งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การค้าระหว่างประเทศ International Trade

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การค้าระหว่างประเทศ International Trade"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การค้าระหว่างประเทศ International Trade
บทที่ 10 การค้าระหว่างประเทศ International Trade Absolute Advantage Theory Comparative Advantage Theory Hechscher-Olin Theory

2 แนวคิดและทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ

3 จำนวนแรงงานที่ผลิตสินค้า(หน่วยแรงงาน)
1) ทฤษฎีการได้เปรียบอย่างสมบูรณ์(Absolute Advantage Theory) -โดย Adam Smith กล่าวว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบอย่างสมบูรณ์ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของอีกประเทศหนึ่ง การที่ประเทศมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าใด แสดงว่าเขาสามารถผลิตสินค้านั้นด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าอีกประเทศหนึ่ง -โดยสรุป Adam Smith เห็นว่า การได้เปรียบโดยสมบูรณ์หรือการได้เปรียบโดยเด็ดขาดนี้เป็นต้นเหตุให้มีการค้าระหว่างประเทศ โดยให้แต่ละประเทศเลือกผลิตแต่สินค้าที่ประเทศนั้นมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อส่งไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอีกชนิดของอีกประเทศหนึ่ง ตารางตัวอย่าง แสดงต้นทุนการผลิตสินค้า 2 ชนิด ของ 2 ประเทศ ประเทศ จำนวนแรงงานที่ผลิตสินค้า(หน่วยแรงงาน) อัตราแลกเปลี่ยน ข้าว : ยาง ข้าว(1 หน่วย) ยาง( 1 หน่วย) ไทย 3 4 1 : 0.75 มาเลเชีย 5 2 1 : 2.5

4 แบบแผนการค้า ไทยจะผลิตข้าวเป็นสินค้าออก และนำเข้ายาง ส่วนมาเลเชียจะผลิตยางเป็นสินค้าออก และนำเข้าข้าว อัตราแลกเปลี่ยน ไทย ใช้ 4 หน่วยแรงงานผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 3 หน่วยแรงงานจะผลิตยางได้ = หน่วย เพราะฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของไทยระหว่างข้าว : ยาง คือ 1 : 0.75 มาเลเชีย ใช้ 2 หน่วยแรงงานผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 5 หน่วยแรงงานจะผลิตยางได้ = หน่วย ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของมาเลเชียระหว่างข้าว : ยาง คือ 1 : 2.5 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 ประเทศ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจึงอยู่ระหว่าง ข้าว : ยาง คือ 1 : – 2.5

5 ประโยชน์จากการค้า สมมติ ข้าว 1 หน่วย แลกยางได้ 1 หน่วย ไทย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 3 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน รวมแรงงานที่ต้องใช้ทั้งหมด 7 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตข้าวอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงานเพียง 6 หน่วยแรงงาน แล้วนำข้าวส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับยาง ( ได้ยางมา 1 หน่วย ) จะเห็นได้ว่า ไทยใช้แรงงานลดลง 1 หน่วยแรงงาน แต่มีสินค้าบริโภคเท่ากับเมื่อก่อนมีการค้าระหว่างประเทศ มาเลเชีย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 5 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 2 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตยางอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน แล้วนำยางส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับข้าว ( ได้ข้าว 1 หน่วย ) จะเห็นได้ว่า มาเลเชียใช้แรงงานในการผลิตสินค้าน้อยลง 3 หน่วยแรงงาน ซึ่งแรงงานส่วนที่เหลือสามารถนำไปผลิตสินค้าอื่น ๆ เพิ่มความมั่งคั่งให้กับประเทศมากขึ้น

6 2) ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage Theory)
-โดย เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) กล่าวว่า ประเทศ 2 ประเทศจะทำการค้าขายกัน เมื่อประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าชนิดนั้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตสินค้าชนิดนั้นในอีกประเทศหนึ่ง -หลักสำคัญของทฤษฎีคือ ประเทศไม่ควรที่จะผลิตสินค้าทุกชนิดที่ตนผลิตได้ดีกว่าประเทศอื่น แต่ควรผลิตสินค้าที่ตนผลิตได้ดีที่สุด สำหรับประเทศที่มีความสามารถในการผลิตต่ำไม่ควรที่จะหยุดผลิตสินค้าทุกชนิดเพราะแรงงานมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมากในทุก ๆ ทาง แต่ควรที่จะหยุดผลิตสิ่งที่แรงงานมีความสามารถในการผลิตต่ำที่สุด ตารางตัวอย่าง แสดงต้นทุนการผลิตสินค้า 2 ชนิด ของ 2 ประเทศ ประเทศ จำนวนแรงงานที่ผลิตสินค้า (หน่วยแรงงาน) อัตราแลกเปลี่ยนภายในประเทศ ข้าว : ยาง ข้าว 1 หน่วย ยาง 1 หน่วย มาเลเชีย 5 2 1 : 2.5 ฟิลิปปินส์ 6 7 1 : 0.85 ต้นทุนเปรียบเทียบระหว่าง ฟิลิปปินส์ : มาเลเชีย 1 : 0.83 1 : 0.28

7 แบบแผนการค้า มาเลเชียผลิตยางได้ด้วยต้นทุนต่ำสุด คือใช้ หน่วยแรงงาน และจะผลิตยางเป็นสินค้าออก ส่วนข้าวให้ฟิลิปปินส์เป็นผู้ผลิตส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 มาเลเชีย ใช้ 2 หน่วยแรงงาน ผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 5 หน่วยแรงงาน จะผลิตยางได้ = 2.5 หน่วย ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของมาเลเชีย ข้าว : ยาง คือ 1 : 2.5 ฟิลิปปินส์ ใช้ 7 หน่วยแรงงาน ผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 6 หน่วยแรงงาน จะผลิตยางได้ = 0.85 ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของฟิลิปปินส์ ข้าว : ยาง คือ 1 : 0.85 ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 ประเทศ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจึงอยู่ระหว่าง ข้าว : ยาง คือ 1 : 0.85 – 2.5

8 ประโยชน์จากการค้า สมมติ ข้าว 1 หน่วย แลกยางได้ 1 หน่วย มาเลเชีย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 5 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 2 หน่วยแรงงาน รวมแรงงานที่ต้องใช้ทั้งหมด 7 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตยางอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน แล้วนำยางส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับข้าว (ได้ข้าวมา 1 หน่วย ) ฟิลิปปินส์ ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 6 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 7 หน่วยแรงงาน รวมใช้แรงงานทั้งหมด 13 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตข้าวอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 12 หน่วยแรงงาน แล้วนำข้าวส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับยาง ได้ยางมา 1 หน่วย จะเห็นได้ว่า มาเลเชีย ใช้แรงงานน้อยลง ( ลดลง ) 3 หน่วยแรงงาน ฟิลิปปินส์ใช้แรงงานน้อยลง ( ลดลง ) 1 หน่วยแรงงาน

9 3) ทฤษฎีของฮิคค์เชอร์และโอลิน (Hechscher-Olin Theory)
-กล่าวว่า สินค้าที่แตกต่างกันย่อมมีอัตราการใช้ปัจจัยแตกต่างกัน ประเทศที่แตกต่างกันย่อมมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน ประเทศใดที่มีปัจจัยการผลิตชนิดไหนมากจะผลิตสินค้าที่ต้องการปัจจัยการผลิตนั้นได้ในราคาถูก และจะส่งสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าออก -ความหมายของความสมบูรณ์ของปัจจัย มี 2 ความหมาย (1) ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยตามปริมาณของปัจจัย (Physical definition) คือ ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยที่วัดจากปริมาณของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นเทียบกับ ปัจจัยการผลิตชนิดอื่นของประเทศนั้น เทียบกับประเทศอื่น(ปริมาณของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นเทียบกับปัจจัยการผลิตชนิดอื่นของประเทศอื่น) (2) ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยตามราคาของปัจจัย (Price definition) คือ ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยที่วัดจากราคาของปัจจัยชนิดนั้นเมื่อเทียบกับราคาของ ปัจจัยชนิดอื่นของประเทศนั้น เทียบกับประเทศอื่น(ราคาของปัจจัยชนิดนั้นเมื่อเทียบกับราคาของปัจจัยชนิดอื่นของประเทศอื่น)

10 W C T J โดยสรุป ประเทศไทย (T) มีความอุดมสมบูรณ์ในปัจจัยแรงงาน (L) (ทำให้อัตราการใช้ปัจจัยหรือสัดส่วน ของไทยมากกว่าสัดส่วน ของญี่ปุ่น) ประเทศไทยจะสามารถผลิตสินค้าที่ใช้ปัจจัยชนิดนั้นได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นไทยจะผลิตข้าวได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ไทยจึงผลิตข้าว และส่งข้าวเป็นสินค้าออก แล้วนำเข้าผ้าจากญี่ปุ่น ส่วนประเทศญี่ปุ่น (T) มีความอุดมสมบูรณ์ในปัจจัยทุน (K) (ทำให้อัตราการใช้ปัจจัยหรือสัดส่วน ของญี่ปุ่นมากกว่าสัดส่วน ของไทย) ประเทศญี่ปุ่นจะสามารถผลิตสินค้าที่ใช้ปัจจัยทุนมากในการผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นไทยจะผลิตผ้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ญี่ปุ่นจึงผลิตผ้า และส่งผ้าเป็นสินค้าออก แล้วนำเข้าข้าวจากไทย

11 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade Policy )

12 1) นโยบายการค้าแบบเสรี ( Free Trade Policy )
-เป็นนโยบายการค้าต่างประเทศที่ไม่สนับสนุนการเก็บอัตราภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงและพยายามขจัดข้อจำกัดที่ขัดขวางการค้าระหว่างประเทศ รัฐจะปล่อยให้เอกชนดำเนินการค้าเองโดยที่รัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงหรือแทรกแซงให้น้อยที่สุด -ประโยชน์การค้าเสรี (1)การค้าเสรีทำให้เกิดการแบ่งแยกแรงงานระหว่างประเทศ (2)การค้าเสรีทำให้ราคาสินค้าเข้ามีราคาลดลง ซึ่งทำให้กลไกราคาทำงานได้สะดวกขึ้น (3)เป็นการทำลายการผูกขาด 2) นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน ( Protective Trade Policy ) -เป็นนโยบายที่รัฐเข้าแทรกแซงเพื่อให้ปริมาณสินค้านำเข้าน้อยลง โดยใช้มาตราการต่าง ๆ เช่น การเก็บภาษีศุลกากร(Tariff)กับสินค้าเข้าในอัตราสูงๆ การกำหนดโควตา(Quota)เพื่อลดปริมาณสินค้านำเข้า การใช้นโยบายกีดขวางทางการค้าอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษีอากร(Non-tariff barriers) และการที่รัฐบาลทำการค้าต่างประเทศเอง(State trading)

13 -ประโยชน์นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
(1) เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมที่เกิดใหม่ภายในประเทศ ( Infant Industries ) (2) กระจายโครงสร้างการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศ ( Diversify the Industrial Structure ) (3) เพื่อรักษารายได้และการจ้างงานของประเทศ (4) เพื่อการต่อรองและโต้ตอบ เช่น ถ้าประเทศหนึ่งตั้งกำแพงภาษีเพื่อกีดกันสินค้าเข้า ประเทศอื่นจะตั้งกำแพงภาษีตอบสนองบ้างเพื่อเป็นเครื่องต่อรองในการค้าให้ลดอัตราภาษีลง (5) เพื่อปรับอัตราการค้าให้ดีขึ้น เครื่องมือที่ใช้ดำเนินนโยบายการคุ้มกัน การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) โดยส่วนใหญ่จะจัดเก็บภาษีนำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่จะกีดกันไม่ให้นำเข้า การกำหนดโควตา ( Quota ) คือ รัฐบาลจะเข้าควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า

14 การให้ความอุดหนุน ( Subsidies ) เพื่อทำให้สินค้าสามารถส่งออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
การทุ่มตลาด (Dumping ) คือการขายสินค้าในต่างประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาสินค้าภายในประเทศของตนเอง มี 3 กรณี คือ การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่า ล้างสต๊อกหรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย ไม่สามารถขายภายในประเทศได้ หรืออาจเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในเพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้ เป็นการทุมตลาดชั่วครั้งชั่วคราว เช่น การทุ่มตลาดในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งไม่ก่อปัญหายุ่งยากมากนัก การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราวและในบางครั้งอาจต้องขายต่ำกว่าทุนเพื่อเป็นการขับไล่คู่แข่งทางการค้าเพื่อครอบครองส่วนแบ่งตลาด การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาวซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่า MC และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้อาจเนื่องจากการผลิตภายในขยายตัวสูงสามารถถอนต้นทุนการผลิตลงได้จึงส่งออกขายนอกประเทศได้ในราคาต่ำกว่า

15 สถานะการค้าระหว่างประเทศ

16 1)ขนาดการเปิดประเทศ ( Degree of openness )
เมื่อ X = มูลค่าการส่งออก M = มูลค่าการนำเข้า GDP = ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2)การพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศ ( Dependency of foreign trade ) การพึ่งพิงการส่งออก ( Export dependency ) การพึ่งพิงการนำเข้า ( Import dependency ) การพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศ ( External finance dependency ) การพึ่งพิงกันและกันในรูปแบบอื่น เช่น การอาศัยความชำนาญเฉพาะอย่าง

17 3) ดุลการค้า ( Balance of trade )
ดุลการค้า = มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ ( X ) – มูลค่าการนำเข้า ( M ) ถ้า มูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ( X > M ) แสดงว่า ดุลการค้า “เกินดุล” ถ้า มูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า ( X < M ) แสดงว่า ดุลการค้า “ขาดดุล” ถ้า มูลค่าการส่งออกเท่ากับมูลค่าการนำเข้า ( X = M ) แสดงว่า ดุลการค้า “สมดุล” 4) อัตราการค้า ( Term of trade ) อัตราการค้า ( Term of trade : TOT) = เมื่อ Px = ราคาต่อหน่วยที่ส่งออก Pm = ราคาต่อหน่วยที่นำเข้า

18 การค้าระหว่างประเทศของไทย

19 ตารางที่ สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2534-2546 (ม. ค. -พ. ย. )
ตารางที่ สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า 2536 2,111,709.0 940,862.6 1,170,846.4 -229,983.8 2537 2,506,862.0 1,137,601.6 1,369,260.4 -231,658.8 2538 3,169,901.4 1,406,310.1 1,763,591.3 -357,281.2 2539 3,243,864.5 1,411,039.3 1,832,825.2 -421,785.9 2540 3,730,945.1 1,806,682.0 1,924,263.1 -117,581.1 2541 4,022,155.8 2,248,089.4 1,774,066.4 474,023.0 2542 4,121,639.3 2,214,248.7 1,907,390.6 306,858.1 2543 5,262,197.9 2,768,064.8 2,494,133.1 273,931.7 2544 5,640,010.8 2,884,702.7 2,755,308.1 129,394.7 2545 5,727,456.3 2,952,066.9 2,775,389.4 176,677.5 2546(ม.ค.-พ.ย.) 5,890,054.9 3,045,228.1 2,844,826.9 200,401.2

20 ตารางที่ โครงสร้างสินค้าออกของไทยปี 2534-2546 (ม. ค. -พ. ย
ตารางที่ โครงสร้างสินค้าออกของไทยปี (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท ปี รวม สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าแร่และเชื้อเพลิง สินค้าอื่นๆ 2537 1,137,601.6 193,790.4 95,612.6 827,899.1 12,477.7 7,821.8 2538 1,406,310.1 227,846.1 114,334.9 1,037,861.1 14,287.6 11,980.5 2539 1,411,039.3 226,913.3 126,260.1 1,013,492.8 28,248.7 16,124.5 2540 1,806,685.4 251,658.7 150,939.3 1,305,604.0 50,449.5 48,034.0 2541 2,248,089.4 294,779.7 176,189.2 1,660,795.3 44,273.5 72,051.8 2542 2,214,248.7 265,423.9 172,437.6 1,665,075.9 47,947.9 63,363.4 2543 2,768,064.8 291,956.1 187,698.6 2,115,414.0 97,399.0 75,597.1 2544 2,884,702.7 312,529.9 213,488.9 2,171,480.9 90,699.8 96,503.2 2545 2,952,066.9 305,415.1 218,955.0 2,254,318.2 85,916.1 87,462.5 (ม.ค.-พ.ย.) 2546 3,045,228.1 318,098.6 230,166.3 2,325,991.9 88,417.0 82,554.3

21 ตารางที่ โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยปี 2534-2546 (ม. ค. -พ. ย
ตารางที่ โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยปี (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท ปี รวม น้ำมันเชื้อเพลิง ทุน วัตถุดิบ อุปโภคบริโภค ยานพาหนะ สินค้าอื่น ๆ 2537 1,369,260.4 93,136.2 603,381.1 435,735.1 115,143.5 102,354.9 19,509.6 2538 1,763,591.3 119,077.0 787,782.3 561,190.6 142,540.4 131,343.0 21,657.9 2539 1,832,825.2 160,587.8 832,156.6 530,144.9 151,047.9 123,255.1 35,632.9 2540 1,924,263.1 178,285.3 925,832.2 552,466.5 160,748.5 67,319.5 39,611.1 2541 1,774,066.4 142,117.3 886,530.2 535,801.2 154,526.2 18,896.4 36,195.0 2542 1,907,390.6 183,433.5 901,536.4 574,307.2 159,713.0 50,443.4 37,957.0 2543 2,494,133.1 303,479.7 1,154,364.8 740,823.7 199,609.9 80,788.8 15,066.1 2544 2,755,308.1 318,321.6 1,300,121.8 790,374.5 224,934.1 90,626.9 30,929.1 2545 2,775,389.4 319,713.5 1,263,478.6 832,693.4 238,013.4 97,772.6 23,717.7 (ม.ค.-พ.ย.) 2546 2,844,826.9 335,527.7 1,270,415.3 851,408.8 239,168.0 116,748.0 31,559.1


ดาวน์โหลด ppt การค้าระหว่างประเทศ International Trade

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google