งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

2

3 การวิจัยคืออะไร การวิจัย คือ การศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจต่อข้อเท็จจริง ประเด็นคำถามที่ได้กำหนด ขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการอธิบายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ

4 แนวทางการทำวิจัย การศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยไม่ มุ่งเน้นถึงรายละเอียดที่เจาะลึก ซึ่งอาศัยข้อมูลที่เป็นตัวเลข และใช้วิธีการทางสถิติ (Statistic Analysis) มา เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบหรืออธิบายปรากฏการณ์ และรวมถึงการทดสอบแนวคิดและทฤษฎี ต่างๆ การศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยให้ความ สนใจต่อรายละเอียดเชิงลึกของข้อเท็จจริง ซึ่งอาศัยวิธีการตีความข้อมูล (Interpretative Analysis) เป็น เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์จึงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ศึกษาเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกัน สามารถสร้างแนวคิด ทฤษฎี หรือข้อสรุปทั่วไปไปพร้อมๆ กันได้ การศึกษาในรูปแบบผสม (Mix Methodological Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้น โดยให้ความสนใจต่อรายละเอียดเชิงลึกของปรากฏการณ์ จึงใช้วิธีการทั้งทางสถิติและวิธีการตีความเป็น เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นการเปรียบเทียบผลการข้อมูลทั้งในเชิงประจักษ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยวิธีการตามแนวทางปฏิฐานนิยม (Positivism) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ผ่านวิธีการตีความ (Hermeneutic) ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นและลดอคติในการศึกษา

5 วิธีการศึกษาแบบอุปนัยและนิรนัย
อุปนัย และ นิรนัย มาจากภาษาบาลี ใช้แทนคำว่า “Induction” และ “Deduction” ตามลำดับ วิธี การศึกษาแบบอุปนัย (Induction) คือ การศึกษาที่เป็นการรวบรวมความจริงจากพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความ หลักฐานจากประสบการณ์ โดยมีหลักการสำคัญคือการเริ่มต้นจากการศึกษาประเด็นย่อยๆ ไปหาประเด็นใหญ่ เพื่อสรุป เป็นแนวคิด ทฤษฎี และข้อสรุปทั่วไป ดังนั้นวิธีการนี้จึงเป็นการมองแบบ “Outside In” ซึ่งมักทำให้เกิดองค์ ความรู้ใหม่ เพราะข้อสรุปทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การพัฒนาเพื่อสร้างทฤษฎีต่อไปได้ วิธีการศึกษาแบบนิรนัย (Deduction) คือ การศึกษาที่เป็นการรวบรวมความจริงจากการ อาศัยหลักฐานจาก ความรู้เดิม ได้แก่ หลักการ ข้อสรุปทั่วไป แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มจากการศึกษาจากสิ่งที่ ได้รับการยอมรับแล้วไปสู่การแสวงหาคำตอบในประเด็นย่อยๆ วิธีการนี้จึงเป็นการมองแบบ “Inside Out” โดย มักไม่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เนื่องจากเน้นการพิสูจน์ทฤษฎีมากกว่า จากที่กล่าวมานี้ทำให้มองเห็นว่า วิธีการศึกษาแบบอุปนัย (Induction) สอดคล้องกับการศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการศึกษาแบบนิรนัย (Deduction) สอดคล้องกับการศึกษาในเชิง ปริมาณ (Quantitative Research)

6 ความหมายของหลักการ ข้อสรุปทั่วไป แนวคิด ทฤษฎี และกฎ
หลักการ หมายถึง สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ข้อสรุปทั่วไป (Generalization) หมายถึง การลงความเห็นที่ได้จากการรวบรวม ข้อมูลต่างๆ แนวคิด (Concept) หมายถึง ความคิดหรือสิ่งที่คิดขึ้นจนเป็นแนวทางในการศึกษา ทฤษฎี (Theory) หมายถึง ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและ รากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ กฎ (Law) หมายถึง ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้

7 องค์ประกอบของงานวิจัยเชิงปริมาณ

8

9 ขั้นตอนการทำวิจัย 1/3 การทำวิจัยมีกระบวนการที่สำคัญ 8 ขั้นตอน ได้แก่
1.ขั้นกำหนดประเด็นปัญหา เป็นการทำให้ทราบถึงประเด็นที่จะทำการศึกษาและสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ใน การศึกษาได้ 2.ขั้นสำรวจแนวคิดและทฤษฎีอันเกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะศึกษา โดยจะทำให้เราสามารถทราบถึงตัวแปรอิสระหรือตัว แปรต้น (Independent Variables) การทบทวนวรรณกรรม หรือแนวคิดทฤษฎีนี้ยังทำให้สามารถนิยาม เชิงปฏิบัติการ (Operating Definition) ได้ ซึ่งหมายถึงการทำให้การกำหนดตัวแปรดังกล่าวข้างต้นมีความ ชัดเจนมากขึ้น กระทั่งสามารถที่จะสร้างตัวชี้วัดไปพร้อมๆ กันด้วย 3.ขั้นเลือกรูปแบบวิจัยและการกำหนดสมมติฐาน จากขั้นที่ 2 ดังที่กล่าวมาแล้ว จะพบว่าผู้วิจัยจะได้ตัวแปรมาจากการ ทบทวนวรรณกรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้กำหนดสมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ได้ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อาจไม่มีสมมติฐานก็ได้ เพราะมุ่ง หาคำอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยการพรรณาปรากฏการณ์นั้นๆ

10 ขั้นตอนการทำวิจัย 2/3 4.ขั้นกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง โดยข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ ถ้ามีประชากรไม่มากนัก ก็ไม่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่าง สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในงานวิจัยเชิงปริมาณ แต่ในกรณีของงานวิจัยเชิงคุณภาพ หากพบว่ามีจำนวนประชากร มาก ก็จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ โดยเลือกเฉพาะผู้ที่สามารถให้ข้อมูล (Key Informant) ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยเท่านั้นได้ 5.ขั้นการสร้างเครื่องมือ เป็นขั้นที่แปลงแนวคิดทฤษฎีในเชิงนามธรรมมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรม โดยการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้ แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) โดยมีข้อสังเกตว่าการสร้างข้อคำถามนั้นควรตั้งอยู่บน รากฐานการนิยามศัพท์ที่กำหนดไว้ก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้ข้อคำถามต่างๆ มีความครอบคลุม ชัดเจน และสอดคล้องกับคำถามที่แฝงอยู่ในวัตถุประสงค์

11 ขั้นตอนการทำวิจัย 3/3 6.ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัย ซึ่งแสดงออกผ่าน ทางเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หากเป็นการวิจัยเชิงปริมาณก็สามารถนำแบบสอบถามไปใช้ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพก็อาจใช้ทั้งการศึกษาผ่านทางเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ เป็นต้น 7.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษา ถือเป็นขั้นตอนของการเอาข้อมูลที่ได้มาแยกแยะข้อเท็จจริงที่ แฝงเร้นอยู่ในปรากฏการณ์ จากนั้นจึงสังเคราะห์ข้อมูลที่จัดจำแนกแล้วนั้นกับแนวคิด ทฤษฎีที่ได้ทบทวน วรรณกรรมมาแล้ว จึงสรุปผลการวิจัย และนำมาถ่ายทอดด้วยการเขียนรายงานการวิจัยต่อไป 8.ขั้นการเขียนรายงานวิจัย ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการนำเสนองานวิจัยให้ผู้สนใจได้รับทราบต่อไป ข้อสังเกตในการเขียนงานวิจัยนั้นพบว่า ประการแรกควรหลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 ประการที่สอง ควรยึดรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับสถานการศึกษาหรือหน่วยงานที่ให้ทุนในการวิจัย ประการที่สาม ควรแบ่งบทในการนำเสนอให้มีจำนวนหน้าอย่างเหมาะสม ประการที่สี่ ควรระมัดระวังระบบ การอ้างอิงเพื่อขจัดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์

12 หลักการเลือกหัวข้อวิจัย
1.เป็นประเด็นปัญหาทางสังคมและการเมือง เช่น ยาเสพติด ความยากจน 2.เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ เช่น การใช้ความรุนแรงของผู้ชุมนุม 3.เป็นเรื่องข้อกังขาหรือข้อสงสัยของผู้วิจัยเอง เช่น พฤติกรรมการคอร์รัปชันของ นักการเมืองมีสาเหตุจากอะไร หรือมีอะไรเป็นแรงจูงใจ 4.เป็นการทดสอบและการท้าทายทฤษฎีที่มีอยู่ หรือต้องการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา เช่น การ ท้าทายแนวคิดฐานอำนาจของ Weber ว่ามีเพียงฐานอำนาจ บารมี ประเพณี และ กฎหมาย เท่านั้นหรือไม่ 5.เป็นเรื่องที่อยากรู้หรือสนใจ

13 แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
1.ควรเขียนเชื่อมโยงจากประเด็นกว้างๆ แล้วค่อยๆ เจาะลึกลงในประเด็นที่เป็นปัญหาซึ่ง กำลังจะศึกษา 2.สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ตารางข้อมูล แนวคิด หรือคำให้สัมภาษณ์ที่อ้างอิงได้ ฯลฯ มาประกอบการเขียนได้ 3.ควรเขียนให้กระชับและได้ใจความ ไม่วกไปวนมา 4.สามารถเขียนถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาไว้พอสังเขปได้ 5.ต้องเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์

14 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.ต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับชื่อเรื่องและประเด็นปัญหา 2.สามารถนำมาแสวงหาคำตอบได้ โดยผ่านการทดสอบจากตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดขึ้นมาและ/ หรือสามารถพิสูจน์เพื่อสร้างคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้ 3.สามารถศึกษาได้ตามระยะเวลาที่คาดการณ์ไว้

15 2.ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบประเด็นปัญหาอย่างครบถ้วน
สมมติฐานการวิจัย 1.มีความกระชับ ชัดเจน และมีตัวชี้วัด (โดยตัวชี้วัดนี้มักมาจากการทบทวนวรรณกรรม/ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) 2.ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบประเด็นปัญหาอย่างครบถ้วน

16 ขอบเขตการวิจัย ข้อจำกัดการวิจัย และข้อตกลงเบื้องต้น
1.ผู้วิจัยสามารถระบุขนาดพื้นที่ จำนวนกลุ่มประชากร และช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 2.ผู้วิจัยสามารถระบุรายละเอียดของปัญหาหลักๆ ที่จะศึกษา เพราะในบางงานวิจัยอาจมี หลายปัญหาที่จะต้องศึกษา แต่ผู้วิจัยไม่อาจทำได้ทั้งหมดภายในการศึกษาครั้งนี้ ก็สามารถ ระบุเฉพาะประเด็นที่ต้องการศึกษาได้เช่นกัน 3.ผู้วิจัยสามารถระบุเงื่อนไขบางประการที่จะใช้เป็นข้อตกลงสำหรับการศึกษา เช่น การใช้ ชื่อบุคคลสมมติสำหรับผู้ให้ข้อมูลบางกลุ่มที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อจริงได้

17 การนิยามศัพท์ การนิยามศัพท์ คือ การให้หรืออธิบายความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดย พบข้อสังเกตว่าการนิยามศัพท์ที่ดีต้องมีความชัดเจนและสามารถแปลงออกไปสู่การวัดผลได้ ซึ่งหมายถึงสามารถสร้างตัวชี้วัดเพื่อมาประเมินข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ให้เห็นอย่างเป็น รูปธรรมออกมาได้ เพราะฉะนั้นการจะได้ความหมายเพื่อการนิยามศัพท์ที่ชัดเจนจึงต้องผ่าน การทบทวนวรรณกรรม ซึ่งหมายถึงการสำรวจแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆ ไว้อย่าง ครบถ้วนและรอบด้านแล้ว ขณะเดียวกันคำศัพท์ที่ได้นิยามแล้วจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ แปลงไปสู่ข้อคำถามต่างๆ ในแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ได้ต่อไป

18 การทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรม คือ การศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็น ประโยชน์ต่อการวิจัย ซึ่งเป็นได้ทั้งแนวคิด ทฤษฎี และรวมถึงงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย เป็นได้ทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพก็ได้

19 แหล่งทรัพยากรสำหรับการทบทวนวรรณกรรม
ตำราและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย ซึ่งจะให้แนวคิด ทฤษฎีที่ชัดเจน เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย สารานุกรม ปทานุกรม พจนานุกรม ซึ่งจะให้คำอธิบายกว้างๆ ทั้งประเด็นสำคัญของเรื่องความหมาของคำศัพท์ และแหล่งข้อมูลเพื่อ การสืบค้นเพิ่มเติม วารสารทางการวิจัยสาขาต่างๆ (Journal) ตลอดจนจุลสารและวรรณกรรมเผยแพร่ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการ แสวงหาหัวข้อเรื่องในการศึกษา เพราะวารสารวิชาการเหล่านี้มักแสดงให้เห็นถึงเรื่องหรือประเด็นที่ยังคงศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง สามารถนำไปใช้เป็นฐานความคิดของการต่อยอดในการศึกษาได้ รายงานการค้นคว้าอิสระ ภาคนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก โดยรวม ถึงหนังสือรวมบทคัดย่องานวิจัย ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการเลือกแนวคิดทฤษฎีและการวางแนวทางกำหนดกรอบการวิจัย หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ซึ่งมักมีข่าวและบทความต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ อินเตอร์เน็ต โดยในปัจจุบันแหล่งข้อมูลประเภทนี้ถือว่าสามารถช่วยในการทำวิจัยได้มากเพราะสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ทั้งในและ ต่างประเทศ แต่มีข้อสังเกตว่าควรต้องระมัดระวังในการกลั่นกรองข้อมูล เนื่องจากข้อมูลบางประเภทนั้นอาจมีความน่าเชื่อถือไม่มาก เพียงพอ

20 กรอบแนวคิดการวิจัย 1/2 การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำ วิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือ แบบผสม การวางกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องมีความชัดเจน บ่งบอกถึงทิศทางของ ความสัมพันธ์ ของชุดตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา

21 กรอบแนวคิดการวิจัย 2/2 ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวอย่าง งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมืองในท้องถิ่นของประชาชนในชุมชนชนบท จังหวัดปทุมธานี” ตัวแปรการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรอิสระ: ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และอาชีพ และตัว แปรตาม: วัฒนธรรมทางการเมืองในท้องถิ่น ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ วัฒนธรรมทางการเมืองในท้องถิ่น การเมืองแบบสมาคม การเมืองแบบแข่งขันรุนแรง การเมืองแบบผูกขาดอำนาจ

22 สมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 1 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีเพศแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างกัน ข้อที่ 2 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีเพศอายุแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่าง กัน ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีอาชีพแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างกัน

23 ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการศึกษาทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็น คน สัตว์ พืช วัตถุ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ในการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ ประชากรแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้ 1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด (Finite population) หมายถึงประชากรที่มีปริมาณซึ่ง สามารถนับออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วนเช่น ประชากรนิสิตและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ประชากรของข้าราชการพลเรือนในภาคเหนือ เป็นต้น 2. ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด (Infinite population) หมายถึงประชากรที่มีปริมาณ ซึ่งไม่สามารถนับจำนวนออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วน เช่น ฝูงชนในการประท้วง เป็นต้น

24 ขนาดตัวอย่าง (Sample size) 1/2
การวิจัยเชิงปริมาณในหลายกรณีไม่อาจที่จะทำการศึกษาหรือหาข้อมูลได้โดยตรงจาก ประชากรที่มีจำนวนมากได้ วิธีการในการศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยหลักการกำหนดกลุ่ม ตัวอย่างที่ได้มาตรฐานสามารถอธิบายอ้างอิงข้อมูลย้อนกลับไปยังกลุ่มประชากรได้ ทั้งนี้ วิธีการทางสถิติสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งวิธีการประมาณขนาดตัวอย่างโดยใช้ สูตรของ TARO YAMANE ถือว่าเป็นที่นิยมในหมู่นักวิจัยไทย โดยมีสูตรการคำนวน

25 ขนาดตัวอย่าง (Sample size) 2/2

26

27 A การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปได้ (Probability sampling) และ
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่าง ได้แบ่งประเภทการสุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ A การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปได้ (Probability sampling) และ B การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปไม่ได้ (Non-probability sampling หรือ Selection)

28 วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Probability sampling)
1. การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) หมายถึง การสุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกภาคส่วน มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นตัวอย่าง โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ตารางเลขสุ่ม นำจำนวนขนาดตัวอย่างไปสุ่มในตารางสำเร็จรูปที่นักสถิติจัดทำไว้แล้ว เพียงแต่นักวิจัยกำหนดหลักที่จะใช้ว่ามีกี่หลัก และจะ นับไปซ้ายขวา ขึ้นบน ลงล่างอย่างไรต้องกำหนดไว้และปฏิบัติอย่างนั้นตลอด สุ่มโดยการชี้ตัวเลขเริ่มต้น เมื่อชี้ตรงไหนก็บอกว่าเป็นเลข ประจำตัวของประชากรหรือไม่ถ้าไม่ใช่ให้ข้ามไป ทำการคัดเลือกไปเรื่อยๆ จนได้ตามจำนวนที่ต้องการ วิธีการจักฉลาก โดยการเขียนหมายเลขกำกับประชากรตัวอย่าง แต่ละรายการก่อนแล้วจึงจับฉลากขึ้นมา ซึ่งวิธีการจับฉลากอาจใช้ 2 แบบ คือ ไม่สุ่มประชากรที่ถูกสุ่มแล้วขึ้นมาอีก (Simple Random Sampling with out Replacement) คือหยิบ แล้วเอาออกได้เลยไม่ต้องใส่กลับลงไปอีก สุ่มประชากรที่ถูกสุ่มแล้วขึ้นมาได้อีก (Sample Random Sampling with Replacement) คือ หยิบขึ้น มาแล้วก็ใส่ลงไปใหม่เพื่อให้โอกาสแก่ประชากรทุกหน่วย มีโอกาสถูกเลือกขึ้นมาเท่าเดิม

29 วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Probability sampling)
2. การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) การสุ่มแบบนี้นักวิจัยจะต้อง อาศัยบัญชีรายชื่อ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกตามเลขที่ที่กำหนดไว้ เช่น ประชากรจำนวน 1,000 นักวิจัยต้องการตัวอย่างจำนวน 100 นักวิจัยจะต้องคัดเลือกทุกหน่วยที่ 10 เป็นต้น 3. การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) การสุ่มตัวอย่าง แบบนี้ต้องแยกประเภทของประชากรเป็นกลุ่มย่อยหรือชั้นก่อน แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแยกกันคนและกลุ่มโดยวิธี Simple Random Sampling หรือ Systematic Sampling ก็ได้ กลุ่มย่อยที่มี ลักษณะเป็น Homogeneous คือมีลักษณะเหมือนกันภายในกลุ่มเช่น การแยกประเภทของ ประชากรตามสถานการณ์เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร 4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) คือการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยแบ่ง ประชากรออกเป็นกลุ่มๆ ให้แต่ละกลุ่มมีความเป็น Heterogeneous กัน คือมีความแตกต่างกัน ภายในกลุ่ม เช่น การสุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งตามเขตการปกครอง

30 วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Probability sampling)
5. การสุ่มตัวอย่างในทุกขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เช่น ต้องการจะทำการวิจัยโดยการสุ่มตัวอย่างประชากร โดยทำการสุ่มจังหวัดที่เป็นตัวอย่างก่อน ต่อไปก็สุ่มอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างตามลำดับ

31 การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปไม่ได้ (Non-probability sampling)
1. การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เช่น พบใครก็แจกแบบสอบถามตามความพอใจของ ผู้วิจัย เช่น สุ่มนักกีฬายิงปืนที่จะเข้ามาแข่งขันในสนาม 2. การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจัดสรรโควตา (Quota Sampling) การสุ่มตัวอย่างเหล่านี้ต้องแบ่งกลุ่มของ ประชากรแล้วจัดสรรโควตาตัวอย่างไปให้แต่ละกลุ่มตามสัดส่วนของปริมาณประชากรในกลุ่มนั้นๆ ที่มีอยู่จากนั้นก็ทำการสุ่ม จากแต่ละกลุ่มตามโควตาที่จัดสรร ทั้งนี้เพื่อให้ได้ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น ชาย 30 คน หญิง 30 คน 3. การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยจะเลือกศึกษาจากประชากรที่มีลักษณะตรงตาม วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเช่น บุคคลที่มีน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัม เป็นต้น 4. การสุ่มตัวอย่างพิจารณาตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยจะเลือกศึกษากลุ่มประชากรที่ เห็นว่าง่ายต่อการศึกษา เช่น ไม่อยู่ในแดนของผู้ก่อการร้าย หรือเลือกเฉพาะผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มนักธุรกิจค้าปลีกกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง

32 ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จในการสุ่มตัวอย่าง (Key Success Factor)
1. ฐานข้อมูล/ประชากรต้องเป็นปัจจุบัน 2. วิธีการสุ่ม ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาอ้างอิงได้ 3. ขนาดตัวอย่างต้องมีการกระจายตัวและครอบคลุมประชากรเพื่อให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด สามารถทดแทนประชากรทั้งหมดได้ 4. กำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่างว่าจะใช้จำนวนเท่าใด การใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยจะทำให้ โอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนมีมาก การใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก จะทำให้โอกาสที่จะเกิดความ คลาดเคลื่อนมีน้อย 5. การวิจัยบางประเภทไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เช่น การวิจัยเชิงทดลอง 6. ผู้วิจัยต้องกำหนดความคลาดเคลื่อนในการวิจัย และรู้จำนวนประชากรก่อน ปกติการวิจัยทาง การศึกษาจะกำหนดความคลาดเคลื่อนไว้ที่ระดับ .05

33 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ประการแรก อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่ออธิบายและชี้ให้เห็นรายละเอียดของปรากฏการณ์ โดย แสดงข้อมูลในรูปตาราง ประการที่สอง แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยวิธีการทางสถิติ ประการที่สาม การอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิด ทฤษฏี กฎ บนหลักการคิดวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ ประการที่สี่ มีข้อจำกัดในการอธิบายความหมายเชิงลึก โดยเฉพาะต่อสาเหตุพฤติกรรมของ คนซึ่งมีหลายปัจจัย หลายตัวแปร ที่เป็นสาเหตุ และมีความซับซ้อน

34 ชนิดระดับของข้อมูล (Scale)
1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale or Classification Scale) เป็นมาตราที่หาค่าได้เฉพาะความถี่ แต่นำมา บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ เช่น เพศ อาชีพ ภาค เป็นต้น 2. มาตรอันดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่ามาตรานามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์เพื่อชี้ถึงอันดับ เช่น หลังจากพิจารณาภาพที่นักเรียน วาดมาแล้วก็ได้อันดับจากภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นอันอับ 2 , 3 ,…… ตามลำดับ เป็นต้น จึงเป็นมาตราที่นำค่าสถิติมาเรียงลำดับได้ แต่นำมาบวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ เช่น ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ระดับการศึกษา (ป.ตรี ป.โท ป.เอก) และระดับคิด ความเห็น (เห็นด้วยมาก ปานกลาง น้อย)

35 ชนิดระดับของข้อมูล (Scale)
3. มาตรอันตรภาค (Interval Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่าสองมาตราที่ กล่าวมา โดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ มี ศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero or Relative Zero) และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ค่าของมาตรานี้จะทำได้ เฉพาะการบวกและลบ แต่ไม่สามารถนำมาคูณและหารได้ ตัวอย่างของมาตรานี้ ได้แก่ การ วัดอุณหภูมิ เช่น ในหน่วยวัดอุณหภูมิแบบเซลเซียส จะกำหนดจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่ อุณหภูมิ 0° ซ. โดยถือเป็นศูนย์เทียมเพราะไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึง ณ อุณหภูมิ 0° ซ. นี้ไม่มีความร้อนอยู่เลยแต่เป็นเพียงจุดที่สมมุติว่าน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง และคะแนนสอบที่ได้ 0 คะแนน ก็ไม่ได้แสดงว่าผู้นั้นไม่มีความรู้เลย เพราะผู้สอบอาจเก็งข้อสอบผิดหรือตาลาย กากบาทผิดข้อก็เลยสอบตก เป็นต้น

36 ชนิดระดับของข้อมูล (Scale)
4. มาตราอัตราส่วน (Ratio scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงที่สุด โดยมีความ สมบูรณ์มากกว่ามาตราวัดอันตรภาค นอกจากจะมีคุณสมบัติเหมือนมาตราวัดอันตรภาคแล้ว ยังมี ศูนย์แท้ (Absolute Zero) ในขณะที่มาตราอันตรภาคเป็นเพียงศูนย์สมมุติ เท่านั้น ตัวอย่างการวัดในมาตรานี้ได้แก่ การวัดความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง อายุแต่ละหน่วย ของความยาวจะมีช่วงเท่ากันแต่ละหน่วยจึงสามารถนำมาจัดกระทำตามหลักคณิตศาสตร์ได้ ทุกประการ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ถอดราก และยกกำลังได้ ตัวอย่างของข้อมูลที่ได้จากการ วัดโดยใช้มาตราอัตราส่วน เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่ม เรียงอันดับ แบ่งเป็นช่วงเท่า ๆ กัน และมีศูนย์แท้ สามารถเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนได้ เช่น ระยะทาง เวลา น้ำหนัก ส่วนสูง และอายุ เป็นต้น

37 สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการนำสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ เช่น ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน เป็นต้น หรือนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามในแบบสอบถาม แต่ละข้อ โดยใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยหรือค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็น ต้น

38 สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
2) การวิเคราะห์ด้วยสถิติอนุมาน หรือ สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติ อนุมาน เป็นสถิติที่นำมาใช้ในการอ้างอิงไปหาค่าความเป็นจริงของประชากร สถิติอนุมานถูกนำไปใช้ ใน 2 เรื่อง คือ การประมาณค่าทางสถิติ และการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในการวิจัยมักนิยมนำสถิติ อนุมานมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐานการวิจัยที่มักใช้บ่อยในทางรัฐศาสตร์และรัฐ ประศาสนศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics) - เป็นกลุ่มสถิติที่ต้องคำนึงถึง หรือ เคร่งครัดใน ข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับสถิติแต่ละชนิด เช่น Z-test, t-test, F-test, สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) - เป็นกลุ่มสถิติที่ผ่อนคลาย ในข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับสถิติแต่ละชนิด เช่น X2, Mann-Whitney U Test, Sign Rank Test, Median Test

39

40 การหาค่าระดับความคิดเห็น
สูตร (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด) / จำนวนชั้น เช่น (3 – 1) / 3 = (5 - 1) / 3 = 1.33 เห็นด้วยน้อย – – 2.33 เห็นด้วยปานกลาง 1.67 – – 3.66 เห็นด้วยมาก – – 5.00

41 ชื่อเรื่อง การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
ตัวอย่างแบบสอบถาม ชื่อเรื่อง การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น ต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของอาจารย์ ในมหาวิทยาลัย แนวคิดหลักศีล 5 ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และไม่ติดสิ่งเสพติด

42 ตัวอย่างแบบสอบถาม ข้อ คำถาม ความคิดเห็น ลงรหัส มาก ปานกลาง น้อย 1
ท่านไม่เคยฆ่าสัตว์ 2 ท่านไม่เคยลักทรัพย์ 3 ท่านไม่เคยประพฤติผิดในกาม 4 ท่านไม่เคยพูดปด 5 ท่านไม่เคยติดสิ่งเสพติด

43 ตัวอย่างการคำนวณ

44 องค์ประกอบของงานวิจัยเชิงปริมาณ

45

46 หลักการอภิปรายผลการวิจัย
การอภิปรายผลการวิจัย คือ ขั้นตอนการแปลผลการวิจัยเพื่อเขียนยืนยันความแตกต่างหรือสอดคล้อง กับสมมติฐานการวิจัย โดยมีหลักการเขียน 4 ประการ คือ 1.ประเด็นในการศึกษา หรือประเด็นคำถามวิจัยที่แฝงอยู่ในวัตถุประสงค์ และโดยเฉพาะใน สมมติฐานการวิจัยนั้นมีอะไรบ้าง 2.ผลลัพธ์จากข้อค้นพบหรือผลการทดสอบสมมติฐานที่ได้เป็นอย่างไร  3.การให้เหตุผลประกอบจากข้อค้นพบดังกล่าว ซึ่งเป็นการสร้างเหตุผลด้วยการนำเอาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการต่างๆ มาเป็นฐานรองรับผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.การยืนยันผลการศึกษาด้วยการเทียบเคียงกับผลการวิจัยอื่นๆ ที่ได้นำมาระบุไว้ในท้ายบทที่ 2 ว่ามี ความเหมือนหรือความแตกต่าง ความสอดคล้องหรือขัดแย้งอย่างไร

47 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการอภิปรายผลการวิจัย
1.ในกรณีที่ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานควรสร้างคำอธิบายบนพื้นฐานของแนวคิด และทฤษฎีต่างๆ ที่ได้นำมากล่าวไว้แล้วในบทที่ 2 การใช้แนวคิดเหล่านี้มาเทียบเคียงย่อมทำให้ เกิดการพิสูจน์ความสมบูรณ์ของแนวคิดหรือทฤษฎีต่างๆ ไปพร้อมกันด้วยว่ามีความเหมาะสม มากหรือน้อยเพียงใดต่อการนำมาอธิบายปรากฏการณ์ หรือในบางกรณีถือเป็นการยืนยันตัว แบบ (Model) ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ 2.ในกรณีที่ผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ควรหาจุดอ่อนของการวิจัยว่ามี ข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง ทั้งในแง่ขั้นตอน กระบวนการวิจัย และตัวแปรของการวิจัยว่ามี สัมพันธ์หรือเหมาะสมกับรากฐานแนวคิด ทฤษฎีที่นำมาเป็นฐานการวิเคราะห์หรือไม่

48 ตัวอย่างวิธีการเขียนการอภิปรายผล
จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้               รูปแบบที่ 1 การอธิบายเหตุผลภายหลังการสรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้   ทั้งนี้เพราะ/เนื่องจาก………... (โดยถ้าสอดคล้องก็อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ เช่น ลักษณะที่ เกิดผลดังกล่าว พร้อมทั้งอ้างอิงแนวคิดทฤษฏีต่างๆ แต่ถ้าไม่สอดคล้องก็ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้)... สอดคล้อง/ขัดแย้งกับ ผลงานวิจัยของ..... (ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเท่านั้นมาเขียน)                  รูปแบบที่ 2 การอธิบายความสอดคล้องกับผลการวิจัยภายหลังการสรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยสอดคล้อง/ขัดแย้งกับผลงานวิจัยของ..... (โดยยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยหรือ ศึกษาเท่านั้นมาเขียน)..... ทั้งนี้เพราะ/เนื่องจาก (โดยอธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือถึงลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว ซึ่ง ในกรณีที่สอดคล้องกับสมมติฐานก็ให้มีการอ้างอิงแนวคิด ทฤษฏีต่างๆ แต่ถ้าไม่สอดคล้องก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงก็ ได้)               

49 บรรณานุกรม กัลยา วานิชย์บัญชา การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology). กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท วันทิพย์ สินสูงสุด การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดการวิจัย. กรุงเทพฯ : ช้างศึกษาวิจัย วัลลภ ลำพาย. เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศิริชัย กาญจนวาสี การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สุภางค์ จันทวานิช การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ดาวน์โหลด ppt วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google