งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม
โดย นายประจวบ สวัสดิประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช.

2 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
ประโยชน์ส่วนบุคคล (Personal Benefits) บุคคลทั่วไปในสถานะเอกชน ทำกิจกรรม หรือ กระทำการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของตนและพวก พ้อง ประโยชน์ส่วนรวม (Common Interest) บุคคลที่มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติตาม หน้าที่ หรือ กระทำการตามหน้าที่ ที่แยกออกจาก การกระทำในสถานะเอกชน โดยมีเป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม อันเป็น ประโยชน์ของรัฐ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest) บุคคลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ตกอยู่ในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรูปแบบต่างๆ ตามที่กฎหมาย กำหนดเอาไว้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมีอำนาจ หน้าที่ในกิจการเพื่อประโยชน์ของรัฐ แต่ได้นำ ประโยชน์ส่วนการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ

3 รูปแบบของการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคล
และประโยชน์ส่วนรวม การนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปใช้ชั่วคราว การรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อันส่งผลต่อ การตัดสินใจ การใช้ข้อมูลภายในของรัฐไปเพื่อประโยชน์ของ ตนหรือพวกพ้อง การใช้เวลาราชการไปทำงานพิเศษ การทำธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐ ลักษณะมีส่วน ได้เสียในสัญญาที่ได้ทำกับภาครัฐนั้น การไปทำงานให้ภาคเอกชน(ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น) เมื่อพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ อย่าง ต่อเนื่อง การกำหนดโครงการสาธารณะไปลงในพื้นที่ของ ตนเอง

4 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์

5 มาตรา 184 (ข้อห้าม) มาตรา ๑๘๔ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง (๑) ไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือ ตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (๒) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้า รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาใน ลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม

6 มาตรา 184 (ต่อ) (๓) ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็น พิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคล อื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ (๔) ไม่กระทำการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการใช้ สิทธิหรือเสรีภาพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน โดยมิชอบ (โดยวรรคสาม กำหนดให้นำ (2) และ (3) มาบังคับใช้ แก่คู่สมรส และบุตรของ สส. และ สว. รวมทั้งบุคคลอื่นที่ ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายจาก สส. หรือ สว.)

7 มาตรา 185 (พฤติการณ์) มาตรา ๑๘๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก วุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภากระทำการใด ๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ ประจำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือ หุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น (๒) กระทำการในลักษณะที่ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการ ใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือให้ความเห็นชอบในการจัดทำ โครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นการ ดำเนินการในกิจการของรัฐสภา (๓) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนหรือการให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการซึ่งมี ตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น

8 มาตรา 186 (รวมถึงรัฐมนตรีโดยมีข้อยกเว้น) มาตรา ๑๘๖ ให้นำความในมาตรา ๑๘๔ มา ใช้บังคับแก่รัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การดำรงตำแหน่งหรือการดำเนินการ ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจของ รัฐมนตรี (๒) การกระทำตามหน้าที่และอำนาจในการ บริหารราชการแผ่นดิน หรือตามนโยบายที่ได้แถลง ต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ กรณีตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีต้องไม่ใช้ สถานะหรือตำแหน่งกระทำการใดไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อ ประโยชน์ของตนเองของผู้อื่น หรือของพรรค การเมืองโดยมิชอบตามที่กำหนดในมาตรฐานทาง จริยธรรม

9 มาตรา 187 (รัฐมนตรีกับการถือหุ้น) มาตรา ๑๘๗ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่ง ความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัทต่อไปตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่ เป็นลูกจ้างของบุคคลใด ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับ ประโยชน์จากกรณีตามวรรคหนึ่งต่อไป ให้แจ้ง ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ แต่งตั้ง และให้โอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อ ประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ (วรรคสองห้ามรัฐมนตรี ไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ หุ้นหรือกิจการของห้างฯหรือบริษัท และวรรคสาม เกี่ยวกับความ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นให้ใช้บังคับแก่คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี และที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแล ของบุคคลอื่น)

10 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ หมวด 6 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

11 มาตรา 126 มาตรา ๑๒๖ นอกจากเจ้าพนักงานของรัฐที่ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ห้ามมิให้ กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้า พนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศ กำหนด ดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมี อำนาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี (๒) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็น เจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอำนาจไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมในการกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดไม่เกินจำนวนที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

12 มาตรา 126 (ต่อ) (๓) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจาก รัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้า เป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็น หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับ สัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอำนาจไม่ว่า โดยตรงหรือโดยอ้อมในการกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้น ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดไม่เกิน จำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

13 มาตรา 126 (ต่อ) (๔) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็น กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือ ลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่ เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งโดยสภาพ ของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัด หรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น

14 มาตรา 126 (ต่อ) ให้นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับคู่ สมรสของเจ้าพนักงานของรัฐตามวรรคหนึ่งด้วย โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสเป็นการ ดำเนินกิจการของเจ้าพนักงานของรัฐ เว้นแต่เป็น กรณีที่คู่สมรสนั้นดำเนินการอยู่ก่อนที่เจ้าพนักงาน ของรัฐจะเข้าดำรงตำแหน่ง คู่สมรสตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้ ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้ จดทะเบียนสมรส ด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด เจ้าพนักงานของรัฐที่มีลักษณะตาม (๒) หรือ (๓) ต้องดำเนินการไม่ให้มีลักษณะดังกล่าว ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง

15 การกระทำเจ้าพนักงานของรัฐ (ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด)
ที่ต้องห้ามตามมาตรา 126 ลักษณะที่เข้าเป็นคู่สัญญา เข้ามาทำสัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ ที่ตนเป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอำนาจใน การกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบและ ดำเนินคดี เข้ามามีส่วนได้เสีย เข้ามามีส่วนได้เสีย(โดยตรง) ในฐานะต่างๆ ในการปฏิบัติตามสัญญา โดยมีเจตนา ประสงค์ให้ตนได้รับประโยชน์หรือผู้อื่นได้รับ ประโยชน์ การเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน ได้ลงทุนร่วมกับห้างหุ้นส่วนรูปแบบต่างๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนนั้นได้เข้ามาเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งตนมีอำนาจในการ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบและ ดำเนินคดี

16 การกระทำเจ้าพนักงานของรัฐ (ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด)
ที่ต้องห้ามตามมาตรา 126 การถือหุ้นในบริษัท ได้เข้าไปลงทุนโดยการมีหุ้นในบริษัท และ บริษัทนั้นได้เข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงาน ของรัฐ ซึ่งตนมีอำนาจในการกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบและดำเนินคดี การรับสัมปทานหรือคงไว้ซึ่งสัมปทาน หรือ เข้ามาเป็นคู่สัญญาลักษณะผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนที่รับสัมปทาน สัญญาสัมปทาน หมายถึง สัญญาที่เอกชนได้รับ อนุญาตจากรัฐ สัญญาที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทำบริการ สาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า โทรศัพท์ สัญญาที่รัฐให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ เช่น รถเมล์ร่วม สัญญาที่ให้เอกชนแสวงหาประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น โรงโม่หิน เก็บรังนก

17 การกระทำเจ้าพนักงานของรัฐ (ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด)
ที่ต้องห้ามตามมาตรา 126 การรับสัมปทานหรือคงไว้ซึ่งสัมปทาน หรือ เข้ามาเป็นคู่สัญญาลักษณะผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนที่รับสัมปทาน (ต่อ) การคงไว้ซึ่งสัมปทาน หมายถึง บุคคลในสถานะ เอกชนได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐต่อมาได้ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ (ตาม ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช.) แล้วยังคงถือ สัมปทานไว้ต่อไป การเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หมายถึง การที่เจ้าพนักงานของรัฐเป็นผู้มีรายชื่อถือหุ้นใน ห้างหุ้นส่วนต่างๆหรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทและ ห้างหุ้นส่วนซึ่งได้เข้ามารับสัมปทานจากรัฐหรือ เข้ามาเป็นคู่สัญญาทำให้ตนเองได้รับประโยชน์ จากสัญญา

18 การกระทำเจ้าพนักงานของรัฐ (ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด)
ที่ต้องห้ามตามมาตรา 126 การเข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะต่างๆในธุรกิจ เอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้า พนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัด ในฐานะกรรมการ หมายถึง การเข้าไปเป็น กรรมการในธุรกิจเอกชนและส่งผลให้เกิดความ ขัดแย้งในการทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ ที่เป็นกิจกรรมส่วนรวมหรือสาธารณะ ในฐานะเป็นที่ปรึกษา หมายถึง การเข้าไปเป็นที่ ปรึกษาในธุรกิจเอกชนและส่งผลให้เกิดความ ขัดแย้งในการทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ ในการทำกิจกรรมส่วนรวมหรือสาธารณะกับ กิจกรรมอันเป็นหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาของ เอกชน

19 การกระทำเจ้าพนักงานของรัฐ (ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด)
ที่ต้องห้ามตามมาตรา 126 การเข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะต่างๆในธุรกิจ เอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้า พนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัด (ต่อ) ในฐานะตัวแทน หมายถึง ได้ทำการเป็นตัวแทน ให้กับตัวการที่เป็นเอกชนในธุรกิจของเอกชน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างการทำ หน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐที่เป็นกิจกรรม ส่วนรวม หรือสาธารณะกับกิจกรรมอันเป็น หน้าที่ของตัวแทนในธุรกิจของเอกชน ในฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของ เอกชน หมายถึง ได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างใน ธุรกิจของเอกชน และทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ระหว่างการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่เป็น กิจกรรมส่วนรวมหรือสาธารณะกับกิจกรรมอัน เป็นหน้าที่ของพนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจ เอกชน

20 มาตรา 127 มาตรา ๑๒๗ ห้ามมิให้กรรมการ ผู้ ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับสูง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ดำเนินการใด ตาม มาตรา ๑๒๖ (๔) ภายในสองปีนับแต่วันที่พ้น จากตำแหน่ง

21 มาตรา 128 มาตรา ๑๒๘ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็น เงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การ รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตาม หลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือญาติที่ให้ตามประเพณี หรือตามธรรมจรรยาตาม ฐานานุรูป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็น เจ้าพนักงานของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม

22 มาตรา 129 มาตรา ๑๒๙ การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ถือว่าเป็นการกระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

23 บทกำหนดโทษ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ฝ่าฝืน
มาตรา ๑๖๘ เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดฝ่า ฝืนมาตรา ๑๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีความผิดตามมาตรา ๑๒๖ วรรคสอง ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเจ้าพนักงานของรัฐนั้นรู้เห็นยินยอม ด้วย เจ้าพนักงานของรัฐนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ มาตรา ๑๖๙ เจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ใด ฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสาม ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๗๐ เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดฝ่า ฝืนมาตรา ๑๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหก เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ

24 การบังคับใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐ
บังคับใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนด ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ว่า กทม. รองผู้ว่า กทม. นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา นายก อบจ. รองนายก อบจ. นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายก อบต. รองนายก อบต.

25 ระยะเวลาในการบังคับใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
การรับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรี ตั้งแต่มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ผู้บริหารท้องถิ่น/รองผู้บริหารท้องถิ่น นับตั้งแต่ มีการแถลงนโยบายต่อสภา พ้นจากตำแหน่ง นับตั้งแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง และต่อไปอีก 2 ปี นับแต่วันพ้น เว้นแต่ เพราะถึงแก่ความตาย บุคคลที่ถูกใช้บังคับด้วย ภรรยาหรือสามีของเจ้าพนักงานของรัฐที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ และผู้ ดำรงตำแหน่งระดับสูง และผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองตามที่คระกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

26 สรุปบทกำหนดโทษ โทษในทางอาญา ตาม กฎหมาย ป.ป.ช.
เจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการฝ่าฝืน บทบัญญัติมาตรา 126 หรือกระทำการต่างๆที่ เป็นข้อห้ามตามความในมาตรา 126 ใน ภายหลังจากที่ได้พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงาน ของรัฐมาแล้วไม่ถึงสองปี จะต้องได้รับโทษ ในทางอาญาตามมาตรา 168 ระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปีปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ คู่สมรสหากพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นยินยอม ด้วยให้ถือว่าไม่มีความผิด ผลของการได้รับโทษทางอาญา และการให้ถือ เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวล กฎหมายอาญา (มาตรา 129)

27 บทกำหนดโทษ การห้ามเจ้าพนักงานของรัฐรับทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ตาม มาตรา 128 มาตรา ๑๒๘ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใด รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็น เงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การ รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตาม หลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือญาติที่ให้ตามประเพณี หรือตาม ธรรมจรรยาตามฐานานุรูป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็น เจ้าพนักงานของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดย อนุโลม

28 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ
การเปรียบเทียบกฎหมายที่บัญญัติห้ามการดำเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ลำดับ กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ บทกำหนดโทษ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 หมวด 9 มาตรา184 – มาตรา 187 มาตรา 284 วรรคสิบให้นำมาตรา 265 – 268 นายกรัฐมนตรี (คู่สมรสและบุตร สำหรับการถือหุ้น ตามมาตรา 269 ใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ใช้บังคับกับคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โทษทางอาญา ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดในหมวด9 นี้ ให้ถือว่าเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตาม ประมวลกฎหมายอาญา

29 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ
การเปรียบเทียบกฎหมายที่บัญญัติห้ามการดำเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ลำดับ กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ บทกำหนดโทษ 3 กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นและรองผู้บริหารท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง 3.1 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ (แก้ไขเพิ่มเติม)ถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ มาตรา 35/1(3) มาตรา 36(4) มาตรา 37(5) ประกอบมาตรา 44/3 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.2 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ มาตรา 48 จตุทศ(3) มาตรา 48 ปัญจทศ(5) มาตรา 48 โสฬส(6) นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี

30 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ
การเปรียบเทียบกฎหมายที่บัญญัติห้ามการดำเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ลำดับ กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกบังคับใช้และบุคคลอื่นที่ถูกบังคับ บทกำหนดโทษ 3.3 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2552 มาตรา 64(5) และ มาตรา 64/1(6) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พ้นจากตำแหน่ง 3.4 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ มาตรา 51(3) มาตรา 52(5)และมาตรา 58 วรรคสาม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3.5 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่2) พ.ศ มาตรา 49 มาตรา 50(6) มาตรา 51(6) นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา

31 สิ้นสุดการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google