งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)
22/05/2559 อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย >

2 แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
การเดินสำรวจโรงงาน walkthrough.htm แบบฟอร์มการเดินสำรวจโรงงาน m.htm อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

3 การเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)
การเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey) เป็นคำที่ใช้ กันทั่วไป ซึ่งปกติจะหมายถึงการที่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน (factory staff) หรือบุคคลจากภายนอก (visitor) เข้าไป เยี่ยมสำรวจภายในพื้นที่การผลิตของโรงงาน กล่าวอย่างจำเพาะเจาะจงขึ้น คำว่า การเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey) นั้นหมายถึงการเดินอย่างละเอียดถี่ ถ้วนพอสมควร หากไม่ได้เข้าไปภายในพื้นที่การผลิต เพียงแต่นั่งคุยกันใน พื้นที่ต้อนรับของโรงงาน กิจกรรมเช่นนี้เราไม่เรียกว่าการ เดินสำรวจโรงงาน แต่อาจจะเรียกว่าการเยี่ยมโรงงาน (plant visit) หรือได้รับการนำชมโรงงาน (plant tour) แทนน่าจะเหมาะสมกว่า อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

4 1) วัตถุประสงค์ของการเดินสำรวจโรงงาน
เดินสำรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามใน แผนกต่างๆ ของโรงงาน เดินสำรวจเพื่อจะวางแผนการตรวจสุขภาพให้กับคนทำงาน เดินสำรวจเพื่อประเมินคุณภาพ ในกรณีที่มีการจัดทำ มาตรฐานคุณภาพของโรงงาน  การเดินสำรวจเมื่อโรงงานเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่หรือเปลี่ยน กระบวนการผลิตใหม่ การเดินสำรวจเพื่อประเมินการกลับเข้าทำงานของ คนทำงานที่เจ็บป่วย เดินสำรวจเพื่อตรวจสอบหรือสอบสวนเหตุการณ์ เมื่อเกิด กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน หรือเกิดการ ร้องเรียนในเรื่องการดูแลสุขภาพของลูกจ้างไปที่กระทรวง แรงงาน อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

5 2) การเตรียมตัวก่อนเดินสำรวจ
ทบทวนวัตถุประสงค์ของการเดินสำรวจว่าเราจะไปเดินสำรวจ เพื่ออะไร ดูหมายเลขติดต่อ บุคคลที่เราจะไปติดต่อ หากเป็นโรงงานที่ไม่ เคยไปมาก่อนอาจต้องเตรียมแผนที่สำหรับการเดินทางไป หรือ ติดต่อให้ทางโรงงานนำรถมารับ คืนวันก่อนไปสำรวจจึงควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งด เครื่องดื่มของมึนเมาทุกชนิด จัดเตรียมอุปกรณ์และทีมงาน หากเป็นการเดินสำรวจร่วมกับ บุคลากรสาขาอาชีพอื่น ควรนัดหมายผู้ร่วมทีมให้ทราบวันเวลา และสถานที่นัดหมาย อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ปากกา กระดาษจด แบบฟอร์มการ เดินสำรวจ จัดเตรียมเครื่องตรวจวัดไว้ล่วงหน้า อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล กรณีที่ต้องการข้อมูลของโรงงานควรแจ้งให้ทางโรงงานทราบ ล่วงหน้า เช่น รายละเอียดกระบวนการผลิต หรือรายละเอียด ข้อมูล Material Safety Data Sheet (MSDS) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

6 3) แนวทางปฏิบัติตัวในการเดินสำรวจโรงงาน
24/11/61 3) แนวทางปฏิบัติตัวในการเดินสำรวจโรงงาน ควรรักษากริยามารยาทให้เรียบร้อยและใช้คำพูดที่สุภาพเสมอ การแต่งกายควรรัดกุม ใส่เสื้อผ้าที่หนาและเรียบร้อย ผู้หญิง ควรใส่กางเกงมากกว่ากระโปรง รองเท้าควรใส่รองเท้าหุ้มส้น ไม่ควรใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูง หากมีกฎให้ใส่รองเท้านิรภัยก็ควรใส่รองเท้านิรภัยเข้าไปเสมอ ผู้หญิงที่ผมยาวควรผูกรัดให้เรียบร้อย หากมีกฎให้ใส่หมวก นิรภัยก็ควรปฏิบัติตาม ให้ความร่วมมือกับทางโรงงาน ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของทาง โรงงานอย่างเคร่งครัดเสมอ ใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ทาง โรงงานจัดเตรียมมาให้ใส่ เพื่อความปลอดภัยของผู้เดินสำรวจ ไม่พูดคุยหยอกล้อกันระหว่างที่เดินสำรวจโรงงาน นอกจากจะ เสียมารยาทแล้วอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย การเดิน ควรเดินด้วยความสำรวม ถ้าไปหลายคนให้เดินเป็นแถว รวมกลุ่มกันไว้ อย่าเดินแยกออกไปไกลๆ คนเดียว อาจหลง ทาง หรือหลงไปตรงจุดที่เป็นอันตรายได้ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559 วิชาอาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>

7 3) แนวทางปฏิบัติตัวในการเดินสำรวจโรงงาน (ต่อ)
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนไปเดินสำรวจ โรงงาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการเมาค้าง เมื่อไป เดินสำรวจโรงงานที่มีจุดอันตรายอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ง่าย ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีป้ายห้าม มักมีกฎให้ ฝากอุปกรณ์ที่สามารถก่อประกายไฟได้ทุกชนิดไว้ เช่น บุหรี่ ไฟแช็ค โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป ก็ควร ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากต้องการถ่ายรูปกระบวนการผลิต ต้องขออนุญาตทาง เจ้าหน้าที่โรงงานก่อนเสมอ ปฏิบัติตามป้ายห้ามหรือป้ายคำสั่งต่างๆ ที่ติดไว้ บริเวณที่ มีป้ายห้ามเข้าก็ต้องไม่เดินเข้าไป หากจำเป็นต้องเข้าไป เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูล ก็ต้องขออนุญาต เจ้าหน้าที่ของโรงงานที่พาเดินสำรวจก่อนเสมอ ไม่แตะ ต้องเครื่องจักร หรือสูดดมสารเคมีใดๆ ก่อนที่จะได้ รับทราบว่าสิ่งนั้นคืออะไร และได้รับอนุญาตแล้ว อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

8 3) แนวทางปฏิบัติตัวในการเดินสำรวจโรงงาน (ต่อ)
มีสติและสมาธิในการเดินสำรวจ ไม่หยิบฉวยของอะไรก็ตามในโรงงานติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน โดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างชิ้นส่วนใดๆ ก็ตามในโรงงานไป วิเคราะห์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของคนทำงานแล้ว ต้อง ขออนุญาตทางโรงงานก่อนเสมอ ในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงงาน ควรพูดคุยในทาง สร้างสรรค์ ไม่ข่มขู่ ไม่พยายามซักถามแบบเค้นหาความจริง  หากต้องการซักถามพนักงานที่กำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะคน ที่ทำงานในสายการผลิตซึ่งต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ควรขออนุญาตเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่พาเราเดินสำรวจ เสียก่อน อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

9 4) ขั้นตอนการเดินสำรวจโรงงาน
ก่อนเดินสำรวจโรงงาน เจ้าหน้าที่มาทำการชี้แจงข้อมูลของ โรงงานสั้นๆ ให้ฟังในการประชุมเปิด (open meeting) ถ้ามี การขอข้อมูลไว้ล่วงหน้า เช่น รายการสารเคมีที่ใช้ ผลการ ตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม ผลการตรวจสุขภาพเมื่อปีก่อนๆ ควร ร้องขอให้ทางโรงงานนำข้อมูลนั้นมาเตรียมไว้ตั้งแต่ช่วง แรกที่ พบกันนี้ ทางฝั่งแพทย์ควรแนะนำตัว แนะนำทีมงาน และบอก วัตถุประสงค์ในการเดินสำรวจให้ทางผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ โรงงานทราบ การเดินควรเดินร่วมไปกับทางเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่พาเดิน สำรวจ ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด แนว ทางการปฏิบัติตัวระหว่างการเดินสำรวจ รายละเอียดดังใน ข้อที่ 3) รายละเอียดสิ่งที่ควรสังเกต ควรเก็บข้อมูล และ ควรทำการประเมิน  หลังจากเดินสำรวจเสร็จ ควรที่จะมีการประชุมสรุป (close meeting) อีกครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ทางโรงงานได้ซักถาม สิ่งที่สงสัย เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ได้ข้อมูล และ นัดหมายการดำเนินการอย่างอื่นต่อไป (ถ้ามี) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

10 5) ข้อมูลที่ควรเก็บและซักถาม
1. ข้อมูลติดต่อ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

11 5) ข้อมูลที่ควรเก็บและซักถาม
2. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ โรงงาน นโยบาย วัฒนธรรมองค์กร โรงงานก่อตั้งมากี่ปี มีโรงงานในเครือกี่แห่ง หากเป็นบริษัทข้ามชาติมีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศอะไร มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง ที่ต้องทราบเพื่อที่จะได้ประเมินได้ว่า จะสามารถดำเนินการทางด้านอาชีวอนามัยกับโรงงานนี้ได้มากน้อยเพียงใด ข้อมูลในประเด็นเหล่านี้บางเรื่องอาจถามตรงๆ ไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการสังเกตเอาเป็นหลัก อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

12 3.ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับ คนทำงาน
3.ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับ คนทำงาน อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

13 4.ข้อมูล เกี่ยวกับความ ปลอดภัย
4.ข้อมูล เกี่ยวกับความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

14 4.ข้อมูล เกี่ยวกับความ ปลอดภัย (ต่อ)
4.ข้อมูล เกี่ยวกับความ ปลอดภัย (ต่อ) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

15 5) ข้อมูลที่ควรเก็บและซักถาม
5.ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักร หน้าที่ของเครื่องจักร การบำรุงรักษา การซ่อมแซม และการทำความสะอาด รายละเอียดกระบวนการบำรุงรักษา การทำความสะอาด รวมถึงกระบวนการพิเศษที่ทำไม่บ่อย (non-routine process) ต่างๆ นี้ อาจทำให้คนทำงานต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามในปริมาณที่มากเป็นพิเศษ เช่น ปกติทำงานสูดดมไอสารเคมีเพียงเล็กน้อย แต่ทุก 2 ปีจะต้องเข้าไปในถังสารเคมีเพื่อล้างทำความสะอาด ซึ่งทำให้ต้องสัมผัสกับสารเคมีเต็มที่ เหล่านี้จัดว่ามีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงของคนทำงานด้วย อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

16 6.ข้อมูล รายละเอียด กระบวนการผลิต
ในโรงงานบางแห่งอาจมีการทำเป็นเอกสารสรุป หรือทำเป็นแผนผัง (flow chart) เอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว แต่หากไม่มี ข้อมูลส่วนนี้ก็จะได้จากการสอบถามและจดบันทึกขณะเดินสำรวจนั่นเอง ข้อมูลนี้จะทำให้เราทราบว่าในแต่ละแผนกจะต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง สัมผัสสิ่งคุกคามอะไรบ้าง อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

17 5) ข้อมูลที่ควรเก็บและซักถาม
แผนก รายละเอียดการทำงาน สิ่งคุกคาม (Hazards) รายละเอียด การตรวจสุขภาพ การจัดพื้นที่ (house keeping) ด้านความปลอดภัย (safety) ด้านกายภาพ (physical) ด้านเคมี (chemical) ด้านชีวภาพ (biological) ด้านการยสาสตร์ (Ergonomic) ด้านจิตสังคม (psychosocial) 22/05/2559

18 6) สิ่งที่ควรสังเกตและประเมิน
สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปของโรงงาน (general environment) การรักษาความสะอาด การบำรุงรักษาสถานที่ (housekeeping) การจัดวางผังโรงงาน (layout) การจัดสภาพแวดล้อม เป็นอย่างไร ขนาดพื้นที่ใหญ่โตหรือคับแคบ การระบายอากาศเป็นอย่างไร รู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ในอาคารการผลิตหรือไม่ การดูแลด้านความปลอดภัย (safety environment) มีการวางของไว้ระเกะระกะหรือไม่ พื้นโรงงานเรียบดีหรือไม่ ลื่นหรือไม่ มีเศษโลหะ เศษตะปู ตกอยู่หรือไม่ มีการตีเส้นและทาสีที่พื้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยหรือไม่ มีทางหนีไฟหรือไม่ มีป้ายบอกทางหนีไฟหรือไม่ มีถังดับเพลิงหรือไม่ มีป้ายเตือนเขตห้ามเข้าหรือไม่ ที่สูงมีราวกั้นกันตกหรือไม่ ที่เก็บสารเคมีมีป้ายเตือนหรือไม่ เขตอันตรายไฟฟ้าแรงสูงมีป้ายเตือนหรือไม่ ที่อับอากาศมีป้ายเตือนหรือไม่ มีโอกาสเกิดไฟฟ้าดูดที่จุดใดหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

19 6) สิ่งที่ควรสังเกตและประเมิน (ต่อ)
การสัมผัสสิ่งคุกคาม (hazard) ของคนทำงานแต่ละแผนก สิ่งคุกคามทางกายภาพ (แสงมืดไป แสงสว่างจ้าไป เสียงดัง เกินไป แรงสั่นสะเทือน กัมมันตภาพรังสี ความร้อน ความ หนาวเย็น ความกดอากาศ) ชีวภาพ (เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อปรสิต พยาธิ สัตว์มีพิษ) เคมี (สารเคมีทั้งในรูป แก็ส ไอระเหย ละออง ฟูม ฝุ่น) การยศาสตร์/ชีวกลศาสตร์ (ท่าทางการทำงานที่ไม่สะดวกสบาย ความแออัด การทำท่าทางซ้ำๆ การยกของหนัก) หรือทางด้านจิตสังคม (วัฒนธรรมองค์กรที่กดดัน ปัญหา ศีลธรรมในองค์กร การอยู่กะ การทำงานมากชั่วโมงเกินไป) นอกจากดูว่าสัมผัสสิ่งคุกคามชนิดใดแล้ว ต้องพิจารณาด้วยว่า การได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามนั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นทางด้านเคมีคนทำงานได้รับเข้าสู่ร่างกายทางไหน ทางการหายใจ ทางการกิน หรือทางการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ควรจำแนกออกเป็นรายแผนกหรือรายบุคคลถ้าสามารถทำได้ ตามรายการของสิ่งคุกคามที่สัมผัสแต่ละอย่าง 22/05/2559

20 6) สิ่งที่ควรสังเกตและประเมิน (ต่อ)
การดูแลด้านสวัสดิการ (welfare) และสุขอนามัยทั่วไป (general hygiene) มีน้ำให้ดื่มหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ มีโรงอาหารหรือจัดพื้นที่ให้กินอาหารหรือไม่ ให้เวลาหยุดพักที่เพียงพอหรือไม่ มีอ่างล้างมือจัดเตรียมไว้ให้หรือไม่ มีห้องน้ำจัดไว้เพียงพอ หรือไม่ ห้องน้ำมีสภาพอย่างไร กรณีโรงงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย มีห้องอาบน้ำและ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าจัดไว้ให้คนทำงานอาบน้ำก่อนกลับบ้าน หรือไม่ มีชุดยูนิฟอร์มแจกให้หรือไม่ มีรถรับส่งหรือค่าน้ำมันให้หรือไม่ ตู้ยาและห้องพยาบาลจัดไว้ให้หรือไม่ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

21 6) สิ่งที่ควรสังเกตและประเมิน (ต่อ)
การจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (personal protective equipment หรือ PPE) มีการจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้แก่คนทำงานหรือไม่ ถ้ามีแจก มีเพียงพอหรือไม่ คุณภาพดีพอหรือไม่ ถูก ชนิดกับสิ่งคุกคามที่คนทำงานสัมผัสหรือไม่ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (environmental management)  มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด มีการควบคุม สารพิษที่ปล่อยออกสู่อากาศ (air emission) หรือไม่ มี ระบบบำบัดน้ำเสีย (waste water management) หรือ ไม่มีการกำจัดขยะ (waste management) อย่างถูกวิธี หรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559

22 ฝึกการเดินสำรวจ (ใช้เวลา 1 ชั่วโมง)
ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม เพื่อเดินสำรวจสิ่งที่เป็นอันตราย ใมหาวิทยาลัย ดังนี้ โรงอาหาร สระว่ายน้ำ หอพักนักศึกษาพยาบาล อาคารวิทยบริการ อาคารจอดรถ (ตึก 15 ชั้น) อาคารศูนย์วิทยาศาตร์ (คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี) กองกิจการนักศึกษา ที่ทำการฝ่ายอาคารสถานที่ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน :สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย > 22/05/2559


ดาวน์โหลด ppt หลักการเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google