งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงงานวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑ ครูที่ปรึกษา นายศตวรรษ โยวาศรี โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงงานวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑ ครูที่ปรึกษา นายศตวรรษ โยวาศรี โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงงานวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑ ครูที่ปรึกษา นายศตวรรษ โยวาศรี โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘

2 คำนำ รายงานเรื่อง ขัตติยพันธกรณี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาในเรื่องการทำสงครามในสมัย ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักเรียนควรจะศึกษาและเรียนรู้เพื่อที่จะได้ทราบความเป็นมาในอดีต ประโยชน์ที่จะได้จากการศึกษารายงานเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้ทราบการต่อสู้ระหว่างไทยกับเรือรบอังกฤษ สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากรายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อย ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทำ เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑

3 กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ขอขอบคุณ คุณครูศตวรรษ โยวาศรี ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้แนะนำวิธีการจัดทำโครงงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การจัดทำรูปเล่ม กลุ่มผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของครูที่ปรึกษาเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณ เพื่อนๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ ที่ให้กำลังใจและให้คำแนะนำ ขอขอบคุณ ผู้ปกครองของสมาชิกกลุ่มที่ ๑ ทุกท่าน ที่ ให้ความใส่ใจและความสะดวกในการเดินทางมาทำโครงงานนี้ คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจสำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานต่อไป

4 ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ชื่อผู้จัดทำ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑ ครูที่ปรึกษา : คุณครูศตวรรษ โยวาศรี สถานศึกษา : โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๘ ปีการศึกษา : ๒๕๖๐

5 บทคัดย่อ การศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านเนื้อหา ๒. เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม ๓. เพื่อศึกษาคำประพันธ์ (สามก๊ก ศึกษาตัวละคร) ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๔. เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ผลการศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี สามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังต่อไปนี้

6 วัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณีในด้านเนื้อหา สรุปได้ว่าอังกฤษและฝรั่งเศสต้องการยึดครองประเทศราชของไทย ฝรั่งเศสได้เวียดนามและกัมพูชาเป็นอาณานิคมและพยายามยึดหัวเมืองลาวจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง ฝรั่งเศสยื่นคำขาดหลายประการแต่ไทยตอบล่าช้าจึงเข้าปิดอ่าวไทย บทสรุปของความขัดแย้ง คือ ทั้งสองฝ่ายลงนามสนธิสัญญากรุงเทพฯ ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งแม่น้ำโขนและยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน ๑๔ ปีต่อมา จึงได้ยุติลง แม้จะสูญเสียไปบางส่วนแต่ก็ยังรักษาแผ่นดินใหญ่ไว้ได้ วัตถุประสงค์ข้อที่สอง เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม สรุปได้ว่า มีคุณค่าที่สะท้อนความคิด ความเชื่อ ของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี และมีอารมณ์ที่ช่วยปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติรักษาแผ่นดินไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป วัตถุประสงค์ข้อที่สาม เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี สรุปได้ว่า มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลายเป็นแบบอย่างของการแต่งลิลิต ไพเราะด้วยสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระและอักษร การล่นคำซ้ำคำ มีการใช้ภาพพจน์ต่างๆ ทั้งอุปมา อุปลักษณ์ อัพภาส ฯลฯ วัตถุประสงค์ข้อที่สี่ เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี สรุปได้ว่ามีคำศัพท์ทั้งหมด ๓๖ คำ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้ จำแนกตามชนิดของคำ ได้แก่ คำนาม ๑๘ คำ กริยา ๑๑คำ วิเศษณ์๕คำ สรรพนาม ๑ คำ กลุ่มคำนาม ๑ คำ จำแนกตามการสร้างคำ ได้แก่ คำประสม ๒ คำ คำซ้อน๑คำ คำสมาส ๒ คำ กลุ่มคำนาม ๑ คำ อีก ๒๙ คำ เป็นคำมูล จำแนกตามภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ๑๘ คำ ภาษาบาลี ๕ คำ ภาษาบาลี/สันสกฤต ๔ คำ ภาษาสันสกฤต ๔ คำ ภาษาเขมร๓คำ ภาษามลายู๑คำ และภาษาอังกฤษ๑คำ

7 ที่มาและความสำคัญ วรรณคดีคือ หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีลักษณะเด่นในเชิงประพันธ์ มีคุณค่าสูงในด้านความคิด อารมณ์และความเพลิดเพลิน ทำให้ผู้อ่านความงาม ความไพเราะ เกิดความซาบซึ้งกินใจ วรรณคดีจึงมีความงดงามด้านศิลปะช่วยยกระดับจิตใจความรู้สึกและภูมิปัญญาของผู้อ่านให้สูงขึ้น วรรณคดีจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง วรรณคดีเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันล้ำค่าของมนุษย์มนุษย์สร้างและสื่อสารเรื่องราวของชีวิต วัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อนความเป็นมนุษย์ด้วยกลวิธีการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษา ซึ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เสถียรโกเศษ (๒๕๑๖) พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงความสำคัญของวรรณคดีไว้ในหนังสือประชุมเรื่องพระรามและแง่คิดจากวรรณคดีว่า โลกจะเจริญก้าวหน้ามาได้ไกลก็เพราะวิทยาศาสตร์ แต่ลำพังวิทยาศาสตร์เท่านั้นไม่ครอบคลุมไปถึงความเป็นไปในชีวิตที่มีอารายธรรมและวัฒนธรรมสูง เราต้องมีศาสนา เราต้องมีปรัชญา เราต้องมีศิลปะ และเราต้องมีวรรณคดีด้วย สิ่งเหล่านี้ย่อมนำสาแต่ความดีงาม นำความบันเทิงมาให้แกจิตใจให้เราคิดงาม เห็นงาม ประพฤติงาม มีความงามเป็นเจ้าเรือน แนบสนิทอยู่ในสันดาน ศิลปะและวรรณคดีนี้แหละคือแดนแห่งความเพลิดเพลินใจ ทำให้มีใจสูงเหนือใจแข็งกระดาษเป็นแดนที่ทำให้ความแข็งกระดาษต้องละลายสูญหายกลายเป็นมีใจงาม ละมุนละม้อมเพียบพร้อมไปด้วยคุณงามความดีวรรณคดีมีความสำคัญทางด้านการใช้ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน การสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม กฎระเบียบคำสอน และเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีให้เกิดในกลุ่มชนและให้ความจรรโลงใจ นอกจากจะให้คุณค่าในด้านอรรถรสของถ้อยคำให้ผู้อ่านเห็นความงดงามของภาษาแล้วยังมีคุณค่าทางสติปัญญาและศีลธรรมอีกด้วย

8 วรรณคดีจึงมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน ๒ ประการคือ ๑
วรรณคดีจึงมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน ๒ ประการคือ ๑. คุณค่าทางสุนทรียภาพหรือความงาม สุนทรียภาพหรือความงามทางภาษาเป็นหัวใจของวรรณคดีเช่น ศิลปะของการแต่งทั้งการบรรยาย การเปรียบเทียบ การเลือกสรรถ้อยคำให้มีความหมายเหมาะสม กระทบอารมณ์ผู้อ่าน มีสัมผัสให้เกิดเสียงไพเราะ เป็นต้น ๒. คุณค่าทางสารประโยชน์เป็นคุณค่าทางสติปัญญาและสังคมตามปกติวรรณคดีจะเขียนตามความเป็นจริงของชีวิต ให้คติสอนใจแก่ผู้อ่าน สอดแทรกสภาพของสังคม วัฒนธรรมประเพณี ทำให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์เข้าใจโลกได้กว้างขึ้น ปัจจุบันเยาวชนไทยสมัยใหม่ไม่ค่อยสนใจเรื่องวรรณคดีไทยเท่าที่ควร และอาจจะมีคำศัพท์บางคำที่ยากเกินไปจนทำให้เข้าใจยาก และเกิดจากการไม่สนใจดูแลรักษาไว้ คณะผู้จัดทำจึงศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี เพราะจะได้เรียนรู้คำศัพท์โบราณหรือคำศัพท์ที่ไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน เพื่ออนุรักษ์คำศัพท์เหล่านี้ไว้ และเพื่อให้ได้ทราบถึงความยากลำบากของบรรพบุรุษในอดีต

9 วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านเนื้อหา ๒. เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม ๓. เพื่อศึกษาคำประพันธ์ (สามก๊ก ศึกษาตัวละคร) ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๔. เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ได้รู้จักและรู้ความหมายของคำศัพท์ในวรรณคดีมากขึ้น ๒.มีความรู้ความเข้าใจในการแต่งโคลงสี่สุภาพ อินทรวิเชียรฉันท์ ๓.ได้ทราบและมีความเข้าใจในเรื่อง ขัตติยพันธกรณี

10 ขอบเขตการศึกษา การศึกษา วิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี มีขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้ ๑. ของเขตด้านเนื้อหา ๑.๑ วิเคราะห์เนื้อเรื่องวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ตามองค์ประกอบในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๑.๒ วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม ๑.๒ คำประพันธ์และการแต่งคำประพันธ์ในวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๑.๔ คำศัพท์ยากที่ปรากฏในวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๒. ขอบเขตด้านเวลา วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ถึง วันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

11 เอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่องการศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. ความหมายของวรรณคดีไทย ๒. ลักษณะของหนังสือที่เป็นวรรณคดี ๓. หลักการพินิจและวิจารณ์วรรณคดี ๔. หลักการพินิจและวิจารณ์วรรณคดี ๕. ประวัติผู้แต่งเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๖. ลักษณะของคำประพันธ์ ๗. คุณค่าของวรรณคดี ๗.๑ คุณค่าด้านอารมณ์ ๗.๒ คุณค่าด้านวัฒนธรรม

12 ความหมายของวรรณคดีไทย เนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดีกับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า"วรรณคดี"ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๗ ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ" (เช่น เรียกเรื่องท้าวเจืองท้าวฮุ่งที่ทางเวียงจันทร์ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า "หนังสือเจียง" หรือเรียกเรื่องมหาภารตะว่า "หนังสือมหาภารตะ" เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อผู้แต่งกับชื่อลักษณะคำประพันธ์และประเภทของเนื้อหา (เช่น นิราศนรินทร์คำโคลงหรือนิราศพระยาตรัง เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อลักษณะคำประพันธ์และเหตุการณ์หรือโอกาสที่ทำให้เกิดเรื่องนั้นๆ ขึ้น (เช่น เพลงยางหรือกลอนนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง หรือโคลงนิราศเวียงจันทร์ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร เป็นต้น) (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. ๒๕๔๑ : ๑๕) และคำว่า"วรรณคดี" นี้รู้จักกันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ทรงตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น วัตถุประสงค์ของสโมสรนี้ก็เพื่อส่งเสริมการประพันธ์การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวรรณคดีคือ การพิมพ์เผยแพร่วรรณคดีโบราณ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ทวาทศมาส และนิราศพระยาตรัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตรวจคัดหนังสือที่แต่งดีเพื่อรับพระบรมราชานุญติประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว หนังสือใดที่โบราณคดีสโมสรนี้ประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วก็ได้ชื่อว่าเป็น"วรรณคดี" ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็น "หนังสือดี"ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๐ คำว่า "วรรณคดี" จึงได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือเช่นเดียวกับกิจการของโบราณคดีสโมสร และงานที่สำคัญของวรรณคดีสโมสรนี้ก็คือการพิจารณายกย่องหนังสือสำคัญของชาติว่าเรื่องใดเป็นยอดทางไหน (สิทธา พินิจภูวดล และนิตยากาญจนะวรรณ. ๒๕๑๐ : ๑-๓) สำหรับคำว่า "วรรณคดี" ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลายดังนี้

13 คำว่า"วรรณคดี" ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำว่า "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติแปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (๒๕๓๙ : ๗๕๔) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี สิทธา พินิจภูวดล , รื่นฤทัย สัจจพันธ์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (๒๕๒๔ : ๑) ได้อธิบายเพิ่มเติมความหมายของวรรณคดีที่ว่าเป็นหนังสือแต่งดี นั้นได้แก่ บทประพันธ์ทุกชนิดที่ผู้แต่งมีวิธีเขียนที่ดีมีศิลปะก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่านสร้างความสนุกเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่าน ๒)ทำให้ผู้อ่านมีมโนภาพไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจไปตามความรู้สึกของผู้แต่ง บางครั้งผู้แต่งจะสอดแทรกความรู้และทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ ลงในงานของเขา แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้แต่งมุ่งให้ความรู้หรือมุ่งสอนปรัชญา ศีลธรรม หรือเรื่องของชีวิต ทั้งนี้เพราะวรรณคดีไม่ใช่ตำราซึ่งมุ่งสอนความรู้เป็นสำคัญ ถ้าตำราเล่มใดมีลักษณะเป็นวรรณคดีก็จะได้รับการยกย่อง เช่น ไตรภูมิพระร่วง ปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น วรรณคดีเป็นที่รวมความรู้สึกนึกคิดความรอบรู้ ความฉลาดและสติปัญญาอันลึกซึ้งคนที่อ่านวรรณคดีก็จะได้รับถ่ายทอดความฉลาดรอบรู้ไว้ด้วยมากบ้างน้อยบ้าง ชลธิรากลัดอยู่ (อ้างถึงใน สนิท ตั้งทวี. ๒๕๒๘ : ๑)อธิบายว่า วรรณคดีมีความหมายที่ใช้กันทั่วไปสองประการ คือ ความหมายประการแรกได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงออกมาเป็นตัวหนังสือหรือนัยหนึ่งหมายถึงหนังสือทั่วไปนั่นเอง แต่มีเงาความหมายว่าเป็นหนังสือเก่าถือเป็นมรดกที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ส่วนความหมายที่สอง มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า "กวีนิพนธ์"คือถือว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องแล้วจากกลุ่มคนที่นับว่าเป็นคนชั้นนำในวงการหนังสือ มีนัยลึกลงไปอีกว่ามีคุณค่าสูงส่งเข้าขั้นวรรณศิลป์คือเป็นแบบอย่างที่ยกย่องเชิดชูกันต่อไป

14 เจือ สตะเวทิน (๒๕๑๔: ๘)กล่าวว่า วรรณคดี คือหนังสือหรือบันทึกความคิดที่ดีที่สุดด้วยท่วงทำนองเขียน (Style) ที่ประณีตบรรจงครบองค์แห่งศิลปะของการเขียน สามารถดลใจให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดความปิติเพลิดเพลิน มีความรู้สึกร่วมกับผู้แต่ง เห็นจริงเห็นจังกับผู้แต่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า มีความสะเทือนอารมณ์ทั้งต้องประกอบไปด้วยคุณค่าสาระอีกด้วย วิทย์ศิวะศริยานนท์(๒๕๑๙: ๕)อธิบายว่า บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่ มุ่งให้ความเพลิดเพลินให้เกิดความสานึกคิด (Imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียนนอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ (Form) และรูปศิลปะนี้เองที่ทำให้วรรณคดีมีความงาม ศุภชัย รัตนโกมุท และสะอาด อินทรสาลี (๒๕๑๘ : ๒)กล่าวว่า วรรณคดีคือหนังสือแต่งดีได้รับยกย่องจากผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าแต่งดี จะเป็น "ร้อยแก้ว" เช่น สามก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือจะเป็น "ร้อยกรอง" เช่น ลิลิตพระลอ หรือบทละครเรื่องอิเหนา ของรัชกาลที่ ๒ ก็ได้ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า วรรณคดีเป็นนามธรรมที่เราตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่อักษรศาสตร์ กวีได้ใช้ความสามารถรจนาเรื่องนั้น ๆ ขึ้น เช่น จัดวรรคคำเสียงคำให้ได้ความหมาย เกิดอารมณ์ เกิดสุนทรียะ ได้อ่านเรื่องแล้วรู้สึกเพลิดเพลินเกิดอารมณ์คล้อยตามท้องเรื่อง ส่งเสริมความรอบรู้มีสำนวนโวหารงดงาม ไพเราะ คมคาย จูงใจให้เกิด ความซาบซึ้ง เพราะใช้คำได้เหมาะกับโอกาส เหตุการณ์ เป็นต้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (๒๕๐๖ : ๓) ทรงให้คำจำกัดความของวรรณคดีไว้ว่า "วรรณคดีโดยแท้ เป็นศิลปกรรมหรือสิ่งสุนทร ซึ่งนักประพันธ์มีความรู้สึกนึกคิดอย่างใดแล้วก็ระบายภาพให้ผู้อ่านได้ชมความงามตามที่นักประพันธ์รู้สึกนึกคิดไว้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมาย ของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ( ๒๕๑๗ : ๑๙๐)

15 ที่กล่าวว่า งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีมักจะได้รับการยกย่องในทางความงามและทางความดีด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (๒๕๐๖ : ๓) ทรงให้คำจำกัดความของวรรณคดีไว้ว่า "วรรณคดีโดยแท้ เป็นศิลปกรรมหรือสิ่งสุนทร ซึ่งนักประพันธ์มีความรู้สึกนึกคิดอย่างใดแล้วก็ระบายภาพให้ผู้อ่านได้ชมความงามตามที่นักประพันธ์รู้สึกนึกคิดไว้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมาย ของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ( ๒๕๑๗ : ๑๙๐) ที่กล่าวว่า งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีมักจะได้รับการยกย่องในทางความงามและทางความดีด้วย พระยาอนุมานราชธน (๒๕๑๕ : ๘)ได้ให้ความหมายว่า วรรณคดีในความหมายอีกนัยหนึ่ง หมายถึงบทประพันธ์ซึ่งมีลักษณะเด่นในเชิงประพันธ์มีค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่านผู้ฟังคือวรรณคดีมีวรรณศิลป์ ดั่งนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

16 ลักษณะของหนังสือที่เป็นวรรณคดี ๑
ลักษณะของหนังสือที่เป็นวรรณคดี ๑. มีโครงเรื่องดีชวนอ่าน มีคุณค่าสาระและมีประโยชน์ ๒. ใช้สำนวนภาษาที่ประณีต มีความไพเราะ ๓. แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์ ๔. มีรสแห่งวรรณคดีที่ผู้อ่านคล้อยตาม “วรรณคดีมรดก” หมายถึง วรรณคดีที่บรรพบุรุษหรือกวีสมัยก่อนแต่งเอาไว้และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมนั้นตกทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเปรียบเสมือนมรดกอันล้ำค่าของชาติที่บรรพบุรุษมอบไว้แก่อนุชนรุ่นหลังให้เห็นความสำคัญของวรรณคดีมรดกวรรณคดีมรดกมักจะแสดงภาพชีวิตของคนในสมัยก่อนที่มีการประพันธ์วรรณคดีเรื่องนั้นๆโดยไม่ปิดบังส่วนที่บกพร่อง ทั้งยังแทรกแนวคิด ปรัชญาชีวิตของกวีไว้ด้วยวรรณคดีมรดกมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ สังคม อารมณ์ วรรณศิลป์ ตลอดจนให้คติสอนใจนับเป็นมรดกทางปัญญาของคนในชาติขนบของการแต่งวรรณคดีมรดก ๑. ขนบการแต่งวรรณคดีมรดก ขนบหมายถึง ธรรมเนียมนิยม “ขนบวรรณคดี” หมายถึงธรรมเนียมนิยมในการแต่งวรรณคดีที่นิยมปฏิบัติกัน ได้แก่ ๑.๑ รูปแบบและเนื้อหา รูปแบบที่นิยมได้แก่ ลิลิต นิราศ เพลงยาว บทละคร โคลง ฉันท์ กาพย์กลอน และร่าย รูปแบบและเนื้อหาจะต้องเหมาะสมกันเช่น ถ้าเป็นการสดุดีวีรกรรม ของกษัตริย์ หรือวีรบุรุษ จะแต่งเป็นนิราศหรือเพลงยาวเป็นต้น

17 ๑.๒ เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับศาสนาเพื่อสั่งสอน สดุดีวีรกรรมของวีรบุรุษหรือเพื่อระบายอารมณ์ ๑.๓ ลักษณะการเขียนจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู สดุดีกษัตริย์ กล่าวชมบ้านเมือง แล้วดำเนินเรื่องหากเป็นวรรณคดีที่มีการทำสงครามจะมีบทจัดทัพด้วย ๑.๔ การใช้ถ้อยคำจะเลือกใช้ถ้อยคำที่สละสลวยมีความหมายที่ทำให้ผู้อ่านเกิด ความซาบซึ้งและประทับใจ

18 หลักการพินิจและวิจารณ์วรรณคดี การวิจารณ์หมายถึงการพิจารณาเพื่อเป็นแนวในการตัดสินว่าสิ่งใดดีหรือสิ่งใดไม่ดีการวิจารณ์วรรณคดีจะต้องพิจารณาทุกขั้นตอน ทุกองค์ประกอบของงานเขียนมีการแยกแยะตั้งแต่การใช้ถ้อยคำสำนวน ภาษา รูปประโยคเนื้อเรื่อง แนวคิดการนำเสนอเนื้อหา และคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์และคุณค่าทางด้านสังคม คุณค่าทางวรรณศิลป์ได้แก่ การพิจารณาศิลปะและรูปแบบงานประพันธ์โดยพิจารณาจากศิลปะในการแต่งทั้งบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง มีกลวิธีในการแต่งมีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหา มีความน่าสนใจและมีความคิดอย่างสร้างสรรค์ ใช้สำนวนในการแต่งมีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหา มีความน่าสนใจและมีความคิดอย่างสร่างสรรค์ ใช้สำนวนภาษาสละสลวยสื่อความหมายได้ชัดเจน คุณค่าด้านสังคม เป็นการพิจารณาจากการที่ผู้ประพันธ์มักแสดงภูมิปัญญาของตน ค่านิยม และจริยธรรมที่สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมได้มากน้อยเพียงใด หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างไรมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมหรือประเทืองปัญญาของตนในสังคมช่วยอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าของชาติบ้านเมืองและมีส่วนช่วยสนับสนุนค่านิยมอันดีงาม เป็นต้น การพิจารณาวรรณคดีคือ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีเล่มใดเล่มหนึ่งอย่างสั้นๆ โดยมีเจตนานำวรรณคดีนั้นให้ผู้อ่านรู้จักว่ามีเนื้อเรื่อง มีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างไร ผู้พินิจมีความคิดเห็นอย่างไรต่อวรรณคดีเรื่องนั้นๆ ชอบหรือไม่ชอบ เพราะเหตุใด

19 ในการพินิจหรือวิจารณ์วรรณคดีมีหลักการดังนี้ ๑
ในการพินิจหรือวิจารณ์วรรณคดีมีหลักการดังนี้ ๑. แยกองค์ประกอบของหนังสือหรือวรรณคดีที่วิจารณ์ให้ได้ ๒. ทำความเข้าใจกับองค์ประกอบที่แยกออกมาให้แจ่มแจ้งชัดเจน ๓. พิจารณาหรือวิจารณ์วรรณคดีในหัวข้อต่อไปนี้ ๓.๑ ประวัติความเป็นมา ๓.๒ ลักษณะของการประพันธ์ ๓.๓ เรื่องย่อ ๓.๔ การวิเคราะห์เรื่อง ๓.๕ แนวคิดและจุดมุ่งหมายในการแต่ง ฉาก ตัวละครและการใช้ภาษา ๓.๖ คุณค่าด้านต่างๆ

20 การอ่านวรรณคดีเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ การอ่านวรรณคดีผู้อ่านควรมีจุดประสงค์ในการอ่านเช่น การอ่านเพื่อฆ่าเวลาเป็นการอ่านที่ไม่ต้องวิเคราะห์ว่าหนังสือนั้นดีเลวอย่างไร การอ่านเพื่อความเจริญทางจิตใจ เป็นการอ่านเพื่อให้รู้เนื้อเรื่องได้รับรสแห่งวรรณคดี การอ่านเพื่อหาความรู้เป็นการอ่านเพื่อเพ่งเล็งเนื้อเรื่อง ค้นหาความหมาย และหัวข้อความรู้จากหนังสือที่อ่าน การอ่านเพื่อพินิจวรรณคดีจะต้องอ่านเพื่อหาความรู้และเพื่อความเจริญทางจิตใจ จะต้องอ่านด้วยความรอบคอบ สังเกตและพิจารณาตัวอักษรที่อ่านและต้องสามารถทราบว่าวรรณคดีที่อ่านเป็นวรรณคดีประเภทใด เช่น คำสอน สรรเสริญวีรบุรุษของชาติ การแสดงอารมณ์บทละคร นิทาน และยังต้องพิจารณาเนื้อเรื่องและตัวละครว่าเนื้อเรื่องนั้นเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไรมีแนวคิดอย่างไร ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร สุนทรียภาพแห่งบทร้อยกรองเป็นอย่างไร เช่น การใช้ถ้อยคำเหมาะสม มีความไพเราะและสร้างมโนภาพแจ่มชัดมากน้อยเพียงใดเป็นต้น ในการอ่านวรรณคดีประเภทร้อยกรองจะได้รับรสเต็มที่ บางครั้งผู้อ่านจะต้องอ่านออกเสียงอย่างช้า ๆ หากเป็นบทร้อยกรองและอ่านเป็นทำนองเสนาะด้วยแล้ว จะทำให้ผู้อ่านได้รับรสแห่งถ้อยคำทำให้เกิดจินตภาพได้รับความไพเราะแห่งเสียงไปด้วยในการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีนั้น ต้องฝึกตีความหมายของบทร้อยกรอง ในชั้นแรกจะต้องศึกษาตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์จากการตีความหรืออ่านจากหนังสือที่วิเคราะห์วิจารณ์และตีความวรรณคดีจากนั้นจึงต้องฝึกวิเคราะห์วิจารณ์พิจารณาอย่างรอบคอบ การตีความแนวคิดในเรื่องวรรณคดีนั้นไมจำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการมองและประสบการณ์ของผู้ตีความ

21 พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๐กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๓ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) เป็นพระมหากษัตริย์สยามรัชกาลที่ ๕แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐แรม ๓ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ขึ้น ๑๕ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ปี ๒๒วัน เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑แรม ๔ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ด้วยโรคพระวักกะสิริรวมพระชนมายุ ๕๘ พรรษา ( วรรณคดีวิจักษ์ . ๒๕๕๑ : หน้า ๑๖๓ -๑๖๔ ) ลักษณะของคำประพันธ์ ส่วนแรก โคลงสี่สุภาพ จำนวน ๗ บท โคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์ ส่วนที่สอง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๒๖ บทอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๔ บท อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนคล้ายกับกาพยานี ๑๑ เพียงแต่เพิ่ม ครุ ลหุ เข้า

22 คุณค่าด้านคุณธรรม เมื่อพิจารณาวรรณคดีไทยโดยเฉพาะวรรณคดีโบราณแล้ว จะพบว่ากวีมีความตั้งใจ ที่จะแสดงคุณธรรมไว้ในผลงานของตนเอง อาจเป็นทางตรง เช่น วรรณคดีคำสอน หรืออาจเป็นทางอ้อมเช่นวรรณคดีบันเทิงที่จบด้วยข้อคิดหรือคติเตือนใจ ตัวอย่างของประเภทแรก จะพบได้จากวรรณคดีในยุคที่คนไทยกำลังจะสร้างบ้านเมือให้เป็นปึกแผ่นเช่น ในสมัยสุโขทัย เป็นต้น สังคมที่มีคนดีมีคุณธรรมมักอยู่กันได้อย่างสงบสุขและทำให้สังคมก้าวหน้า วรรณคดีที่ปลูกฝังคุณธรรมจึงเป็นที่นิยม เราจึงมีเรื่องที่สอนให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว เช่น ไตรภูมิพระร่วง และที่สอนหลักการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น สุภาษิตพระร่วง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อมีการฟื้นฟูศิลปะต่างๆ ที่สูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็มีการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมด้วย วรรณคดีส่วนหนึ่งในสมัยนั้นจึงมีเนื้อหาและแนวคิดที่เป็นคติและข้อแนะนำในการดำเนินชีวิตและการวางตัวในสังคม เช่น คำสอนต่างๆในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ โคลงโลกนิติ และอิศรญาณภาษิต เป็นต้น ส่วนวรรณคดีบันเทิงที่กวีแฝงคำสอนไว้อย่างอ้อมๆนั้น อาจปรากฏในคำพูดของตัวละครที่ทำให้ผู้อ่านจดจำต่อๆกันมาจนกลายเป็นคติสอนใจ เช่น คำสอนของฤๅษีในเรื่องพระอภัยมณี ฤๅษีเห็นว่าสุดสาครไว้ใจผู้อื่นมากเกินไปจึงเสียทีชีเปลือย ชีเปลือยหลอกพาสุดสาครไปเรียนมนตร์บนเขา แล้วผลักตกเหวและลักไม้เท้ากับม้านิลมังกรไป ฤๅษีมาช่วยสุดสาคร “แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน”นอกจากนั้นกวียังอาจแสดงให้เห็นผลของการกระทำที่ตัวละครควรได้รับเป็นการลงโทษ เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจผู้อ่านต่อไป ตัวอย่างเช่นเรื่องของนนทกในรามเกียรติ์เตือนสติเราได้ว่าผู้ที่ลืมตัวเพราะความอวดเก่งไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจอาจต้องพินาศด้วยน้ำมือของตนเอง นนทกมีนิ้วเพชรเป็นอำนาจพิเศษไว้ป้องกันตัว นิ้วเพชรนั้นสามารถชี้ศัตรูให้ตายได้ แต่ต่อมานนทกลืมตัว“ใจกำเริบอหังการ”จนไม่คิดใคร่ควรก่อนจะใช้อำนาจนั้น จึงทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว นนทกจึงถูกลงโทษโดยหลงกลของพระนารายณ์

23 ใช้นิ้วเพชรนั้นชี้ที่ขาตนเองทำให้เพลี่ยงพล้ำแก่พระนารายณ์ในที่สุด การอ่านวรรณคดีโดยวิเคราะห์คุณค่าทั้งด้านอารมณ์และด้านคุณธรรมเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตมนุษย์ได้มากขึ้น ปฏิกิริยาที่ตัวละครในวรรณคดีแสดงออกก็เหมือนที่มนุษย์ทั่วไปพึงมี เพียงแต่อาจต่างไปเพราะเงื่อนไขที่กำหนดด้วยค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยและถิ่นที่ วรรณคดีมิได้เกิดจากจินตนาการอย่างเดียว ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์เอง สิ่งที่กวีหรือนักเขียนถ่ายทอดไว้ในผลงานก็มุมมองที่เขามีต่อชีวิตหรือบทวิจารณ์ที่เขามีต่อชีวิตที่เขาประสบ บทวิจารณ์ชีวิตของพระอภัยมณี ขุนแผน พระราม ฯลฯ ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีโบราณ ก็คือเรื่องของมนุษย์ที่มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง แต่แสดงออกต่างๆกันไปตามแต่จะถูกกำหนดด้วยบทบาทชีวิตของนนทกอาจชวนให้เราฉงนว่าจริงหรือที่นนทกต้องพินาศเพราะ “ใจกำเริบอหังการ” เมื่อได้อ่านแล้วคิดตามไป เราก็น่าจะได้อะไรจากการอ่านวรรณคดีโบราณมากกว่าเพียงการอ่านเอาเรื่องเพื่อความบันเทิงใจอย่างเดียว และขณะที่เรากำลังสัมผัสความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในครั้งกระโน้น เราอาจจะรู้สึกว่าความคิดอย่างนี้ ความรู้สึกอย่างนี้บางครั้งก็เกิดขึ้นในใจเรา หรือในใจของคนใกล้ชิดกับเราเหมือนกัน

24 วิธีการดำเนินการศึกษา
การศึกษาโครงงานเรื่อง ขัตติยพันธกรณี มีวิธีการดำเนินการดังต่อไปนี้ ขั้นเตรียมการ ๑. เลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา ๒. จัดทำเค้าโครงโครงงาน ๓. จัดทำตารางเวลาในการทำงาน ๔. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาโครงงาน ขั้นตอนดำเนินงาน ดำเนินงานตามตารางดังต่อไปนี้

25 ผลการศึกษา จากการศึกษาวรรณคดีเรื่องขัตติยพันธกรณี เพื่อจัดทำโครงงานและหลังจากศึกษาแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านเนื้อหา ๒. เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม ๓. เพื่อศึกษาคำประพันธ์ (สามก๊ก ศึกษาตัวละคร) ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๔. เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ผลการศึกษา จากการศึกษาวรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี หลังจากกาศึกษาแล้วได้ผลดังนี้ บทวิเคราะห์ วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ทวีปยุโรปเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเติบโตของลัทธิจักรวรรดินิยมที่นำไปสู้การแผ่อิทธิพลของชาติตะวันตกในภูมิภาคต่างๆของโลก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ประเทศต่างๆ ในเอเชียต้องเผชิญกับการคุกคามจากธรรมชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งกำลังขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเต็มที่ นอกจากทั้งสองชาติจะแข่งขันแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมในประเทศไทยแล้ว

26 ยังมีเป้าหมายที่จะยึดครองราชย์ของไทยอันได้แก่ กัมพูชา ลาว และดินแดนในแหลมมลายูตอนเหนือด้วยหลังจากฝรั่งเศสได้กัมพูชาและเวียดนามเป็นอาณานิคม ก็เร่งสำรวจหัวเมืองลาวและพยายามจะขยายอาณาเขตของตนออกไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทางด้านหลวงพระบางนี้เอง เริ่มต้นด้วยการกระทบกระทั่งกันของกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย และต่อมาได้ขยายวงกว้างออกไปถึงเรื่องคนในบังคับและธุรกิจของคนในบังคับ ขณะที่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผู้แทนทางการทูตทั้งสองประเทศได้พยายามเจรจาเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาแต่ไม่สำเร็จ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ กอง … เป็นฝีที่ตะโพกข้างหนึ่ง มีเส้นสันระหว่างหน้าแข้งกับท้องน่องข้างหนึ่งซึ่งใครๆ เขาก็ร้องว่าไม่เป็นไร แต่ตัวพ่อเองรู้สึกไม่สบายมากตัวร้อนแลดูเป็นพิษร้อนเหมืนฝาหอยใหญ่ๆ เท่าๆ ฝ่ามือพลั่งๆ ขึ้นมาในอก นอนก็ไม่ค่อยจะหลับเพราะต้องนอนหงายอยู่ท่าเดียว … ความลำบากที่จะต้องนอนแซ่วอยู่เช่นนั้น แลตัวร้อนอยู่เสมอๆ ภายหลังลงมาหลายๆชั่วโมง ก็ทำให้ได้ความลำบากเป็นอันมาก แต่ต้องนอนแผ่อยู่เช่นนี้ถึง ๒๐ วัน จนแผลที่ตะโพกหายลงขี้ผึ้ง เป็นแต่นอนทับยังเจ็บเนื้อใหม่อยู่ แต่ข้างซ้ายยังมีแผลลึกสักระเบียดหนึ่ง ซึ่งลดงกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก … ในเวลาที่ไม่สบายนั้นทำอะไรก็ไม่ได้ ให้กลัดกลุ้มในใจ มีร้อนเป็นเบื้องหน้า … พ่อได้รับหนังสือสองฉบับ อ่านเองก็ไม่ได้ลองดู ในเวลาเจ็บนี้พออ่านแล้วก็อาเจียน แลลืมเนื้อความด้วย … ในระหว่างที่ทรงพระประชวรหนักนี้ ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทั้งพระวรกายและพระทัยทำให้ทรงหมดกำลังที่จะดำรงพระชนม์ชีพต่อไป จึงหยุดเสวยพระโอสถและได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโครงและฉันท์ขึ้นบทหนึ่งเพื่อทรงลาเจ้านายพี่น้องบางพระองศ์ เช่น พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ซึ่งทรงเฝ้าพยาบาลพระอาการอยู่โดยตลอดและพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ได้ทรงพระนิพนธ์โครงสี่สุภาพ ๓ บทถวายตอบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ดังมีความตอนหนึ่งว่า

27 ประชวรนานหนักอกข้า ทั้งหลาย ยิ่งแล ทุกวิวาวัน บ วาย คิดแก้ สิ่งใดซึ่งจักมลาย พระโรค เร็วแฮ สุดยากเท่าใดแม้ มาท ม้วยควรแสวงฯ ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์อินทรวิเชียรฉันท์ จำนวน ๒๖ บทถวายตอบเช่นกัน ดังที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุลพระธิดาทรงบันทึกไว้ว่า … ตามธรรมดา เสด็จพ่อไม่ได้ทรงแต่งบทกลอนเล่นอยู่เสมอ นอกจากมีเหตุจำเป็นให้ทรงแต่ง … เสด็จพ่อตรัสเล่าว่า พอได้รับก็เขียนถวายตอบไปทันที ไม่มีร่างเก็บไว้ แต่มีคนเขาบอกว่า พอทรงจบแล้วก็กลับเสวยพระโอสถต่อไป และกลับเสด็จออกไปได้ในไม่ช้า … พระราชนิพนธ์โคลงและฉันท์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนิพนธ์ฉันท์ถวายตอบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นบทกวีที่ไม่มีชื่อ เนื่องจากกวีทั้งสองพระองค์มิได้ตั้งพระทัยจะแต่งขึ้นเพื่อจะเผยแพร่ให้ได้อ่านกันทั่วไป อย่างไรก็ตาม กวีนิพนธ์ทั้งสองบทนับได้ว่าเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าสูงและเป็นที่ประทับใจผู้อ่านได้ฟังเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทยชุด วรรณลักษณวิจารณ์ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๓๓ จึงได้คักเลือกมาให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายได้ศึกษา พร้อมทั้งได้ตั้งชื่อบทกวีนิพนธ์นี้ว่า ‘‘ ขัตติยพันธกรณี ” ซึ่งหมายความว่า เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ ต่อมาคณะผู้จัดทำหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักรษ์ เห็นสมควรให้นำบทกวีนิพนธ์เรื่องนี้มาเป็นบทเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และคงชื่อนี้ไว้เพราะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแล้ว ทั้งยังช่วยให้สะดวกในการอ้างอิงต่อไปด้วย

28 กลัวเป็นทวิราช บ ตริป้องอยุธยา ในบทพระราชนิพนธ์ส่วนแรกซึ่งประกอบด้วยโครงสี่สุภาพ ๗ บท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นต้นด้วยการแสดงความกังวลพระทัยที่ทรงพระประชวรอย่างหนักเป็นเวลานานทำให้เป็นเป็นเวลานานทำให้เป็นภาระอัน “หนักอกผู้บริรักษ์” ทั้งปวง ความกังวลพระทัยนื้เมื่อประกอบกับความ “เจ็บ” ทั้งพระวรกายและพระทัยของพระองค์ รวมทั้งมิทรงสามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างเต็มพระกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤติเช่นนั้น จึงทำให้พระทัย“บ มมีสบาย” เพิ่มอีกประการหนึ่ง จึงมีพระราชประสงค์ที่จะ “ลาลาญหัก” จากภพนี้เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ความเหน็ดเหนื่อยของผู้ที่เฝ้ารักษา พยาบาลและของพระองค์เอง ถึงกะนั้นก็ดี พระองค์ทรงตระหนักดีว่าพระองค์ยังไม่สามารถเสด็จไป “สู่ภพเบื้องหน้า” ตามพระทัยหมาย เพราะทรงมีภาระหน้าที่อันหนักยิ่งกว่าผู้ใดในแผ่นดิน คอต้องทรงปกป้องรักษาบ้านเมืองเอาไว้ให้แก่ประชาชนไทยทุกคน การที่ทรงใช้ภาพพจน์ประเภทอุปลักษณ์เปรียบภาระหน้าที่เป็นตะปูที่ยึดตรึงพระบาทของพระองค์ไว้ช่วยให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพอันแจ่มชัดว่าพระองค์ทรงตกอยู่ในความทุกข์อันแสนสาหัสเพียงใดและไม่ทรงสามารถปลดเปลื้องความทุกข์นั้นออกไปได้ ในพระราชนิพนธ์ส่วนที่สองซึ่งแต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายความรู้สึกเบื่อหน่าย หมดกำลังพระทัยที่จะทรงรักษาพระองค์อันเป็นผลมาจากพระอาการประชวรที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนาน และที่ทำให้ทรง “กลัดกลุ้ม” มากขึ้นไปอีกก็คือ ทรงทราบดีว่า แม้จะหายจากพระอาการประชวรและกลับมาทรงงานได้อย่างเต็มที่ ก็มิใช่ว่าจะทรงแก้ปัญหา “ศิระกลุ้มอุราตรึง” ลงได้ เพราะการหาทางป้องกันรักษาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากเงื้อมมือฝรั่งเศส เป็นเรื่องยากยิ่ง ดังที่ทรงพรรณนาว่า “ลำบากพระทัย” ยิ่งนักเพราะเมื่อทรง “ตริ” อย่างไร ก็จะถูก “ตรึง” “รึง”“เงื่อนสาย” การที่ทรงมองไม่ออกในการแก้ไขปัญหานี้ก่อให้เกิดความกังวลอันใหญ่หลวงที่สุดขึ้นในพระทัย คือทรงหวั่นไหวว่า หากทรงรักษาชาติไว้ไม่ได้

29 และต้อง “เสียเมือง” ไป พระองค์ก็จะทรงเป็นเช่นเดียวกับ “ทวิราช” คือสมเด็จพระมหินทราธิราชและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้ง และจะต้องทรงถูกติฉินตลอดไปว่าไม่สามารถประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของพระมหากษัตริย์คือการปกป้องรักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงให้เราเห็นว่า แม้พระองค์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทีพระปรีชาสามารถสูงยิ่งพระองค์หนึ่งของโลก แต่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่ง ที่เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์แสนสาหัส ก็หลีกไม่พ้นที่จะทรงเกิดความรู้สึกท้อถอยสิ้นหวัง จนไม่มีพระราชประสงค์ที่จะทรงดำรงพระชนม์ชีพต่อไป ดังความในพระหัตถเลขาว่า “ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด ชีวิตฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น” ต่อจากนี้ เราจึงควรอ่านพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วยความเพ่งพินิจว่าพระองค์ทรงใช้กลวิธีใดในการฟื้นพลังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ตายตาหลับ ด้วยชื่อนับว่าชายชาญ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเริ่มต้นพระนิพนธ์ของพระองค์ด้วยการถวายกำลังพระทัยแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงบรรยายให้เห็นว่าพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีที่ทรงปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ทรงตระหนักว่าพระอาการประชวรนั้นหนักหนาสาหัสเพียงใด ทรงมีความวิตกกังวล ห่วงใย และพร้อมที่จะสละเลือดเนื้อและชีวิตหากจะช่วยบรรเทาพระอาการประชวรลงได้ ดังข้อความว่า “เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้จะชิงถวาย” และมิใช่เพียงพระองค์ผู้ทรง “อยู่ใกล้” เท่านั้นที่เกิดความ “วิตกพ้นจะอุปมา” แต่ประชาชนทั่วไปทั้ง “ไผทสยาม” ก็เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกันต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง ดังปรากฏในคำประพันธ์ว่า “ทุกหน้าทุกตาดู บ พบผู้จะพึงสบาย ปรับทุกข์ทุรนทุราย กันมิเว้นทิวาวัน” หลังจากถวายกำลังพระทัยแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

30 กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ถวายข้อคิดว่า คนไทยทุกหมู่เหล่าซึ่งเปรียบเสมือนลูกเรือของเรือสยามกำลังตกอยู่ในภาวะสับสน ไม่รู้จะทำประการใด เริ่มตั้งแต่ “วะเหว่ว้า” “ฉงน” “คลางแคลง” “แหนง” “ระแวง” “อึดอัด” จนกระทั่งที่สุด ก็เกิด “ทุกข์ทวีทุกวันวาร” ทั้งนี้เพราะต้องอยู่ “บดียาน” คือพระองค์ทรงเป็นใหญ่ในเรือ จึงมิพักจะต้องทรงบรรยายต่อไปว่าหากขาดเรือ “กปิตัน” ที่ทรงเป็นทั้งผู้นำและศูนย์รวมจิตใจของชาติ ลูกเรือหรือประชาชนทั้งหลายจะตกอยู่ในสภาวะเช่นไร จากนั้นพระองค์ได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงตระหนักในสัจธรรมที่ว่า การดำเนินกิจการงานใดๆ ย่อมต้องพบอุปสรรคด้วยกันทั้งสิ้น โดยทรงใช้ภาพพจน์แบบอุปมา เปรียบเทียบ “บรรดากิจ” กับเรือที่แล่นไปในทะเล ซึ่งย่อมต้องเผชิญกับพายุเป็นธรรมดา การจะผ่านพายุไปให้พ้น ก็ต้องได้“แรงระดม” จากทั้งกัปตันและลูกเรือทุกคน คือต้องมีความร่วมมือร่วมใจและความอุตสาหะ พยายามอย่างถึงที่สุด เมื่อได้ทำเช่นนั้นแล้ว แม้เรือจะจมลง ทุกคนก็ยังมีความภูมิใจและย่อมได้รับคำสรรเสริญเรื่องความมานะบากบั่นกล้าหาญ การที่จะ “ทอดธุระนิ่ง บ วุ่นวิ่งเยียวยาทำ” ไม่ก่อผลดีอย่างใดเพราะเรือย่อมจะจมลงแน่นอน ทั้งยังจะถูกตำหนิด้วยว่า “ขลาดเขลาและเมาเมิน” ต่อจากการถวายข้อคิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอาสาถวายชีวิตรับใช้ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุดกำลัง สอดคล้องกับคติโบราณที่ว่า “อาสาเจ้าจนตัวตาย” และยังทรงขยายความต่อไปว่า แม้ชีวิตจะสูญไปก็จะ “ตายให้ตาหลับ ด้วยชื่อว่าชายชาญ” เพราะได้ประกอบกิจที่พึงกระทำโดยเต็มกำลังแล้ว เห็นได้ชัดว่าองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์มีพระประสงค์จะใช้ภาพพจน์นี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดพระขัตติยมานะที่จะต่อสู้กับอุปสรรคอย่างเต็มที่ หากมิใช่เพื่อให้สมกับที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ อย่างน้อยก็เพื่อให้สมกับที่ทรงเป็น “ชายชาญ” ผู้หนึ่งพระนิพนธ์จบลงด้วยการถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟื้นจากพระอาการประชวรโดยเร็ว

31 และมีพระราชหฤทัยที่ผ่องแผ้ว ปลอดโปร่งจาก “เหตุที่ขุ่นขัด” อันจะทำให้ “วิบัติพระขันตี”กับมีพระชนมายุยืนยาวเพื่อ “สยามรัฐพิพัฒน์ผล” เห็นได้ชัดว่า ในฉันท์ถวายตอบนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตั้งพระทัยที่จะถวายคำปลอบประโลมให้คลายความทุกข์โทมนัส คำยืนยันถึงความจงรักภัคดีที่พระองค์และประชาชนไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคำเตือนอันเป็นสัจธรรม คำปลุกใจให้ลุกขึ้นต่อสู้โดยไม่ยอมแพ้ติออุปสรรค รวมถึงคำอวยพรที่แฝงด้วยการฝากความหวังของประเทศชาติไว้ ด้วยการใช้ภาษาที่ทรงพลังและภาพพจน์ที่สื่อความได้ลึกซึ้งกินใจ เมื่อประกอบเข้ากับการจัดเรียงลำดับเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม คำฉันท์บทนี้จึงบรรลุผลอย่างงดงามในการสร้างกำลังพระราชหฤทัยให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันทรงที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเข้มแข็งเพื่อทรงนำพา “รัฐนาวาสยาม” ให้ผ่านพ้นจากลมพายุไปได้อย่างปลอดภัย เมื่ออ่านกวีนิพนธ์เรื่อง ขัตติยพันธกรณีจบลง นักเรียนคงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทประพันธ์ทั้งสองบทเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดที่แสดงให้เราเห็นถึงพลานุภาพอันยิ่งใหญ่ของวรรณคดีที่อาจช่วยพลิกผันเหตุการณ์ร้ายให้กลายเป็นดี และบุคคลที่ไม่ได้รู้สึกตนว่าเป็นกวีและมิได้แต่งบทประพันธ์อยู่เป็นนิจ เมื่อเกิดอารมณ์สะเทือนใจขึ้นแล้ว ถ้อยคำสำนวนอันทรงพลังก็อาจหลั่งไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นบทประพันธ์อันสูงค่าสนองเจตนารมณ์ได้ยิ่งไปกว่านั้น กวีนิพนธ์เรื่องนี้ยังช่วยยืนยันความจริงที่ว่า วรรณคดีนั้นเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ให้รู้จักความงาม ความดี และความเป็นจริงของชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ.๒๕๕๑:๑๔๕-๑๕๒)

32 คุณค่าของเรื่อง ขัตติยพันธกรณี คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ขัตติยพันธกรณีมีการใช้ฉันท์ลักษณ์ที่หลากหลายรูปแบบเช่นบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้โคลงสี่สุภาพนำและตามด้วยอินทรวิเชียรฉันท์อีกทั้งมีการเล่นสัมผัสนอก-ในรวมถึงการเล่นสัมผัสสระและอักษรอีกทั้งยังมีการเล่นคำซ้ำ ดังตัวอย่าง “แม้หายก็พลันยากจะลำบากฤทัยพึง ตริแต่จะถูกรึงอุระรัดและอัตรา” อีกทั้งยังมีการใช้โวหารภาพพจน์ดังเช่นการใช้อุปลักษณ์เปรียบเทียบภาระหน้าที่เหมือนตะปูที่ตรึงพระบาทไว้ขัตติยพันธกรณียังมีรูปแบบคล้ายกับบทนิราศที่รำพันรำพันที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจซึ่งถือว่าเป็นความงามที่จับต้องได้ยากในปัจจุบัน คุณค่าทางด้านสังคม สภาพสังคมณขณะนั้นเป็นสังคมของการเอาตัวรอดเพราะปัญหาต่างๆที่รุมเล้าทำให้ราชวงศ์และประชาชนทั่วไปต้องดูแลตัวเองเช่น “ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลงจริงนอ ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดงเป็นเยี่ยงอย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้งเจ็ดข้างฝ่ายดี”

33 คำประพันธ์นี้สอนว่าชีวิตคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวสุขสลับกันไปอย่างที่คนโบราณ กล่าวกันมาว่าชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหนจากบทความจะเห็นว่าความคิดและความเชื่อของคนไทยในอดีตนั้นจึงเป็นออกแนวไปทางความรักชาติส่วนใหญ่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่มีการปลุกจิตสำนึกให้คนรักชาติและตระหนักถึงคุณค่าของความเหนื่อยยากของบรรพบุรุษที่ยอมแลกชีวิตเพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินนี้ไว้ คุณค่าด้านอื่นๆ เนื้อหาของขัตติยพันธกรณีไม่ซับซ้อนยุ่งยากเหมือนวรรณคดีเรื่องอื่นเนื่องจากเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจึงสามารถเข้าใจได้ง่ายด้วยตัวเองเพราะฉะนั้นแล้วข้อคิดที่จากการอ่านนั้นสามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะเรื่องของปัญหาที่ต้องเผชิญหรือภาระหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อจะได้นำไปใช้ปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป คำประพันธ์จากเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ส่วนแรก โคลงสี่สุภาพ จำนวน ๗ บท เจ็บนานนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮย คิดใคร่ลาญหัก ปลดเปลื้อง ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

34 ส่วนที่สอง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๒๖ บท ขอเดชะเบื้องบาท วรราชะปกศรี- โรตม์ข้าผู้มั่นมี มะนะตั้งกตัญญู ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพันธ์ดู ทั้งโครงและฉันท์ตู ข้าจึงตริดำริตาม (พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) (ไม่เคร่งครัด ครุ ลหุ) คำศัพท์จากเรื่อง ขัตติยพันธกรณี การศึกษาเรื่อง ขัตติยพันธกรณี พบคำศัพท์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ตามกรอบการศึกษาคำศัพท์ ดังนี้

35

36

37

38 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา การศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี สามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณีในด้านเนื้อหา สรุปได้ว่าอังกฤษและฝรั่งเศสต้องการยึดครองประเทศราชของไทย ฝรั่งเศสได้เวียดนามและกัมพูชาเป็นอาณานิคมและพยายามยึดหัวเมืองลาวจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง ฝรั่งเศสยื่นคำขาดหลายประการแต่ไทยตอบล่าช้าจึงเข้าปิดอ่าวไทย บทสรุปของความขัดแย้ง คือ ทั้งสองฝ่ายลงนามสนธิสัญญากรุงเทพฯ ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งแม่น้ำโขนและยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน ๑๔ ปีต่อมา จึงได้ยุติลง แม้จะสูญเสียไปบางส่วนแต่ก็ยังรักษาแผ่นดินใหญ่ไว้ได้ วัตถุประสงค์ข้อที่สอง เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม สรุปได้ว่า มีคุณค่าที่สะท้อนความคิด ความเชื่อ ของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี และมีอารมณ์ที่ช่วยปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติรักษาแผ่นดินไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป วัตถุประสงค์ข้อที่สาม เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี สรุปได้ว่า มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลายเป็นแบบอย่างของการแต่งลิลิต ไพเราะด้วยสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระและอักษร การล่นคำซ้ำคำ มีการใช้ภาพพจน์ต่างๆ ทั้งอุปมา อุปลักษณ์ อัพภาส ฯลฯ

39 วัตถุประสงค์ข้อที่สี่ เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีมรดกเรื่อง ขัตติยพันธกรณี สรุปได้ว่า มีคำศัพท์ทั้งหมด ๓๖ คำ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้ จำแนกตามชนิดของคำ ได้แก่ คำนาม ๑๘คำ กริยา ๑๑คำ วิเศษณ์๕คำ สรรพนาม ๑ คำ กลุ่มคำนาม ๑ คำ จำแนกตามการสร้างคำ ได้แก่ คำประสม ๒ คำ คำซ้อน๑คำ คำสมาส ๒ คำ กลุ่มคำนาม ๑ คำ อีก ๒๙ คำ เป็นคำมูล จำแนกตามภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ๑๘ คำ ภาษาบาลี ๕ คำภาษาบาลี/สันสกฤต ๔ คำ ภาษาสันสกฤต๔คำ ภาษาเขมร๓คำ ภาษามลายู๑คำ และภาษาอังกฤษ๑คำ อภิปรายผลการศึกษา จากผลการศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี สามารถอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ เนื้อหาแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งในอดีตระหว่างไทยและฝรั่งเศส และแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความพยายามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงรักษาแผ่นดินไว้ และยังเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าสูงและเป็นที่ประทับใจของผู้ได้อ่านได้ฟังเป็นอย่างยิ่ง และยังมีคำประพันธ์ที่สวยงามและคำศัพท์ ภาพพจน์เพื่อสร้างจินตภาพและอารมณ์สะเทือนใจเป็นอย่างมาก กวีนิพนธ์เรื่องนี้ยังช่วยยืนยันความเป็นจริงว่า วรรณคดีนั้นเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ให้รู้จักความงาม ความดี และความเป็นจริงของชีวิต

40 ประโยชน์ที่ได้รับ ๑.ได้ทราบความเป็นมาของปัญหาระหว่างไทยและฝรั่งเศสในอดีต ๒.ได้ทราบลักษณะคำประพันธ์ของเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ๓.ได้เรียนรู้คำศัพท์ที่มาจากหลากหลายภาษา ๔.ได้ทราบถึงพระราชประวัติของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕. ได้เรียนรู้และทำให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่เกิดมาในแผ่นดินไทย ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงงานครั้งต่อไป ๑.ควรให้เวลาในการจัดทำนานกว่านี้ ๒.ควรนำงานชิ้นอื่นมายกตัวอย่างให้ดู ๓.ควรมีหัวข้อให้เลือกมากกว่านี้ ๔. ควรแนะแนวแนวทางในการนำเสนอ

41 บรรณานุกรม เสถียรโกเศศ– นาคะประทีป. (๒๕๑๖). ประชุมเรื่องพระรามและแงคิดจากวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : เจริญรัตน์การพิมพ์ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๑๔) ประวัติวรรณคดีวิจารณ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : ประพันธ์สาส์น. สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (๒๕๒๐). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : ดวงกมล. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. เจือ สตะเวทิน. (๒๕๑๔). วรรณคดีพุทธศาสนา. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา. วิทย์ศิวะศริยานนท์. (๒๕๑๙) วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์. ศุภชัย รัตนโกมุท และสะอาด อินทรสาลี (๒๕๑๘ ). ประวัติวรรณคดีไทยฉบับสมบูรณ์ ตามหลักสูตร. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์. กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๑๔). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วรรณคดีวิจักษ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๓.) กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาดำ.


ดาวน์โหลด ppt โครงงานวรรณคดีมรดก เรื่อง ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔ กลุ่มที่ ๑ ครูที่ปรึกษา นายศตวรรษ โยวาศรี โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google