งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

On Line Training Program

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "On Line Training Program"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 On Line Training Program
การทำการรบที่ระยะนอกสายตา(BVR Engagements) By Tomcat and Vulture, Updates by Marlin and Redeye On Line Training Program Translated by Nuke]v[ On Line Training Program Thai Version 1.0

2 จุดประสงค์ในการเรียนรู้ที่ต้องการ
การสู้รบที่ระยะนอกสายตา จุดประสงค์ : เพื่อเข้าใจวิธีใช้โหมดเรดาห์ A-A ที่เหมาะสม, สัญลักษณ์บน HUD , และ RWR เพื่อเข้าใจสถานะทั้ง 6 ของการเข้ารบ BVR เพื่อรู้วิธีใช้อาวุธของคุณอย่างมีประสิทธิภาพในการรบที่ระยะนอกสายตา (BVR) , รวมถึงเข้าใจขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธ (Weapon Envelope) , DLZ (Develop Launch Zone), และแนวคิดของ A-Pole กับ E-Pole สามารถสาธิตความรู้ของคุณตามเรื่องที่กล่าวข้างบนในการเข้ารบ 2v1 BVR http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

3 BVR: Radar Modes (RWS) RWS (Range While Search) Mode
โหมดที่ควรเลือกใช้เมื่อต้องการค้นหาเป้าหมายหรือคงรักษาการล็อคและติดตามดูข้อมูลจากเป้าหมายเดียว Target designated once RWS Mode Target designated twice. Other contacts disappear. RWS STT (Single Target Track) Mode.(เข้าสู่โหมดนี้โดยการกำหนดเป้าสองครั้ง) โฟกัสเรดาห์ไปที่เป้าหมายที่สนใจเพียงเป้าหมายเดียว ผลที่ได้คือข้อมูลเป้าที่ติดตามที่แม่นยำกว่า และการล็อคที่ยากสำหรับข้าศึกที่จะทำลายด้วย ECM หรือการบังคับบิน RWS SAM (Situational Awareness Mode)…เข้าสู่โหมดนี้โดยการกำหนดเป้าหมายหนึ่งครั้ง..รักษาประสิทธิภาพการตรวจหา และนำแสดงข้อมูลที่ติดตามหนึ่งเป้าหมาย RWS Mode ใช้อัตราการสแกนที่เร็ว กวาดพื้นที่กว้าง และเป้าหมายที่ถูกตรวจพบถูกนำแสดงได้เกือบจะทันที http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

4 BVR: Radar Modes (TWS) TWS (Track While Scan) Mode
เป้าหมายที่ถูกตรวจจับได้จะไม่ถูกนำแสดงโดยทันทีเนื่องจากเรดาห์จำเป็นต้องทำกระบวนการติดตามก่อน และระยะที่ตรวจหาแคบกว่า RWS เล็กน้อย ต้องการกระบวนการเพิ่มเติมในการคงรักษาการติดตามเป้าหมายทั้งหมด ส่งผลให้มีความถี่ในการแสดงข้อมูลใหม่น้อยลงและยากขึ้นในการคงรักษาการติดตามข้อมูล ดังนั้นมันจะง่ายขึ้นที่จะสูญเสียการล็อคจากเป้าหมายที่กำลังบังคับบิน หรือกำลังใช้ ECM มุมตำแหน่งจากท้าย ทิศทางที่เป้าหมายไป ความเร็วของเป้าหมาย อัตราเร็วเข้าหา คงรักษาข้อมูลทิศทางและความสูงของหลายเป้าหมาย Note that due to a bug in SP3 and SP4, TWS will usually maintain track on a target even when lock and track information has been lost, and even when the target is outside the gimbal limits of the radar. http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

5 BVR: Radar Modes (VS) VS (Velocity Search) Mode
โหมดนี้มีค่า default ที่การสแกนระยะ 80 nm และตรวจหาเครื่องบินที่มีความเร็วเข้าหามาทางคุณ และพิจารณาตัดสินค่าอัตราเร็วเข้าหา ดังนั้นมันจะแสดงค่าเครื่องบินที่คุณกำลังบินเข้าใกล้และแซง เมื่อกำหนดเป้าหมายจากโหมด VS จะเข้าสู่ STT โหมด ตัวบอกสเกลความเร็วจะแทนที่สเกลระยะทาง และแสดงเป็น 1200 หรือ 2400 น็อต ความเร็วจะแสดงได้จากตำแหน่งของมันที่บนสเกล ถ้าสเกลถูกเซตไว้ที่ 1200 น็อต ค่าที่ได้รับที่บนสุดของจอจะมีค่า 1200 น็อต ที่ตำแหน่งต่ำกว่านั้นบนจอแสดงว่ากำลังเข้าใกล้ที่อัตราเร็วต่ำกว่า สเกลนี้ไม่ได้ระบุถึงระยะเป้าหมาย ปกติโหมดนี้จะไม่ถูกใช้เนื่องจากข้อมูลที่มันให้มีจำกัด อย่างไรก็ตาม มันมีประโยชน์ในการตรวจจับเครื่องบิน เล็ก เร็ว มุ่งหน้ามา หรือภัยคุกคาม ที่ระยะไกลได้ก่อนโหมดอื่นบ่อยๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีหลายเป้าหมาย การที่ได้รู้ว่าเครื่องบินลำใดกำลังเข้าใกล้คุณที่ความเร็วสูงที่สุดสามารถช่วยให้ระบุชนิดและประเภทของสิ่งที่น่าจะเป็นภัยคุกคามได้ สเกลความเร็ว 1200 knots ทิศทางที่เป้าหมาย(เคอร์เซอร์)อยู่ อัตราเร็วเข้าหา สเกลความเร็ว 2400 knots http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

6 BVR: Radar Modes (LRS) Long Range Scan (LRS) Mode
มีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับการเข้าปะทะหรือทำบทบาท DCA การตรวจหาระยะให้ได้ไกลต้องแลกกับอัตราการสแกน ในรูปด้านข้าง มีเครื่องบินได้ถูกตรวจพบที่ระยะประมาณ 80 ไมล์ วางเคอร์เซอร์ของเรดาห์บนเป้าหมาย (บีบให้มุมกวาดแคบและเพิ่มสแกนบาร์และนำแสดงข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นโดยที่ต้องแลกกับพื้นที่ในการสแกน) เป้าหมายอยู่ที่บุลอายส์ 327 ระยะ 74 ไมล์ แองเจิ้ล 35 และสามารถพิสูจน์มิตรหรือศัตรูได้ถ้ามี AWACS อยู่ ถ้าไม่มี กำหนดเป้าหมายหนึ่งครั้งจะให้ค่า ตำแหน่งที่หัน ทิศทางที่ไป ความเร็ว ความเร็วเข้าใกล้และระยะ 160nm Scan เครื่องบินถูกตรวจพบที่ประมาณ 80nm Angels 35 http//:FreeBirdsWing.org Bullseye, 327 for 74 © May 2004

7 Radar Types Pulse Radars Doppler Radars
เช่นนั้น จึงไม่มีความสามารถตรวจจับเป้าหมายเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มองลงมาเนื่องจากวัตถุที่อยู่บนพื้นดิน โดยทำให้ยากแก่การแยกความแตกต่างระหว่างเป้าหมายกับสิ่งที่ลวงได้ ดังนั้นนักบินที่บินด้วยเครื่องบินที่ใช้ระบบนี้มักจะบินต่ำๆ และใช้เรดาห์ค้นหาขึ้นที่สูง ตัวอย่างเครื่องบินที่ใช้เรดาห์ระบบนี้มี Mig-19 ,Mig-21 and F-5 เรดาห์ระบบนี้ไม่ถูกกระทบด้วยการบีม เพราะว่ามันไม่มีตัวกรองสัญญาณสิ่งที่เคลื่อนที่ช้าออกไป Doppler Radars เรดาห์ชนิดนี้ตรวจจับเป้าหมายโดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงความถี่ตามความเร็วที่เปลี่ยน(Doppler frequency) ตัวกรองจะตัดเอาสัญญาณ Doppler ที่คืนมาที่ต่ำกว่าค่าๆหนึ่งออกไป ซึ่งทำให้สามารถมองลงเบื้องล่างได้โดยกรองเอาสิ่งที่อยู่บนพื้นดินออกไป ผลดังนั้น เรดาห์ชนิดนี้จึงอ่อนไหวต่อการบีม(โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมองลงมา) ซึ่งสามารถลดอัตราเร็วเข้าหาจนถึงระดับที่แยกไม่ออกจากวัตถุเบื้องหลังบนพื้นดินที่ต่ำกว่าค่าระดับการกรองออกไป เรดาห์ชนิดนี้ยังมีความต้านทานต่อ Chaff (ซึ่งลดความเร็วอย่างรวดเร็วหลังจากถูกปล่อย) ได้สูง http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

8 เข้าต่อตีรูปขบวน ‘โอบล้อม’
Formations รูปขบวน ‘ จงอย่าสลายรูปขบวนไปเป็นหมู่ที่น้อยกว่า หมู่อีลีเมนต์สองลำ จงอยู่เป็นคู่ ๆไว้ คนคนเดียวเป็นภาระหนี้สิน ทีมสองลำจะเป็นทรัพย์ทวีค่า ถ้าคุณหลุดออกไปจากกลุ่ม จงรีบเข้าร่วมกับเครื่องบินฝ่ายเดียวกันทันที ’ Major Thomas B. "Tommy" McGuire, USAAF รูปขบวนก่อนเข้าต่อตี: หลักการบินแบบ ‘Fighting Wing’ ช่วยกำหนดให้มีความสัมพันธ์ที่เข้มงวดระหว่างลีดเดอร์และวิงแมน หน้าที่รับผิดชอบหลัก ๆของผู้นำหมู่(ลีดเดอร์)คือการนำร่อง ค้นหาศัตรูซีกด้านหน้า วางแผนจู่โจม บังคับบินเข้าต่อตี วิงแมนบินเข้ารูปขบวนกับผู้นำหมู่หลวมๆ ปกติคือรูปขบวน ‘Echelon’ (ดูตามรูป) หน้าที่หลักของวิงแมนคือต้องคงรักษาการระมัดระวังซีกด้านหลัง และหน้าที่รองคือต้องตรวจหาศัตรูซีกด้านหน้า โดยที่รูปขบวนนี้ทำให้ลดพื้นที่การมองเห็นครอบคลุมด้านหลัง(6นาฬิกา)ของวิงแมน แต่ข้อได้เปรียบของมันคือได้ทั้งความง่ายในการคงรักษาการติดตามมองผู้นำหมู่ และง่ายในการคงรักษารูปขบวนในขณะบังคับบิน สำหรับวิงแมนที่มีประสบการณ์ รูปขบวน ‘combat-spread’’ (หน้ากระดาน 1-2 nm) ช่วยทำให้ครอบคลุมซีกด้านหลังและประสิทธิภาพการรุกได้ดีขึ้น แต่ทำให้ยากในการคงรักษารูปขบวนถ้าหากต้องทำการบังคับบินอย่างทันทีทันใด Falcon 4.0 Manual PP26-7 to 26-10 เข้าต่อตีรูปขบวน ‘โอบล้อม’ รูปขบวน‘Echelon’ ก่อนเข้าต่อตี http//:FreeBirdsWing.org รูปขบวน ‘Echelon’ (ขั้นๆ)ก่อนการเข้าต่อตี ซึ่งนำมาใช้แปรเข้าต่อตีในรูปขบวน ‘โอบล้อม’ © May 2004 Fighter Combat: Tactics and Maneuvering, by Robert Shaw

9 Formations (cont.) รูปขบวนเมื่อได้เข้าต่อตี:
หลักการ ‘Fighting wing’ โดยที่มีประโยชน์สำหรับเริ่มการฝึกวิงแมนและรูปขบวนก่อนการเข้าต่อตี มักไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติเมื่อเข้าต่อตีในสถานการณ์อื่นที่นอกเหนือจาก 2v1 ได้อยู่เสมอ (มีหลายเหตุผลซึ่งได้ครอบคลุมไว้ในบทเรียนการรบ ACR) และก็ยังละทิ้งการได้เปรียบที่ได้รับจาก 2v1 เนื่องมาจากลีดของหลักการ fighting wing จำเป็นที่จะต้องเข้าต่อสู้กับศัตรู แบบ 1v1 ขณะที่วิงแมนพยายามติดตามและป้องกันลีดจากข้าศึกลำอื่นไปพร้อมกัน บางทีรูปขบวนเข้าต่อตีที่มีประสิทธิผลและสามัญที่สุดคือรูปขบวนตีโอบล้อม ‘bracket’ ซึ่งกลุ่มเที่ยวบินพยายามให้ข้าศึกหรือกลุ่มข้าศึกอยู่ระหว่างแขนที่ตีโอบ รูปขบวนนี้มีข้อดีในด้านการรุกและรับหลายข้อดังนี้: มันทำให้ง่ายขึ้นแก่สมาชิกของหมู่บินในการคงรักษาการติดตามมองเป้าหมายทั้งหมด ระบุกลยุทธ์ที่พวกมันใช้ และตอบสนองในขณะที่พร้อมกันนั้นก็ทำให้ยากขึ้นแก่ข้าศึกในการทำแบบเดียวกันนี้; มันทำให้ง่ายขึ้นในการจำแนกออกได้ด้วยสายตาว่าใครที่ถูกยิง ทำให้เกิดการสนองตอบแบบป้องกันทันเวลา; มันช่วยกระตุ้นหมู่บินของศัตรูให้บังคับบินออกไปจากกันและกัน และกลายมาเป็นเป้าหมายโดดๆ เช่นกันกับ การทำลาย SA และความสามารถในการสนับสนุนซึ่งกันและกันของพวกมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากเหตุการณ์แบบ 2v1 , ที่ซึ่งข้าศึกลำเดียวถูกบีบให้เลือกเป้าหมายเข้าต่อตี ดังนั้นจึงปล่อยให้ตนเองถูกโจมตีได้ง่ายจากอีกคน Falcon 4.0 Manual PP26-7 to 26-10 รูปขบวนโอบล้อม http//:FreeBirdsWing.org สำหรับเหตุผลที่ชัดเจน หลักการ fighting wing ยังไม่เหมาะสมต่อรูปขบวนนี้ เนื่องจากการตอบสนองของศัตรูจะตัดสินว่าใครจะกลายมาเป็นผู้เข้าต่อตี ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างลีดกับวิงแมนที่ยืดหยุ่นกว่าจึงเป็นที่ต้องการ กลยุทธ์สนับสนุนซึ่งกันและกันเมื่อเข้าต่อตีถูกใช้ต่อกับรูปขบวนต่างๆจะถูกนำมากล่าวในบทเรียนอื่นต่อไป © May 2004 Fighter Combat: Tactics and Maneuvering, by Robert Shaw

10 BVR Engagements: 6 Phases (Detection)
คัดแยก (Sorting) กำหนดเป้าหมาย (Targeting) บินเข้าปะทะ (Intercept) เข้าทำการรบ (Engage) แยกตัวออก (Seperate) http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

11 BVR Engagements: 6 Phases (Detection)
1. ตรวจจับ ใช้โหมด RWS เพื่อเริ่มตรวจจับข้าศึก RWS โหมดใช้อัตราการสแกนที่เร็ว พื้นที่การสแกนที่กว้าง มีพิสัยที่ดี และ เป้าหมายที่ตรวจพบจะถูกนำแสดงเกือบจะในทันที ตั้งค่าบาร์และมุมกวาด เพื่อจะได้พื้นที่ค้นหาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด เสริมสร้างสภาพการรับรู้สถานการณ์ ( SA ) ให้ความสนใจ HSD, RWR และ เรดาห์ สแกนท้องฟ้าด้วยสายตาเพื่อหาลำไอเสียและไอที่เกาะกลุ่ม รักษารูปขบวนและการสื่อสารที่ดี: “Falcon11, Falcon12, bogeys at 10 o'clock, bullseye 048 for 78, angles 16" จงนิ่งรับไม่แสดงตัวและลองพยายามหลบหลีกการตรวจจับจากคู่ต่อสู้ อย่าใช้ ECM นอกจากว่าอยู่ในภาวะแวดล้อมที่มีภัยคุกคามสูงหรือไม่เช่นนั้นคุณถูกตรวจจับไปแล้วหรือจวนจะถูกตรวจจับได้แล้ว อย่าล็อคเป้าหมายด้วยเรดาห์ของคุณ จงรับข้อมูลความสูงโดยการวางเคอร์เซอร์บนเป้าหมายและวิทยุถาม AWACS ให้ระบุแจ้งฝ่าย เข้าใจวิธีการทำงานของ Doppler และ Pulse เรดาห์ รู้จุดอ่อนและจุดแข็งของมัน และวิธีทำให้ได้เปรียบมัน อย่าขับตรงเข้าใส่คอนแทคอย่างตรงๆ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

12 BVR Engagements: 6 Phases (Sorting)
2. การคัดแยก จงตอบคำถามต่อไปนี้: พวกมันเป็นมิตรหรือศัตรู? พวกมันอยู่ในรูปขบวนใด? พวกมันกำลังทำอะไร? ใช้โหมด RWS หรือ TWS สำหรับการคัดแยกเป้าหมาย – ใช้ โหมดขยาย( Expanded) ถ้าจำเป็น อย่าล็อคเป้าหมายจนกระทั่งพร้อมเข้าต่อตีกับมัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าน่าจะ/ปรากฏว่ามีหลายเป้าหมาย จงอย่าใช้โหมด STT นอกจากว่าจะเข้าต่อตีที่ระยะในสายตา (WVR) เพราะคุณจะไม่เห็นเป้าหมายอื่นๆนอกจากเป้าหมายที่ถูกล็อคเท่านั้น จากข้อมูลจากแหล่งข่าวในบรรยายสรุป คุณควรรู้ว่ากลุ่มเที่ยวบินมิตรอื่นใดที่ขึ้นบินบ้าง รู้ว่ากลุ่มเที่ยวบินใดอยู่ข้างหน้าคุณ รอบๆคุณ เป็นพวกใหน กลุ่มใหนมิตรหรือศัตรู คัดแยกมิตรออกจากศัตรูด้วยการระบุแจ้งฝ่ายด้วย AWACS (และ RWR ถ้าเป็นไปได้ – AWACS บางครั้งอาจผิดพลาดได้) และสื่อสารกับกลุ่ม(flight)และชุด(package)เที่ยวบินของคุณ เสริมสร้าง SA แก่คุณเองและกลุ่มเที่ยวบินของคุณโดยการวิทยุบอกสิ่งที่คุณเห็น และยืนยันการได้เห็นสิ่งที่คนอื่นวิทยุบอกสิ่งที่เห็นมา: “Falcon 1 has a two ship, line abreast, high aspect. Left target at angels 16. Right target at angels 17.” “Falcon 2 has a single high aspect target at angels 17” การรบอากาศต่ออากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะแวดล้อมที่มีหลายเป้าหมาย มีความเปลี่ยนแปรมาก SA ต้องคงรักษาและเสริมสร้างไว้ตลอด อย่าวางใจในข้อมูลเก่าๆ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

13 BVR Engagements: 6 Phases (Sorting / Targeting)
คัดแยก / กำหนดเป้าหมาย Switch to TWS Radar Mode เปลี่ยนโหมดเรดาห์เป็น TWS นี่จะช่วยให้คุณคงรักษาการติดตามข้อมูลจากเป้าหมายทั้งหมด คอยรักษาสภาพ SA ให้สูงขึ้น และทำการระบุตัวและทำให้ได้มาซึ่งกำหนดเป้าหมายที่รับผิดชอบได้ง่ายขึ้น ลีดจะเป็นคนพิจารณาตัดสินว่าใครจะจัดการเป้าหมายใด มันยากในการคัดแยกและกำหนดเป้าหมายข้าศึกหลายลำในรูปขบวนแบบชิด และทำให้ไม่สามารถใช้การวิทยุแบบตำแหน่งอ้างอิง(bulleye)ในทางปฏิบัติได้ ในกรณีนี้ มันง่ายกว่าที่จะระบุและกำหนดแต่เป้าหมายในรูปแบบของตำแหน่งในกลุ่ม ต.ย. ลีด/ลำตาม(Trail) , ซ้าย/ขวา , เหนือ/ใต้/ออก/ตก หันตรง/หันข้าง ความสูง หรืออื่นๆ “Falcon 12, Falcon11, target bandit bullseye 043 for 74, angels 16”; or “Falcon 12, Falcon11, target bandit lead left, angels 16” ถ้าจำเป็นให้สวิทช์ไปเป็นโหมดขยาย (ดูหน้าต่อไป) เพื่อช่วยให้ระบุคอนแทคทั้งหมดและเป้าหมายที่รับผิดชอบได้ชัดเจนขึ้น ถ้าคุณไม่สามารคัดแยกเป้าหมายที่ได้รับผิดชอบได้ ให้ระบุเป้าหมายที่คุณคัดแยกได้และรายงานต่อลีดโดยทันที ควรที่จะมีการบรรยายสรุปล่วงหน้าไว้ถึงระยะที่คุณจะสามารถใช้อาวุธได้เองเลยหากอยู่ในเหตุการณ์ที่คุณไม่สามารถคัดแยกเป้าหมายที่รับผิดชอบได้ แบ่งเป้าหมายด้วยมุมกวาดเรดาห์(Azimuth) แบนด์วิธ และระดับสูงต่ำ พิสูจน์เป้าหมายและรับข้อมูลเส้นทางเข้าปะทะจากเรดาห์ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

14 BVR Engagements: 6 Phases (Sorting / Targeting cont.)
โหมดขยายมีประโยชน์มากในการคัดแยกและกำหนดเป้าหมายใส่คอนแทคบนเรดาห์ ในตัวอย่างข้างล่างนี้ การวิทยุแบบอ้างอิงตำแหน่งไม่สามารถใช้ในการคัดแยกและกำหนดเป้าหมายได้ ใน (A) มันยากในการคัดแยกจำนวนของคอนแทค ข้อมูลและความสูงของพวกมัน และดังนั้นมันยังยากที่จะกำหนดและได้มาซึ่งเป้าหมายที่รับผิดชอบอีกด้วย ในโหมด TWS แบบโหมดขยาย (B) มันกลับชัดเจนขึ้น บอกได้ว่าอยู่ในรูปขบวนแบบ 2 อีลีเมนต์ มีลีดและลำตาม โดยที่ลีดของแต่ละอีลีเมนต์อยู่ที่ด้านซ้ายและลำรองอยู่ด้านขวา ลำรองของลีดอยู่ที่ความสูงแองเจิ้ล 17 และลำอื่นทั้งหมดอยู่ที่แองเจิ้ล 16 โดยที่ได้รับข้อมูลเหล่านี้ มันทำให้ง่ายขึ้นมากในการคัดแยก กำหนดหน้าที่ และกำหนดเป้าหมาย A B Normal Mode Expanded Mode http//:FreeBirdsWing.org TWS Mode TWS Expanded Mode © May 2004

15 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
& 5. บินเข้าปะทะและเข้าทำการรบ เค้าโครงการเข้าปะทะถูกออกแบบเพื่อช่วยให้กลุ่มเที่ยวบินได้รับค่าที่เหมาะสมในการใช้อาวุธในขณะที่พยายามปฏิเสธข้าศึกโอกาสแบบเดียวกันนี้ เลือกอาวุธ อาวุธที่อยู่ในความสนใจตอนนี้ก็คือ AIM-120 AMRAAM (ARH BVR Missile) คุณควรเข้าใจสิ่งเหล่านี้: เรดาห์ ECM และความสามารถของอาวุธของคุณ อีกทั้งความสามารถของคู่ต่อสู้ของคุณ สิ่งเหล่านี้จะช่วยพิจารณาตัดสินวิธีในการเข้าปะทะและดำเนินกลยุทธ์ต่อเป้าหมายของคุณ แนวความคิดของขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธ ; Rmax และ Rmin; A-Pole และ E-Pole ; และเหตุที่เป้าหมายที่บังคับบินสามารถมีผลต่อค่าเหล่านี้ แล้วก็เทคนิคในการเข้าปะทะและเข้าทำการรบ (การเข้าปะทะแบบหลายลำและเทคนิคการสนับสนุนซึ่งกันและกันจะถูกกล่าวถึงในบทเรียนเรื่องการเข้าโจมตีขั้นสูง) http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

16 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
การจู่โจมเข้าปะทะเกี่ยวข้องกับการใช้เรดาห์ในการตรวจจับเป้าหมายเฉพาะ หลังจากนั้นใช้เรขาคณิตการวางแนวเส้นทางเข้าปะทะเพื่อมาถึงยังตำแหน่งที่ซึ่งเป้าหมายสามารถถูกระบุ(ถ้าจำเป็น)และยิงอาวุธได้ เพื่อให้ได้ผลตามนั้น นักบินจะต้อง: เข้าไปใกล้เป้าหมาย เริ่มทำการระบุและคงรักษาผลการระบุที่ดี ถ้าหากจำเป็นต้องทำการบีมหรือปรับเปลี่ยนทิศทาง หาระยะที่เพียงพอจากเป้าหมาย (พื้นที่สำหรับการเลี้ยวปรับทิศทาง) ไปตามเส้นทางเข้าหาตัวโดยตรง หาจุดสำหรับติดตามมอง เริ่มทำการระบุด้วยสายตา (หากจำเป็น) บังคับบินเพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมของอาวุธ เทคนิคในการทำขั้นตอนเหล่านี้ให้สำเร็จคือแบบพื้นฐานของการเข้าปะทะ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

17 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
มี 6 ขั้นตอนในแบบพื้นฐานการเข้าปะทะ: ไปตามเส้นทางดักหน้าจนกระทั่งเหลือระยะ 20 nm โดยใช้เครื่องหมายชี้บอกบังคับทิศทางเข้าปะทะ (intercept steering cue) เริ่มทำการ offset (หักหัวออก) ที่ 20 nm ถ้ามุมจากท้ายข้าศึก(มุมหัน)มากกว่า 120 องศา ให้เลี้ยวออก 40°-50° ในทิศทางตรงข้ามกับทิศที่เป้าหมายหันไป ใช้ความเร็วให้ได้เปรียบและพื้นที่ในการเลี้ยว (ขึ้นข้างบนหรือลงข้างล่าง) เฝ้าติดตามดูมุมหันของเป้าหมาย ใช้โหมดติดตามเป้าหมายเดียว(STT) ที่ 10 miles เริ่มไปตามเส้นทางเข้าหาตัวตรงๆที่มุมหันจากท้ายเป็น 120° (ระยะ nm สำหรับการเริ่มจากมุมหันมาตรงๆ) ไม่ว่ามุมหันเท่าใด ไปตามเส้นทางเข้าหาตัวที่ 5 nm หรือน้อยกว่า ใช้ BFM บังคับบินเพื่อใช้อาวุธ จงรู้ไว้ว่าจุดมุ่งหมาย(ขึ้นอยู่กับอาวุธ A–A และปฏิกิริยาตอบโต้จากเป้าหมาย) คือทำการเข้าปะทะที่เสร็จสิ้นและเข้าต่อตีที่สำเร็จก่อนขั้นตอนที่ 4 (โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสู่การรบที่ระยะภายในสายตา) http//:FreeBirdsWing.org © May 2004 From MCH 11-F16 Vol 5 10 May 1996

18 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
เข้าทำการรบ(ต่อตี): ตรวจเช็คหน้าที่ NCTR ใน TWS หรือ STT และทำการยืนยันสุดท้ายว่าได้เข้าทำการรบกับเป้าหมายที่ถูกต้อง เอาเป้าหมายให้มาอยู่ในค่าที่เหมาะสม จงแน่ใจว่าคุณเข้าใจขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธ และ DLZ กำลังบอกอะไรคุณ จงให้ความสนใจระยะ ความเร็ว และด้านที่เห็นของเป้าหมายของคุณ กดปุ่มปล่อยอาวุธและวิทยุแจ้งการปล่อยอาวุธของคุณ: i.e. “Falcon 12, Fox 3, Bullseye 160 for 22, angels 25” วางเป้าหมายบนขอบเรดาห์ด้านข้างเพื่อคงรักษาความเร็วเข้าหาเป้าหมายที่น้อยที่สุด และสนับสนุนมิสไซล์ของคุณจนกระทั่งเข้าสู่อัตโนมัติ( pitbull) ข้อสังเกต: มิสไซล์ที่ไม่ถูกสนับสนุนจนถึงระยะอัตโนมัติอาจจะไม่ได้ติดตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้(มองหาเป้าเอง) กลยุทธ์ทั่วไปอย่างเช่นการบังคับบินเร่งอัดเข้าใส่ควรถูกวางแผนไว้ก่อน นั่นคือ ได้รับบรรยายสรุปมาก่อนที่จะทำเมื่อได้รับค่าที่เหมาะสมแล้ว อย่างเช่นระยะของเป้าหมาย ถ้าจำเป็นต้องต่อสู้แบบ WVR จงแน่ใจว่าได้เลือกอาวุธและเรดาห์โหมดที่เหมาะสม และจัดเตรียม การเข้าปะทะระยะใกล้ซึ่งช่วยให้ได้ค่าที่เหมาะสมของอาวุธในขณะที่กำลังพยายามปฏิเสธข้าศึกโอกาสแบบเดียวกัน อย่ายิงมิสไซล์และลืมมันนอกจากว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันสำคัญที่จะยืนยันผลจากการยิงเพื่อที่กลุ่มเที่ยวบินของคุณจะได้รู้ว่าข้าศึกขณะนั้นเหลืออยู่เท่าไหร่ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

19 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
แนวห่อหุ้มการมีอานุภาพของอาวุธ( Weapons Envelope) คือพื้นที่ที่ซึ่งอาวุธเฉพาะชนิดหนึ่งมีประสิทธิผลต่อเป้าหมายนั้นๆ พื้นที่ที่ทำให้เสียหายได้รูปกรวยของฝ่ายป้องกันถูกกำหนดจากระยะ มุมตำแหน่งจากท้าย มุมทิศทางที่ทำกับเราและวิธีติดตามเส้นทาง เพื่อประมาณช่วงขอบเขตการปล่อยอาวุธของอาวุธเฉพาะชนิดหนึ่ง BFM ถูกนำมาใช้เมื่อจำเป็นเพื่อลดระยะทาง มุมตำแหน่งจากท้าย และมุมทิศทางที่ทำกับเรา เพื่อที่จะเข้าสู่ขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธนี้ แผนภาพด้านข้างคือขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธสำหรับมิสไซล์ที่ยิงได้จากรอบด้านของเป้าหมายโดยที่เป้าหมายกำลังบินในแนวเส้นตรงและอยู่ในแนวระดับเข้ามาที่คุณ ระยะปฏิบัติการมีผลต่อด้านหน้าของข้าศึกมากกว่าข้างหลังมาก สะท้อนความจริงที่ว่าเป้าหมายกำลังบินตรงมาที่มิสไซล์ที่ถูกยิงมาด้านหน้าและเช่นเดียวกับกำลังหนีจากมิสไซล์ที่ยิงจากข้างหลัง มิสไซล์ชนิดเข้าด้านหลังจะไม่มีส่วนด้านหน้าของรูปไข่อย่างนี้ แนวห่อหุ้มการมีอานุภาพของปืนแคนนอนจะกลม เป็นการแสดงถึง Rmax โดยที่ไม่มี Rmin http//:FreeBirdsWing.org © May 2004 Diagram from: How to Live and Die in the Virtual Sky by Dan "Crash" Crenshaw

20 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
ขอบเขตนอกคือระยะมากที่สุด แบบอากาศพลศาสตร์ ที่ซึ่งมิสไซล์สามารถนำวิถีเข้าภายในระยะพลาดเป้าที่ทำอันตรายได้ (Rmax) มันสะท้อนให้เห็นความสามารถของแรงขับดันของมิสไซล์ การนำวิถี และระบบควบคุม เช่นเดียวกับความเร็วของเครื่องบินที่ยิงและเป้าหมาย และด้านที่มิสไซล์ถูกยิงเข้าใส่ ขอบเขตในรอบเป้าหมายคือระยะจำกัดที่น้อยที่สุด (Rmin) ขึ้นอยู่กับด้าน นี่อาจจะเป็นผลของช่วงเวลาจุดชนวน ความสามารถในการเลี้ยวของมิสไซล์ ช่วงเวลาปฏิกิริยาการนำวิถี หรือขอบการมองของเรดาห์ รูปร่างของแนวห่อหุ้มการมีผลของอาวุธเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเป้าหมายบังคับบินและเลี้ยวดึงหลาย G ที่แนวห่อหุ้มระยะไกลสุดของการบังคับบินไม่สมมาตรกันมาก โดยที่ระยะของด้านที่หันเข้าหามีมากกว่าด้านที่หันออกมาก ใน B) เป้าหมายทำการบังคับบินเลี้ยวเข้าใส่คู่ต่อสู้ทางด้านซ้ายของมัน และออกจากคู่ต่อสู้ทางด้านขวา เฝ้าดูว่า DLZ ตอบสนองต่อการบังคับบินของเป้าหมายได้อย่างไร โดยการเลือกทิศทางและอัตราเร็วในการเลี้ยว เป้าหมายสามารถทำให้มีผลอย่างมากต่อแนวห่อหุ้มระยะที่มากที่สุดนี้ อย่างที่ได้บอกไว้ใน DLZ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004 Diagram from: Fighter Combat: Tactics and Maneuvering, by Robert Shaw

21 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
เมื่อเป้าหมายเปลี่ยนความเร็วและมุมที่หันไป DLZ จะสะท้อนผลการเปลี่ยนที่เราเห็นจากขอบเขตการมีอานุภาพของอาวุธ สำหรับเป้าหมายที่กำลังบังคับบินตามหน้าที่แล้ว ถ้าเป้าหมายบังคับบินไปสู่มุมหันที่ต่ำ(หันแนวเดียวกับเรา) ระยะที่มีประสิทธิผลสูงสุดจะลดลง และในทำนองเดียวกัน Dynamic Launch Zone เขตระยะการยิงผันแปร DLZ ขอบระยะทั้งหมด R1Max - ระยะไกลสุดที่มิสไซล์จะไปได้ถ้าถูกยิงใส่เป้าหมายที่บินไปตรงๆ( 1g) R2Max – ระยะไกลสุดที่ยิงใส่เป้าหมายที่เลี้ยวคงที่ 6 g ไปสู่มุมหันที่ 0 องศา (หันหลังให้เรา) แล้วเร่งความเร็วเพิ่มอีก300 น็อต ตัวชี้บ่งระยะ (เครื่องหมาย ^) R2Min –ระยะที่น้อยที่สุดที่ยิงใส่เป้าหมายที่เลี้ยวคงที่ 6 g หันมาใส่เรา (มุมหัน 180 องศา) ความเร็วเข้าหา R1Min –ระยะที่น้อยที่สุดที่ยิงใส่เป้าหมายที่บินไปตรงๆ (1 g) http//:FreeBirdsWing.org ตัวชี้บอกระยะทำงานด้วยตัวเอง (วงกลม) ตัวชี้บอกเวลาเข้าสู่การทำงานด้วยตัวเอง A = เวลาเป็นวินาทีที่มิสไซล์ลูกต่อไปจะทำงานด้วยตัวเอง T = เวลาจนกระทั่งมิสไซล์ลูกที่แล้วจะกระทบเป้า © May 2004

22 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
“รูปเพชรมีขน” หัวมองหาเป้าของ AIM-120 โดยที่ไม่มีการล็อค ดังนั้นให้วางเป้าที่ตรงกลางวงบอกเป้า (reticle) เป้าหมายอยู่ที่ R2min ของอาวุธที่เลือก จงจำไว้ว่า DLZ มาจากขอบเขตการมีอานภาพของอาวุธ สามารถเปลี่ยนได้กะทันหันถ้าหากเป้าหมายนั้นทำการบังคับบิน เป้าหมายโดนล็อค Reticle จำนวน MRM บนเครื่อง/ HUD โหมด http//:FreeBirdsWing.org เครื่องหมายบอกมุมหัน : ยิ่งใกล้ 6 นาฬิกา (0 องศา - หันไปทางเดียวกับเรา) ยิ่งมีมุมหันน้อยลง (มุมหันต่ำ) ระยะเป้าหมาย MRM โหมด เป้าหมายโดนล็อค © May 2004

23 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
ตัวชี้บอกบังคับทิศทางเข้าจู่โจม Attack Steering Cue เมื่อเป้าหมายอยู่นอกระยะยิงไกลสุดของ AIM-120 (R1max) วงบอกเป้าของ AIM-120 จะเป็นวงเล็กๆ ใน HUD เป้าหมายมีมุมหันที่สูง(หันเข้าหาเรา) R2max กล่องกำหนดเป้าหมาย (TD Box) พอเมื่อเป้าหมายเข้าสู่ภายในระยะ R1max วงบอกเป้าของ AIM-120 จะขยายใหญ่ เมื่อเป้าหมายเข้าสู่ระยะ R2max วงบอกเป้าจะกระพริบ บอกให้รู้ถึงค่าที่เหมาะสมที่ดีในการยิง http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

24 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
A-Pole - ระยะห่างจากเครื่องบินที่ยิงกับเป้าหมายเมื่อมิสไซล์เริ่มทำการนำวิถีด้วยตัวเอง ชัดเจนว่า เครื่องบินที่มีประสิทธิภาพล็อคได้ก่อนยิงได้ก่อนจะมี A-Pole ที่ได้เปรียบ ต.ย. เครื่องบินอย่างเช่น Su-27 ได้เปรียบเช่นที่ว่าต่อ F-16 เพราะเรดาห์ที่ทรงพลังกว่าของมันสามารถทะลวงผ่าน ECM ได้ก่อน อย่างไรก็ตาม การยิงโดยเร็วที่สุดในช่วงขณะที่เป็นไปได้จะไม่จำเป็นว่าจะได้เปรียบเสมอไป ถ้าเป้าหมายนั้นได้แยกออกมาเอาชนะมิสไซล์ของคุณโดยการเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว (ดู E-Pole) และกลับมาเป็นฝ่ายรุก ยิ่งกว่านั้น ระยะ A-Pole นั้นมันไม่คงที่ ระยะ A-Pole สามารถเพิ่มได้ในสองวิธี : a) โดยการปรับปรุงสมรรถภาพของมิสไซล์ (ด้วยความเร็วและความสูงที่ได้เปรียบ และการยิงทิศทางเข้าหาตัวตรงๆ) และ b) โดยการลดความเร็วเข้าหาเป้าหมายโดยทันทีหลังจากยิง (cranking และ การเบรก) ปัญหาก็คือ a)ค่อนข้างขัดแย้งกับจุดประสงค์ของ b) ที่ว่าความเร็วที่มากเกินไปมีผลเสียต่ออัตราการเลี้ยว รัศมีการเลี้ยว การเบรก และ ความเร็วเข้าหาต่ำ แต่การยิงทิศทางเข้าหาตัวตรงๆ เพิ่มความเร็วเข้าหา ดังนั้นควรตั้งความสมดุลระหว่างตัวแปรเหล่านี้ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มิสไซล์เข้าสู่”อัตโนมัติ” ด้วยความเร็วเข้าหาเป้าหมายที่น้อยที่สุด ในขณะที่คงรักษาพลังงานเพียงพอที่จะเอาชนะมิสไซล์ใดก็ตามที่เข้ามาได้สำเร็จ (ความเร็วไม่ต่ำกว่าพื้นที่ส่วนบนของที่ราบสูงหรือช่วงความเร็วที่ให้อัตราเลี้ยวดีสุดของเส้นอัตราเลี้ยวต่อความเร็ว) เครื่องบินอย่างเช่น Su-27 ก็มีข้อได้เปรียบในด้านเรดาห์มองมุมด้านข้างที่กว้างกว่าของมัน ช่วยให้มัน crank ได้มากกว่า F-16 ตอนที่กำลังสนับสนุนมิสไซล์ของมัน จงจำไว้ว่าระยะ A-Pole ไม่ได้ถูกตัดสินจากเพียงการบังคับบินของคุณ แต่ยังจากการบังคับบินจากเป้าหมายของคุณอีกด้วย ดูตัวบอกเวลาเข้าสู่การทำงานด้วยตัวเองในหน้าของ DLZ http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

25 BVR Engagements: 6 Phases (Intercept / Engage)
E-Pole – ระยะจากเครื่องบินที่เป็นภัยคุกคามที่ซึ่งเมื่อได้ทำการวกกลับ (drag) เสร็จสิ้นจะเอาชนะมิสไซล์ใดๆที่ข้าศึกได้ยิงมาหรือกำลังยิงมาได้ จุดประสงค์คือการบังคับบินไปอยู่ในตำแหน่งที่ปล่อยมิสไซล์ของเรามีโอกาสปะทะได้สูง ขณะที่เพิ่มระยะ A-Pole ให้มากที่สุดและคงรักษาการแยกตัวที่เพียงพอเพื่อที่จะเอาชนะมิสไซล์ที่เข้ามาได้ โดยที่เป็นที่ต้องการ ค่าที่เหมาะสมในการยิงที่ดีควรมีเป้าหมายอยู่ในระยะ E-Pole ของเขา ขณะที่เราคงให้อยู่นอกของเรา โดยที่ถือว่าเราไม่อยู่ในตำแหน่งที่ E-Pole เสียเปรียบ ตรงนี้คือวิธีที่เราบรรลุค่าที่เหมาะสมเหล่านี้: ระยะ E-Pole นั้นยากในการคำนวณให้ถูกต้องเพราะว่ามันไม่ได้ถูกตัดสินจากเพียงชนิดของมิสไซล์และความเร็วกับความสูงของเครื่องบินที่ยิง แต่ยังความเร็ว อัตราเร็วเข้าหา มุมต่าง ความสามารถในการเลี้ยวและการเร่งความเร็วของเป้าหมายอีกด้วย (ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องบินและอาวุธที่ติดตั้งมา) และการนึกรู้ได้ถึงการที่ยิงมาก่อน ยิ่งเป้าหมายทำมุมต่างครั้งแรกตอนเวลาที่ผู้โจมตียิงมากเท่าไร ก็ยิ่งนึกรู้ถึงการยิงของศัตรูได้เร็วขึ้นเท่านั้น และยิ่งมีความสามารถในการจัดการใช้พลังงานและอัตราการเลี้ยวและเร่งหนีเพื่อป้องกันดีขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งต้องการระยะห่างจากเครื่องบินที่เป็นภัยคุกคามน้อยลงเท่านั้น ฉะนั้น โดยการใช้เรขาคณิตการวางแนวทิศทางอย่างเช่นการยิงที่มีมุมต่างที่ทำต่อกันและการไม่เปิดโอกาสในการยิงใส่เราแบบประจันหน้า เราสามารถสร้าง E-Pole ที่ได้เปรียบได้ โดยที่เป็นคำแนะนำคร่าวๆสำหรับ F-16 vs AA-12 ระยะ nm จากเครื่องบินที่เป็นภัยคุกคามขณะเวลายิง(ขึ้นอยู่กับตัวแปรอย่างที่อธิบายข้างบน) ถือว่าเป็นระยะ E-Poleที่น้อยที่สุดอย่างมีเหตุผล http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

26 BVR Engagements: 6 Phases (Separate)
6. แยกตัวออก: แผนการแยกตัวออกและออกไปยังเส้นทางควรได้รับการบรรยายสรุปก่อน ถ้าคุณใช้อาวุธหรือเชื้อเพลิงจนเหลือน้อย คุณไม่สามารถคงความได้เปรียบอยู่ได้ เครื่องบินข้าศึกปรากฏมากขึ้น,หรือบทบาทของกลุ่มเที่ยวบินของคุณทำการรบต่ออย่างไม่พึงประสงค์ เพื่อที่จะแยกตัวออกจากการรบโดยปลอดภัย คุณจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีระบุชี้และใช้ประโยชน์ของช่องทางหนี คุณจะกลับเข้ารบ? ทำภารกิจต่อ? กลับสู่ฐาน? กลับทิศทางใด? ลีดควรวิทยุแจ้งทิศทางที่ไป ความเร็วและความสูง เพื่อจำกัดการแยกตัวออก ขณะที่กลุ่มเที่ยวบินสร้างสภาพการรับรู้สถานการณ์ขึ้นมาใหม่โดยทันทีหลังจากการรบ; ตรวจดู HSD ของคุณเพื่อระบุชี้ถึงที่เหลือของกลุ่มคุณและกลับเข้ามาอยู่ในรูปขบวนโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้; ตรวจเรดาห์และ RWR ; สแกนมองพื้นที่เพื่อหาภัยคุกคามด้วยสายตา; เช็คอินกับ AWACS หากเป็นไปได้ อย่าเพิ่งคิดเกี่ยวกับการผ่อนคลายจนกว่าคุณจะแน่ใจ 100% เต็มว่าพื้นที่นั้นไม่มีภัยหรือหรือคุณได้กลับเข้าสู่บริเวณพื้นที่ที่ปลอดภัยหลังจากการแยกตัวออก อย่าเตร็ดเตร่ในพื้นที่นั้นนอกจากว่าภารกิจของคุณจะต้องการมัน http//:FreeBirdsWing.org © May 2004

27 BVR: Managing the engagement
การบริหารจัดการเข้าต่อตี: ภายในระยะ Rmax ของข้าศึก ถ้าคุณมีมิสไซล์ในอากาศ และคุณยังไม่โดนล็อค คุณกำลังได้เปรียบและควร press หัวกลับไปเตรียมยิงลูกต่อไป ภายในระยะ Rmax ของข้าศึก ถ้าคุณมีมิสไซล์ในอากาศ แต่คุณกำลังถูกล็อคอยู่ คุณควร crank ไปขอบด้านข้างเพื่อสนับสนุนมิสไซล์ของคุณจนถึงเวลามันทำงานด้วยตัวเอง เป็นการเพิ่ม A-Pole ให้มากที่สุดและลดระยะ E-Pole ให้น้อยที่สุด ถ้าคุณหลุดออกจากการถูกล็อคและข้าศึกไม่มีมิสไซล์ในอากาศ ทำ press และจงเตรียมพร้อมทำการยิงลูกต่อไป ถ้าคุณยังถูกล็อคอยู่ จงให้ความสนใจระยะ E-Pole ของคุณ บังคับบินทำบีม และจงเตรียมที่จะเลี้ยววกกลับแบบป้องกัน (defensive drag) ถ้าคุณกำลังได้เปรียบแต่ว่าถูกล็อค บังคับบินทำบีมแบบทั้งหมู่ บังคับบินแบบแยกเป็นคู่ๆช่วยให้ข้าศึกเห็นได้ง่ายขึ้น และแสดงให้เห็นสองเป้าหมายแทนที่จะเป็นเป้าหมายเดียวแก่ข้าศึกที่ทำการล็อคอยู่ ถ้าคุณไม่มีมิสไซล์ในอากาศ หรือไม่ได้บัก/ล็อคเป้าหมาย แต่คุณถูกล็อคอยู่เช่นนั้นคุณกำลังเสียเปรียบ ทำ Crank เรดาห์ที่ขอบข้าง พยายามล็อคข้าศึกต่อไป และจงระวังระยะ E-Pole ของคุณ ถ้าคุณหลุดออกจากการถูกล็อค เช่นนั้นให้กลับเข้าทำ press ถ้าคุณยังถูกล็อคล็อคอยู่ บังคับบินทำบีม จงจับตาดูระยะ E-Pole ของคุณ และจงเตรียมทำการวกกลับแบบป้องกัน http//:FreeBirdsWing.org © May 2004 Thanks to Marlin for this analysis of the BVR engagement


ดาวน์โหลด ppt On Line Training Program

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google