งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

2 แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ด้วยแพทย์แผนไทย
นายแพทย์วิโรจน์ วิโรจนวัธน์

3 การบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

4 การบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เบาหวาน (Diabetes Mellitus) หมายถึง ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินสุลิน หรือการออกฤทธิ์ของอินสุลิน หรือทั้งสองอย่าง โดยมีการตรวจพบระดับน้ำตาลในพลาสมาหลังอดอาหารนาน 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dL อย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ต่างกัน หรือระดับน้ำตาลในพลาสมาที่ไม่เจาะจงเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dL ร่วมกับมีอาการสำคัญของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อยและมาก กระหายน้ำบ่อย น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

5 การประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
ในประเทศไทย มีข้อมูลแสดงว่าประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรค ดังนั้นการตรวจคัดกรอง (Screening test) จึงมีประโยชน์ในการค้นหาผู้ซึ่งมีอาการเพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยมุ่งหมายป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน อย่างไรก็ดีการทราบความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ทำให้สามารถตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรทั่วไปได้อย่างประหยัดคุ้มค่าขึ้น คือเลือกทำในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น (high risk screening strategy)

6 เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในประเทศไทยต่ำมาก แนวทางในปัจจุบันจึงไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองหรือประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดนี้ การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในที่นี้จะเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานมีหลายอย่าง และมีน้ำหนักในการก่อให้เกิดโรคแตกต่างกัน การประเมินความเสี่ยงจำเป็นต้องนำปัจจัยส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเข้ามาใช้ร่วมกัน วิธีการประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวานมี 2 แนวทาง คือ 1. การประเมินความเสี่ยงในช่วงเวลานั้น 2. การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรค

7 สำหรับประเทศไทย แนวทางการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดทำนายนี้ มีข้อมูลจากการศึกษาในคนไทยโดยวิธี cohort study ซึ่งศึกษาปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่สามารถประเมินได้ง่ายด้วยแบบสอบถามโดยไม่ต้องเจาะเลือดตรวจและทำได้ในระดับชุมชน แล้วนำข้อมูลมาคำนวณเป็นคะแนน (risk score) สามารถใช้ทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต (ใน 12 ปี ข้างหน้า) ได้แม่นยำในคนไทย การประเมินนี้ จึงน่าจะนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อปฏิบัติประเมินความเสี่ยงในประชากรไทยได้ แนวทางดังกล่าวใช้คะแนนจากการสอบถามและตรวจร่างกาย ดังตารางที่ 1

8

9

10 โดยสรุป แนวทางการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานสำหรับประเทศไทย ใช้ได้ทั้ง 2 วิธี การประเมินความเสี่ยงเพื่อหาผู้ป่วยเบาหวานในช่วงเวลานั้น (prevalent case screening) จะช่วยให้ค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ส่วนการประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจกรองหาผู้ป่วยเบาหวานในอนาคต (incident case screening) นอกจากจะช่วยค้นหาผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต และให้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานแล้วยังช่วยให้ตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ได้อีกด้วย วิธีหลังนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับป้องกันและรักษาโรคเบาหวานในประชากรไทยระดับชุมชน

11 แนวทางการคัดกรอง และการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะแรกจะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ มีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ตรวจพบภาวะหรือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานแล้ว ดังนั้นการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญ เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคเบาหวานได้เร็วขึ้น

12 แนวทางการคัดกรอง และการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
วิธีการคัดกรองโรคเบาหวาน แนะนำให้ใช้การตรวจวัดพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose ,FPG) ถ้าสามารถตรวจ FPG ให้ตรวจ capillary fasting blood glucose ได้ ถ้าระดับ FPG ≥ 126 มก./ดล. ควรได้รับการตรวจยืนยันอีกหนึ่งครั้ง ก่อนที่จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ในกรณีที่มี FPG มีค่า มก./ดล. จัดว่าเป็น IFG ควรได้รับคำแนะนำให้ป้องกันเบาหวาน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ติดตามวัดระดับ FPG ซ้ำทุก 1 ปี

13 การแปรผลค่าพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร (FPG)
FPG มก./ดล. = Impaired fasting glucose (IFG) FPG ≥ 126 มก./ดล = โรคเบาหวาน

14

15 เกณฑ์ที่ต้องได้รับการตรวจหาน้ำตาลในกระแสเลือด (FBS)
อายุ ≤ 45 ปี ร่วมกับ ดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 25 ร่วมกับ ปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ ประวัติ First degree relative ประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดทารกมีน้ำหนัก ≥ 4,000 กรัม ความดันโลหิตสูงที่มีความดัน ≥ 140/90 mm./Hg. หรือกำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติมีค่า TG ≥ mg./dl. และ/หรือ HDL ≤ 35 หรือ Polycystic ovary syndrome หรือ Acanthosis nigricans

16 มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือทำงานที่ไม่ได้ออกแรงมาก เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น IGT หรือ IFG อายุ ≥ ปี ร่วมกับ ดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 25 กก./ม.2  มีอาการปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด กระหายน้ำบ่อย การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นเบาหวานต้องมีค่า FBS มากกว่า mg./dl. อย่างน้อย 2 ครั้ง

17

18

19 แผนภูมิที่ 3 แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อวินิจฉัย
แผนภูมิที่ 3 แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยโรค เป็น เบาหวาน (FPG ≥ 126 mg%) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (lifestyle modification)โดยใช้ โปรแกรมดูแลสุขภาพด้วย การแพทย์แผนไทยฯ(ตาราง ที่ 1 ) ร่วมกับใช้ยาสมุนไพรรักษา เบาหวาน F/U q 2 wks. 2 ครั้ง ทำ FBS

20

21 เกณฑ์การคัดผู้ป่วยออก (Exclusion criteria)
FBS > 300 mg/dl ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เฉียบพลัน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ DKA ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เรื้อรังที่รุนแรง ได้แก่ เคยถูกตัดนิ้ว โรคไตเรื้อรัง > ระยะที่ 3 โรคจอประสาทตาระยะลุกลามจากเบาหวาน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด Stroke

22 การประเมินทางคลินิกเมื่อแรกวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานครั้งแรก ควรได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้ ประวัติ ประกอบด้วย อายุ อาการและระยะเวลาของอาการของโรคเบาหวาน อาการที่เกี่ยวข้องและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ยาอื่น ๆ ที่ได้รับ ซึ่งอาจมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น glucocorticoid โรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมอง เก๊าท์ โรคตาและไต อาชีพ การดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ อุปนิสัยการรับประทานอาหาร เศษฐานะ ประวัติครอบครัว

23 การประเมินทางคลินิกเมื่อแรกวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบพุง (รอบเอว) ความดันโลหิต คลำชีพจรส่วนปลาย และตรวจเสียงดังที่หลอดเลือดคาโรติด (carotid bruit) ผิวหนัง เท้า ฟัน เหงือก และตรวจค้นหาภาวะหรือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นที่จอประสาทตา (diabetic retinopathy) ไต (diabetic nephropathy) เส้นประสาท (diabetic neuropathy) และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

24 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
HbA₁ C Lipid profile Renal function (BUN,Creatinine) Liver function (SGOT,SGTT,Alkaline phosphatase) Urine microalbumin CBC

25 แนวทางการใช้ยาสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน
ไม่ให้ Glibenclamide ในคนที่แพ้ Sulfa ,เป็นโรคตับ,ไตวาย,ตั้งครรภ์, Cr > 2 ไม่ให้ Metformine ในคนที่เป็นโรคตับ,ไต,ตั้งครรภ์, Cr > 1.5 ไม่ให้ยาสมุนไพรเบาหวานในคนที่เป็นโรคตับ,ไตวาย,ตั้งครรภ์ , Cr > 2

26 เป้าหมายของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
วัตถุประสงค์ในการรักษาโรคเบาหวานคือ รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ป้องกันและรักษาการเกิดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ

27

28 การติดตามและการประเมินผลการรักษาทั่วไป
การติดตามผลการรักษาขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของโรคและวิธีการรักษา ในระยะแรกอาจจะต้องนัดผู้ป่วยทุก ๆ 1-4 สัปดาห์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ปรับขนาดของยาจนกว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย ในระยะต่อไปติดตาม

29 การประเมินและการติดตาม ในกรณีที่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
นอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ควรจะประเมินปัจจัยเสี่ยง และตรวจหาภาวะหรือโรคแทรกซ้อนเป็นระยะดังนี้ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดรวมทั้งการตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ตรวจปัสสาวะและ microalbuminuria ปีละ 1 ครั้ง เลิกสูบบุหรี่ หากดื่มแอลกอฮอร์ แนะนำให้เลิกดื่ม ประเมินคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วยและครอบครัว

30 การประเมินและติดตาม ในกรณีที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
เมื่อตรวจพบภาวะหรือโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานระยะเริ่มแรกที่อวัยวะใดก็ตาม จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่พบร่วมด้วย หากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ความถี่ของการประเมินและติดตามมีรายละเอียดจำเพาะที่จะกล่าวต่อไป

31 แนวทางการตรวจสุขภาพประจำปี ในผู้ป่วยเบาหวาน
FBS ทุกครั้งที่นัด Urine microalbumine , HbA₁C ทุก 6 เดือน Renal function (BUN,Creatinine) Liver function (SGOT,SGTT,Alkaline phosphatase) ตรวจตา ทุก 1 ปี ตรวจเท้า ทุก 1 ปี

32 แนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยพบแพทย์
มีภาวะเบาหวานครั้งแรก ผล FBS ≥ mg./dl. ผล FBS ≤ 60 mg./dl. ถ้า > ปรับขนาดยา BP ≥ 160/100 mm.Hg. ติดต่อกัน 2 เดือน หรือ 3 ครั้งใน 6 เดือน Cr ≥ 1.5 ,SGOT > 40 , SGPT > 35 มีแขน ขา อ่อนแรง ส่งตรวจ

33 การบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง

34 คำนิยาม Hypertension (ความดันดลหิตสูง) หมายถึง ระดับความดันโลหิต 140/90 มม.ปรอท หรือมากกว่าซึ่งจะมีค่าบนหรือค่าล่างก็ได้ Isolated systolic hypertension หมายถึงระดับความดันโลหิตสูงตัวบน มม.ปรอทหรือมากกว่าแต่ละระดับความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 90 มม.ปรอท Isolated office hypertension (White coat hypertension) หมายถึง ระดับความดันโลหิตที่วัดในคลินิกโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข มีค่า 140/90 มม.ปรอท หรือมากกว่าแต่เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านพบว่าต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท (จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ)

35 Category SBP DBP Optimal < 120 และ < 80 Normal และ/หรือ 80-84 High normal 85-89 Grade 1 hypertension (mild) 90-99 Grade 2 hypertension (moderate) Grade 3 hypertension (severe) ≥ 180 ≥ 110 Isolate systolic hypertension ≥ 140 < 90

36 การซักประวัติ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรได้รับการซักประวัติหัวข้อต่อไปนี้ ประวัติเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงที่เป็น ประวัติของโรคต่าง ๆ ๆที่พบในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงที่มีซึ่งต้องนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในตัวผู้ป่วย อาการที่บ่งชี้ว่ามีการทำลายของอวัยวะต่างๆ แล้ว อาการที่บ่งชี้จะเป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่มีสาเหตุ ประวัติส่วนตัว ครอบครัวและปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

37 การตรวจร่างกาย 1. ตรวจยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริงร่วมกับประเมินความรุนแรงความดันโลหิตสูง (ตารางที่ 1 ) ทั้งนี้จะต้องมีวิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง การตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงอย่างถาวร อาจต้องทำการวัดอย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกันประมาณ สัปดาห์ โดยเฉพาะในรายที่ความดันโลหิตสูงไม่มาก และตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่แสดงถึงการทำลายของอวัยวะต่าง ๆ จากโรคความดันโลหิตสูง

38 2. ตรวจหาร่องรอยการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจห้องซ้ายล่างโต (left ventricular hypertrophy-LVH) หัวใจเต้นผิดจังหวะ ventricular gallop pulmonary rales และขาบวม (heart failure) ขาบวมร่วมกับภาวะซีด (chronic kidney disease,CKD) เสียง bruit บริเวณคอ (carotid artery steonosis) แขนขาชาหรือ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งร่วมกับอาการปากเบี้ยวไปฝั่งตรงข้าม (stroke) ชีพจรที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเบาร่วมกับประวัติของการสูบบุหรี่ (atherosclerosis) ความผิดปกติของจอตา (retinopathy) เช่น หลอดเลือดแดงที่จอตาเล็กลง หรือผนังหนาตัวขึ้นร่วมกับมีเลือดออก (hemorrhage) เกิดปุยขาว (exudates) ที่จอประสาทตาหรือประสาทตาบวม (papilledema) ชีพจรแขนขาที่หายไปหรือลดลง แขนขาที่เย็นหรือร่องรอยการขาดเลือดที่ผิวหนัง (peripheral arterial disease)

39 3. การตรวจหาร่องรอยที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยน่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่มีสาเหตุ เช่น พบก้อนในท้องส่วนบนสองข้าง (polycystic kidney disease) ชีพจรของแขนหรือขาหรือคอข้างใดข้างหนึ่งหายไปหรือเบาลง (Takayasu-disease) ชีพจรแขนซ้ายเบาร่วมกับชีพจรที่โคนขา 2 ข้างเบาในผู้ป่วยอายุน้อย หรือได้ยินเสียง murmur ที่ precordium และ/หรือบริเวณสะบักซ้าย (coaectation of aorta) เสียงฟู่ (abdominal bruit) ในท้องส่วนบนใกล้กลางหรือบริเวณหลังส่วนบน 2 ข้าง (renal artery stenosis)

40 พบ Café au lait spot หรือติ่งเนื้อ (neurofibroma) ร่วมกับพบระดับความดันโลหิตสูงที่รุนแรงหรือขึ้นๆ ลงๆ (pheochromocytoma) กล้ามเนื้อต้นแขนและขาหรือต้นคออ่อนแรง (primary aldosteronism) พบความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอประสาทตา (hemagioma) ร่วมกับกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของ cerebellum (von Hippel-Lindau disease) ซีดเท้าบวมผิวเหลืองแห้ง (chronic kidney disease)

41 4. ร่องรอยของโรคอ้วนลงพุง เช่นชั่งน้ำหนักตัวและวัดส่วนสูงเพื่อคำนวณหา body mass index (BMI) ผู้ป่วยถือว่ามีน้ำหนักเกินเมื่อ BMI ≥ 25 กก./ม² หรืออ้วนเมื่อ BMI ≥ 30 กก.ม² เส้นรอบเอวในท่ายืน ≥ 90 ซม. ในผู้ชายและ ≥ 80 ซม. ในผู้หญิง

42 สิ่งที่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Fasting plasma glucose (FBS) Lipid profile Renal function (BUN,Cr) Liver function (SGOT,SGTT,Alkaline phosphatase) Urinalysis (UA) CBC

43

44 แผนภูมิที่ 1 แนวทางการรักษาผู้ป่วย Hypertension (Mild - Modurate)
Mild - Moderate Hypertension BP /90-109 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , ควบคุมโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโดย ใช้โปรแกรมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยฯ (ตารางที่ 1 ) F/U BP q 1 month BP < 140/90 BP ≥ 140/90 ชาชงกระเจี๊ยบ (3 กรัม) / วัน Pre hypertension Normal ยาสมุนไพร F/U q 1 year F/U BP q 1,2,4 wk => 3 mo. F/U BP q 1 mo => 3 mo Good control Poor control ดูแผนภูมิที่ 1 พิจารณาปรับยา หรือ ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

45 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า
ปัจจัยเสี่ยง ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) ปกติ (SBP หรือ DBP ) High normal (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP ≥ 180 หรือ DBP ≥ 110) 1.ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ปกติ เพิ่มเล็กน้อย เพิ่มปานกลาง เพิ่มสูง 2.มี 1-2 ปัจจัยเสี่ยง เพิ่มสูงมาก 3.มีตั้งแต่ 3 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป MS หรือ OD 4.เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจหรือโรคไต

46 แนวทางการตรวจสุขภาพประจำปีในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- BP - Renal function (BUN,Cr) - Liver function (SGOT,SGTT, Alkaline phosphatase) - Lipid profile - FBS - Urine microalbumin

47 เป้าหมายของการควบคุมระดับความดันโลหิต
1. ในผู้ป่วยทั่วไปให้ BP < 140/90 มม.ปรอท 2. ในผู้ป่วยอายุน้อย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายและผู้ป่วยหลังเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตให้ BP < 130/80 มม.ปรอท 3. ไม่ให้ยาชาชงกระเจี๊ยบในคนที่เป็นโรคตับ , ไตวาย , ตั้งครรภ์ , Cr > 2

48 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า
ปัจจัยเสี่ยง ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) ปกติ (SBP หรือ DBP ) High normal (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP หรือ DBP ) ระดับที่ (SBP ≥ 180 หรือ DBP ≥ 110) 1.ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ปกติ เพิ่มเล็กน้อย เพิ่มปานกลาง เพิ่มสูง 2.มี 1-2 ปัจจัยเสี่ยง เพิ่มสูงมาก 3.มีตั้งแต่ 3 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป MS หรือ OD 4.เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจหรือโรคไต

49

50 การบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในผู้ป่วย ไขมันในเลือดสูง

51 การบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง
คำจำกัดความ ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงหรือโคเคสเตอรอลสูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองอย่างก็ได้ ค่าปกติของไขมันรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์น้อยกว่า 170 มก./ดล. ไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับโคลอสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายและนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. ไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล.

52 อาการ ถ้าปริมาณโคเลสเตอรอลมากเกินความจำเป็นจะไปเกาะสะสมอยู่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือดแดงทำให้ช่องว่างภายในหลอดเลือดแดงลดลงจนทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง แขนขาได้น้อยลง ทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ ชาตามมือและเท้า ความดันโลหิตสูง ตลอดจนเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง ทำให้หัวใจขาดเลือดได้

53 ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน
< 100 mg/dl ≥ 100mg/dl < 130 mg/dl ≥130mg/dl - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (lifestyle modification)โดย ใช้โปรแกรมดูแลสุขภาพด้วย การแพทย์แผนไทย - F/U q 3month - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (lifestyle modification)โดย ใช้โปรแกรมดูแลสุขภาพด้วย การแพทย์แผนไทย - F/U q 3month F/U q 1 year F/U q 1 year < 100 mg/dl ≥100mg/dl <130 mg/dl ≥130mg/dl จ่ายยาสมุนไพร F/U q3 mo. Good control Poor control ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

54 แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต

55 คำจำกัดความ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ อุดตัน หรือแตก หรือเกิดจากสมองไขสันหลัง หรือเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการอักเสบ เป็นต้น

56 เกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทย
ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก ที่ผ่านการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน และ/หรือ แพทย์เจ้าของไข้อนุญาตให้เข้ารับการฟื้นฟู ผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาชา อ่อนแรง ปากเบี้ยว ลิ้นกระด้างคางแข็ง พูดไม่ชัด ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต SBP>170 หรือ <90, DBP>100 หรือ <60 มิลลิเมตรปรอทและไม่สามารถควบคุมอาการได้ ไข้ต้องไม่มากกว่า 38 องศาเซลเซียส หอบ หายใจลำบาก หน้าซีด ริมฝีปากเขียว หน้าเขียว ชัก ชีพจร >100 หรือ <60 ครั้ง/นาที ไม่รู้สึกตัว พูดไม่ชัดมากขึ้น ผู้ป่วยที่รับประทานยา Wafarin จะต้องไม่มีรอยฟกช้ำ ผู้ป่วยที่สามารถหายใจได้ด้วยตนเองที่ไม่ต้อง On Oxygen 

57 เกณฑ์การพิจารณางดโปรแกรมการรักษาฟื้นฟูสภาพด้วยการแพทย์แผนไทย
กรณีที่โรคหลอดเลือดในสมองตีบมีอาการกำเริบขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น มีอาการซึม อ่อนเพลีย จิตใจหดหู่ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ชัก อาเจียนพุ่ง ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ฯลฯ ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น มีไข้มากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส หอบ หายใจลำบาก หน้าซีด ริมฝีปากเบี้ยว หน้าเขียว ชีพจรเบา ชัก Acute Myocardial Infraction ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 300 mg% ผู้ป่วยหอบหืดที่ต้องได้รับการรักษาด้วย On Oxygen และ/หรือพ่นยา

58 ผู้ป่วยลมอัมพฤกษ์ ลมอัมพาต
ผ่านเกณฑ์คัดออก (Exclusion Criteria) ไม่ใช่ ใช่ ตรวจประเมินวางแผนการรักษาแบบสหวิชาชีพ ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาและฟื้นฟูด้วยแพทย์แผนไทย -จ่ายยาสมุนไพร(4)(ผ่านประเมินการกลืนแล้ว) หัตถบำบัด(5)(ผ่านการประเมินว่าไม่มีจอประสาทตาเสื่อมอย่างรุนแรงจากเบาหวาน) อบสมุนไพร - คำแนะนำ การรักษาและฟื้นฟูด้วยการแพทย์ทางเลือก/การแพทย์พื้นบ้านอื่น 1 สัปดา ห์ ไม่ดีขึ้น ประเมินผล

59 วางแผนการรักษา ต่อเนื่อง สิ้นสุดการรักษา
ประเมินผล ดีขึ้น วางแผนการรักษา ต่อเนื่อง สิ้นสุดการรักษา ประเมินผลการรักษาทุก 1 เดือนและวางแผน จำหน่าย ประเมิน ผลการรักษา ติดตามผลการรักษา 6 เดือน


ดาวน์โหลด ppt โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google