งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

2 สารบัญ ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา การยศาสตร์ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

3 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การคำนวณผล และการค้นคืนสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

5 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
25 26 27 28 29 30 31 ข้อมูล กระบวนการประมวลผล สารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

6 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี (Technology) คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายต่อการนำไปใช้งาน สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว มีความหมายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

7 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ เช่น การรวบรวม การคำนวณ และการวิเคราะห์ผล มี 4 ส่วนหลัก คือ การนำเข้า (Input) การประมวลผล (Processing) การส่งออกผล (Output) ผลตอบกลับ (Feedback) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

8 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กระบวนการในการประมวลผลข้อมูล Input Process Output Feedback บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

9 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเข้า (Input) ส่วนของการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผลด้วยอุปกรณ์นำเข้าต่าง ๆ การประมวลผล (Processing) การดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อมูล ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ การส่งออกผล (Output) การแสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ผลตอบกลับ (Feedback) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการรับ การส่ง หรือการดำเนินการกับข้อมูล รวมถึงการแสดงถึงข้อผิดพลาดหรือปัญหา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

10 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีทางการสื่อสารให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล ทำให้การเผยแพร่ทำได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

11 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีข้อมูลดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีในการจัดเก็บและนำเสนอรูปแบบของข้อมูล มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว สามารถแลกเปลี่ยนและสื่อสารข้อมูลที่เรียกว่า ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลเสียง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

12 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

13 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าหรือมูลค่าให้กับงาน หมายถึง การที่เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กร/หน่วยงาน/บุคคล ได้มาซึ่งสารสนเทศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ เทคโนโลยีที่ช่วยในการประมวลผลข้อมูลตามความจำเป็นได้โดยสะดวก ผู้ตัดสินใจได้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทันกาล บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

14 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าหรือมูลค่าให้กับงาน วัดได้จากเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจ ใช้เวลาน้อย  สารสนเทศนั้นมีคุณค่ามาก วัดได้จากรายรับหรือผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้น ประเมินจากการความสามารถในการเปรียบเทียบข้อมูลและจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ ประเมินจากผลของการตัดสินใจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายหรือนโยบายขององค์กร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

15 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เข้าไปปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกระบวนการในการทำงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและในภาคพาณิชยกรรม เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย ดำเนินกิจกรรมขององค์กร ช่วยมองหาโอกาสในการขยายการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทำให้องค์กรมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของผู้ที่เข้ามาติดต่อประสานงาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

16 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปในทางที่สะดวกสบายขึ้น เช่น มีการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

17 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เช่น การกระจายข้อมูลข่าวสารไปทั่วทุกเขตแดน เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ การเรียนการสอนในโรงเรียน/สถานศึกษา ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับทั้งผู้สอนและผู้เรียนในบริบทของการเรียนในชั้นเรียน การศึกษาด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

18 บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การใช้ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับกิจกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลรักษาผืนป่าและผืนน้ำ การพยากรณ์อากาศ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ เช่น หน่วยงานการทหาร มีการใช้เทคโนโลยีระบบควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

19 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

20 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
ระบบสารสนเทศคือตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสร้างระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน มุ่งไปสู่การสร้าง ระบบรวม โดยในระบบหนึ่งสามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชี ใช้ในการงานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมาย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

21 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือมีปริมาณมากได้โดยสิ้นเปลืองเนื้อที่น้อยลง ช่วยลดต้นทุน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

22 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสม ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้น ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

23 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ต้องได้มาซึ่งข้อมูลที่ดีและถูกต้อง ลักษณะของข้อมูลที่ดี Accurate มีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลหรือ สารสนเทศ ไม่มีข้อผิดพลาด Complete มีความสมบูรณ์ครอบคลุมตามความเหมาะสม Economical ประหยัด คุ้มค่าการลงทุนเพื่อให้ได้มา Flexible มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ได้หลากหลายเป้าหมาย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

24 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
ลักษณะของข้อมูลที่ดี Reliable มีความน่าเชื่อถือซึ่งจะทำให้เกิดเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศขึ้นอยู่กับ วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ได้มา Relevant มีความสัมพันธ์กับเรื่อง เช่น ตรงประเด็น มี ความสำคัญต่อการตัดสินใจ Simple ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

25 ระบบสารสนเทศ (Information Systems)
ลักษณะของข้อมูลที่ดี Timely รวดเร็วและทันต่อการใช้งาน Verifiable สามารถตรวจสอบได้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ Accessible สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยอาจมีการกำหนด สิทธิการเข้าใช้งานเพื่อความปลอดภัย Secure มีความปลอดภัย จากการเข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ไม่มี สิทธิ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

26 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

27 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information System: CBIS) คือ ระบบสารสนเทศที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์สร้างระบบงานที่สอดคล้องกับความต้องการ เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน (Payroll Systems) ระบบสั่งซื้อสินค้า (Purchasing Systems) ระบบควบคุมรายการสินค้า (Inventory Systems) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

28 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
CBIS มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) การติดต่อสื่อสาร (Communication) กระบวนการ (Procedure) บุคลากร (Peopleware) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

29 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำข้อมูลเข้า ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยควบคุมให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ ฐานข้อมูล (Database) การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

30 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
การติดต่อสื่อสาร (Communication) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันและติดต่อสื่อสารกันได้ กระบวนการ (Procedure) ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง บุคลากร (Peopleware) บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ผู้บริหาร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

31 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การติดต่อสื่อสาร กระบวนการ บุคลากร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

32 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

33 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
ระบบทะเบียนออนไลน์ เป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนิสิตโดยตรง ข้อมูลการศึกษาของนิสิตทุกอย่างจะถูกจัดเก็บในระบบนี้ นิสิตสามารถลงทะเบียน ตรวจสอบการลงทะเบียน ตรวจสอบตารางเรียน ตรวจสอบเกรดที่ได้ ขอรับข้อมูลข่าวสารเป็นข้อความสั้น (SMS) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

34 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

35 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
ระบบสำนักหอสมุด เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการค้นหาหนังสือและสื่อประกอบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อวีดิทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสารวิชาการ เอกสารวิชาการ มีเอกสารบางส่วนได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเรียกใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

36 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

37 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เชื่อมต่อกับระบบ Live ของบริษัท Microsoft ดังนั้น นิสิตสามารถใช้ที่อยู่อีเมลที่ได้จากมหาวิทยาลัยบูรพาในการเข้าสู่ระบบ Live mail ได้โดยอัตโนมัติ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

38 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

39 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
ระบบการศึกษาออนไลน์ (e-Learning) นิสิตสามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานเอกสารประกอบการเรียนการสอนตามที่อาจารย์ได้แนะนำไว้ ซึ่งมีหลากหลายสาขาวิชาที่มีบทเรียนออนไลน์นี้ นิสิตยังสามารถที่จะสมัครเรียนวิชาอื่น ๆ ด้วยตนเอง ถ้านิสิตมีความสนใจส่วนตัว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

40 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

41 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
ระบบประเมินการเรียนการสอน ในช่วงปลายภาคการศึกษานิสิตทุกคนจะต้องทำการประเมินการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา โดยนิสิตสามารถเข้าไปในระบบสารสนเทศ แล้วทำการประเมินตามความเป็นจริงของการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา โดยระบบนี้จะเก็บการประเมินของนิสิตทุกคนไว้เป็นความลับ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

42 ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

43 การยศาสตร์ (Ergonomics)
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

44 การยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์ เป็นการศึกษาการใช้งานเครื่องมือเครื่องกลต่าง ๆ เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเหล่านั้น สัมพันธ์กับการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา เช่น การติดตั้งและวิธีการใช้งานของคีย์บอร์ด จอมอนิเตอร์ เมาส์ เก้าอี้ การปรับระดับแสง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

45 การยศาสตร์ (Ergonomics)
Click บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

46 การยศาสตร์ (Ergonomics)
แป้นพิมพ์ (Keyboard) การใช้คีย์บอร์ดไม่ถูกวิธีอาจทำให้ปวดไหล่หรือปวดข้อมือเรื้อรังได้ การติดตั้งควรใช้ถาดเลื่อนคีย์บอร์ดและมีที่สำหรับวางเมาส์ไว้ข้าง ๆ ควรตั้งคีย์ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป ให้แขนวางในมุมตั้งฉาก นั่งโดยไหล่ไม่ห่อ หากคีย์บอร์ดอยู่ต่ำกว่าโต๊ะที่วางจอมอนิเตอร์ ให้ปรับคีย์บอร์ดในระดับที่ขนานกับพื้น ผู้ที่เป็นคนไหล่กว้างควรใช้คีย์บอร์ดแบบแยกเพื่อการใช้งานที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

47 การยศาสตร์ (Ergonomics)
แป้นพิมพ์ (Keyboard) การใช้คีย์บอร์ดไม่ถูกวิธีอาจทำให้ปวดไหล่หรือปวดข้อมือเรื้อรังได้ ไม่ควรลงน้ำหนักการพิมพ์แรง ๆ ตามอารมณ์ เพราะจะทำให้ปวดข้อมือได้ ควรปล่อยให้ข้อมืออยู่ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ให้ข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด 90 องศาหรือมากกว่านั้น โดยให้หัวไหล่ผ่อนคลายและข้อศอกอยู่ข้างลำตัว คีย์บอร์ดควรอยู่ตรงกลางไม่เอียงไปทางซ้ายหรือขวา ไม่วางมือบนที่รองแขน ทำได้เฉพาะตอนพักจริง ๆ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

48 การยศาสตร์ (Ergonomics)
แป้นพิมพ์ (Keyboard) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

49 การยศาสตร์ (Ergonomics)
จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) ควรติดตั้งจอมอนิเตอร์ให้อยู่ตรงกลาง ไม่ต้องหมุนไปดูจอทำให้ไม่ปวดคอหรือปวดไหล่ การนั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขนจะเป็นการถนอมสายตาด้วย ตำแหน่งด้านบนของจอควรให้อยู่ในระดับสายตาและให้แหงนหน้าจอขึ้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่เมื่อยคอเพื่อเอียงคอดูจอ ตรวจสอบไม่ไห้เกิดแสงสะท้อนเนื่องจากแสงที่เข้ามาจากหน้าต่าง พร้อมปรับระดับแสงสว่างให้พอดีกับแสงสว่างโดยรอบของห้องที่ใช้งาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

50 การยศาสตร์ (Ergonomics)
จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) ใช้สีและขนาดอักษรให้เห็นได้ชัดเจน อย่าจ้องหน้าจอเป็นเวลานานเพราะจะทำให้แสบตา ใช้หลัก 20:20:20 คือ พักการทำงาน 20 วินาที หลังจากทำงาน 20 นาที และมองไปไกล 20 ฟุต จะช่วยให้สายตาได้พักและปรับโฟกัส ป้องกันสายตาสั้น รักษาความสะอาดหน้าจอจากฝุ่นและคราบต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ทั้งยังเป็นการกระทำที่ถูกสุขลักษณะอีกด้วย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

51 การยศาสตร์ (Ergonomics)
จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

52 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เมาส์ (Mouse) การใช้เมาส์อย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น การเกร็งข้อมือเพื่อจับเมาส์จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่โพรงกระดูกข้อมือได้ การทำงานกับคอมพิวเตอร์มีส่วนที่ทำงานหนักที่สุดคือนิ้วและมือ กล้ามเนื้อที่ควบคุมนิ้วและมือนี้อยู่ที่บริเวณข้อมือถึงข้อศอก ส่วนเส้นประสาทที่ควบคุมมือจะเชื่อมผ่านช่องว่างระหว่างกระดูกข้อมือเรียกว่า โพรงกระดูกข้อมือ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

53 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เมาส์ (Mouse) การใช้เมาส์อย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ การที่ข้อมือเคลื่อนไหว ขนาดของโพรงกระดูกข้อมือก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย สร้างความกดดันให้กับเส้นประสาทตรงกลาง การทำงานตลอดวัน โดยข้อมืองอและกดทับบนโต๊ะสามารถทำให้เส้นเอ็นหรือเส้นประสาทที่ข้อมือเกิดอาการปวดได้ ในระยะยาวอาจจะเกิดการอักเสบ นำไปสู่การปวด ชา และปวดรุนแรงที่นิ้วมือได้ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

54 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เมาส์ (Mouse) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

55 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เก้าอี้ (Chair) เก้าอี้ควรมีขนาดพอดีตัว ไม่เล็กเกินไป สามารถปรับระดับความสูงได้ เท้าต้องวางขนานกับพื้น เวลานั่งพนักพิงควรราบไปกับหลัง ไม่ควรนั่งงอตัว ควรนั่งให้ตัวตรง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

56 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เก้าอี้ (Chair) ควรนั่งพิงพนักให้เต็ม เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้นหรือแหงนลง ควรจะขนานกับพื้น ท่านั่งควรเป็นมุม 90 องศา หัวเข่าตั้งฉากกับพื้น ฝ่าเท้าแนบขนานกับพื้น ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในตำแหน่งที่รู้สึกสบายเพื่อให้ไม่ปวดหลัง ควรเดินไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เพื่อป้องกันการเมื่อยล้า บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

57 การยศาสตร์ (Ergonomics)
เก้าอี้ (Chair) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

58 การยศาสตร์ (Ergonomics)
แสง (Lighting) แสงเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อการมองเห็นที่ควรคำนึงถึงเพื่อมิให้บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน ควรใช้โคมไฟบนโต๊ะทำงานสีขาวที่มีความสว่างเพียงพอต่อการมองเห็น เป็นการดีมากหากตำแหน่งของแสงไฟนั้นสามารถปรับขึ้นลงได้ การใช้ผ้าม่านจะช่วยควบคุมแสงจากภายนอก หลอดไฟที่ใช้ก็ควรให้แสงสว่างในโทนเดียวกันในห้องที่ผนังมีสีไม่ฉูดฉาดเกินไป บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

59 การยศาสตร์ (Ergonomics)
แสง (Lighting) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

60 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

61 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การออกกำลังกายที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุการใช้งานอวัยวะ ช่วยป้องกันการเจ็บป่วย สิ่งสำคัญคือ เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งควรเปลี่ยนอิริยาบถ จะช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายและอารมณ์ได้ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

62 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารตา หลับตาแน่น ๆ สัก 10 วินาที แล้วลืมตาขึ้น หรือ หาวเพื่อเรียกน้ำตา มองไปที่โล่ง ๆ ไกล ๆ สัก วินาที บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

63 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารไหล่ ยืนท่าตรง ยกไหล่ขึ้นให้สูงที่สุด แล้วหมุนลงช้า ๆ ไปทางด้านหลัง ทำ 10 รอบ ยืนท่าตรง ยกไหล่ขึ้นให้สูงที่สุด แล้วหมุนลงช้า ๆ ไปทางด้านหน้า ทำ 10 รอบ ยืนท่าตรง ยื่นแขนออกไปข้างหน้าให้สุด แล้วเอามือประสานกัน ออกแรงดึงมือที่ประสานกันนั้นออก ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำ 10 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

64 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารไหล่ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

65 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารต้นคอ ยืนท่าตรง ใช้มือซ้ายจับด้านขวาของศีรษะ แล้วกดลงทางซ้ายช้า ๆ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

66 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารต้นคอ ยืนท่าตรง หันหน้าไปทางซ้ายสุด กดคางลงหาไหล่ แล้วหมุนคอไปทางด้านขวา เงยหน้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที แล้วกดคางลงหาไหล่ หมุนคอไปทางด้านซ้าย ทำสลับกัน 5 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

67 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าให้สุด กำมือทั้งสองข้างให้แน่นที่สุด 5 วินาที แล้วกางนิ้วมือออกให้สุด 5 วินาที ทำสลับกัน 10 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

68 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้า มือซ้ายตั้งขึ้น เอามือขวาจับนิ้วมือซ้ายไว้ แล้วดึงเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

69 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้า มือซ้ายงอลง เอามือขวาจับนิ้วมือซ้ายไว้ แล้วดึงเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

70 การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
การบริหารเท้า นั่งบนเก้าอี้ แล้วยื่นขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า เหยียดเท้าให้สุด แล้วหมุนข้อเท้าช้า ๆ 10 รอบ แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

71 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

72 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งภัยหรืออันตรายต่อผู้ใช้หรือองค์กร การรับทราบและเข้าใจวิธีการป้องกันภัยรูปแบบต่างๆ เหล่านี้จึงมีความจำเป็น ตัวอย่างภัยที่อาจเกิดขึ้น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) ไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต การโกงหรือหลอกลวงต่าง ๆ การโจรกรรมทั้งรูปแบบของข้อมูลหรืออุปกรณ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

73 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยีสานสนเทศ มีหน้าที่จัดระเบียบและบริหารจัดการองค์กร ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานกับประชาชน เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

74 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

75 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องของการเข้ามากำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การละเมิดสิทธิ์ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีสาระสำคัญคือ เรื่องของข้อมูลในรูปดิจิทัลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบถึงสิทธิส่วนบุคคล บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

76 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องของกิจกรรมทางด้านการเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกัน รวมถึงการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบเอกสารการเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

77 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในประเทศไทยได้มีการนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ มาบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

78 สรุป บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

79 สรุป เทคโนโลยีคือการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการคิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ พัฒนาองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรี การดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบัน แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีส่วนไหนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

80 สรุป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่เรื่องดีเพียงด้านเดียว
ภัยอันตรายที่แฝงตัวมา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาอีกมากมาย พึงระลึกไว้ว่า “จงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช้ในทางที่ผิด จึงจะเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง” บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

81 คำถาม บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google