งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอภิปรายวาระการประชุม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอภิปรายวาระการประชุม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอภิปรายวาระการประชุม
ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์จะยืดเยื้อหลายวัน สาเหตุเกิดจากประธานและสมาชิกไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ การประชุมใหญ่สามัญประจำปีก็เหมือนการประชุมทั่วไปต้องใช้เกณฑ์การประชุมธรรมดา ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใดก็ตามเราต้องดูว่าวาระนั้นเป็นวาระเพื่อ

2 วาระอภิปรายการประชุม
การอภิปรายหรือไม่ วาระที่อภิปรายมีอยู่วาระ เดียวก็คือ 1. วาระว่าด้วยเรื่องการพิจารณา วาระนั้นจะมีการลงมติต้องมีการอภิปราย ** วาระอื่น ๆ *วาระว่าด้วยรับรองบันทึกการประชุม

3 วาระอภิปรายการประชุม
* วาระว่าด้วยประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ * วาระว่าด้วยเรื่องที่แจ้งให้ทราบ เช่นรายงานการดำเนินงานของสหกรณ์ประจำปี วาระเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีคำถามและห้ามถามในว่าระนั้นด้วย วาระเพื่อทราบก็รับทราบ บางท่านสงสัยในเรื่องการดำเนินงานของสหกรณ์

4 วาระอภิปรายการประชุม
ถามได้แต่ต้องนำไปถามในวาระอื่นๆ ประธานต้องไม่อนุญาตให้ถาม ต้องไปถามและตอบในวาระอื่นๆ การประชุมสามารถสลับวาระการประชุมได้ถ้าหากมีความจำเป็นไม่ต้องเรียงลำดับวาระ ขณะเดียวกันการรับรองการประชุมสามัญประจำปี สมาชิกที่มาประชุมปีนี้ไปรับรองบันทึกการประชุมครั้งที่แล้วทั้งๆที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

5 การรับรองการประชุม การรับรองการประชุม ทำได้ 3 อย่าง คือ
1. รับรองในครั้งถัดไป 2. เมื่อประชุมเสร็จแล้วเลขานุการส่งบันทึกการประชุมฉบับร่างไปให้สมาชิกทราบ 3. รับรองการประชุม ณ เวลานั้น

6 การจดบันทึก การขานการประชุมและการตั้งจำนวนคณะกรรมการ
* การจดบันทึกการประชุม จดด้วยลายมือลง สมุดเพราะแก้ไขเปลี่ยนแปลงยากถ้าใช้คอมพิวเตอร์ ก็แก้ไขได้แนบเนียน ถ้าใช้เทปก็ลบได้ * ในการประชุมนั้นให้เลขานุการขานการประชุมทุกครั้ง จบการประชุมนี้ขานรับทันทีและทุกครั้ง ตามมติที่ประชุม * คณะกรรมการดำเนินการควรตั้งเป็นเลขคี่ เพื่อการลงมติจะมี “เสียงชี้ขาด” หมายถึงประธาน

7 การนับองค์ประชุม จะต้องอยู่ในที่ประชุมและประธานไม่ต้องลงมติในรอบแรก เมื่อคะแนนเท่ากันจึงลงมติได้ * การนับองค์ประชุม เพื่อที่วาระนั้นจะต้องมีการลงมติ ถ้าวาระนั้นไม่มีการลงมติ เช่น รับทราบเป็นวาระอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปลงมติ การนับองค์ประชุมจะเกิดขึ้นก่อต่อเมื่อวาระนั้นเป็นวาระที่เราต้องการลงมติเพื่อให้มติถูกต้องตามข้อบังคับ

8 การรักษาเวลาในการประชุม
ในการประชุมนั้น ผู้ที่จัดการประชุมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระลึกถึงว่าผู้ที่มาประชุมอาจจะต้องได้รับความสะดวกตามสมควร เพราะฉะนั้นต้องมีน้ำเอาไว้รับรอง การประชุมไม่ควรนานเกิน 3 ชั่วโมง ถ้ามีความจำเป็นเกิน 3 ชั่วโมง ยกไปประชุมครั้งหน้าได้ก็ให้ยกไป ถ้ายกไม่ได้ต้องเบรกพักการประชุมไว้ก่อน เพราะจะทำให้เหนื่อยล้าในการประชุม

9 การรักษาเวลาในการประชุม
อาจจะยกมือผ่านๆ ไปเพื่อให้เรื่องจบ ซึ่งมักจะมีการฉวยโอกาสแบบนี้ ขณะเดียวกันการนัด ประธาน เลขานุการอย่าถือเอาความสะดวกของตนเองเป็นที่ตั้งต้องถือเอาความสะดวกของสมาชิก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่านัดประชุมเช้าตรู่ เช่น น. และอย่าประชุมตอนเลิกงาน เช่น น. เป็นต้น

10 การเชิญผู้ตรวจสอบ * ในการประชุมนั้นเราต้องเชิญผู้ตรวจสอบกิจการที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่มาประชุมในคณะกรรมการดำเนินงานทุกครั้งหรือไม่ คำตอบคือ จำเป็นต้องเชิญผู้ตรวจสอบมาทุกครั้ง แต่ผู้ตรวจสอบไม่จำเป็นต้องอยู่ในวาระการประชุมจะอยู่เฉพาะวาระที่จะแถลงเรื่องการตรวจสอบเท่านั่น

11 การควบคุมและสรุปมติการประชุม
* การควบคุมการประชุม ข้อสำคัญที่สุด ประธานในที่ประชุม ต้องควบคุมให้อยู่ในทิศทางวงกรอบอยู่ในเรื่องราวที่ ประชุมตามวาระนั้น * การสรุปมติ เลขานุการในที่ประชุมเฉพาะการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่หรือเข้าเลือกตั้งใหม่เลขานุการต้องสรุปมติหลักเกณฑ์

12 การสรุปมติการประชุม จากที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการคราวก่อนเอามาให้กรรมการชุดใหม่ได้รับทราบ ได้รู้ได้เห็น ว่ามติต่างๆ เหล่านั้นยังจะถือใช้ปฏิบัติต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าเห็นแล้วอยากจะใช้ก็ใช้ต่อไป ถ้าเห็นว่าไม่ควรใช้ก็จะได้มีมติยกเลิกต่อไป


ดาวน์โหลด ppt การอภิปรายวาระการประชุม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google