งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ

2 วิวัฒนาการของการบัญชีต้นทุนนั้นเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการขยายตัวของอุตสาหกรรม จุดกำเนิดของการบัญชีต้นทุนเริ่มต้นจากกระบวนการผลิตในโรงงานวิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer) เป็นผู้เลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าควรจะใช้วัตถุดิบ แรงงาน และเครื่องจักรอย่างไร จำนวนเท่าใด กรณีที่มีทางเลือกหลายๆ ทางวิศวกรจะพิจารณาไปที่ต้นทุนที่เกิดขึ้นในทางเลือก แต่ละทางว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดจึงมีการศึกษาต้นทุนทางวิศวกรรม (Engineering Cost) เกิดขึ้น การพิจารณาต้นทุนดังกล่าวนี้ เพ่งเล็งไปที่ประสิทธิภาพด้านการผลิตมากกว่ามูลค่าต้นทุนที่เป็นตัวเงิน เช่น คำนวณหาจำนวนวัตถุดิบและชั่วโมงแรงงานในการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับกิจการ เป็นต้น สำหรับการคำนวณมูลค่าต้นทุนที่เป็นตัวเงินนั้นเกิดขึ้นเมื่อกิจการต้องการวัดผลการดำเนินงาน กิจการที่ซื้อขายสินค้าจะคำนวณต้นทุนขายได้จากผลคูณของปริมาณขายกับราคาทุนตามใบกำกับสินค้า แต่ถ้าเป็นกิจการที่ผลิตสินค้าจะประสบปัญหาเรื่อง

3 การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จและงานที่ผลิตยังไม่เสร็จหรืองานระหว่างทำ ในระยะแรกๆ นั้น พนักงานบัญชีทั่วไปได้ขอให้วิศวกรอุตสาหกรรมช่วยตีราคาของคงเหลือดังกล่าว ต่อมาจึงมีการศึกษาหาวิธีการที่จะคำนวณต้นทุนของวัตถุดิบ แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้าไปในตัวสินค้า ซึ่งการพิจารณาวิธีการทางบัญชีให้สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดวิชาการบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนั้นการบัญชีต้นทุนเป็นเพียงส่วนประกอบของการบัญชีการเงิน (Financial Accounting) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับต้นทุนเพื่อใช้ในการคำนวณหาผลกำไรขาดทุนและตีราคาของคงเหลือ ครั้นต่อมาเมื่อกิจการขยายตัวใหญ่ขึ้น ฝ่ายบริหารต้องการที่จะใช้ข้อมูลต้นทุนในการวางแผน ควบคุมและใช้ตัดสินใจปัญหาต่างๆ ในการดำเนินงาน จึงมีการศึกษาและพิจารณาเทคนิคต่างๆ ที่จะนำการบัญชีต้นทุนไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร ทำให้เกิดการบัญชีเพื่อการจัดการหรือการบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) ด้วยเหตุนี้การศึกษาวิชาการบัญชีต้นทุนจึงสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิชาการบัญชีการเงินและวิชาการบัญชีบริหาร

4 อนึ่งสภาพการแข่งขันในตลาดในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารธุรกิจและระบบการผลิต เป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาวิชาการบัญชีต้นทุนที่มีมาแต่เดิม (Traditional Costing) เป็นการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร (Managerial Cost หรือ Cost Management) ดังนั้นในบทนี้จึงขอพิจารณารายละเอียดตามลำดับต่อไปนี้ 1 ความสำคัญของการบัญชีในการบริหารธุรกิจ 1.2 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการบัญชีต้นทุน 1.3 ความแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุน การบัญชีบริหาร และการบัญชีการเงิน 1.4 สถานภาพและหน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุน 1.5 บทบาทของสถาบันและหน่วยงานต่างๆ ที่มีต่อการบัญชีต้นทุน 1.6 จรรยาบรรณของนักบัญชีต้นทุน 1.7 การพัฒนาการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร

5 1 ความสำคัญของการบัญชีในการบริหารธุรกิจ
1 ความสำคัญของการบัญชีในการบริหารธุรกิจ ในการบริหารองค์การธุรกิจใดๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ จะต้องทราบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินงานซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมขององค์กรธุรกิจนั้น บางแห่งต้องการกำไรสูงสุด บางแห่งต้องการเป็นผู้นำในตลาดโดยมีกำไรพอประมาณ บางแห่งต้องการให้บริการแก่ชุมชนโดยไม่หวังผลกำไร เช่น ในองค์การสาธารณกุศลต่างๆ แต่ไม่ว่าองค์การนั้นจะมีเป้าหมายอย่างไร ฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารจะมีหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจ 4 ประการ ดังนี้

6 1. หน้าที่ในการวางแผน (Planning) กระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจเพื่อกำหนดเป้าหมายสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การในอนาคต มีการค้นคิดหาวิธีการและแนวปฏิบัติตลอดจนดำเนินการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 2. หน้าที่ในการจัดองค์การ (Organizing) หมายถึงการจัดกลุ่มงานให้เป็นหน่วยงานย่อย (ฝ่าย,แผนก) แล้วจัดสรรทรัพยากรต่างๆ เข้าไปในกลุ่มงานเหล่านั้น มีการมอบหมายงานอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารและพนักงานในระดับต่างๆ เพื่อให้เขาทราบขอบเขตในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนแน่นอน โดยไม่มีการซ้ำซ้อนหรือก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน ดังรูปที่ 1.1 เป็นผังองค์การของกิจการผลิตและขายสินค้า

7 3. หน้าที่ในการควบคุม (Controlling) หมายถึงวิธีการดำเนินงานในอันที่จะตรวจสอบกิจกรรมและวัดผลการปฏิบัติงานจริงกับแผนงานเพื่อพิจารณาว่ามีความแตกต่างหรือไม่มากน้อยเพียงใด มีการวิเคราะห์สาเหตุของผลแตกต่างแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขแผนหรือวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์ของธุรกิจในขณะนั้น 4. หน้าที่ในการตัดสินใจ (Decision Making) เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารกำหนดปัญหาและโอกาสขององค์การธุรกิจ เสนอทางเลือกและเลือกทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมขององค์การ การตัดสินใจเกิดขึ้นทั้งในสภาพการณ์ปกติและหรือในกรณีที่มีปัญหาเร่งด่วนหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า

8 รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน หัวหน้าแผนกบรรจุหีบห่อ
ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร ประธาน รองประธาน ฝ่ายตลาด ฝ่ายบุคลาการ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรม รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน ผู้อำนวยการการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี สายงานผลิต หัวหน้าแผนกขึ้นรูป หัวหน้าแผนกกอบ หัวหน้าแผนกประกอบ หัวหน้าแผนกบรรจุหีบห่อ สายงานบริการ หัวหน้าแผนก ตรวจรับของ คลังสินค้า ควบคุมการผลิต ซ่อมแซม ตรวจสอบคุณภาพ รูปที่ ผังแสดงการจัดองค์การในกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายสินค้าแห่งหนึ่ง

9 หน้าที่สำคัญของการบัญชี คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ของกิจการ โดยจัดให้มีการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปของหน่วยเงินตรา จัดหมวดหมู่รายการเหล่านั้น สรุปผลและจัดทำเป็นรายงานการเงินเสนอต่อบุคคลทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในกิจการ กล่าวคือ บุคคลภายนอกอันได้แก่เจ้าหนี้หรือผู้ลงทุนย่อมต้องการข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ตนจะได้รับจากการเข้าไปมีส่วนได้เสียในกิจการ ส่วนบุคคลภายในซึ่งได้แก่ ฝ่ายจัดการ ผู้บริหารและพนักงานต่างๆ จะนำข้อมูลทางการบัญชีไปวางแผน ควบคุม และตัดสินใจปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่าบุคคลต่างๆ เหล่านี้มีวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีแตกต่างกัน จึงมีการจำแนกประเภทการบัญชีเป็น 3 ประเภท คือ การบัญชีการเงิน การบัญชีบริหารและการบัญชีต้นทุน

10 การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) เป็นการบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอดีตต่อบุคคลภายนอกกิจการ อันได้แก่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน หน่วยงานของรัฐบาลและผู้ที่สนใจอื่นๆ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ จึงต้องมีการวางกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติทางการบัญชี โดยการใช้หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principal-GAAP) เป็นหลักการในการจัดทำงบการเงิน ทั้งนี้เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้งบการเงินภายนอก

11 การบัญชีบริหารหรือการบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting) เป็นการบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยฝ่ายบริหารในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการนี้จะมีจัดทำรายงานทางการเงินและการบัญชีในลักษณะและรูปแบบต่างๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการของฝ่ายจัดการหรือผู้บริหารในระดับต่างๆ ข้อมูลดังกล่าวนี้อาจนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือเป็นกรณีพิเศษ

12 การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) เป็นการบัญชีที่บันทึกและจัดทำรายงานการวัดค่าของต้นทุนในการผลิตสินค้าและการให้บริการ ขอบเขตงานของการบัญชีต้นทุนจึงได้แก่การรวบรวมข้อมูลต้นทุน บันทึกแยกประเภท แบ่งสรรหรือปันส่วน สะสมและจัดทำรายงานเกี่ยวกับต้นทุนในลักษณะต่างๆ ตามความประสงค์ของฝ่ายจัดการ

13 1.2 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการบัญชีต้นทุน
วัตถุประสงค์และขอบเขตของการบัญชีต้นทุน ในอดีตจะใช้การบัญชีต้นทุนในการคำนวณต้นทุนสินค้าและหรือบริการ ซึ่งจะนำไปคำนวณต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนและตีราคาต้นทุนของคงเหลือในงบดุล ทั้งงบกำไรขาดทุนและงบดุลเป็นงบการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อบุคคลและหน่วยงานภายนอก แต่ปรากฏว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงพอสำหรับผู้บริหารภายในซึ่งต้องการต้นทุนไปเพื่อวางแผน ควบคุมและตัดสินใจ จึงมีการออกแบบการบัญชีต้นทุนเพื่อประโยชน์ในการบริหารด้วย อาจกล่าวได้ว่าการบัญชีต้นทุนเกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 6 ประการดังต่อไปนี้

14 1. ใช้ในการคำนวณต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ (Product or Service Costing) ในกรณีที่เป็นกิจการผลิตสินค้าก็จะนำต้นทุนที่คำนวณได้ไปตีราคาต้นทุนของคงเหลือ (Inventory Valuation) อันได้แก่งานระหว่างทำและสินค้าคงเหลือเพื่อแสดงไว้ในงบดุล ณ วันสิ้นงวดบัญชี 2. ใช้ในการวัดผลกำไรขาดทุนประจำงวด (Income Determination) การวัดผลกำไรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทราบต้นทุนสินค้าขาย หรือต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold) และต้นทุนขายจะเป็นเท่าใดก็จะขึ้นกับต้นทุนการผลิตที่คำนวณได้ตามข้อ (1) ทั้งรายการต้นทุนสินค้าขายและผลกำไรขาดทุนจะแสดงในงบกำไรขาดทุนประจำงวดของกิจการ

15 3. ใช้ในการวางแผนและควบคุม (Planning and Control) การดำเนินงานของกิจการฝ่ายบริหารอาจวางแผนงานล่วงหน้าโดยการจัดทำงบประมาณทั้งกิจการหรือแผนกใดแผนกหนึ่งครั้นถึงสิ้นงวดก็จะเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงมาเปรียบเทียบกับงบประมาณที่กำหนดไว้ หากมีผลแตกต่างที่ไม่น่าพึงพอใจ (Unfavorable Variance) หรือพบว่ามีข้อบกพร่องในการดำเนินงาน ฝ่ายบริหารจะได้แก้ไขโดยทันท่วงที 4. ใช้ในการกำหนดราคาขายของสินค้าหรือบริการ ธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจก่อสร้างอู่ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ จำเป็นต้องประมาณต้นทุนของสินค้าหรือบริการขึ้นมาก่อนการผลิตจริงทั้งนี้เพื่อเป็นฐานในการกำหนดราคาขายเสนอต่อลูกค้า หรือใช้ในการประมูลงานต่างๆ ปกติผู้ที่ประมูลงานได้มักเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่กิจการไม่ทราบต้นทุนการผลิตก็อาจประมูลงานนั้นไม่ได้เพราะเสนอราคาขายสูงเกินไป หรือถ้าประมูลได้ก็ประสบการขาดทุนในเวลาต่อมาเนื่องจากเสนอราคาขายต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง

16 5. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ (Decision-Making Tools) ทั้งในปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือปัญหาเฉพาะหน้า ตัวอย่างเช่น การกำหนดจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อ การลดหรือเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ (Product Lines) การตัดสินใจขยายหรือลดกำลังผลิตของโรงงาน เป็นต้น 6. ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งนี้เพื่อพิจารณาประสิทธิผล (Effective) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานของทรัพยากรเหล่านั้น ปกติจะเสนอรายละเอียดดังกล่าวนี้ไว้ในรายงานผลแตกต่าง (Variance Reports) ประจำงวด ซึ่งอาจจะแสดงเป็นรายวัน รายสัปดาห์หรือรายเดือนแล้วแต่กรณี

17 จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน 2 ประการแรกนั้นสนองความต้องการของฝ่ายบริหารในการที่จะได้ข้อมูลไปใช้ในการจัดทำงบการเงินเสนอต่อหน่วยงานและบุคคลภายนอกให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้โดยเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองกันทั่วไป ส่วนวัตถุประสงค์ 4 ประการหลังนั้นสนองความต้องการข้อมูลของฝ่ายบริหารภายในระดับต่างๆ ซึ่งต้องการใช้ข้อมูลในลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการรวบรวมและสรุปผลข้อมูลจึงอาจแตกต่างไปจากหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป สรุปได้ว่าข้อมูลที่ได้จากการบัญชีต้นทุนจะใช้เป็นฐานในการจัดทำงบการเงินเสนอต่อบุคคลภายนอก (การบัญชีการเงิน) และใช้จัดทำรายงานภายใน (Internal Report) เสนอต่อฝ่ายบริหาร (การบัญชีบริหาร) ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีต้นทุน การบัญชีการเงินและการบัญชีบริหารดังรูปที่ 1.2 นั้น แสดงให้เห็นว่าการบัญชีต้นทุนสามารถตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลของบุคคลต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

18 เป้าหมายรวมขององค์กร
เปรียบเทียบ เป้าหมายเฉพาะ รายงานทางบัญชี การเงิน วางแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย รายงานทางบัญชีบริหาร หน่วยปฏิบัติงาน ผลประกอบการจริง ข้อมูลจาก บัญชีต้นทุน รูปที่ ความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีต้นทุน การบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร

19 ขอบเขตการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน
เนื่องจากการบัญชีต้นทุนกำเนิดขึ้นในกิจการผลิตสินค้า โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะคิดต้นทุนเข้ากับผลิตภัณฑ์ (Product Costing) ต้นทุนต่อหน่วยที่คำนวณได้จะนำไปตีราคาสินค้าคงเหลืองานระหว่างทำ ตลอดจนคำนวณต้นทุนขายของสินค้าในงวดบัญชีหนึ่งๆ ครั้นต่อมาได้มีการนำข้อมูลต้นทุนไปใช้การบริหารแผนกอื่นๆ ที่ไม่ใช่แผนกผลิตสินค้า เช่น การหาต้นทุนในการจำหน่ายสินค้า ต้นทุนในการรับคำสั่งของลูกค้า ต้นทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น ขอบเขตของการบัญชีต้นทุนจึงครอบคลุมการดำเนินงานทุกแผนกที่อยู่ในกิจการ

20 นอกจากจะใช้การบัญชีต้นทุนในกิจการที่ผลิตสินค้าแล้ว ยังสามารถที่จะประยุกต์เข้ากับกิจการบริการประเภทต่างๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน กิจการประกันภัย โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สถานีขนส่ง สายการบิน และหน่วยงานรัฐบาล รูปที่ 1.3 แสดงการสะสมและประมวลผลต้นทุนในการรักษาพยาบาลคนไข้ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สำหรับต้นทุนที่นิยมใช้กันแพร่หลายในกิจการบริการหรือหน่วยงานรัฐบาล ก็คือ ต้นทุนโดยประมาณ (Estimated Cost) หรือต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost) นอกจากจะให้ประโยชน์ในการคำนวณหาต้นทุนการให้บริการและกำหนดราคาค่าบริการที่สะดวกรวดเร็วและทันความต้องการแล้ว ยังสามารถจะใช้ข้อมูลนี้ในการวางแผน ควบคุม และวัดผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ด้วย

21 รายงานต้นทุนการดำเนินงานของโรงพยาบาล ต้นทุนทางตรงจำแนกตามศูนย์ต้นทุน
ประจำปีงบประมาณ 25X5 ต้นทุนศูนย์บริการ ต้นทุนทางตรงจำแนกตามศูนย์ต้นทุน รวม คนไข้นอก บำบัดฟื้นฟู ฉุกเฉิน คนไข้ใน เด็ก ห้องคลอด ห้องผ่าตัด ห้องทดลอง ห้องออกซิเจน ศูนย์ตรวจคลื่นหัวใจ ศูนย์ตรวจสมอง ศูนย์รังสีบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด ศูนย์บริการทั่วไป คลังเลือด คลังยา รวมต้นทุนทั้งหมด จำนวนครั้งที่รักษา (ครั้ง) จำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาล (วัน) ต้นทุนการรักษาต่อครั้ง (บาท) ต้นทุนการรักษาต่อวัน (บาท) 1,455 1,654 1,031 545 490 382 346 723 1,150 990 3,570 630 840 184 310 154 148 306 113 50 225 172 98 160 44 68 195 23 35 18 15 304 10 60 27 203 12 198 215 570 73 94 402 11 227 748 1,652 210 278 1,330 100 12,336 2,969 919 1,712 6,170 566 11,432 2,568 894 - 5,415 1,014 259.71 357.87 1,915 1,139.43 558.18 รูปที่ 1.3 แสดงการสะสมต้นทุนการดำเนินงานตามศูนย์ต้นทุนในโรงพยาบาล

22 1.3 ความแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุน การบัญชีบริหารและการบัญชีการเงิน
การบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร เมื่อพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร นักบัญชีหลายท่านมีความเห็นว่าการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหาร เพราะต่างก็มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันในเรื่องของการจัดทำรายงานต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของฝ่ายบริหาร ถ้าพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างกันแล้ว น่าจะเพ่งเล็งไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีดังกล่าว การบัญชีต้นทุนเน้นหนักไปในเรื่องการประมวลผล (processing) และประเมินค่า (evaluation) ข้อมูลต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน หรือเรียกได้ว่าเป็นการบัญชีที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหาต้นทุน (cost finding) ในขณะที่การบัญชีบริหารเน้นหนักไปในเรื่องของการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลต้นทุนเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารธุรกิจ เนื่องจากวิธีการประมวลผล ประเมินค่าและใช้ประโยชน์มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน

23 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีการเงิน
เนื่องจากการบัญชีต้นทุนเป็นฐานข้อมูล (database) ที่สนับสนุนทั้งการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร กล่าวคือเมื่อนักบัญชีต้องการข้อมูลต้นทุนเพื่อจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอบุคคลภายนอก เขาต้องยึดหลักและแนวปฏิบัติของการบัญชีการเงินโดยเคร่งครัด ตัวอย่างเช่น การบันทึกต้นทุนการผลิต ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายการผลิต จะใช้ต้นทุนจริงซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต (Historical Cost) และเมื่อต้องการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็จะใช้หลักการต้นทุนรวม (Full Costing หรือ Absorption Costing) ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในทางตรงข้ามถ้านักบัญชีต้องการข้อมูลต้นทุนเพื่อจัดทำรายงานต่างๆ เสนอต่อผู้บริหารทุกระดับของกิจการ ผู้บริหารเหล่านี้ย่อมมีความต้องการใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันทั้งในลักษณะ รูปแบบ และระยะเวลา

24 ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการทั่วไปต้องการรายงานเปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่ายของแผนกต่างๆ เป็นรายเดือน ในขณะที่ผู้จัดการแผนกผลิตต้องการทราบผลผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงานทุกสัปดาห์ นอกจากนี้สภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาการบัญชีต้นทุนให้เอนเอียงไปทางการบัญชีบริหารมากขึ้นหรืออาจจะเรียกว่าเป็นการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร (Managerial Costing หรือ Cost Management) ในกรณีนี้นักบัญชีไม่จำเป็นต้องยึดหลักการบัญชีที่รับรองกันทั่วไปอย่างเคร่งครัด อาจจะมีการประมาณเหตุการณ์ในอนาคต เช่น คาดคะเนยอดขาย หรือยอดเงินสดรับในเดือนถัดไป การนำเสนอข้อมูลในรายงานอาจใช้หน่วยวัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยเงินตรา เช่น จำนวนหน่วย จำนวนชั่วโมง จำนวนสินค้าเสีย ฯลฯ ความถี่ห่างของรายงานจะแตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้ใช้รายงาน ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการทั่วไปต้องการรายงานเงินสดคงเหลือทุกวัน ผู้จัดการโรงงานต้องการรายงานการใช้วัตถุดิบทุกสัปดาห์ และต้องการรายงานต้นทุนการผลิตทุกเดือน เป็นต้น และเมื่อสรุปความแตกต่างดังกล่าวข้างต้นนี้จะแสดงดังตารางที่ 1.1

25 การบัญชีต้นทุน (เพื่อการบริหาร)
รายการ การบัญชีต้นทุน (เพื่อการบริหาร) การบัญชีการเงิน จัดทำเพื่อใคร? ผู้ใช้งบหรือรายงานภายในกิจการ ผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ ขอบเขตในการจัดทำ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางการบัญชีที่วางไว้ เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางการบัญชีที่วางไว้ ข้อมูลที่ใช้วัดค่าของ อาจจะเป็นในหน่วยรูปใด ๆ ก็ได้ เช่น เป็นจำนวนเงิน จำนวนชั่วโมง หรือหน่วยผลิต ต้นทุนที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นจำนวนเงิน (Historical Cost) จัดทำเมื่อใด จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่ฝ่ายบริหารต้องการ (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี) ปกติจะทำเมื่อสิ้นงวดการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาเท่ากับ 1 ปี จัดทำในลักษณะใด ขึ้นกับความต้องการของฝ่ายบริหาร เช่น แผนกผลิตหรือบริการ แสดงฐานะทั้งกิจการ ตารางที่ 1.1 ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนและการบัญชีการเงิน

26 1.4 สถานภาพและหน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุน
สถานภาพและหน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุน สถานภาพของการจำแนกต้นทุน ปกติการแบ่งแยกหน้าที่ของพนักงานในองค์การธุรกิจหนึ่ง ๆ แบ่งได้ 2 ประเภท เป็นพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ (Line) และเป็นพนักงานฝ่ายผู้เชี่ยวชาญหรือให้คำปรึกษา (Staff) ฝ่ายปฏิบัติการ (Line) หมายถึง สายงานที่มีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มอบอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำแก่ผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาผู้บังคับบัญชาสามารถตัดสินใจสั่งการอันเกี่ยวกับงานในสายของจนได้โดยตรง ส่วนผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาก็ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาที่สั่งการจนถึงผู้บังคับบัญชาขั้นสูงสุด สำหรับกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าจะถือว่างานด้านการผลิตและการขายสินค้าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของกิจการ

27 ดังนั้น พนักงานที่อยู่ในฝ่ายผลิตและฝ่ายขายจึงเป็นพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ (Line) เนื่องจากขอบเขตงานฝ่ายปฏิบัติงานกว้างขวางมาก การที่จะดำเนินงานด้านผลิตและขายให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ในด้านการบริการ ซึ่งงานประเภทนี้คืองานของฝ่ายผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายผู้เชี่ยวชาญ (Staff) หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายงานจากฝ่ายบริหารระดับสูงของกิจการ ซึ่งได้แก่คณะกรรมการบริหารงานหรือประธาน บุคคลที่ทำงานในฝ่ายผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งกิจการอาจจ้างในลักษณะประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ เนื่องจากพนักงานในฝ่ายผู้เชี่ยวชาญนี้เป็นผู้มีความรู้และความชำนาญเฉพาะด้าน จึงเป็นผู้ให้บริการ คำแนะนำปรึกษา รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องต่าง ๆ แก่ฝ่ายปฏิบัติดังตัวอย่างผังการจัดองค์การในรูปที่ 1.1

28 สำหรับการแย่งแยกหน้าที่ในฝ่ายบัญชีและการเงิน ดังรูปที่ 1
สำหรับการแย่งแยกหน้าที่ในฝ่ายบัญชีและการเงิน ดังรูปที่ 1.4 นั้นแบ่งได้เป็น 2 แผนก คือแผนกบัญชี ซึ่งมีผู้อำนวยการบัญชี (Controller) เป็นหัวหน้า และแผนกการเงิน ซึ่งมีผู้อำนวยการการเงินหรือเหรัญญิก (Treasurer) เป็นหัวหน้าแผนก ในการบังคับบัญชางานในแผนกบัญชี ผู้อำนวยการบัญชีย่อมมีอำนาจควบคุมโดยตรงต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในแผนก หรือกล่าวได้ว่าผู้อำนวยการบัญชีทำหน้าที่ของผู้บริหารที่เป็นฝ่ายปฏิบัติการ (Line) ไม่ใช่ในนามของผู้อำนวยการบัญชีซึ่งเป็นฝ่ายผู้เชี่ยวชาญ (Staff)

29 จากรูปที่ 1.4 นี้จะเห็นได้ว่าแผนกบัญชีต้นทุนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้อำนวยการบัญชี ในทางปฏิบัตินั้นการจัดแผนกบัญชีต้นทุนในโครงสร้างการจัดองค์การของกิจการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไป กิจการบางแห่ง จัดแผนกบัญชีต้นทุนไว้ภายใต้การบังคับบัญชา ของรองประธานฝ่ายผลิตหรือผู้จัดการโรงงานแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพราะเห็นว่าแผนกบัญชีต้นทุนตั้งขึ้นเพื่อช่วยการดำเนินงานของฝ่ายผลิต ควรจะรายงานข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตในโรงงานเสนอต่อฝ่ายผลิตโดยตรง ส่วนผู้ที่เห็นว่าแผนกบัญชีต้นทุนควรจะรายงานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตในโรงงานเสนอต่อฝ่ายผลิตโดยตรง ส่วนผู้ที่เห็นว่าแผนกบัญชีต้นทุนควรอยู่ภายใต้การสั่งการของผู้อำนวยการบัญชีนั้น ได้ให้เหตุผลดังต่อไปนี้

30 1. งานการบัญชีต้นทุนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานการบัญชีทั้งหมด ควรที่จะได้ทำควบคู่ไปกับงานการบัญชีทั่วไป การบัญชีค่าแรง และสอดคล้องกับกิจกรรมด้านอื่น ๆ ของผู้อำนวยการบัญชี 2. การใช้หลักการบัญชีต้นทุนเพื่อกำหนดมูลค่าของคงเหลือหรือใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อ วัตถุประสงค์ทางการเงินอื่น ๆ ควรเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้อำนวยการบัญชี 3. ลักษณะของงานและเทคนิคที่ใช้ในการบัญชีต้นทุน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางการบัญชีเพื่อให้ได้แนวทางที่ถูกต้อง

31 4. การบัญชีต้นทุนเกิดขึ้นมิใช่เพื่อช่วยฝ่ายผลิตเท่านั้น แต่เพื่อให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตลาด ฝ่ายวิศวกรรมและฝ่ายอื่น ๆ แผนกบัญชีต้นทุนจึงควรอยู่ในสถานะที่เป็นกลางเพื่อมิให้ข้อมูลและรายงานต้นทุนที่จัดทำขึ้นได้รับผลกระทบกระเทือนจากฝ่ายผลิตแต่เพียงฝ่ายเดียว นั่นคือ แผนกบัญชีต้นทุนควรจะให้บริการแก่ทุกฝ่ายในลักษณะที่สมดุลและเที่ยงธรรม 5. วัตถุประสงค์สำคัญอันหนึ่งของการบัญชีต้นทุนคือการช่วยฝ่ายบริหารในการวางแผน และควบคุมต้นทุน ต้นทุนเช่นว่านี้ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของกิจการมิใช่เพียงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแต่ประการเดียว

32 รูปที่ 1.4 ผังการจัดสายงานของแผนกบัญชี
ผู้อำนวยการบัญชี ผู้ช่วยผู้อำนวยการบัญชี หัวหน้าแผนกบัญชีต้นทุน หัวหน้าแผนกบัญชีภาษีอากร หัวหน้าแผนกบัญชีทั่วไป หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน หัวหน้าแผนกสารสนเทศ ระบบบัญชีต้นทุน บัญชีค่าแรง แยกประเภททั่วไป รายงานทางการเงิน งบประมาณ วิเคราะห์ผลต่าง รายงานการปฏิบัติงาน แยกประเภทย่อย รูปที่ ผังการจัดสายงานของแผนกบัญชี

33 หน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุน
ด้วยเหตุนี้กิจการที่ผลิตสินค้าโดยทั่ว ๆ ไป จึงตัดให้แผนกบัญชีต้นทุนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้อำนวยการบัญชีมากกว่าผู้จัดการโรงงาน หน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุน เนื่องจากการบัญชีต้นทุนเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญสำหรับการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร ดังนั้นหน้าที่ของแผนกบัญชีต้นทุนจึงได้แก่หน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. รวบรวมและบันทึกรายการทุกรายการที่ประกอบเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนค่าใช้จ่ายดำเนินงานของกิจการ ในแง่ของการบันทึกต้นทุนการผลิตของสินค้าจะต้องยึดถือหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของการบัญชีการเงิน แผนกบัญชีต้นทุนจะติดตามความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เนื่องจากลักษณะของงานในขั้นตอนนี้คือการรวบรวม แบ่งประเภท ลงบันทึกและสะสมข้อมูลในขั้นต้นซึ่งเป็นงานซ้ำ กิจการส่วนใหญ่จึงประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะทำครบทุกระบบหรือบางระบบ เช่น จัดให้มีเฉพาะระบบสินค้าคงเหลือ ระบบจัดซื้อ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและรวดเร็วในการลงบัญชี

34 2. สรุปข้อมูลต้นทุนที่ได้จากการบันทึกรายการเสนอแผนกบัญชีทั่วไป เพื่อให้แผนกนั้นจัดทำงบการเงินประจำงวด เช่น คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิตได้ในระหว่างงวด เพื่อนำไปตีราคาสินค้าคงเหลือและงานระหว่างทำ ณ วันสิ้นงวดโดยแสดงไว้ในงบดุล ตลอดจนใช้คำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายของกิจการซึ่งจะนำไปแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน 3. วิเคราะห์และจัดทำรายงานต้นทุนตามความประสงค์ของผู้บริหารในแผนกต่าง ๆ เพื่อให้การรายงานต้นทุนเหล่านี้ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ นอกจากจะใช้หลักการบัญชีต้นทุนแล้วอาจต้องอาศัยความรู้และหลักเกณฑ์จากสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ และการเงินเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย

35 4. ออกแบบและจัดวางระบบบัญชีต้นทุนที่เหมาะสมกับกิจการ ตลอดจนธำรงรักษาระบบบัญชีนั้น ๆ ไว้เป็นอย่างดี ระบบบัญชีต้นทุนที่ดีควรเป็นระบบที่เข้ากันได้ดีกับระบบบัญชีรวมตลอดจนสอดคล้องกับระบบการผลิตของกิจการด้วย เช่น การเลือกใช้วิธีการบัญชีต้นทุนงาน (Job Order Costing) หรือวิธีการบัญชีต้นทุนกระบวนการ หรือต้นทุนช่วง (Process Costing) เป็นต้น

36 1.5 บทบาทของสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีต่อการบัญชีต้นทุน
1.5 บทบาทของสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีต่อการบัญชีต้นทุน ในอดีตสถาบันของประเทศไทยซึ่งมีบทบาทต่อการพัฒนาวิชาการบัญชีต้นทุน มี 2 แห่งคือ 1. สภาวิชาชีพบัญชี (Feration of Accounting Professions) (เดิมชื่อ สมาคมนักบัญชี ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนามาตรฐานในการบัญชีและการสอบบัญชีให้ทัดเทียมอารยประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนวิชาชีพทางการบัญชีและการสอบบัญชี สมาคมได้ออก “วารสารนักบัญชี” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่สาระข่าวสาร และความรู้ด้านการบัญชี การสอบบัญชีและภาษีอากร ปัจจุบันสมาคมได้ออกมาตรฐานการบัญชีภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP) โดยยึดแนวมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลักปฏิบัติ)

37 2. คณะกรรมการควบคุมการประกอบอาชีพสอบบัญชี หรือ ก. บช
2. คณะกรรมการควบคุมการประกอบอาชีพสอบบัญชี หรือ ก.บช. เป็นหน่วยงานของรัฐบาลภายใต้สังกัดของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีหน้าที่จัดการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของไทย รวมทั้งควบคุมการประกอบวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต่อมาในวันที่ 22 ตุลาคม รัฐบาลได้ออกกฎหมายวิชาชีพการบัญชี คือ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ ฉบับนี้ได้สถาปนาวิชาชีพบัญชี (Feration of Accounting Professions) ให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมการศึกษา การอบรมและการวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี (2) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการ และการสงเคราะห์ระหว่างสมาชิก (3) กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพ (4) กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (5) รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพ ออกใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

38 ด้วยผลจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ประชุมวิสามัญของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 มกราคม ได้มีมติให้เลิกสมาคม และให้โอนสินทรัพย์สุทธิและกิจการทั้งหมดของสมาคมฯ ไปให้สภาวิชาชีพบัญชี ด้วยเหตุนี้สถาบันที่จะมีหน้าที่พัฒนาวิชาชีพด้านการบัญชีต้นทุนทั้งในปัจจุบันและอนาคตก็คือสภาวิชาชีพบัญชี

39 สำหรับสถาบันวิชาชีพทางการบัญชีส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. สถาบันนักบัญชีบริหาร (Institute of Management Accountants หรือ IMA) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ (ค.ศ. 1919) ในชื่อว่า National Association of Cost Accountants ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น National of Accounting Association หรือ NAA สถาบันนี้มีอิทธิพลต่อสาขาการบัญชีต้นทุนตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคนิคและวิธีการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหารให้ทันสมัยอยู่เสมอ สถาบันได้ออกวารสารรายเดือนชื่อ Management Accounting โดยรวบรวมบทความเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร ผู้เขียนบทความได้แก่สมาชิกของ IMA ซึ่งมีประสบการณ์ในองค์การธุรกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำประเทศ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังจัดให้มีโครงการวิจัยชื่อ IMA Research Studies ซึ่งเป็นคณะทำงานเพื่อศึกษาและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ

40 เกี่ยวกับหลักการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร ทั้งนี้เพื่อยกระดับการศึกษาทางด้านการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหารให้สูงขึ้น IMA จะให้ประกาศนียบัตรทางบัญชีบริหาร Certificate in Management Accounting แก่ผู้ที่สามารถผ่านการสอบขึ้นทะเบียนของสถาบันเป็นนักบัญชีบริหารรับอนุญาต (CMA) ทำนองเดียวกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ของสถาบัน AICPA 2. สถาบันผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Institute of Certified Public Accountants หรือ AICPA) เป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ (ค.ศ. 1887) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพการบัญชีและการสอบบัญชี สถาบันเป็นผู้ริเริ่มการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ CPA (Certified Public Accountant) สถาบันออกวารสารรายเดือนชื่อ Journal of Accountancy และวารสารประจำปีชื่อ Accounting trends and techniques เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการบัญชีทั่วไปละการสอบบัญชี

41 3. คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน (Financial Accounting Standard Board หรือ FASB) เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดของ AICPA ที่ชื่อว่า คณะกรรมการหลักการบัญชี (Accounting Principle Board หรือ APB) จนกระทั่งในปี พ.ศ (ค.ศ. 1973) ได้แยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งมีหน้ากำหนดมาตรฐานทางบัญชีการเงิน (Financial Accounting Standard หรือ FAS) FASB ออกหนังสือชื่อ “Statements of Accounting Standard” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงานการเงินของกิจการประเภทต่างๆ ซึ่งมาตรฐานที่กำหนดขึ้นจะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับหลักการคำนวณต้นทุนและการจัดทำรายงานต้นทุนของกิจการด้วย

42 4. สมาพันธ์บัญชีอเมริกัน (American Accounting Association หรือ AAA ) เป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาจารย์ทางการบัญชีของมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ (ค.ศ. 1916) มีวัตถุประสงค์ในการสร้างหลักการแนวคิดทางทฤษฎีของการบัญชีทุกประเภท จัดการวิจัยและการประชุมอบรมสัมมนานักบัญชีทุกประเทศ สถาบันได้ออกเอกสารชื่อ “The Accounting Review” เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบัญชีในทางทฤษฎี

43 5. สภานักบัญชีนานาชาติ (International Federation of Accountants หรือ IFAC) เป็นสถาบันพัฒนาวิชาชีพทางการบัญชีนานาชาติที่สาขาทั่วโลก แห่ง และมีสมาชิกประมาณ ล้านคน สถาบันแห่งนี้ได้เผยแพร่ความรู้ด้านการบัญชี การบัญชีบริหาร การสอบบัญชี การบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อม รวมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ประกอบการวิชาชีพทางการบัญชีทุกด้าน

44 6. คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีต้นทุน (Cost Accounting Standard Board หรือ CASB) เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐสภาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ (ค.ศ. 1970) เดิม CASB ได้กำหนดหลักและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนสำหรับกิจการที่เป็นผู้รับเหมาผลิตอาวุธให้รัฐบาล ครั้นต่อมาได้ไปบังคับใช้ในกิจการที่มีสัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการกับหน่วยงานของรัฐบาลในวงเงินตั้งแต่ 500,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้กิจการเหล่านี้กำหนดราคาขายจากราคาต้นทุนการผลิตจริงมากกว่าราคาขายที่ตั้งขึ้นเพื่อประกวดแข่งขันหรือประมูลเพื่อให้ได้งาน อย่างไรก็ตามการใช้มาตรฐานทางต้นทุนของ CASB จะมีผลบังคับใช้เฉพาะกิจการที่ทำสัญญากับรัฐบาลเท่านั้น มิได้บังคับใช้กับกิจการค้าโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่า CASB ยังไม่ได้มีบทบาทโดยตรงกับการพัฒนาวิชาการบัญชีต้นทุนเท่าใดนัก

45 7. สถาบันนักบัญชีบริหารรับอนุญาต (The Chartered Institute of Management Accountants หรือ CIMA) เป็นสถาบันพัฒนาวิชาชีพบัญชีบริหารและการบัญชีต้นทุน ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ ปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นนักศึกษาและผู้ประกอบวิชาชีพทั่วโลกใน ประเทศ จำนวนกว่า 130,000 ราย สถาบันแห่งนี้ได้จัดให้มีการทดสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักบัญชีบริหารรับอนุญาต เช่นเดียวกับนักบัญชีบริหารรับอนุญาตของสถาบัน IME แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมนักบัญชีบริหารที่ได้ใบอนุญาตจะสามารถทำงานด้านบัญชีบริหารในประเทศที่เคยอยู่ในการปกครองของสหราชอาณาจักร แต่ปัจจุบันสามารถทำงานได้ในทุกประเทศทั่วโลก

46 ตารางที่ 1.2 website ของสถาบันวิชาชีพทางการบัญชี
ลำดับที่ ประเทศ สถาบัน/หน่วยงาน ชื่อ website 1 2 3 4 5 6 7 ไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สภาวิชาชีพบัญชี* สถาบันนักบัญชีบริหาร (IMA) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน สมาพันธ์บัญชีอเมริกัน (AAA) สภานักบัญชีนานาชาติ (IFAC) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีต้นทุน (CASB) สถาบันนักบัญชีบริหารรับอนุญาต (CIMA) ตารางที่ 1.2 website ของสถาบันวิชาชีพทางการบัญชี

47 1.6 จรรยาบรรณของนักบัญชีต้นทุน
1.6 จรรยาบรรณของนักบัญชีต้นทุน เนื่องจากสภาการแข่งขันทางการค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ผู้บริหารต้องการข้อมูลต้นทุนและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่แตกต่างกัน นักบัญชีต้นทุนจึงต้องรู้จักประยุกต์วิธีการรวบรวม บันทึก วิเคราะห์ และจัดทำรายงานที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ และที่สำคัญยิ่งก็คือ นักบัญชีต้นทุนต้องปฏิบัติตนเพื่อรักษาจรรยาบรรณ (มารยาท) แห่งวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ บ่อยครั้งที่นักบัญชีไม่ทราบว่าจะปฏิบัติตนให้ถูกต้องและเหมาะสมได้อย่างไร ในเมื่อต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้จัดการสาขาขอให้นักบัญชีบันทึกยอดขายที่ควรจะเป็นของยอดบัญชีหน้า ไว้เป็นผลงานของสาขาประจำในงวดบัญชีปัจจุบัน หรือเลื่อนการบันทึกค่าใช้จ่ายบางรายการที่เกิดขึ้นในช่วงวันปิดบัญชีไปไว้ในงวดบัญชีถัดไป หรือขอให้นักบัญชีปรับเปลี่ยนในการปันส่วนหรือจัดสรรต้นทุนส่วนกลางที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน (Common Costs)

48 เพื่อไม่ให้หน่วยงานบางหน่วยต้องรับภาระต้นทุนสูงเกินไปซึ่งจะเป็นผลให้จำนวนกำไรของหน่วยงานในงวดบัญชีนั้นเป็นที่น่าพอใจของผู้บริหาร กรณีดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากใจแก่นักบัญชี กล่าวคือ ถ้าเขาปฏิบัติตามที่ผู้บริหารต้องการก็เท่ากับเป็นการทำลายจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ในทางตรงกันข้ามหากเขาแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้บริหาร ก็กลายเป็นว่าเขาเป็นผู้ไม่ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้บังคับบัญชา สภาวการณ์เช่นนี้อาจทำให้นักบัญชีต้องตัดสินใจลาออกจากงานในที่สุด สถาบันนักบัญชีบริหารหรือ IMA* ได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ จึงได้กำหนดจรรยาบรรณมาตรฐานสำหรับนักบัญชีบริหาร (Standard of Ethical Conduct for Management Accounts) ในปี พ.ศ (ค.ศ. 1983) ดังรายละเอียดในรูปที่ 1.5 สรุปได้ว่ามาตรฐานมรรยาททางวิชาชีพของนักบัญชีบริหารมี 4 ประการดังนี้

49 1. นักบัญชีบริหารควรเป็นผู้มีความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน (Competence)
2. นักบัญชีบริหารไม่พึงเปิดเผยความลับของธุรกิจ (Confidentiality) 3. นักบัญชีบริหารเป็นผู้มีความเที่ยงธรรมและซื่อสัตย์ (Integrity) 4. นักบัญชีบริหารเป็นผู้มุ่งมั่นและแน่วแน่ในการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ (Objectivity) เพื่อขจัดปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าว IMA * ได้แนะนำว่า นักบัญชีต้นทุนหรือนักบัญชีบริหารควรจะนำปัญหาต่างๆ ไปปรึกษากับผู้บังคับบัญชาซึ่งมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นโดยตรง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอคติหรือเกิดความลำเอียงในการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา หากนักบัญชีต้นทุนหรือนักบัญชีบริหารได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ย่อมทำให้นักบัญชีเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

50 1.7 การพัฒนาการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร
1.7 การพัฒนาการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร ปัจจุบันสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบการผลิตและการบริหารให้ยืดหยุ่นตามสภาพการตลาดทำให้เกิดแนวคิดสำคัญของการบริหารธุรกิจยุคใหม่ซึ่งมี 5 ประการดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า (Customer Satisfaction) เนื่องจากสภาพการแข่งขันในตลาดทำให้กิจการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า กิจการจึงต้องทราบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการสินค้าใด มีคุณลักษณะอย่างไร ควรจะกำหนดราขายอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในขณะนี้

51 2. เพื่อกิจการสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า จึงมีการกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 2.1 การมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน 2.2 ต้องรักษาคุณภาพในการผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวกิจการ 2.3 สามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้ตรงเวลาที่กำหนด 2.4 มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิตสินค้าและบริการตลอดเวลา

52 ปัจจัยแห่ง ความสำเร็จ
การวิเคราะห์ คุณค่า ความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้า ให้ความสำคัญต่อ สภาพแวดล้อมทั้ง ภายนอกและภายใน กิจการ การปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่อง รูปที่ แสดงแนวคิดสำคัญในการบริหารธุรกิจยุคใหม่

53 วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์
3. จัดให้มีการวิเคราะห์คุณภาพ (Value Chain Analysis) โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน ต่างๆของกิจการ ตามแนวคิดเดิมในการบริหารธุรกิจที่ผลิตและขายสินค้านั้น จะให้ความสำคัญเฉพาะที่แผนกผลิตและแผนกขายเท่านั้น ตรงกันข้ามกับแนวคิดใหม่ซึ่งให้ความสำคัญกับทุกหน่วยงานที่อยู่ในกิจการด้วย นอกจากนี้กิจการบางแห่งได้เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆภายในธุรกิจของคู่ค้า (Supplier) และธุรกิจของลูกค้า (Customer) ดังรูปที่ แสดงกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกบริษัท กิจกรรมของลูกค้า กิจการของลูกค้า วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ออกแบบ ผลิต ตลาด จัด จำหน่าย ให้บริการ รูปที่ Value Chain ของกิจการคู่ค้า ตัวกิจการเอง และกิจการของลูกค้า

54 ผู้บริหารควรพิจารณาความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องระหว่างกันเพื่อจะได้ภาพรวมในการปฏิบัติงานทั้งองค์การ กิจการชั้นนำบางแห่งอาจพิจารราไปถึงกิจกรรมของลูกค้า ซึ่งเรียกว่าเป็น กิจกรรมต้นน้ำ (Upstream Activities) และกิจกรรมของลูกค้าซึ่งเรียกว่าเป็นปลายน้ำ (Downstream Activities) ตัวอย่างเช่น บริษัทประกอบรถยนต์ที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น จะปรึกษากับบริษัทผู้ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนเกี่ยวกับคุณลักษณะของอะไหล่และชิ้นส่วน เพื่อหาทางลดต้นทุนวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบเป็นรถยนต์ เป็นต้น

55 4 .ให้ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ (Dual Internal External Focus) เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบจุดเด่นจุดด้อยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเล็งเห็นโอกาสในการทำกำไร และอุปสรรคต่างๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อกิจการในอนาคต 5. มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement หรือ Kaizen Management) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะลดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน และในขณะเดียวกันก็เป็นการเสริมสร้างผลงานที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้กิจการก้าวขึ้นไปสู่ระดับแนวหน้าของท้องถิ่นหรือของประเทศ

56 นอกจากแนวคิดในการบริหารธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ระบบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ทำให้ผู้บริหารต้องการข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์ แต่ปรากฏว่าแผนกบัญชีต้นทุนไม่อาจตอบสนองตามความต้องการดังกล่าวนี้ได้ เนื่องจากความล่าช้าของการประมวลผลในระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger System) ประกอบกับข้อมูลต้นทุนส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อภายใต้หลักการบัญชีการเงิน เป็นผลให้รายงานต้นทุนเหล่านี้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร จึงมีการพัฒนาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนขึ้นใหม่ หรือแนวคิดต้นทุนเพื่อการบริหาร (Cost Management Concept) ซึ่งจะปรากฏในตำราการบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร สำหรับตำราเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยยึดแนวคิดต้นทุนแบบเดิม (Traditional Cost Concept) ทั้งนี้เพื่อปูพื้นฐานในการรวบรวม บันทึก และประมวลผลต้นทุน ตลอดจนสามารถจัดทำรายงานต้นทุนให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เมื่อผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในหลักการบัญชีต้นทุนเบื้องต้นแล้ว ก็จะสามารถประยุกต์ใช้ต้นทุนในเชิงบริหารได้ดียิ่งขึ้น


ดาวน์โหลด ppt บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google