งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสำรวจและอธิบายข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสำรวจและอธิบายข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสำรวจและอธิบายข้อมูล
แผนงานระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัยทางถนน Road Safety Information System (RSIS) การสำรวจและอธิบายข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

2 การสำรวจและอธิบายข้อมูล
ตาราง แผนภูมิ

3 ตาราง ตารางแจกแจงความถี่ (frequency table) หมายถึง ตารางที่มีข้อมูลเป็นตัวเลขแสดงความถี่ (จำนวนนับ) ตัวอย่าง ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยจำแนกตามเพศ เพศ จำนวน (คน) ชาย 12 หญิง 14 รวม 26

4 ตาราง ตารางทางเดียว (one-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวสดมภ์ (column) หรือหัวแถว (row) ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตัวอย่าง ตารางแสดงจำนวนเหตุการณ์ตามลักษณะสถานที่เกิดเหตุ (ICD-10 place of occurrence code) (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554) อันดับ ลักษณะสถานที่เกิดเหตุ จำนวนเหตุการณ์ 1 ถนนหรือทางหลวง 21 2 สถานที่ค้าขายสินค้าและบริการ 5 3 บ้าน ที่อยู่อาศัยส่วนตัว 4 สถานที่อื่น ๆ นา ไร่ สวน

5 ตาราง ตารางหลายทาง (multi-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวแถวและหัวสดมภ์ทั้ง 2 ด้าน ตัวอย่าง ตารางแสดงคุณภาพการดูแลขณะนำส่งจากจุดเกิดเหตุ การดูแลขณะนำส่ง เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มี จำนวน % การหายใจ 2 6.7 1 3.3 27 90 การห้ามเลือด 11 25.6 2.3 31 72.1 C-Spine Collar 4 66.7 - 33.3 Splint / Slab 3 11.1 3.7 23 85.2 IV fluid 30 100 (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

6 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตาราง
ตัวแปรกลุ่ม (Nominal or ordinal scale/categorical variable) ให้เสนอด้วยจำนวนความถี่หรือร้อยละ ลักษณะพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 156 698 18.3 81.7 สถานภาพ โสด สมรส หย่าร้าง หม้าย 409 407 22 11 48.2 47.9 2.6 1.3 (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

7 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตาราง
ตัวแปรต่อเนื่อง (Interval or ratio scale/continuous variable) ข้อมูลมีการกระจายแบบปกติ ให้นำเสนอด้วยตารางแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตัวอย่าง ตารางแสดงความพึงพอใจต่อการจัดสัมมนา ความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย SD ด้านกิจกรรม 4.45 0.78 ด้านการมีส่วนร่วม 4.4 0.67 ความพร้อมของสื่อ 4.49 0.81 การให้ความรู้ของวิทยากร 4.65 0.62 ด้านสถานที่ 4.37 0.83

8 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตาราง
ตัวแปรต่อเนื่อง (Interval or ratio scale/continuous variable) ข้อมูลมีการกระจายแบบไม่ปกติ ให้นำเสนอด้วยตารางแสดงค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ตัวอย่าง ตารางแสดงระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เฉลี่ย ค่ามัธยฐาน (IQR) รวม การรักษา (วัน) 1 (1-1.5) 293 ค่าใช้จ่าย (บาท) 293 (90-3,250) 527,292 (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

9 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิเส้น Line Graph
ใช้สำหรับแสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามช่วงเวลา โดยการลากเส้นเชื่อมต่อปริมาณข้อมูลของแต่ละช่วงเวลา

10 แผนภูมิแสดงจำนวนเหตุการณ์รายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2547
เปรียบเทียบกับข้อมูลจำนวนเหตุการณ์เฉลี่ยรายเดือนของศวชต. ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบทุกประเภททั้งที่มีและไม่มีผู้บาดเจ็บ (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

11 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิแท่ง Bar Chart
ใช้สำหรับการแจกแจงข้อมูลกลุ่ม โดยจะใช้ความยาวหรือความสูงของแท่งแทนค่าข้อมูล (เช่น จำนวน สัดส่วน) ของแต่ละกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล

12 แผนภูมิแสดงจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจังหวัดที่เกิดเหตุ
เรียงลำดับตามจำนวนผู้บาดเจ็บ (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

13 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิวงกลม Pie Chart
ใช้สำหรับการแจกแจงข้อมูลกลุ่ม เมื่อต้องการแสดงสัดส่วนของลักษณะที่ศึกษา ใช้พื้นที่ในแต่ละส่วนของวงกลมบอกสัดส่วนของแต่ละลักษณะ ให้ผลเช่นเดียวกับแผนภูมิแท่ง แต่ถ้าแสดงข้อมูลหลายกลุ่มมากเกินไปจะแสดงผลไม่ชัดเจนเท่ากับการใช้แผนภูมิแท่ง

14 แผนภูมิแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจำแนกตามเพศปี พ.ศ. 2558

15 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิฮิสโทแกรม Histogram
ใช้เพื่อแสดงลักษณะการกระจายของข้อมูลต่อเนื่อง โดยการนำข้อมูลต่อเนื่องมาแบ่งเป็นชั้น ๆ เพื่อแจกแจงความถี่ โดยให้ความสูงของแท่งเป็นสัดส่วนกับจำนวนความถี่ของข้อมูลในแต่ละชั้น

16 แผนภูมิแสดงการกระจายของอายุ จำแนกเพศ
(ที่มา: )

17 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิจุด Dot Plot
ใช้กับข้อมูลต่อเนื่องที่มีจำนวนข้อมูลไม่มากนัก แกนนอนของกราฟจะแสดงหน่วยวัด จุดแต่ละจุดแทนจำนวนข้อมูลแต่ละตัว แผนภูมิจุดใช้แสดงลักษณะการแจกแจงข้อมูลของตัวแปรชุดเดียวกัน หรือใช้เปรียบเทียบการแจกแจงของข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปก็ได้

18 แผนภูมิแสดงจำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและเวลาที่เกิดเหตุการณ์
(1 จุดแทน 1 เหตุการณ์) (ที่มา: รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำเดือนเมษายน 2554)

19 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิกล่อง Box & Whisker Plot
ใช้แสดงการกระจายของข้อมูลต่อเนื่อง ประกอบกับค่า percentile ตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งค่าต่ำสุดและสูงสุดของข้อมูล และข้อมูล outlier

20 MAX excluding OUTLIER MIN excluding OUTLIER

21 แผนภูมิแสดงจำนวนเด็กที่คลอดในโรงพยาบาล จำแนกวันในสัปดาห์
(ที่มา: )

22 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แผนภูมิการกระจาย Scatter plot
ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่อเนื่อง 2 ตัวแปร

23 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตรา ER Visit/100 ประชากร กับร้อยละของ EMS service/ER visit รายจังหวัด ปี 2554
แหล่งข้อมูล: การรายงานจำนวน ER Visit ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย และข้อมูล ITEMS ปี 2554 แหล่งข้อมูล: การรายงานจำนวน ER Visit ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย และข้อมูล ITEMS ปี 2554


ดาวน์โหลด ppt การสำรวจและอธิบายข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google