งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์. ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์. ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์

3 อุปมา อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน
อุปมาเป็นสิ่งที่นำมากล่าวเปรียบเทียบอุปไมย คือเนื้อความที่ต้องการกล่าว มักใช้คำเชื่อมระหว่างอุปมา-อุปไมย เช่น คำว่า เช่น เหมือน เปรียบ ดัง ดุจ ประดุจ ประหนี่ง ละหม้าย เสมอ เหมือน ปาน เพียง ราว เทียบ คือ หรือ เป็น(ที่แปลว่าเหมือน) ฯลฯ เช่น รวดเร็วดุจกามนิดหนุ่ม , เงียบเหมือนป่าช้า , เจ็บเหมือนมีดกรีด , ตัวสั่นเป็นเจ้าเข้า , อืดเป็นเรือเกลือ , ซนเป็นลิง , โอ้ว่าอนิจจาความรัก- เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล , สูงสูงระหงทรงเพรียวเรียวชะลูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า พิศหัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ พิศขนมเหมือนกงเขาดีดฝ้าย จมูกดูละม้ายคล้ายพร้าขอ

4 อุปลักษณ์ อุปลักษณ์เป็นการกล่าวเปรียบเทียบวิธีหนึ่ง แต่ต่างกับอุปมาตรงที่ อุปลักษณ์จะไม่กล่าวเปรียบต่างๆใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเองบางครั้ง ไม่มีคำเชื่อมให้เห็นชัดอย่างอุปมา เช่น ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย อาเธอร์มีอาชีพเป็นเหยี่ยวข่าวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่คลับแห่งนี้ เป็นที่ชุมนุมของพวกเสือสิงห์กระทิงแรดทั้งหลาย หรือถ้ามีคำเชื่อมจะใช้คำ “เป็น” และ “คือ” เช่น เธอคือแก้วตาดวงใจของฉัน , เด็กคนนี้เป็นเพชรในตมแท้ๆเชียว

5 ลองทำดู

6 ๑. “น้ำค้างหยดลงเผาะ ๆ เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์”
เป็นการใช้ภาพพจน์วิธีใด ๑. อุปมา ๒. อุปลักษณ์ ๓. สัญลักษณ์ ๔. บุคลาธิษฐาน

7 เฉลย ตอบ ๒. “น้ำค้างหยดลงเผาะ ๆ เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์”
     “น้ำค้างหยดลงเผาะ ๆ เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์” เป็นภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ เพราะเป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ในที่นี้เปรียบเทียบน้าค้างเป็นหยาดน้ำตา ของสวรรค์

8 ๒. คำประพันธ์ในข้อใดใช้อุปมาเป็นภาพพจน์ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง” ๑. ดังตรลบโลกแล้ ฤๅบ่ร้างรู้แพ้ ชนะผู้ใดดาล ฉงนนา ๒. สองฝ่ายหาญใช่ข้า คือสีหสู้สีหกล้า ต่อแกล้วในกลาง สมรนา ๓. เห็นประภาพเจ้าช้าง เชี่ยวกว่าเชี่ยวเหลืออ้าง เอิกอื้ออัศจรรย์ ยิ่งนา ๔. กองทัพตามกันเต้า เสียงสนั่นสั่นเท้า พ่างพื้นไพรพัง เพิกฤๅ

9 เฉลย ตอบ ๔. “พ่างพื้นไพรพัง” เป็นอุปมาหมายถึง ดังพื้นป่าพังทลาย
ในข้อ ๑. ออกมาหลอกให้งงเล่น คำว่า”ดัง”ในที่นี้เป็นคำขยาย คือมีเสียงดังตลบโลก เป็นความเปรียบแบบอธิพจน์

10 ๓. คำประพันธ์ในข้อใดใช้อุปลักษณ์เป็นภาพพจน์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“อำมาตย์เป็นบรรทัด ถ่องแท้” ๑.      ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย ๒.    ไพเราะเพราะกังวาน ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย ๓.     น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง ๔.     นาคาหน้าดั่งเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน

11 เฉลย ตอบ ๓. จากตัวอย่าง“อำมาตย์เป็นบรรทัด ถ่องแท้”
  จากตัวอย่าง“อำมาตย์เป็นบรรทัด ถ่องแท้” ใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เช่นเดียวกับ “น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีอำพราง” ในข้อ๔. คำว่า”เป็น”เป็นคำกิริยาแปลว่า”มีชีวิต”

12 ๔. ข้อใดเป็นการเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ คือเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง
๔. ข้อใดเป็นการเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ คือเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง เป็นอีกสิ่งหนึ่ง   ๑. ปัญญาคือดาบสู้ ดัสกร   ๒. มานะเปรียบอัสดร ควบกล้า   ๓. ข้อสอบเล่ห์ราญรอน นามรบ ๔. ได้ตกดุจผลคว้า ชนะแพ้ดลสนอง

13 เฉลย ตอบ ๑. เพราะข้อ ๒ , ๓ , ๔ เป็นอุปมา มีคำว่า “เปรียบ”
เพราะข้อ ๒ , ๓ , ๔ เป็นอุปมา มีคำว่า “เปรียบ” “เล่ห์” “ดุจ” ตามลำดับ

14 ๕. คำประพันธ์ใช้อุปลักษณ์เป็นภาพพจน์ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“น้ำพระเนตรเธอไหลหยาดหยดเป็นสายเลือด” ๑. น้ำในสาครจะน้อยลงก็หามิได้ เสมือนหนึ่งน้ำพระทัยทูลกระหม่อมแก้ว ๒. บนอากาศก็วิกลเป็นหมอกกลุ้มอัมพรขนอุ่มอับ อลวนอลเวง ๓. พระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไซ ปรารถนาจะเข้าไปจึ่งยกพระลูกให้เป็นทานบารมี ๔. ว่ากลางทางก็แอบพระอังสา ซบพระเศียรถวายต่างประทีปธูปเทียนปทุมชาติ

15 เฉลย ตอบ ๓. โจทย์กำหนดตัวอย่างเป็นภาพพจน์แบบอุปลักษณ์
คือ น้ำตาเป็นสายเลือด และข้อ ๓ เป็นอุปลักษณ์เพราะ “พระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไซ” ในข้อ ๑ , ๔ เป็นอุปมามีคำว่า “เสมือนหนึ่ง” และ “ต่าง” ตามลำดับ


ดาวน์โหลด ppt ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์. ความงามของภาษา อุปมา อุปลักษณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google