ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยGlenna Hadiman ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
2
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
ภัยธรรมชาติที่ประเทศไทยมักประสบเป็นประจำ ได้แก่ วาตภัย อุทกภัย และแผ่นดิน ถล่ม สำหรับ ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนียโดยภาพรวมแล้ว จะประสบกับภัยธรรมชาติอันเกิดจาก ปรากฏการณ์เอลนิโญ ลานีญา ภัยแล้ง แผ่นดินไหว
3
1.ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
1.1 วาตภัย วาตภัยเป็ นภัยที่เกิดจากลมพายุ พายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือ เกิดจากพายุฤดูร้อนและเกิดจากพายุหมุนเขตร้อน
4
1.พายุฤดูร้อน มักเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งเป็ นช่วงที่อากาศมีอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยในระยะนี้เป็ นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพัด มาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน
5
2.พายุหมุนเขตร้อน อยู่เหนือมหาสมุทรในเขตร้อนการหมุนเวียนของลมพายุในซีกโลกเหนือจะพัดเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา บริเวณ รอบข้างที่กระจายออกโดยความเร็วอาจอยู่ที่10-20กิโลเมตรต่อชั่วโมงบริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้น เป็นประจำ ได้แก่ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก พายุที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น แต่ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ แถวทะเลแคริบเบียน บริเวณอ่าวเม็กซิโก และใน มหาสมุทรแปซิฟิกแถบฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก มีชื่อเรียกว่า เฮอร์ริเคน หากเกิด ในบริเวณมหาสมุทรอิเดียเหนือ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ และบริเวณมหาสมุทรอินเดียใต้ มีชื่อเรียกว่า พายุไซโคลน นอกจากนี้ยังมี การแบ่งชนิดของพายุออกตามความเร็วรอบศูนย์กลางของการหมุนเป็นเกณฑ์โดยแบ่งออกเป็น 3ชนิด คือ 1)พายุดีเปรสชั่น 2)พายุโซนร้อน 3)พายุไต้ฝุ่น
6
วิธีการป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อนและพายุหมุนเขตร้อน
- ควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศเพื่อเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น -อยู่อาศัยในสถานที่ปลอดภัยกล่าวคืออยู่ในอาคารที่แข็งแรงและปลอดภัยจากลมพายุและน้ำท่วม และควรอยู่ในอาคารจนกว่าพายุจะสงบลงนอกจากนี้ควรดูและสิ่งของต่างๆที่อาจหักโค่นได้ง่ายให้อยู่ในสภาพแข็งแรง หรือเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองควรหลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้กับสิ่งของเหล่านี้ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา
7
1.2 อุทกภัย อุทกภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากน้ำ เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็ นเวลานาน ซึ่งมีสาเหตุจากการ เกิดพายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุมที่มีกำลังแรงน้ำทะเลหนุน เขื่อนกั้นน้ำพังทลาย เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ อุทกภัยมีความรุนแรงและมีรูปแบบต่างๆ คือ ลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่บริเวณนั้น ลักษณะของอุทกภัยแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
8
1.น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน
ที่มักเกิดขึ้นบริเวณที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดหลายชั่วโมงบริเวณภูเขา ทำให้ดินดูดซับน้ำไม่ทันน้ำฝนจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และทรัพย์สินต่างๆ บางครั้งทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ลักษณะภูมิประเทศ เช่น การเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำลำธาร
9
2.น้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่มีปริมาณน้ำสะสมเป็นจำนวนมาก มักเกิดในบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงซึ่งอาจ เกิดจากฝนตกหนักเป็นเวลานาน หรือน้ำทะเลหนุนจนน้ำในแม่น้ำลำคลองเอ่อล้มขึ้นมาท่วมจนได้รับความ เสียหาย ประกอบกับการสร้างอาคารบ้านเรือนกีดขวางทางน้ำไหลทำให้น้ำที่ท่วมขังระบายออกไม่ได้
10
1.3 แผ่นดินถล่ม แผ่นดินถล่ม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของชั้นดิน หรือชั้นหินนอกสุดของเปลือกโลกที่มี การเลื่อนตัวจากที่สูงตามแรงดึงดูดของโลกลงสู่ที่ต่ำ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดบ่อยครั้งในฤดูฝน โดยเฉพาะ บริเวณที่อยู่บนภูเขาสูง ลาดเขา หรือเชิงเขา สาเหตุการเกิดแผ่นดินถล่มในประเทศไทยมักเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนทำ ให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานประกอบกับไม่มีต้นไม้ช่วยดูดซับน้ำเนื่องจากการทำลายป่าไม้
11
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
12
เอลนีโญ - ลานีญา
13
สภาวะปกติ ในสภาวะปกติ ลมค้าจะพัดกระแสน้ำอุ่นในแปซิฟิกตะวันออก ไปสะสมอยู่ทางแปซิฟิกตะวันตก ทำให้แปซิฟิกตะวันตกเกิดการสะสมของเมฆฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกมีกระแสน้ำเย็นไหลมาแทนที่ ทำให้เกิดความแหงแล้งบริเวณนี้
14
ปรากฎการณ์เอลนีโญเป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการไหลกลับของน้ำอุ่นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตามปกติน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันออก มีอุณหภูมิสูงขึ้นและปริมาณน้ำอุ่นขยายตัวขึ้นทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันออก มีฝนตกมากกว่าปกติ ส่วนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเกิดความแห้งแล้ง
15
ผลกระทบ แปซิฟิกตะวันตก อากาศแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ แปซิฟิกตะวันออก
ฝนตกหนัก เกิดอุทกภัย
16
ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากลมค้ามีกำลังมากกว่าปกติจึงพัดพากระแสนน้ำอุ่นจากแปวิฟิกตะวันออกไปยังแปซิฟิกตะวันตกมากขึ้นทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก ในแถบเอเชียออสเตรเลียและโอเชียเนีย มีฝนมากกว่าปกติ ขณะที่บริเวณตะวันออกในประเทศเอกวา ดอร์และชิลี มีฝนน้อยกว่าปกติและแห้งแล้ง
17
ผลกระทบของปรากฏการณ์ลานีญา
ในแถบเอเชียออสเตรเลีย และโอเชียเนีย มีฝนมากกว่าปกติ และเกิดน้ำท่วม แปซิฟิกตะวันตก ในประเทศเอกวา ดอร์ และชิลี มีฝนน้อยกว่าปกติและแห้งแล้ง ณแปซิฟิ กตะวันออก
19
ภัยแล้ง ภัยแล้ง หมายถึง ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ ซึ่งเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานาน ทำให้ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค ก่อให้เกิดความเสียหายไปทั่วในบริเวณกว้าง
20
ภัยแล้งเกิดขึ้นทั้งจากฝีมือของมนุษย์และธรรมชาติ
ฝีมือมนุยษ์ จากธรรมชาติ - เกิดจากการพัฒนาทางด้าอุตสาหกรรม - การเผาทำลายเชื้อเพลิง - การทำลายชั้นโอโซน - การตัดไม้ทำลายป่ า - จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก - การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
21
การป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง
แจกจ่ายน้ำให้ประชาชน การเจาะน้ำบาดาล การทำฝนเทียม การสร้างเขื่อนเก็บน้ำ การรักษาป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์
23
แผ่นดินไหว คือการที่เปลือกโลกเกิดการสั่นสะเทือน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้ 2ลักษณะ คือ 1.เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์
24
1.เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในชั้นต่างๆ และการระเบิดของภูเขาไฟ จากการที่ชั่นหินหลอมละลายซึ่งได้รับพลังงานความร้อนจากแก่นโลก เกิดการดันตัวขึ้นผลักดันเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา 2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน กิจกรรมเหล่านี้เป็นการเพิ่มแรงเค้นให้แก่บริเวณนั้น พลังงานความเค้นและแรงเครียดที่มีอยู่ก่อนแล้วก็จะได้รับการสะสมเพิ่มมากขึ้น
27
สึนามิ หมายถึง คลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เกิดจากการที่มวลน้ำในทะเลและ มหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินเลื่อน และการพุ่งชนของอุกกาบาต เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง กะทันหัน ทำให้น้ำทะเลเกิดการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง
28
การระวังภัยสึนามิ ควรสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะเกิดสึนามิ เช่น การติดตามข่าว การเตือนภัย สังเกตปรากฏการณ์ชายฝั่ง หากน้ำทะเลลดระดับลงมากผิดปกติ โดยเฉพาะหลังเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานก่อนว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิ ให้อพยพออกจากพื้นที่ชายฝั่งไปอยู่ในที่สูง
29
ความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
อนุสัญญาไซเตส(CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่ าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ; CITES) ลงนามที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2516 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่ าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนผลิตพันธุ์ของสัตว์ป่ าและพืชป่ า
30
อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ(wetland) ลงนามที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อ พ.ศ.2514 มีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่ม น้ำในโลก และสนับสนุนให้ใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้าอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำทังหลายล้วนเป็น แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของสัตว์ต่างๆ ซึ่งสำคัญในห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งมนุษย์ด้วย
31
อนุสัญญาเวียนนา(Vienna Convention) และพิธีสารมอลทรีออล(Montreal Protocol)
อนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน (The Vienna Convention for The Protection of the Ozone Layer) จากการประชุมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อ พ.ศ.2528 มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นคว้า เฝ้าระวัง แลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนควบคุมปริมาณการผลิตและการปล่อยสารที่ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน
32
เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศจากภาวะเรือนกระจก
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations FrameworkConvention on Climate Change ; UNFCCC/FCCC)และพิธีสารเกียวโต(Kyoto Protocol) จัดตั้งขึ้นจากการประชุมที่กรุง ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อ พ.ศ วัตถุประสงค์ เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศจากภาวะเรือนกระจก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.