งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ไพโรจน์ ภัทรนรากุล GSPA NIDA

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ไพโรจน์ ภัทรนรากุล GSPA NIDA"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ไพโรจน์ ภัทรนรากุล GSPA NIDA
การจัดการภาวะวิกฤต กับการฟื้นตัวขององค์การ: ศึกษากรณีบริษัทชั้นนำในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก (Crisis Management and Corporate Recovery: Study on Leading Companies in Eastern Industrial Estate) ไพโรจน์ ภัทรนรากุล GSPA NIDA Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

2 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
ขอบเขตการนำเสนอ ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตและข้อจำกัดในการศึกษา การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการศึกษา แบบแผนการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและเสนอแนะ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

3 ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
ปัจจุบันองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประสบกับภาวะวิกฤตซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนซึ่งเป็นผลจากความผันผวนจากปัจจัยต่างๆทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง นโยบาย และกระแสโลกาภิวัตน์ การศึกษาถึงการปรับตัวและการแสวงกลยุทธ์เพื่อการฟื้นตัวขององค์การจะเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการบริหารองค์การยุคใหม่ในสภาวะวิกฤต Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

4 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อประมวลสถานการณ์วิกฤตที่ส่งผลต่อองค์การธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่อการดำเนินงานขององค์การธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์การจัดการและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นกิจการ เพื่อประมวลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการที่ภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อให้สามารถฟันฝ่าวิกฤตการณ์ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

5 ขอบเขตและข้อจำกัดในการศึกษา
ครอบคลุมประเด็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบ มาตรการเชิงกลยุทธ์ในการฟันฝ่าวิกฤต กรอบเวลาในช่วงปี 2550 ถึงปัจจุบัน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

6 คำถามหลักในการศึกษาวิจัย
องค์การรับรู้เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อใด มีอะไรเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าวิกฤตกำลังเกิด มีการจัดการความเสี่ยง หรือระบบสัญญาณเตือนภัยหรือไม่อย่างไร วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการดำเนินงานในภาพรวมอย่างไร องค์การได้รับผลกระทบด้านใดบ้าง ทั้งด้านบวกและด้านลบ แนวทางการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขปัญหามีด้านใด การเรียนรู้ในภาวะวิกฤตที่สำคัญคือด้านใด ภาครัฐตอบสนองต่อวิกฤตการณ์อย่างไร และควรมีมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสมด้านใดบ้าง Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

7 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดเกี่ยวกับวิกฤตการณ์และการจัดการในภาวะวิกฤต วิกฤต (Crisis) วิกฤตองค์การ (Organizational Crisis) การฟื้นตัวขององค์การ Crisis Recovery Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

8 แนวคิดเกี่ยวกับวิกฤตการณ์และการจัดการในภาวะวิกฤต
สภาวะวิกฤต (crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดล่วงหน้าและส่งผลกระทบต่อองค์การ เช่น ภัยธรรมชาติ วิกฤตทางการเงิน ความไม่สงบทางการเมือง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดการในภาวะวิกฤตเพื่อปกป้ององค์การจากภัยคุกคาม หรือผลกระทบในสภาวะวิกฤต (Sikich, 1996) Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

9 วิกฤตองค์การ (Organizational Crisis)
Selbst (1996) วิกฤตองค์การ หมายถึงการปฏิบัติหรือความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การในการบรรลุวัตถุประสงค์และความอยู่รอด Pauchant and Mitroff (1992) “สถานการณ์ปัญหา หรือความยุ่งยากที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานในภาพรวม และคุกคามต่อฐานคติที่สำคัญขององค์การ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ความเป็นตัวตนและแกนหลักของระบบ” Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

10 วิกฤตองค์การ (Organizational Crisis)
Booth (1993) มองวิกฤตเชิงระบบและให้ความหมายของวิกฤตการณ์ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับคนในองค์การ “วิกฤตการณ์เป็นสถานการณ์ที่ปัจเจกบุคคล กลุ่ม หรือองค์การเผชิญอยู่และไม่สามารถจัดการหรือดำเนินการได้ในกระบวนการทำงานปกติ เป็นสถานการณ์ที่ส่งผลลบ และสร้างแรงกดดันอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน” Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

11 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
Corporate Recovery Slatter (1984) ตระหนักถึงประเด็นความเครียดของมนุษย์ในภาวะวิกฤต และเสนอตัวแบบ Propensity for Crisis โดยระบุตัวแปร 3 กลุ่ม ซึ่งมีความโน้มเอียงให้เกิดวิกฤตการณ์ 1) คุณลักษณะด้านการจัดการ 2) คุณลักษณะด้านองค์การ 3) คุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อม Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

12 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
Propensity for Crisis Managerial Characteristics คุณสมบัติของบุคคล ความสามารถของผู้บริหาร ภาวะผู้นำ ส่งผลต่อคุณภาพการตัดสินใจ และความสามารถในการจัดการวิกฤต Organizational Characteristics เกี่ยวกับโครงสร้าง ขนาด ทรัพยากร การวางแผน ระเบียบวิธีในการควบคุม ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดวิกฤตการณ์ Environmental Characteristics การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การตลาด การแข่งขัน นำไปสู่ความสูญเสีย Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

13 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
การจัดการวิกฤตการณ์ ก่อน ระหว่างและหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบ การวางแผนกลยุทธ์และเทคนิคการจัดการ การตรวจสอบ และการวิเคราะห์แผนงาน การเตรียมการ การสื่อสาร บริหารสื่อมวลชนและการป้องกันในภาวะฉุกเฉิน นโยบายการฟื้นฟูองค์การ สร้างหลักประกันในประสิทธิผลของการปฏิบัติ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

14 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
การจัดการวิกฤตการณ์ ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การวางแผน การประเมินสภาวะวิกฤต การสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และระบบการสื่อสารในองค์การ (Irvine and Millar, 2000) การประสานภารกิจต่างๆ การมีระบบสัญญาณเตือนภัย การประเมินผลกระทบ และการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากสภาวะวิกฤต Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

15 กลยุทธ์ขององค์การและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤต
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล (2546) การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจากภาวะวิกฤต องค์การภาครัฐ ตอบสนองต่อบริบทใหม่ด้านปฏิรูประบบราชการ ปรับโครงสร้าง กฎหมายและระบบงาน ดำเนินกลยุทธ์สมัยใหม่ องค์การภาคเอกชน แสวงหากลยุทธ์ มุ่งสู่องค์การยุคใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน สร้างธรรมาภิบาล สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ และศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

16 กลยุทธ์ขององค์การและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤต
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล (2546) การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจากภาวะวิกฤต ความสำเร็จของกลยุทธ์การจัดการและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤต จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ในการสานพลังและขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

17 กรอบแนวคิดในการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ วิกฤตการณ์และผลกระทบ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ (การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินผลกระทบ การจัดการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม) การปรับตัว (โครงสร้าง ระบบจัดการ ทรัพยากรการจัดการ) การจัดการในภาวะวิกฤต ผลลัพธ์ ลดความสูญเสีย ฟื้นตัว อยู่รอด มีเสถียรภาพ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

18 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
แบบแผนการศึกษา หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมมาตาพุด ระยอง นิคมอุตสากรรมอมตะซิตี้ ระยอง นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด ระยอง In-depth Case Analysis Questionnaire Survey Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

19 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
ผลการศึกษา การปรับตัวในภาวะวิกฤตของ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ข้อมูลพื้นฐาน ประเภทธุรกิจ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ โรงงานผลิต 3 โรงงาน (1 โรงกลั่น 2 โรงอโรเมติกส์) พนักงาน 1,046 คน มูลค่าสินทรัพย์ 137,540 ล้านบาท Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

20 In-depth Case กรณี ปตท. อะโรเมติกส์ฯ
ในภาวะวิกฤต ได้รับผลกระทบด้านลบจากปัญหาราคาน้ำมันผันผวน ประสบปัญหาผลประกอบการลดลง ระหว่างปี ขาดทุนสุทธิ 8,465 ล้านบาทซึ่งเป้นผลมาจาก Stock Loss เทียบกับ ปี 50 มีกำไรสุทธิ 18,018 ล้านบาท Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

21 In-depth Case กรณี ปตท. อะโรเมติกส์ฯ
ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 27,561 ล้านบาท ตามราคาน้ำมันดิบและคอนเดนเสทที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วง 7 เดือนแรกของปี 51 ต้องสำรองเงินเพื่อซื้อวัตถุดิบ กู้เต็มเพดาน ขาดสภาพคล่อง ธุรกิจมีค่าการกลั่นลดลง (Gross Refinery Margin-GRM) ลดลง จากปี 50 คือลดลงจาก 6.46 เป็น 4.23 US$ต่อบาร์เรล และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ต่อวัตถุดิบลดลง Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

22 ผลกระทบด้านการบริหารและพนักงาน
กระบวนการตัดสินใจต้องเข้มงวดมากขึ้น Freeze พนักงาน ไม่ต่อสัญญาจ้าง พนักงานต้องทำงานหนักขึ้น ต้องปรับแนวทางเพื่อรองรับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานบางส่วนโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการรายได้กระทบ อันเป็นผลจากนโยบายลดค่าใช้จ่าย ลดการทำงานล่วงเวลา เกิดความเครียด Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

23 แนวทางการปรับตัวขององค์การ
การปรับกลยุทธ์ – ด้านการเงิน การบริหารความเสียง (Risk Management) ชะลอการลงทุน (Investment Delay) ทบทวนงบประมาณ (Budget Review) สานผลประโยชน์ร่วม (Synergy) Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

24 แนวทางการปรับตัวขององค์การ
การปรับกลยุทธ์ – ด้านปฏิบัติการภายใน การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการผลิต (Plant Reliability Improvement) ลดค่าใช้จ่าย พัฒนาคุณภาพองค์การเพื่อเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงด้าน IT จัดการความรู้ พัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิผล รณรงค์ กระตุ้นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

25 แนวทางการปรับตัวขององค์การ
การปรับกลยุทธ์ – ด้าน HRM การนำระบบ Competency Management Systems-CMS และระบบ Career Ladder มาใช้ ปรับปรุง Performance Management System จัดทำโครงสร้างเงินเดือน สวัสดิการใหม่ สนับสนุน Line Manager HR ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา โครงการ Employee Assistant Program-ERP มีศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

26 การปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงาน
วางโครงสร้างองค์การใหม่ มีคณะทำงานปรับปรุงกระบวนการทำงาน ออกแบบระบบงาน สร้าง Lean Office ประชุม VDO Conference ใช้งาน Calendar เต็มรูปแบบ ทำ Job Description ใหม่ทุกตำแหน่ง จัดทำคู่มือพนักงานฉบับใหม่ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

27 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน
สำรวจความคิดเห็นพนักงาน ประเมินความผูกพันต่อองค์การ และออกแบบวัฒนธรรมองค์การที่พึงประสงค์ Workshop ผู้บริหาร เพื่อกำหนดค่านิยมหลักขององค์การ (SPEED) Social Responsibility & Caring; Professionalism; Ethics; Engagement; Diversity & Teamwork สื่อสารค่านิยมหลักทั่วทั้งองค์การ นำค่านิยมหลักเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงาน และระบบการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่ง Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

28 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
สรุปและเสนอแนะ สรุปผลการปรับตัวใน 2 ด้าน คือ การบริหารองค์การและทรัพยากรมนุษย์ ด้านองค์การ ให้ความสำคัญเรื่องการจัดการความเสี่ยง ทบทวนและบริหารการลงทุน ลดค่าใช่จ่าย ปรับปรุงกระบวนการให้รัดกุม ปรับโครงสร้าง พัฒนาคุณภาพองค์การ จัดการความรู้ พัฒนา IT สื่อสารกับพนักงานอย่างต่อเนื่องและชัดเจน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

29 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
สรุปและเสนอแนะ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และใช้ระบบความรู้ความสามารถในการบริหาร พัฒนาภาวะผู้นำ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ดูแลพนักงาน ผ่านระบบการบริหารค่าตอบแทนโดยมุ่งให้พนักงานใช้ความสามารถได้อย่างสูงสุด Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

30 ผลการศึกษาจากการสำรวจแบบสอบถาม
สถานการณ์วิกฤตที่ส่งผลต่อองค์การ ผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่อการดำเนินงาน กลยุทธการจัดการและการปรับตัวขององค์การ สรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขส่วนของภาครัฐ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

31 สถานการณ์วิกฤตที่ส่งผลต่อองค์การ
วิกฤตเศรษฐกิจ (Sub-prime Crisis) วิกฤตความไม่สงบและความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤตจากนโยบายหรือกฏหมายด้าน EIA HIA วิกฤตพลังงาน ราคาน้ำมันและเชิ้อเพลิง วิกฤตความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยธนาคาร วิกฤตด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ วิกฤตด้านแรงงาน แรงงานต่างด้าว และความขัดแย้งในชุมชน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

32 ผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่อการดำเนินงาน
ด้านบวก การร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการลดต้นทุน และมีสำนึกด้านคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตที่ต้นทุนต่ำลง ปรับแผนการลงทุนให้เหมาะสมมากขึ้น ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย มีโอกาสซื้อกิจการหรือเครืองจักรในราคาถูก พิจารณาคัดกรองบุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพง่ายขึ้น มีโอกาสได้ศึกษาเพื่อปรับใช้ในอนาคต คิดค้นนวัตกรรม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในองค์การ วิกฤตเป็นโอกาสที่ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในองค์การ Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

33 ผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่อการดำเนินงาน
ด้านลบ กระทบต่อนโยบายและกลยุทธ์ กระทบต่อองค์การและการวางแผนการผลิตและการตลาด การลงทุนจากต่างประเทศลดลง สูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถ ผลผลิตลดลง ยอดการสั่งซื้อลดลง ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากค่าใช้จ่ายคงที่มาก ขาดสภาพคล่องทางการเงิน Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

34 กลยุทธการจัดการและการปรับตัวขององค์การ
ให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์การ ระบบการทำงาน พัฒนาบุคลากร อบรมพัฒนาฝีมือการปฏิบัติงาน การกำหนดแผนและแนวทางการทำงานที่ชัดเจนมีแผนบริหารความเสี่ยง มาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สร้างระบบธรรมาภิบาล Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

35 กลยุทธการจัดการและการปรับตัวขององค์การ
ปรับโครงสร้างองค์การ Down Size องค์การ ปรับแนวคิดพนักงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบุคลากร พัฒนาคุณภาพและภาพลักษณ์องค์การ Cost Saving, Cost Reduction ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย วิเคราะห์ความผันผวนของราคาตลาด ปรับลดพนักงานให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีเครื่องจักร Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

36 สรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะ
การประเมินสถานการณ์ต้องชัดเจน ควรมีการรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และมีศูนย์กลางรับผิดชอบข้อมูล ในภาวะวิกฤต ควรลดการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง มีการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจที่ชัดเจน การสร้างโอกาส สร้างความเชื่อมั่นในองค์การและสังคมรอบข้าง ดูแลบุคลการ ปรับพื้นฐานในการดำเนินชีวิต สำรองเงินทุนระยะยาว Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

37 แนวทางการแก้ไขส่วนของภาครัฐควรให้การสนับสนุน
การมีศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจ สนับสนุนด้านการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริม BOI ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องจักรจากต่างประเทศ การกำหนดนโยบายที่มีความชัดเจน สร้างความน่าเชื่อถือและความามั่นใจของผู้ลงทุน เปิดเผยข้อมูล สนับสนุนด้านการลงทุนนวัตกรรมใหม่ๆ แสวงหาตลาดใหม่กลุ่มประเทศที่ 3 สนับสนุนกองทุนสำรองและมาตรการด้านภาษี ลดความซ้ำซ้อนของภาษี Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

38 Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D
คำถามหรือข้อคิดเห็น Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D

39 ข้อเสนอแนะเพื่อศึกษาต่อ
องค์การภาครัฐ สตช. กระทรวงที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง และกระทรวงหลักอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย ขนส่งมวลชนกรุงเทพ การบินไทย การท่าอากาศยาน กลุ่มอุสาหกรรมยานยนต์ ลงรายค่ายต่างๆ โตโยต้า ฮอนด้า บีเอ็มดับบลิว มาสด้า ฟอร์ด กลุ่มธุรกิจขนส่ง Logistics กลุ่ม ธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ท และบริการการท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจส่งออก การเกษตร อุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจ SMEs Corporate Crisis and Recovery Pairote Pathranarakul, Ph.D


ดาวน์โหลด ppt ไพโรจน์ ภัทรนรากุล GSPA NIDA

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google