งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
รองศาสตราจารย์ดิเรก ควรสมาคม ครั้งที่ 4

2 บ่อเกิดที่มา : กฎหมายมหาชน
คำถาม : เราจะค้นหาแหล่งที่มา/บ่อเกิดของ “กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย”กฎหมายมหาชน ได้ที่ไหน ??? ที่ห้องสมุด?? ที่สวนสัตว์ ?? ที่อินเตอร์เน็ต/เพสบุ๊ค?? ที่นี่

3 ที่มา / บ่อเกิด กม.มหาชน
1. มาจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2. มาจาก จารีตประเพณี 3. มาจาก ศาลหรือองค์กรอื่น 4. มาจาก หลักกฎหมายทั่วไป

4 ที่มาของกฎหมายมหาชน

5 กฎหมายลายลักษณ์อักษร
บรรดากฎหมายที่เกิดจากการเขียนหรือการบัญญัติให้ปรากฏขึ้นเป็นตัวอักษร เป็นหนังสือ หรือเป็นตัวบทกฎหมายแต่ละฉบับ

6 กฎหมายลายลักษณ์อักษร
-รัฐธรรมนูญ -พระราชบัญญัติ, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ , ประมวลกฎหมาย -พระราชกำหนด -พระราชกฤษฎีกา -กฎกระทรวง กฎทบวง ประกาศกระทรวง ประกาศทบวง -ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎ และประกาศ คำสั่ง -กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น -มติคณะรัฐมนตรี ,หนังสือเวียนภายในหน่วยงาน

7 รัฐธรรมนูญ บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ
-กำหนดรูปแบบของรัฐ -ระบอบการปกครองของรัฐ -สถาบันและองค์กรการใช้อำนาจอธิปไตย -หลักประกันเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน -การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน -องค์กรตามรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

8 แนวความคิดเบื้องหลังรัฐธรรมนูญ
อำนาจอธิปไตย (Soveriengty) สัญญาประชาคม (Social Contract) การแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Power)

9 พระราชบัญญัติ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติตามระบบรัฐสภา) กำหนดเกี่ยวกับสิทธิอำนาจและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบแก่บุคคลและหน่วยงานของรัฐ ใช้ในการบริหารงานราชการตลอดจนเพื่อการบริการประชาชน อาจมีสภาพบังคับ

10 พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ --- กฎหมายตามเนื้อความ
พระราชบัญญัติ กฎหมายตามเนื้อความ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 เป็นต้น

11 พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ --- กฎหมายตามแบบพิธี
พระราชบัญญัติ กฎหมายตามแบบพิธี -พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2535 -พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 -พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 -พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551

12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
-พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการ เลือกตั้ง - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง - พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน (ดู มาตรา รัฐธรรมนูญ 2550)

13 ประมวลกฎหมาย ประมวลกฎหมายเป็นกฎหมายที่รวบรวมบรรดาเรื่องต่างๆไว้เป็นอย่างเป็นหมวดหมู่สามารถอ้างอิงถึงกันและกันได้ -ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา -ประมวลกฎหมายอาญาทหาร -ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลรัษฎากร

14 คำถาม ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายตามแบบพิธีหรือกฎหมายตามเนื้อความ ?? เพราะเหตุใด ??

15 พระราชกำหนด ใครออก = ฝ่ายบริหาร
ใครออก = ฝ่ายบริหาร เหตุในการออก = ฉุกเฉิน จําเป็น รีบด่วน ความปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ การภาษีอากรหรือเงินตรา ประเภท = 1.พระราชกำหนดทั่วไป 2.พระราชกำหนดเฉพาะ

16 ตัวอย่าง พ.ร.ก. พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
พ.ร.ก. การปฎิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544

17 พระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตาม
-รัฐธรรมนูญ -พระราชบัญญัติ หรือ -พระราชกําหนด

18 พ.ร.ฎ.ออกตาม รัฐธรรมนูญ พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ร.ฎ.เปิด-ปิดสมัยประชุมรัฐสภา พ.ร.ฎ.ขยายเวลาประชุม

19 พ.ร.ฎ.ออกตามพ.ร.บ. วางหลักเกณฑ์ วิธีการ ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ จำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ .. จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน รัฐบาลจะต้องออกเป็น พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ มาตรา ในท้องที่ใดเพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ก็ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา.... พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2547

20 กฎกระทรวง / ประกาศกระทรวง
หมายถึง บทบัญญัติที่รัฐมนตรีฯออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ เพื่อกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่น การขออนุญาต การกำหนดค่าธรรมเนียม หรือการกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ มาตรา 11 ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการ ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี …. กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต และหลักเกณฑ์และวิธีการขอ และออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันพ.ศ. 2545

21 ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎ ประกาศ คำสั่ง
พระราชบัญญัติต่างๆ ได้จัดตั้งคณะกรรมการและให้อำนาจไว้เพื่อให้คณะกรรมการหรือหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติออกกฎเกณฑ์เหล่านี้ เพื่อใช้ในทางปฏิบัติ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2546

22 ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎ ประกาศ คำสั่ง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบดังต่อไปนี้…(1) ห้ามจอดรถทุกชนิด ต่อมา เจ้าพนักงานจราจรจังหวัดสมุทรปราการ จึงออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรจังหวัดสมุทรปราการที่ 10/2550 เรื่อง การห้ามจอดรถในถนนสุขุมวิท ตั้งแต่กิโลเมตรที่ ถึงกิโลเมตรที่ เป็นต้น ถามว่าถ้านาย ก.จอดรถฝ่าฝืน.....???

23 ลำดับของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ พ.ร.บ, พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ,ประมวลกฎหมาย สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร -พระราชกำหนด -พระราชกฤษฏีกา - กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง -กฎเกณฑ์ของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ -มติคณะรัฐมนตรี -หนังสือเวียน แนวปฏิบัติภายในฝ่ายปกครอง

24 ลำดับของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายสูงสุด = รัฐธรรมนูญ 2. กฎหมายตามเนื้อความ/เนื้อหา = พ.ร.บ. ,ประมวล 3. กฎหมายลำดับรอง = พ.ร.ฎ. ,กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ,ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ กฎ ประกาศ คำสั่ง 4. กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น = - ข้อบัญญัติจังหวัด/กรุงเทพฯ - เทศบัญญัติ - ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

25 ศักดิ์หรือลำดับชั้นของกฎหมาย ได้แก่
ศักดิ์ของกฎหมาย ศักดิ์หรือลำดับชั้นของกฎหมาย ได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติ / พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ / พระราชกำหนดที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา /ประมวลกฎหมาย 3. พระราชกฤษฎีกา 4. กฎกระทรวง / ประกาศกระทรวง 5. กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ ข้อบังคับ อบต. เป็นต้น 6. ประกาศ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ กฎของหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการต่างๆ

26 ศาลรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ/พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ /พระราชกำหนดที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา/ประมวลกฎหมาย ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ

27 ศาลปกครอง 1.พ.ร.ฎ VS ขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ
2. หนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย ขัดหรือแย้งกับขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ ประกาศคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ VS ขัดหรือแย้ง พระราชบัญญัติ ข้อบังคับมหาวิทยาลัย VS ขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ

28 สรุปที่มาของกม.มหาชน : จากกม.ลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ, พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ,ประมวลกฎหมาย สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ พระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง -คำสั่ง ประกาศ กฎ ของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ -มติคณะรัฐมนตรี -หนังสือเวียน แนวปฏิบัติภายในฝ่ายปกครอง -กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น

29 จารีตประเพณี 1.เป็นเรื่องที่ประชาชนประพฤติปฏิบัติต่อกันเป็นประจำติดต่อกันมาสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน (องค์ประกอบภายนอก) 2.คนทั่วไปต่างเห็นพ้องกันหรือรู้สึกร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องจนต้องปฏิบัติตาม (องค์ประกอบภายในจิตใจ)

30 จารีตประเพณี (1) จารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ หรือธรรมเนียมปฏิบัติในรัฐธรรมนูญ (2) จารีตประเพณีในทางกฎหมายปกครอง คือ ระเบียบแบบแผนทางการบริหารราชการ

31 จารีตประเพณี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 7
“ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 22 (กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์) ภายใต้บังคับมาตรา 23 การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคสอง

32 จารีตประเพณีในทางกฎหมายมหาชน
- แพทย์รับราชการสามารถเปิดคลินิกส่วนตัว (นอกเวลาราชการได้) - การที่อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสามารถใช้เวลาราชการไปสอนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง - มติ ครม.ที่ห้ามข้าราชการเล่นแชร์เปียหวย กรณีไม่มีสภาผู้แทน ฯ ใช้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน…

33 ศาล หรือ องค์กรอื่น ศาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง / ศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง / ศาลยุติธรรม องค์กรอื่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ = กกต. ปปช. สตง. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ = อัยการ ,คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ,สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา

34 หลักกฎหมายทั่วไป (มหาชน)
ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (กม.เอกชน) -หลัก “สัญญาต้องเป็นสัญญาหรือบุคคลต้องปฏิบัติตามสัญญา” (Pacta Sunt Servanda) -หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน -หลักผู้ซื้อต้องระวัง ในกฎหมายมหาชน ??? ฎีกาที่ 912/2536 หากไม่มีการกำหนดให้องค์กรใดตัดสิน …….ก็เป็นหน้าที่ของศาล

35 คำพิพากษาฎีกาที่ 912/2536 ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลัก กฎหมายทั่วไป

36 คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2506 เมื่อยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอนและไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้

37 ตัวอย่างคำสั่ง/ระเบียบ ขัดกับกฎหมาย
คำสั่งขัดต่อกฎหมาย กฎหมาย พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช 2478 มาตรา 10 วรรคแรกบัญญัติว่า "เมื่อมีการร้องขอ ให้จดทะเบียนสมรสแล้ว ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้" คำสั่งตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 649/2496 “หญิงต่างด้าวมาร้องขอจดทะเบียนสมรสกับคนไทย” -ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและสำมะโนครัวของหญิงต่างด้าว -ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนบอกปัดไม่ยอมรับจดทะเบียนให้


ดาวน์โหลด ppt กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google