งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce
Chapter 11 The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce วิชา MIS อ. สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล

2 ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business )
กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีในลักษณะเครือข่าย(Internetworked Enterprise) ด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน (Enterprise Communication and Collaboration) หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจภายในองค์กร (Internal Business System)

3 แผนภาพจำลอง E-business
- - Teleconferencing - ERP

4 เครือข่าย Intranet

5 Intranet Intranet คือเครือข่ายสารสนเทศส่วนบุคคล ซึ่งใช้มาตรฐานการติดต่อสื่อสารแบบเดียวกันกับเครือข่าย Internet แต่แตกต่างกันที่ Intranet นั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับสารสนเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง Server ที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นสังกัดอยู่เท่านั้น ต่างกับเครือข่าย Internet ซึ่งอนุญาติให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆสามารถรับสารสนเทศจากเครื่อง Server ใดใดก็ได้ในเครือข่าย ในเครือข่าย Intranet ผู้ใช้ภายนอกจะไม่สามารถเข้ามาเรียกใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในเครือข่ายได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จากภายนอกจะถูกขัดขวางโดย Fire Wall ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบ Packageที่ส่งมาตามสายสัญญาน เพื่อป้องกันไม่ให้ Packageจากนอกเครือข่ายเข้ามาถึงเครื่องที่เก็บสารสนเทศต่างๆไว้

6 ข้อดีของ Intranet 1. สร้างความเป็นเอกเทศให้กับเครือข่ายตนเองได้
2. ขอบเขตกว้างกว่า LAN เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างวง LAN ด้วยกันได้ 3. ข้อจำกัดด้านระยะทางมีน้อยกว่าเครือข่าย LAN เนื่องจากอาศัยกลไกแบบเดียวกันกับเครือข่าย Internet นั่นคือใช้งานเว็บเพจ และใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเป็น TCP/IP

7 เครือข่าย Extranet

8 Extranet Extranet เป็นเครือข่ายสารสนเทศที่เกิดจากการเชื่อมโยง เครือข่าย Intranet ตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยอาศัยกลไกของเครือข่าย Internet เพื่อส่งสารสนเทศผ่าน Internet ไปยังเครือข่าย Intranet ที่ต้องการได้

9 Extranet ข้อดี สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครือข่าย Intranet ด้วยกันได้ ทำให้ข้อจำกัดด้านระยะทางมีน้อยลง ข้อเสีย เสี่ยงต่อการเจาะระบบของ Cracker เนื่องจากเปิดโอกาสให้มีการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet

10 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
E-commerce หมายถึง เทคโนโลยีที่เป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ตัวบุคคล องค์กร หรือตัวบุคคลกับองค์กร ทั้งนี้เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร E-commerce หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ข้อมูลข่าวสารที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างกันนั้น สามารถที่จะช่วยสนับสนุนให้บรรลุผลของการนำเสนอสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล องค์กร หรือระหว่างตัวบุคคลกับองค์กร E-commerce เช่น ATM (Automatic Telling Machine) EDI (Electronic Data Interchange) (B2B) Web site ซื้อ-ขายสินค้า

11 กราฟแสดงการเจริญเติบโตของ E-commerce แบบ B2C

12 ข้อดีของ E-commerce 1. เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง 2. ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก 3. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย 4. ตัดปัญหาด้านการเดินทาง 5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดยสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก 6. บริษัทผู้ผลิตสามารถขายสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง

13 ข้อเสีย ของ E-commerce
1. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2. กฎหมายบางมาตรา และด้านภาษียังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมเพียงพอ 3. ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยี Internet 4. ลูกค้ายังไม่มีความเชื่อมั่นในสินค้า เนื่องจากไม่สามารถจับต้องสินค้าได้

14 การเผยแพร่เนื้อหาบน Web
1. การจดทะเบียนชื่อโดเมน 2. การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง กรณีที่ไม่มีเครื่อง Server เป็นของตนเอง อาจเป็น Host ธรรมดา หรือ Cloud hosting 3. การอัพโหลดข้อมูลขึ้นสู่เว็บไซท์ การอัพโหลดข้อมูลไปจัดเก็บไว้บนเว็บไซท์มีด้วยกันหลายวิธี เช่นวิธี ใช้ โปรแกรม WS_FTP Pro, FileZilla

15 ตัวอย่าง ผู้ให้บริการโฮสติ้งด้วยระบบ Cloud Computing เรียกว่า Cloud hosting

16 รูปแบบการดำเนินธุรกิจ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นจะมีการดำเนินธุรกิจในหลายรูปแบบซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น 3 แบบ ด้วยกัน คือ (1) บริคแอนด์มอร์ต้า (Brick and Mortar) หมายถึง กิจการที่มีอาคารสถานที่เป็นอิฐและปูนประกอบการค้าขายแบบ "ออฟไลน์ (Off-line)" คือไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เนตนั่นเอง (2) บริคแอนด์คลิ้ก (Brick-and-Click) หมายถึง กิจการที่มีอาคารสถานที่เป็นอิฐและปูน ซึ่งเดิมทีเป็นธุรกิจแบบบริคแอนด์มอร์ต้าแต่ต่อมาก็นำเอาอินเตอร์เนตไปใช้ในการทำอีคอมเมิร์ซ จึงขายของทั้งแบบออฟไลน์และ "ออนไลน์ (On-line)" (3) คลิ้กแอนด์คลิ้ก (Click-and-Click) หมายถึง กิจการที่เป็นกิจการดอทคอมล้วนๆ ไม่เคยมีอาคารสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจมาก่อน แต่อยู่ในอินเตอร์เนตเพียงอย่างเดียว โดยใครๆ ที่สนใจจะซื้อสินค้าก็สามารถเข้าไปใช้บริการได้เพียงแต่คลิ้กหรือกดเข้าไปเท่านั้น

17 Classification of E-Commerce
1.Business-to-Consumer (B2C) เป็นการค้าระหว่างบริษัทผู้ขายสินค้าหรือบริการกับผู้บริโภคเช่น Amazon.com 2.Business-to-Business (B2B) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท - เช่น ระบบ EDI, ระบบ SCM, ระบบ CRM - 3.Consumer-to-Consumer (C2C) เป็นการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น - eBay ซึ่งเป็น Web site ขนาดใหญ่ที่ขายของด้วยวิธีการประมูล เรียกว่า “อีอ็อกชัน” (Electronic Auction) - ขายสินค้ามือสอง

18 1.Business-to-Consumer (B2C)
Amazon.com ผู้ซื้อผ่าน Internet ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่มีคลังเก็บสินค้า (เนื่องจากทางร้านปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริษัทผู้พิมพ์หนังสือเป็นคนจัดการเอง)

19 2. Business-to-Business (B2B)
ระบบ EDI(Electronic Data Interchange) สำหรับใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจระหว่างกันในระดับหน่วยงานหรือองค์กรผ่านทาง On-line หรือ Internet เมื่อก่อนข้อมูลระบบ EDI จะถูกส่งผ่านเครือข่าย VAN (Value Added Network) ระหว่างคู่ค้า ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันเครือข่าย Internet ได้ถูกนำมาใช้ในการส่งผ่านข้อมูลของระบบ EDI (แทนการสร้างเครือข่ายส่วนตัวเหมือนแต่ก่อน) ซึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบลดลงมากเมื่อเทียบกับอดีต ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management :SCM) ระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management :CRM)

20 การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI)
การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนึงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึง สำหรับเอกสารเช่น คำสั่งซื้อ ใบกำกับสินค้า ใบเสนอราคา โดยระบบ EDI มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 อย่างคือ 1. การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ 2. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล ด้วยสององค์ประกอบนี้ทำให้ธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก

21 ประโยชน์ทางธุรกิจจาก EDI
ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำในการรับ-ส่งเอกสาร สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจ เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

22 Electronic Auction ใน ebay
3. Consumer-to-Consumer (C2C) Electronic Auction ใน ebay

23 e-Auction คือ อะไร e-Auction คือ กระบวนการประมูลซื้อขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อจัดการระบบการประมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาและจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ e-Auction คือการเสนอราคาประมูลซื้อ หรือประมูลขายบนระบบ on-line ผ่านเครือข่าย Internet โดยเสนอราคาแบบ Real Time ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

24 ในปัจจุบันนี้มีการประมูลออนไลน์ที่นิยม 2 วิธี คือ
Reverse Auction (การประมูลเพื่อซื้อ) ผู้ซื้อเป็นผู้เริ่มการประมูลและกำหนดความต้องการให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งกัน ผู้ขายที่สามารถเสนอราคาขายได้ต่ำที่สุดเป็นผู้ชนะการประมูล สำหรับภาครัฐมักจะนิยมใช้แบบนี้ Forward Auction (การประมูลเพื่อขาย) ผู้ขายเป็นผู้เริ่มการประมูลและกำหนดความต้องการให้ผู้ซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งกัน ผู้ซื้อที่สามารถเสนอราคาซื้อได้สูงที่สุดเป็นผู้ชนะการประมูล

25

26 การค้าที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centered Retailing )
1. การขายตรงผ่าน web (Direct sales over the web) 2. การตลาดแบบโต้ตอบได้ (Interactive marketing and personalization) 3. การให้ลูกค้าบริการตนเอง (Customer self-service)

27 1. การขายตรงผ่าน web (Direct sales over the web)
- บริษัท ผู้ผลิตสินค้าสามารถขายสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยบริษัทผู้แทนจำหน่าย หรือร้านค้าปลีก - บริษัทสายการบินต่างๆ สามารถขายบัตรที่นั่งโดยสารแก่ลูกค้า ผ่าน Web site ของตนเอง โดยไม่ต้องเสียค่าดำเนินการให้แก่บริษัทจัดท่องเที่ยว

28 The benefits of disintermediation to the consumer

29 2. การตลาดแบบโต้ตอบได้และการปรับให้เหมาะกับบุคคล (Interactive marketing and personalization)
Amazon.com จะมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือที่จะแนะนำให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย เช่น ลูกค้าที่ซื้อหนังสือเล่มนี้แล้วมักจะซื้อหนังสือเล่มนี้ด้วย (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ edi10, P105)

30 3. การให้ลูกค้าบริการตนเอง (Customer self-service)
เช่น สายการบินต่างๆ ได้สร้าง Web site ของตนเองขึ้นมาสำหรับลูกค้าสามารถตรวจดูเวลาเที่ยวบิน แผนที่นั่งในตัวเครื่องบิน สิทธิประโยชน์ของลูกค้า และซื้อบัตรที่นั่งโดยสารเครื่องบินได้

31 การประยุกต์ใช้ (Application)
1. ด้านการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing) เป็นการขายสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลาง เช่น ebay.com 2. ด้านการโฆษณา (Online Advertisement) 3. ด้านการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction(E-Auction)) เช่น dellauction.com, ebay.com 4. ด้านการให้บริการ (E-Service) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น การชำระเงิน online (Online Bill-Paying), การท่องเที่ยว (Travel and Tourism) เช่น krungsri.com

32 การประยุกต์ใช้ (Application)
5. ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) เช่น gprocurement.go.th (จัดซื้อ จัดจ้างของรัฐ) 6. ด้าน Mobile commerce (m-commerce) เป็นการพัฒนารูปแบบใหม่ของการนำ E-Commerce มาประยุกต์ใช้ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารชนิดไร้สาย (Wireless Communication) สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่อง PDA มาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย Internet เพื่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการ เช่น การแจ้งค่าบริการ การชำระเงิน การจองตั๋ว เป็นต้น

33 M-Commerce Services and Applications
Location-Based Services เช่น ระบบ Global positioning systems (GPS) เป็นโปรแกรมนำทางในโทรศัพท์มือถือ Banking and Financial Services สามารถใช้โทรศัพท์มือถือดูยอดเงินคงเหลือ โอนเงิน และทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆได้ Wireless Advertising สามารถโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือ Games and Entertainment สามารถ Download เกมส์ เพลง และอื่นๆได้ จากโทรศัพท์มือถือ

34 Mobile Commerce นำมาประยุกต์ได้หลายรูปแบบเช่น
M-Billing เช่น การแจ้งค่าบริการ, การชำระเงิน M-Care เช่น บริการลูกค้าสัมพันธ์, ดูแลสุขภาพ M-Entertainment เช่น เกมส์, เพลง, วิดีโอ M-Messaging เช่น การติดต่อสื่อสาร M-Commerce เช่น การซื้อขายสินค้า, การจองตั๋ว M-Banking เช่น การโอนเงิน, การชำระเงิน

35 ตัวอย่างของ Mobile commerce ทางด้าน M-Banking
KTB M-Payment  KTB Mobile Payment (M-Payment) ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ด้วยบริการชำระค่าซื้อสินค้า/บริการ รวมทั้งการโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของท่าน ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ

36 รายได้ทั่วโลกจาก M-commerce ปี 2000-2012

37 SSL (Secure socket layer) สำหรับสร้างความปลอดภัยใน Internet

38 ขั้นตอนการชำระบัตรเครดิตทาง Internet ที่ปลอดภัย
1. ลูกค้าใส่ข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางเว็บไซต์ของร้านค้า ร้านค้าจะไม่เห็นข้อมูล 2. ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังธนาคารที่ทางฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่ (Acquiring Bank) 3. Acquiring Bank จะทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออก บัตร (Issuing Bank) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรว่ามีวงเงินพอหรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง 4. Issuing Bank ก็จะส่งข้อมูลกลับไปบอกยัง Acquiring Bank 5. Acquiring Bank จึงส่งข้อมูลกลับไปยังร้านค้าอีกทอดหนึ่ง 6. ร้านค้าก็จะแจ้งกลับมายังผู้ซื้อเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อต่อไป 7. ลูกค้ายืนยันคำสั่งซื้ออีกครั้ง ข้อมูลจะถูกส่งมายังธนาคาร Issuing Bank 8. การชำระเงิน Acquiring Bank จะทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคาร Issuing Bank 9. Issuing Bank จะโอนเงินไปยัง Acquiring Bank สู่บัญชีของร้านค้า 10. ร้านค้าจึงจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ 11. ทางธนาคารผู้ออกบัตรก็จะมาเรียกเก็บเงินกับเจ้าของบัตรตามระยะเวลาที่กำหนดต่อไป องค์ประกอบในการชำระเงิน 1.ลูกค้า(Customer) 2.ร้านค้า(Merchant) ธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ (Acquiring Bank) 4.ธนาคารผู้ออกบัตร (Issuing Bank) 

39 ระบบการชำระเงินในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Payment System) 7 วิธี
1. Digital credit card payment systems บริการที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการจ่ายเงินด้วยCredit card บน Internet ที่ช่วยรักษาความลับของข้อมูลที่ถูกส่งระหว่างผู้ใช้ ส่งไปยัง Web Site ของผู้ขายสินค้า และส่งไปประมวลผลที่ธนาคาร ตัวอย่างระบบเช่น eCharg

40 2.Electronic Cash หรือ e-cash หรือ digital cash
เป็นรูปแบบของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่เกี่ยวข้องเงินสกุลตราใดใด เป็นเพียงตัวเลขที่สร้างขึ้นใช้แทนเงินสด และต้องมีผู้รับรองค่าของเงินเหล่านี้ ผู้ใช้จะต้องใช้ Software พิเศษในการแลกเปลี่ยนเงินกับผู้ใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์คนอื่น บน Internet หรือกับร้านค้าที่ยอมรับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Flooz.com, eCoin.net, internetCash.com

41 3. Peer-to-peer payment systems
ผู้ใช้จะต้องเริ่มต้นด้วยการส่งเงิน (ด้วยรูปแบบใดก็ตาม) ไปยังWeb site ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการชำระเงินระหว่างบุคคลโดยเฉพาะ ส่วนผู้รับเงินสามารถขอรับเงินได้โดยการส่งหมายเลขบัญชีธนาคารไปให้ Website นี้ซึ่งจะจัดการโอนเงินให้ตามราคาสินค้า เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการส่งเงินไปยังบริษัทผู้ขายสินค้าหรือบุคคลใดๆที่ไม่สามารถจะใช้บัตรเครดิตได้ เช่น PayPal, Billpoint, Yahoo’s PayDirect

42 4. Digital wallet (กระเป๋าเงินดิจิตอล)
เช่นระบบ MSN Wallet, MasterCard Wallet, AOL Quick Checkout

43 5. Digital checking Digital checking มีราคาถูกกว่า Credit Card แต่เร็วกว่าเช็คกระดาษจริง และเช็คอิเล็กทรอนิกส์จะถูกนำมาเข้ารหัสข้อมูลด้วย ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ที่จะสามารถนำไปตรวจสอบความถูกต้องได้และสามารถนำมาใช้ชำระเงินในการซื้อสินค้าออนไลน์ เหมาะสำหรับ (B2B E-Commerce) เช่น Western Union MoneyZap และ ECheck

44 6. Smart card เป็นบัตรขนาดเท่าบัตรเครดิตแต่จะฝังชิฟที่เก็บข้อมูลไว้ข้างในเช่น เงินสดอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูล ประวัติสุขภาพ ข้อมูลแสดงตน หมายเลขโทรศัพท์ใช้สำหรับชำระเงินในร้านค้าทั่วไป หรือใน Internet ได้ เช่น Mondex Smart Card

45 7. Electronic billing presentment and payment systems
การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อสินค้าแบบออนไลน์และแบบปกติทั่วไป หรือการจ่าย bill รายเดือน เช่น CheckFree, Yahoo Bill Pay, MSN Bill Pay

46 K-Payment Gateway K-Payment Gateway เป็นบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ในการซื้อขาย สินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรืออี-คอมเมิร์ซ โดยรับบัตรวีซ่า บัตรมาสเตอร์การ์ด และบัตรเจซีบีที่ออกโดยธนาคารต่างๆ ทั่วโลก สามารถรองรับการอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตแบบ Real-Time ตลอด 24 ชั่วโมง และรองรับการชำระเงินได้ถึง 35 สกุลเงินทั่วโลก (Multi Currency) ด้านความปลอดภัย K-Payment Gateway มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทั้งของร้านค้าและผู้ถือบัตร ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ด้วย SSL 128 bits, การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานและ Firewall ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบ Verified by VISA และ MasterCard SecureCode ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการรับรายการสั่งซื้อของร้านค้า ทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

47 กรณีศึกษาที่ใช้บริการ Payment Gateway

48 เพย์พาลคืออะไร? เพย์พาลทำงานอย่างไร?
เพย์พาล เป็นบริษัทของอีเบย์ และเป็นผู้นำด้านระบบการชำระเงินออนไลน์ระดับโลก ซึ่งมีบัญชีเปิดใช้งานประมาณ 70 ล้านบัญชีทั่วโลก1 ด้วยปริมาณการชำระเงินรวมทั้งหมด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.2 ล้านล้านบาท) ในปี 2008 ซึ่งคิดเป็น 9% ของมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก และ 15% ของมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกา เพย์พาลทำงานอย่างไร? เพย์พาลเป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ครบวงจรที่ช่วยให้บุคคลหรือหน่วยงานธุรกิจใดๆ ที่มีที่อยู่อีเมล์สามารถรับส่งเงินได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพย์พาลช่วยให้ผู้ที่ทำการค้าเสนอทางเลือกในการชำระเงินให้กับผู้ซื้อสินค้าได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิต การโอนเงินผ่านธนาคารชั้นนำ และอีกมากมาย

49 PayPal PayPal สำหรับผู้ซื้อ
4. เงินที่คุณชำระจะถูกโอนไปให้ผู้ขายทันที

50 PayPal PayPal สำหรับผู้ขาย
1. ไม่ว่าใครก็สามารถรับชำระเงินออนไลน์ได้ การติดตั้ง PayPal ลงในหน้าสินค้า eBay หรือเว็บไซต์ของคุณนั้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว 2. รับชำระเงินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต การโอนเงินผ่านธนาคาร หรือโอนเข้ายอดคงเหลือบัญชี PayPal 3. ผู้ขายได้รับเงินทันทีและสามารถจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อได้อย่างรวดเร็ว 4. คุณสามารถถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของคุณ หรือเก็บเงินดังกล่าวไว้เป็นยอดคงเหลือบัญชี PayPal เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าออนไลน์ในภายหลังก็ได้

51 บริการชำระเงินออนไลน์
PAYSBUY คืออะไร  ( PAYSBUY คือบริการชำระเงินออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้คุณสามารถส่งเงินไปยัง ผู้รับเงินปลายทางได้อย่างง่ายดายไม่ต่างกับการส่งอีเมล์ โดยคุณสามารถส่งเงินให้บุคคลใดก็ตามที่มีที่อยู่อีเมล์และมีบัญชีธนาคารในประเทศไทย

52 Virtual World Virtual World คือ
Computer-based simulated environment intended for its users to inhabit and interact via graphical representations called avatars.

53 Virtual World (โลกเสมือน)
เป็นโลกที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ โดยสร้างสภาพแวดล้อมเลียนแบบโลกของจริง และจะมีตัวละครที่ใช้ชีวิตใน Virtual World เรียกว่า “Avatar” เช่น Web Site ของ Second Life หรือ ปัจจุบันได้มีผู้เล่นใช้ Second Lift สร้างรายได้ขึ้นมาได้ เช่น Mike Mikula, อายุ 17 ปี ได้ใช้ graphic design tools เพื่อที่จะสร้าง virtual building ซึ่งตัว avatar ของเค้าได้ช่วยให้เค้าสร้างรายได้เดือนละ $4,000 EC 2010,P61 และ MIS,P92

54 Second life Second Life คือ โลกเสมือนจริง 3 มิติ ที่ถูกสร้างโดยผู้เล่นเอง ผู้เล่นนั้นสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ สามารถสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ตึกอาคาร ยานพาหนะ เครื่องผ้า จนไปถึงของชิ้นเล็กๆ ผู้เล่นสามารถใส่จินตนาการสร้างอะไรก็ได้ที่ second life มากกว่านั้นแล้ว ของแต่ละอย่าง รวมถึงตัวผู้เล่น หรือ ร่างสมมติ (avatar) สามารถใส่ script ลงไปเพื่อสร้างลักษณะต่างๆได้ เช่น มือถือก็ใส่ script ให้โทรได้ บอลลูนก็ใส่ script ให้ลอยได้ ร่างสมมติ (avatar) ก้อใส่ script ให้บินสูงเท่าไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม second life ไม่ได้ถูกตัดขาดจากโลกเราเลย มันถูกเชื่อมต่อกัน ธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากมายเข้าไปอยู่ใน โลก second life เพื่อโปรโมตสินค้าใหม่ จัดนิทรรศการ รวมถึง ทำงานประจำวันกันในโลกนั้น มีสิ่งมากมายเกิดขึ้นใน second life และเหล่านี้เองที่ทำให้ second life มีประชากรเพิ่มขึ้นทุกๆวัน ก็เพราะแทบทุกอย่างในโลกแห่งนี้ ผู้สร้างก็คือเราๆท่านๆนี้เอง การเพิ่มจำนวนผู้เล่น Second Life นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับโลกธุรกิจใน Second Life เพราะทำให้รายได้ในโลกจริงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากตัวผู้เล่น Avatar ต่างๆ ต้องใช้จ่ายเงิน (Linden dollar) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเอง ลงทุนทางธุรกิจ หรือใช้เพื่อความสวยความงามต่างๆ เป็นต้น แล้วเงินนั้นก็สามารถแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินUS dollar จริงๆได้อีกด้วย

55

56 E-Commerce และกฎหมาย

57 กฏหมายที่จะเอื้ออำนวยต่อการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฏหมายที่จะเอื้ออำนวยต่อการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้ 1. กฏหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Law) 2. กฏหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Law) 3. กฏหมายลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature Law) 4. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)

58 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔

59 Electronic Signature An electronic signature is an electronic sound, symbol, or process, attached to or logically associated with a contract or other record and executed or adopted by a person with the intent to sign the record. ลายมือชื่ออิเลคทรอนิกส์คือ เสียง สัญลักษณ์ หรือกระบวนการ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกแนบหรือเชื่อมโยงกับสัญญา หรือบันทึกอื่นๆ อย่างมีเหตุมีผล และถูกใช้งานหรือเอาไปใช้โดยบุคคลที่ต้องการเซ็นชื่อลงในบันทึกนั้น

60 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

61 ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)
Digital Signature เป็นสิ่งที่แสดงยืนยันตัวบุคคล (เจ้าของ ) และ (ข้อความใน ) ว่า นั้นได้ถูกส่งมาจากผู้ส่ง คนนั้นจริงๆ และข้อความไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและแก้ไข

62 ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)

63 ประโยชน์ของลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)
สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ส่งข้อมูลเป็นตัวจริง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับคู่ค้าว่าทำธุรกิจกับบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาไม่ได้มีการดัดแปลงหรือแก้ไข ปกป้องข้อมูลให้เป็นความลับจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต ปกป้องสิทธิจากบุคคลที่จงใจจะทำผิดสัญญา ในกรณีที่ผู้ส่งทำสัญญาโดยมีการใช้ลายมือชื่อดิจิตอลแล้ว และผู้ส่งจะทำผิดสัญญาโดยบอกว่าไม่ได้ส่งข้อมูลและทำสัญญากับผู้รับ ผู้รับสามารถใช้ลายมือชื่อดิจิตอลเป็นหลักฐานในการเอาผิดทางกฎหมายได้

64 ปัญหาในการประกอบกิจการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศยังมีไม่เพียงพอ 2. ปัญหาในเรื่องความปลอดภัย เช่น ความปลอดภัยในการส่งข้อมูลทางโครงข่ายโทรคมนาคม 3. ปัญหาในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 4. ปัญหาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฏหมาย ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน

65 ปัญหาข้อกฏหมายของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถปรากฏได้ในรูปลักษณะหลายประเภท เช่น คลื่นแม่เหล็กฟ้า (Electromagnetic) ข้อมูลที่อยู่ใน Hard disk ข้อมูลที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กฏหมายไม่ควรที่จะวางข้อจำกัด ในการรับฟังพยานหลักฐาน โดยเหตุผลเพียงเพราะเป็นข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์

66 ปัญหาข้อกฏหมายของการนำเอาลายมือชื่อดิจิตอลและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้
เนื่องจากเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถปรากฏได้ในรูปลักษณะหลายประเภท เช่น คลื่นแม่เหล็กฟ้า (Electromagnetic) ข้อมูลที่อยู่ใน Hard disk ข้อมูลที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นการยากที่จะระบุว่า เอกสารส่วนใดเป็นต้นฉบับ หรือสำเนาเอกสาร ทางออกคือ กำหนดกลไกทางกฏหมายให้ชัดเจน ในการยืนยันความถูกต้องของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว

67 ปัญหาข้อกฏหมายของการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
1. ปัญหาที่เกิดจากเงื่อนไขของสัญญา 2. ควรมีกฏหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 3. ปัญหาในเรื่องการบอกเลิกการชำระเงิน 4. ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 5. ปัญหาในเรื่องของการที่เครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์เกิดความบกพร่อง 6. ปัญหาของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด

68 Intranet Intranet คือเครือข่ายสารสนเทศส่วนบุคคล ซึ่งใช้มาตรฐานการติดต่อสื่อสารแบบเดียวกับเครือข่าย Internet แต่แตกต่างกันตรงที่ Intranet นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะรับสารสนเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง Server ที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นสังกัดอยู่เท่านั้น ในเครือข่าย Intranet ผู้ใช้จากภายนอกจะไม่สามารถเข้ามาใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในเครือข่ายได้

69 Intranet กับ Electronic Business
เนื่องจากในองค์กรอาจมีหลายระบบ หลาย platform ซึ่งแต่ละระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ ดังนั้นการพัฒนา Web-based application ที่ใช้ภายในองค์กร ช่วยให้การติดต่อเป็นระบบเดียวกันทั้งหมดองค์กร Web-based application ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในองค์กร สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยการใช้สื่อ เช่น ตัวอักษร เสียง และวีดีทัศน์ Software ที่สนับสนุน ระบบ Intranet ในองค์กร เช่น - Outlook Express ( ) - Lotus Note( ,ข่าวสาร และข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรืออื่นๆ) - Web-based application ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในองค์กรเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ

70 1. ระบบ Intranet สำหรับฝ่ายการเงินและการบัญชี
การประยุกต์ระบบ Intranet เข้ากับการทำ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business) 1. ระบบ Intranet สำหรับฝ่ายการเงินและการบัญชี เช่นระบบ Intranet ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนสำหรับพื้นที่ชนบท และชุมชนขนาดเล็กให้แก่พนักงานจำนวน 7,200 คน พนักงานสามารถใช้ระบบในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ระบบ Intranet ที่สามารถดูรายงานและการวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทสำหรับผู้บริหาร

71 การประยุกต์ระบบ Intranet เข้ากับการทำ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business)
เช่น ประกาศข่าวสารประจำสัปดาห์ผ่าน , ดูสารบัญพนักงาน , แนะนำบริษัทสำหรับพนักงานใหม่, ดูรายวิชาในการอบรม, ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องต่างผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ และผ่าน

72 การประยุกต์ระบบ Intranet เข้ากับการทำ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business)

73 การประยุกต์ระบบ Intranet เข้ากับการทำ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
ระบบ Intranet ช่วยในการสร้าง Web site ที่มีการปรับปรุงข้อมูลทุกๆนาที ผู้ตรวจสอบคุณภาพสามารถตรวจสอบ สถานการณ์ทำงานของเครื่องจักรกลได้จาก Web site (Intranet) นี้

74 ตัวอย่าง Outlook Express

75 อ้างอิง

76 Assignment 1. หา Case Study E-commerce และวิธีการจ่ายเงินของ E-commerce นี้ 2. หา Case Study ของ M-Commerce พร้อมทั้งการทำงานในระบบ ให้เลือกทำ 1 ข้อ ให้ทุกท่าน load ข้อมูลระบบการชำระเงินที่: อ้างอิง: ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 วันที่ 25/01/2554


ดาวน์โหลด ppt The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google