งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบโทรคมนาคม สำหรับการจัดการซัพพลายเชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบโทรคมนาคม สำหรับการจัดการซัพพลายเชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบโทรคมนาคม สำหรับการจัดการซัพพลายเชน
Telecommunication systems for supply chain management

2 เปิดประเด็น ระบบถ่ายทอดสัญญาณในประเทศไทย มีอะไรบ้าง มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ความหมายของการจัดการบริการสื่อสารโทรคมนาคม ครอบคลุมด้านใดบ้าง บทบาทหน้าที่สำคัญของระบบคมนาคม มีอะไรบ้าง

3 ระบบโทรคมนาคมสาหรับการจัดการซัพพลายเชน
ช่องสื่อสาร (Communication channels) หมายถึงรูปแบบใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจาก อุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือขายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง ช่องสื่อสารแต่ละช่องอาจใช้สื่อนำสัญญาณชนิดใด ก็ได ซึ่งสื่อแต่ละชนิดมีทั้งขอดีและขอเสีย โดยระบบถ่ายทอดสัญญาณในประเทศไทยมีดังนี้ 1. สายคูบิดเกลียว (Twistedc-Pair Wire) เป็นสายสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย สายลวดทองแดงหนึ่งคูบิดเกลียวเขาด้วยกัน สายโทรศัพท์สำหรับส่งสัญญาณอนาล็อกส่วนใหญ่เป็นสายชนิดนี้ แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอลได้แม้ว่าสายชนิดนี้จะมีราคาถูกมากและมีการติดตั้งใช้งานอยู่ ทั่วไปแล้วก็ตาม สายชนิดนี้มีความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่นๆ ถ้า พยายาม เพิ่มความเร็วในการถ่ายทอดสัญญาณให้สูงขึ้นก็จะเกิดปรากฏการณ “crosstalk” คือสัญญาณในสายสื่อสารจะ รบกวนและลบลางกันเอง เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้สายชนิดนี้ถ่ายทอดข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงขึ้น และเป็น ทางเลือกที่มีความพรอมและราคาถูกมากชนิดหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดสัญญาณไดทั้งสองชนิด 2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ประกอบด้วยสายลวดทองแดงขนาดใหญ่ที่มีฉนวนหนากว่าปกติอยู่ ภายนอก ทำให้สามารถถ่ายทอดสัญญาณไดในปริมาณที่สูงกวาและปองกันสัญญาณรบกวนไดดีกวาสายคูบิด เกลียวมาก มักจะนำมาใช้แทนสายคูบิดเกลียวในการเชื่อมต่อความสำคัญ แต่สายโคแอกเชียล ไม่เหมาะที่จะ นำมาใช้ภายในอาคารเนื่องจากสายชนิดนี้มีความหนามากกว่าปกติทำให้ยากแก่การเดินสายที่ ต้องคดเคี้ยวไป มาและอาจจะต้องมีการย้ายสถานที่ติดตั้งอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังไมสามารถถ่ายทอดสัญญาณอนาล็อกได้

4 3. สายใยแก้วนำแสงและระบบเครือข่ายนำแสง (Fiber-Optic Cable) ทำด้วยใยแก้วหรือไฟเบอร์ขนาดเล็กมาก ประมาณเท่ากับเส้นผมมนุษย์จำนวนหนึ่งรวมเข้าด้วยกันและมีฉนวนหุ้ม ข้อมูลจะถูกแปลงเป็น จังหวะสัญญาณแสง และสงออกไปทางสายใยแก้วแต่ละเส้น โดยใช้อุปกรณ์เลเซอร์หรือแอลอีดีเป็นตน กำเนิดแสง สายใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติเด่นหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับสายประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะ สายคู บิดเกลียวหรือสายโคแอกเชียล อย่างไรก็ตามสายชนิดนี้มีราคาสูงมาก และใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่ ตองการช่างที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์อย่างดี 4. การสื่อสารไร้สาย (Wireless Transmission) หมายถึง การส่งสัญญาณผ่านอากาศโดยไม่ต้องใช้สื่อใดๆ การ สื่อสารไร้สายที่มีใช้งานในปัจจุบันได้แก่การสื่อสารไมโครเวฟ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม การใช้ โทรศัพท์เซลลูลาร์หรือโทรศัพท์มือถือ การใช้บริการการสื่อสารสวนบุคคล และระบบเครือข่ายโมบาย เป็นตน การถ่ายทอดสัญญาณโดยไม่ใช้สายสื่อสาร เป็นการสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวกลาง หรือใช้เป็นสื่อและส่งออกไปในอากาศแทนการใช้สาย ซึ่งจะมีช่วงคลื่นในขอบเขตที่องค์กรบริหารความถี่ คลื่นวิทยุเป็นผู้กำหนด คลื่นความถี่แต่ละช่วงจะมีขอดีขอเสียแตกตางกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดช่วงคลื่นความถี่ ให้เหมาะสมกับงานชนิดตางๆ

5 ความหมายของการจัดการบริการ สื่อสารโทรคมนาคม
ในเมื่อผลิตภัณฑ์ภายใต้บริบทของการสื่อสารโทรคมนาคมหมายถึง บริการ ดังนั้นการจัดการผลิตภัณฑ์จึงเทียบได้กับการจัดการบริการ สื่อสารโทรคมนาคม รูปแบบของกิจกรรมบริการที่เกิดขึ้นภายใต้ อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมมีความซับซ้อนและมีเนื้อหาครอบคลุม หลากหลาย เช่น บริการเสียง หมายถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการรับสายและโทรออก โดยใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ บริการเสริม เป็นบริการอื่นๆ ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายใช้ประโยชน์ จากความสามารถของเครือข่ายมาให้บริการเพิ่มเติมนอกเหนือจาก บริการเสียง เช่น บริการข้อความสั้น บริการตั้งเสียงรอสาย เป็น ต้น บริการโมบายอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน โครงข่ายเซลลูลาร์ บริการข้ามแดนอัตโนมัติ หมายถึงบริการเชื่อมต่อเลขหมายของ ผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการได้ในต่างประเทศด้วยเลขหมายเดิม บริการข้อมูลข้ามแดน หมายถึง บริการเชื่อมต่อเลขหมายของ ผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการ โมบายอินเทอร์เน็ตได้ใน ต่างประเทศ บริการหลังการขาย หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อ จุดประสงค์ในการรักษาระดับความพึงพอใจของการให้บริการและ สร้างความสัมพันธ์แบบยั่งยืนระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

6 บทบาทความสำคัญใน 2 ด้านคือ
1. เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมการให้บริการแกประชาชนในทุกระดับ ของระบบเศรษฐกิจ 2. เป็นบริการที่มีบทบาทเป็นตัวกลาง หรือเป็นต้นทุนที่สำคัญในการประกอบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการหลอมรวม ของสื่อต่างๆ และยังเป็นตัวกระตุ้น บทบาทของการบริการโทรคมนาคมให้ทวี ความสำคัญมากขึ้น World Development Report 1994 ชี้ให้เห็นวา เมื่อประเทศมีรายไดต่ำ ความต้องการ โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นด้านการชลประทาน ถนน แต่เมื่อประเทศมีรายไดสูงขึ้น ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไฟฟ้าจะมีสูงขึ้น

7 ประเภทธุรกิจบริการโทรคมนาคม
ในการเจรจาการค้าด้านโทรคมนาคมไม่มีการจำแนกประเภทธุรกิจโทรคมนาคมที่ตายตัว เนื่องจากมี แนวทางในการจำแนกประเภทธุรกิจโทรคมนาคมที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม WTO ได้ทำการจำแนก บริการโทรคมนาคม โดยจัดให้เป็นสาขาย่อยของสาขาการสื่อสาร และมีกิจกรรมที่ถือเป็นบริการ โทรคมนาคม ดังนี้ 1. บริการโทรศัพท์ 2. บริการรับ-ส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Packet-switched 3. บริการรับ-ส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Circuit-switched 4. บริการโทรพิมพ์ 5. บริการโทรสาร 6. บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 7.บริการรับฝากข้อความ 8.บริการโทรสารที่มีการใช้งานพิเศษเพิ่มเติมจากเดิม เช่น การจัดเก็บโทรสารเพื่อสงตอหรือเพื่อการสืบค้น ภายหลัง 9. บริการประมวลผลขอมูลออนไลน์ซึ่งครอบคลุมถึงการประมวลผลการทำธุรกรรมทางการเงิน

8 การให้บริการในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
การให้บริการในโครงสร้างพื้นฐาน Total Provision of Fundamental Infrastructure Services ใน ปัจจุบันขึ้นกับความกว้างของช่องสัญญาณ Bandwidth ความเร็วในการส่งสัญญาณผ่านวงจรISDN ที่มีความเร็ว 64 Kbps วงจรADSL มีความเร็ว 600 Kbps – 8Mbps และ Optical Fibers มีความเร็ว 100 Mbps ซึ่งในปัจจุบันแบ่งการให้บริการเป็น 4 กลุ่มคือ 1. บริการรวบรวม (Collection) เป็นการจัดการสาธารณูปโภค (Facility Management) และการเช่าพื้นที่สำหรับชั้นจัดเก็บ คอมพิวเตอร์ 2. บริการเครือขาย (Network Services) โดยให้บริการในพื้นที่ระยะไกล และเครือข่ายหลักระหว่างประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดตอไปนี้ ให้บริการในพื้นที่ ประกอบด้วย Voice Lines, ADSL, ISDN, PLCs ระยะไกล ประกอบด้วย IPVN, ATM, FR, PLCs เครือขายหลักระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสายสงผ่านทะเล IPLCs, IP-VPN

9 3. การให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Access)
ให้บริการตามขอกำหนดของภาคเอกชนและภาครัฐ เป็นประตูสู่การแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศและ ในประเทศ 4. บริการที่ได้รับการจัดการ (Managed services) ให้บริการโฮสติ้งเซิร์ฟเวอร์ เว็บเซิร์ฟเวอร์การจัดเก็บข้อมูล การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูล การกู้ข้อมูล ซึ่งในประเทศไทยผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดคือ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีรายละเอียดดังนี้ บริการวงจรเช่าระบบดิจิตอล เป็นบริการสื่อสารข้อมูล ส่งสัญญาณผ่าน คูสายของโครงขายโทรศัพท์ความเร็ว ในการสงสัญญาณ ตั้งแต่ 2,400 b/s ถึง Mb/s สามารถรองรับการรับสงข้อมูลที่ต้องการความรวดเร็วและ แมนยำ สำหรับธุรกิจทุกประเภท การประยุกต์ใช้งานผ่านคูสาย ISDN ได้แก่ 1. โทรศัพท์ผ่านคูสาย ISDN 2. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมโทรศัพท์ 3. อินเทอร์เน็ตในองค์กร (Corporate Internet)/อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ 4. วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (BAI) 5. ศูนย์ข้อมูลทางไกล 6. การรักษาความปลอดภัยทางไกล

10 คุณลักษณะสำคัญของการบริการเครือข่าย
1. การจัดการจากส่วนกลาง (Centralized Management) คือการบริหารจัดการระบบทั้งหมด มาจากส่วนกลางซึ่งมีอำนาจการควบคุมและการรับผิดชอบเครือข่ายทั้งหมด 2. คุณลักษณะของการกระจายอย่างอ่อน (Light Distributed Management) คือการกระจาย การจัดการไปยังส่วนย่อยองค์ประกอบของเครือข่าย ให้แต่ละส่วนย่อยมีอำนาจในการ ควบคุมการทางานของแต่ละส่วน แต่คุณลักษณะของการกระจายอย่างอ่อนมุ่งเน้นเฉพาะ การจัดการระดับขององค์ประกอบเครือข่ายเท่านั้น คุณลักษณะแบบนี้ยังขาดประสิทธิภาพ การจัดการด้านความเชื่อมโยงระหว่างระบบย่อยที่ประกอบขึ้นเป็นเครือข่าย ความผิดพลาด ที่เกิดกับการเชื่อมโยงระหว่างระบบย่อยอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับวงจรการให้บริการ บางส่วนหรือทั้งหมดได้

11 ปัจจุบันบริการชั้นธุรกิจของการบริการเครือข่ายมีความซับซ้อนมาก ขึ้น การบริการขยายขอบเขตมากกว่าบริการเสียง แต่ครอบคลุมการ บริการข้อมูลและอินเทอร์เน็ตบนมือถือ เครือข่ายจึงมีความซับซ้อนใน การจัดการมากขึ้น และต้องการระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อ รองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะเครือข่ายแบบใหม่ต้อง คำนึงถึงการจัดการบริการเครือข่ายเพื่อรองรับบริการชั้นธุรกิจให้ เครือข่ายสามารถเข้าใจและตอบสนองในทุกประเภทของการจัดการ การบริการเครือข่าย ดังนั้นเครือข่ายแบบใหม่จึงควรประกบด้วย คุณลักษณะเบื้องต้นดังนี้ 1. ความยืดหยุ่นและปรับขนาดในการดาเนินงาน คือการสร้าง ความสามารถให้กับการทางานในเครือข่ายปรับลดและขยายขอบเขต ของการดาเนินงานได้ ทั้งนี้เพื่อปรับให้เหมาะสมกับขนาดและ ความซับซ้อนของการบริการเครือข่ายที่ขยายตัวอยู่เสมอในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมการให้บริการการเพิ่มแลนด์ วิธีการเพิ่ม ความเข้มสัญญาณ เป็นต้น 2. ความปลอดภัยของข้อมูลและความเชื่อถือได้ การออกแบบ คุณลักษณะเครือข่ายต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ ของข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะมีการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างองค์ประกอบ ของเครือข่าย ความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ครอบคลุมถึงเทคนิค ในการเข้ารหัสข้อมูลและถอดรหัสข้อมูล และการพิจารณา โปรโตคอลที่มีกรรมวิธีการตั้งรับและตอบสนองข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าคาสั่งการ ส่งข้อมูลไปยังปลายทางทางานได้ตาม ต้องการ

12 กระบวนการย่อยในการส่งมอบบริการสู่ลูกค้า
คือ ชุดกิจกรรมที่ทางานเป็นลาดับชั้นตอนและสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดการนาเสนออย่างมีประสิทธิภาพและตรงตาม เป้าหมาย กระบวนการส่งมอบบริการไม่ได้เป็น กระบวนการที่จบในตัว แต่ในความเป็นจริง กระบวนการ ส่งมอบบริการถูกสร้างขึ้นจากชุดกิจกรรมทางธุรกิจหลาย ชุดที่มีความแตกต่างกัน แต่ทุกชุดกิจกรรมล้วนมี ความสำคัญในการสนับสนุนการบริการการสื่อสาร โทรคมนาคมเท่าๆ กัน ชุดกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า กระบวนการย่อยในการส่งมอบบริการ ซึ่งประกอบไปด้วย 7 กระบวนการย่อยดังนี้

13 1. กระบวนการขายและเพิ่มยอดสมาชิก
เป็นชุดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการ ภายใน กระบวนการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการขาย คือการกระทาของคนหนึ่งคนหรือมากกว่าหนึ่ง คนเพื่อพยายามจะแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์หรือบริการ สุดท้ายมาเป็นเงินหรือค่าตอบแทนอื่นที่กำหนด กิจกรรมการเพิ่มยอดสมาชิก เป็นการแสวงหาลูกค้าใหม่โดยใช้ แนวทางธุรกิจแบบใหม่หรือแบบเดิมที่เคยจัดทามาก่อน กิจกรรมนี้มี ขึ้นเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ขององค์กรที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยใช้กลยุทธ์การขยายฐาน ลูกค้า และสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากนั้นจึงใช้เทคนิคทาง การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ใหม่ไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ และ สุดท้ายกิจกรรมการเพิ่มยอดสมาชิก จะดาเนินการต่อด้วยกิจกรรม การขาย เพื่อสร้างข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการใน ที่สุด 2. กระบวนการสั่งซื้อและจัดการรายการสั่งซื้อ เป็นชุดกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการขายสำเร็จลง โดยมี ขั้นตอนดังนี้ การสั่งซื้อ เป็นการกระทาที่ผู้รับบริการยอมรับข้อตกลงในการ แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การจัดการรายการสั่งซื้อ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ ให้บริการยอมรับการสั่งซื้อ

14 3. กระบวนการการจัดเตรียม
เป็นกลไกการวางแผนสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องใช้ในบริการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ การส่งมอบบริการสุดท้ายตามมาตรฐาน ของข้อตกลงของระดับบริการที่กำหนด 4. กระบวนการติดตั้ง ประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งทางกายภาพ ได้แก่ การเชื่อมต่อของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ การตั้งค่าการทางานของอุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งระบบสามารถทา งานร่วมกันได้ การทดสอบบริการก่อนส่งมอบบริการเพื่อให้เกิดการบริการที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของลูกค้า 5. กระบวนการเรียกเก็บค่าบริการ กระบวนการเรียกเก็บค่าบริการ ครอบคลุมกิจกรรมดังนี้ การบันทึกรายละเอียดการใช้บริการ การประยุกต์ใช้อัตราค่าบริการและปริมาณส่วนลดต่างๆ เพื่อทาการ คำวณค่าบริการ การสร้างใบแจ้งหนี้ การส่งใบแจ้งหนี้ การตรวจสอบและติดตามการจ่ายค่าบริการตามแต่ละชนิดของแผน เรียกเก็บค่าบริการที่ผู้รับบริการได้เลือกไว้

15 6. กระบวนการจัดการเครือข่ายและการจัดการปัญหา
เป็นกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อการรักษาระดับการดาเนินงานและบริการที่จัดตั้งขึ้น ให้อยู่ในระดับมาตรฐานบริการที่ตกลง การรักษาระดับมาตรฐานบริการที่ตก ลงเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ทุกเครือข่าย ซึ่งครอบคลุม หลากหลายกิจกรรม ได้แก่ การบำรุงรักษาและการตรวจสอบเพื่อปฏิบัติ การเฝ้าระวังตรวจสอบความผิดพลาดของระบบการทางานของเครือข่าย การติดตามและการรายงานปัญหา 7. กระบวนการลูกค้าสัมพันธ์และบริการหลังการขาย เป็นปรัชญาทางธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการที่ผู้ให้บริการต้องการนา เสนอบริการให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ในระดับพึงพอใจสูงสุด ซึ่ง กระบวนการลูกค้าสัมพันธ์และบริการหลังการขายแบ่งเป็น 2 ฟังก์ชั่นงาน ที่แตกต่างกัน ได้แก่ บริการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่สร้างองค์กร ออกแบบมาเพื่อสร้าง ปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ โดยผ่านเทคนิคทางการตลาด บริการหลังการขาย เป็นกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือหากผู้รับบริการปัจจุบันมี ปัญหาในการใช้งานบริการ นอกจากนี้ กระบวนการนี้ยังรวมกิจกรรมที่ สื่อสารกับลูกค้าเพื่อแนะนาการอัพเกรดหรือบริการที่เกิดขึ้นใหม่หลังการ สั่งซื้อ หน่วยงานที่ดูแลด้านลูกค้าสัมพันธ์และบริการหลังการขายเปรียบเสมือน ตัวกลางระหว่างผู้รับบริการกับหน่วยงานอื่นในบริษัท บริการลูกค้าสัมพันธ์ และบริการหลังการขายก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับหน่วยงาน กลุ่มหนึ่งแทนที่จะต้องไปติดต่อหน่วยงานหลายๆ กลุ่มในองค์กรที่ปฏิบัติ หน้าที่แตกต่างกันไป

16 คำศัพท์ -ช่องสื่อสาร Communication channels -ระบบโทรคมนาคมสำหรับการจัดการซัพพลายเชน (Telecommunication systems for supply chain management) -สายคูบิดเกลียว (Twistedc-Pair Wire) -สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) -สายใยแก้วนำแสงและระบบเครือข่ายนำแสง (Fiber-Optic Cable) -การสื่อโปรเซสเซอร์สำหรับการสื่อสารและซอฟต์แวร์(Communication Processors) -สารไร้สาย (Wireless Transmission) -โปรเซสเซอร์สำหรับการสื่อสารและซอฟต์แวร์(Communication Processors) -คอนเซ็นเทร์เตอร์(Concentrators) -คอนโทรเลอร์(Controllers ) -มัลติเพล็กเซอ์ร(Multiplexor)

17 คำถาม 1.ช่องสื่อสาร (Communication channels) หมายถึง 2.ระบบถ่ายทอดสัญญาณในประเทศไทย มีกี่สัญญาณ พร้อมอธิบายความหมาย 3.ประเภทของธุรกิจบริการคมนาคมได้แก่ไรบ้าง 4.กระบวนการย่อยในการส่งมอบบริการ มีกี่ขั้นตอน 5. กระบวนการลูกค้าสัมพันธ์และบริการหลังการขาย มีอะไรบ้าง อธิบาย

18 สาขา การจัดการโลจิสติกส์ ปวสพ.2/6
สมาชิกกลุ่มที่4 สาขา การจัดการโลจิสติกส์ ปวสพ.2/6 1.นายกันตินันท์ มุ่งเกิด รหัสนักศึกษา 2.นางสาววิมลรัตน์ นักบุญ รหัสนักศึกษา 3.นางสาวกมลชนก โกสิวาล รหัสนักศึกษา


ดาวน์โหลด ppt ระบบโทรคมนาคม สำหรับการจัดการซัพพลายเชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google