งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ยาและการใช้ยาที่ถูกต้อง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ยาและการใช้ยาที่ถูกต้อง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ยาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
อ.วิภาดา ศรีเจริญ

2 ความหมายของยา ยา (Drug) มีความหมายกว้าง ๆ คือ สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต WHO ให้ความหมายของยา หมายถึง สารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขบวนการทางพยาธิวิทยาซึ่งทำให้เกิดโรค ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก้ผู้ได้รับยานั้น

3 ความหมายของยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522
ความหมายของยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 ยา หมายความว่า 1. วัตถุที่รองรับไว้ในตำราที่รัฐมนตรีประกาศ 2. วัตถุที่มุงหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์และสัตว์ 3. วัตถุเป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป 4. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์

4 ความหมายของยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522
ความหมายของยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 โดยวัตถุตามข้อ 1 2 หรือ 4 ไม่หมายรวมถึง 1. วัตถุที่ใช้ในการเกษตรหรืออุตสาหกรรม 2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือเครื่องใช้ ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางหรือเครื่องเครื่องมือและส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม 3. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับงานวิจัย การวิเคราะห์หรือการชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์

5 การจำแนกประเภทยาที่จำหน่ายในท้องตลาด
แบ่งตามหลักเภสัชวิทยา จะแบ่งได้หลายกลุ่มเช่น กลุ่มยาลดไข้แก้ปวด ยาแก้แพ้ กลุ่มยาแก้เชื้อรา เป็นต้น แบ่งตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก ยาใช้เฉพาะที่ ยาสมุนไพร ยาบรรจุเสร็จ win

6 ประเภทของยา แบ่งตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ แบ่งออกเป็น 9 ประเภท 1. ยาแผนปัจจุบัน คือ ยาที่ผลิตหรือสังเคราะห์จากสารเคมีที่เลียนแบบ ธรรมชาติ ยาที่ใช้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ 2. ยาแผนโบราณ คือ ยาที่มุ่งหมายใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผน โบราณหรือการบำบัดโรคสัตว์ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรี ประกาศหรือที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ ขึ้นทะเบียนเป็น ตำรับยาแผนโบราณ 3. ยาอันตราย คือ ยาที่มีอันตรายสูงกว่ายาสามัญประจำบ้านแต่ไม่เท่ายา ควบคุมพิเศษ การใช้ยานี้ต้องผ่านการดูแลควบคุมจากเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข และจะมีคำว่า “ยาอันตราย” ระบุไว้บนฉลากยา

7 ประเภทของยา (ต่อ) 4. ยาควบคุมพิเศษ คือ เกิดอันตรายได้ง่ายแม้ว่าจะควบคุมดูแลเป็น พิเศษ ต้องผ่านกระบวนการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด แพทย์แผน ปัจจุบันเท่านั้นที่มีอำนาจสั่งและใช้ยาควบคุมพิเศษ เช่น ยารักษา โรคมะเร็ง, ยาสลบ 5. ยาใช้ภายนอก คือ ยาที่ใช้ภายนอก ซึ่งอาจเป็นยาควบคุมพิเศษหรือยา อันตรายด้วยก็ได้ 6. ยาใช้เฉพาะที่ คือ ใช้เฉพาะที่กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ

8 ประเภทของยา (ต่อ) 7. ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกไว้ให้ ประชาชนเลือกใช้ได้เองโดยไม่ต้องผ่านการควบคุมดูแลจากเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข และต้องมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” กำกับไว้บนฉลาก อย่างชัดเจน 8. ยาสมุนไพร คือ ตัวยาที่ได้มาจากส่วนของพืช สัตว์และแร่ โดยที่ยัง ไม่ได้รับการผสม ปรุง หรือแปรสภาพโครงสร้างภายใน 9. ยาบรรจุเสร็จ คือ ยาแผนปัจจุบันที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปแบบต่าง ๆ ทางเภสัชกรรมบรรจุในภาชนะที่ห่อหุ้ม ปิดผนึก มีฉลากไว้ครบถ้วนตาม กฎหมายยา เช่น ยาเม็ด ยาผง ยาแคปซูล ยาน้ำ

9 หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก”
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก” 1. ถูกโรค ยาที่รักษาจะต้องถูกกับโรคที่เป็นอยู่และต้องคำนึงถึง ผลการรักษารวมทั้งมลพิษหรือผลเสียที่เกิดขึ้น * การเจ็บป่วยบางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยยาเสมอไป เช่น ปวดศีรษะ ไม่จำเป็นต้องกินยาแก้ปวดทุกครั้งไป อาจจะเกิด จากความเครียดหรือการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอก็เป็นได้

10 หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก”
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก” 2. ถูกบุคคล บุคคลมีความ “แตกต่างกัน” ตาม อายุ เพศ เชื้อชาติ และ สภาพต่าง ๆ * ลักษณะการได้รับยาควรแตกต่างกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่ สำคัญที่สุด คือ การให้ยาในเด็ก หญิงมีครรภ์และคนชรา

11 หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก”
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก” 3. ถูกเวลา เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและ ไหลเวียนไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์ โดยจะถูกแปรสภาพ และถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ในอัตราที่แตกต่างกัน * ดังนั้นควรเว้นช่วงระยะห่างในการกินยาเท่า ๆ กัน โดย อาจกินยาให้สัมพันธ์กับมื้ออาหารในแต่ละมื้อ หรือตาม ช่วงเวลาที่เหมาะสม *** และมั่นใจว่าจะไม่ลืมกินยา ***

12 หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก”
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก” 4. ถูกทางและถูกวิธี การใช้ยามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการกินยาและ ลักษณะของผู้ป่วย เช่น ยากิน, ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ทา พอก, ยาบางชนิด ใช้ได้หลายวิธี และบางชนิดใช้เฉพาะที่

13 หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก”
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง “กฎ 5 ถูก” 5. ถูกขนาด *การใช้ยาในปริมารหรือขนาดที่ระบุโดยแพทย์หรือ เภสัชกรที่แจ้งไว้ในฉลากยาเท่านั้นให้ยาน้อยเกินไปก้ไม่ ส่งผลในการรักษา หรือถ้ามากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้

14 รูปแบบของยาแบ่งออกได้ดังนี้
ของแข็ง เช่น ยาเม็ด แคปซูลเป็นต้น ของเหลว เช่น ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน เป็นต้น กึ่งของแข็ง เช่น ครีม ขี้ผึง เจล เป็นต้น win

15 เพราะเหตุใดจึงต้องทำยาในรูปแบบต่างๆ
การทำยาในรูปแบบต่างๆมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ รูปแบบของยาน้ำชนิดต่างๆ จะมีประโยชน์ในกรณีของเด็ก คนชรา หรือผู้ที่กลืนยายาก เพื่อช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้เฉพาะที่ เช่น ครีมขี้ผึ้ง ยาหยอดหู ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก ยาเหน็บช่องคลอด และยาเหน็บทวาร เพื่อลดการเสื่อมสภาพของยาจากสภาพแวดล้อมหรือเพื่อปกผิดกลิ่นหรือรสชาติที่ไม่ดีของยา เพื่อให้ยาบางตัวออกฤทธิ์อยู่ได้นาน win

16 รูปแบบของยาที่เป็นของแข็ง ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาเหน็บ
รูปแบบของยาที่เป็นของแข็ง ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาเหน็บ ยาเม็ด ประกอบด้วยตัวยาสำคัญและส่วนอื่นๆ ดังต่อไปนี้ Diluents สารช่วยเพิ่มปริมาณ เพื่อที่จะสามารถทำเป็นเม็ดได้ สารที่นิยมใช้เช่นแลคโตส เป็นต้น Binders สารยึดเกาะ เป็นสารที่ใช้ในสภาพละลายเพื่อทำให้ผงส่วนผสมของสูตรยาเกาะกันเป็น granule ก่อนจะนำไปทำเป็นเม็ด Disintegrants สารที่ทำให้เม็ดยาแตกตัว Lubricants สารหล่อลื่น เพื่อป้องกันการติดของผงยาต่อเป้าตอกยา win

17 ชนิดของยาเม็ด แบ่งออกเป็น 6 ชนิด
ชนิดของยาเม็ด แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ยาเม็ดชนิดที่ไม่เคลือบ Compressed tablet ยาเม็ดที่ถูกอัดครั้งเดียว multiple Compressed tablet ยาเม็ดที่ถูกอัดมากว่า ครั้ง ยาเม็ดชนิดเคลือบ Sugar-coated tablet ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล จะช่วยป้องกันไม่ให้ยาผสมกับอากาศหรือความชื่น หรือช่วยกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่ดี Film- coated tablet ยาเม็ดเคลือบฟิล์ม ถูกเคลือบด้วยสารโพลีเมอ จะมีความทนทานและขนาดเล็กกว่ายาเม็ดเคลือบน้ำตาล ยาเม็ดเคลือบเพื่อให้แตกตัวในลำไส้ ถูกเคลือบด้วยสารที่ไม่ละลายที่กระเพาะอาหาร หรือตัวยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร win

18 ยาอมใต้ลิ้น(Sublingual tablet) ตัวยา ถูกดูดซึมได้ดีจากเยื้อบุช่องปาก ข้อดีคือออกฤทธิ์ได้เร็ว
ยาเม็ดที่ใช้เคี้ยว(Chewable tablet) ใช้เคี้ยวหรือให้ละลายในปาก เมื่อละลายจะมีรสหวาน ยาเม็ดฟู (Efferviscent tablet) เป็นยาเม็ดที่เตรียมโดยวิธีการผสมสารที่สามารถให้ก๊าซ เมื่อผสมกับน้ำ ยาเม็ดออกฤทธิ์เนิ่น(Time-released tablet) เพื่อให้ปล่อยตัวยาออกมาอย่างช้าๆ win

19 ยาแคปซูล(Capsules) มีตัวยาบรรจุอยู่ในหลอดซึ่งเตรียมจาดเจลาติน
แคปซูลชนิดอ่อน จะมีสารพวกกลีเซอรีน ผสมอยู่ด้วยเพื่อทำให้เจลาตินอ่อนตัวลงและยืดหยุ่นได้ แคปซูลชนิดนี้มีความชื่นมากว่าชนิดแข็ง แคปซูลชนิดแข็ง ยาผง(Powders) หมายถึง ส่วนผสมที่เป็นผงละเอียดของตัวยาในรูปแบบแห้ง ยาเหน็บ(Suppositories) ยาเหน็บช่องทวาร(rectal suppositories) ยาเหน็บช่องคลอด(vaginal suppositories หรือ pessaries) จุดประสงค์ของการให้ยาเหน็บ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ หรือใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ชอบกินยาหรือหมดสติ win

20 รูปแบบของยาที่เป็นของเหลว
ยาน้ำใส(Solutions) เช่น ยาอมบ้วนปาก ยาล้างตา น้ำเกลือชนิดต่างๆ น้ำเกลือชะแผล เป็นต้น ยาน้ำเชื่อม(Syrups) ตัวยาสำคัญละลายอยู่ในสารละลายของน้ำเชื่อมที่ทำมาจากน้ำตาลหรือสารให้ความหวานตัวอื่น อีลิกเซอร์(Elixir) เป็นยาเตรียมของสารละลายน้ำและแอลกอฮอล์ที่มีรสหวาน ยาน้ำแขวนตะกอน(Suspension) มียาผงซึ่งเป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยอาศัยสารช่วยแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำ win

21 ยาน้ำแขวนละออง(Emulsion) เป็นยาเตรียมซึ่งประกอบด้วยของเหลว 2 ชนิดซึ่งไม่ละลายในกันและกัน เช่น น้ำมันตับปลา โลชั่น(Lotion) อาจมีคุณสมบัติเป็นยาน้ำใส ยาน้ำแขวนตะกอน หรือยาน้ำแขวนละอองก็ได้ ใช้สำหรับทาภายนอกเท่านั้น ยาเตรียมปราศจากเชื้อ(Sterile products) มักเป็นยาในรูปของเหลวชนิดต่างๆ เช่น ยาฉีด ยาหยอดตา น้ำยาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ win

22 รูปแบบของยาที่เป็นกึ่งของแข็ง
ครีม(Cream) ครีมเป็นอิลันชั่น(Emulsion) ที่มีลักษณะกึ่งของแข็ง ชนิดน้ำมันในน้ำ ชนิดนี้ล้างออกได้ง่าย ไม่เปรอะเสื้อผ้าและสามารถทาง่าย ชนิดน้ำในน้ำมัน ชนิดนี้ล้างยาก ป้องกันการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง กรณีน้ำร้อนลวก ไฟลวก ยาขี้ผึ้ง(Ointment) มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ ตัวยาสำคัญ(active ingredients) และยาพื้น(base) เจล(Gel) ประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กๆ ที่เรียกว่าคอลลอยด์และมี คุณสมบัติชอบน้ำ และความหนืดของเจลจะขึ้นอยู่กับปริมาณของอนุภาค win

23 วิธีการให้ยา แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ
แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ วิธีการให้โดยต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร วิธีฉีด วิธีอื่นๆ win

24 วิธีการให้โดยต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร
การให้ยาโดยการรับประทานทางปาก เป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้ ผู้ป่วยสามารถให้ยาได้ด้วยตนเอง การให้ยาทางทวารหนัก เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ที่รับประทานอาหารยาก การเหน็บยาต้องทำด้วยความนุ่มนวลและสอดยาเข้าไปให้ลึกมากที่สุดเท่าที่ทำได้ การเหน็บยาเป็นวิธีที่ยุ่งยาก และตัวยาชนิดเดียวกันราคาแพงกว่ายาที่ให้โดยวิธีรับประทาน win

25 วิธีฉีด การให้ยาโดยวิธีนี้จะออกฤทธิ์เร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีรับประทาน วิธีการให้ยาโดยการฉีดแบ่งออกเป็น การฉีดเข้าเส้นเลือดดำ จะทำให้ยาเข้าสู่กระแสเลือดได้เต็มที่ และยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็วทันที แต่อาจทำให้เกิดอาการพิษได้รวดเร็วและรุนแรง การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การให้ยาโดยวิธีนี้ยาจะไปกระจายอยู่บนชั้นใต้ผิวหนังซึ่งอยู่บริเวณกล้ามเนื้อ การดูดซึมยาเป็นไปอย่างช้าๆ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะทำให้ยาถูกดูดซึมได้เร็วกว่าและทำให้เกิดความระคายเคืองน้อยกว่าการให้ยาใต้ผิวหนัง การฉีดเข้าเส้นเลือดแดง เป็นวิธีที่ใช้กันน้อยมาก ใช้เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้ยาที่มีพิษสูง เช่น ยารักษามะเร็ง ให้ยาเข้าไปยังอวัยวะส่วนที่ต้องการรักษาโดยต้องการให้ยาแพร่ไปบริเวณอื่นน้อยกว่า win

26 วิธีอื่นๆ การสูดดมและการพ่น การอมใต้ลิ้น การทายาเฉพาะที่
ใช้กรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ที่ช่องจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูก หรือปอด เพื่อขยายหลอดลม การอมใต้ลิ้น ใช้สำหรับยาที่อาจถูกทำลายได้โดยกรดและน้ำย่อยในทางเดินอาหาร ความเข้มข้นของยาในเลือดหลังจากอมยาใต้ลิ้นในระยะแรกจะสูงกว่าความเข้มข้นของยาที่ได้รับจากากรดูดซึมผ่านทางเดินอาหาร เพราะการดูดซึมยาโดยการอมใต้ลิ้นจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดโดยทันทีในระยะแรกโดยไม่ผ่านตับอ่อนก่อน การทายาเฉพาะที่ การเหน็บยาทางช่องคลอด การให้ยาโดยวิธีพิเศษ การให้ยาเข้าทางน้ำไขสันหลัง เข้าในช่องปอด ช่องท้อง เป็นต้น win

27 ข้อดีข้อเสียของการกินยา
ถ้ายามีรส กลิ่นไม่ดี ทำให้ไม่อยากกินยานั้น ยาอาจถูกทำลายโดยน้ำย่อยและกรดในกระเพาอาหาร ใช้ไม่ได้ในผู้ป่วยที่อาเจียนหรือหมดสติ ข้อดี ให้สะดวกปลอดภัยไม่เจ็บตัว ให้ได้ด้วยตนเอง ราคาถูก ให้ผลดีเหมือนยาฉีดและจะให้ผลดีกว่าด้วยสำหรับยาที่จำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับแล้วทำให้ฤทธิ์การรักษาดีขึ้น win

28 ข้อดีข้อเสียของการฉีดยา
การฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ไม่มีปัญหาเรื่องการดูดซึม ยาออกฤทธิ์เร็ว ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่มีปัญหายาถูกทำลายก่อนการดูดซึม การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การดูดซึมเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นาพอสมควร การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมได้เร็ว และ ความระคายเคืองน้อยกว่าการให้ทางผิวหนัง ข้อเสีย เกิดอาการเป็นพิษได้มากและเร็ว ขนาดของยาอาจเป็นอันตรายได้อาจทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เม็ดเลือดแตก เม็ดเลือดรวมตัวกัน การติดเชื้อราคาแพง ยาบางอย่างที่ระคายเคือง อาจทำให้เกิดเป็นแผลตรงบริเวณที่ฉีดได้ การสะสมยาไว้ที่เนื้อเยื่อ จะทำให้การดูดซึมช้าลง win

29 เงื่อนไขต่างๆ ในการให้ยา
เงื่อนไขต่างๆ ในการให้ยา ชนิดของยา ยาบางชนิดจำเป็นต้องใช้การฉีด สภาพของผู้ป่วย ไม่สามารถกินได้ อาเจียน อาการและความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่ยาไปออกฤทธิ์ win

30 ข้อเสียของยาฉีด ยาฉีด อาจทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรงจนถึงตายได้
ยาฉีด อาจทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรงจนถึงตายได้ เข็มและเครื่องมือที่ใช้ฉีดยา ถ้าท่าฆ่าเชื้อหรือใช้เทคนิคการฉีดไม่ดีพอ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายทำให้เป็นฝีหนอง ผู้ที่ขาดความชำนาญ หรือหลงตัวเองว่าตัวเองชำนาญ อาจปักเข็มไปถูกเส้นประสาทหรืออวัยวะสำคัญได้ ค่าใช้จ่ายแพงและยุ่งยาก คนไข้ต้องเจ็บตัว win

31 การสูดดมและการพ่นยา ข้อดี ข้อเสีย
ยาออกฤทธิ์เร็ว ให้ยาได้ด้วยตัวเอง ออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง ข้อเสีย วิธีการให้ไม่สะดวกแก่การรักษา ปริมาณยาไม่แน่นอน ทำให้เกิดการระคายเคือง หลอดลมตีบตัว ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ win

32 การอมใต้ลิ้น ข้อดี ข้อเสีย
ความเข้มข้นของยาในเลือดในระยะแรกจะสูงกว่าความเข้มข้นของยาที่ได้จากากรดูดซึมทางลำไส้เล็กเพราะว่ายาถูกทำลายช้าลงเนื่องจากไม่ต้องผ่านตับอ่อนในตอนแรก เพื่อหลีกเลี่ยงข้อเสียที่จะเกิดจากการให้ยาทางระบบทางเดินอาหาร ข้อเสีย ยาบางชนิดมีรสไม่ดีและอาจทำให้เกิดการระคาย การให้ยาโดนวิธีนี้กินเวลานาน ไม่ค่อยสะดวกพูดไม่ได้ win

33 การเหน็บ ข้อดี ข้อเสีย เหมาะกับเด็ก หรือผู้กินยายาก
เหมาะกับเด็ก หรือผู้กินยายาก ออกฤทธิ์เฉพาะแห่งและทั่วทั้งตัว ข้อเสีย ยุ่งยาก ต้องเสียเวลานอน ราคาแพง รศ. นายแพทย์กำพล ศรีฒนกุล เภสัชกร ดร.จุฑามณี จารุจินดา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล win

34 ยาชุดอันตราย ! ยาชุด หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดรวมไว้เป็นชุดให้กับผู้ซื้อ สำหรับใช้กินครั้งละ 1 ชุดรวมกันหมดโดยไม่แยกว่า เป็นยาชนิดใด ควรกินเวลาไหน โดยทั่วไปมักจะมียา 3-5 เม็ด หรืออาจมากกว่าและจัดยารวมไว้ในซอง พลาสติกเล็กๆพิมพ์ฉลากบ่งบอกสรรพคุณไว้เสร็จ ยาที่มีอันตรายสูงมากและจัดอยู่ในยาชุดทุกชนิด คือ ยาสเตียรอยด์

35 ยาลูกกลอนผสม สเตียรอยด์
เป็นยาที่ผลิตขึ้นโดยการนำเอายาสมุนไพรหลายชนิดมาบด ผสมและใช้น้ำผึ้งหรือน้ำเป็นตัวประสานปั้นเป็นก้อนกลมๆ และ ยังนำเอาตัวยาแผนปัจจุบันมาผสม โดยเฉพาะกลุ่มยา สเตียรอยด์ ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกให้ ประชาชนในการบำบัดรักษาอาการของโรค ในกรณีที่มีอาการ เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆสำหรับตนเอง หรือคนในครอบครัว

36 ปัจจุบันมีรายการยาสามัญประจำบ้าน 63 รายการ
7.เหล้าแอมโมเนียหอม 8.ยาทาแก้ผดผื่นคัน 9.ทิงเจอร์ใส่แผลสด 10.ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม 11.ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก ปัจจุบันมีรายการยาสามัญประจำบ้าน 63 รายการ ยาที่ควรมีไว้ประจำบ้าน 11 รายการได้แก่ 1.ยาธาตุน้ำแดง 2.ยาน้ำเคาลินเพกติก 3.ผงน้ำตาลเกลือแร่ 4.ยาเม็ดแก้แพ้ 5.ยาเม็ดแอสไพริน 6.ยาลดไข้ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก

37 อันตรายที่เกิดจากการใช้ยา
ใช้ยาในทางที่ผิด การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ใช้ยามากเกินไป/น้อย เกินไป ใช้ยาพร่ำเพรื่อ 2. ใช้ยาผิดโดยไม่ตั้งใจ เช่น การหยิบยาผิด หยิบยาเม็ดสำหรับเหน็บไปกิน * เพราะสี รส และลักษณะอาจมีความคล้ายคลึงกันมาก * 3. การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจต้องระวังเป็นย่างมาก เกิด การสะสม เมื่อหยุดยาอาจเกิดอาการระยะยาวหรือถาวรได้ เช่น สาร ก่อมะเร็งหรือยาบางตัวที่ทำให้ไตวายหรือตาบอดได้

38 อันตรายที่เกิดจากการใช้ยา (ต่อ)
4. การพึ่งยา “การใช้ยาผิดจนกระทั่งเกิดการติดยา” แบ่งออกเป็นอาการพึ่งยา ทางใจ และทางกาย 5. ผลข้างเคียงของยา อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากฤทธิ์ของยาซึ่งไม่พึงประสงค์ในการรักษา ซึ่ง อาจใช้อย่างถูกต้องตามคำสั่งของแพทย์แล้วก็ตาม 6. การแพ้ยา ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่อยานั้น **บางครั้งอาจได้รับตัวยาที่มีลักษณะคล้ายกันมาก่อนและกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันหรือต่อต้าน**

39 อันตรายที่เกิดจาการใช้ยา (ต่อ)
7. การดื้อยา จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในร่างกายเมื่อถูกยาไปยับยั้งหรือทำลายไม่ให้เกิด โรคก็พยายามต้าน บางตัวกลายพันธ์จนสามารถทนต่อฤทธิ์ยานั้นได้ดี 8. ยาเสื่อมคุณภาพหรือยาหมดอายุ ยาทุกชนิดย่อมมีอายุระยะหนึ่งและปรากฎสภาพการเปลี่ยนแปลงเมื่อสิ้น อายุ *** การเก็บรักษาไม่ดียาอาจเปลี่ยนแปลงสภาพได้

40 วิธีการสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพ
วิธีสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพ - ยาเม็ด สังเกตว่าเม็ดยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา หรือหากเป็นยาเม็ด เคลือบน้ำตาล เม็ดยาอาจเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน ผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อไต มาก ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับ กันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สี หรือ รสเปลี่ยนไป

41 วิธีการสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพ
- ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมีลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยา ละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าพบว่าเนื้อยาแข็งหรืออ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้ง แข็ง หรือสีของยาเปลี่ยนไป วิธีการดูว่ายาหมดอายุ คือ ดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายา นั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งโดยปกติ - ถ้าเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต - ยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปี - ยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน

42 อันตรายที่เกิดจากการใช้ยา (ต่อ)
9. ปฏิกิริยาของยาหลายชนิดในร่างกาย เกิดจากปฏิกิริยาของยา ที่เกิดจากการได้รับยามากกว่า 1 ชนิด ขึ้นไป ยาอาจไปเสริมฤทธิ์หรือลดฤทธิ์ยาของอีกตัวหนึ่งได้ บางครั้งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต หรืออาจไม่มีผลในการรักษา

43 สมุนไพรในชีวิตประจำวัน
อ. วิภาดา ศรีเจริญ

44 ความหมายสมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า
สมุนไพร คือ “ผลิตผลทางธรรมชาติที่ได้มาจาก พืช สัตว์และแร่ธาตุที่นำมาใช้เป็นยา หรืออาจเป็นการผสมกับสารชนิดอื่น ตามตำรับยาเพื่อจะนำมาใช้ในการบำบัดโรค บำรุงร่างกาย หรือในอีกทางหนึ่งจะใช้เป็นยาพิษ” ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ ให้ความหมายว่า สมุนไพร คือ “ตัวยาที่ได้มาจากส่วนของพืช สัตว์และแร่ โดยที่ยังไม่ได้รับการผสม ปรุง หรือแปรสภาพโครงสร้างภายใน”

45 ประเภทของยาสมุนไพร โดยทั่วไปยาสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 สาขา
ยาสมุนไพรแผนโบราณ ยาสมุนไพรแผนปัจจุบัน สมุนไพรที่พบในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท สมุนไพรไทยแผนโบราณ สมุนไพรจีนแผนโบราณ

46 เภสัชวัตถุ เภสัชวัตถุ หมายถึง วัตถุนานาชนิด ที่นำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรค และแก้ไข้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ พืชวัตถุ คือ พืชพรรณนานาชนิดที่นำมาใช้ในการปรุงเป็นตัวยารักษาโรค แบ่งได้ 5 จำพวก คือ ต้น เถา-เครือ หัว-เหง้า ผัก หญ้า-ล้มลุก เห็ด สัตว์วัตถุ คือ สัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งนำเอาร่างกายหรืออวัยวะต่าง ๆ นำมาทำเป็นยารักษาโรค แบ่งได้เป็น 4 จำพวก คือ สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์อากาศ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

47 เภสัชวัตถุ (ต่อ) ธาตุวัตถุ คือ แร่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำนำมาใช้เป็นยารักษาโรค แบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ พวกที่สลายตัวง่ายกับพวกที่สลายตัวยาก

48 รสของตัวยานั้นบ่งบอกสรรพคุณของยา
รสของตัวยานั้นบ่งบอกสรรพคุณของยา แบ่งรสยาออกเป็นยารสประธาน 3 รส และรสยา 9 รส ยารสประธาน ประกอบด้วย ยารสร้อน ยารสเย็น และยารสสุขุม รสยา 9 รส ประกอบด้วย รสฝาด - รสเค็ม รสหวาน - รสเปรี้ยว รสเบื่อเมา รสขม รสเผ็ดร้อน รสมัน รสหอมเย็น

49 การเก็บรักษาและการแปรสภาพยาสมุนไพร
วิธีการเก็บส่วนของพืชที่ใช้เป็นยามีดังนี้ รากหรือหัว เปลือกราก เปลือกต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด

50 การแปรสภาพ สมุนไพรส่วนใหญ่ นิยมใช้ของแห้งเพราะได้คุณภาพยาคงที่ ดังนั้น หลังจากเก็บได้มาแล้วต้องนำมาคัดเลือก ล้าง ตัด หั่นชิ้น ตามความเหมาะสม แล้วทำให้แห้ง เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา การเตรียมยาสมุนไพรที่นิยมใช้เพื่อผลิตเป็นยาหรือเพื่อจำหน่ายในรูปยาแผนโบราณที่บรรจุกึ่งสำเร็จรูป ยาชง ยาต้ม ยาหมัก ยาตุ๋น การสกัดตัวยา

51 การเก็บรักษา เพื่อไม่ให้สมุนไพรหมดอายุหรือเสื่อมสภาพเร็วเกินไป เกิดรา มีกลิ่นเปลี่ยน ควรเก็บรักษาดังนี้ ยานั้นตะต้องแห้งอยู่เสมอ ยาที่ชื้นง่าย ต้องหมั่นเอาออกผึ่งแดด สถานที่เก็บรักษา ควรเป็นที่แห้งเย็น ไม่มีแดดส่องถึง ไม่มีลมโกรก การเก็บต้องจัดระเบียบ ไม่ปะปนกัน ป้องกันแมลง

52 สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน
กานพลู กระวาน กระชาย กะเพรา กระทือ กล้วยน้ำว้า กระเทียม ขิง

53 การจำแนกสมุนไพรเพื่อการรักษา โดยแบ่งตามกลุ่มโรค/อาการ
กลุ่มโรคและอาการในระบบทางเดินอาหาร กลุ่มโรคและอาการในทางเดินปัสสาวะ กลุ่มโรคผิวหนัง กลุ่มโรค/อาการอื่นๆ

54 สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/ อาการในระบบทางเดินอาหาร
1. โรคกระเพาะอาหาร: ขมิ้นชัน กล้วยน้ำว้า 2. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด: ขมิ้น ขิง กานพลู กระเทียม กระเพรา ตะไคร้ พริกไทย ดีปลี ข่า กระชาย แห้วหมู กระวาน เร่ว มะนาว กระทือ 3. อาการท้องผูก: ชุมเห็ดเทศ มะขาม มะขามแขก แมงลัก ขี้เหล็ก คูน

55 5. คลื่นไส้อาเจียน: ขิง ยอ
6. โรคพยาธิลำไส้: มะเกลือ เล็บมือนาง มะหาด ฟักทอง 7. อาการปวดฟัน: แก้ว ข่อย ผักคราดหัวแหวน 8. อาการเบื่ออาหาร: บอระเพ็ด ขี้เหล็ก มะระ สะเดาบ้าน

56 ส่วนที่ใช้ : ดอกสด ใบสดหรือแห้ง
สรรพคุณ : ใบ นำมาตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบ นำมาต้มรับประทานแก้อาการ ท้องผูก

57 โรคกระเพาะอาหาร ชื่อสามัญ กล้วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย สรรพคุณ ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยา ระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ยาง สมานแผลห้ามเลือด ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิต จางลดน้ำตาลในเส้นเลือด

58 ชื่อสามัญ ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma Longa Linn. ส่วนที่ใช้ เหง้าสดและแห้ง สรรพคุณ เหง้า มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย บรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด

59 สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/อาการในระบบทางเดินหายใจ
อาการไอและระคายคอจากเสมหะ: ขิง ดีปลี เพกา มะขามป้อม มะขาม มะนาว มะแว้งเครือ มะแว้งต้น

60 ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinals Roscoe ส่วนที่ใช้ ใบ ดอก เหง้า
ชื่อสามัญ ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinals Roscoe ส่วนที่ใช้ ใบ ดอก เหง้า สรรพคุณ เหง้าแก่ ลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ ใช้ภายนอก รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน และแผลมีหนอง ใบ ใช้ใบสด แล้วคั้นเอาน้ำกิน 15 มล บรรเทาอาการฟกช้ำจากการหกล้ม ช่วยย่อยอาหาร ขับลม ขับลมในลำไส้ ดอก ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ และ บิด

61 ส่วนที่ใช้ ผลโตเต็มที่ ตากแห้ง
ชื่อสามัญ ดีปลี ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper chaba Hu ส่วนที่ใช้ ผลโตเต็มที่ ตากแห้ง สรรพคุณ ผลโตเต็มที่ รักษาอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ใช้ผลดีปลี 1/2 - 1 ผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ กวาดคอวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น น้ำมันหอมระเหย แก้อาการท้องอืด เฟ้อ แน่นจุกเสียด

62 ชื่อสามัญ เพกา ชื่อวิทยาศาสตร์Oroxylum indicum Vent. ส่วนที่ใช้ เมล็ดแห้งจากฝักแก่ สรรพคุณ ใช้เมล็ดแห้ง ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้ไฟอ่อน ๆ เคี่ยวนาน 1 ชั่วโมง ดื่มแต่น้ำครั้งละ 1/3 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ระงับอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ

63 ชื่อสามัญ มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus emblica Linn.ส่วนที่ใช้ ผลโตเต็มที่สด มีรสเปรี้ยว อมฝาด สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ เนื่องจากเนื้อในมีกรดอินทรีย์ และมีสารช่วย กระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ

64 ชื่อสามัญ มะนาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia Swing ส่วนที่ใช้เป็นยา » เปลือกและน้ำในผล สรรพคุณ» เปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะ

65 ชื่อสามัญ มะขาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn. ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) มีรสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ เนื้อมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน ดื่มน้ำตามมาก ๆ รักษาอาการท้องผูก อาการไอ ระคายคอจากเสมหะ

66 ชื่อสามัญ มะแว้งต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum Linn. ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลโตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก มีรสเฝื่อน ขม สรรพคุณ ผลสดโตเต็มที่ เคี้ยว กลืนทั้งเนื้อและน้ำ ลดอาการไอ ช่วยขับเสมหะ

67 อาการขัดเบา: กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ตะไคร้ สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง
สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/อาการในระบบทางเดินปัสสาวะ อาการขัดเบา: กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ตะไคร้ สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง

68 ชื่อสามัญ ขลู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica Less. ส่วนที่ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ สรรพคุณ ทั้งต้น ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง

69 ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L

70 ชื่อสามัญ ตะไคร้. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC
ชื่อสามัญ ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.ex Nees) Stapf. ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น หัว ใบ ราก สรรพคุณ ใช้เหง้าและลำต้นสด ต้มกับน้ำ แก้อาการขัดเบา ลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่ตะไคร้สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย

71 สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/อาการในกลุ่มโรคผิวหนัง
1. อาการกลากเกลื้อน: กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง พลู 2. ชันนะตุ: มะคำดีควาย 3. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก: บัวบก ว่านหางจระเข้ 4. ฝี แผลพุพอง: ขมิ้น ชุมเห็ดเทศ เทียนบ่าน ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร

72 สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/อาการในกลุ่มโรคผิวหนัง
5. อาการแพ้อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย 6. อาการลมพิษ: พลู 7. อาการงูสวัด เริม: พญายอ

73 สมุนไพรรักษากลุ่มโรค/อาการในกลุ่มโรคอื่นๆ
1. อาการเคล็ด ขัดยอก: ไพล 2. อาการนอนไม่หลับ: ขี้เหล็ก 3. โรคเหา: น้อยหน่า

74 สรรพคุณ เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ

75 ส่วนที่ใช้เป็นยา » ใบสดหรือราก (สดหรือแห้ง)
รสและสรรพคุณยา » ใบมีรสเบื่อ เมา เป็นยาที่ดับพิษไข้ รากเอามา ป่นละเอียด แช่เหล้าโรงเอาไว้ 7 วัน ทาแก้กลาก เกลื่อนและผื่นคันต่างๆ

76 ส่วนที่ใช้ เปลือกผลแก่
สรรพคุณ แก้ท้องเสีย วิธีใช้ » นำใบหรือรากสดหรือแห้งของทองพันชั่ง ใช้รักษากลากเกลื่อน โดยใช้ใบ ใบ หรือราก 2-3 ราก ตำให้ละเอียด แช่ เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์เอาไว้ 7 วันนำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะ หาย

77 ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแห้งและฝักแห้ง สรรพคุณ ใบและฝักใช้เป็นยาถ่าย แต่ใบจะทำ ให้มีอาการไซ้ท้องมากกว่า

78 ส่วนที่ใช้ : ใบ สรรพคุณ : ใบ : รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษา โรคเริม งูสวัด ต้น : แก้บิด

79 ส่วนที่นำมาเป็นยา ใบสด สรรพคุณ ถอนพิษ แมลง - สัตว์ , เป็นฝี
แก้ผดผื่นคัน

80 สรรพคุณ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเดิน
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ทั้งต้น

81 ส่วนที่ใช้ : เหง้าสดและแห้ง
สรรพคุณยาไทย :เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด

82 วิธีใช้ 1. แก้ท้องเสีย : รับประทานใบอ่อน สด เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วกลืนน้ำตาม ถ้าเคี้ยวกับ เกลือเล็กน้อย จะกลืนง่ายขึ้น 2. ระงับกลิ่นปาก ใบสด เคี้ยวและ คายกากทิ้ง 3. แก้โรคลักปิดลักเปิด ผลโตเต็มที่ แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ ส่วนที่ใช้ ใบ ผลอ่อน สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ระงับ กลิ่นปาก บำรุงฟัน

83 สรรพคุณ แก้ฟกช้ำ ช่วยให้แผลหายเร็ว
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ผักหนอก ผักแว่น ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นและใบสด 1. ใช้รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง หรือแผล หลังผ่าตัด บัวบกจะช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็ว และแผลเป็นมีขนาดเล็ก 2. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

84 สรรพคุณ รักษากลาก เกลื้อน
-นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้ว ปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน -นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็น เกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียม ทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะ หาย

85 แก้ฟก บวม เคล็ด ยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู
สรรพคุณ : แก้ฟก บวม เคล็ด ยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู วิธีใช้ : เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำมาทานวด บริเวณที่เกิดอาการ หรือ ตำให้ละเอียดแล้วผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเข้า ด้วยกัน แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอ น้ำให้เกิดความร้อนขึ้นมาประคบที่มีอาการ ปวดเมื่อยและฟกช้ำ ชื่อท้องถิ่น : ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่

86 ส่วนที่ใช้ ต้น ใบสด น้ำมันของต้น ตะไคร้หอม
สรรพคุณ ทั้งต้นใช้ไล่ยุงได้ วิธีใช้ ใช้ตะไคร้หอม 4-5 นำมาทุบ วางทิ้งไว้ในห้องมืด กลิ่นน้ำมันจะ ระเหยออกมาไล่ยุงและแมลง

87 ประโยชน์ในการรักษา 1. วุ้นจากใบใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และ แผลถลอก -เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ส่วนล่างๆ เพราะ ใบใหญ่ได้วุ้นมากนำมาปอกเปลือกสีเขียว ออก ล้างยางสีเหลืองที่ติดมาออกให้หมด เอาวุ้นใสมาพอกบริเวณแผล ทาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย จะช่วยระงับ ความเจ็บปวด ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิด แผลเป็น ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ - ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ ส่วนที่ใช้เป็นยา - วุ้นและเมือกจากใบสด

88 ส่วนที่ใช้เป็นยา » ใบสด สรรพคุณ»
รสแผ็ดร้อนเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ใช้ ใบพลู ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เกิดเป็น ลมพิษ วิธีใช้ » ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กับต่อย อาการแพ้ในลักษณะ ลมพิษ โดยนำใบพลูสัก 1-2 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง ทาบริเวณที่เกิดลมพิษ ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก

89 แปะก๊วย - พืชสมุนไพรที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ สามารถบำบัดโรคต่างๆ ได้ ช่วย บำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น เป็นพืชที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบ

90 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt ยาและการใช้ยาที่ถูกต้อง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google