งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เราคนคลัง รู้เท่าทันผลประโยชน์ทับซ้อน โดย.. นายพิเศษ นาคะพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เราคนคลัง รู้เท่าทันผลประโยชน์ทับซ้อน โดย.. นายพิเศษ นาคะพันธุ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เราคนคลัง รู้เท่าทันผลประโยชน์ทับซ้อน โดย.. นายพิเศษ นาคะพันธุ์
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

2 หัวข้อการบรรยาย - หลักการและแนวคิดผลประโยชน์ทับซ้อน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย/พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่เพิ่มเติม - ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวข้อง

3

4

5

6

7

8

9 คณะกรรมการ ป.ป.ช.กับการจัดการเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

10 หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๑) ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ํารวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อดําเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

11 หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๒) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเพื่อดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

12 การขัดกันแห่งผลประโยชน์และมาตรา ๑๐๐ พ.ร.บ.ป.ป.ช.
การขัดกันแห่งผลประโยชน์และมาตรา ๑๐๐ พ.ร.บ.ป.ป.ช. ประเทศไทยกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น -มีมานาน ประเทศไม่เจริญก้าวหน้า รัฐบาลถูกอภิปราย ลาออก ยุบสภา การปฏิวัติรัฐประหาร กระทบCPI -ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ก่อตั้ง ป.ป.ป.และเกิด ป.ป.ช.ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ -ตรา กม.ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรป.ปปช. พรป.วิ การเมือง พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พรบ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารฯ

13

14 พระราชดำรัส

15 พระราชดำรัส “กฎหมายนี้มีช่องโหว่เสมอ ถ้าเราถือโอกาสในการมีช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อการทุจริตนั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และทำให้นำไปสู่ความหายนะ แต่ถ้าใช้ช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อสร้างสรรค์ก็เป็นการป้องกันมิให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในทางทุจริต”

16 พระราชดำรัส “...ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป”

17 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.๒๐๐๓
ความสำคัญของปัญหา conflict of interests

18 กฎหมาย หลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม กับ conflict of interests
-นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น ยิ่งconflict of interests มากยิ่งทุจริตมาก ต้องมีมาตรการป้องกันคือการตรา กม.เช่น รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ พรป.ปปช.ความสำคัญคือ การตีความกฎหมายเพื่อป้องกันการconflict of interests กฎหมาย หลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม กับ conflict of interests

19 กฎหมายคืออะไร “กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ”

20 กฎหมายมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความถูกต้องและความยุติธรรม
-ความถูกต้องและความยุติธรรมตามกฎหมาย ตราโดยรัฐสภา ต้องมีเหตุผลไม่ใช่ตามอำเภอใจ หลัก”นิติธรรม” กฎหมายใช้บังคับกับทุกคนเสมอหน้ากัน กฎหมายไม่ใส่ใจกับความดี ความเลว? -ความดี ความเลวของคนใช้ในการพิจารณากำหนดโทษ แต่จะใช้ในการตัดสินความถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้

21 ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี กับกฎหมาย -ความสลับซับซ้อนของสังคมทำให้ไม่อาจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เสมอไป แต่เป็นเหตุผลทางเทคนิค ศีลธรรมฯ มีความละเอียดอ่อนกว่ากฎหมาย “หากคนในสังคมยึดถือกฎศีลธรรมแล้ว กฎหมายก็แทบไม่มีความจำเป็น” “สังคมใดมีกฎหมายมาก สังคมนั้นมีปัญหามาก”ขึ้นกับมาตรฐานของสังคมนั้นๆ กฎหมาย กฎศีลธรรม กฎแห่งกรรม

22 conflict of interests(COI) คืออะไร
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ในประเทศไทยนำไปสู่เหตุการณ์ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม มีหลักการทำนองเดียวกับศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ต่อมาจึงมีการตราเป็นกฎหมาย

23 ตัวอย่างสถานการณ์ที่มีผู้กล่าวว่าเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
๑.ทำสัญญาจ้างบริษัทที่ตัวเองหรือบุคคลในครอบครัวเป็นเจ้าของ ๒.หมอรับยาจากบริษัทยา ๓.รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการไปดูงานจากธนาคาร ๔.ลาออกหรือเกษียณแล้วไปทำงานในบริษัทยา ๕.ทำงานแข่งกับองค์กรของตัวเอง ๖.จนท.สรรพากรรับทำบัญชีให้บริษัท ๗.รู้ว่าจะมีโครงการถนนตัดผ่านก็เข้าไปซื้อไว้ก่อน

24 ตัวอย่างสถานการณ์ที่มีผู้กล่าวว่าเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
๘.รู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้วทำการซื้อ/ขายไปก่อน ๙.การใช้ทรัพย์สิน/บุคลากรของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ๑๐.การนำโครงการสาธารณะไปลงในเขตเลือกตั้ง ๑๑.การนำกฐินของหน่วยงานไปทอดที่วัดบ้านเกิด ๑๒.อสส.เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจที่ตนเองต้องพิจารณาสัญญาโครงการ/ฟ้องคดีในศาล ๑๓.การรับสินบน

25 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม
พิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานค่อนข้างยาก ว่าการกระทำกรณีใดมีผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝงหรือไม่ จึงนำไปสู่การบัญญัติกฎหมายพิเศษในเรื่องดังกล่าว เช่น ๑.ประกวดราคาก่อสร้างอาคาร ภรรยาของอธิบดีเข้ามาประมูลด้วย ๒.ว่าจ้างบริษัทที่ก่อสร้างอาคารสำนักงานไปก่อสร้างบ้านพักตัวเองด้วย ๓.รมว.เกษตร มีครอบครัวทำธุรกิจด้านการเกษตร ๔.นาย ก หรือภรรยา สมัครเข้ารับการสรรหาที่ นาย ก เป็นคณะกรรมการสรรหาด้วย

26 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม
๕.นาย ก เป็นคณะกรรมการคัดเลือกเข้าอบรม ภรรยานาย ก มาสมัครด้วย ๖.นาย ก สอนวิชาเอ บุตรนาย ก มาเรียนและสอบวิชาเอ ด้วย ๗.นาย ก กรรมการธนาคารมีอำนาจอนุมัติสินเชื่อ บริษัทของนาย ก มาขอสินเชื่อจากธนาคารนาย ก ๘.จ่ายค่านายหน้าให้กรรมการผู้จัดการบริษัท ตอบแทนการซื้อที่ดินตามปกติ

27 การรับมือการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม
-การหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว -ยุติการดำเนินการ ถอนตัว ไม่ร่วมพิจารณา -บอกข้อมูลรายละเอียดที่ตนอาจขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวมให้ ผบช ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ -หากต้องดำเนินการตามหน้าที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้ใช้หลักเหตุผล สามารถชี้แจงได้ -ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม

28 ลักษณะและองค์ประกอบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม
๑.ต้องมีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม ๒.ต้องมีหน้าที่อำนาจเกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวม ๓.เป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนก็ได้ ๔.ประโยชน์ส่วนตนนั้นอาจเป็นทรัพย์สินหรือไม่ก็ได้ ๕. ประโยชน์ส่วนตนนั้นรวมถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วย ๖.อาจจะไม่ใช่การทุจริตเสมอไป ๗.อาจจะเป็นความผิดในตัวเองหรือกฎหมายห้ามก็ได้

29 ๑.ต้องมีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม
-ภรรยาอธิบดีนำสินค้าของบริษัทมาเสนอแข่งขันประมูลขายให้กรมตัวเอง หากไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ใช่เรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม -เป็นปลัดกระทรวงการคลัง/ประธานกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับทั้งสองตำแหน่ง -อัยการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ -อธิการบดีเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ

30 ๒.ต้องมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวม
-เป็นข้าราชการสายวิชาการไม่ใช่สายอำนวยการ/บริหารที่มีอำนาจในการพิจารณา อนุมัติ อนุญาต -เป็นบรรณารักษ์ชำนาญการทำสัญญาก่อสร้างบ้านกับบริษัทที่ก่อสร้างอาคารกรมตัวเอง -ภรรยาของนายก อบต.ไปประมูลงานกับ อบต.อื่น -เป็นอดีตผู้บริหาร/มิได้กำกับดูแลหน่วยงานนั้น

31 ๓.เป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนก็ได้
-กรรมการผู้จัดการธนาคารอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทภรรยาตัวเอง -ผู้จัดการบริษัทอนุมัติให้ภรรยาตัวเองได้งานจากบริษัท

32 ๔.ประโยชน์ส่วนตนนั้นอาจเป็นทรัพย์สินหรือไม่ก็ได้
-แต่งตั้งภรรยาตัวเองเป็นคณบดี/ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ -ตรวจวัดผลให้คะแนนบุตรตัวเอง -เป็นกรรมการแก้ไขข้อบังคับในการสรรหาอธิการฯและตัวเองลงสมัครด้วย -ผลประโยชน์ต้องมากพอถึงขนาด เช่น มีหุ้น๑% ในบริษัทที่ตนเองอนุมัติให้สินเชื่อไม่น่าจะจูงใจให้เกิดการเบี่ยงเบนในการปฏิบัติหน้าที่

33 ๕. ประโยชน์ส่วนตนนั้นรวมถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วย
-รวมถึงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นไปตามหลักการของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -ลูกของตัวเองมาสมัครงาน/ลูกของเพื่อนสนิทมาสมัครงาน -ซื้อที่ดินของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

34 ๖.อาจจะไม่ใช่การทุจริตเสมอไป
-ต้องพิจารณาเจตนา เช่น จ้างบริษัทที่ก่อสร้างอาคารกรมมาก่อสร้างบ้านตัวเองในขณะเดียวกัน -ลูกชายเจ้าของกิจการค้าน้ำมันมาเป็นนายก อบต.ในภายหลัง เจ้าเดียวในพื้นที่ในราคาปกติ

35 ๗.การขัดกันแห่งผลประโยชน์โดยหลักการพื้นฐานเป็นเรื่องศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
ปัญหาในทางปฏิบัติมีมาก ผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจ จนต้องตรากฎหมายพิเศษ มีโทษทางอาญา แม้ไม่มีเจตนาทุจริต “หากผู้มีอำนาจหน้าที่ทั้งหลาย ตระหนัก ให้ความสำคัญและปฏิบัติตนให้สอดคล้องถูกต้องตามหลักเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์และไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายมาบังคับแต่อย่างใด”

36 ๘.อาจจะเป็นความผิดในตัวเองหรือกฎหมายห้ามก็ได้
-มาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมของตนต่างกัน และอาจไม่ใช่การทุจริต การกระทำบางอย่างผิดเพราะกฎหมายห้าม แต่ถ้าขัดต่อศีลธรรมก็จะเป็นความผิดในตัวเองได้

37 การกระทำที่อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่เบี่ยงเบน
๑.การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด มาตรา ๑๐๓ พรป.ปปช. ๒.ความขัดแย้งกันในอำนาจหน้าที่ เช่น สส.มีตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว ทำเพื่อประเทศ -ตุลาการไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ -กรรมการเนติบัณฑิตยสภาเป็น รมว.ยุติธรรมในขณะเดียวกัน -ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน

38 การทำงานมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง
-ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน -อธิการฯ เป็นกรรมการกฤษฎีกา ในการพิจารณาร่างกฎหมายของมหาวิทยาลัย สำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม -อัยการสูงสุดเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและมาพิจารณาคดีที่รัฐวิสาหกิจถูกฟ้องร้อง อาจขัดกันซึ่งหน้าที่ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว

39 สำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
-ทนายความ/ที่ปรึกษากฎหมายรับทำงานให้ลูกความสองคนหรือมากกว่า ประเด็นคือ การรักษาความลับ และผลประโยชน์ของลูกความไม่ใช่ของทนายความ ความสัมพันธ์พิเศษ -เพื่อนร่วมรุ่น ผบช/ผู้ใต้ ผบช การทำงานหลังพ้นตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งแต่ได้รับประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องเดียวกันสองครั้งในฐานะที่แตกต่างกัน

40 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่อาจยอมรับได้ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

41 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
1.ต้องเริ่มที่ตัวเรา ตัวเราต้องโปร่งใสก่อนถึงจะไปทำให้ประเทศโปร่งใสได้ ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี ผู้บังคับบัญชาต้องประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะต้องมีในตัวของเราที่จะไปทำหน้าที่ปราบการปล้นชาติคือ คุณธรรมและจริยธรรม

42 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
2.ต้องหยุดและเลิกระบบอุปถัมภ์ นำระบบคุณธรรมมาใช้แทน ต้องไม่ช่วยเหลือคนโกง ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นพ่อแม่ ลูก เมีย ญาติ

43

44

45

46

47

48

49

50 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
3.ทุจริตหรือร่วมมือกับคนทุจริต เป็นผู้ทรยศต่อชาติ โดยคำว่าทรยศเป็นคำที่น่าอับอายมาก และต้องเลิกคบค้าสมาคมกับคนพวกนี้ ไม่ยกย่องนับถือ องค์กรโกง ทั้งนี้ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคแข่งขัน บางครั้งทำให้ผู้คนเกิดประโยชน์ส่วนตัว กระทำสิ่งที่ผิดโดยไม่คำนึงคุณธรรม จึงจะนำไปสู่หายนะของประเทศของเรา

51 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
4.ควรมีการอบรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตลอดจนหลักธรรมาภิบาล ตั้งแต่เด็กๆ เพื่อให้เห็นความเลวร้ายของการโกง และทำให้ภูมิใจว่าเขาไม่ได้เป็นคนโกง

52 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
5.ภาคเอกชนที่กำลังทำธุรกิจในปัจจุบันนี้ก็มีความจำเป็นต้องประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างว่า การทำธุรกิจโดยไม่โกงก็สามารถทำได้ มีความมั่นคงได้ เจริญก้าวหน้าได้

53 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
6.ต้องไม่ปล่อยให้คนโกงลอยนวล ดำเนินการตามกฎหมายอย่างไม่ เกรงกลัว รวมถึงช่วยกันประจานคนโกง และองค์กรโกง ทุกวิถีทาง

54 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
7.ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกวิถีทางที่เราช่วยได้ สำนักงาน ป.ป.ช.เป็นองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรง แต่มีพลังน้อย ฉะนั้น ต้องช่วยเหลือ สนับสนุนให้กำลังใจ ถ้าทำได้การปราบก็ง่ายขึ้น มีความหวังว่าจะสำเร็จเร็วขึ้น

55 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
8.ควรจะพูดสิ่งเลวร้ายที่กัดกร่อนประเทศเราขณะนี้คือ การปล้นชาติบ่อยๆ ให้คนได้ยิน และเข้าใจบ่อยๆ เพื่อที่เขาจะได้ไปปรับตัวเองได้ ประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ก็ได้ ซึ่งถ้าพูดดังๆ ให้คนได้ยินทุกวัน ทั่วประเทศ เขาจะได้เข้าใจว่าคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศเกิดข้อเสียหายอย่างไรบ้าง

56 แนวทางในการป้องกันการทุจริต
9.กระบวนการในการจัดการกับคนปล้นชาติต้องรวดเร็ว รุนแรง และเด็ดขาด ช้าไม่ได้ ยิ่งช้ายิ่งเหนื่อยเท่านั้น ไม่ทราบว่ากระบวนการยุติธรรมจะทำได้รวดเร็วขนาดไหน แต่ต้องรวดเร็วตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กฎหมายระเบียบต่างๆ ต้องไม่เป็นอุปสรรค ต้องมีบทลงโทษรุนแรงและเด็ดขาด ไม่ฟังใคร ใครมาขอร้องก็ไม่ฟัง ยึดกฎหมายเป็นสำคัญ

57 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
๑.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง (๑.๑) ไม่ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (๑.๒) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่วาโดยทางตรงหรือทางอ้อม

58 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
(๑.๓) ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ (๑.๔) ไม่กระทําการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการใช้สิทธิหรือเสรีภาพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนโดยมิชอบ มาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับเบี้ยหวัด บําเหน็จบํานาญ เงินปี พระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับหรือดํารงตําแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร

59 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
หรือวุฒิสภาหรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภาหรือกรรมการตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ให้นํา (๒) และ (๓) มาบังคับใช้แก่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา และบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภานั้นที่ดําเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดําเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้กระทําการตามมาตรานี้ด้วย

60 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
๒. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือตําแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภากระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในเรื่องดังต่อไปนี้ (๒.๑) การปฏิบัติราชการหรือการดําเนินงานในหน้าที่ประจําของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น (๒.๒) กระทําการในลักษณะที่ทําให้ตนมีส่วนร่วมในการใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือให้ความเห็นชอบในการจัดทําโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นการดําเนินการในกิจการของรัฐสภา

61 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
(๒.๓) การบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอนเลื่อนตําแหน่งเลื่อนเงินเดือนหรือการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

62 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
๓.ให้นําความในมาตรา ๑๘๔ มาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๓.๑) การดํารงตําแหน่งหรือการดําเนินการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่หรืออํานาจของรัฐมนตรี (๓.๒) การกระทําตามหน้าที่และอํานาจในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีต้องไม่ใช้สถานะหรือตําแหน่งกระทําการใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเองของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองโดยมิชอบตามที่กําหนดในมาตรฐานทางจริยธรรม

63 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
๔. รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจํานวนที่กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีตามวรรคหนึ่งต่อไป ให้แจ้งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแตวันที่ได้รับแต่งตั้งและให้โอนหุ้น

64 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รัฐมนตรีจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามวรรคสองไม่ว่าในทางใด ๆ มิได้ มาตรานี้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ให้ใช้บังคับแก่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี และการถือหุ้นของรัฐมนตรีที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางใด ๆ ด้วย


ดาวน์โหลด ppt เราคนคลัง รู้เท่าทันผลประโยชน์ทับซ้อน โดย.. นายพิเศษ นาคะพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google