งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยากร : ธรรศ ทองเจริญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยากร : ธรรศ ทองเจริญ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยากร : ธรรศ ทองเจริญ

2 ประวัติ Education Experience Present: Assistant Key Account Manager
Bachelor of Economics: KASETSARTUNIVERSITY Master of Management (M.M), MAHIDOL UNIVERSITY Experience Present: Assistant Key Account Manager SINO - PACIFIC TRADING (THAILAND)CO.,LTD: : Brand Manager SAHA PATHANAPIBUL PLC 2003 – 2008 : Product Manager DKSH ( Thailand ) DIETHELM LIMITED COMPANY

3 Business Plan การวางแผนธุรกิจ

4 Agenda แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea แผนธุรกิจ (Business Plan)
การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis) สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) 5 Force Model เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า

5 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
แนวคิดของแผนธุรกิจที่ดี (Concept of good business plan) ซึ่ง เป็นจุดเริ่มของการที่จะบอกได้ว่าแผนธุรกิจที่เขียนขึ้นมานั้นจัดเป็น แผนธุรกิจที่ดีหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแผนธุรกิจ ที่เขียนขึ้นสำหรับการขอรับ การสนับสนุนทางการเงิน สำหรับการ ประกวดแข่งขัน หรือสำหรับการเรียน การสอนของนักศึกษาก็ตาม โดยถ้าเป็นแผนธุรกิจที่ ดี  แผนธุรกิจนี้อยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ จากเกณฑ์พิจารณา 5 ประการ ก็ควรจะมีหลัก แนวคิด Character (คุณลักษณะ), Credit (ความน่าเชื่อถือ), Capacity (ความสามารถในการดำเนินการ หรือความสามารถในการผ่อน ชำระ), Collateral (หลักประกัน) Condition (เงื่อนไข)

6 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
C ที่ 6 เข้าไปประกอบก็คือ Capital ทุน คือ ผู้ประกอบการในปัจจุบันควรจะต้องมีเงินทุนของตนเอง ซึ่ง ทุนในความหมายนี้ควรจะ หมายถึงทุนที่เป็นเงินสด คือ Capital = Cash เพราะการให้วงเงินสินเชื่อในปัจจุบันจาก ธนาคารหรือ สถาบันการเงินนั้น จะ พิจารณาในส่วนเงินทุนของผู้ประกอบการ ในการให้วงเงินสินเชื่อ ตามสัดส่วน ทุนของผู้ประกอบการที่มีอยู่ โดยจุดหนึ่งในการ พิจารณาคือ ผู้ประกอบการมี เงินสดในมือเพียงพอ หรือไม่ เพราะสัดส่วนสินเชื่อ ที่ทางธนาคารหรือสถาบัน การเงินจะอนุมัติให้ อาจจะอยู่ระหว่าง 60%-80% ของมูลค่าการลงทุน ซึ่งส่วนที่ เหลือ 20%-40% นั้น ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ออกทุนด้วยตนเอง โดยทุนในส่วน ที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์

7 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
แผนธุรกิจที่ดีควรจะมี หรือเป็นแนวคิดเบื้องต้น สำหรับแผนธุรกิจที่ดี จะประกอบด้วย C – Communicate C – Commercial C – Competitive C – Correct C – Clear C – Complete C – Convince ซึ่งถ้าแผนธุรกิจใดก็ตามที่มี 7 Cs นี้ครบถ้วน ก็จะจัดได้ว่าเป็นแผนธุรกิจที่ดี และ สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการได้เป็น อย่างมีประสิทธิภาพ

8 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับ ผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุป หรือผลรวม แห่ง กระบวนการคิด พิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทาง ธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่า แผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอน ต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียด ต่างๆ ทั้งเรื่อง ของ การตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำ ผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็น ถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

9 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
แผนธุรกิจที่ดี คือแผนที่แสดงรายละเอียด ตามหัวข้อต่างๆให้ครบถ้วน และต้องเขียนให้มี ผลประกอบการที่ดี เพื่อที่เมื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินเห็นว่า ธุรกิจของตนเองเป็น ธุรกิจที่มีผลกำไร จะเป็นสิ่งช่วยให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อให้กับตนเอง ซึ่งอาจรวมถึง ลักษณะของ แผนธุรกิจในวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการร่วมลงทุน หรือเพื่อ การแข่งขัน ประมาณการต่างๆเกี่ยวกับรายได้ หรือยอดขาย และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับแผนธุรกิจที่ต้องมาจากพื้นฐานความเป็นจริง และมีกระบวนการในการวางแผน ธุรกิจที่รอบคอบรัดกุม และเป็นที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าธุรกิจดำเนินการตามสิ่งที่ได้วางแผนที่ระบุ ไว้ จะสามารถแก้ไขปัญหา

10 ขั้นตอนเริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจ
โดยขั้นตอนการเริ่มต้นในการเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้โดยสังเขปเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย เลือกธุรกิจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ กำหนด Business Model เริ่มต้นเขียนแผน

11 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
สิ่งแรกที่ต้องคิดก่อนเป็นลำดับแรก คือจะเลือกธุรกิจอะไร ที่เหมาะสม กับตนเอง หรือเหมาะสมกับ วัตถุประสงค์ในการเขียน ลักษณะของกิจการ SMEs รวม 4 ลักษณะ อันประกอบด้วย กิจการการผลิต กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก  แบ่งตามลักษณะรูปแบบการดำเนินการ ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ (Product business) ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคล (Personal product business) ธุรกิจบริการ (Service business) ธุรกิจบริการเฉพาะบุคคล (Personal service business) ธุรกิจการค้า (Retail business) ธุรกิจด้านการจัดจำหน่าย (Distribution business) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือด้านอินเตอร์เน็ต (Technology-based business or Internet-based business)

12 แนวคิดแผนธุรกิจ Business Idea
ผู้ประกอบการจะเลือกทำธุรกิจอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบหลายประการ ซึ่งจะขึ้นอยู่ กับลักษณะเฉพาะของผู้ประกอบการด้วย เช่น อุปนิสัย ความรู้ความชำนาญ การศึกษา ความชอบ สภาพครอบครัว ทุนทรัพย์ รวมถึงปัจจัยประกอบอื่นๆ เช่น เครือข่ายทางการค้า ความสัมพันธ์กับคู่ค้า เป็นต้น ในการตัดสินใจเลือกว่า จะดำเนินธุรกิจอะไร แต่สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ การเลือก ธุรกิจถือเป็นก้าวแรก ที่จะตัดสินว่า ผู้ประกอบการจะมีโอกาส ประสบความสำเร็จ หรือไม่ เพราะธุรกิจแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภท จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีจุดเด่นและ จุดด้อยของธุรกิจที่แตกต่างกัน มีโครงสร้าง การลงทุน ที่แตกต่างกัน มีลักษณะลูกค้าที่ แตกต่างกัน โดยธุรกิจที่เลือก ที่มีลักษณะพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการนี้ คือ สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการ หรือสามารถแก้ปัญหา ที่เป็นอยู่ของลูกค้า หรือเป็นธุรกิจที่อยู่ ในกระแสความต้องการของตลาด ซึ่งลักษณะพื้นฐานทั้ง 2 ประการนี้ จะเป็นตัวเสริม ให้ ธุรกิจสามารถดำเนินการ หรือสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่มีอยู่ได้

13 การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ
การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ (Business plan documentation) หรือ งานด้านเอกสารของแผนธุรกิจ สามารถถือได้ว่า เป็นเรื่องสำคัญ อีกเรื่องหนึ่งใน กระบวนการจัดทำแผนธุรกิจ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะละเลยในเรื่องดังกล่าว โดย มุ่งเน้นไปที่การเขียน หรือการจัดทำ ข้อมูลต่างๆของแผนธุรกิจมากกว่า เนื่องจากมองว่า งานด้านเอกสารมิใช่สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการตัดสินใจ ในการให้การสนับสนุน งานด้านเอกสาร เป็นสิ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์ (Business image) และเป็นสิ่งที่ สร้างความประทับใจต่อลูกค้า หรือผู้ได้รับเอกสารของธุรกิจ เพื่อให้ทราบได้ว่าองค์กรธุรกิจ นั้น เป็นองค์กรแบบใด มีความเป็นมืออาชีพระดับใด ความสำคัญในการจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ ที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของธุรกิจ สะท้อนความเป็น มืออาชีพ และเป็นส่วนเสริมให้ผู้พิจารณาแผนมีความประทับใจในแผน ธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการได้จัดทำขึ้นอีกด้วย โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การจัดทำเอกสาร แผนธุรกิจควรมีข้อคิดพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ

14 การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ
กระดาษ การเลือกชนิดกระดาษที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ  ครื่องพิมพ์ ปัจจุบันการพิมพ์เอกสารแผนธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Inkjet หรือเครื่องพิมพ์เลเซอร์ หรือเครื่อง LaserJet จำนวนหน้าเอกสาร ผนธุรกิจที่ใช้ภาษาไทย ในเนื้อหาเท่ากัน จะมีจำนวนหน้าเอกสาร ประมาณ หน้า แต่ไม่เกิน 50 หน้า เนื่องจากลักษณะ ของภาษาไทยที่มีเรื่องของสระ และวรรณยุกต์ รวมถึงระยะบรรทัดที่ห่าง ชนิด และขนาดอักษร (Font type and font size) ชนิด และขนาด อักษรก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน โดยหลักการพื้นฐานคือ ควรใช้รูปแบบตัวอักษร (Font type) และขนาดอักษร (Font Size) ที่เหมาะสม การใช้ Software และการบันทึกไฟล์ข้อมูล Microsoft Word จากชุด Microsoft Office เป็นหลัก ซึ่งการบันทึกไฟล์ข้อมูล (Data file)

15 การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ
ปกหน้า ปกหน้าถือเป็นสิ่งที่ผู้อ่าน หรือผู้พิจารณาแผน จะเห็น หรือประเมินแผนธุรกิจก่อน เป็นอันดับแรก โดยปกหน้าของแผนธุรกิจ เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดเบื้องต้นของแผน ธุรกิจ เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงชื่อ และรายละเอียดของธุรกิจผู้ดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจ โดย รายละเอียดพื้นฐานของหน้าปกแผนธุรกิจโดยทั่วไป จะประกอบด้วยข้อความระบุถึงการ เป็นแผนธุรกิจ (Business plan) ชื่อธุรกิจ ที่อยู่ หรือสถานที่ตั้งธุรกิจ หมายเลข โทรศัพท์ติดต่อ หมายเลขโทรสาร Website หรือ address ของ ธุรกิจที่นำเสนอแผน ชื่อหน่วยงานที่ผู้ประกอบการนำเสนอแผนธุรกิจ  การใช้ภาพประกอบ หรือแผนภูมิ ภาพประกอบ เช่น รูปภาพ, Graphic, Schedule, Flowchart ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยอธิบาย รายละเอียดต่างๆของ แผนธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากในการอธิบายรายละเอียดต่างๆจากตัวอักษรแต่เพียงอย่าง เดียว อาจไม่สามารถสร้าง ความเข้าใจให้ผู้อ่านแผนได้ดีเพียงพอ 

16 การจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ
ข้อมูล หรือเอกสารแนบ ข้อมูล หรือเอกสารแนบต่างๆประกอบในแผนธุรกิจ ซึ่งมักจะอยู่ ในภาคผนวกของแผนธุรกิจ จะเป็นเอกสารประกอบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเป็น เอกสารที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลต่างๆที่ปรากฏในแผนธุรกิจ ทั้งในส่วนของแผนการบริหาร จัดการ แผนการตลาด แผนการผลิต แผนการเงิน รายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารแผนธุรกิจ ในบางกรณีผู้จัดทำแผนธุรกิจ อาจให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่าง ที่อยู่นอกเหนือจาก เอกสารแผนธุรกิจ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนรายละเอียดต่างๆของเอกสารแผนธุรกิจ หรือเพื่อสร้าง ความเข้าใจ ในการพิจารณาของผู้อ่าน แผนธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็น CD-Rom หรือสื่อบันทึกอื่นๆ ที่มิใช่อยู่ในรูปของเอกสาร ตัวอย่างเช่น CD ที่บันทึกภาพถ่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของธุรกิจ CD 

17 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอก เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ หาก ผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ก็จะสามารถ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการ ประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้ เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร

18 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และ การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กร  S = Strength คือ จุดแข็ง W = Weakness คือ จุดอ่อน O = Opportunity คือ โอกาส T = Threats คือ อุปสรรค

19 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
S = Strength ( จุดแข็ง ) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัย พัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ของ องค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

20 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
W= Weakness (จุดอ่อน) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลน ทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

21 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
O = Opportunity (โอกาส) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความ ต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไป ตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

22 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
T = Threats (อุปสรรค) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำ ให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมี การปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กร

23 การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
  Strengths (จุดแข็ง) เป็นการพิจารณาข้อดีหรือจุดเด่นที่เกี่ยวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประสมทางการตลาด (4 P’s) และปัจจัยภายในที่บริษัทสามารถ ควบคุมได้ และนำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ – สินค้ามีคุณภาพดี                   – ความชำนาญของบุคลากร – บรรจุภัณฑ์ทันสมัย                 – ความแข็งแกร่งของตราสินค้า – เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ                   – ทำเลที่ตั้งของกิจการที่เหมาะสม – มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี                       – ระบบตรวจสอบคุณภาพที่ทันสมัย – ส่วนแบ่งทางการตลาดสูง                   – ภาพพจน์ของสินค้าและบริษัทดี – ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ                      – มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง – มีความสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

24 การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
 Weaknesses (จุดอ่อน) เป็นการพิจารณาข้อเสียหรือจุดด้อยหรือ ข้อบกพร่องที่อยู่ ภายในบริษัทและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บริษัทสามารถควบคุม ได้และบริษัทจำเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไข ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ – สินค้ามีให้เลือกน้อย                         – ราคาสินค้าแพงกว่าคู่แข่งขัน – รูปแบบสินค้าไม่ทันสมัย                    – เงินทุนไม่เพียงพอ – กำลังการผลิตต่ำ                              – สายผลิตภัณฑ์สั้น – ต้นทุนการผลิตสูง                             – จำนวนแรงงานไม่เพียงพอ – ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ   – ไม่มีงบประการการโฆษณา

25 การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
 Opportunities (โอกาส) เป็นการพิจารณาถึงข้อได้เปรียบของกิจการหรือ ของผลิตภัณฑ์ที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกที่เอื้ออำนวย ประโยชน์ต่อบริษัท ให้นำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างของ โอกาส ได้แก่ – การแข่งขันยังมีน้อย                         – คู่แข่งขันเลิกกิจการ – จำนวนผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น               – การเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง – ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล             – ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค – เศรษฐกิจมีอัตราเจริญเติบโตสูงขึ้น   – มีคนกลางที่ช่วยจัดจำหน่ายมาก – เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจ

26 การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
 Threats (อุปสรรค) เป็นการพิจารณาข้อเสียเปรียบ ข้อจำกัด หรือปัญหาที่อยู่ ภายนอก กิจการ และเป็นอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อบริษัท เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่ สามารถควบคุมได้ตัวอย่างของข้อจำกัด ได้แก่ – ราคาของต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น               – คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาด – มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใหม่    – คู่แข่งขันทุ่มการโฆษณาสูง – มีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้                   – สินค้าถูกกดราคาจากคนกลาง – เศรษฐกิจอยู่ในขั้นตกต่ำ                     – ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรสนิยม – จำนวนผู้บริโภคลดน้อยลง

27 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
1. Man (คน) จุดแข็ง (Strengths) บริษัทประกอบด้วยพนักงานและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจาก 7-Eleven ได้ให้ ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มี คุณภาพเพื่อรองรับการขยายสาขา และรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการ ผลักดันให้ 7-Eleven ประสบความสำเร็จได้ สามารถมีสาขาร้านค้ามากมาย จุดอ่อน (Weakness) การที่พนักงานและบุคลากร ของ 7-Eleven มีความรู้ความสามารถ อาจเป็นช่องทางให้บริษัท คู่แข่งธุรกิจเดียวกันเข้ามาซื้อตัวพนักงาน โดยอาจเสนออัตราเงินเดือน และผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อดึงดูดพนักงานของ 7-Eleven ได้ เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันที่สูง หากมีบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาองค์กร จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จไปกว่า ครึ่งแล้ว

28 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
1. Man (คน) โอกาส (Opportunity) ผู้บริหารของบริษัทให้ความสำคัญต่อการสรรหาพนักงานมากพอ ๆ กับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคนดีมากกว่าคนเก่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ยังไม่มี ความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คนเก่ง” ก็สามารถพัฒนาภายหลังได้ แต่การสร้างคนให้เป็นคน ดีต้องใช้เวลานาน วิธีการสรรหาของบริษัท ใช้วิธีการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นการประกาศรับสมัครทาง สื่อต่าง ๆ การคัดเลือกนักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน และการรับ สมัครใน Internet เป็นต้น ซึ่งทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีโอกาสที่จะคัดเลือกพนักงานได้มาก อุปสรรค (Threat) เนื่องจาก 7-Eleven มีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายต่าง ๆ หลายท่าน ซึ่ง คณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งโดยใช้เสียงข้างมาก จากการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถถอดถอน ได้โดยใช้มติที่ประชุม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนคณะกรรมการบ่อย จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อ เหตุการณ์ได้

29 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
2. Money (เงิน) จุดแข็ง (Strengths) ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 104,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 คิดเป็น ร้อยละ 6 ซึ่งเป็นรายได้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สัดส่วนร้อยละ 64 รายได้จากธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ใน ประเทศจีน สัดส่วนร้อยละ 30 และรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 6 กลุ่มธุรกิจร้านค้า สะดวกซื้อมียอดขายสุทธิรวม 65,055 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14,975 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายสุทธิมีสาเหตุมาจากการขยายสาขา และยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 7-eleven มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพในการขยายสาขา และเพิ่ม ยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก จุดอ่อน (Weakness) บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากการ ดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ ซึ่งนโยบายนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้ กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการชายและบริหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจทำให้การจ่ายเงินปันผล ให้กับผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้

30 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
2. Money (เงิน) โอกาส (Opportunity) 7-Eleven เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดม ทุนเพิ่ม ก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย อีกทั้งการขยายเพิ่มของแฟรนไชส์ จะช่วยให้ บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้  อุปสรรค (Threat) ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าเช่าร้านสูงขึ้นมาก อีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตาม ชุมชนต่าง ๆ มีราคาแพง ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้น และจะส่งผลให้ กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง

31 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ) จุดแข็ง (Strengths)  บริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีกระบวนการ คัดสรรและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทได้จัดกระบวนการพัฒนาสินค้า ร่วมกับผู้ผลิต โดยมีการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ ขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การเก็บรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ  จุดอ่อน (Weakness) เนื่องจากบริษัท 7-Eleven มีสาขากระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารมักใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นสำคัญ หากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการ บริหารงาน

32 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ) โอกาส (Opportunity) บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสินค้า การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินที่ที่มี คุณภาพ อีกทั้งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดี ที่สุดให้แก่ลูกค้า และตรงความต้องการของลูกค้า อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการ ผลิต ควบคุม และการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค อุปสรรค (Threat) พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการวางแผนด้านต่าง ๆ ต้องกระทำอย่าง รวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะ การณ์ที่เปลี่ยนไป

33 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
4. Management (การจัดการ) จุดแข็ง (Strengths) โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้บริหาร มีการ แบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานจากหลากหลายสาขาที่เป็นที่ยอมรับใน ระดับประเทศ และมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี และมีวัฒนธรรมองค์กร ของบริษัทคือการทำงานเป็นทีม โดยมีค่านิยม 7 Values เป็นค่านิยมพื้นฐานสำหรับพนักงานทุกคน ในองค์กร และ 11 Leadership เป็นค่านิยมสำหรับผู้บริหารทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติในการ ดูแลเอา ใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรม จุดอ่อน (Weakness) การที่บริษัทมีคณะกรรมการบริษัท มากถึง 13 คน อาจส่งผลให้การตัดสินใจในบางเรื่องล่าช้ากว่าที่ ควร อำนาจการตัดสินใจมีน้อย ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ถือหุ้น ซึ่งในการดำเนินงานปัจจุบัน ต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

34 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
4. Management (การจัดการ) โอกาส (Opportunity) ตามโครงสร้างของคณะกรรมการ ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงาน ที่หลากหลาย และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ย่อมสามารถนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายใหญ่ ๆ ได้  อุปสรรค (Threat) ในภาวะตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ หรือในตลาด ต่างประเทศ ล้วนเป็นแรงผลักดันให้บริษัทต้องแสดงความสามารถในการบริหารจัดการ สร้าง ความแข่งแกร่ง และมีความพร้อมสำหรับการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้

35 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
5.Marketing (การตลาด) จุดแข็ง (Strengths) บริษัทมีทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างได้เปรียบเนื่องจากได้เลือกทำเลที่ตั้งในแหล่งชุมชนมีผู้คนสัญจรผ่านไปมา ตลอด จึงสามารถเข้าถึงผู้บริโภค ได้ง่าย อีกทั้ง มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานคุณภาพสินค้า ไว้อย่างชัดเจน และมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีการสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ หลากหลายแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ โดยมีเป้าหมายหลักคือการตอบสนองตรงต่อความต้องการ ของลูกค้า จุดอ่อน (Weakness) ปัจจุบันร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก ต่างนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้ เช่น การขายสินค้าราคาพิเศษ การมีของสมนาคุณพิเศษ การแจกคูปองเงินสดเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการ ซื้อสินค้า ซึ่งการแข่งขันเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้ซื้อมักมองถึงความคุ้มค่า ประหยัด ซึ่งทางบริษัทเองต้องหาวิธีการจัดรายการโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจผู้ แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่มี ผลกระทบต่อบริษัทในระยะยาว

36 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น) 5M
5.Marketing (การตลาด) โอกาส (Opportunity) 7-Eleven มีโอกาสที่เข้าถึงชุมชนได้มากกว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ เนื่องจากการ มีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย อีกทั้งเป็นร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในชุมชน และไม่ถูกต่อต้านจาก ชุมชนเนื่องจากว่าเป็นร้านค้าของคนไทยไม่ใช่ต่างชาติ ซึ่งจากข้อได้เปรียบนี้ทำให้ 7-Eleven สามารถขยายสาขาครอบคลุมได้มากขึ้น  อุปสรรค (Threat) ในปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าค่อนข้างสูง การที่ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ได้ขยายสาขา ไปตามเมืองใหญ่ และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการขยายสาขาที่มีขนาดเล็กลง และเริ่ม เข้าไปในชุมชน ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งทางการค้าของ 7-Eleven ได้ 

37 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด   Strength (การวิเคราะห์ด้านจุดแข็ง ) โตโยต้ามีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพที่เรียกว่า Toyota Evaluation Quality Auditเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากทุกสายการผลิตทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศญี่ปุ่น เป็นประจําทุกปีเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าในแต่ละประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์โตโยต้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรามีตั้งแต่รถยนต์ระดับหรู(Luxury)มาจนถึงกลุ่มรถ ขนาดประหยัด (Economy Car) รถเพื่อการพาณิชย์ในกลุ่มรถปิกอัพ ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วย ทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วย เป็นเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องการประหยัดพลังงานและลด มลภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม  การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุน้ําหนักเบา ทําให้รถมีน้ําหนักเบา มีความ คล่องตัวสูง และลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ํามันลง

38 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด   Weakness (การวิเคราะห์ด้านจุดอ่อน ) ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิต และการออกแบบรถยนต์และชิ้นส่วน รถยนต์เป็นของตนเอง ประเทศไทยยังให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ ที่พัฒนาแล้วไม่มากเพียงพอ ซึ่งไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้นยัง รวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรระดับสูงในด้านการผลิตและการออกแบบใน อุตสาหกรรมรถยนต์รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์ มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ในประเทศไทยยังอยู่ใน ระดับต่ำ

39 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด   Opportunity (การวิเคราะห์ด้านโอกาส ) การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ํามัน ทําให้คนหันมาใส่ใจในการประหยัดน้ํามัน ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องการลดภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รัฐบาลและประชาชนหันมาสนใจในการแก้ปัญหามลภาวะ โดยรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ ผลักดันในการควบคุมปัญหามลภาวะอากาศ

40 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด   Treat (การวิเคราะห์ด้านอุปสรรค ) รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ Big Tree ซึ่งมุ่งหวังจะสร้าง ความเข็มแข็งในการแข่งขันให้กับสหรัฐอเมริกา โดยการพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับรถยนต์ ในยุคใหม่ ยังมีรถที่ใช้พลังงานทางเลือก เช่น รถที่ใช้ Fuel Cell , Ethanol, Methanol, Natural gas, LPG, Bio Fuel, Hydrogen และ Reformulate Gasoline ทั้งหมดนี้คือ รถยนต์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคู่แข่งของรถยนต์ hybrid ในอนาคต ราคาชิ้นส่วนและวัสดุในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลให้อัตราการการบริโภคลดลงด้วย

41 การวิเคราะห์ SWOT Analysis : เป๊ปซี่
Strength เป็น Global Brand ที่สั่งสมความน่าเชื่อถือมายาวนาน มี Positioning ที่ชัดเจนทำให้ผู้บริโภคจดจำ Brand ได้อย่างแม่นยำ ไม่สับสน กับ Brand อื่น เป็น Brand ที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเกิดจากการรับรู้ของผู้บริโภค ทำให้คู่แข่งไม่สามารถ เลียนแบบ และทำการแข่งขันได้อยาก การที่เป๊ปซี่ เข้ามาในระยะเวลาที่ยาวนานและสามารถครองตลาดได้เป็นอย่างดีและต่อเนื่อง นั้น ทำให้เป๊ปซี่ สร้างความแข็งแกร่ง

42 การวิเคราะห์ SWOT Analysis : เป๊ปซี่
Weakness การที่ เป๊ปซี่จะเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป๊ปซี่ เป็นที่รู้จักของ ผู้บริโภคในด้านน้ำดื่มโคล่า ซึ่งการที่จะขยาย ไปในด้านอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่ผู้บริโภคจะ ให้ความ สนใจและเชื่อถือ ซึ่งถ้าขยายความกว้างของผลิตภัณฑ์มากไปจะทำให้สินค้าโค ล่า นี้อ่อนกำลังไป ด้วย มีสายการผลิตที่กว้างมากจนยากที่จะควบคุมการผลิต เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 

43 การวิเคราะห์ SWOT Analysis : เป๊ปซี่
Oppornity ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์  การสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น  ลักษณะของสินค้า เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่มโคล่านั้นมีจุดต่างจากเครื่องดื่ม อื่นซึ่ง ผู้บริโภคเชื่อว่าดื่มแล้วช่วยสร้างความสดชื่นซึ่งเป็นเสมือนจุดขายของ สินค้านี้  เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีย่อมพัฒนาขึ้น อย่างมากช่วยในด้านการผลิต การโฆษณาช่วย ให้ผู้บริโภครู้จักได้มากขึ้น การกระจาย สินค้า เป็นต้น

44 การวิเคราะห์ SWOT Analysis : เป๊ปซี่
Treat มีสินค้าตัวแทน เนื่องจากตลาดเครื่องดื่มนี้มีการขยายออกอย่างแพร่หลายทำให้ผู้บริโภคมี ทางเลือกมากขึ้นกว่าในอดีต  -ราคาของวัตถุดิบผันผวน เช่น ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นย่อมทำให้ส่งผลต่อราคาต่อหน่วยของสินค้า ด้วยหากราคาสูงขึ้น ความต้อง การย่อมลดลง  - ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เมื่อเศรษฐกิจแย่ลงย่อมมีผลต่อการบริโภคของประชาชนซึ่งจะบริโภค อย่างจำกัดมากขึ้น  - การแข่งขันที่รุนแรง ทั้งตลาดเดิมและเครื่องดื่มใหม่ๆที่พยายามเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การจะครอง ส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากนั้นยากขึ้น  - ค่านิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง คือให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคลด การบริโภคเครื่องดื่มโคล่าลง เนื่องจาก ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้ความสนใจกับสินค้าที่ ให้ผลดีกับสุขภาพมากขึ้น 

45 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มี ส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจ ในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศ

46 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
ภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มี ลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการ บริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย  ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายใน อุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบ ไปด้วย 5 ปัจจัย คือ การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants) คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Competitors) การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes) อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers) อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)

47 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)

48 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants) โดยทั่วไปผู้เข้ามาใหม่ จะเพิ่มกำลังการผลิตใหม่แก่อุตสาหกรรม ความต้องการส่วน แบ่งการตลาด และ ทรัพยากรของผู้มาใหม่ จะคุกคามต่อองค์กรที่มีอยู่เดิมทันที การ คุมคามของผู้เข้ามาใหม่ จะขึ้นอยู่กับอุปสรรคการเข้ามา (Entry Barrier) และ การตอบโต้จากคู่แข่งขันที่มีอยู่เดิม ถ้าเข้ามาในอุตสาหกรรมได้ง่าย ก็มีการแข่งขันสูง เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ อุปสรรคการเข้ามาในอุตสาหกรรม ได้แก่ การประหยัด ต่อขนาด (Economics of scale) ความแตกต่างของสินค้า เงินลงทุนสูง ต้นทุนการเปลี่ยนผู้ขาย ความสามารถในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย และ นโยบายของรัฐ

49 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Competitors) หรือ สภาพการแข่งขันระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน การดำเนินการของคู่แข่งขันหนึ่งจะมี ผลกระทบต่อคู่แข่งขันอื่น และอาจจะทำให้เกิดการตอบโต้ ความรุนแรงของสภาพการแข่งขันระหว่าง องค์กรธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้  จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม  อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังเติบโตสูง การแข่งขันก็ไม่รุนแรง  คุณลักษณะของสินค้าและบริการ มีความเหมือน หรือ ความต่างกัน  มูลค่าของต้นทุนคงที่  กำลังการผลิต  การออกจากอุตสาหกรรม ถ้าการออกไปยาก มีข้อจำกัด จะทำให้คู่แข่งขันไม่ได้ลดจำนวนลง การ แข่งขันจะสูง

50 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
ข้อจำกัด ในการออกจากอุตสาหกรรม เช่น - การลงทุนในโรงงานสูง ไม่สามารถนำไปใช้ในกิจการอื่น ไม่สามารถขายต่อได้ - ต้นทุนการออกจากอุตสาหกรรมสูง เช่น ค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง - ความผูกพันที่มีต่ออุตสาหกรรม - การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร / ต้นทุนคงที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน - ความภาคภูมิใจของผู้บริหาร กลัวเสียหน้า เมื่อออกจากอุตสาหกรรม - แรงผลักดันจากรัฐบาล

51 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes) สินค้าทดแทนเป็นสินค้าหรือบริการ ที่สามารถนำไปใช้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แทนสินค้าหรือบริการอื่นได้เช่นเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องจักรสานพลาสติก แทน เครื่องจักรสานที่ทำด้วยหวาย การใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลธรรมชาติ การใช้โทรสารแทน การส่งจดหมายถึงลูกค้า เครื่องเล่น VDO / VCD กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเครื่อง ฉายภาพยนตร์มากขึ้น ธุรกิจในอุตสาหกรรมหนึ่ง จะเป็นคู่แข่งขันกับธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ที่ผลิตภัณฑ์ทดแทนได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการกำหนดราคา และ ความสามารถในการทำกำไร คือ ถ้าตั้งราคาสูง ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น ราคาเนื้อหมูขึ้นสูงมาก ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อ ไก่แทน ดังนั้น ถ้ามีสินค้าทดแทน การแข่งขันจะสูง

52 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)  ผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้วย ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรอง สภาพการแข่งขันจะสูง เพราะลูกค้าสามารถที่จะกดดันราคาให้ต่ำลง และ คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้น และสามารถ เปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งขัน ผู้ซื้อจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อ  ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ในสัดส่วนสูงจากบริษัท  ลูกค้ามีโอกาสรวมธุรกิจไปข้างหลัง (Backward Integrated) ไปสู่ธุรกิจที่จำหน่าย วัตถุดิบให้กับองค์กร เช่น กลุ่มผู้จำหน่ายรถยนต์ขู่ว่าจะประกอบรถยนต์เองแทนที่จะเป็นเพียงตัวแทน จำหน่าย  มีทางเลือกอื่นๆในการจัดซื้อมากมาย เนื่องจากสินค้าในตลาดไม่แตกต่างกันมาก ลูกค้าจะเลือก ซื้อจากผู้ค้ารายใดก็ได้

53 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers) ถ้าผู้จำหน่ายวัตถุดิบ หรือ Supplier มีอำนาจต่อรอง การแข่งขันจะสูง เนื่องจาก ผู้จำหน่าย วัตถุดิบสามารถกระทบอุตสาหกรรมได้ด้วยการขึ้นราคา หรือ ลดปริมาณของวัตถุดิบลง ผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อ  มีผู้จำหน่ายวัตถุดิบน้อยราย แต่จำหน่ายไปยังบริษัทจำนวนมาก  ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ ซื้อเป็นสัดส่วนที่น้อยจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่น  ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบอื่นสูง เช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับเครื่องจักร (เปลี่ยนจากรถยนต์ใช้ น้ำมันเบนซิน ไปเป็นใช้ก๊าซ NGV)  ไม่มีผลิตภัณฑ์แทน

54 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
ข้อมูลของ คู่แข่งขัน ที่ธุรกิจควรทราบได้แก่  มีใคร อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเราบ้าง  ใครมียอดขาย / ส่วนครองตลาดสูงสุด  ใครมีฐานะทางการเงิน และ กำไร ดีกว่ากัน  ใครมีกลยุทธ์ทางการตลาดเหนือกว่ากัน  ใครมีการขยายตัวตามแนวดิ่ง และ ใครมีการขยายตัวตามแนวนอน  ใครมีต้นทุนที่ต่ำกว่ากัน  โครงสร้าง และ วัฒนธรรมองค์กร ของคู่แข่งขัน

55 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
ข้อมูลของ คู่แข่งขัน ที่ธุรกิจควรทราบได้แก่  ใครคือผู้บริหาร และ ผู้ถือหุ้นใหญ่  ใครคือบุคลากรที่มีคุณภาพ  ใครมีเทคโนโลยีดีกว่ากัน ขนาดของโรงงาน อายุของเครื่องจักร  วิสัยทัศน์ในการบริหารองค์กร  การวิจัยและการพัฒนา  ภาพลักษณ์ขององค์กร  ศักยภาพของคู่แข่งขันในอนาคต

56 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คู่แข่งขัน เป็นประโยชน์ต่อกิจการ ดังนี้  ทำให้ทราบถึงข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ด้านการแข่งขัน ทำให้เข้าใจพฤติกรรม และ กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน  สามารถทำนายกลยุทธ์ของคู่แข่งขันที่จะใช้  สามารถวางกลยุทธ์ของธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  นำผลวิเคราะห์ มาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

57 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ปัจจัยระหว่างประเทศ 

58 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
เศรษฐกิจ - ผลิตผลประชาชาติ (GNP) - แนวโน้มผลิตผลประชาชาติ (GNP Trend) - ปริมาณเงิน (Money Supply) - อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) - อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) - วงจรธุรกิจ (Business Cycle) - การลดค่าเงิน (Devaluation) - ตลาดหุ้น (Stock Market) - วงจรธุรกิจ (Business Cycles) - โครงสร้างเงินทุน (Capital) - จำนวนแรงงาน (Labour Supply) - การเพิ่มผลผลิต (Productivity)

59 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
สังคม และ วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle Change) สุขภาพ (Health) คุณภาพชีวิต การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม (Environmentalism) ทัศนคติต่อการทำงาน และ อาชีพ (Attitude toward workม career) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence) จำนวนและอัตราการเติบโตของประชากร ระดับการรู้หนังสือ การใช้เวลาว่าง จำนวนกลุ่มอาชีพต่างๆ การศึกษา (Education)

60 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
การเมือง และ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ของรัฐ (Goverment Regulation) กฎหมาย สิ่งแวดล้อม (Environmental Laws) เสถียรภาพทางการเมือง (Political Stability) กฎหมายแพ่ง พาณิชย์ (Commercial Laws) กฎหมายด้านภาษี (Tax Laws) กฎหมายป้องกันการผูกขาด สหภาพแรงงาน (Union) การกีดกันทางการค้า กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแรงงาน กฎหมายลิขสิทธิ์

61 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
เทคโนโลยี - ระบบสารสนเทศ - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ - ระบบ Automation - การวิจัย และ การพัฒนา - การถ่ายทอดเทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ - ลมฟ้าอากาศ - การติดต่อขนส่ง ปัจจัยระหว่างประเทศ - นโยบายและการดำเนินงานในกลุ่มประเทศหนึ่งๆ - บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ

62 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
สรุป สภาพแวดล้อมภายนอก แบ่งออกเป็น สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร และ สภาพแวดล้อมภายใน องค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเรียกว่า SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายใน ทำให้ทราบถึง จุดแข็งและจุดอ่อน ส่วน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค สภาพแวดล้อมภายนอก มีอยู่ 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทั่วไป และ สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน  สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์  สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า รัฐบาล ชุมชน ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินการ บางที เรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม รูปแบบที่นิยม ใช้ในการวิเคราะห์คือ Porter’s 5 F Model ประกอบด้วยปัจจัย 5 ปัจจัย คือ การคุกคาม ของผู้เข้ามาใหม่ คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และ อำนาจต่อรองของผู้ขาย

63 ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูป
1. สภาพการแข่งขันในปัจจุบัน (Existing Competitors) จำนวนคู่แข่งในอุตสาหกรรมมีมาก เนื่องจากส่วนใหญ่พัฒนามาจากผู้ผลิตน้ำพริกรายเดิม ที่ ปรับปรุงสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตของตลาดน้ำพริกมี แนวโน้มสูงขึ้น ความแตกต่างของสินค้าหรือบริการมีไม่มากส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรสชาด เนื่องจากธุรกิจ น้ำพริกใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก ดังนั้นหากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจน้ำพริก อยู่ในปัจจุบัน และไม่ประสบความสำเร็จ สามารถถอนตัวออกจากอุตสาหกรรมได้ไม่ยาก ซึ่ง การถอนตัวออกจากอุตสาหกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับของการแข่งขันในตลาดลดความ รุนแรงลง

64 ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูป
2. คู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพ (Potential Competitors) ธุรกิจน้ำพริกเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมากนัก แต่ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ได้ยาก ดังนั้นคู่แข่งรายใหม่ จึงไม่มีความกังวลว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ ในตลาดจะได้เปรียบในด้านต้นทุน นอกจากนี้ผู้ประกอบการราย ใหม่ยังสามารถหาแหล่งวัตถุดิบและวิธีการผลิตที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก สามารถเข้าถึงช่องทาง จัดจำหน่ายได้ง่าย รวมทั้งผู้บริโภคมีความภักดีต่อสินค้า

65 ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูป
3. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Buyers) ผู้บริโภคน้ำพริกส่วนใหญ่ซื้อน้ำพริกไปเพื่อรับประทาน จึงไม่มีอำนาจต่อรองที่ชัดเจน แต่ ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย เนื่องจากมีผู้ผลิตอยู่ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวน มาก ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนไปซื้อน้ำพริกจากผู้ผลิตรายอื่นได้ โดยไม่มีต้นทุนในการเปลี่ยน ยี่ห้อ (Switching Cost)

66 ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูป
4. อำนาจการต่อรองของผู้ขาย (Suppliers) วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำพริกสามารถหาได้จากหลายแหล่ง ดังนั้น อำนาจต่อรองของผู้ขาย ปัจจัยการผลิตจึงมีไม่มากนัก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มียอดขายสูงจะมีอำนาจ ต่อรองกับ Supplier ทั้งเรื่องของคุณภาพวัตถุดิบและการชำระเงิน แต่สำหรับ ผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ประกอบการรายใหม่จะมีอำนาจต่อรองกับ Supplier น้อย กว่า

67 ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูป
5. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Substitutes) สินค้าที่ใช้ทดแทนน้ำพริกสำเร็จรูปมีอยู่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำพริกสำเร็จรูปจัดอยู่ใน ประเภทอาหาร แต่ถึงแม้จะมีอาหารที่ใช้ทดแทนน้ำพริกได้เป็นจำนวนมาก แต่ละดับการ ทดแทนของอาหารแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าที่ทดแทน

68 5 Forces Model”วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม
1. ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่(Threat of new entrant ปัจจัยที่ชี้ว่าภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่ในธุรกิจโรงแรมจะมากหรือน้อยอาจมีได้ ดังนี้ อัตราการทำกำไรของธุรกิจ นโยบายของรัฐ โครงสร้างต้นทุน เงินลงทุน ความแตกต่างของสินค้า(โรงแรม) ความจงรักภักดีของลูกค้า

69 5 Forces Model”วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม
2. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน(Threat of substitutes)  ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อภัยคุกคามของสินค้าทดแทน ราคา ความง่ายในการเปลี่ยน ต้นทุนในการเปลี่ยน คุณภาพ จำนวนทางเลือกของลูกค้า แนวโน้มผู้บริโภค

70 5 Forces Model”วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม
3. อำนาจต่อรองของลูกค้า(Bargaining power of buyers)  ปัจจัยใดบ้างที่ลูกค้ามีอำนาจในการกำหนดสิ่งต่างๆให้คุณต้องทำตามหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อ รักษาและดึงดูดลูกค้า อัตราจำนวนลูกค้าต่อจำนวนโรงแรมในตลาด ความอิงอยู่กับช่องทางการขายใดช่องทางหนึ่ง ต้นทุนการเปลี่ยนใจของลูกค้า ข้อมูลที่ลูกค้ามี ความหวั่นไหวต่อราคา จำนวนสินค้าทดแทนที่มี

71 5 Forces Model”วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม
4. อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers) พึ่งพากันเป็นหลักมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีซัพพลายเออร์เจ้านี้ คุณสามารถอยู่ได้หรือไม่  ปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจการต่อรองของซํพพลายเออร์มีดังนี้ ต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงซัพพลายเออร์ ดีกรีความต่างของสินค้าของซัพพลายเออร์แต่ละที่ ต้นทุนการผลิต ความแตกต่างของซัพพลาย จำนวนซัพพลายเออร์ต่อบริษัทที่ใช้บริการ

72 5 Forces Model”วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม
5. สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม(Industry Rivalry)  ความเข้มข้นของการเเข่งขันเป็นอย่างไร จำนวนคู่แข่งเยอะไหม ยิ่งแข่งขันสูง ต้องเพิ่มขีด ความสามารถของคุณให้สูงขึ้นตาม ไม่งั้นก็สู้เขาไม่ได้ คู่แข่งเป็นใครบ้าง มีจุดแข็งอะไร ตรงไหน ปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์สภาพการแข่งขันมีดังนี้ ข้อได้เปรียบทางธุรกิจมีความยั่งยืนหรือไม่ การแข่งขันระหว่างช่องทางออฟไลน์ กับ ออนไลน์ งบประมาณการทำตลาด ความมีประสิทธิภาพของกลยุทธ์ ความโปร่งใส แบรนด์

73 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า
 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า การตระหนักถึงความต้องการ / โอกาสที่สูงขึ้น (Need / Opportunity Recognition) สิ่งแรกที่ลูกค้าใช้เป็นหลักในการเลือกซื้อสินค้าก็คือความต้องการสินค้านั้น หากสินค้าชิ้นนั้น ไม่ตอบสนองความต้องการ ลูกค้าก็ไม่ซื้อ เช่น ลูกค้ามีปัญหารังแค ลูกค้าจึงได้ซื้อแชมพูยี่ห้อ เอมาลองใช้ ปรากฏว่าใช้จนหมดขวด รังแคก็ยังไม่ลดลง ครั้งต่อไปลูกค้าก็ต้องเปลี่ยนไปซื้อ แชมพูยี่ห้ออื่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่า ที่ลูกค้าคาดหวังว่าสามารถตอบสนองความต้องการได้ มากกว่าแทน

74 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า
การค้นหาข้อมูล (Information Search) เมื่อลูกค้าเกิดความต้องการซื้อสินค้า ลูกค้าจะทำการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ โดยอาจใช้ ประสบการณ์ที่ผ่านมาของลูกค้าเองในการเลือกซื้อสินค้าชนิดเดิม ยี่ห้อเดิม แต่หากลูกค้า ต้องการเปลี่ยนมาใช้สินค้าที่มีคุณสมบัติที่มากกว่าเดิม ลูกค้าอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม จาก บุคคล โฆษณา พนักงานขาย ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เพื่อ ประกอบการตัดสินใจ

75 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า
การประเมินทางเลือก (Evaluation of alternatives) ลูกค้าเปรียบเทียบสินค้าหลาย ๆ ตราสินค้าก่อนตัดสินใจ โดยพิจารณาตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ตราสินค้า คุณสมบัติ หน้าที่ ราคา สัญลักษณ์ และอารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับผลการปฏิบัติงาน ของตราสินค้านั้น ๆ ตราสินค้าใดที่ประเมินแล้วว่ามีคุณค่าตามความคาดหวังของลูกค้ามาก ที่สุด ก็จะเลือกตราสินค้านั้น

76 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า
การซื้อ (Purchase) เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อสินค้าแบบใด ยี่ห้อใด ผู้ซื้อก็อาจเปลี่ยนใจในภายหลังได้ อีก หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ทำให้เกิดการประเมินทางเลือกใหม่ เช่น สินค้ายี่ห้ออื่นมีการลด ราคา และจัดโปรโมชั่นที่น่าสนใจ ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากว่ายี่ห้อที่กำลังจะซื้อ ลูกค้าก็อาจ ตัดสินใจในวินาทีสุดท้าย เปลี่ยนไปซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นแทน

77 เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า
 ผลลัพธ์ของการซื้อ (Outcomes of purchase) เมื่อลูกค้าได้ใช้สินค้าแล้วก็ จะทำการประเมินผลลัพธ์ของการซื้อสินค้านั้น โดยเปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อสินค้ากับ ประสบการณ์จริงเมื่อได้ใช้สินค้านั้น โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ประทับใจ – ลูกค้าจะเกิดความประทับใจต่อสินค้า เมื่อพบว่าสินค้านั้นดีกว่าที่คาดไว้ พอใจ – ลูกค้าจะรู้สึกพอใจ เมื่อพบว่าสินค้านั้นดีอย่างที่คาดไว้ ผิดหวัง – ลูกค้าจะรู้สึกผิดหวัง เมื่อพบว่าสินค้านั้นไม่ดีอย่างที่คาดไว้ และเมื่อลูกค้าเกิด ความต้องการสินค้าในครั้งต่อไปลูกค้าก็จะเริ่มพิจารณาปัจจัยในการเลือกซื้อตั้งแต่ข้อแรก ใหม่อีกครั้ง


ดาวน์โหลด ppt วิทยากร : ธรรศ ทองเจริญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google