งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชนิดของคำไทย วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ Dr. Bualak Naksongkaew

2 ความสำคัญของคำไทย คำไทยแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำไทย เพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำ และประโยค เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียน รวมถึงการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

3 คำนาม คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ
คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ความงาม เป็นต้น

4 คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด
๑. สามานยนาม หรือ คำนามทั่วไป ๒. วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ ๓. สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ ๔. ลักษณะนาม คือ เป็นคำนามที่บอกลักษณะ ๕. อาการนามมักมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า

5 หน้าที่ของคำนาม ๑. ประธานของประโยค ๒. เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ
๓. ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น ๔. เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม ๕. ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขี้น

6 หน้าที่ของคำนาม (ต่อ)
๖.ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยา หรือคำนามอื่นของประโยค ๗. ใช้เป็นคำเรียกขานได้

7 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๑. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับชนิดของคำไม่ถูกต้อง ก. คำในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ข. คำในภาษาไทยจำแนกตามความหมายเท่านั้น ค. ความหมายของคำนั้นขึ้นอยู่กับหน้าที่ของคำใน ประโยค ง. การเลือกใช้คำอย่างมีประสิทธิภาพต้องเลือกให้ถูกต้องตามกาลเทศะ บุคคล ข. คำในภาษาไทยจำแนกตามความหมายเท่านั้น วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

8 แบบทดสอบ ๒. ข้อใดใช้ว่า “ความ” ไม่ถูกต้อง ก. ความเจริญ ข. ความศึกษา
ค. ความเศร้าโศก ง. ความหวัง ข. ความศึกษา ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๓ – ๘ หน้า ๒๘ - ๒๙ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

9 คำสรรพนาม คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร ใคร บ้าง เป็นต้น

10 คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด
คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด ๑. บุรษสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ๒. ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม และใช้เชื่อมประโยค (ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ) ๓. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง (นี่ นั่น โน่น) ๔. อนิยมสรรนาม คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง (อะไร ใคร ไหน บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ )

11 คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด
คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด ๕. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม (ต่าง บ้าง กัน ) ๖. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม (อะไร ใคร ไหน ผู้ใด สิ่งใด ผู้ใด)

12 หน้าที่ของคำสรรพนาม ๑. ประธานของประโยค ๒. เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ
๓. เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์ ๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน ๕. ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค

13 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๙. “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา” คำว่า “อะไร” เป็นคำสรรพนามชนิดใด ก. นิยมสรรพนาม ข. อนิยมสรรพนาม ค. วิภาคสรรพนาม ง. ปฤจฉาสรรพนาม ข. อนิยมสรรพนาม วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

14 แบบทดสอบ ๑๐. “ชาวนาต่างก็เกี่ยวข้าวแล้วนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง”
คำที่เป็นตัวหนาและขีดเส้นใต้ถูกต้องตามข้อใด ก. นิยมสรรพนาม ข. อนิยมสรรพนาม ค. วิภาคสรรพนาม ง. ปฤจฉาสรรพนาม ค. วิภาคสรรพนาม ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๑๑ – ๑๕ หน้า ๒๙ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

15 คำกริยา คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เล่น จับ เขียน อ่าน เป็น คือ ถูก คล้าย เป็นต้น

16 คำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิด ๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ
คำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิด ๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ ๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ ๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง (เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ) ๔.กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยค (จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ )

17 คำกริยาแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด
คำกริยาแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ๕. กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้

18 หน้าที่ของคำกริยา ๑. เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ๒. ขยายคำนาม
๓. ขยายกริยา ๔. เหมือนคำนาม

19 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๑๖.ข้อใดมีกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ ก. เขานั่งเล่น ข. เขาเดินเรือ ค. เครื่องจักรกำลังทำงาน ง. งานของเขากำลังเดินก้าวหน้า ข. เขาเดินเรือ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

20 แบบทดสอบ ๑๗. ข้อใดมีกริยาช่วย ก. ทำดีได้ดี ข. ฉันได้อ่านเรื่องนี้
ค. ฉันได้คะแนนมากที่สุด ง. นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาข้อนี้ได้ ข. ฉันได้อ่านเรื่องนี้ ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๑๘ – ๒๒ หน้า ๓๐ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไปทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

21 คำวิเศษณ์ คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์
คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น

22 คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด
คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ๑. ลักษณะวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ (ดี ชั่ว ใหญ่ ขาว ร้อน เย็น ) ๒. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา (สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต ) ๓. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา ) ๔.ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ (สอง สาม มาก น้อย บ่อย)

23 คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด
คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ๕. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ (ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ ) ๖. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ (ครับ ขอรับ ค่ะ ) ๗. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ (นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น แน่นอน ) ๘. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ (ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด )

24 คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด
คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม) ๑๐. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน (ที่ ซึ่ง อัน อย่าง ที่ว่า เพื่อว่า ให้ )

25 หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ๑. ขยายคำนาม ๒. ขยายคำสรรพนาม ๓.ขยายกริยา
๔. เหมือนคำนาม ๕. เป็นตัวแสดงในภาคแสดง

26 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๒๓. ข้อใดมีคำวิเศษณ์บอกอาการ ก.ของดีมีน้อย ข. กระต่ายวิ่งเร็ว ค. กระดาษสีสวย ง. หนังสือเล่มนี้น่าอ่าน ข. กระต่ายวิ่งเร็ว วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

27 แบบทดสอบ ๒๔.“ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนหนึ่ง มีต้นลำพูใหญ่” ข้อความนี้มีคำวิเศษณ์กี่คำ ก.๑ คำ ข. ๒ คำ ค. ๓ คำ ง. ๔ คำ ค. ๓ คำ ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๒๕ – ๒๗ หน้า ๓๐ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

28 คำบุพบท คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ด้วย โดย ตาม ข้าง ถึง จาก ใน บน ใต้ สิ้น สำหรับ นอก เพื่อ ของ เกือบ ตั้งแต่ แห่ง ที่ เป็นต้น

29 คำบุพบทแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
คำบุพบทแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ ๑.๑ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ ๑.๒ บอกความเกี่ยวข้อง ๑.๓ บอกการให้และบอกความประสงค์ ๑.๔ บอกเวลา ๑.๕ บอกสถานที่ ๑.๖ บอกความเปรียบเทียบ ๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่นส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย (ดูก่อน ข้าแต่ ดูกร )

30 หน้าที่ของคำบุพบท ๑. นำหน้านาม ๒. นำหน้าสรรพนาม ๓. นำหน้ากริยา
๔. นำหน้าประโยค ๕. นำหน้าคำวิเศษณ์

31 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๒๘. ข้อใดมีคำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ ก. ข้าวในนา ข. ฉันมากับเขา ค. สละชีพเพื่อชาติ ง. สนามกีฬาแห่งชาติ ง. สนามกีฬาแห่งชาติ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

32 แบบทดสอบ ๒๙.“คนตาบอดคลำทาง..............ไม้เท้า”
เติมคำใดในช่องว่างจึงจะเหมาะสม ก.กับ ข. ด้วย ค. โดย ง. ตาม ข. ด้วย ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๓๐ – ๓๓ หน้า ๓๑ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

33 คำสันธาน คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม กระชับและสละสลวย เช่นคำว่า และ แล้ว จึง แต่ หรือ เพราะ เหตุเพราะ เป็นต้น

34 คำสันธานแบ่งเป็น ๔ ชนิด
คำสันธานแบ่งเป็น ๔ ชนิด ๑. คำสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน (และ ทั้ง...และ ทั้ง...ก็ ครั้น...ก็ ครั้น...จึง ก็ดี เมื่อ...ก็ว่า พอ...แล้ว ) ๒. คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน (ว่า แต่ แต่ว่า กว่า...ก็ ถึง...ก็) ๓. คำสันธานที่เชื่อมข้อมความให้เลือก (หรือ หรือไม่ ไม่...ก็ หรือไม่ก็ ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น...ก็) ๔. คำสันธานที่เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล (เพราะ เพราะว่า ฉะนั้น...จึง ดังนั้น เหตุเพราะ เหตุว่า เพราะฉะนั้น...จึง )

35 หน้าที่ของคำสันธาน ๑. เชื่อมประโยคกับประโยค
๒. เชื่อมคำกับคำหรือกลุ่มคำ ๓. เชื่อมข้อความกับข้อความ

36 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๓๔.“ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเพียงนิยาย” ข้อความนี้ใช้สันธานเชื่อมความชนิดใด ก. เหตุผล ข. คล้อยตาม ค. เปรียบเทียบ ง. เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ง. เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

37 แบบทดสอบ ๓๕. ประโยคใดมีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล
ก. เมื่อไม่มีเงินเขานึกถึงครอบครัว ข. พอมีเงินเขาก็จะเที่ยวเตร่ ค. เขาเป็นคนไม่รับผิดชอบครอบครัวจึงลำบาก ง. ฝนตกหนักแต่เขากลับมาทำงาน ค. เขาเป็นคนไม่รับผิดชอบครอบครัวจึงลำบาก ทำแบบทดสอบต่อข้อ ๓๖ – ๓๙ หน้า ๓๑ - ๓๒ วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

38 คำอุทาน คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่นคำว่า อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น

39 คำอุทานแบ่งเป็น ๒ ชนิด ๑. คำอุทานบอกอาการ
คำอุทานแบ่งเป็น ๒ ชนิด ๑. คำอุทานบอกอาการ ตกใจ ใช้คำว่า วุ้ย ว้าย แหม ตายจริง ประหลาดใจ ใช้คำว่า เอ๊ะ หือ หา รับรู้ เข้าใจ ใช้คำว่า เออ อ้อ อ๋อ เจ็บปวด ใช้คำว่า โอ๊ย โอย อุ๊ย สงสาร เห็นใจ ใช้คำว่า โธ๋ โถ พุทโธ่ อนิจจา โกรธเคือง ใช้คำว่า ชิชะ แหม ๒. คำอุทานเสริมบท (พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ)

40 หน้าที่ของคำอุทาน ๑. แสดงความรู้สึกของผู้พูด
๒. เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท ๓. ประกอบข้อความในคำประพันธ์

41 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๔๐. คำประพันธ์ข้อใดมีคำอุทาน ก. คลองคดโขนเรือค้ำ ขัดไม้หักสลาย ข. หัวกับโขนเรือต้อง คู่เซ่นทำศาล ค. โขนเรือกับหัวพัน เช่นที่ ศาลแล ง. ศาลสืบกฤติคุณเค้า คติไว้ในสยาม ค. โขนเรือกับหัวพัน เช่นที่ ศาลแล วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

42 วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบทดสอบ ๔๑. ข้อใดมีคำอุทานเสิรมบท ก. นายแกว่นรับจ้างเล่นยี่เกลูกบท ข. แกถูกอุปโลกน์ให้เป็นตัวผู้ร้ายตัวโจรทุกที ค. ทั้งที่นิสัยของนายแกว่นแท้จริงก็มิได้เป็นเช่นนั้น ง. แกเป็นคนมีนิสัยไม่ชั่วแต่จะไม่เอาเรื่องเอาราวกับใครเท่านั้น ง. แกเป็นคนมีนิสัยไม่ชั่วแต่จะไม่เอาเรื่องเอาราวกับใครเท่านั้น วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

43 ใช้ชีวิตเหมือนมันจะสิ้นสุดลงวันพรุ่งนี้,
Live like you will die tomorrow, learn like you will live forever. ใช้ชีวิตเหมือนมันจะสิ้นสุดลงวันพรุ่งนี้, เรียนรู้ให้เหมือนชีวิตจะไม่มีวันจบลง. SSRU.ac.th


ดาวน์โหลด ppt วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google