งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสื่อสารและการใช้ภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสื่อสารและการใช้ภาษาไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสื่อสารและการใช้ภาษาไทย
บทที่ 8 การสื่อสารและการใช้ภาษาไทย ในสื่อร่วมสมัย

2 ตอนที่ 8.1 พัฒนาการของการสื่อสารผ่านสื่อ
ร่วมสมัย พัฒนาการของการสื่อสารในยุคแห่งการพิมพ์ พัฒนาการของการสื่อสารในยุคแห่งคลื่นวิทยุ พัฒนาการของการสื่อสารในยุคแห่งสื่อใหม่

3 ตอนที่ 8.2 ประเภทของสื่อร่วมสมัยกับการใช้ภาษา
หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อใหม่

4 ตอนที่ 8.3 หลักการใช้ภาษาไทยในสื่อร่วมสมัย
ภาษาไทยในข่าว ภาษาไทยในสารคดี ภาษาไทยในสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์

5 8.1 พัฒนาการของการสื่อสารผ่านสื่อร่วมสมัย
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อร่วมสมัยสามารถแบ่งได้ 3 ยุค ดังนี้ พัฒนาการของการสื่อสารในยุคแห่งการพิมพ์ การประดิษฐ์ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้ครั้งละจำนวนมาก นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารมวลชน

6 ประเทศไทย ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับ เทคโนโยลีการพิมพ์ครั้งแรกใน พ. ศ
ประเทศไทย ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับ เทคโนโยลีการพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้นำเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ จากนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์ในประเทศไทยก็พัฒนามาเป็นลำดับ

7 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้นำเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ จากนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์ในประเทศไทยก็พัฒนามาเป็นลำดับ

8 ถึงปลายรัชกาลที่ 3‘หมอบรัดเลย์’ มิชชันนารีชาวอเมริกัน เริ่มตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ ‘บางกอกรีคอร์เดอร์’ (Bangkok Recorder) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ (ค.ศ.1844)

9 เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนา และยังมีการวิจารณ์การเมืองการปกครองและวัฒนธรรมไทยจึงเป็นแรงกดดันให้ราชสำนักออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย คือราชกิจจานุเบกษา

10 8.1.2 พัฒนาการของการสื่อสารในยุคคลื่นวิทยุ
ยุคแห่งคลื่นวิทยุเริ่มใน พ.ศ (ค.ศ. 1837) เมื่อแซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ค้นพบการส่งรหัสเสียงด้วยการส่งสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารโทรคมนาคม

11 การพัฒนาด้านเทคโนโลยีคลื่นวิทยุในยุคนี้ทำให้กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ว่าสิ่งพิมพ์ยังคงมีส่วนสำคัญในการติดต่อสื่อสารอยู่

12 แต่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ก็เข้ามามีอิทธิพลเหนือกว่าด้วยคุณสมบัติด้านความรวดเร็ว การเข้าถึงเป็นวงกว้าง และการเร้าอารมณ์ดึงดูดความสนใจของผู้รับสาร

13 ในประเทศไทยพัฒนาการด้านการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุเริ่มต้นเมื่อมีการทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขใน พ.ศ. 2450) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงทหารเรือจัดในขณะนั้นตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ 2456 ซึ่งนับเป็นสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย

14 ประเทศไทยริเริ่มการใช้วิทยุกระจายเสียง โดยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ทดลองกระจายเสียงผ่านคลื่นวิทยุเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2471

15 ในช่วงเวลานั้นมีพัฒนาการอีกขั้นของการสื่อสารในประเทศไทย คือ การนำเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์เข้ามาใน พ.ศ โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งการให้เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย โดยออกอากาศในระบบขาวดำ

16 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย โดยออกอากาศในระบบขาวดำ
ต่อมา พ.ศ (ค.ศ. 1967) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบสีเป็นสถานีแรกในประเทศไทย

17 สิ่งที่น่าสนใจสำหรับอนาคตของการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุคือ หลักการสำคัญของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพในอดีต คือ ‘ความรับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการของส่วนรวม’ เพราะคลื่นวิทยุเป็นของสาธารณะและเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด

18 แม้โทรทัศน์จะยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แต่สำหรับคนรุ่นใหม่จำนวนมากอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสื่อที่เข้ามามีอิทธิพลมากกว่าโทรทัศน์แล้ว จึงมีแนวโน้มว่าพื้นที่บนโลกออนไลน์อาจเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทใหม่ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

19 8.1.3 พัฒนาการของการสื่อสารในยุคแห่งสื่อใหม่
สื่อใหม่ ในที่นี้หมายถึงสื่อที่เกิดจากการผสมผสานสื่อดั้งเดิมโดยมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง

20 ทำให้สามารถหลอมรวมข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาษาพูด ภาษาเขียน เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เข้าด้วยกัน

21 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มต้นในช่วง พ. ศ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มต้นในช่วง พ.ศ – 2501 โดยคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกนี้ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูงและมีขนาดใหญ่โต จากนั้นคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต

22 อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 จากโครงการด้านกลาโหมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาชื่อว่า ARPAnet (The Advance Research Project Agency)

23 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารแม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายถูกทำลาย ต่อมาในปี พ.ศ เครือข่ายนี้ได้รับการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษาและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘อินเทอร์เน็ต’

24 เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศอย่างเต็มตัว ข้อมูลข่าวสารนับเป็นทรัพยากรที่มีค่า ผู้ที่มีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านย่อมมีความได้เปรียบ

25 กระทั่งการสื่อสารในรูปแบบเก่าเริ่มไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสารของมนุษย์ได้ เทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่อย่าง ‘สื่อสังคมออนไลน์’(Social Media)จึงเป็นทางเลือกของการสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

26 สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์ โดยสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือผู้รับสารด้วยกันเอง

27 สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคม จนได้รับความนิยม และทำให้สื่อดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ไม่ได้ผูกขาดการเป็นผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารอีกต่อไป

28 เมื่อมีการเกิดขึ้นของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
และคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตซึ่งมีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดียในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพา ก็ยิ่งเสริมกระแสความตื่นตัวของสื่อสังคมออนไลน์ให้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

29 ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ครั้งแรกใน พ. ศ
ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ครั้งแรกใน พ.ศ.2506 โดยเริ่มที่ภาค วิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

30 คอมพิวเตอร์ค่อยๆ แพร่กระจายไปในวงการการศึกษา ภาคธุรกิจ จนถึงระดับผู้ใช้ทั่วไป

31 อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้งานในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อ พ. ศ
อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้งานในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อ พ.ศ โดยเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

32 จนกระทั่งในปี พ.ศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจัดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ‘ไทยสาร’ (Thai Social/ Scientific Academic and Research Network: )” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

33 อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทยแทนที่สื่อดั้งเดิมอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ใช้ในตัวเมืองที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จากสถิติของเว็บไซต์ Socialbakers.com ในปี 2555 ระบุว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีการใช้เฟสบุคมากที่สุดในโลก

34 รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี จัดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ETDA พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตถึง 54.2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน )

35 นอกจากนี้คุณลักษณะสำคัญของสื่อใหม่ที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือ การทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการเลือกรับข่าวสารมากกว่าในอดีต ทั้งยังสามารถมีสถานะเป็นผู้วิจารณ์และผู้ตรวจสอบสื่อ หรือแม้แต่จะเป็นนักข่าวด้วยตนเอง

36 โดยการนำเสนอสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือเนื้อหาที่สื่อกระแสหลักไม่นำเสนอในฐานะ ‘นักข่าวพลเมือง’ (Citizen Reporter) ซึ่งการเกิดขึ้นของสื่อพลเมืองในลักษณะนี้ได้เปลี่ยนการสื่อสารทิศทางเดียวอย่างผูกขาดโดยสื่อมวลชนอาชีพไปเป็นการสื่อสารผ่านสาธารณะชนที่หลากหลายโดยไม่จำเป็น ต้องอาศัยงบจากนายทุน

37 8.2 ประเภทของสื่อร่วมสมัยกับการใช้ภาษา
8.2.1 หนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งใช้การสื่อสารผ่านภาษาเขียน ภาษาภาพ และภาษาสัญลักษณ์ โดยส่วนใหญ่จะพิมพ์บนกระดาษครั้งละจำนวนมากเพื่อเผยแพร่สู่มวลชนอย่างกว้างขวาง

38 หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อการรับรู้และการติดตามข่าวสารบ้านเมืองและความเคลื่อนไหว ต่างๆ ในสังคม

39 หนังสือพิมพ์ มีลักษณะเป็นแผ่นซ้อนพับไม่เย็บเล่ม มีกำหนดระยะเวลาเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ
มุ่งนำเสนอข่าวสารประจำวัน เช่น ข่าวสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อาชญากรรม การศึกษา กีฬา บันเทิง และเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน

40 คุณลักษณะของหนังสือพิมพ์ 1. สื่อสารผ่านภาษาเขียนและภาพนิ่ง
2. สามารถเก็บรักษาเนื้อหาไว้ได้นาน นำมาอ่านใหม่ได้หลายครั้ง 3. เป็นสื่อที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงได้ชัดเจน 4. เป็นการสื่อสารทิศทางเดียว

41 วิทยุกระจายเสียง วิทยุกระจายเสียง หมายถึง การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคลื่นวิทยุส่งข้อมูลหรือฝากสัญญาณเสียงแพร่กระจายไปในอากาศ หรือเพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สายต่อเชื่อมระหว่างกัน ข้อมูลหรือสัญญาณที่ส่งไปคือ สาร ซึ่งจะไปกระทบโสตประสาทของผู้รับ และแปลสารตามความหมายที่ได้ฟัง

42 แม้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่นำเสนอข้อความข่าวสารผ่านเสียงเพียงอย่างเดียว กระนั้นภาษาเพื่อสื่อวิทยุกระจายเสียงก็จำเป็นต้องใช้ทักษะภาษาทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน

43 คุณลักษณะของวิทยุกระจายเสียง
1. เน้นการสื่อสารด้วยภาษาพูดและเสียง 2. สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน 3. สามารถนำเสนอเนื้อหาข่าวสารได้ทันเหตุการณ์ และสามารถรายงานสดได้ขณะเกิดเหตุ 4. เน้นการสื่อสารทิศทางเดียวเป็นส่วนใหญ่

44 การใช้ภาษาไทยในงานวิทยุกระจายเสียง การพูดทางวิทยุกระจายเสียง
1.1 ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด 1.2 ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง 1.3 ใช้คำสุภาพ 1.4 ใช้ภาษาให้ถูกต้อง

45 1.6 ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดภาพ หรือเห็นภาพได้ชัดเจน
1.5 เลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายชัดเจน 1.6 ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดภาพ หรือเห็นภาพได้ชัดเจน 1.7 ใช้ถ้อยคำที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดต้องการ

46 การอ่านทางวิทยุกระจายเสียง
2.1 การออกเสียงตัว ร ล และคำควบกล้ำคำในภาษาไทยมีเสียงตัว ร ล และคำควบกล้ำ ผู้อ่านควรออกเสียงให้ชัดเจน 2.2 การออกเสียงอักษรนำ ต้องอ่านให้ถูกต้องตามหลักการอ่านด้วย

47 2.3 การออกเสียงคำภาษาต่างประเทศ
คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ส่วนใหญ่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งสร้างคำด้วยการสมาส ต้องอ่านออกเสียงเนื่องแบบคำสมาสด้วย

48 การอ่านออกเสียงที่ถูกต้องมีทั้งถูกต้องตามหลักเกณฑ์และตามความนิยม
ถ้าเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร หรือที่เรียกว่าคำแผลง ต้องอ่านเสียงแบบมี ห นำด้วยให้ถูกต้องตามหลักการอ่าน การอ่านออกเสียงที่ถูกต้องมีทั้งถูกต้องตามหลักเกณฑ์และตามความนิยม

49 2.4 การออกเสียงคำทับศัพท์คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นคำภาษาอังกฤษ ซึ่งเกิดจาก การอ่านเสียงออกมาแล้วเขียนทับศัพท์ด้วยอักษรไทย ซึ่งบางครั้งไม่ตรงตามเสียงเดิมในภาษาอังกฤษ

50 นอกจากจะต้อง คำนึงถึงการอ่านคำแล้ว ยังต้องเข้าใจและสามารถอ่านส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภาษาไทยได้ด้วย เช่น การอ่านตัวเลขต่างๆ การอ่านเลขที่บ้าน การอ่านรหัสไปรษณีย์ การอ่านหมายเลขทางหลวง ฯลฯ รวมทั้งการอ่านเครื่องหมายต่างๆ ในภาษาไทย เช่น เครื่องหมายอัญประกาศ เครื่องหมายไม้ยมก เป็นต้น

51 3.การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
บทนับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการ ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งจะเป็น กรอบแนวทางในการผลิตรายการ ผู้เขียน บทวิทยุกระจายเสียง ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ ในการเขียนบท มีทักษะการเขียนบท วิทยุกระจายเสียงเป็นอย่างดี

52 8.2.3 วิทยุโทรทัศน์คือการส่งสัญญาณไฟฟ้าของภาพและเสียงพร้อม ๆ กัน โดยเป็นการนำเอาสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง รวมทั้งสัญญาณที่จำเป็นนำเข้าผสมกับสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อส่งออกอากาศไปยังเครื่องรับ

53

54 วิทยุโทรทัศน์มีจุดเด่นที่แตกต่างจากวิทยุกระจายเสียง คือ มีภาพปรากฏให้รับชมได้พร้อมกับเสียง ขณะที่วิทยุกระจายเสียงมีเฉพาะเสียงเท่านั้น

55 คุณลักษณะของวิทยุโทรทัศน์
1. มีการนำเสนอทั้งในรูปแบบเคลื่อนไหวภาพ และเสียง 2. กระจายสัญญาณได้ในระยะไกล และรวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ได้กว้างขวาง 3. ถ่ายทอดภาพและเสียงจากเหตุการณ์ในขณะเกิดขึ้นจริง 4. เน้นการสื่อสารทิศทางเดียวเป็นส่วนใหญ่

56 สื่อใหม่สื่อใหม่ หมายถึงสื่อที่เกิดจากการผสมผสานสื่อดั้งเดิมโดยมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทำให้สามารถหลอมรวมข้อมูลที่อยู่ในรูปของเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เข้าด้วยกัน

57 การใช้ภาษาในสื่อใหม่จึงต้องใช้ทักษะทั้งการเขียนเหมือนหนังสือพิมพ์ การอ่านและการพูดแบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การใช้ภาษาในสื่อใหม่ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมผู้รับสารยุคใหม่ที่ชอบแบ่งปันข้อมูล และชอบสื่อสารเฉพาะกลุ่ม

58 ภาษาในสื่อใหม่มีการเปลี่ยนแปลงและสามารถเกิดคำศัพท์ใหม่ๆ ได้โดยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทำให้คำเหล่านั้นเผยแพร่เป็นวงกว้าง และส่งผลให้รู้สึกว่ามีคำศัพท์เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก เช่น มโน จุงเบย ดราม่า ฟิน ฟุดฟุด

59 คุณลักษณะของสื่อใหม่
1. นำเสนอข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบ ข้อความ ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว 2. สามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว 3. เป็นการสื่อสารสองทิศทาง สนับสนุนให้เกิดการโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้

60 8.3 หลักการใช้ภาษาไทยในสื่อร่วมสมัย
ภาษาไทยในข่าว การเขียนข่าว ข่าว หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือเพิ่งถูกค้นพบ ข่าวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีความสดใหม่ ความถูกต้อง ความสมดุลเป็นธรรม ความเป็นกลางไม่สอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนลงไป

61 โครงสร้างของข่าว พาดหัวข่าว โปรยข่าว ส่วนเชื่อม เนื้อหาข่าว

62 การใช้ภาษาไทยในการเขียนข่าว
1.การเขียนพาดหัวข่าวการพาดหัวข่าวควรใช้ภาษาที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น อาจใช้คำย่อหรืออักษรย่อที่เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

63 การใช้ภาษาในการพาดหัวข่าว
1. ภาษาต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน 2. ประโยคพาดหัวต้องมี “ประธาน” และ “คำกริยา” ที่แสดงถึงการกระทำ 3. ควรระมัดระวัง ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ไม่ผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรม

64 4. ไม่ควรใช้คำซ้ำในพาดหัวข่าวเดียวกัน
5. หลีกเลี่ยงการใช้คำไม่สุภาพ หรือการสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว 6. ใช้อักษรย่อ คำสแลง และสมญานาม เท่าที่จำเป็น

65 การเขียนโปรยข่าวและส่วนเชื่อม
การเขียนโปรยข่าวและส่วนเชื่อมควรใช้ภาษากระชับ สื่อความหมายชัดเจน สามารถกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ พร้อมทั้งชวนให้ผู้อ่านติดตามอ่านเนื้อหาข่าวต่อไป

66 การใช้ภาษาในการเขียนโปรยข่าวและส่วนเชื่อม
1. ระบุข้อมูลเกี่ยวกับใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร ให้ชัดเจน 2. เรียงองค์ประกอบตามลำดับความสำคัญ ใช้ประโยคกระชับ เขียนให้ได้ใจความสำคัญ ภายในหนึ่งย่อหน้า 4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 5. ใช้อักษรย่อ คำสแลง และสมญานาม เท่าที่จำเป็น

67 การเขียนเนื้อหาข่าว เป็นส่วนที่อธิบายรายละเอียดต่างๆ ของเหตุการณ์ หรือประเด็นที่กล่าวไว้แล้วในวรรคนำ โดยการเขียนข่าวเพื่อนำเสนอในสื่อต่างๆอาจมีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะของสื่อ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์

68 การใช้ภาษาในการเขียนเนื้อหาข่าว
1. การใช้คำใช้คำง่ายได้ความชัดเจน 2. การใช้ประโยค ควรเป็นประโยคความเดียว 3. การระบุชื่อบุคคลและสถานที่ต้องเขียนให้ถูกต้อง

69 4. การใช้อักษรย่อ ใช้ได้ในการเขียนครั้งต่อไปครั้งแรกต้องเขียนตัวเต็ม
5. การใช้คำสแลงและศัพท์เฉพาะการใช้คำ สแลงไม่นิยมใช้ในข่าวที่เป็นทางการ 6. การใช้คำภาษาต่างประเทศในเนื้อหาข่าว ควรใช้เท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสื่อความหมายได้ชัดเจน

70 7. การใช้คำราชาศัพท์ข่าวที่เกี่ยวกัพระมหากษัตริย์
และพระบรมวงศานุวงศ์ ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษผู้เขียนข่าวต้องมีการศึกษาถึงคำราชาศัพท์และหลักการใช้ให้ถูกต้อง 8. การอ้างอิงคำพูดในเนื้อหาข่าวคือถ้าอ้างอิงโดยตรงต้องมีเครื่องหมายอัญประกาศ

71 8.3.2 ภาษาไทยในสารคดี สารคดี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. สารคดีเชิงข่าว 2. สารคดีสนองปุถุชนวิสัย หมายถึง สารคดีเรื่องใด ๆ ก็ตามที่สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่าน โดยดึงเอาบางแง่มุมของชีวิตหรือมุมแปลก ๆ ของเรื่องมานำเสนอ

72 3. สารคดีทั่วไปหมายถึงสารคดีประเภทอื่น ๆ เช่น ชีวประวัติ สารคดีท่องเที่ยวฯลฯ
การใช้ภาษาในการเขียนสารคดีมีดังนี้ 1. ใช้ภาษาให้สอดคล้องกับเนื้อหาสารคดี 2. เลือกใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน

73 4. ใช้โวหารภาพพจน์เพื่อขยายความให้เนื้อหาชัดเจน
3. วางโครงเรื่องให้มีเอกภาพ 4. ใช้โวหารภาพพจน์เพื่อขยายความให้เนื้อหาชัดเจน 5. เลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสาร 6. มีการใช้ศิลปะการใช้ภาษาเพื่อดึงดูดความสนใจและชวนติดตาม

74 8.3.3ภาษาไทยในสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์
การโฆษณา หมายถึง วิธีการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

75 การประชาสัมพันธ์ หมายถึง กิจกรรมที่มีการวางแผนและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างและรักษาความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างองค์การกับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การยอมรับ สนับสนุน และการให้ความร่วมมือของสาธารณชนต่อองค์การ

76 ภาษาเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์ที่เน้นการโน้มน้าวใจเพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภค ในการแจ้งข่าวสาร เตือนความจำ และชักจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความรู้ ความเข้าใจ เปลี่ยนทัศนคติ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

77 ภาษาชนิดนี้เน้นความสำคัญในการใช้ภาษาให้ถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ กลุ่มเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ด้วย

78 ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1. ดึงดูดหรือสร้างความสนใจ 2. กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อ 3. มีลักษณะภาษาเชิงสร้างสรรค์ 4. เร้าให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม 5. เข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่ซับซ้อน

79 6. ก่อให้เกิดการจดจำหรือประทับใจ
7. มีความน่าเชื่อถือและสมเหตุสมผล ไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง 8. ใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 9. ใช้ถ้อยคำที่ไพเราะสละสลวย และสุภาพ 10. ใช้สำนวนที่เข้าใจง่ายและกระทบใจ

80 การใช้ภาษาในองค์ประกอบต่างๆ ของสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1.หัวเรื่อง หรือพาดหัวข่าว 2. ข้อความอธิบาย 3. ข้อความสนับสนุนตอนท้าย 4. คำขวัญ

81


ดาวน์โหลด ppt การสื่อสารและการใช้ภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google