งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural communication)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural communication)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural communication)
การสื่อสารและพฤติกรรมการท่องเที่ยวข้ามวัฒนธรรม (Communication and Cross-Cultural Behavior in Tourism) HLI3208 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural communication) Session III

2 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ วัตถุประสงค์ และแสดงพฤติกรรมได้ตรงกัน

3 องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสารเกิดจากการดำเนินกิจกรรมการสื่อสารจากผู้ส่งสารสื่อสารผ่านสื่อไปยังผู้รับสารและเกิดผลย้อนกลับของการสื่อสาร จากกระบวนการสื่อสารข้างต้นสามารถนำมาอธิบายองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการสื่อสารได้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ 1. ผู้ส่งสาร สาร 3. สื่อ ผู้รับสาร 5. ผลย้อนกลับของการสื่อสาร

4 องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร
ภาพ 1. องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการสื่อสาร

5 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
การสื่อสารปรากฏขึ้นระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับรัฐ รัฐกับรัฐ ประเทศกับประเทศ โดยใช้รูปแบบการสื่อสารการเจรจาและการใช้หนังสือโต้ตอบ ซึ่งในยุคความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านระบบการประชุม นอกห้องประชุมแก่ผู้มีส่วนร่วมสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ดังปรากฏในการประชุมTele Conference หรือหารใช้ระบบสื่อสารที่ทันสมัยใยการนัดหมาย การส่งข้อความ การรู้จักใช้สังคมออนไลน์ เป็นต้น

6 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
ในการสื่อสารของบุคคลและการสื่อสารระหว่างประเทศกับประเทศจะปรากฏวัฒนธรรมการสื่อสารของแต่ละเชื้อชาติและธรรมเนียมปฏิบัติ การสื่อสารของบุคลจะเรียกว่าการเจรจาซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือสิ่งที่จะถ่ายทอด ถ้าหากใช้การเจรจาต่อรองหมายถึง การเจรจาเพื่อเป็นการเลือกในการตอบสนองในข้อที่กำหนดไว้ การเจรจาจะปรากฏในคำตอบ “ควรทำ” กับ “ไม่ควรทำ”

7 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
การเจรจาต่อรอง ประกอบด้วย 1. กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการเจรจาซึ่งทำให้บรรลุเป้าประสงค์ ตัวอย่างในบางประเทศชอบการเจรจาแบบไม่เผชิญหน้า ในบางประเทศนิยมการเจรจาที่เผชิญหน้า ลักษณะการเจรจาจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ซ่อนเร้นในลักษณะนิสัยของคนแต่ละชาติ 2. กระบวนการ หมายถึงปฏิสัมพันธ์กันในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างทางเลือก การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยน ในบางประเทศลักษณะผู้คนให้ความสำคัญในพิธีรีตอง การลงนาม การใช้เกียรติ 3. ผลลัพธ์ หมายถึง ผลที่ปรากฏจาการตกลงเจรจาในบางประเทศจะให้ความสำคัญโดยเคร่งครัด ความถูกต้อง ความเป็นธรรม การได้เปรียบ เสียเปรียบ เป็นต้น การเจรจาต่อรองเป็นไปตามค่านิยมในทางสังคมและวัฒนธรรม บางประเทศจะมีความเอาจริงเอาจัง

8 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
อิทธิผลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อกระบวนการเจรจา 1. ความเข้าใจในการเจรจาต่อรอง คนอเมริกัน มองว่าการเจรจาต่อรองเป็นการให้ข้อเสนอแนะ ในขณะที่ ญี่ปุ่นเห็นว่าการเจรจาต่อรองเป็นโอกาสของการแลกเปลี่ยนข้อมูล 2. โอกาสการขอเจรจาต่อรอง ในที่นี้กำหนดไว้ 2 ทาง คือ 1) การเจรจาต่อรองแบบกระจายหรือแบบแข่งขัน 2) การเจรจาแบบร่วมหรือการบูรณาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เจรจาและสถานภาพ 3. การคัดเลือกผู้เจรจา ในแต่ละวัฒนธรรมจะต้องคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมตามสภาพทางวัฒนธรรม ความรู้ในเรื่องที่จะเจรจา ความอาวุโส เพศ ความเชื่อมโยงระหว่างครอบครัว ประสบการณ์ ฐานะและตำแหน่ง

9 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
4. พิธีรีตอง การให้เกียรติเป็นเรื่องที่สำคัญทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิหลังซึ่งจะต้องใช้ภาษา การแต่งกายที่ถูกต้อง การขึ้นต้นและลงท้ายในการเจรจาต้องมีขั้นตอน มีเวลา ผู้เข้าร่วมเจรจานั่งและยืนในพื้นที่ที่จัดไว้อย่างถูกต้อง 5. การสื่อสาร ภาษาและกริยาตลอดจนบุคลิกภาพที่ต้องถ่ายทอดจะต้องถูกต้องตามพิธีการ 6. เวลา การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก กลุ่มตะวันตกพวกยุโรป สหรัฐอเมริกา เยอรมนีสวิตเซอร์แลนด์ และสแกนดิเนเวีย รวมถึงญี่ปุ่น กลุ่มนี้จะเคร่งครัดเรื่องการตรงต่อเวลา สำหรับบางประเทศให้การยืดหยุ่นเรื่องเวลาได้เช่น กลุ่มประเทศภูมิ 7. ความเสี่ยง ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน บางวัฒนธรรมมีลักษณะแบบราชการ แต่ในบางวัฒนธรรมชอบเจรจาที่รวดเร็ว

10 อิทธิพลทางวัฒนธรรมกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
8. กลุ่มกับปัจเจกบุคคล การเจรจาต่อรองขึ้นอยู่กับลักษณะทางวัฒนธรรมแต่ละประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาชอบเจรจาแบบปัจเจกบุคคลหรือบุคคลต่อบุคคล ในขณะที่ญี่ปุ่นชอบการเจรจาเป็นกลุ่ม 9. ข้อตกลง ในทางวัฒนธรรมใช้ความค้นเคยกัน ความพอใจระหว่างบุคคลมากกว่ารายละเอียดเชิงเทคนิค ในบางประเทศ เช่น จีนจะใช้ข้อเจรจาหรือทุกอย่างจบด้วยดารเจรจาได้ 10. อารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคนแต่ละประเทศ ซึ่งปรากฏในบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

11 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
ในการเจรจาต่อรองมีความจำเป็นในเรื่องการสื่อสาร ซึ่งองค์ประกอบมีความจำเป็นประกอบด้วย 1. ภาษาและวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมีทั้งภาษาเดียวกันและภาษาที่แตกต่างกันในหลักสากลภาษาหลักที่ใช้ในองค์การระหว่างประเทศ มีภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย

12 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
ภาษาในโลกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนจะเรียกว่า ภาษาที่มีบริบทต่ำ (Low Context) แต่ถ้าหากเป็นภาษาที่อธิบายมากและสร้างความเข้าใจค่อยข้างยากจะเรียกว่า ภาษาที่มีบริบทสูง (High Context) ภาษายุโรป เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาในกลุ่มสแกนดิเนเวียจัดเป็นกลุ่มภาษาบริบทต่ำ

13 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
ภาษาของแถบเอเชียและอาหรับ เป็นภาษาที่จัดได้ว่ากลุ่มบริบทสูง เช่น อากัปกิริยา ยิ้ม พยักหน้ามีความหมายที่เข้าใจยาก การสื่อสารในบริบทต่ำเป็นการสื่อสารโดยตรง หมายถึง ตรงประเด็น ในทางตรงข้าม การสื่อสารโดยอ้อมซึ่งต้องใช้กิริยามรรยาทประกอบเจรจา ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา จะมีลักษณะการเป็นทางการน้อยกว่าประเทศอื่นๆ มีการเรียกชื่อแรก (นามสกุล) แต่ในบางประเทศจะให้ความสำคัญในการเขียนตำแหน่ง มียศศักดิ์ เน้นการแต่งกายเป็นต้น

14 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
การสื่อสารที่ไม่ต้องใช้คำพูดและการพูด ประกอบด้วย 1. การสื่อสารโดยท่าทาง เช่นการใช้มือประกอบหารพูด ในบางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ใช้เท้าวางบนโต๊ะ เพื่อการพักผ่อน ในเอเชียมองว่าเป็นความไม่สุภาพ การแสดงออกโดยการยกนิ้ว จะมีความหมายทั้งในเรื่องที่ดีและไม่เหมาะสม 2. ระยะห่างในการสื่อสาร การสื่อสารมีระยะห่างในการนั่งคุย บางประเทศใช้ภาษาพูดอย่างใกล้ชิด การจัดโต๊ะทำงาน การใช้เครื่องใช้ในสำนักงาน

15 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
3. การสัมผัส การสัมผัสมีหลายรูปแบบและมีความหมายที่แตกต่างกัน เช่นการสวมกอด การจับมือ การสัมผัสทางใบหน้า ในด้านการแสดงออกของการทักทายเบื้องต้น 4. การกำหนดขอบเขตของพื้นที่ พื้นที่ในการทำงานจะสะท้อนสถานะและอำนาจของบุคคล เช่น ในสหรัฐอเมริกาจะกำหนดฐานะของบุคลากรด้วยห้องทำงาน ในขณะที่ในอินเดียผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่นั่งรวมกัน ในญี่ปุ่นใช้ห้องเปิดโล่งเพื่อการรับรู้แก่กัน 5. พื้นที่ส่วนบุคคล คนในอเมริกา แคนาดา จะกำหนดระยะห่างเพื่อการผ่อนคลาย ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาและกลุ่มประเทศภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีระยะห่างค่อนข้างน้อย

16 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
6. การสื่อสารทางธุรกิจข้ามวัฒนธรรม ในเรื่องนี้จะต้องใช้ภาษา ทั้งภาษาที่หนึ่ง ภาษาที่สอง และภาษาท้องถิ่น ในแก่ละประเทศต่างมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 7. การใช้ล่าม ในการการลงถามของคู่เจรจานี้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้านภาษามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ล่ามแปลภาษาให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 8. การสื่อสารกับคนไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในที่นี้ให้ใช้ภาษาสื่อสารที่ง่ายและเข้าใจตรงกันแบบพูดช้าๆและชัดเจน หลีกเลี่ยงสำนวน คำแสลง พูดแล้วมีการสรุปเพื่อสร้างความเข้าใจ

17 ความสัมพันธ์ระหว่างการเจรจากับการสื่อสาร
ข้อแนะนำทั่วไปในการเจรจา 1. ต้องเข้าใจในวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เริ่มตั้งแต่การเรียกชื่อที่หนึ่ง การแต่งกายที่เหมาะสม ไม่นัดหมายในวันหยุด การพูดจาสุภาพ การนั่ง การให้ของขวัญ การยกนิ้ว การรับประทานอาหาร การตักอาหาร การใช้มือซ้าย-ขวา 2. การพึงระวังการสื่อสารที่ต่างวัฒนธรรม การใช้สื่อสิค้า สื่อสัญลักษณ์ การรักษาเวลา การพูดทางโทรศัพท์ การออกแบบ การโฆษณา การเคารพต่อศาสนาและสิทธิตามที่พลเมือง

18 มารยาททางธุรกิจเพื่อการเจรจาต่อรอง
มารยาทเป็นการแสดงออกที่สำคัญกับบุคคลทั่วไปในทุกชาติทุกประเทศ ทั้งมารยาททางสังคมและมารยาททางธุรกิจ โดยเฉพาะมารยาททางธุรกิจ ผู้เจรจาจะต้องสร้างบรรยากาศที่ถ่ายทอดจากบุคลิกภาพในลักษณะที่มีความผ่อนคลาย รู้สึกอบอุ่นใจทั้งสองฝ่ายข้อที่ควรปฏิบัติ 1. การแสดงออกในท่าทางและการถ่ายทอดทัศนคติ 2. มีความซื่อสัตย์ 3. การรู้จักกาลเทศะ และการแสดงออกในเชิงบวก 4. การพูดและการตีความ 5. การแต่งกาย

19 มารยาททางธุรกิจเพื่อการเจรจาต่อรอง
นอกจากนี้การเขียนจดหมาย นับตั้งแต่แบบฟอร์ม การจ่าหน้า การรักษาความลับ การใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน ถูกต้อง ร่วมกับการใช้นามบัตร การใช้โทรศัพท์ การรับประทานอาหารในมื้อกลางวัน มื้อเย็น การรับประทานอาหารของชาวอังกฤษไม่เน้นความสำคัญในมื้อกลางวันเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา แต่ในภูมิภาคเอเชียให้ความสำคัญในการจัดอาหารกลางวันพร้อมการพูดคุย

20 มารยาททางธุรกิจเพื่อการเจรจาต่อรอง
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรคในการสื่อสารเกิดจากองค์ประกอบดังนี้ 1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร 2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร 3. อุปสรรคที่เกิดจากการสื่อหรือช่องทาง 4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร

21 มารยาททางธุรกิจเพื่อการเจรจาต่อรอง
การแบ่งกลุ่มประเทศเพื่อกำหนดแนวทางในการเจรจาต่อรองกับประเทศต่างๆ ในที่นี้แบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 6 กลุ่ม 1. กลุ่ม EU หรือ กลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกในภูมิภาคยุโรป ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร 2. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก

22 มารยาททางธุรกิจเพื่อการเจรจาต่อรอง
3. กลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ ประกอบด้วยประเทศบาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน คูเวต 4. กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกและโอเชียเนีย ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย จอร์เจีย คาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน อินโดนิเชีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 5. กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล โคลัมเบีย ชิลี เวเนซูเอลา 6. กลุ่มประเทศแอฟริกา ประกอบด้วย ประเทศไนจีเรีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว อียิปต์ โมร็อกโค

23 ข้อสรุปในลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มประเทศที่ส่งผลกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
ผู้ส่งเสริมในที่นี้เป็นมัคคุเทศก์ไทยยิ่งจะส่งสาร ได้แก่ คำพูดหรือเอกสาร ไปยังนักเดินทางและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางมีความพึงพอใจจนเกิดความประทับใจในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมกับชาวต่างชาติที่นิยมมาเที่ยวประเทศไทยโดยจำแนกตามกลุ่มประเทศและบางประเทศ 1. กลุ่มสหภาพยุโรปหรือกลุ่ม EU คนกลุ่มนี้เป็นชาติตะวันตกที่ให้ความสำคัญเรื่องเวลา ความเป็นปัจเจกบุคคลในด้านความเห็นที่เป็นอิสระ ความมีระเบียบ มีวินัยและความรับผิดชอบซึ่งในการสื่อสารจะต้องใช้คำพูดที่มีความชัดเจน มีความมั่นใจ ในการเจรจา ไม่ชอบการสัมผัสต้องเนื้อต้องตัว หากมีปัญหาใดๆให้ใช้การสอบถามอย่างตรงไปตรงมา

24 ข้อสรุปในลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มประเทศที่ส่งผลกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
2. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ คนกลุ่มนี้หากเป็นชาวแคนาดาและสหรัฐอเมริกาจะถือปฏิบัติแบบชาวยุโรปหรือคนตะวันตกแต่จะเน้นการยืดหยุ่นกว่าคนในยุโรป อย่างไรก็ตามจะให้ความสำคัญกับเวลานัดหมาย ความอิสระในการแสดงความคิดเห็น ถ้าหากเป็นประเทศเม็กซิโกจะถือปฏิบัติแตกต่างไปจากชาวอเมริกาและชาวแคนดาในด้านผู้นำทีม การเคารพผู้เป็นหัวหน้า 3. กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ คนกลุ่มนี้เป็นสังคมแบบกลุ่ม ให้ความสำคัญกับครอบครัว มีระดับชั้นทางสังคม มุ่งเน้นการรักษาเกียรติยศและสัมพันธภาพ มีเครือข่ายที่เอื้อประโยชน์ เคร่งครัดต่อศาสนา ให้ความสำคัญในการตัดสินใจตามแบบกลุ่ม

25 ข้อสรุปในลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มประเทศที่ส่งผลกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
4. กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกและโอเซียเนีย ในกลุ่มนี้มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมตามเชื้อชาติ และรากฐานทางเศรษฐกิจประเทศที่มีรากฐานเศรษฐกิจมั่นคง คือ ญี่ปุ่น รองลงมา ได้แก่ เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ซึ้งจะรวมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจได้ระดับปานกลาง เช่น ไทย อินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียปัจจัยในการเจรจาของกลุ่มประเทศนี้มุ่งความสัมพันธ์ธรรมเนียมปฏิบัติการตัดสินใจเป็นแบบกลุ่ม ประเทศที่ต้องการความรวดเร็วคล่องแคล่ว ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนื่องจากคนในภูมิภาคเอเชียซึ่งให้ความสำคัญในการเคารพผู้อาวุโส เน้นการต้อนรับ ความสุภาพ ความสุภาพ ความจริงใจ และความเกรงใจต่อผู้มีพระคุณ มีความเคารพต่อกันและมีภาษาเป็นของตนเอง ให้ความสำคัญในด้านเครือญาติและครอบครัวมีความเป็นมิตรกับผู้อื่นอย่างเปิดเผย

26 ข้อสรุปในลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มประเทศที่ส่งผลกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
5. กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา คนกลุ่มนี้ไม่เร่งรีบเรื่องเวลามีการใช้ชีวิตทั้งมีความเป็นปัจเจกบุคคลกับกลุ่ม รักสนุก ไม่เคร่งครัดในพิธีรีตอง ให้ความสำคัญในด้านการช่วยเหลือและให้การตอบแทน การรวมกลุ่ม การเดินทางเป็นครอบครัว มีระบบพรรคพวก 6. กลุ่มประเทศในแอฟริกา คนกลุ่มนี้รักษาเวลา การยึดโยงความเป็นกลุ่มและเคร่งครัดในเรื่องชนเผ่าของตนเอง มีความเป็นมิตรและเปิดเผย มีความอ่อนไหว ชอบอยู่เป็นกลุ่มและทำงานเป็นทีม


ดาวน์โหลด ppt การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural communication)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google