งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Raviwan Omaree, RN. Infection Control Nurse : ICN Chomethong Hospital

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Raviwan Omaree, RN. Infection Control Nurse : ICN Chomethong Hospital"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Raviwan Omaree, RN. Infection Control Nurse : ICN Chomethong Hospital

2 เชื้อก่อโรค : - เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 หรือชื่อในทางการแพทย์ คือ Middle East respiratory sysdrome coronavirus : MERS-CoV - เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรน่า ค้นพบครั้งแรกเดือนเมษายน 2255 - เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน - อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโรคซาร์ส แต่เป็นคนละสายพันธุ์กัน อาการของโรค : ไข้ ไอ หายใจลำบาก อาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน เกือบครึ่งเสียชีวิต แต่บางรายที่ติดเชื้อ อาจไม่แสดงอาการ

3 ระยะฟักตัวของโรค : ยาวนานถึง 14 วัน
วิธีการแพร่โรค : - ยังไม่ทราบชัดเจน อาจเป็นได้การทั้งแพร่ผ่านละอองฝอยไอ จาม หรือการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อม หรือการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ การติดต่อระหว่างคนสู่คน พบในสถานพยาบาลและการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน แต่ยังไม่พบการแพร่ติดต่อในชุมชน การรักษา – ยังไม่มียารักษาจำเพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

4 ข้อแนะนำประจำวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคเมอร์ส
ประชาชนคนไทยทั่วไปไม่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคเมอร์ส ยกเว้นผู้ที่เดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด สำหรับประชาชนทั่วไปมีข้อปฏิบัติดังนี้ หลีกเลี่ยง การคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่

5 การสอบสวนและควบคุมโรคใน “ผู้สัมผัสใกล้ชิด” ของผู้ป่วยน่าจะเป็นหรือยืนยัน MERS
ในรายที่มีอาการ ให้นอนโรงพยาบาล ในห้องแยก Negative pressure หรือ Modified negative pressure room และเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ถ้าให้ผลลบ ให้เก็บซ้ำทุกวัน ติดต่อกัน 3 วัน หากให้ผลบวก ให้รักษาอยู่ที่รพ.เดิม ห้ามส่งต่อไปรพ.อื่นยกเว้นกรณีที่จำเป็นต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วย และต้องเตรียมความพร้อมกับโรงพยาบาลปลายทางก่อน ในรายที่ไม่มีอาการ ให้จำกัดการเดินทางและจำกัดการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นโดยไม่จำเป็น โดยแยกระดับของการกักกันตามระดับความเสี่ยง

6 มาตรการป้องกันควบคุมโรค
การแยกและรักษาผู้ป่วยโดยเร็ว รับผู้ป่วยไว้รักษาในห้องแยกผู้ป่วย (Negative pressure) ตรวจวินิจฉัยให้ได้โดยเร็ว มีห้องปฏิบัติการที่พร้อมตรวจหาการติดเชื้อ 14 แห่งทั่วประเทศ สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ภายใน 24 ชั่วโมง ให้การรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล มีมาตรการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ ใช้หลัก Standard Precaution & Transmittion Base Precaution

7 การป้องกัน : สําหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม ผู้มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้า ไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์โดยเฉพาะอูฐ ซึ่งอาจเป็น แหล่งรังโรคของเชื้อได้ ถ้ามีอาการไข้ไอ มีน้ำมูกเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยง การสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชําระปิดปาก และ จมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชําระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถ ปฏิบัติได้ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในพื้นที่

8 สําหรับประชาชนทั่วไป
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้าง มือเป็นประจํา ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูก สุขอนามัย

9 สําหรับสถานพยาบาล Standard precautions Hand hygiene ข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions สําหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplet transmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม airborne transmission มีความเป็นไปได้ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูงดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ สหรัฐอเมริกา จึงแนะนําให้ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมาก รวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ การพ่นยา เป็นต้น เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัว ได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้ หลักการของ

10 การติดตามเฝ้าระวัง 1) กรณีผลลบและ exclude จริงๆ รักษาจนหาย (ไม่ต้องห้องแยกก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจก็ห้องแยก ตรวจซ้ำจนมั่นใจว่า exclude) จึง D/C และจะต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยรายนี้ต่อจนครบ 14 วัน นับจากออกจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสโรค ส่วนผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้หยุดการเฝ้าระวัง 2) กรณีผลบวก  ผู้ป่วยห้องแยกตลอด รักษาจนหาย ตรวจไม่พบเชื้อ จึง D/C ไม่ต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยรายนี้ต่อ แต่ต้องเฝ้าระวังผู้สัมผัส 14 วัน นับจากที่สัมผัสผู้ป่วยรายนี้หรือสารคัดหลั่งครั้งสุดท้ายที่ไม่ได้ใช้ PPE อย่างเหมาะสม

11 การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (Personal protective equipment ; PPE )

12 หน้ากาก N – 95 N – 100 หรือ P100 /surgical mask
แนะนําให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยให้ใช้เครื่องป้องกันร่างกายทั้ง 4 ชิ้น คือ หน้ากาก N – N – 100 หรือ P100 /surgical mask - แว่นป้องกันตา หรือ กระจังหน้า - เสื้อกาวน์แขนยาวรัดข้อมือ - ถุงมือ

13 แนะนําการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (PPE)
ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่การพื้นชีพ การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ หรือการดูแล ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ หรือมีอาการไอมากให้ใช้อุปกรณ์ทั้ง 4 ชิ้น N 95 mask N–100/ P100หรือสูงกว่า สวม Goggle หรือ Face Shield ถุงมือ และ เสื้อคลุมแขนยาว (gown) หมวกคลุมผมใช้ในกรณีที่กิจกรรมนั้นก่อให้เกิด ฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) หรือผู้ป่วยมีอาการไอมาก

14 แนะนําการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (PPE)
2. บุคลากรทางการแพทย์ใส่ surgical mask หรือ N95 รวมทั้งสวมถุงมือ, Goggle เสื้อคลุม แขนยาว (gown) กรณีที่ไม่ได้ทําหัตถการที่จะก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) ในการดูแลผู้ป่วย

15 การติดตามกำกับการใช้ PPE
มีการฝึกซ้อมการใส่เครื่องป้องกันร่างกาย และ มีการกํากับติดตามมีการให้ความรู้หน้างานต่าง ๆ ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อและการ แพร่กระจายเชื้อ โดยเฉพาะ Droplet และ Contact Precautions รวมทั้ง Respiratory ƒ อุปกรณ์ป้องกันร่างกายใช้ตามความเหมาะสมดังกล่าวข้างต้น มีการตรวจติดตามการปฏิบัติงานเป็นระยะได้แก่ IC Audit, IC performance check list ใช้ระบบเพื่อนเตือนเพื่อน คือการจับคู่ในการปฏิบัติงาน/การใส่เครื่องป้องกันร่างกาย มีการจัดทําโปสเตอร์/รูปขั้นตอนการใส่/ถอด เครื่องป้องกันร่างกายในห้องแต่งตัวห้อง และ Ante room มีการติดตามการใช้เครื่องป้องกันร่างกายตามหลัก Isolation Precautions อย่างเคร่งครัด ทั้งบุคลากรและผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยทุกราย โดยมีการดําเนินการดังนี้

16 สำหรับคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัย

17 การใส่หน้ากากอนามัย

18 การใส่อุปกรณ์ป้องกันกรณีดูแล
ผู้ป่วย MERS – CoV ชมวีดิโอ

19 หอผู้ป่วยแยกโรค/ ห้องแยกโรค
ห้องแยกผู้ป่วยควรเป็นห้อง Airborne infection isolation room (AIIR) ซึ่งมีห้องน้ำในตัวและ มีคุณสมบัติทางวิศวกรรม ตามข้อกําหนดของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ƒ หากเป็นหอผู้ป่วยรวมแยกโรค หรือ Cohort room ควรเป็นห้องที่มีการจัดการอากาศ และมี ทิศทางของอากาศผ่านจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยแล้วปล่อยออกภายนอก ระยะห่างระหว่างเตียงมากกว่า 1 เมตร หากจะมีม่านควรเลือกวัสดุที่เช็ดทําความสะอาดง่าย ƒ เป็นห้องที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตได้คือมี Oxygen , suction , air – pipeline เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ ƒ มีอ่างล้างมือ / น้ำยาล้างมือแห้งใน ห้องผู้ป่วยและห้อง anteroom ƒ เป็นห้องที่มีพื้นผิวทําความสะอาด มีอุปกรณ์ประจําห้องได้แก่ ปรอทวัดไข้เครื่องวัดความดันโลหิต ชุดให้ออกซิเจน ไม้กดลิ้น ไฟฉาย sharp container ถังผ้าเปื้อน ถังขยะ ชนิดใช้เท้าเปิด ƒ อุปกรณ์ที่สํารองไว้ใน anteroom ได้แก่ เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ หน้ากาก N 95 , surgical mask, disposable gloves , gown แว่นป้องกันตา กระจังหน้า หมวก ผ้าพลาสติก/ผ้ายางกัน เปื้อน

20 การสวมผ้าปิดปาก-จมูก
สวมให้คลุมปิดปาก จมูก และ คาง บีบลวดบริเวณจมูกให้กระชับ ผูกเชือกรอบศีรษะให้แน่น ปรับให้กระชับศรีษะ และหน้า Some masks are fastened with ties, others with elastic. If the mask has ties, place the mask over your mouth, nose and chin. Fit the flexible nose piece to the form of your nose bridge; tie the upper set at the back of your head and the lower set at the base of your neck. If a mask has elastic head bands, separate the two bands, hold the mask in one hand and the bands in the other. Place and hold the mask over your nose, mouth, and chin, then stretch the bands over your head and secure them comfortably as shown; one band on the upper back of your head, the other below the ears at the base of the neck. Adjust the mask to fit. Remember, you don’t want to be touching it during use so take the few seconds needed to make sure it is secure on your head and fits snuggly around your face so there are no gaps. 22-Nov-18

21 Fit test 22-Nov-18

22 ขั้นตอนการใส่ surgical mask
2 1 1 3 22-Nov-18 IC สถานีอนามัยอำเภอหางดง

23 หอผู้ป่วยแยกโรค/ ห้องแยกโรค

24 การทําความสะอาดห้องแยกโรค หอผู้ป่วยแยกโรค
การทําความสะอาดห้องแยกโรค หอผู้ป่วยแยกโรค ทําความสะอาดห้องเป็นประจําอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเน้นพื้นผิวโดยเฉพาะบริเวณใกล้ผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจับต้องบ่อย ๆ ด้วย 70 % Alcohol เช็ด ห้องน้ำให้ใช้ น้ำผสมผงซักฟอกทําความสะอาดตามปกติ หากมีเลือดหรือสารคัดหลั่งเปรอะเปื้อนชัดเจนให้เช็ดออกให้มากที่สุดด้วยกระดาษชําระแล้ว ใช้ 70 % Alcohol เช็ด หรือ 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ราดทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วจึงเช็ดถูด้วยน้ำยาผสม ผงซักฟอกทําความสะอาด การทําความสะอาดเมื่อจําหน่ายผู้ป่วย ในกรณีของห้อง AIIR ซึ่งมีการ ถ่ายเทอากาศมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ACH ให้เริ่มทําความสะอาดหลังจําหน่ายผู้ป่วยประมาณ 35 นาที โดยขณะที่ทําความสะอาดยังคงเปิดระบบไว้ตลอดตั้งแต่จําหน่ายผู้ป่วย ขณะทําความสะอาดและหลังทําความ สะอาดอย่างน้อยอีก 35 นาทีจึงจะรับผู้ป่วยรายต่อไปได้

25 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
บุคลากรประจําหน่วยส่งต่อ ติดต่อโรงพยาบาลปลายทางที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปรบการรักษาต่อ พร้อมทั้งให้ข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วยด้วย หรือเช็ดตามด้วย 70% Alcohol

26 ผู้ป่วยและญาติ ให้ผู้ป่วยสวม surgical mask ƒ ญาติที่ติดตามไปในรถพยาบาลควรมีจํานวนน้อยที่สุด หากเป็นไปได้ควรให้มารถอีกคันที่ไม่ใช่รถโดยสาร และหากจําเป็นต้องมารถพยาบาลคันเดียวกับผู้ป่วยให้สวม surgical mask อย่างเคร่งครัด

27 บุคลากรประจํารถพยาบาล
บุคลากรที่เดนทางไปกับผู้ป่วยจัดให้มีจํานวนน้อยที่สุดตามความเหมาะสม บุคลากรที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยระหว่างเดินทางให้สวม หน้ากาก N - 95 mask/P 100 ถุงมือ goggles, กาวน์แขนยาว โดยพิจารณาตามลักษณะการสัมผ้สกับผู้ป่วย พนักงานขับรถสวม surgical mask หากห้องโดยสารกับที่นั่งของพนักงานเป็นแบบแยกส่วนกัน ในระหว่างการเดินทางหากร่างกายสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยให้ใช้กระดาษชําระเช็ดออกให้มากที่สุด แล้ว เช็ดตามด้วย 70% Alcohol

28 รถพยาบาลและอุปกรณ์ ในห้องโดยสารของผู้ป่วยควรมีระบบระบายอากาศเพื่อถ่ายเทอากาศที่มีการปนเปื้อนเชื้อออกสู่ ภายนอกรถ ด้วยตัวดูดอากาศเหนือหลังคารถ ƒ มีอุปกรณ์ภายในรถพยาบาลเท่าที่จําเป็นต้องใช้ควรเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แล้ว ƒ อุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ถือเป็นขยะติดเชื้อ ต้องทิ้งในถุงขยะติดเชื้อ มัดปากถุงให้แน่นแล้วนําไปทําลาย ตามขั้นตอนของขยะติดเชื้อ ƒ หากมีเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยปนเปื้อน ภายในรถ ให้เช็ดบริเวณที่เปื้อนออกให้มากที่สุด ด้วยกระดาษชําระ แล้วราดบริเวณนั้นด้วย 70 % Alcohol นาน 30 นาทีแล้วเช็ดถูตามปกติ ƒ ในห้องโดยสารของผู้ป่วยควรมีระบบระบายอากาศเพื่อถ่ายเทอากาศที่มีการปนเปื้อนเชื้อออกสู่ ภายนอกรถ ด้วยตัวดูดอากาศเหนือหลังคารถ ƒ มีอุปกรณ์ภายในรถพยาบาลเท่าที่จําเป็นต้องใช้ควรเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง สําหรับอุปกรณ์ ที่ต้องใช้ซ้ําต้องทําความสะอาดหลังจากใช้แล้ว ƒ อุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ถือเป็นขยะติดเชื้อ ต้องทิ้งในถุงขยะติดเชื้อ มัดปากถุงให้แน่นแล้วนําไปทําลาย ตามขั้นตอนของขยะติดเชื้อ ƒ หากมีเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยปนเปื้อน ภายในรถ ให้เช็ดบริเวณที่เปื้อนออกให้มากที่สุด ด้วยกระดาษชําระ แล้วราดบริเวณนั้นด้วย 70 % Alcohol นาน 30 นาทีแล้วเช็ดถูตามปกติ ƒ เมื่อส่งผู้ป่วยแล้วในเที่ยวกลับไม่เปิดเครื่องปรับอากาศในห้องโดยสารผู้ป่วย เปิดหน้าต่างรถ และ ตัวดูดอากาศ เมื่อถึงโรงจอดรถให้ทําความสะอาดรถทันทีโดยเปิดประตูหน้าต่าง และท้ายรถ เจ้าหน้าที่ใส่เครื่องป้องกันร่างกาย เช่น ถุงมือ Surgical mask เช็ดความสะอาดห้องโดยสารด้วย น้ําผสมผงซักฟอกทําความสะอาดปกติบริเวณเตียงและพื้นผิวแนวระนาบให้เช็ดตามด้วย 70 % Alcohol หลังทําความสะอาดแล้วเปิดรถทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนเก็บรถเข้าที่ เพื่อรอรับ ผู้ป่วยรายต่อไป

29 รถพยาบาลและอุปกรณ์ เมื่อส่งผู้ป่วยแล้วในเที่ยวกลับไม่เปิดเครื่องปรับอากาศในห้องโดยสารผู้ป่วย เปิดหน้าต่างรถ และ ตัวดูดอากาศ เมื่อถึงโรงจอดรถให้ทําความสะอาดรถทันทีโดยเปิดประตูหน้าต่าง และท้ายรถ เจ้าหน้าที่ใส่เครื่องป้องกันร่างกาย เช่น ถุงมือ Surgical mask เช็ดความสะอาดห้องโดยสารด้วย น้ำผสมผงซักฟอกทําความสะอาดปกติบริเวณเตียงและพื้นผิวแนวระนาบให้เช็ดตามด้วย 70 % Alcohol หลังทําความสะอาดแล้วเปิดรถทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนเก็บรถเข้าที่ เพื่อรอรับ ผู้ป่วยรายต่อไป

30 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วย ขณะอยู่ในโรงพยาบาล
แนะนําให้ปฏิบัติเรื่องการทําความสะอาดมือ(Hand Hygiene) อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะการติดต่อของโรค และแนะนําให้หลีกเลี่ยงการทําให้สิ่งแวดล้อมโดยรอบปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบุคคลอื่นอยู่ร่วมห้อง จํากัดผู้เข้าเยี่ยม เท่าที่จําเป็น ห้ามผู้มีอาการ ILI หรือมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคเข้าเยี่ยมผู้ป่วย โดยทําป้ายแจ้งเตือน และ การให้คําแนะนําญาติก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยทุกครั้งเพื่อทราบการปฏิบัติตัว การใส่เครื่องป้องกันร่างกายที่เหมาะสม การสังเกตอาการผิดปกติหลังการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย มีการบันทึก ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของผู้เข้าเยี่ยมในหอผู้ป่วยเพื่อเป็นการติดตามผู้สัมผัสโรคต่อไป

31 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน
1. แนะนําเรื่องการทําความสะอาดมืออย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการติดต่อของโรค 2. สวมผ้าปิดปาก ปิดจมูกตลอดเวลายกเว้นเวลารับประทานอาหารและทํากิจธุระส่วนตัว 3. เวลาไอต้องปิดปาก ปิดจมูก ด้วยกระดาษชําระโดยต้องปิดถึงคาง ทิ้งกระดาษชําระในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หลังจากนั้นต้องล้างมือทุกครั้ง 4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคลในครอบครัว ไม่เข้าไปในที่ชุมชน เช่นตลาด ห้างสรรพสินค้า และให้หยุดงาน หยุดเรียนจนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อของโรค(14 วัน) 5. มาตรวจตามนัด หากมีอาการผิดปกติรีบมาโรงพยาบาลทันที

32 ข้อแนะนำประจำวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคเมอร์ส
รับผิดชอบต่อสังคม เมื่อมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ติดโรค หากมีอาการดังกล่าวภายใน 14 วัน ให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง ประชาชนที่ไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ไอ ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นโรคเมอร์ส ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาตามปกติ

33 ขอบคุณค่ะ & คำถาม ??


ดาวน์โหลด ppt Raviwan Omaree, RN. Infection Control Nurse : ICN Chomethong Hospital

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google