งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research R2R) :

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research R2R) :"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research R2R) :
เสริมพลัง สร้างสรรค์และพัฒนา” วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

2 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการทำงานประจำสู่งานวิจัยใน แวดวงบุคลากรสาธารณสุข เพื่อการขับเคลื่อนให้บุคลากรเห็นคุณค่าของงาน ประจำ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักวิจัยหน้าใหม่ในระบบ สุขภาพ

3 ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,300 คน ได้แก่
- ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - นักวิจัยและนักวิชาการจากทบวงมหาวิทยาลัย และ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี - ภาคีเครือข่าย R2R - บุคลากรสาธารณสุข

4 1. สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง R2R
หัวข้อการประชุม 1. สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง R2R - R2R เครื่องมือทำงานให้มีความสุข - แกะรอย เคล็ดลับขับเคลื่อน R2R ในระบบสุขภาพ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัย

5 ที่มาของ R2R นิยามโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ (routine work) ได้เกิดความกล้า ได้มีโอกาส หรือได้รับคำชื่นชมจากการที่สร้างความรู้ขึ้นมาพัฒนางานของตัวเอง เพื่อปฏิวัติกระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ โดยมุ่งทำลายมายาคติ 3 เรื่อง– งานวิจัยเป็นเรื่องยาก, ต้องเป็นโครงการ เขียนขอทุน, เป็นเรื่องของนักวิจัย/นักวิชาการ ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ เปลี่ยนสถานะจากเดิมเป็นผู้เสพความรู้ เป็นผู้สร้างความรู้

6 ลักษณะงานประจำที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
การแบ่งงานกันทำเป็นส่วน ๆ งานถูกลดคุณค่าเหลือเพียงแค่ที่มาซึ่งเงิน เป็นงานที่คนอื่นสั่งให้ทำ ทำลายความคิดสร้างสรรค์ “สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ”

7 ความหมายของ R2R การทำวิจัยในงานประจำ หมายถึง กระบวนการแสวงหา ความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำ ในการแก้ปัญหา และยกระดับการพัฒนางานที่ รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์เป็น การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผลกระทบใน การบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์การ

8 หัวใจของ R2R คือ การพัฒนางาน พร้อมกับการพัฒนาคน
ไม่หลงติดกับคำว่า วิจัย R2R เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย

9 การเริ่มดำเนินการ R2R ควรเริ่มจาก..
ปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างานหรืองานประจำ ที่ตนเองทำและรับผิดชอบดำเนินการอยู่ มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา พัฒนา ต่อยอด หรือขยายผลงานที่ทำอยู่อย่างไร ใช้กระบวนการพิสูจน์หาคำตอบของคำถามนั้นด้วย วิธีการที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้เป็น หลักฐานเชิงประจักษ์ใช้สำหรับการตัดสินใจในการ พัฒนาคน พัฒนางานในระบบสุขภาพ

10 เป็นงานเสรีทางวิชาการและสามารถประยุกต์ใช้กับ
งานประจำ เป็นเครื่องมือการพัฒนาคนให้รู้จักพัฒนาฐานข้อมูล รู้จักใช้ข้อมูลและสามารถคิดเชิงระบบ ไม่ควรยึดติดรูปแบบการวิจัย แต่ควรถูกต้องตามหลัก วิชาการ เป็นเครื่องมือในการเปิดพื้นที่สำหรับแนวคิดใหม่ๆ ใน การทำงาน เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศักยภาพ ทำให้เข้าใจ สภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยรอบตัวมากขึ้น

11 ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทั้งหมด แต่ต้อง
เป็นการค้นคว้าแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบท ควรมีผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อทำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้ เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย และ เอื้อเฟื้อกันในการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ช่วยคนงานในการสร้างความรู้ และสามารถ ย้อนกลับมาช่วยงานประจำที่ทำอยู่

12 แนวทางปฏิบัติของ R2R อาจเริ่มจากคนเดียว สามารถได้ แต่จะมีพลังมากขึ้นหากร่วมกันทำเป็นทีม แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีใจ มีภาวะผู้นำและมีคนช่วยย่อยความรู้ ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้

13 การทำให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กรในเรื่องการสร้างความรู้ อาจเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ต้องทำให้ง่าย และเกิดความเป็นมิตร เปิดช่องทางการสนับสนุนที่เป็นช่องที่คนเข้าถึงได้ง่าย

14 กระบวนการ R2R ในการทำกิจกรรม R2R สามารถใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นเครื่องมือ เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ด้านการวิจัย โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคด้านการวิจัย เรียนรู้วิธีการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย หรืองานอื่นๆ การค้นหาโจทย์วิจัยมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่มาจากการทำงานประจำของตนเองและหน่วยงาน

15 “เงื่อนไขของ R2R” หากจะเป็น R2R ต้องมีอะไรบ้าง
1. ต้องเริ่มต้นจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างาน หรือ งานประจำที่ตนเองทำและรับผิดชอบดำเนินการอยู่ 2. ต้องเป็นการวิจัยจริง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ 3. ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา/พัฒนา/ต่อยอด/ ขยายผล งานที่ทำอยู่อย่างไร 4. ไม่ควรจะเน้นที่งบประมาณในการดำเนินการเป็นการเฉพาะ มากนัก ควรใช้โอกาสและงบประมาณที่ใช้ทำงานประจำอยู่ แล้ว

16 5. ต้องเริ่มต้นที่ใจอยากทำ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย ไม่
ควรใช้วิธีการบังคับให้ทำ 6. ควรจะเห็นวิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานใน กระบวนการทำ R2R 7. ต้องไม่รู้สึกว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น 8. ต้องพิจารณาที่ “งานประจำ” เป็นหลัก เพราะแต่ละ คนที่ทำ R2R ทำงานต่างตำแหน่ง บทบาท หรือต่างหน้าที่กัน 9. การทำวิจัยในงานประจำน่าจะเป็นการคิดแบบ initiation, creation หรือ innovation

17 องค์ประกอบของ R2R มี 4 ส่วน
โจทย์วิจัย ต้องมาจากงานประจำ เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง ผลลัพธ์ของการวิจัย ต้องวัดผลที่เกิดต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ไม่ใช่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยต้องวนกลับไปก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อการให้บริการผู้ป่วยโดยตรง หรือต่อการจัดบริการผู้ป่วย

18 ผลลัพธ์ R2R คุณภาพการบริการ เช่น การดูแลผู้ป่วยมีผลสัมฤทธิ์ ดีขึ้น คนทำงานประจำเก่งขึ้น (คิดเก่ง + สื่อสารให้คน อื่นฟังดีขึ้น) มีความสุขมากขึ้น รายงานผลการวิจัย

19 ความสำคัญของ R2R สนับสนุนให้เกิด Evidence based decision making (EBD) ลดความขัดแย้งในกระบวนการตัดสินใจที่ยึด ความเชื่อส่วนตัว และนำไปสู่การพัฒนาองค์การอย่าง ต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการ ตัดสินใจ พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบ

20 เงื่อนไขที่สนับสนุนให้ R2R มีโอกาสขยาย
บริบทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องอาศัยการ จัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหา การริเริ่ม R2R ของศิริราช R2R ของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย (สพช.) สถาบันวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) และหน่วยงานอื่นๆ

21 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการขยาย R2R
ความเข้าใจ/ความเชื่อผิดๆ เช่น มองเรื่องการวิจัยเป็น เรื่องยาก การขาดความรู้/ผู้สนับสนุนทางวิชาการที่จำเป็น ผู้บริหารบางหน่วยงานไม่เห็นความสำคัญ/ไม่สนับสนุน

22 ความคาดหวัง R2R ในอนาคต
ผ่านการจัดประชุม การประกวดและมอบรางวัล การ สังเคราะห์บทเรียน จัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ R2R พัฒนาเป็นเครือข่าย R2P (Research to Policy)

23 ระดับปฐมภูมิ 80 เรื่อง (สถานีอนามัย)
ระดับทุติยภูมิ 170 เรื่อง (รพ.ชุมชน) ระดับตติยภูมิ 127 เรื่อง (รพ.ศูนย์, รร.แพทย์) ตัวอย่าง โครงการ Tongue Tie (ภาวะลิ้นติด) "พัฒนากระบวนการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นทารก แนวใหม่เพื่อลูกดูดนมแม่ได้ดีขึ้น (ศิริราช) ผลการศึกษา การผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ได้ผลดีเทียบเท่ากับวิธีการดมยาสลบ โครงการ เปรียบเทียบจำนวนรอบของการหยอดยาขยายรูม่านตาที่มีผลต่อการขยายรูม่านตาของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาลอก (ศิริราช)ผลการศึกษา หยอดยา 2 ครั้ง ห่างกัน 30 นาที เหมาะสมที่สุด การประเมินผลการนำประเพณีผูกเสี่ยวมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน : กรณีศึกษาบ้านหนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ คุณค่าของสมาธิบำบัด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง


ดาวน์โหลด ppt “จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research R2R) :

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google