งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล
ในการจัดการเมืองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Partnership for Democratic Local Governance in Southeast-Asia) DELGOSEA สนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (European Union) ดำเนินการโดย Konrad Adenauer Stiftung (KAS) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) โดย ดร.ชนิษฎา ชูสุข คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์ 1

2 ธรรมาภิบาล ทำไม และอย่างไร
ภาคประชาชน องค์กรของรัฐ ภาคเอกชน

3 มุ่งสู่ธรรมาภิบาล องค์กรของรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน

4 กลไกธรรมาภิบาลต้องมี 3 ส่วนหลักคือ
ภาครัฐ ต้องมีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่โครงสร้างและกระบวนการทำงานของหน่วยงาน/กลไกการบริหาร ภาคธุรกิจเอกชน ต้องมีทำตามกติกาที่กำหนดไว้ ภาคประชาชน ต้องสร้างความตระหนักหรือสำนึกตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลถึงระดับกลุ่มประชาสังคม ในเรื่องของสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง และสาธารณะ ทั้งในทางเศรษฐกิจสังคมและการเมือง

5 ที่มาที่ไป เกิดจากบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ คือ ธนาคารโลก (World Bank) ได้ริเริ่มรณรงค์ให้ประเทศโลกที่สามมีระบบการบริหารปกครองที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยมีสาระสำคัญ 4 ประการ คือ ความรับผิดชอบต่อประชาชน (Accountability) ความชอบธรรมทางการเมือง (Legitimacy) ความโปร่งใสในการทำงาน (Transparency) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา (Participation)

6 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์ประกอบของธรรมาภิบาล ได้แก่
หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง (Responsiveness) มุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Orientation) ความเท่าเทียม (Equity) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and efficiency) มีความน่าเชื่อถือ (Accountability) มียุทธศาสตร์และมองการณ์ไกล (Strategic vision)

7 วิธีการและเป้าหมายของธรรมาภิบาล
การมีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย โดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ การเคารพสิทธิมนุษยชน การทำงานของรัฐบาลมีความสุจริต โปร่งใส

8 รัฐ เอกชน ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม
ภาคประชาชน การจัดการเมือง ธรรมาภิบาล เศรษฐกิจ การจัดการการเงินการคลังและการลงทุนในเมือง สังคม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน สิ่งแวดล้อม การบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล ในการจัดการเมืองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

9 ความเชื่อมโยงของมิติสำคัญทั้ง 4
หลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ บริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของเมือง สังคม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การตอบสนอง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ประสิทธิผล ความรับผิดชอบ

10 แนวคิดสำคัญทั้ง 4 ประเด็น
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ 2) การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล 3) การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม 4) การจัดการการเงินการคลัง และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง

11 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ
ประเด็น ทำไมและอย่างไร 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ ทำในทุกกิจกรรมของเทศบาล ที่ต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชน มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมประเมินผล ใครร่วมบ้าง : ประชาชนหรือตัวแทนจากทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ตัวอย่างที่ดี : แสดงให้เห็นต้นแบบ และแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วม ตัวอย่างที่ดี จากประเทศอื่นๆ ในมิติวัฒนธรรมและการเมืองที่ต่าง

12

13 ประเด็น เทศบาล 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ เทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่และสภาเมือง (ทน.ขอนแก่น ประเทศไทย) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปรับปรุงย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ (เมืองวินห์ ประเทศเวียดนาม) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโดยความร่วมมือของรัฐ-ราษฎร์-เอกชน (Toul Sangke ประเทศกัมพูชา)

14 การบริหารจัดการในองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
ประเด็น ทำไมและอย่างไร 2. การบริหารจัดการในองค์กรตามหลัก ธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การตอบสนอง ประสิทธิผล และการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการงานของท้องถิ่น ที่มีความซับซ้อน เทอะทะ บางครั้งไม่ชัดเจน บางครั้งละเอียดยิบย่อย ซ้ำซ้อน เกิดอะไร : ปัญหาในกระบวนการบริหารจัดการงาน และการให้บริการประชาชน ตัวอย่างที่ดี : ทำให้เห็นว่า แต่ละพื้นที่สามารถนำแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล มาใช้ในการบริหารจัดการงานของท้องถิ่นได้อย่างไร

15 นวตกรรมการจัดการองค์กรสาธารณะ (เมืองลังซอนประเทศเวียดนาม)
ประเด็น เทศบาล 2. การบริหารจัดการในองค์กรตามหลัก ธรรมาภิบาล การปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยใช้ E-Government (เมืองย๊อกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง (Kartarmantul Regency ประเทศอินโดนีเซีย) ธรรมาภิบาลในการจัดการสุขภาวะระดับชุมชน (เทศบาลตำบลปริก ประเทศไทย) การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเมือง (จังหวัดกิวมารัส ประเทศฟิลิปปินส์) นวตกรรมการจัดการองค์กรสาธารณะ (เมืองลังซอนประเทศเวียดนาม) การบริการแบบ One Window Service (เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา)

16 การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็น ทำไมและอย่างไร 3. การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม การบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม ในเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหานานัปการ มีผลต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง ตัวอย่างที่ดี ทำให้เห็นว่า สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ การสร้างระบบการบริการสาธารณะ การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน การสร้างเครือข่ายร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อม

17 ประเด็น เทศบาล 3. การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (เทศบาลนครอุดรธานี ประเทศไทย) เมืองคาร์บอนต่ำ (เทศบาลตำบลเมืองแกลง ประเทศไทย) ออมทรัพย์สีเขียว (เมืองมาริกิน่าประเทศฟิลิปปินส์) สภาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ (เมืองโอลองกาโป ประเทศฟิลิปปินส์)

18

19 การจัดการการเงินการคลังและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง
ประเด็น ทำไมและอย่างไร 4. การจัดการการเงินการคลังและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง เน้นการหาแนวทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยในเมือง แต่ปัญหาคือ ในหลายท้องถิ่นไม่ได้มีระบบการลงทุน และระบบการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองที่มีประสิทธิภาพ ทำในด้านใดบ้าง : การลงทุนด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านที่อยู่อาศัย และด้านการประกอบอาชีพ ตัวอย่างที่ดี : ให้เห็นความตั้งใจของท้องถิ่นในการสร้างระบบเศรษฐกิจเมือง และเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในเมือง

20 ประเด็น เทศบาล 4. การจัดการการเงินการคลังและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง การโยกย้ายและพัฒนากลุ่มผู้ค้าริมถนน (เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย) การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าภูเก็ตเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (เทศบาลนครภูเก็ต ประเทศไทย) โครงการจัดการและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (เทศบาลทูบิกอน ประเทศฟิลิปปินส์)

21

22 4 เทศบาลนำร่องในประเทศไทยและโครงการที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ
4 เทศบาลนำร่องในประเทศไทยและโครงการที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ เทศบาลนำร่อง ตัวอย่างที่ดีที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ 1. เทศบาลนครปากเกร็ด 14 การโยกย้ายและพัฒนากลุ่มผู้ค้าริมถนน (เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย) 2. เทศบาลนครสงขลา การปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยใช้ E-Government (เมืองย๊อกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) 3. เทศบาลนครยะลา 8. นวตกรรมการจัดการองค์กรสาธารณะ (เมืองลังซอนประเทศเวียดนาม) 4. เทศบาลนครเชียงราย 5. ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาเมือง (Kartarmantul Regency ประเทศ อินโดนีเซีย)

23 ขอบคุณคร้าบ

24 รายชื่อคณะทำงานโครงการอนรักษ์และพัฒนาตลาดเก่าริมน้ำปากเกร็ด
ผู้เชี่ยวชาญ อ.ประเสริฐ ฤทธิ์สำเริง เทศบาลนครปากเกร็ด รองฯนิพนธ์ หวังพราย รองฯจิรวัฒน์ สว่างเนตร บ-ว-ร คุณสมศักดิ์ กุลประดิษฐ์ คุณสมศักดิ์ ต่างใจ อ.จริน ลักษณะอารีย์ อ.เฉลิมศักดิ์ ปาลา คุณเจษฎา จตุไพศาล คุณปัญญา เอกนาวากิจ คุณสุภาพร ดุสิตานครินทร์ คุณนิพนธ์ ลิขิตธรรมกุล คุณเนาวรัตน์ ตามชั้น คุณอธิษฐาน กุลประดิษฐ์ 11. คุณสมจิต เทพทอง 12. คุณรภัสสา สถิตานุชิต 13. คุณสิริยา นามพันธ์ 14. คุณบุญมา เพ็ญศิริมงคล ภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสภ.ปากเกร็ด คุณสมพงษ์ พุฒซ้อน นักข่าวท้องถิ่น ตัวแทนจากสภาวัฒนธรรมอ.ปากเกร็ด ตัวแทนวัดบ่อ และวัดสนามเหนือ คุณบุญปลูก เพ็ญศิริมงคล ตัวแทนสท. เขต1


ดาวน์โหลด ppt โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google