งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

2 โดยแต่งเป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน ๓๓ บท แต่ที่คัดมาให้นักเรียนศึกษามี ๒๑ บท
พระยาอุปกิตศิลปสาร พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นผู้ประพันธ์กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า โดยนำมาจากกวีนิพนธ์อังกฤษของ ทอมัส เกรย์(Thomas Gray) ในเรื่อง Elegy Writtenin a Country Churchyard โดยแต่งเป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน ๓๓ บท แต่ที่คัดมาให้นักเรียนศึกษามี ๒๑ บท

3 แผนผังกลอนดอกสร้อย

4 Thomas Gray คำว่า elegy (บทร้อยกรองกำสรด) เป็นการรำพึงถึงความตายของมนุษย์ซึ่งแสดงสัจธรรมของชีวิตว่ามนุษย์ทุกคน อาจหลีกหนีความตายไปได้ แต่งโดยได้เค้าโครงเรื่องมาจากโคลงภาษาอังกฤษ ซึ่งเสถียรโกเศศ ได้แปลและเรียบเรียงไว้ แล้วพระยาอุปกิตศิลปสารได้ ประพันธ์จากต้นฉบับของเสฐียรโกเศศ โดยแต่งเป็นกลอนดอกสร้อย

5 ต้นไอวีที่ขึ้นปกคลุมบ้าน
พระยาอุปกิตศิลปสารนำคำประพันธ์นี้มาประยุกต์ให้เข้ากับความเป็นไทย เช่น ต้นไอวี (Ivy) = เถาวัลย์ ต้นเอล์ม (Elm) = ต้นโพธิ์ แมลงบีตเทิล (Beetle) = จิ้งหรีดเรไร จอห์น แฮมพ์เด็น (John Hampden) = ชาวบ้านบางระจัน จอห์น มิลตัน (John Milton) = ศรีปราชญ์ ต้นไอวีที่ขึ้นปกคลุมบ้าน

6 กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งนั่งอยู่ในป่าช้ายามพลบค่ำ เห็นฝูงวัวควายกำลังเดินกลับที่อยู่ ท่ามกลางแสงพระจันทร์ จึงเห็นที่ฝังศพชัดเจน ศพเหล่านั้นคือศพของชาวนาชาวไร่ และเนื่องจากอากาศหนาว มีเสียงระฆัง เสียงนกแสกร้อง ยิ่งทำให้บุคคลผู้นั้นรู้สึกวังเวงใจ รำพึงถึงดวงวิญญาณ ไม่ว่าจะเป็นนักรบ กวี นักการเมือง ซึ่งในที่สุดก็นอนจมกองดินเช่นเดียวกัน ไม่ว่าศพไพร่หรือศพผู้ดีต่างก็มีจุดจบเดียวกันคือความตาย แม้บางคนจะเสียดายอาลัยชีวิต ไม่อยากตาย แต่ก็ไม่มีใครฝืนความจริงข้อนี้ได้

7 “ดวงเอ๋ยดวงจิต ลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย
การแสดงสัจธรรมของชีวิต คือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความตายได้ การดำเนินชีวิตจึงควรรู้จักปล่อยวาง ไม่ควรยึดติดกับสิ่งใด ๆ “ดวงเอ๋ยดวงจิต ลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง ละถิ่นที่สำราญเบิกบานจิต ซึ่งเคยคิดใฝ่เฝ้าเป็นเจ้าของ หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปอง ไม่ผินหลังเหลียวมองด้วยซ้ำเอย”

8 เมื่ออ่านกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจะให้ความรู้สึกและอารมณ์ คือ อารมณ์สะเทือนใจเกี่ยวกับชีวิต ความตาย วังเวงใจ บรรยากาศในยามใกล้ค่ำ ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจมากขึ้น ซึ่งนับว่ากวีสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมไปกับบทกวีได้เป็นอย่างดี “วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย”

9 ตัวอย่างบทวิเคราะห์กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
“นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย” กล่าวถึงเสียงจิ้งหรีดเรไรร้อง มีเสียงเกราะแว่ว ๆ เสียงนกแสกร้องบนหอระฆัง หลังคามีเถาวัลย์รุงรัง นอกจากทำให้เห็นภาพแล้ว ยังสะท้อนความเงียบเหงา วังเวง จนทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ

10 ๒. การใช้คำอุปมา เปรียบเทียบชัดเจน
๓. ใช้คำเพื่อบรรยาย ให้เห็นภาพ และได้ยินเสียง ๑. การใช้คำเลียน เสียงธรรมชาติ ๔. การซ้ำคำ เพื่อเน้นความหมาย ๕. การเล่นสัมผัสพยัญชนะ และสัมผัสสระ

11 ตัวอย่างบทกลอนที่มีการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
“ยามเอ๋ยยามนี้ ปถพีมืดมัวทั่วสถาน อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาล สงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง มีก็แต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง! ร้องขรมระงมเสียง คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะ! เพียง รู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่วเอย”

12 ๑. ทุกคนต้องตาย และทุกสถานที่ย่อมเคยมีผู้เสียชีวิต
๒. เมื่อตายแล้วไม่สามารถนำสิ่งใดไปได้ จึงควรละวางไม่ยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ

13 ๒. เมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวให้มีความสุข และทำแต่ความดี
๑. อย่าลุ่มหลงในสิ่งที่มีและอย่าทะเยอทะยานจนเกินตัว เพราะสุดท้ายเราก็ต้องตายจากสิ่งเหล่านั้นไป


ดาวน์โหลด ppt กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google