งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

11. การแปลงโมเดลแบบ E-R เป็นรูปแบบเชิงสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "11. การแปลงโมเดลแบบ E-R เป็นรูปแบบเชิงสัมพันธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 11. การแปลงโมเดลแบบ E-R เป็นรูปแบบเชิงสัมพันธ์
1. การแปลงเอนทิตีและแอตทริบิวต์ของเอนทิตี 1.1 แปลงเอนทิตีปกติ = ชื่อของเอนทิตี -----> ชื่อของรีเลชัน และ แอตทริบิวต์ของเอนทิตี ---> แอตทริบิวต์ของรีเลชัน รูปแบบที่แทนสัญลักษณ์ข้อความ ชื่อรีเลชัน (แอตทริบิวต์ 1, แอตทริบิวต์ 2,…แอตทริบิวต์ N) ความชำนาญ (ประเภทความชำนาญ, จน.ชม.ขั้นต่ำ, อัตราโบนัส)

2 1.2 แปลงเอนทิตีแบบอ่อน คนงาน (รหัสคนงาน, ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรงต่อชม.)
สถานที่ก่อสร้าง คนงาน (รหัสคนงาน, ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรงต่อชม.) สถานที่ก่อสร้าง (รหัสสถานที่ก่อสร้าง, ประเภท, ที่อยู่) การทำงาน (รหัสคนงาน, รหัสสถานที่ก่อสร้าง, วันที่เริ่มทำงาน, จำนวนชม.ทั้งหมดที่ทำ)

3 2. การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี
2.1 แปลงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันหนึ่งไปเป็นคีย์นอกของอีกรีเลชัน

4 2.2 แปลงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันด้านความสัมพันธ์เป็น 1 ไปเป็นคีย์นอกของรีเลชันด้านที่มีความสัมพันธ์เป็น M สถานที่ก่อสร้าง คนงาน (รหัสคนงาน, ประเภทความชำนาญ ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรง/ชม.) ความชำนาญ (ประเภทความชำนาญ, อัตราโบนัส, จำนวน ชม.ขั้นต่ำ) สถานที่ก่อสร้าง (รหัสสถานที่ก่อสร้าง, ประเภท, ที่อยู่) การทำงาน (รหัสคนงาน, รหัสสถานที่ก่อสร้าง, วันที่เริ่มทำงาน, จำนวนชม.ที่ทำ)

5 ชั้นเรียน นักศึกษา ลงทะเบียน รหัส นศ. ชื่อ-สกุล เกรด รหัสชั้นเรียน
2.3 แปลงความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. สร้างรีเลชันขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งรีเลชัน โดยรีเลชันที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้จะประกอบด้วยแอตทริบิวต์ของความสัมพันธ์แบบ M:N และมีการนำคีย์หลักของรีเลชันที่มีความสัมพันธ์แบบ M:N มาสร้างเป็นคีย์หลักในรีเลชันใหม่นี้ด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชันเดิม กับรีเลชันใหม่เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) ชั้นเรียน นักศึกษา ลงทะเบียน M รหัส นศ. ชื่อ-สกุล เกรด รหัสชั้นเรียน รหัสวิชา กลุ่ม เวลา ห้องเรียน รหัส อ. 1

6 2.4 แปลงความสัมพันธ์แบบรีเคอร์ซีพ
1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันด้านความสัมพันธ์เป็น 1 ไปเป็นคีย์นอกของรีเลชันด้านที่มีความสัมพันธ์เป็น M แต่ให้ทำการเปลี่ยนชื่อคีย์นอกนั้นใหม่

7 จงออกแบบฐานข้อมูลโดย E-R Model และแปลง E-R Model ให้เป็นโมเดลเชิงสัมพันธ์ (รีเลชัน)
แผนกทรัพยากรบุคคลแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาฐานข้อมูลขึ้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าสัมมนาของพนักงานบริษัท เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริหารการทำงานของบริษัท โดยพนักงานแต่ละท่านจำเป็นต้องสังกัดอยู่ในแผนกเดียว ซึ่งข้อมูลพนักงานที่ต้องการจัดเก็บ จะประกอบด้วย รหัสพนักงาน ชื่อพนักงาน อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ สถานภาพการสมรส ทั้งนี้แผนกแต่ละแผนกต้องมีพนักงานในสังกัดอย่างน้อย 5 คน สำหรับข้อมูลแผนก จะประกอบด้วย รหัสแผนก ชื่อแผนก สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ นอกจากนี้พนักงานแต่ละคนอาจจะได้รับมอบหมายหรือไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมาก็ได้ แต่ถ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมนา พนักงานแต่ละคนสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้หลายการสัมมนา และการสัมมนาแต่ละครั้งอาจมีพนักงานไปเข้าร่วมสัมมนาได้มากกว่า 1 คน สูงสุดส่งไปสัมมนาไม่เกิน 3 คน โดยข้อมูลการสัมมนาจะประกอบด้วย รหัสการสัมมนา ชื่อการสัมมนา วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด สถานที่ และค่าใช้จ่าย


ดาวน์โหลด ppt 11. การแปลงโมเดลแบบ E-R เป็นรูปแบบเชิงสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google