งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล

2 สารบัญ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลโกง การป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาจากการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ข้อดี และข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กว้างไกล ทำให้ผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวางไร้พรมแดน มีผู้ที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำให้เกิดพัฒนาการในเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการทำธุรกิจ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นการค้าผ่านทางช่องทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce : E-Commerce)

5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การซื้อขายสินค้าบางครั้งสามารถทำผ่านเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลาง ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์อีเบย์ ( เป็นเว็บไซต์ตลาดกลางที่มีขนาดใหญ่ระดับโลก มีผู้สนใจที่ไม่ใช่เจ้าของเว็บไซต์เข้าไปขายและซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก

6 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ยังมีการขายสินค้าประเภทซอฟต์แวร์ หรือเกมส์ ซึ่งอาศัยการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก App Store ของ แอบเปิ้ล หรือ จาก Google Play ของ กูเกิล

7 ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาได้จากคุณสมบัติของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 8 ประการ ดังนี้ 1. ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา (Ubiquity) 2. เข้าถึงได้ทั่ว (Global reach) 3. การมีมาตรฐานสากล (Universal standards) 4. การรองรับสื่ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์ (Richness) 5. การมีปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) 6. การมีข้อมูลที่รองรับการใช้งานมาก (Information density) 7. การตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล(Personalization/Customization) 8. การมีเทคโนโลยีสังคม (Social technology)

8 ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้าและลูกค้าให้ตรงใจและรวดเร็ว เพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ

9 ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ 1. การติดต่อสื่อสารและประสานการทำงานร่วมกัน (Communication and Collaboration) 2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) 3. ระบบธุรกิจภายในองค์การ ( Internal Business System)

10 ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) World Trade Organization (WTO) ให้ความหมายว่า “การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ให้ความหมายว่า “ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์การและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีทั้งข้อความเสียงและภาพ”

11 ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สรุปได้ว่า พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้าบริการ, การชำระเงิน, การโฆษณา, และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

12 รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

13 รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พิจารณาในมุมมองของผู้จำหน่ายสินค้า สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ 1. มีร้านจำหน่ายสินค้าและขายผ่านเว็บไซต์ด้วย (Click and Mortar) ผู้จำหน่ายสินค้ามีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้าอยู่จริง มีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางในการทำการค้า มีการเชื่อมโยงทั้งสองทางเข้าด้วยกัน ขยายความสามารถของร้านค้าให้เข้าถึงผู้ซื้อได้มากขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มาก  เช่น เว็บไซต์เคเอฟซี ( เว็บไซต์ซีเอ็ด( เป็นต้น

14 รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. มีการจำหน่ายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว (Click and Click) ผู้จำหน่ายสินค้ามีเพียงเว็บไซต์เพียงช่องทางเดียวในการทำการค้า เช่นเว็บไซต์Tarad ( เป็นต้น สะดวกสำหรับผู้ที่เริ่มลงทุนเพราะใช้ต้นทุนน้อย และใช้บุคคลน้อยกว่า 

15 รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พิจารณารูปแบบในมุมมองของความจำเป็นในการที่ต้องมีเว็บไซต์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถพิจารณาได้เป็น 2 รูปแบบ 1. การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เป็นการขายสินค้าโดยอาศัยบริการของเว็บไซต์ตลาดกลาง เช่น  Pantip Market ผู้จำหน่ายสินค้ามีค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เว็บไซต์ตลาดกลางมักจะเป็นที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้วทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการหาผู้ซื้อ การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ตลาดกลางมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาที่แสดงข้อมูลต่อลูกค้า พื้นที่ในการโฆษณา เงื่อนไขบริการของตลาดกลาง รวมถึงถ้าผู้ซื้อสนใจจะซื้อสินค้าเพิ่มเติมจะทำได้ยาก

16 รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ผู้จำหน่ายสินค้ามีการสร้างเว็บไซต์ของร้านค้าของตนเอง มีหลากหลายลักษณะเช่น การพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาโดยเฉพาะ การเช่าบริการผู้ให้บริการเว็บไซต์ เป็นต้น มีอิสระในการจัดการขายสินค้ามากกว่าเนื่องจากสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง ถ้าหากเป็นเว็บไซต์เปิดให้บริการใหม่ก็ยากที่จะมีลูกค้ารู้จัก ดังนั้นผู้จำหน่ายสินค้าบางรายจึงมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ โฆษณาแนะนำสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ตลาดกลางด้วย 

17 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

18 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จากหลักการของคู่ค้าเมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วจะแบ่งกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มธุรกิจ (Business) กลุ่มรัฐบาล (Government) กลุ่มประชาชน (Citizen) ผู้บริโภค (Consumer) หรือ ลูกค้า (Customer)

19 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 5 ลักษณะดังนี้  1. Business to Consumer หรือ Business to Customer (B2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการขายสินค้าแก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Zalora ( ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าเครื่องประดับเครื่องแต่งกายให้กับลูกค้าทั่วไป

20 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. Business to Business (B2B) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการขายสินค้ากับกลุ่มธุรกิจด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะขององค์การขนาดใหญ่ที่มีการซื้อขายวัตถุดิบระหว่างกัน  เช่น ธุรกิจซีพีออลล์ ธุรกิจ Microsoft ธุรกิจ Cisco เป็นต้น   3. Business to Government (B2G) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการกับกลุ่มรัฐบาล อำนวยความสะดวกแทนหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องเป็นผู้การดำเนินเองทั้งหมด ให้กลุ่มธุรกิจเอกชนดำเนินการลงทุนเทคโนโลยีต่าง ๆ แทนให้ ตัวอย่างเช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการในการซื้อจัดจ้างในลักษณะการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานภาครัฐ

21 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. Government to Citizen (G2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มรัฐบาลให้บริการ (ฟรี) กับกลุ่มประชาชน ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์กรมสรรพากร ให้บริการยื่นแบบ-ชำระภาษีออนไลน์ (

22 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. Consumer to Consumer (C2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มผู้บริโภคขายสินค้าให้กับกลุ่มผู้บริโภคด้วยกันเอง ส่วนใหญ่จะเป็นการค้าปลีก สินค้าทำเอง หรือสินค้ามือสอง อาศัยเว็บไซต์ตลาดกลางในการขายสินค้า เช่น การซื้อขายสินค้าด้วยกันเองของผู้ บริโภคโดยผ่านบริการของเว็บไซต์ Pantip Market (

23 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทสินค้าและบริการที่พบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1) กลุ่มสินค้าที่จับต้องได้ เป็นสินค้าในรูปวัตถุสิ่งของ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์ หนังสือ เป็นต้น ใน ผู้ซื้อจะต้องอาศัยการสังเกตและความรอบคอบต่อผู้จำหน่าย ผู้ซื้อไม่สามารถจับต้องหรือเห็นสินค้าจริงก่อนสั่งซื้อ มีโอกาสได้สินค้าไม่ตรงกับความต้องการ ต้องอาศัยการจัดส่งมายังลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ผู้จำหน่ายได้จัดเตรียมไว้

24 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2) กลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ซื้อทำการดาวน์โหลด ภายหลังการชำระเงิน สินค้าได้แก่ เกมส์ เพลง หรือโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ข้อดี อาจมีตัวทดลองในลักษณะแชร์แวร์ (Share Ware) ไว้ให้ทดลองใช้ก่อนตามเงื่อนไข หากพึงพอใจค่อยติดต่อซื้อในภายหลัง สิ่งที่ต้องระวังการซื้อสินค้าคือ การเชื่อมต่อสัญญาณเพื่อดาวน์โหลด เนื่องจากบางครั้งถ้าผู้ซื้อดาวน์โหลดด้วยระบบโทรศัพท์อาจจะมีค่าบริการโทรศัพท์ในการดาวน์โหลดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่และสัญญาณอาจไม่คมชัด

25 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3) กลุ่มบริการ ไม่ได้ขายสินค้า แต่เน้นให้บริการ เช่น บริการจองตั๋วภาพยนตร์ จองตั๋วคอนเสิร์ต จองซื้อทัวร์ หรือตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น การบริการเหล่านี้ผู้ใช้บริการจะต้องตรวจสอบผู้ให้บริการก่อนถึงความน่าเชื่อถือ การรับประกันบริการ รวมถึงเงื่อนไขความรับผิดชอบของการให้บริการ

26 กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

27 กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 1 การค้นหา เป็นการค้นหาเว็บไซต์และระบุเว็บไซด์ที่ตรงกับความต้องการในการเลือกซื้อของลูกค้า  ขั้นที่ 2 การเลือก เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าได้เห็นคุณสมบัติของสินค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพสินค้า รายละเอียดสินค้า คุณภาพสินค้า และราคาสินค้า เป็นต้น ขั้นที่ 3 การซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากลูกค้าเลือกสินค้าแล้ว ก็จะระบุวิธีการจัดส่งและการชำระเงิน 

28 กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 4 การจัดส่งสินค้า หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้า ผู้จำหน่ายจะดำเนินการจัดส่งสินค้าซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อ ถ้าเป็นสินค้าในกลุ่มที่จับต้องไม่ได้ ลูกค้าจะสามารถดาวน์โหลดนำไปใช้หรือตรวจสอบผลการให้บริการได้ ถ้าเป็นสินค้าที่จับต้องได้ผู้จำหน่ายจะดำเนินการจัดส่งตามวิธีการและสถานที่จัดส่งที่ลูกค้าได้แจ้งไว้

29 กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดส่งนั้นผู้จำหน่ายอาจใช้บริการจากผู้ให้บริการในการจัดส่งซึ่งมีหลายบริษัท เช่น ไปรษณีย์ไทย DHL หรือ FedEx เป็นต้น บริษัทเหล่านี้มีกระบวนการให้ผู้ขายและผู้ซื้อติดตามการจัดส่งสินค้า

30 กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 5 การบริการหลังการขาย เป็นขั้นตอนในการให้ความคุ้มครองและสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้าสามารถติดต่อคืนสินค้า เปลี่ยนสินค้า ซ่อมแซมสินค้า หรือขอคำปรึกษาในเรื่องสินค้า บริการตามระยะเวลาข้อตกลง ขั้นที่ 6 การประเมินผลหลังการขาย อาจมีช่องทางในการประเมินผลหลังการขาย โดยอาจจะเป็นการจัดอันดับเรตติ้งของผู้จำหน่าย ความชอบในสินค้า ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นผู้ทำการประเมิน ซึ่งส่งผลดีต่อลูกค้ารายอื่น ๆ ที่มีความสนใจจะได้เข้ามาพิจารณาการประเมินผลของลูกค้าที่เคยใช้บริการ และเป็นผลดีต่อร้านค้า 

31 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

32 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallets) เป็นแนวคิดในการสร้างข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตของลูกค้าแต่ละคนให้เสมือนเป็นกระเป๋าเงินตามปกติ ภายในระบบประกอบด้วยข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวบุคคลเจ้าของระบบ ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลบัตรเครดิต เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash) เป็นต้น เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ คือ จำนวนเงินที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณการเก็บ และการใช้การจ่ายผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

33 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallets) (ต่อ) สามารถทำได้ โดยลูกค้าจะเปิดบัญชีกับธนาคาร และกำหนดเอกลักษณ์ขึ้นมาเอง จากนั้นจะได้รับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์มา เมื่อลูกค้าต้องการถอนเงินออกจากธนาคาร หรือซื้อสินค้าก็สามารถทำผ่านอินเทอร์เน็ต โดยแสดงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อตรวจสอบ สำหรับการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า เว็บไซต์ได้มีการจัดเตรียมหน้าการชำระเงินที่สามารถเชื่อมโยงกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

34 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Checks) มีพื้นฐานจากเช็คที่เป็นกระดาษ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยนำเทคโนโลยีมาประกอบการทำงานให้มีความสะดวกขึ้น เช่น เทคโนโลยีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signatures) นำมาใช้ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินของผู้ซื้อสินค้าแทนการลงชื่อกำกับบนเช็คแบบปกติ ซึ่งจะเป็นการรับรองผู้ชำระเงิน รับรองธนาคารของผู้ชำระเงิน และบัญชีธนาคาร

35 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การชำระผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทย บริษัทไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดส่งเงินหรือเอกสารแทนเงิน จากผู้ซื้อไปยังผู้จำหน่าย มีบริการที่หลายลักษณะ เช่น บริการธนาณัติ บริการตั๋วแลกเงิน บริการไปรษณีย์เก็บเงิน รวมไปถึงบริการเพย์ แอท โพสท์ การใช้บริการทางการเงินของบริษัทไปรษณีย์ไทยปัจจุบันมีความสะดวกเนื่องจากมีหน่วยให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆค่อนข้างมาก

36 การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การชำระเงินผ่านธนาคาร การใช้บริการชำระค่าสินค้าผ่านทางธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการโอนเงิน ลูกค้าต้องทราบหมายเลขบัญชี หรือข้อมูลผู้จำหน่ายก่อนจึงจะชำระเงินได้ มีความสะดวก เนื่องจากในปัจจุบันมีบริการของธนาคารออนไลน์ หรือตู้ ATM มากขึ้น มีความเสี่ยง ถ้าหากผู้ซื้อโอนเงินไปให้ก่อนแต่ผู้จำหน่ายไม่ส่งสินค้ามาให้

37 การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน
1. บัตรเครดิต (Credit Card) เป็นบัตรที่มีการให้วงเงินพิเศษกับผู้ถือบัตร ใช้ในการซื้อสินค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงจ่ายเงิน ซึ่งสามารถจ่ายแบบเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่เงื่อนไขของบริษัทผู้ออกบัตร ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการถ่ายโอนทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นที่วิตกสำหรับลูกค้า ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ได้แก่ บริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดก็ได้ใช้วิธีการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า SET (Secure Electronic Transaction) ทำให้มีความมั่นใจในการใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น

38 การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน
2. บัตรเดบิต (Debit Card) เป็นบัตรที่มีการเชื่อมโยงวงเงินเข้ากับบัญชีเงินฝาก ในการใช้บัตรในการซื้อสินค้า จะต้องมีเงินคงเหลือในบัญชีและเมื่อซื้อสินค้าก็จะตัดวงเงินจากบัญชีโดยทันที

39 การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน
3. บัตรชาจต์ (Charge Card) เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้าก่อนแล้วจ่ายภายหลัง คล้ายบัตรเครดิต ไม่มีการจำกัดวงเงินในการใช้จ่าย และเมื่อถึงกำหนดชำระเงินจะต้องจ่ายเต็มจำนวน เช่น บัตร American Express เป็นต้น

40 การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการ
1. PayPal ( เป็นบริษัทระดับโลกที่เป็นตัวกลาง ให้บริการโอนเงินและรับชำระเงินในการซื้อสินค้า

41 การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการ
2. PaySbuy ( เป็นบริษัทที่ให้บริการคล้ายคลึงกับ PayPal แต่เป็นบริษัทในประเทศไทย

42 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)

43 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ความปลอดภัย (Security) การใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของการใช้งาน เช่น การจารกรรมข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of intellectual property) การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ การขายสินค้าปลอม การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า เป็นต้น การซื้อขายดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และสินค้าที่เป็นของปลอมแปลงนั้น อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภค

44 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    กลโกงทางอินเทอร์เน็ต (Fraud) มีหลายลักษณะ เช่น การฉ้อโกงทางโทรศัพท์ โดยการหลอกคืนภาษีและให้ทำธุรกรรมผ่านตู้ATM การส่งข่าวสารปลอมผ่านทางอีเมล์ (Phishing) โดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามาจากองค์การที่น่าเชื่อถือ สร้างเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์จริงแล้วหลอกให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความสำคัญลงไป การโกงของมือสองออนไลน์ เช่น การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า แต่ไม่มีสินค้าอยู่จริง ๆ ซึ่งถ้าลูกค้าจะติดตามก็ทำได้ยาก เพราะข้อมูลที่ปรากฏทางเว็บไซต์อาจจะเป็นข้อมูลปลอม เป็นต้น

45 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    การคุกคามความเป็นส่วนตัว (Invasion of privacy) การคุมคามความเป็นส่วนตัว เช่น สแปมเมล์ (Spam Mail) เป็นประเภทหนึ่งของอีเมล์ขยะ จุดประสงค์ของผู้ส่งสแปมเมล์ ต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ไปหาคนจำนวนมาก โดยผู้ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักเป้าหมายมาก่อน การละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่น การดักฟังโทรศัพท์ หรือ การบันทึกพฤติกรรมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เป็นต้น

46 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ความไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Lack of internet access) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถ้าหากพื้นที่ในการให้บริการของอินเทอร์เน็ตไม่ครอบคลุม จะส่งผลต่อการทำธุรกิจ รวมถึงความคมชัด หรือความแรงของสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ส่งผลต่อการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

47 ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ขอบเขตอำนาจของกฎหมายและภาษี (Legal jurisdiction and taxation) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แม้จะเป็นการทำการค้าไร้พรมแดน แต่ในบางประเทศจะมีการกำหนดข้อกฎหมายควบคุม หรือห้ามจำหน่ายสินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ หรือยา เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการกำหนดอัตราภาษีต่าง ๆ ไว้ เพื่อควบคุมการจำหน่ายสินค้า

48 กลโกง การป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาจากการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)

49 กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย
การหลอกลวงให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงินหรือบัตรเครดิต อาจพบได้ในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีวิธีการป้องกันในการส่งข้อมูลทางการเงิน การเปิดร้านค้าปลอม โดยอาจเปิดเว็บไซต์เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ หลอกให้ลูกค้า โอนเงิน แต่ไม่ส่งสินค้าไปให้  การส่งสินค้าปลอม สินค้าไม่ถูกลิขสิทธิ์ หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ   

50 กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย
การหลอกประกาศขายสินค้า ใช้ข้อความประกาศว่าเป็นสินค้าราคาถูก บางครั้งร้านค้ามีการให้ที่อยู่ปลอมเพื่อความน่าเชื่อถือ และหลอกให้โอนเงินไปให้ ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มสินค้าราคาสูง เช่น กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น การโฆษณาสินค้าที่หลอกลวงในสรรพคุณมากเกินจริง เช่น ยา วิตามิน อาหารเสริมต่าง ๆ

51 กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย
การหลอกลวงในการประมูลสินค้า เช่น ผู้จำหน่ายไม่ส่งสินค้าให้ผู้ชนะการประมูลเพราะไม่มีสินค้าจริง, การปั่นราคาให้ราคาสูงเกินจริง เป็นต้น

52 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
1. ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้จำหน่ายสินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ หากไม่มั่นใจผู้จำหน่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการร้านค้าที่รู้จัก 2. อย่าเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกเกินไป ระมัดระวังในการซื้อสินค้า ต้องเก็บหลักฐานการซื้อสินค้าเอาไว้เสมอ

53 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
3. ห้ามให้ข้อมูลสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น ถ้าเป็นการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องระวังการให้ข้อมูลบัตรเครดิต ควรตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่าง ๆ กับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรที่สามารถชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต ได้ว่าผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง และมีข้อควรปฏิบัติอะไรบ้าง  

54 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
4. ถ้าหากเป็นผู้จำหน่ายสินค้ารายใหม่ หรือยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ก็ไม่ควรโอนเงินหากยังไม่ได้รับสินค้า ถ้าเป็นไปได้ควรนัดรับสินค้าและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนการชำระเงิน 5. สังเกตการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างความน่าไว้วางใจ ผู้จำหน่ายสินค้าควรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

55 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

56 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
6. สังเกตการใช้โปรโตคอล SSL (Secure Sockets Layer) เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์มีการรักษาความปลอดภัย เช่นเว็บไซต์ของธนาคาร หรือ เว็บไซต์ขายสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือมักจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยโปรโตคอล SSL สังเกตได้จาก การมีสัญลักษณ์รูปแม่กุญแจปิดล็อค  และที่ URL จะเปลี่ยนจาก โปรโตคอล เป็น

57 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
เว็บไซต์ที่มีการรักษาความปลอดภัยแบบ SSL และการใช้โปรโตคอล

58 การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
7. มีการใช้ใบรับรองดิจิตอล (Digital Certificate) เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจความปลอดภัยในเว็บไซต์ หรือยืนยันตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของ ผู้ให้บริการได้มีการจดทะเบียนใบรับรองดิจิตอล จากบริษัทหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือซึ่งเรียกว่า Certificate Authority (CA )

59 วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง
ถ้าลูกค้าพบปัญหาว่าตนเองโดนโกงไปแล้วควรรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อติดตามคนร้าย หมายเลข IP address ของคนร้าย (ช่วงเวลาและสถานที่) หมายเลขโทรศัพท์คนร้าย คนร้าย บัตรประชาชนที่คนร้ายใช้อ้าง วัน เวลา สถานที่ ลงประกาศ นัดเจอ โอนเงิน เลขบัญชี การเดินทางของเงินในบัญชี ทั้งข้อมูลธนาคาร สาขา การโอนเงิน การสังเกตน้ำเสียงและลักษณะของคนร้าย

60 วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง
ดำเนินการแก้ปัญหาได้ ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ เก็บรวมรวมหลักฐานต่าง ๆ แล้วไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นติดต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี( เพื่อประสานติดตามเรื่องต่อไป

61 วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อคุ้มครองการซื้อสินค้าจากตัวแทนขายตรง คุ้มครองตัวแทนขายตรงจากเจ้าของสินค้าและยังครอบคลุมถึงการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย กรณีชำระค่าสินค้าโดยการโอนเงิน ให้รีบติดต่อธนาคารโดยอาจติดต่อขอระงับการโอนเงิน ซึ่งทางธนาคารจะทำการยกเลิกการโอนเงินให้โดยติดตามนำเงินจากบัญชีปลายทางที่โอนไปกลับมาคืน ซึ่งวิธีการนี้โดยส่วนมากมักได้ผลถ้าหากรีบดำเนินการเมื่อพบความผิดปกติ กรณีชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบ และทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว

62 ข้อแนะนำในการพิจารณาความปลอดภัยในการใช้บริการ
ราคาขายถูกกว่าราคาท้องตลาดมาก จนผิดสังเกต ทดลองสั่งซื้อสินค้าจำนวนน้อย ๆ ก่อน อย่าไว้ใจข้อมูลในเว็บไซต์ (รีวิว) ตรวจหาประวัติผู้ขาย ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ ( หรือ ) การอัพเดทเว็บไซต์ มีผู้เคยได้รับสินค้าแล้วหรือไม่ เว็บไซต์ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถตรวจสอบได้ที่

63 จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   

64 จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านการสนทนา ทั้งผู้ซื้อและผู้จำหน่ายควรรักษามารยาทในการสนทนา เลือกใช้ภาษาที่สุภาพ ในการโต้ตอบและการเจรจา เนื่องจากในอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาอ่าน และอาจมีเด็กเข้ามาอ่านได้ ตลอดจนข้อมูลใด ๆ ที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ตอาจมีผลผูกพันทางกฎหมายได้ ด้านการเลือกซื้อสินค้า ผู้ซื้อสินค้าควรเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ

65 จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านการชำระเงิน ผู้ซื้อสินค้าควรชำระเงินให้ตรงตามกำหนดวันเวลาที่ผู้จำหน่ายสินค้าแจ้งไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการยกเลิกการขายโดยไม่ชำระเงิน ถ้าไม่ต้องการซื้อสินค้าแล้วควรแจ้งแก่ผู้จำหน่าย เพื่อจะได้ไม่เป็นการกีดกันผู้ซื้อรายอื่นที่ต้องการได้รับสินค้าจริง ๆ ต้องตรวจสอบการชำระเงินและเก็บเอกสารไว้เผื่อเกิดปัญหา ด้านการให้ข้อมูล ผู้ซื้อควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ผู้จำหน่ายเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจการซื้อสินค้า ถ้าผู้จำหน่ายมีบริการการสอบถามความพึงพอใจ ในฐานนะลูกค้าควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้จำหน่ายสินค้า และผู้ซื้อรายอื่น ๆ

66 จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านความไว้วางใจ เลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ อย่าเห็นแก่ของราคาถูก อย่าเชื่อใจและไว้ใจมากเกินไป หากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังอาจจะยุ่งยากในการติดตาม ข้อสุดท้ายผู้ซื้อควรจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิวัฒนาการของเทคโนโลยี และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ   

67 ข้อดี และข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

68 ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า 2. ประหยัดเวลาในการติดต่อซื้อสินค้า 3. ร้านค้าในอินเตอร์เน็ตขยายตลาดสู่ทั่วโลก และผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น 4. เปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงและซื้อสินค้าได้ทุกวัน    

69 ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ซื้ออาจซื้อแล้ว แต่ไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย  2. สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือไม่มีคุณภาพ 3. เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย 4. ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ 5. ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ 

70 คำถาม


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google