งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อุทกภัย (Floods) เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อุทกภัย (Floods) เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อุทกภัย (Floods) เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศ ต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ ทำให้เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่ของโลกอันทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมไปถึงความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจด้วย การเกิดอุทกภัยมาจากหลายสาเหตุ โดยทางธรรมชาติ

2 สาเหตุ : น้ำท่วมจากฝน สาเหตุของอุทกภัยในประเทศไทย หย่อมความกดอากาศต่ำ
95 90 100 105 110 115 20 15 10 5 25 กรมอุตุนิยมวิทยา Meteorological Department ITCZ JUN ITCZ OCT SW monsoon MAY - OCT MAY Cyclone NOV - JAN Southerly Tropical Cyclone OCT NOV - DEC JUN - JUL AUG - SEP & SEP ITCZ MAY NE monsoon MAR - APR สาเหตุของอุทกภัยในประเทศไทย หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น, พายุโซนร้อน, พายุไต้ฝุ่น ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนพัง Remarks ITCZ may be nonexistent or apparently and may move in unexpected fashion and has been variously positioned by various authorities 2. Source : “The Rainfall of Thailand”, A Study by Lawrence Sternstein, supported by The U.S. Army Quartermaster Corps, Research and Engineering Command, Project No

3 ลักษณะของอุทกภัย มีความรุนแรง และรูปแบบต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้ 1.น้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำ สะสมมีปริมาณมากจนพื้นดินและต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำเบื้องล่างอย่าง รวดเร็วมีอำนาจทำลายล้างรุนแรงระดับหนึ่ง ที่ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหายและอาจทำ ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 2.น้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ ไหลบ่าในแนวระนาบจากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับ ความเสียหาย หรือ เป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็น เวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิด นำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล 3.น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่างหรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิด สภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวนไร่นาตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนนหรือ สะพานอาจชำรุดทางคมนาคมถูกตัดขาดได้

4 การเกิดน้ำท่วมที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนผ่าน
~rwcsw/diaster.html

5 น้ำป่าจากภูหลวงไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่อ. ภูหลวง จ
น้ำป่าจากภูหลวงไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่อ.ภูหลวง จ.เลย ช่วงเช้าวันที่ 27 ก.ค. 47 สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ต้องไร้ที่อยู่อาศัยนับร้อยครอบครัว เช่นเดียวกับอีกหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่ถูกน้ำท่วมหนักเช่นกัน สภาพน้ำท่วม อ.เมือง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 6-9 ก.ย.47

6 ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา

7 สาเหตุ (ต่อ) น้ำท่วมจากหิมะ
การละลายของหิมะอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุสำคัญของน้ำท่วม เมื่อถึงฤดูหนาวหิมะตกหนักตามด้วยสภาวะอากาศอุ่นจนหิมะละลาย (thaw) ทำให้น้ำที่เกิดจากหิมะละลายไหลลงสู่แม่น้ำเช่นเดียวกับฝนหนัก หิมะละลายจะเกิดบ่อยในฤดูใบไม้ผลิ แต่หิมะละลายในฤดูหนาวไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติ ถ้าหิมะละลายตามด้วยฝนตกเบาๆ ก็อาจเกิดน้ำท่วมได้

8 สาเหตุ (ต่อ) น้ำไหลทิ้ง
การเกิดน้ำท่วมขึ้นอยู่กับชนิดของพื้นดินที่ฝนตกหรือหิมะละลายและปริมาณฝนกับหิมะละลาย เปอร์เซ็นต์ของการไหลทิ้งจะเกิดในหินดานและดินเหนียวมากกว่าในดินทรายและเกิดในที่ชันมากกว่าที่ราบ พื้นที่ว่างเปล่ามากกว่าพื้นที่ปกคลุมด้วยพืช น้ำไหลทิ้งยิ่งมาก น้ำท่วมจากฝนยิ่งมาก ในฤดูหนาวและปลายฤดูใบไม้ผลิมีหลายส่วนของโลกที่พื้นดินเป็นน้ำแข็งซึ่งหมายถึงพื้นดินที่ช่องว่างระหว่างอนุภาคหินเต็มไปด้วยน้ำแข็ง เมื่อฝนตกหรือหิมะละลายบนพื้นผิวชนิดนี้ น้ำไม่สามารถซึมเข้าไปได้ น้ำจึงต้องไหลทิ้งไป ในกรณีนี้ถ้าฝนน้อยหรือหิมะละลายเล็กน้อยจะเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมได้

9 สาเหตุ (ต่อ) น้ำท่วมจากสาเหตุอื่น
การสร้างเขื่อนธรรมชาติ ซึ่งปิดกั้นแม่น้ำทำให้น้ำไหลล้นตลิ่งเหนือเขื่อนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม เขื่อนธรรมชาติขนาดเล็กเกิดจากการสร้างบ้านของบีเวอร์ เขื่อนธรรมชาติขนาดใหญ่เป็นผลจากการไหลของลาวาหรือแผ่นดินถล่ม เขื่อนธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปคือน้ำแข็งซึ่งเป็นผลจากน้ำในแม่น้ำแข็งตัว ก้อนน้ำแข็งกองสูงในที่แคบหรือแม่น้ำที่ก้นแม่น้ำหักศอกทำให้เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำ เมื่อเกิดเขื่อนชนิดนี้ขึ้นทำให้เกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันตามลำธารที่ไหลลงล่าง

10 การป้องกันน้ำท่วม 1. วิธีแรกไม่ต้องลดปริมาณน้ำในแม่น้ำแต่พยายามกันน้ำออกจากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงโดยการสร้างคันกั้นน้ำ (Levees) ด้วยการใช้ถุงทราย, คอนกรีตหรือวัสดุอื่นๆ ควรระวังคือ คันกั้นน้ำพัง เมื่อคันกั้นน้ำพัง แม่น้ำจะไหลผ่านรอยแตก (Crevass) ในคันกั้นน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมเลวร้ายกว่าเดิม หรือคันกั้นน้ำจะต้องสร้างสูงขึ้นสูงขึ้นทุกปี เพราะตะกอนสะสมที่ก้นแม่น้ำระหว่างช่วงน้ำท่วมทำให้ก้นแม่น้ำตื้นเขิน คันกั้นน้ำยิ่งสูงความเสียหายเมื่อแม่น้ำท่วมท้นก็ยิ่งมาก 2. ทำให้ระดับน้ำลดลงต่ำลงโดยขุดร่องน้ำคู่ขนานลำน้ำ เมื่อน้ำขึ้นในระยะน้ำท่วม น้ำจะผ่านไปทางน้ำล้นไหลเข้าไปในร่องน้ำที่ขนานกัน ลงสู่หนองน้ำด้านหลัง ลงสู่อ่าวหรือทะเลสาป

11 การป้องกันน้ำท่วม (ต่อ)
3. พยายามลดปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำหลังฝนตกหนักหรือหิมะละลาย โดยการสร้างเขื่อนกั้นต้นน้ำและสาขาของแม่น้ำแล้วเก็บน้ำไหลล้นที่มากเกินลงสู่อ่างเก็บน้ำ 4. พยายามลดน้ำไหลลงบ่อจากอ่างระบายน้ำของแม่น้ำโดยปลูกป่าทดแทนพืชธรรมชาติที่มนุษย์ทำลาย การปลูกป่าทดแทน (Reforestation) คือการปลูกต้นไม้แทนที่ต้นไม้ที่ถูกตัดฟันไปหรือการเผาป่า แต่วิธีการนี้ไม่สมบูรณ์สำหรับการอนุรักษ์ป่าในอนาคต โดยจำกัดปริมาณไม้ที่ตัดฟันและปลูกทดแทนโดยไม้อ่อน ต้นไม้นี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นไม้ที่ใช้งานได้

12 การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
ติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลากจากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลายๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง         ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคมควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไรเมื่อมีกระแสน้ำหลาก จะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่ได้ ให้ระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตามอย่าลงเล่นน้ำ อาจพบอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้ หลังจากน้ำท่วมจะมีขัง จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค ควรสะอาด ต้มสุกเสียก่อน (ข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)

13 3.2 ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางทะเลและบรรยากาศ
3.2 ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางทะเลและบรรยากาศ 3.2.2 ปรากฎการณ์เอลนิโญ ในภาษาสเปน el niño ซึ่งแปลว่า “เด็ก” หรือ “เด็กผู้ชาย” หากใช้อักษรตัวใหญ่นำหน้าซึ่งก็คือ El Niño จะหมายถึงบุตรของพระเยซู

14 ปรากฎการณ์เอลนิโญ ในปลายศตวรรษที่ 19 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Gilbert Walker ได้ให้นิยาม Southern Oscillation ว่าเป็นการหมุนเวียนของความกดอากาศเหนือพื้นน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในขณะนั้นเขาได้ทำการบันทึกข้อมูลความกดอากาศในหลายตำแหน่งเช่น ดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย, เกาะแคนตัน บริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และ ซานติเอโก ประเทศชิลี เป็นต้น ต่อมานักวิจัยได้เลือกศึกษาการเปลี่ยนแปลงเพียงสองตำแหน่งคือที่ตาฮิติและดาร์วิน โดยการหาความแตกต่างของความกดอากาศของทั้งสองตำแหน่งนี้ ที่ความกดอากาศที่ตาฮิติลบด้วยความกดอากาศที่ดาร์วิน และแปลงให้เป็นค่าดัชนีแล้วเรียกว่า Southern Oscillation Index (SOI) ซึ่งเมื่อค่าดัชนี้มีค่าลบจะพบว่าในขณะที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) หรือหากค่าดัชนีมีค่าบวกจะพบว่าเกิดปรากฏการณ์ลานิญา (La Nina) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกิดลักษณะอากาศที่มีความผิดปกติตรงข้ามกับปรากฏการณ์เอลนิโญ

15 SOI = PTahiti - PDarwin www.usda.gov/oce/ waob/jawf/enso/forum.htm
esrg/el_nino_events/start.html

16 ปรากฎการณ์เอลนิโญ ตัวอย่างภัยพิบัติที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่รุนแรงคือ การเกิดสภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรงใน ออสเตรเลีย ในปี และ ปี ซึ่งการเกษตรเสียหายมากทั้งพืชและสัตว์เศรษฐกิจ ขณะเดียวกันกับที่ออสเตรเลียประสบภัยแล้งในอีกซึกหนึ่งของโลกกลับเกิดสภาวะฝนตกหนักผิดปกติทำให้น้ำท่วมรุนแรงเสียหายในอเมริกาใต้ด้วยสาเหตุจากปรากฏการณ์เอลนิโญเช่นเดียวกัน ส่วนชีวภาคของโลกเราถูกผลกระทบจากเอลนิโญอย่างมากมายรุนแรงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ มวลชีวิตเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ที่พื้นผิวน้ำ (Planktonic Organiams และอื่นๆ) ที่เป็นตัวสำคัญของฐานปิรามิด ห่วงโซ่อาหาร ถูกทำลายลงส่วนอื่นๆ ก็จะพิบัติตามไปด้วย สัตว์น้ำใหญ่ขึ้นมา นกทะเล ตลอดจนมวลมนุษย์ก็ถูกกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในปี 1972 อุตสาหกรรม การประมงของเปรูเกือบถึงภัยพิบัติเพราะปรากฏการณ์เอลนิโญนี้ Trough

17 www.usda.gov/oce/ waob/jawf/enso/forum.htm

18 เย็นกว่าปกติ และเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า La Nina
หลังจากที่มีการค้นพบปรากฏการณ์เอลนิโญ ประมาณ 20 ปี (1990’s) นักวิทยาศาสตร์ได้พบ ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์เอลนิโญ กล่าวคืออุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเล เย็นกว่าปกติ และเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า La Nina

19 ภาวะเรือนกระจก สภาวะเรือนกระจก หรือ Greenhouse Effect อันเนื่องมาจากบรรยากาศชั้นใกล้ผิวโลกร้อนขึ้น (Global Warming)

20 ภาวะเรือนกระจก (ต่อ) เรือนกระจกโดยทั่วไป (Greenhouse)
โรงเรือนสำหรับปลูกพืชเฉพาะอย่างโดยทั่วๆ ไป มุงและล้อมด้วยกระจกใส หรือแผ่นพลาสติกใสหรือวัตถุโปร่งใสอื่นๆ โรงเรือนเหล่านี้สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะกิจ เพื่อต้องการให้อุณหภูมิภายในเรือนกระจกนั้นสูงกว่าภายนอก การที่ภายในเรือนกระจกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าภายนอกได้ก็เพราะแสงอาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรังสีคลื่นสั้น (Short Wave Radiation) ส่องผ่านเรือนกระจกเข้ามาได้ แต่เมื่อรังสีคลื่นสั้นนี้กระทบต้นไม้หรือสิ่งต่างๆ ภายในตัวเรือน รังสีบางส่วนจะสะท้อนกลับออกมาเป็นรังสีคลื่นยาว (Long Wave Radiation) และมันไม่สามารถผ่านสิ่งปกคลุมโปร่งใสเหล่านั้นได้ รังสีคลื่นยาวนี้ก็จะถูกสะสมในตัวเรือน ทำให้ภายในมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิภายนอก

21

22 ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจกจะยอมให้รังสีแสงอาทิตย์ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก (รังสีคลื่นสั้น) แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาว (อินฟราเรด) เอาไว้ในชั้นบรรยากาศ ดังนั้นชั้นบรรยากาศจึงกระทำตัวห่อหุ้มหรือเก็บความร้อน ก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย CO2, CH4, N2O (Nitrous Oxide), O3, CFC (Chloroflourocarbons or Freons) และน้ำ เป็นต้น CFC นอกจากจะเป็นกาซเรือนกระจกแล้ว CFC ยังทำลายปริมาณโอโซนในบรรยากาศ ซึ่งผลที่ตามมาคือรังสี UV ซึ่งถูกดูดซับในบรรยากาศชั้นที่มีโอโซนน้อยลง ในขณะเดียวกันโอโซนสามารถลดปริมาณรังสีคลื่นสั้นที่ทะลุผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้นการลดปริมาณโอโซนในบรรยากาศทำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความรุนแรงขึ้น จึ้งมีการเสนอในสนธิสัญญามอนทริออลในการยกเลิกการใช้สาร CFC ในปี ค.ศ (The Montreal protocol 1997)

23

24 ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยในบริเวณเขตอาร์คติกกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของโลก ภูเขาน้ำแข็งบริเวณอาร์คติกกำลังบางลงเรื่อย ๆ นั่นคือมีการละลายและแยกออกจากกัน ภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกกำลังลดขนาดลงเรื่อย ๆ จากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ NASA แสดงให้เห็นบริเวณที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปีกำลังลดขนาดลงด้วยอัตรา 9% ในระยะเวลา 10 ปี ถ้าแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป ฤดูร้อนในอาร์คติจะปราศจากน้ำแข็งภายในปลายศตวรรษนี้ (

25 ตั้งแต่ปี ค.ศ ขนาดของน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วโลกเหนือ ลดลงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ (ภาพจาก NASA)

26 สาเหตุของการเกิดสภาวะโลกร้อน
Carbon dioxide และสารมลพิษต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ จะเป็นกักความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้มีการสะสมความร้อนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างของแหล่งที่ผลิตมลพิษ เช่น โรงงานถ่านหินของสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งที่ปลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีปริมาณ 2.5 พันล้านตันต่อปี โรงงานผลิตรถยนต์เป็นแหล่งปลดปล่อยที่ใหญ่อันดับที่สอง คือประมาณ 1.5 พันล้านตันต่อปี แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทำให้มีการเผาไหม้น้อยลง และโรงงานไฟฟ้าที่ทำการผลิตกระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดมลพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศน้อยลง

27 ภาวะเรือนกระจก (ต่อ) ที่มา : ดัดแปลงจาก Climate Change 2001: Scientific Basis

28 การเพิ่มของระดับน้ำทะเล
ถ้าสภาวะเรือนกระจกเกิดขึ้นจริงๆ น้ำทะเลจะท่วมไปถึงแค่ไหนในแผ่นดินเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากทราบ เพราะจะมีผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแถบชายทะเล อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นผลกระทบโดยรวมก็คือระบบชีวภาค โดยเฉพาะพืชที่วิ่งหนีไม่ได้หรือสัตว์บางชนิดที่ปรับตัวไม่ได้ การศึกษาเรื่องยุคน้ำแข็ง ทำให้เราพอจะทราบได้บ้างว่าถ้าสภาวะเรือนกระจกเกิดจริงน้ำจะท่วมไปแค่ไหน

29 การเพิ่มของระดับน้ำทะเล (ต่อ)
ในช่วงเวลา 20,000 ปี ที่อยู่ในยุคน้ำแข็ง ระดับน้ำทะเลมีการเพิ่ม-ลดอยู่หลายครั้ง ตอนที่มีน้ำแข็งมากที่สุดคือ ประมาณ 18,000 ปีมาแล้ว (ตอนต้นๆ ยุค) ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าระดับปัจจุบันถึง 100 เมตร

30

31 ระดับน้ำทะเลในช่วง 300 ปี (ค.ศ. 1700-2000) ที่ผ่านมาในสถานที่ต่าง ๆ
หน่วยที่ใช้คือ ± 100 มม. (ดัดแปลงจาก woodworth, 1999a)

32 การประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลจากแบบจำลองโดยใช้ค่าความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในศตวรรษที่ 20 เพื่อประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในศตวรรษที่ 21 (ดัดแปลงจาก IPCC: Climate Change 2001)

33 Sea Level Rise Modeling the glacial isostatic adjustment yields present-day rates of relative sea-level (RSL) rise for the whole globe (central panel). Surrounding the panel are plots of RSL records at eight geographical locations. In each plot, the records are determined by carbon-14 dating of individual geological indicators of past sea level and are compared with the RSL history predicted by the model (American Institute of Physics)

34 U.S. East Coast if West sheet melted (17-foot/5m rise)
U.S. East Coast 20,000 years ago (400 feet/170m below today) Northern Europe 20,000 years ago (400 feet/170m below today) Northern Europe if West sheet melted (17-foot/5m rise) U.S. East Coast if West sheet melted (17-foot/5m rise) U.S. East Coast if East sheet melted (170-foot/50m rise) Northern Europe if East sheet melted (170-foot/50m rise)

35                        Southeast Asia 20,000 years ago (400 feet/170m below today) Southeast Asia if West sheet melted (17-foot/5m rise) Southeast Asia if East sheet melted (170-foot/50m rise) William Haxby,Adjunct Research Scientist Lamont-Doherty Earth Observatory Images: William Haxby


ดาวน์โหลด ppt อุทกภัย (Floods) เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google