งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

CIM2103 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "CIM2103 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 CIM2103 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
บทที่ 5 ตัวแบบสินค้าคงคลัง

2 5.1 สินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังถือเป็นสิ่งที่สำคัญขององค์กร ธุรกิจทุกประเภทจะต้องพิจารณาถึงจำนวนสินค้าคงคลังที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่สินค้าคงคลังเป็นสินค้าสำเร็จรูป เนื่องจากถ้าเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้ามากเกินไปย่อมเสียค่าใช้จ่ายมากทั้งต้นทุนสินค้า ค่าเก็บรักษา ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ แต่ถ้าเก็บน้อยเกินไปจนมีไม่เพียงพอต่อความต้องการซื้อ จะเกิดปัญหาที่สินค้าขายไม่พอ ย่อมเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร

3 5.1 สินค้าคงคลัง สำหรับผู้บริหารจะต้องตัดสินจว่าควรจะมีสินค้าไว้ในคลังสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายและการสูญเสียกำไรที่ควรจะได้รับมีค่าต่ำสุด สินค้าคงคลัง (Inventrory) หมายถึง สินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบ หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่องค์กรเก็บไว้เพื่อจำหน่ายหรือนำมาผลิตเป็นสินค้าต่อไป

4 5.2 ข้อดีข้อเสียของการมีสินค้าคงคลัง
ข้อดีของการมีสินค้าคงคลัง ลดต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบต่อหน่วย ทำให้มีิสินค้าไว้ขายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าตลอดเวลา กรณีที่เป็นวัตถุดิบ จะเป็นการช่วยรักษาระดับการผลิต คือ ทำให้การผลิตที่สม่ำเสมอ ทำให้สามารถวางแผนการจำหน่ายหรือการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 5.2 ข้อดีข้อเสียของการมีสินค้าคงคลัง
ข้อดีของการมีสินค้าคงคลัง ลดต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบต่อหน่วย ทำให้มีิสินค้าไว้ขายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าตลอดเวลา กรณีที่เป็นวัตถุดิบ จะเป็นการช่วยรักษาระดับการผลิต คือ ทำให้การผลิตที่สม่ำเสมอ ทำให้สามารถวางแผนการจำหน่ายหรือการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 5.2 ข้อดีข้อเสียของการมีสินค้าคงคลัง
ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งด้านต้นทุนสินค้า/วัตถุดิบ ค่าดูแลรักษา ค่าเช่าสถานที่ ค่าเบี้ยประกัน ค่าเสื่อราคา ฯลฯ กรณีสินค้าที่มีเการเปลี่ยนแปลงตลอด เช่น คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า เป็นต้น กรณีที่มีสินค้าเก็บไว้มากไป จะเหลือสินค้าซึ่งอาจเรียกว่า สินค้าล้าสมัย (Obsolescence inventory) ซึ่งอาจทำให้ต้องขายไปในราคาถูก ซึ่งมีผลทำให้ขาดทุน

7 5.3 ค่าใช้จ่ายของระบบสินค้าคงคลัง
ค่าใช้จ่ายของระบบสินค้า (Inventory cost) แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า (Ordering cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อสั่งสื้อวัตถุดิบหรือสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า เพื่อรอจำหน่าย 1.1 ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost) 1.2 ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost)

8 5.3 ค่าใช้จ่ายของระบบสินค้าคงคลัง
ค่าใช้จ่ายของระบบสินค้า (Inventory cost) แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Carying or Holding cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลสินค้าในคลัง ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายที่เกิดจากความต้องการซื้อมากกว่าปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ (Shortage cost) เป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่พอขาย กรณีเป็นวัตถุดิบถ้ามีไม่เพียงพอ จะทำให้การผลิตต้องหยุดเป็นครั้งคราว ซึ่งมีผลทำให้ต้องซื้อวัตถุดิบอย่างเร่งด่วน ซึ่งอาจทำให้ราคาวัตถุดิบสูงกว่าปกติ

9 5.3 ค่าใช้จ่ายของระบบสินค้าคงคลัง
ค่าใช้จ่ายรวมของระบบสินค้าคงคลัง = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้า/วัตถุดิบ + ค่าใช้จ่ายในการเก็บ รักษาสินค้าคงคลัง + ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายที่เกิดจาก สินค้าไม่พอขาย

10 5.4 ตัวแบบระบบสินค้าคงคลัง
ตัวแบบที่ทราบปริมาณความต้องการซื้อ (Known Demand) (1) รูปแบบการหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด เมื่อได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อทันทีโดยไม่ ต้องรอสินค้า (Zero Lead Time) (2) รูปแบบการหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด เมื่อไม่ได้รับสินค้าทันที ต้องรอสินค้า (Non-Zero Lead time) (3) รูปแบบการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด กรณีที่มีส่วนลดเมื่อซื้อเป็นปริมาณมาก (Quality discount)

11 5.4 ตัวแบบระบบสินค้าคงคลัง
2. ตัวแบบที่ไม่ทราบปริมาณความต้องการซื้อ (Unknown Demand) เป็นตัวแบบที่ไม่ทราบปริมาณความต้องการซื้อว่าเป็นเท่าใด จึงถือว่าความต้องการซื้อเป็นตัวแปร โดยตัวแปรความต้องการซื้อจะมีการแจกแจงแบบความน่าจะเป็นรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า ตัวแบบที่ทราบปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการซื้อคงที่ (Deterministic demand) ค่าใช้จ่ายรวม = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง

12 5.5 การคำนวณหาปริมาณสั่งที่ประหยัด (Economic Order Quantify : EOQ)
H = ค่าเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อปีต่อสินค้าคงคลัง 1 หน่วย H = ( ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย) × (อัตราเก็บค่ารักษาต่อปี) ∴ H = C . I

13 5.5 การคำนวณหาปริมาณสั่งที่ประหยัด (Economic Order Quantify : EOQ)
เงื่อนไขของ EOQ Model ทราบหรือสามารถประมาณปริมาณความต้องการซื้อต่อปีได้ ปริมาณความต้องการซื้อคงที่ในแต่ละช่วงเวลา ได้รับสินค้าครบจำนวนตามที่สั่ง ไม่เกิดเหตุุการณ์ปริมาณความต้องการซื้อมากกว่าปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ ทราบหรือสามารถประมาณค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง (F) คงที่ และไม่ขึ้นกับปริมาณการสั่งซื้อ ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย C คงที่ และไม่ขึ้นกับปริมาณการสั่งซื้อ ค่าเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อหน่วย H คงที่ ปริมาณสินค้าที่สั่งซื้อแต่ละครั้ง Q มีค่าคงที่ ระยะเวลาที่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าคงที่

14 5.6 การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเมื่อได้รับสินค้าครบจำนวนที่สั่งโดยไม่ต้องรอ (EOQ Model : Zero Lead Time) เงื่อนไข 1. ทราบความต้องการซื้อต่อปี และความต้องการซื้อมีความสม่ำเสมอ 2. เมื่อสั่งซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งโดยไม่ต้องรอ (Lead time = 0)

15 5.6 การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเมื่อได้รับสินค้าครบจำนวนที่สั่งโดยไม่ต้องรอ (EOQ Model : Zero Lead Time) ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ยในคลังสินค้า = ปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด+ปริมาณสินค้าต่ำสุด = (Q + 0) = 𝑄 2

16 5.6 การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเมื่อได้รับสินค้าครบจำนวนที่สั่งโดยไม่ต้องรอ (EOQ Model : Zero Lead Time) การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด คือ การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้ง (Q) ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อปี = ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย × (Annual inventory carrying cost) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา = 𝑄 2 × H ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อปี = (ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ/ครั้ง) × (จำนวนครั้งที่สั่งต่อปี) (Annual ordering cost) = F × 𝑄 𝐷

17 ตัวอย่าง 5.1 บริษัทเซนทรัลทีวี ซึ่งผลิตทีวีออกขาย ต้องการใช้หลอดภาพในการผลิดทีวีสี ปีละ หลอด ต้นทุนหลอดภาพราคา 400 บาทต่อหลอด ค่าเก็บรักษาคิดเป็น 5% ของต้นทุนหลอดภาพ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง 360 บาท จงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

18 การหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดโดยการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรวมเมื่อเปลี่ยนค่า Q เป็นวิธีการที่เสียเวลามาก จงควรพิจารณาจากค้าใช้จ่ายรวมและค่าใช้จ่ายแต่ละส่วน ค่าสั่งซื้อและค่าเก็บรักษาจะมีทิศทางตรงกันข้าม คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะลดลงเมื่อสั่งซืื้อแต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก เนื่องจากการสั่งซื้อเป็นปริมาณที่มากในแต่ละครั้ง จะทำให้จำนวนครั้งที่ต้องสั่งซื้อต่อปีลดลง แต่การสั่งซื้อครั้งละมากๆ จะทำให้ค่าเก็บรักษาสินค้าสูง

19

20 ค่า Q ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด คือ Q = Q* ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้
ค่าเก็บรักษา = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ 𝑄 2 × H = F × 𝑄 𝐷 Q* = 𝐹𝐷 𝐻

21 ตัวอย่างที่ 5.2 จากตัวอย่างที่ 5.1 จงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
วิธีทำ Q* = 𝐹𝐷 𝐻 = 2(360)(10000) 20 = หลอด

22 การคำนวณหาจุดสั่งซื้อซ้ำ (Reorder Point)
เนื่องจาก EOQ เป็นตัวแบบที่เมื่อสั่งซื้อแล้วไม่ต้องรอสินค้า จึงจะไม่สั่งสินค้าก่อนหมด ดังนั้นจุดที่มีการสั่งซื้อคือ จุดที่ไม่มีสินค้าเหลืออยู่เลย การหาจำนวนครั้งที่ซื้อต่อปี เนื่องจากทราบว่าความต้องการซื้อสินเค้าเป็น D หน่วยต่อปี และสั่งซื้อครั้งละ Q* หน่วย ดังนั้นใน 1 ปี จึงสั่งซื้อจำนวน = 𝐷 𝑄∗ ครั้ง

23 ตัวอย่างที่ 5. 3 จากตัวอย่างที่ 5
ตัวอย่างที่ 5.3 จากตัวอย่างที่ 5.1 จงหาจำนวนครั้งที่ต้องสั่งซื้อหลอดภาพต่อปี วิธีทำ ในที่นี้ D = 10000, Q* = 600 จำนวนครั้งที่สั่ง/ปี = 𝐷 𝑄∗ = = ครั้ง หรือ 17 ครั้ง นั่นคือจะสั่งครั้งละ 600 หลอด โดยจะสั่งทุกๆ 3 สัปดาห์ (52 สัปดาห์ / 17 ครั้ง) ซึ่งจะทำให้ ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด

24 ตัวอย่างที่ 5.4 บริษัท Tele-CD เป็นบริษัทที่จำหน่ายทีวี เครื่องเล่น CD เครื่องเล่นเกม และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่จากญี่ปุ่น ราคาต้นทุน 600 บาท/เครื่อง ค่าเก็บรักษาต่อปีเป็น 22% ค่าใช่จ่ายในการสั่งซื้อ 70 บาท/ครั้ง ถ้าคาดว่าความต้องการซื้อเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่เป็น เครื่อง/เดือน บริษัท Tele – CD ควรสั่งซื้อครั้งละกี่เครื่อง ควรสั่งซื้อกี่ครั้งต่อปี ค่าใช้จ่ายรวม/ปี เป็นเท่าใด ถ้า 1 ปี ทางบริษัทเปิดทำการ 250 วัน จงหาระยะเวลา 1 รอบ สำหรับเครื่องเล่นเกม

25 5.7 การหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและต้องรอสินค้าหลังจากสั่ง
(EOQ Model : Nonzero Lead Time)

26 5.7 การหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและต้องรอสินค้าหลังจากสั่ง
5.7 การหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและต้องรอสินค้าหลังจากสั่ง (EOQ Model : Nonzero Lead Time) ให้ L (Lead time) ระยะเวลาที่ต้องรอสินค้าจากวันที่มีการสั่งซื้อจนได้รับสินค้า จากรูปจะพบว่าจุดที่มีการสั่งซืื้อคือ จุด R (Reorder point) : ซึ่งเป็นจุดที่ต้องสั่งก่อนสินค้าหมด L หน่วยเวลา ที่ R จะมีสินค้าเหลือในคลัง x หน่วย นั่นคือควรสั่งซื้อสินค้าเมื่อมีสินค้าเหลือในคลัง x หน่วย จุดสั่งซื้อ (R) = จุดที่มีสินค้าเหลือในคลัง = (L หน่วยเวลา)(ความต้องการซื้อเฉลี่ยต่อหน่วย : d)

27 ตัวอย่างที่ 5. 5 จากตัวอย่างที่ 8
ตัวอย่างที่ 5.5 จากตัวอย่างที่ 8.1 ถ้าการสั่งซื้อหลอดภาพทีวีสีแต่ละครั้งจะต้องรอ 1 สัปดาห์ จึงจะได้รับสินค้า บริษัทควรจะสั่งซื้อเมื่อใด และสั่งซื้อปีละกี่ครั้ง วิธีทำ เนื่องจากหลังสั่งเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ จึงจะได้รับหลอดภาพที่สั่ง นั่นคือ L = 1 สัปดาห์ ความต้องการใช้หลอดภาพสัปดาห์ละ d = 𝐷 52 = หลอด จุดสั่งซื้อ (R) = จุดที่มีหลอดภาพเหลือในคลัง = ( L สัปดาห์ ) ( ความต้องการซื้อต่อสัปดาห์) = (1)(192.3) = ดังนั้นบริษัทควรสั่งซื้อหลอดภาพทีวีเมื่อมีหลอดภาพในสต็อก หรือ 193 หลอดและสั่ง ครั้งละ 600 หลอด

28 สรุปการหาจุดสั่งซื้อซ้ำและจำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี
ในกรณีที่ต้องรอสินค้าหลังจากสั่ง จำนวนครั้งที่สั่งต่อปี = 𝐷 𝑄∗ เท่ากับกรณีที่ไม่ต้องรอสินค้าเพียงแต่ในกรณีที่ต้องรอสินค้าจะต้องสั่งเร็วกว่ากรณีที่ไม่ต้องรอ นั่นคือ กรณีไม่ต้องรอ จะสั่งเมื่อสินค้าในคลังหมดแล้ว กรณีที่ต้องรอ จะต้องสั่งก่อนที่สินค้าในคลังหมด เพื่อให้มีสินค้าไว้ขายในช่วงที่รอสินค้าที่สั่ง โดยจะสั่งเมื่อมีสินค้าเหลืออยู่ = (ความต้องการซื้อหรือใช้ต่อหน่วยเวลา)(ระยะเวลาที่ต้องรอ : L)

29 5.8 การหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดเมื่อมีส่วนลดตามปริมาณการสั่งซื้อ (Quantity Discounts for the EOQ model) ค่าใช้จ่ายรวม/ปี = ต้นทุนสินค้าทั้งปี + ค่าเก็บรักษา/ปี + ค่าสั่งซื้อ/ปี ค่าใช้่ายรวม/ปี = D ∙ (ราคาต่อหน่วย) + 𝑄 2 H + F 𝐷 𝑄

30 จำนวนการสั่งซื้อ (อัน)
ตัวอย่าง 5.6 บริษัท Gold Car ผลิตรถยนต์ยี่ห้อ “Gold Car” มีความต้องการใช้แบตเตอรี่ 1,200 อันต่อปี ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเป็น 200 บาทต่อครั้ง ค่าเก็บรักษาแบตเตอรี่เป็น 25% ของราคาแบตเตอรี่ โดยทางบริษัท Gold Car จะสั่งซื้อแบตเตอรี่จากโรงงานไทยแบตเตอรี่ ทางโรงงานไทยแบตเตอรี่คิดราคาแบตเตอรี่ 300 บาทต่ออัน จงหาจำนวนแบตเตอรี่ที่สั่งซื้อต่อครั้ง โดยทางโรงงานแบตเตอรี่จะมีส่วนลดถ้าให้ถ้าซื้อเป็นจำนวนมาก ดังนี้ จำนวนการสั่งซื้อ (อัน) ส่วนลด (%) 0 - 99 10 ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป 12

31 5.9 การคำนวณหาปริมาณสินค้าสำรอง (Safety Stock)
เดิมจุดสั่งซื้อ ( R ) เมื่อต้องรอสินค้าเป็นจุดที่มีสินค้าเหลือในสต๊อก = d × L นั่นคือ ควรสั่งซื้อเมื่อมีสินค้าเหลือ = (ความต้องการซื้อเฉลี่ยต่อหน่วยเวลา)∙ (ระยะเวลาที่รอ) การป้องกันการเกิดสินค้าไม่พอขาย (Stock Out) คือ การกำหนดจำนวนสินค้าในสต๊อกให้มากขึ้นกว่าเดิมที่จุดสั่งซื้อ นั่นคือจะสั่งซื้อเมื่อสินค้าเหลือในสต๊อกมากกว่าจำนวน d × L โดยที่ จุดสั่งซื้อเป็นจุดที่มีสินค้าเหลือ = d × L + สินค้าสำรอง (Safety Stock : SS) ดังนั้นวัตถุประสงค์คือการหาจำนวนสินค้าสำรองที่เหมาะสม เพราะถ้าสำรองมากเกินไปจะทำให้เสียค่าเก็บรักษาสูงขึ้น

32 5.9 การคำนวณหาปริมาณสินค้าสำรอง (Safety Stock)
วิธีการคำนวณหาปริมาณสินค้าสำรอง กรณีที่ทราบค่าเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่พอขายหรือไม่พอใช้ (Known Stockout case) กรณีที่ไม่ทราบค่าเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่พอขายหรือไม่พอใช้ (Unknown Stockout case)

33 5.9.1 การคำนวณหาปริมาณสินค้าสำรองเมื่อทราบค่าเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่พอขาย
การหาปริมาณสินค้าสำรองจำเป็นจะต้องทราบ การแจกแจงความน่าจะเป็นของความต้องการซื้อในช่วงเวลาที่รอรับสินค้าล็อตใหม่ ค่าเสียหายที่เกิดจากปริมาณความต้องการซื้อมากกว่าสินค้าที่เหลือในช่วงเวลาที่รอสินค้าล็อตใหม่

34 ตัวอย่างที่ 5. 7 จากตัวอย่างที่ 5
ตัวอย่างที่ 5.7 จากตัวอย่างที่ 5.5 บริษัทเซนทรัลทีวีซึ่งผลิตทีวีขาย พบว่าการสั่งซื้อหลอดภาพต้องรอก่อนได้รับหลอดภาพ 1 สัปดาห์ (L = 1 สัปดาห์) และสั่งซื้อครั้งละ 600 หลอด (Q* = 600) โดยจะสั่งปีละ 17 ครั้ง ทางผู้บริหารเซ็นทรัลทีวีต้องการศึกษาว่าควรจะมีหลอดภาพสำรองไว้ ในระหว่างช่วงเวลาที่รอหลังจากสั่ง (1 สัปดาห์) หรือไม่

35 การคำนวณหาค่าเสียหายที่เกิดจากหลอดภาพไม่พอใช้
ค่าเสียหายที่เกิดจากหลอดภาพไม่พอใช้ต่อปี = (จำนวนหลอดภาพที่ไม่พอใช้) × (ค่าเสียหายที่เกิดจากหลอดภาพไม่พอใช้) × (จำนวนครั้งที่สั่งต่อปี) × (โอกาสที่หลอดภาพไม่พอใช้)

36 2. ถ้าเก็บหลอดภาพสำรอง 7 หลอด
หรือจะสั่งซื้อเมื่อหลอดภาพ = = 200 หลอด เมื่อความต้องการเป็น 205 หลอด ทำให้ ไม่พอใช้ = 205 – 200 = 5 3. ถ้าหลอดภาพสำรอง 12 หลอด หรือจะสั่งซื้อเมื่อหลอดภาพ = = 205 หลอด ในกรณีนี้จะไม่เกิดการขาดแคลนหลอดภาพ ค่าเสียหาย = 0 การตัดสินใจว่าควรมีสินค้าสำรองหรือไม่ ถ้าควรมีจะต้องเป็นจำนวนเท่าใด ค่าใช้จ่ายรวม = ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าสำรอง + ค่าเสียหายเนื่องจากสินค้าไม่พอขายหรือใช้

37 5.9.2 การคำนวณหาปริมาณสินค้าสำรองเมื่อไม่ทราบค่าเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่พอขาย
ข้อกำหนดของการคำนวณหาสินค้าสำรองเมื่อไม่ทราบค่าเสียหาย ปริมาณสินค้าคงคลังมีการแจกแจงแบบปกติในช่วงที่รอสินค้า (Lead time ) ที่ทราบค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้บริหารต้องกำหนดโอกาสที่จะยอมให้เกิดเหตุการณ์สินค้าที่พอขายใจช่วงที่ต้องรอสินค้าล็อตใหม่

38 ตัวอย่างที่ 5.8 ถ้าปริมาณสินค้าคงคลังมีการแจกแจงแบบปกติ ในช่วงที่ต้องการรอสินค้า ถ้าความต้องการซื้อเฉลี่ยต่อวันเป็น 20 หน่วย จำนวนสินค้าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8 หน่วย ช่วงเวลาที่ต้องรอสินค้าล็อตใหม่ 10 วัน และถ้าผู้บริหารกำหนดให้โอกาสที่ยอมให้เกิดเหตุการณ์สินค้าไม่พอขาย 10% อยากทราบว่าควรมีสินค้าสำรองในช่วงรอสินค้ากี่หน่วย

39 แบบฝึกหัด 1. นางวิไล ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของบริษัทจำหน่ายสกรูแห่งหนึ่ง ทราบว่าความต้องการซื้อสกรูเบอร์ 9 เป็น 100,000 ตัว ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสกรูเป็น 10 บาท/ครั้ง ค่าเก็บรักษาสกรูเป็น 0.05 บาท/ตัว นางวิไลควรวางแผนสั่งซื้อสกรูเบอร์ 9 อย่างไร

40 แบบฝึกหัด 2. จากข้อ 1 ถ้าการสั่งซื้อสกรูแต่ละครั้งต้องรอสินค้า 8 วันทำการ จำนวนเฉลี่ยของสกรูที่บริษัทขายได้เป็น 500 ตัว/วัน นางวิไลไม่ต้องการให้เกิดสกรูไม่พอขาย นางวิไลควรมีนโยบายการสั่งซื้ออย่างไร

41 แบบฝึกหัด 3. จากข้อ 1 – 2 ถ้าผู้จัดการบริษัทไม่ต้องการให้มีการสั่งซื้อบ่อยครั้ง โดยมีนโยบายจะให้มีการสั่งของปีละ 2 ครั้งเท่านั้น จงเปรียบเทียบผลการสั่งซื้อจากข้อ 1 และ 2 ของผู้จัดการ จุดสั่งซื้อซ้ำมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่


ดาวน์โหลด ppt CIM2103 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google