งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรฐานและกระบวนการสหกิจศึกษา : การเตรียมความพร้อมก่อน ออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

2 หัวข้อบรรยาย. 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง. 2
หัวข้อบรรยาย 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง 2. คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา 3. รูปแบบในการเตรียมความพร้อม 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม 5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา 6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2

3 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง เกิดจากการดำเนินงานของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)และสมาคมสหกิจศึกษาไทย จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาและสถานประกอบการได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสหกิจศึกษาขององค์กร เพื่อเป็นการสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานสหกิจศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และมีการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษาดังกล่าว 3

4 สหกิจศึกษาเป็นแนวทางจัดการศึกษา โดยมีเป้าประสงค์ตรงกัน คือ. 1
สหกิจศึกษาเป็นแนวทางจัดการศึกษา โดยมีเป้าประสงค์ตรงกัน คือ 1.การเสริมคุณภาพบัณฑิต ผ่านประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการ 2. พัฒนาคุณภาพบัณฑิต ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ถือเป็นส่วนสำคัญ 3. เตรียมบัณฑิตให้พร้อมที่จะเลือกอาชีพ และเข้าสู่ระบบการทำงานทันทีที่จบการศึกษา ทำให้บัณฑิตสหกิจศึกษา “รู้จักตน รู้จักคน และรู้จักงาน” 4

5 นักศึกษา • ได้ประสบการณ์วิชาชีพตรงตามสาขาวิชาเอก • มีผลการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาหลังสหกิจศึกษาดีขึ้น • เกิดการพัฒนาตนเอง มั่นใจในตนเองมากขึ้น • เกิดทักษะการสื่อสารรายงานข้อมูล • มีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา • เลือกสายงานอาชีพได้ถูกต้อง • ได้รับค่าตอบแทนขณะศึกษา • เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำงานสูง 5

6 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการเรียนการสอน มาตรฐานขั้นต่ำ 1) สถานศึกษาต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา เพื่อชี้แจงให้นักศึกษาได้รับข้อมูล และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา 2) สถานศึกษาต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานให้นักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 3) สถานศึกษาต้องกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขทางวิชาการของนักศึกษาที่สามารถไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 6

7 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการเรียนการสอน มาตรฐานขั้นต่ำ(ต่อ) 4) สถานศึกษาต้องกำหนดช่วงเวลาที่นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาไม่ต่ำกว่า16 สัปดาห์ โดยต้องเป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลา และไม่สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นใดได้ในช่วงปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 5) สถานศึกษาต้องจัดหางานที่มีลักษณะเป็นโครงงานหรืองานประจำที่ตรงกับสาขาวิชาชีพและเน้นประสบการณ์การทำงาน 6) สถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้สถานประกอบการได้คัดเลือกนักศึกษา 7

8 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการเรียนการสอน มาตรฐานขั้นต่ำ(ต่อ) 7) สถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกสถานประกอบการตามความสมัครใจ 8) สถานศึกษาต้องทำความตกลงกับสถานประกอบการให้ทุกตำแหน่งงานมีค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ ตามความเหมาะสมและจำเป็น 9) สถานศึกษาต้องมีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง 8

9 1. มาตรฐานสหกิจศึกษาที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการเรียนการสอน มาตรฐานส่งเสริม 1) สถานศึกษาควรให้ข้อมูลลักษณะงานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกสถานประกอบการ 2) จำนวนตำแหน่งงานควรมากกว่าจำนวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาอย่างน้อยร้อยละ 10 3) สถานศึกษาควรจัดให้มีการพบกันระหว่างนักศึกษา สถานประกอบการ และคณาจารย์นิเทศ 9

10 2. คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา
คุณสมบัติพื้นฐานของนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษา 1) นักศึกษาต้องผ่านเงื่อนไขรายวิชาตามที่สถานศึกษากำหนด 2) นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติที่จะสำเร็จการศึกษาและไม่อยู่ระหว่าง การถูกลงโทษทางวินัย ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา 3) นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 10

11 3. รูปแบบในการเตรียมความพร้อม
3.1 กิจกรรมเสริมหลักสูตร - การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการเขียนโครงการในแผนงานประจำปี เน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ เช่น การพัฒนาบุคลิกภาพ การเขียนจดหมายสมัครงาน การเขียนประวัติย่อ การบริหารงานคุณภาพ เป็นต้น - การบรรยาย คณาจารย์เป็นผู้บรรยาย หรือ เชิญวิทยากรจากภายนอก 11

12 3. รูปแบบในการเตรียมความพร้อม(ต่อ)
3.2 จัดเป็นรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาฯ - สอนเป็นรายห้องเฉพาะสาขาฯ เนื้อหาวิชาเฉพาะสาขาวิชา อาจารย์ผู้สอนดำเนินการสอนหรืออาจเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยาย - สอนห้องรวมหลายสาขาฯ เนื้อหาวิชาเป็นพื้นฐานครอบคลุมวิชาความรู้ของนักศึกษาหลายสาขาฯ เช่น ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร สังคมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น 12

13 3. รูปแบบในการเตรียมความพร้อม
3.2 จัดเป็นรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาฯ(ต่อ) การวัดและการประเมินผลรายวิชาสหกิจศึกษา สถานศึกษาต้องกำหนดแนวทางการประเมินผลตามมาตรฐานการวัดผลที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรอย่างชัดเจน มีความเป็นธรรม โปร่งใส สามารถวัดผลได้ตรงตามความเป็นจริง และตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยอาจกำหนดการวัดผลให้เป็นระดับคะแนนตัวอักษร (A - F) หรือ ผ่าน (S) และไม่ผ่าน (U) ก็ได้ 13

14 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม. 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา
4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร สังคม และสภาพแวดล้อมใน การทำงาน 3) ทักษะที่ทำให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability Skills) 14

15 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม(ต่อ). 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา
4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม(ต่อ) 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา หลักการสหกิจศึกษา ความเป็นมาและพัฒนาการสหกิจศึกษา ความหมาย วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา ความสำคัญและประโยชน์ของสหกิจศึกษา ผลสัมฤทธิ์ของสหกิจศึกษา 15

16 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม
4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร สังคม และสภาพแวดล้อมใน การทำงาน วัฒนธรรมองค์กร การทำงานเป็นทีม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ 5 ส การเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการ การบริหารงานคุณภาพ 16

17 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม
4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม 3) ทักษะที่ทำให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability Skills) เทคนิคการเลือกอาชีพ ตำแหน่งงาน เทคนิคการเลือกสถานประกอบการ ทักษะการเขียนจดหมายสมัครงาน เทคนิคการสัมภาษณ์งาน เทคนิคการเขียนรายงาน ทักษะทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ทักษะทางภาษาต่างประเทศ 17

18 4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม
4. หัวข้อการเตรียมความพร้อม 3) ทักษะที่ทำให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability Skills) (ต่อ) ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ การพัฒนาบุคลิกภาพ ทักษะการเขียนจดหมายสมัครงาน ทักษะการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ ทักษะการวางแผน ทักษะความเป็นผู้นำ 18

19 สรุปหัวข้อที่ต้องชี้แจงให้นักศึกษาทราบก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
การเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจ - ทฤษฎีวิชาการ ทักษะการปฏิบัติ ทัศนคติ บุคลิกภาพ - การเตรียมความพร้อมในการเดินทางรายงานตัว - ข้อควรปฏิบัติและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง - ระเบียบข้อบังคับ ขั้นตอนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา - ช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษา – อาจารย์นิเทศ - สถานที่ตั้งโรงงาน ที่พัก การเดินทาง 19

20 5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา
5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา การประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน การประชาสัมพันธ์งานที่ผ่านการรับรองให้นักศึกษาทราบ เป็นการนำตำแหน่งงาน รายละเอียดงานและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานประกาศแจ้งให้นักศึกษาทราบ ซึ่งอาจดำเนินการได้ - บนป้ายประกาศ ผ่านแหล่งข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Website) 20

21 5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา การสมัครงาน
5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา การสมัครงาน - ควรเป็นไปโดยอิสระตามความสมัครใจของนักศึกษา - คณาจารย์ประจำสาขาวิชาอาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักศึกษา - นักศึกษาควรมีความรู้ ความเข้าใจในตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร - สถานศึกษาควรจัดให้นักศึกษาได้เลือกลักษณะงานและตำแหน่งงานที่สอดคล้องกับความต้องการทำงานเมื่อจบการศึกษาแล้ว 21

22 5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา วิธีการสมัครงาน
5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา วิธีการสมัครงาน อาจใช้จดหมายพร้อมประวัติย่อที่ได้รับการตรวจแก้ไขแล้วจากรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา 22

23 5. การคัดเลือกและจับคู่กับนักศึกษา การจับคู่ระหว่างนักศึกษากับสถานประกอบการ สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้สถานประกอบการได้คัดเลือกนักศึกษาอย่างอิสระโดยการคัดเลือกจากใบสมัคร การสอบข้อเขียน และ / หรือการสัมภาษณ์ - ผู้นิเทศงานควรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกนักศึกษา แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการเข้าใจในหลักการสหกิจศึกษาอย่างดียิ่งและอาจเป็นกลไกกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเชิงบวกระหว่างนักศึกษานอกจากนี้ การจับคู่ที่พอใจทั้งสองฝ่ายจะทำให้นักศึกษาและผู้นิเทศงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 23

24 แนวทางในการดูแลนักศึกษาที่ไม่ได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการและนักศึกษาที่ไม่พร้อมที่จะออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ให้นักศึกษาเลือกสถานประกอบการใหม่ โดยมีอาจารย์เป็นผู้ช่วยเหลือ (ใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล) เจรจากับสถานประกอบการที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับ สถานศึกษาให้เข้าใจและพร้อมที่จะให้โอกาสนักศึกษา มีหลักสูตรรองรับ โดยให้ลงวิชาทดแทน เช่น รายวิชาเรียนรู้อิสระ การปฏิบัติทักษะวิชาชีพ (หน่วยกิตกับรายวิชาสหกิจศึกษา 24

25 6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางในการดูแลนักศึกษาที่ไม่ได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการ และนักศึกษาที่ไม่พร้อมที่จะออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 25

26 Thank you Q&A sumrerng.p@rmutp.ac.th plangwath@gmail.com
Tel 26


ดาวน์โหลด ppt พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google