งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
มานิตย์ กู้ธนพัฒน์ กรรมการสภาวิศวกร

2 ความหมายของ “วิชาชีพ”
ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการปฏิบัติงาน วิชาชีพ Profession ได้รับการอบรมความรู้ เป็นพิเศษ และใช้ระยะเวลาอบรมเป็นเวลานาน มีจรรยาบรรณ พร้อมองค์กร และกระบวนการเพื่อสอดส่องดูแล

3 วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ความชำนาญ ความระมัดระวัง ความรู้ งานวิศวกรรมควบคุม มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง

4 ควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มีสถานะเป็นนิติบุคคล
สภาวิศวกร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มีสถานะเป็นนิติบุคคล พิจารณาออกใบอนุญาต บุคคลธรรมดา นิติบุคคล

5 สมาชิกสภาวิศวกร สมาชิกสามัญ เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการได้รับใบอนุญาต สมาชิกวิสามัญ สมาชิกกิตติมศักดิ์ หากขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใด ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง

6 บทบาทและหน้าที่ของวิศวกร
หน้าที่และความรับผิดชอบตามวิชาชีพ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความรับผิดตามสัญญา/ข้อตกลง ศีลธรรม/จิตสำนึก การศึกษาตลอดชีวิต “งานวิศวกรรมควบคุม” ถือเป็นงานที่มีความเสี่ยงต่อ ความปลอดภัยของสาธารณะ

7 ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ได้รับใบอนุญาตฯ จากสภาวิศวกร บุคคลธรรมดา นิติบุคคล ใบอนุญาตที่ออกโดยสภาวิศวกร เพื่อให้สิทธิในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สิทธิ + หน้าที่ + ความคุ้มครอง

8 ความสำคัญของใบอนุญาตฯ
คุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณะ สร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการด้านวิศวกรรม $ รักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542

9 ใบอนุญาตฯ ประเภทบุคคลธรรมดา
เป็นสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกวิสามัญของสภาวิศวกร มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับสภาวิศวกร 1. วุฒิวิศวกร 2. สามัญวิศวกร 3. ภาคีวิศวกร 4. ภาคีวิศวกรพิเศษ ทำได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ระดับใบอนุญาตฯ งาน ประเภท และขนาดที่ทำได้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร ทำงานได้เฉพาะตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตฯ เท่านั้น

10 ตัวอย่างการป้องกันการปลอมใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ชื่อ-สกุล ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขา ระดับ เลขทะเบียน วันออกบัตร บัตรหมดอายุ ประเภทสมาชิก เลขที่ วันออกบัตร บัตรหมดอายุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการขออนุญาต รับรองสำเนาถูกต้อง 22/02/2012

11 การทดสอบความรู้ ระดับภาคีวิศวกร
ผู้ที่ยื่นขอรับใบอนุญาตฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 (จากทุกหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสภาวิศวกร) จะต้องผ่านการทดสอบความรู้ทุกคน

12 การทดสอบความรู้ ระดับภาคีวิศวกร
เวลาสอบ เกณฑ์การสอบ วิชาที่สอบ 3 ชั่วโมงในแต่ละหมวดวิชา ข้อสอบ ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ ในแต่ละหมวดวิชา หมวดวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม หมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม ปรนัย

13 การเข้าอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพ
ทดสอบความรู้ ระดับภาคีวิศวกร ผ่าน ชำระค่าอบรมและทดสอบฯ ภายในระยะเวลา 60 วัน หากมิได้มาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ประสงค์จะยกเลิกคำขอรับใบอนุญาตฯ ตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสภาวิศวกร

14 การอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพ
ไม่ผ่าน อบรมและทดสอบความพร้อม ในการประกอบวิชาชีพ สอบซ่อม (เฉพาะรายวิชาที่ไม่ผ่าน) ผ่าน ชำระค่าใบอนุญาตฯ (1,000 บาท) ภายในระยะเวลา 90 วัน หากมิได้มาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ประสงค์จะยกเลิกคำขอรับใบอนุญาตฯ ตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสภาวิศวกร

15 การอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพ
ความพร้อม = 1 วัน กฎหมาย (10 ข้อ) จรรยาบรรณ (10 ข้อ) สิ่งแวดล้อม (10 ข้อ) ความปลอดภัย (20 ข้อ) วิชาที่สอบ เวลาที่ใช้ในการอบรมและทดสอบ เกณฑ์การทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 สอบตกวิชาใดสามารถสอบซ่อมในรายวิชานั้น

16 การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ
คณะกรรมการสภาวิศวกรอนุมัติให้ออกใบอนุญาตฯ ชำระค่าธรรมเนียมภายใน 90 วัน หากผู้ขอรับใบอนุญาตฯ มิได้มาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ประสงค์จะยกเลิกคำขอรับใบอนุญาตฯ ตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสภาวิศวกร

17 ขนาดของความระมัดระวัง
ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจะต้องปฏิบัติงาน ด้วยความระมัดระวังมากกว่าบุคคลทั่วไป อาชีพ ผู้มีวิชาชีพ

18 “งานวิศวกรรมควบคุม” งาน ประเภท ขนาด
กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรม และวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

19 งานควบคุมการสร้าง หรือการผลิต
งานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละสาขา มี 6 งาน ดังนี้ งานควบคุมการสร้าง หรือการผลิต งานให้คำปรึกษา งานวางโครงการ งานพิจารณาตรวจสอบ งานออกแบบ และคำนวณ งานอำนวยการใช้ ข้อ 3 ของกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

20 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

21 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 มี 10 ข้อ กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 มี 15 ข้อ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จรรยาบรรณ หมายความว่า ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริม เกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

22 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
1. กรณีการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมโดยไม่มีใบอนุญาต ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในระหว่างที่ถูกพักใช้ใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 45 “ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตในสาขานั้นจากสภาวิศวกร” มาตรา 63 “ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม นับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาวิศวกรที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น”

23 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
มาตรา 71 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 45 หรือมาตรา 63 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” 2. กรณีการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการจรรยาบรรณ คณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้ง มีอำนาจในการออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

24 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
มาตรา 59 “ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจรรยาบรรณ และของคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งให้กรรมการจรรยาบรรณ และอนุกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ เพื่อประโยชน์ แก่การพิจารณา แต่ถ้าเป็นการมีคำสั่งต่อบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษหรือผู้ซึ่งสภานายกพิเศษมอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการจรรยาบรรณหรืออนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา” มาตรา 73 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรืออนุกรรมการ ตามมาตรา 59 หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 67 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท”

25 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม มาตรา 50 ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559

26 ประเด็นศึกษา ความหมายของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
1 ความหมายของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 2 ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณฯ 3 ขั้นตอนการดำเนินคดีจรรยาบรรณ 4 วิธีพิจารณาและวินิจฉัยจรรยาบรรณ

27 1. ความหมายของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
หมายถึง ข้อบังคับที่สภาวิศวกรกำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องปฏิบัติตาม โดยยึดหลักคุณธรรมเป็นหลักสำคัญ

28 ความสำคัญของจรรยาบรรณ
เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพยึดถือ ปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้วิชาชีพได้รับการยอมรับ และความ เชื่อมั่นจากสังคม เพื่อผดุงเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีแห่ง วิชาชีพ

29 ที่มาของจรรยาบรรณ B C A จรรยาบรรณ D E กฎหมาย จารีตประเพณี ศีลธรรม
ศาสนา บรรทัดฐานทางสังคม

30 หลักปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม
CODES Code of Practice (ประมวลการปฎิบัติ) Code of Conduct (ประมวลการประพฤติ) Code of Ethics (จรรยาบรรณ)

31 Code of Practice ประมวลการปฏิบัติ
หมายถึง มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กำหนดขึ้น เพื่อให้วิศวกรยึดถือปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม เป็นแนวทางเดียวกัน และให้การประกอบวิชาชีพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ซึ่งเป็นหลักทางวิชาการขั้นต้นที่ผู้ประกอบวิชาชีพ จะละเลยต่อหลักดังกล่าวไม่ได้

32 Code of Conduct ประมวลการประพฤติ
หมายถึง ประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติ ประมวลข้อบังคับหรือระเบียบการประพฤติปฏิบัติที่องค์กร ทางวิศวกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อให้วิศวกรพึงยึดถือ เป็นแนวคุณธรรมและประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของสาธารณะ ตลอดจนรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

33 Code of Ethics จรรยาบรรณ
หมายถึง จรรยาบรรณ ประมวลจริยธรรม ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพการงาน แต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริม เกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก

34 2. ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณฯ
ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559

35 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(1) ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559” (2) ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (3) ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543 (4) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ในข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้นประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมหรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ แล้วแต่กรณี

36 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
หมวด 1 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

37 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพโดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพของสาธารณชน ตลอดจนทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณะด้วย บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้ตระหนักถึงความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพ ของประชาชน ซึ่งสอดคล้องตามเจตนารมณ์ที่ปรากฏในหมายเหตุ ท้ายพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ รวมถึงการให้ความสำคัญกับทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมอันมีไว้เพื่อประชาชนทั่วไป

38 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(6) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องละเว้นจากการให้การสนับสนุน ส่งเสริม หรือเป็นตัวการ เกี่ยวกับการทุจริตในโครงการของภาครัฐหรือเอกชน บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมไม่กระทำการอันอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ ที่จะนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งสอดคล้องกับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริต Engineer..?

39 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(7) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ และระมัดระวัง บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน และมีความระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกรณีที่ถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ โดยไม่ซื่อสัตย์สุจริต เช่น การ Lock Spec เป็นต้น

40 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(8) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องปฏิบัติงาน ตามหลักปฏิบัติและวิชาการ บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบ ในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ โดยต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรมและหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัย ในการทำงาน สาขาต่าง ๆ เป็นต้น

41 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(9) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมเกินความสามารถและความเชี่ยวชาญที่ตนเอง จะกระทำได้ บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามตนเองจะทำได้นั้นหมายถึง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมควบคุมเกินความสามารถที่กฎหมายกำหนดและรวมถึงความสามารถ ที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย เฮ้ย !! เกินความสามารถจริง ๆ

42 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(10) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ลงลายมือชื่อ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในงานที่ตนไม่ได้ทำ บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถ รับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้

43 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(11) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณาซึ่งการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมเกินความเป็นจริง บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แข่งขันกันรับงาน โดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจาก การแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคี ในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน

44 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(12) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เรียก รับ ยอมจะรับ หรือให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างเสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย

45 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(13) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่ โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์ แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่าง ๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการบีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงานหรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้ งานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไป หากต้องเสียประโยชน์ จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้

46 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(14) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ละทิ้งงาน โดยไม่มีเหตุอันควร บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อย ให้มีการละทิ้งงานอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย แห่งวงการวิชาชีพ (เช่น เมื่อต้องการถอนตัวจากการควบคุมงานแห่งใดแห่งหนึ่ง จะด้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของงานทราบและแจ้งหน่วยงาน ที่ได้อนุญาตให้เป็นผู้ควบคุมงานเช่น เขต หรือ อบต. ทราบล่วงหน้า)

47 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(15) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เปิดเผยความลับ ของงานที่ตนทำ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์ อักษรจากผู้ว่าจ้าง หรือเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือ ผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

48 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(16) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่รับดำเนินงาน ชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อการแข่งขันด้านเทคนิค หรือราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์ อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้น ทราบล่วงหน้าแล้ว บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิด ความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมด้วยกัน

49 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(17) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่แย่งงาน จากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน มิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคีระหว่าง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน เช่น การไม่เสนอผลประโยชน์เพื่อให้ตนเอง ได้งาน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

50 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(18) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตาม หน้าที่ หรือเป็นความประสงค์ของเจ้าของงานและได้แจ้ง เป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติ ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้ว่าจ้าง ในกรณีที่มีการแข่งขัน เป็นการรักษาข้อมูล และความลับของผู้ว่าจ้าง

51 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(19) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้หรือกระทำการ ในลักษณะคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมนั้น บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ เดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับแบบ และรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

52 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(20) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่อ้างผลงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น มาเป็น ของตนในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอ้างผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของตน

53 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(21) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำการใด ๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใด ๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ ชื่อเสียง หรือผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมอื่น อ๊ะ..พลาด

54 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(22) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำ ความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือมาตรา 269 จนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด   ตามมาตรา 227 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดเป็นผู้มีวิชาชีพไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการอันพึงกระทำการนั้น โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษ และมาตรา 269 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาชีพ ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษ

55 หมวด 2 การประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

56 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(23) กรณีที่จะถือเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ มีดังต่อไปนี้ (1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามข้อบังคับนี้ และเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน (2) เคยถูกลงโทษโดยคำสั่งถึงที่สุด เนื่องจากประพฤติผิดจรรยาบรรณ ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ แต่ยังประพฤติผิดซ้ำ หรือไม่หลาบจำ หรือไม่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

57 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(3) กระทำความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือมาตรา 269 โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (4) กรณีอื่นที่คณะกรรมการจรรยาบรรณเห็นว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้าง เพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกร ผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิใจในเกียรติศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนเอง

58 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
บทเฉพาะกาล (24) การกระทำใดที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งได้กระทำ ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543 (25) เรื่องกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประพฤติผิดจรรยาบรรณที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้พิจารณาดำเนินการ ตามระเบียบที่ใช้อยู่ในขณะนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543

59 3. ขั้นตอนการดำเนินคดีจรรยาบรรณ
เลขาธิการสภาวิศวกรส่งเรื่องสู่คณะกรรมการจรรยาบรรณ 1 2 3 หนังสือร้องเรียน คณะกรรมการจรรยาบรรณ ส่งเรื่องเข้าสู่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องร้องเรียน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และทำความเห็นเสนอเพื่อพิจารณาวินิจฉัย บุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย / บุคคลซึ่งพบเห็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ (สิทธิกล่าวหา) กรรมการหรือบุคคลอื่น (สิทธิกล่าวโทษ) 4 มีคำวินิจฉัยชี้ขาด และแจ้งผลการพิจารณาถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

60 อายุความในการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ
พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ มาตรา อายุความ 1 ปี นับแต่ นับแต่รู้เรื่อง การประพฤติผิดจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ และ นับแต่รู้ตัว ผู้ประพฤติผิด

61 โทษทางจรรยาบรรณ ยกข้อกล่าวหา ตักเตือน ภาคทัณฑ์
พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่เกิน 5 ปี เพิกถอนใบอนุญาตฯ

62 4. วิธีพิจารณาและวินิจฉัยจรรยาบรรณ
ระเบียบสภาวิศวกร ว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2546

63 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ
พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ มาตรา 61 ยกข้อกล่าวหา ตักเตือน การพิจารณา และวินิจฉัยชี้ขาด ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่เกิน 5 ปี เพิกถอนใบอนุญาตฯ

64 คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณ
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณ กรณีไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ศาลปกครอง คณะกรรมการสภาวิศวกร

65 สมาชิกสภาวิศวกรและใบอนุญาตฯ
พ.ร.บ. ก.ว (ก.ว./ก.ส. กระทรวงมหาดไทย) ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ใบ กว.) สภาวิศวกร (ตั้งแต่ 30 พ.ย. 2542) มาตรา 49 o ต้องเป็นสมาชิกสภาวิศวกร o ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

66 การควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
มาตรา 45 “ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดง ด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตในสาขานั้นจากสภาวิศวกร” มาตรา 46 “ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละสาขา มี 4 ระดับ คือ วุฒิวิศวกร สามัญวิศวกร ภาคีวิศวกร ภาคีวิศวกรพิเศษ” มาตรา 47 “ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้างวานหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขานั้น ๆ จากสภาวิศวกร หรือสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร ”

67 มาตรา 50 “ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร” มาตรา 51 “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายหรือพบการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของผู้ได้รับใบอนุญาต มีสิทธิกล่าวหา ผู้ได้รับอนุญาตผู้นั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อสภาวิศวกร กรรมการหรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมว่าผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยแจ้งเรื่องต่อสภาวิศวกร สิทธิกล่าวหาหรือกล่าวโทษสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด”

68 มาตรา 63 “ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วย วิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาวิศวกรที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น” มาตรา 64 “ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืน ให้สภาวิศวกรมีมติเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด” มาตรา 65 “ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะยื่นขอรับใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต”

69 มาตรา 71 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 45 หรือมาตรา 63 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 72 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 73 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะอนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 74 “สำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย”

70

71 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ
ภาคีวิศวกร (Associate Engineer) สามัญวิศวกร (Professional Engineer) วุฒิวิศวกร (Senior Professional Engineer) ภาคีวิศวกรพิเศษ (Adjunct Engineer) ขอบเขตงาน กำหนดอยู่ในข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ พ.ศ. 2551

72 การขอใบอนุญาตประเภทนิติบุคคล
สำหรับบริษัทที่ปฏิบัติงานวิศวกรรมควบคุม เช่น งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย ผู้ถือหุ้น กรรมการ สมาชิกผู้บริหาร ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือหุ้นส่วน กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจผู้เดียว ต้องได้รับใบอนุญาต ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี ต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุ ภายใน 90 วัน

73 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ
อัตราค่าธรรมเนียม * ต่ออายุล่วงหน้าได้ไม่เกิน 6 เดือน ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี ยกเว้นนิติบุคคลมีอายุ 1 ปี

74 วิศวกรไม่รู้กฎหมาย โทษทางอาญาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
งานวิศวกรรมต้องสะดุด โทษทางอาญาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สาระสำคัญ ที่ต้องพิจารณา ข้อห้าม / ข้อบังคับ / บทกำหนดโทษ

75 กฎหมาย 17 ฉบับ ที่วิศวกรควรศึกษา
1) กฎหมายวิศวกร พ.ร.บ / 2542 2) กฎหมายผังเมือง พ.ร.บ / 2535 3) กฎหมายควบคุมอาคาร พ.ร.บ / 2543 4) กฎหมายโรงงาน พ.ร.บ. 2535 5) กฎหมายสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ. 2535 6) กฎหมายการอนุรักษ์พลังงาน พ.ร.บ / 2538 7) กฎหมายควบคุมน้ำมัน และก๊าซ พ.ร.บ. 2542 8) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ งานก่อสร้าง พ.ร.บ. 2541

76 กฎหมาย 17 ฉบับ ที่วิศวกรควรศึกษา
9) กฎหมายขุดดินและถมดิน 10) กฎหมายการเดินอากาศ 11) กฎหมายช่างรังวัดเอกชน 12) กฎหมายจัดสรรที่ดิน 13) กฎหมายอาคารชุด 14) กฎหมายทางหลวง 15) กฎหมายโรงแรม 16) กฎหมายวิทยุคมนาคม 17) กฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร

77 เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดจรรยาบรรณ วิศวกรต้องยึดมั่นในหลักปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม ตาม CODES เหล่านี้
Code of Practice (ประมวลการปฎิบัติ) Code of Conduct (ประมวลการประพฤติ) Code of Ethics (จรรยาบรรณ)

78 สายด่วนสภาวิศวกร 1303 ต่อ 1500-1509
Good Luck ! “ประกอบวิชาชีพด้วยความระมัดระวัง” สายด่วนสภาวิศวกร 1303 ต่อ

79 manit@engineer.com LINE id : manit.koo
ด้วยความปรารถนาดี Q & A LINE id : manit.koo

80 ประวัติวิทยากร มานิตย์ กู้ธนพัฒน์
ประวัติวิทยากร มานิตย์ กู้ธนพัฒน์ การศึกษา วศ.บ.(วิศวกรรมเครื่องกล) วศ.ม.(เทคโนโลยีพลังงาน) ศศ.บ.(รัฐศาสตร์) ประวัติการทำงาน -ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภท วุฒิวิศวกรเครื่องกล -อดีตประธานคณะกรรมการวิชาการ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย -วิศวกรที่ปรึกษา บริษัท/โรงงานอุตสาหกรรม/หน่วยงานภาครัฐ -อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ ปัจจุบัน -ASEAN Chartered Professional Engineering, ACPE-01248/TH -กรรมการสภาวิศวกร สมัยที่6 และ สมัยที่7 (พ.ศ ) -ที่ปรึกษาในคณะกรรมการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย -นักวิชาการอิสระ/วิศวกรที่ปรึกษา ©Copyright 2019


ดาวน์โหลด ppt จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google