. The bottom curve represents the cash flow required to support the creation of the technology, its development and engineering, and its production. Sales do not begin until well into the process. You need outside funding to bridge the gap between the initial idea and research and the successful sales where a profit finally emerges. It is in this valley that many new technologies fail. R&D grants, Public sector Entrepreneur, angel investors Venture capitalists Stock owners Ideation Survival Growth ดัดแปลงจาก TECHNOLOGY COMMERCIALIZATION, USIC, 2006

40 หน่วยงานที่ประกอบการร่วมลงทุน (VC)
ที่มา: ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีชีวภาพ (TMC)

41 กองทุน Venture Capital ของภาครัฐและเอกชน
วงเงิน (ล้านบาท) หลักเกณฑ์ กองทุน สสว (บลจ.วรรณ) 1,200 (รัฐ 1,000) ลงทุน 10-50% ของทุนจดทะเบียน ระยะร่วมทุน 3-5 ปี กองทุนร่วมทุนเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของธุรกิจไทย โดย สสว. 5,000 ลงทุนใน SMEs ร่วมลงทุน 25-35% ของทุนจดทะเบียน ระยะร่วมทุน 1-5 ปี กองทุนพัฒนานวัตกรรม (สนช.) 140 ร่วมทุนไม่เกิน 49% และร่วมทุนไม่เกิน 25 ล้านบาทต่อโครงการ กองทุน KSME Venture Capital (บลท.ข้าวกล้า) 200 ร่วมทุนในบริษัทที่ดำเนินงานมากกว่า 3 ปี ร่วมลงทุน % ในวงเงิน ล้านบาท ระยะร่วมทุน 1-7 ปี MAI Matching Fund 1,000 ลงทุนในบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มา: สาธิต ชาญเชาวน์กุล, แนวทางการส่งเสริมภาคเอกชนดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์, 31 มี.ค. 2553

42 ปัญหาของ VC ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เกณฑ์การให้ร่วมลงทุน ปัจจุบันดูเรื่องขนาดของธุรกิจเป็นหลัก แต่ควรเน้นในเรื่องความต้องการในตลาดเป็นสำคัญ ในประเทศมาเลเซีย มีการให้สิทธิประโยชน์ 2 แบบ คือ แบบ upfront ซึ่งตั้งระยะเวลาเป็นเงื่อนไข และ ให้แบบ dividend โดยจำกัดเวลาในการให้ incentive เพื่อทำให้เกิดการเร่งการเติบโต และให้ได้ผล ได้ประโยชน์ร่วมกัน ปัจจุบันนโยบายของ VC จะร่วมลงทุนในโครงการที่อยู่ในขั้นสู่เชิงพาณิชย์เท่านั้น ซึ่งควรจะเน้นในช่วงการพัฒนาต้นแบบ การจัดตั้งธุรกิจ และช่วงที่ธุรกิจเริ่มมีการเติบโต ระยะเวลาการร่วมลงทุน/หวังผลสั้นเกินไป กฎเกณฑ์การร่วมลงทุนมีข้อกำหนดในเรื่องขนาดของบริษัทไม่เกิน 200 ล้านบาท และจำนวนคนไม่เกิน 200 คน ปัญหาภาษี ควรจะมีการลดหย่อนหรือสร้างแรงจูงใจด้านภาษี เนื่องจากการลงทุนร่วมแบบนี้มีความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่น

43 ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกลไก VC
ควรมีการจัดการบริหารทุนให้มีคุณภาพ ควรจัดสรรเงินทุนให้ลงไปในงานที่มีศักยภาพ ไม่จำเป็นต้องลงทุนช่วยเฉพาะ SME รัฐบาลควรมีนโยบายให้ชัดเจนว่าอยากจะส่งเสริม หรือพัฒนาอะไร จะได้เป็นเป้าหมายให้กลุ่มธุรกิจ ควรจะมี minimum return guarantee ซึ่งจะช่วยคุ้มกันนักลงทุน และทำให้นักลงทุนสนใจที่จะร่วมลงทุนมากขึ้น ที่มา: การประชุมการร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจเงินร่วมลงทุนในประเทศไทย 25 มิถุนายน 2553 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

44 9. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในสัญญาการรับทุนการศึกษาของนักเรียนทุนรัฐบาล
ให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในสัญญาการรับทุนการศึกษาของนักเรียนทุนรัฐบาล ที่จะต้องกลับมาทำงานชดใช้ทุนในหน่วยงานภาครัฐให้สามารถไปทำงานในภาคเอกชนในประเทศไทยได้เป็นเวลา 2 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษาโดยให้นับเวลาขณะที่ทำงานในภาคเอกชนดังกล่าวเป็นเวลาชดใช้ทุนด้วย และนับระยะเวลาดังกล่าวรวมเป็นอายุราชการในกรณีที่กลับเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ

45 10. เพิ่มสัดส่วนนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ปรับสัดส่วนนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสายสังคมศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษาจากประมาณ 75:25 เป็น 50:50 โดยใช้กลไกกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ. หรือ Income Contingent Loan - ICL) เป็นเครื่องมือ โดยมีหลักการคือรัฐอุดหนุนนักศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนให้เป็นหนี้น้อยกว่าสายสังคมศาสตร์ที่เป็นสาขาที่ล้นตลาด

46 จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ (พ.ศ. 2549)
สายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ปริญญาเอก 2,059 (60%) 1,753 (40%) ปริญญาโท 11,123 (22%) 39,200 (78%) ปริญญาตรี 145,298 (30%) 340,801 (70%) 187,161 (55%) 153,832 (45%) มัธยมปลาย ปวช. 123,602 (61%) 77,407 (39%) มัธยมต้น 883,937 400 300 200 100 100 200 300 400 หมายเหตุ: นักศึกษา ป.เอก รวมแพทย์ประกาศนียบัตรชั้นสูง ที่มา: สพฐ สอศ. สกศ. และ สกอ. (2549) (1,000 คน)

47 11. การส่งเสริมศูนย์วิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน (R&D Centers)
ต้องมีมาตรการเชิงรุกที่จูงใจให้บริษัทของไทยหรือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย เช่น รัฐเป็นฝ่ายเสนอมาตรการแรงจูงใจเป็นรายบริษัทในรูปแบบภาษี เงินอุดหนุน เงินลงทุนร่วม ที่ดิน การให้ตลาดภาครัฐ เงินให้เปล่าสมทบ บริษัทขนาดกลางและเล็กไม่เกิน 1 ล้าน/โครงการวิจัยและไม่เกิน 10 ล้าน/โครงการ ถ้าเป็นโครงการวิจัยในลักษณะเครือข่ายที่มีหลายบริษัทและหลายสถาบันเข้าร่วม (R&D consortium) ให้มีมาตรการจูงใจด้านภาษี ค่าตอบแทนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดึงวิศวกรและช่างเทคนิคต่างชาติโดยเฉพาะผู้ที่เกษียณอายุแล้วให้มาทำงานในบริษัทไทย

48 ตัวอย่างมาตรการส่งเสริมการจัดตั้ง R&D Center ของไต้หวัน
รัฐจัดสรรทุนอุดหนุน (subsidy) ค่าจ้าง ค่าเดินทาง ค่าที่พักผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ Competitive grants for private-sector led consortium เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของรัฐ ห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบที่ได้มาตรฐานสากล การให้สัญชาติกับ knowledge worker โลจิสติกส์ (ตั้ง R&D center ในบริเวณสนามบิน)

49 12. มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งเขตนวัตกรรม (Innovation District)
จัดให้มีเขตนวัตกรรม อันหมายถึงพื้นที่ที่จัดสรรเป็นการเฉพาะเพื่อเอื้อต่อการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรม โดยมุ่งจัดสรรทรัพยากรหลัก ๆ เข้าเป็นกลุ่มทางกายภาพ ให้ตรงกับความต้องการของ อุตสาหกรรม และมีสิ่งจูงใจ เช่น ยกเว้นภาษีรายได้ที่เกิดจากบริการของผู้พัฒนาเขตนวัตกรรมที่เป็นไป ตามเป้า และผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมที่อยู่ในเขตนวัตกรรม ตามข้อกำหนดของ BOI ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในเขตนวัตกรรม ร่วมระหว่างรัฐและเอกชน รวมถึงการให้สิทธิผู้รับทุนรัฐบาลทำงานในภาคเอกชนได้ 2 ปี

50 13. สร้างระบบนวัตกรรมและกองทุนนวัตกรรมภูมิภาค (Regional Innovation System/Fund)
ให้มี “กองทุนนวัตกรรมภูมิภาค” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ความสนับสนุนนวัตกรรมในบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เกิดในภูมิภาค โดยมีหน่วยงานบริหารกองทุนที่มีประสบการณ์ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน อาจใช้กลไกปัจจุบันของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) หรือ University Industrial Park ในการขับเคลื่อน

51 ตัวอย่างโครงการนำร่อง นวัตกรรมระดับภูมิภาค
หน่วยงานที่ร่วมดำเนินงาน โครงการจับคู่งานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการมะม่วงไทย iTAP สวทช. สำนักงานเทคโนโลยี SMEs มจธ. สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย TG-PEC/GTZ โครงการแผนที่และการจับคู่ทางนวัตกรรมในอุตสาหกรรมกุ้งของภาคใต้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ยุทธศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมผักและผลไม้จังหวัดนครปฐม ITAP สวทช. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม โครงการ Mapping and matching for innovation in selected agro-industrial sub-sectors สำนักงานประสานงานชุมชนและอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บริษัท แลองน้ำยางข้น จำกัด

52 การออกแบบระบบเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
National Targets R&D Centers Innovation Districts Regional Innovation System กลไกสำคัญของประเทศ (Mechanisms) โครงสร้างพื้นฐาน เชิงกายภาพ/ สถาบัน (Physical/ Institutional Infrastructures) เป้าหมายระดับชาติ (Target) R&D 300% Tax Deduction Young Ph.D. Internship Income Contingent Loan Researcher’s Income Tax 0%, 5 years Industrial M.Sc./Ph.D. Matching Grants THAIST Research System Government Technology Procurement Mega-Projects มาตรการและสิ่ง จูงใจ (Schemes) การออกแบบระบบเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

53 ผลกระทบของมาตรการ Impact GDP growth Employment
Outcome Output GDP growth Employment IMD ranking, WEF ranking Wealth distribution Per capita income Knowledge-based Economy Green & sustainability Innovation capability Technological capability Quality of education Creative industry Productivity gain Serve national priority Scientific and technological infrastructure Foreign Direct Investment, Innovation district Regional innovation system (cluster formation) Patent & publication S&T Personnel Employment Knowledge Worker R&D centers

54 ขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรีชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์: โทรสาร:


ดาวน์โหลด ppt มาตรการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google