งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์
วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

2 ความหมายและองค์ประกอบของเรียงความ
เรียงความ คือ ข้อความหลายย่อหน้าที่บรรยายหรืออธิบายเรื่อง หรือความคิดเห็นอย่างไรอย่างหนึ่ง ประกอบด้วย หัวข้อ คำนำ(ความนำ) เนื้อเรื่อง(ตัวเรื่อง) และสรุป(ความลงท้าย) องค์ประกอบของเรียงความ จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

3 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
1. หัวข้อ คำนำ มีทั้งเรื่องที่ใกล้ตัวและไกลตัว เรื่องที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน เกี่ยวกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรม อาชีพ ธรรมชาติ ประสบการณ์ การดำเนินชีวิต เป็นต้น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

4 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
2. คำนำ(ความนำ) เป็นส่วนเริ่มต้นของเรียงความ นำหน้าที่นำเกริ่นเข้าสู่เนื้อเรื่องและปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน ความนำควรมีใจความรวบรัดไม่เยิ่นเย้อ และไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปเพราะคำนำจะช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจด้วยเนื้อเรื่องของเรียงความ สิ่งที่ควรลีกเลี่ยงในการเขียนคำนำ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

5 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
2. คำนำ(ความนำ) 2.1 เริ่มต้นจากเรื่องไกลเกินไป เช่น คำนำเรื่ององค์การยูเนสโก ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงความล้มเหลวขององค์ยูเนสโก หรือบุคลากรในองค์กร 2.2 ใช้คำออกตัว เช่น การกล่าวในทำนองนี้ไม่ควรกระทำ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

6 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
2. คำนำ(ความนำ) 2.3 ลงความเห็นกว้างเกินไป ควรใช้คำนำที่กระชับรัดกุม 2.4 คำกล่าวที่เป็นความจริงในตัวเองอยู่แล้ว เช่น “เป็นที่กล่าวกันว่า สิ่งที่แน่นอนในชีวิตมนุษย์มีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความไม่แน่นอน” ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

7 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
3. เนื้อเรื่อง (ตัวเรื่อง) เป็นข้อความต่อจากคำนำ ทำหน้าที่ขยายใจความของคำนำให้ละเอียดแจ่มแจ้ง ย่อหน้าเนื้อเรื่องอาจมีได้หลายย่อหน้า ในการเขียนเรียงความโดยทั่วไปควรกำหนดจุดประสงค์ในการเขียน เพื่อช่วยให้กำหนดขอบเขตของหัวข้อเรียงความให้ชัดเจน นอกจากนี้ก่อนลงมือเขียนควรมีการวางโครงเรื่อง เพื่อนำเสนอความคิดได้เป็นลำดับ ไม่สับสน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

8 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
4. สรุป(ความลงท้าย) เป็นข้อความย่อหน้าสุดท้ายทำหน้าที่ปิดเรื่องชี้ให้เห็นสาระสำคัญที่สุดของเรื่อง และยังทำหน้าที่สนองจุดประสงค์ของผู้เขียนให้แจ่มชัด โดยมีความยาวใกล้เคียงกับคำนำ วิธีการเขียนบทสรุป มีดังนี้ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

9 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
4.1 สังเขปความทั้งหมดที่นำเสนอในโครงเรื่องอย่างย่อให้ได้สาระสำคัญอย่างชัดเจน 4.2 นำส่วนสำคัญที่สุดของตัวเรื่องมากล่าวย้ำเพื่อสะกิดในผู้อ่าน 4.3 เลือกสุภาษิต คำคมหรือคำกล่าวที่น่าเชื่อถืออื่นๆมาเป็นส่วนสรุป 4.4 ฝากข้อคิดแก่ผู้อ่านเพื่อให้นำไปคิดหรือปฏิบัติเมื่อมีโอกาส 4.5 ทิ้งคำถามให้ผู้อ่านใคร่ครวญต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องเสนอข้อยุติ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

10 โวหารในการเขียนเรียงความ
1. พรรณนาโวหาร คือ การให้รายละเอียดต่าง โดยไม่มีการดำเนินเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้การอธิบายหรือโต้แย้ง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อความนั้น 3. เทศนาโวหาร คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านคล้อยตาม 4. สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่าง เพื่อทำให้เข้าใจมายิ่งขึ้น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

11 จุดประสงค์ของการเขียนเรียงความ มี 4 ประเภท
1. เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เชื่อถือหรือคล้อยตามแนวคิดของผู้เขียน 2. เพื่อให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่าน 3. เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน 4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านใช้ความคิดของตนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

12 ข้อแนะนำในการเขียนเรียงความ
1. เนื้อความในย่อหน้าต้องเสนอความคิดที่เป็นประเด็นเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพ และแต่ละย่อหน้าต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ เรียบเรียงตามลำดับความคิดเป็นเรื่องเดียวกัน 2. การเตรียมความรู้และความคิดในการเขียนเรียงความ จำเป็นต้องเลือกเขียนเรียงความในเรื่องที่ตนเองมีความรู้และความสนใจ รวมทั้งมีข้อมูลในการเขียนมากที่สุด ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

13 ข้อแนะนำในการเขียนเรียงความ
3. การเลือกใช้ถ้อยคำ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของเรื่องที่จะเขียน มีการใช้โวหารประกอบ ใช้ภาษาระดับทางการ ส่วนภาษาพูด คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ คำย่อไม่ควรนำมาใช้ในการเขียนเรียงความ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

14 ข้อแนะนำในการเขียนเรียงความ
4. กลไกในการเขียนเกี่ยวกับการเขียนตัวสะกดการันต์ การเว้นวรรคตอน การเรียบเรียงถ้อยคำ การใช้ภาษา การเลือกสรรคำที่เหมาะสมและถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้งานเขียนเรียงความมีความงดงามและน่าติดตามอ่านจนจบ ตัวอย่างแบบทดสอบ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

15 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
แบบฝึกหัดทบทวน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

16 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
1. การเลือกเรื่องเขียนเรียงความควรใช้หลักข้อใด ก. เลือกเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เขียน ข. เลือกเรื่องที่ใช้โวหารได้หลากหลาย ค. เลือกเรื่องที่มีความรู้มากที่สุด ง. เลือกเรื่องที่เคยเขียนมาก่อน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

17 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
2. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนเรียงความ ก. เขียนด้วยลายมือที่ชัดเจนและอ่านง่าย ข. ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องต้องสัมพันธ์กัน ค. วางโครงเรื่องก่อนเขียน ง. เขียนชิดริมกระดาษ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

18 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. เรียงความประกอบด้วยบทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ข. การเรียบเรียงเนื้อความต้องเป็นไปตามลำดับของโครงเรื่อง ค. เรียงความต้องมีความเป็นเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตภาพ ง. จำกัดจำนวนย่อหน้าเพียง ๓ ย่อหน้าเท่านั้น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

19 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
4. ส่วนที่เขียนแสดงความรู้สึกของการเขียนเรียงความคือข้อใด ก. คำนำ ข. เนื้อเรื่อง ค. สรุป ง. ชื่อเรื่อง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

20 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
5. การวางโครงเรื่องก่อนเขียนเรียงความมีประโยชน์อย่างไร ก. ช่วยกำหนดจุดประสงค์ของเรื่อง ข. ช่วยสร้างความเข้าใจในแต่ละย่อหน้า ค. ช่วยกำหนดขอบเขตในการเขียนแต่ละครั้ง ง. ช่วยให้เนื้อหามีเอกภาพและเสนอความคิดได้ตามลำดับ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

21 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
6. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของคำนำ ก. ชี้แจงจุดประสงค์ในการเขียนเรียงความ ข. กระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจและเห็นความสำคัญของเรื่อง ค. นำส่วนที่สำคัญของตัวเรื่องมากล่าวย้ำสร้างความสนใจ ง. สร้างความเข้าใจขอบเขตของเรียงความและอธิบายความสำคัญต่าง ๆ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

22 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
7. ข้อใดไม่ใช่ศิลปะของการเขียนเรียงความ ก. การเลือกใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน ข. การใช้สำนวนและลีลาการเขียนที่เป็นของตนเอง ค. การเขียนข้อความในแต่ละย่อหน้าให้สัมพันธ์สอดคล้องกัน ง. การสำรวจโครงเรื่อง สรุป และคำนำให้เสนอเพียงความคิดเดียว ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

23 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
8. ข้อใดเป็นหัวข้อเรียงความเกี่ยวกับเรื่องในโลกของจินตนาการที่เกี่ยวกับอนาคต ก. ใต้ร่มอินทนิล ข. เด็กขายพวงมาลัย ค. สถานการณ์โรคเอดส์ ง. เก็บหอมรอมริบไว้เถิด ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

24 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
9. โครงเรื่องเรียงความเรื่องพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ต่อไปนี้ควรเรียงลำดับตามข้อใดจึงได้จะความสมบูรณ์ ๑. ประวัติการก่อสร้าง ๒. สิ่งก่อสร้างในพระราชวัง ๓. ที่ตั้ง ๔. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ๕. การอนุรักษ์และการบูรณะ ก. ๑ ๓ ๒ ๕ ๔ ข. ๓ ๑ ๒ ๔ ๕ ค. ๓ ๒ ๑ ๔ ๕ ง. ๔ ๓ ๑ ๒ ๕ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

25 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
10. โครงเรื่องเรียงความเรื่องพระราชวังบางปะอินตามข้อ 9. ควรจะเพิ่มเนื้อหาข้อใดเพื่อให้เรียงความสมบูรณ์ขึ้น ก. ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข. การตกแต่งในบริเวณพระราชวังบางปะอิน ค. สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ง. คุณค่าทางศิลปกรรมของพระราชวังบางปะอิน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

26 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์


ดาวน์โหลด ppt การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google