งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดบริการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดบริการตั้งครรภ์ไม่พร้อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดบริการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ศูนย์ OSCC

2 ทำไม่ต้องสนใจเรื่อง..ผู้หญิงท้องไม่พร้อม
อัตราการตั้งครรภ์ของเด็กเยาวชน ในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลกระทบที่ตามมาจาก การตั้งท้องไม่พร้อม ของเด็กหรือผู้หญิงมี หลายด้าน ร้อยละ 60 ไม่ตั้งใจและไม่แน่ใจ - การทอดทิ้งเด็กทารกไว้ในที่สาธารณ หรือในโรงพยาบาล - การบาดเจ็บ พิการ ตายจากการพยายามทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย - การทำร้ายเด็ก ทารุณเด็ก ยกเด็กให้คนอื่น ฝากครรภ์ช้า/ไม่ฝาก - ปัญหาทางสังคม จิตใจ เศรษฐกิจ หรือเคยคิดฆ่าตัวตาย

3 ผลกระทบจาก..การตั้งครรภ์ของแม่ที่ไม่พร้อม
ปัญหาต่อสุขภาพ ของแม่และเด็กที่เกิดมา สภาพร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ ทั้งการเจริญเติบโต ของแม่ที่ยังมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ปัญหาทางสาธารณสุข พบว่า แม่วัยรุ่นยังขาดวุฒิภาวะในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์และการคลอดที่ชัดเจน ปัญหาต่อสังคม ซึ่งถือเป็นปัญหาลูกโซ่ใหญ่ทางสังคม ทั้งปัญหาการทำแท้งไม่ปลอดภัย การทอดทิ้งและทำร้ายเด็ก รวมถึงปัญหาการขาดวุฒิภาวะและความพร้อมที่จะเลี้ยงเด็ก นำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาต่อภาครัฐ การดูแลแม่วัยรุ่น มีค่าใช้จ่ายในแต่ละราย/ปี ส่งผลให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3-4 ปี หรือยาวนานกว่า

4 นโยบายและยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง
นโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยเจริญพันธ์แห่งชาติ พ.ศ มุ่งเป้าหมายระยะยาว คือ * สู่การพัฒนาคุณภาพประชากร เริ่มตั้งแต่การเกิด โดยมี การเตรียมความพร้อมของพ่อ-แม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์ การดูแล ครรภ์ การคลอด และหลังคลอดทั้งแม่และทารก โดยการเกิดที่มีคุณภาพ ต้องเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ที่ มีความพร้อมและตั้งใจ มีนโยบายให้ความสำคัญกับ ทรัพยากรบุคคลและ บริการ

5 ปัญหาจากแม่..ที่ไม่พร้อม การตั้งครรภ์ของแม่ที่ไม่มีความพร้อม ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งปัญหาดังกล่าว ยังเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อระบบสังคม รวมถึงรัฐสวัสดิการที่ รัฐบาลต้องจัดหา และที่สำคัญคือ การพัฒนาประชากรของประเทศ เนื่องจาก ปัญหาแม่ที่ไม่ความพร้อม ในการเลี้ยงดูบุตร ย่อมส่งผลต่อการเติบโตและการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ 

6 สาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อม..?
แยกทางกับคู่ ถูกทอดทิ้ง ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบการตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยและขาดการวางแผนชีวิตที่ดี ไม่มีการคุมกำเนิด และไม่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิด หรือไม่ตระหนัก ไม่มีงานทำ รายได้ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงบุตร การตั้งครรภ์นอกสมรส ไม่สามารถเปิดเผยการตั้งครรภ์ต่อสังคมหรือครอบครัวได้ หรือการถูกข่มขืน ต้องการศึกษาหรือทำงานต่อ การคุมกำเนิดล้มเหลว(คุมแต่พลาด)

7 วิธีการคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิด ( 1แท่ง 3 ปี) ยาฉีดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน ห่วงอนามัย (เหมาะสำหรับบางกรณี)

8 ปัญหาการคุมกำเนิด ของวัยรุ่น
ไม่ใช้การคุมกำเนิด ไม่ตระหนักเรื่องนี้ ใช้การคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง ไม่สามารถเข้าถึงบริการ มีความเชื่อหรือเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการคุมกำเนิด (วัยรุ่น1ใน 3ไม่ป้องกันการตั้งครรภ์)

9 การให้บริการกับผู้ประสบปัญหา
เป็นมิตรและได้มาตรฐาน (สธ.) เข้าถึงง่าย ไม่ยุ่งยาก ลดความอาย มีความเป็นส่วนตัว เหมาะกับการพูดคุย จัดสถานที่เฉพาะ ควรแยกวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ ผู้ให้บริการมีทัศนคติในเชิงบวก เปิดกว้าง

10 การบูรณาการช่วยเหลือ ปรึกษาทางเลือกกับ ศูนย์พึ่งได้(OSCC)

11 การจัดการกับปัญหา เพื่อหาแนวทาง หรือวางแผนรองรับกับ ปัญหาใหม่ๆ
การช่วยเหลือ แก้ไข การป้องกัน การบำบัดฟื้นฟู และการพัฒนา ต้องเชื่อมโยงความเข้าใจกับทุกระบบที่เกี่ยวข้อง + การประสานงานอย่างใกล้ชิดในทุกวิชาชีพ เพื่อหาแนวทาง หรือวางแผนรองรับกับ ปัญหาใหม่ๆ

12 แนวทางการดำเนินงาน 1. ปรับเปลี่ยนทัศนคติ/พัฒนาศักยภาพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2. จัดตั้งทีมงาน แพทย์ ทีมผู้ให้คำปรึกษา พยาบาลประจำหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ศูนย์พึ่งได้ จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม ประชุมผู้เกี่ยวข้อง จัดทำระบบการคัดกรอง “การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์” ANC /LR/PP/OPD ห้องตรวจสูติ-นรีเวช

13 แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ)
3) เปิดคลินิกให้บริการที่เป็นมิตร ที่ศูนย์พึ่งได้ 4) สื่อสาร/ประชาสัมพันธ์บริการ จัดประชุมตัวแทนหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ พยาบาลจิตเวช พยาบาลคลินิก ARV พยาบาลหลังคลอด เจ้าหน้าที่ศูนย์พึ่งได้

14 ผู้รับบริการมาเองสังคมสงเคราะห์
OSCC ปรึกษาทางเลือก ผู้รับบริการมาเองสังคมสงเคราะห์ กุมารเวช ประกันสังคม ห้องคลอด (LR) ตัดสินทางเลือก ตั้งครรภ์ต่อ ฝากครรภ์ บ้านพักรอคลอด <12wks เครือข่ายบริการ โทรศัพท์ติดตามผล ANC สูตินรีเวช IPD OPD ยังไม่ตัดสินใจ >12wks ยุติการตั้งครรภ์ ซักประวัติ รับฟังปัญหาไม่ตัดสิน สะท้อนความรู้สึก เสริมศักยภาพ แนะนำด้านสวัสดิการสังคม สูตินรีเวช (ANC) จิตเวช เวชระเบียน ER ARV ประกันสังคม

15 One Stop Crisis Center (OSCC)
Operates Since September 27, 2002 Office : Social Welfare Department

16 การมีลูกด้วยความไม่พร้อมส่งผลต่อปัญหาหลายด้าน

17 ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ผู้หญิงอายุน้อย เลี้ยงดูทารก ทั้งๆ ที่ไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ อารมณ์ และสังคม รวมถึงทักษะการเป็นแม่ ผู้หญิงขาดโอกาสในการศึกษาต่อ และการทำงาน ส่งผลต่อแนวโน้มความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาคุณภาพชีวิตของเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่พร้อม การทำร้ายเด็ก ทอดทิ้งเด็ก

18 กลไกการช่วยเหลือยังมีข้อจำกัด
เรื่องการสอนเพศศึกษาแบบรอบด้าน การให้บริการปรึกษาและคุมกำเนิด ยังมีความครอบคลุมน้อย โดยเฉพาะในวัยรุ่น การยุติการตั้งครรภ์แม้ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของแพทย์สภา ก็ยังมีข้อจำจัดเนื่องจากแพทย์ไม่ต้องการเป็นผู้กระทำ ด้วยไม่แน่ใจในข้อกฎหมาย และขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาและการปฏิบัติมีความยุ่งยากหลายอย่าง

19 ยุติการท้องอย่างปลอดภัย
ความรู้และทัศนคติของแพทย์....??? ทำอย่างถูกวิธี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ถ้าแพทย์มีความรู้สึกขัดแย้ง ในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ศาสนา ส่งต่อไปยังแพทย์หรือหน่วยงานที่มีบริการ

20 ประเทศไทยยุติการตั้งครรภ์ได้ ในกรณีต่อไปนี้
การตั้งท้องเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้หญิง ผู้หญิงมีอาการทางจิตก่อน หรือขณะตั้งท้อง การตั้งท้องเกิดจากการข่มขืน การตั้งท้องโดยที่เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ข้อ 1-3 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และข้อบังคับแพทย์สภา 2548 ข้อ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา

21 เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
มีสมาชิกปัจจุบัน 58 องค์กร เป้าหมายคือ ผู้หญิงและเด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการท้องไม่พร้อมโดยการส่งเสริมพัฒนาการสอนเพศศึกษา และทักษะชีวิต รวมทั้งการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดที่เหมาะสม เสริมพลังให้กับผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมให้คำปรึกษาฯ พัฒนาเครือข่ายการส่งต่อ ให้ความช่วยเหลือทางสุขภาพทางสังคม สร้างความเข้าใจต่อสังคมในประเด็นท้องไม่พร้อม ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

22 การให้คำปรึกษาทางเลือก กับผู้ประสบปัญหา ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

23 รู้จักเข้าใจ..คนท้อง... การตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อตัวผู้ตั้งครรภ์เองโดยตรงและยังมีผลต่อไปยังลูกในครรภ์อีกด้วย * ครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างกัน * การศึกษา/การทำงาน * ค่าใช้จ่าย ปัญหาเศรษฐกิจ * สังคม การดำเนินชีวิตประจำวัน * ภาวะจิตใจ ความกังวล ความกลัว * ปัญหาด้านกฎหมาย

24 สิ่งที่ผู้หญิงต้องการมากที่สุด... ทันทีที่ทราบว่าตนเองท้องไม่พร้อม
ข้อมูลที่จะสามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหา

25 ความทุกข์และอารมณ์ ของคนท้องไม่พร้อม
กลัว วิตกกังวล โกรธเคือง คับแค้นใจ ว้าวุ่นใจ สับสน หวาดระแวง ลงโทษตัวเอง ท้อแท้ในชีวิต หมดกำลังใจ หมดที่พึ่ง ไม่ไว้ใจคนรอบข้างว่าจะคิดอย่างไรกับตนเอง เสียใจ

26 บริการปรึกษาที่ควรได้รับ
บริการปรึกษาที่สามารถรับฟังปัญหาอย่างเป็นมิตร ไม่ซ้ำเติมและให้ข้อมูลรอบด้าน ข้อมูลที่ได้รับ สอดคล้องต่อสถานการณ์และประกอบการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาได้ ข้อมูลที่ได้รับ สอดคล้องต่อเงื่อนไขชีวิตของผู้หญิงแต่ละคน ได้รับการประคับประคองจิตใจเพื่อคลี่คลาย ผ่อนคลาย ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

27 ความเข้าใจ + ความเห็นใจ ความใกล้ชิด + ความไว้วางใจ
การยอมรับ ความใกล้ชิด + ความไว้วางใจ

28 เน้นให้เข้าใจและเผชิญกับปัญหา ภายใต้ข้อมูลทางเลือกที่หลากหลาย ถูกต้อง
สิ่งสำคัญ..ต้องมีความพร้อมที่จะรับผล ที่ตามมาจากการตัดสินใจ ของตนเองได้

29 การให้บริการปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

30 การให้คำปรึกษาสตรีที่ตั้งครรภ์..ไม่พร้อม
สอบถามถึงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น ว่าเขาสามารถ จะทำอะไรได้บ้างกับปัญหานี้ ความต้องการ ตั้งครรภ์ต่อหรือ ยุติการตั้งครรภ์ หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ ควรแนะนำให้ทราบ ทางเลือกที่สามารถทำได้นำหรือส่งต่อการช่วยเหลือไป

31 ทักษะการให้ข้อมูล ให้ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ให้ตัวอย่างการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ แนะนำการวางแผนอย่างเป็นระบบ อธิบายเกี่ยวกับตัวแปรที่เสี่ยงต่างๆ ให้ข้อมูลแหล่งการช่วยเหลือ บอกแหล่งข้อมูล แนะนำหนังสือ การค้นหาเพิ่ม โดยต้องทำเหมือนไม่ใช่คนสั่งสอน

32 การตั้งครรภ์ต่อไป... ควรให้ครอบครัว มีส่วนช่วยเหลือ เห็นใจ และให้กำลังใจ หากยังอยู่ในวัยเรียน ควรสนับสนุนให้มีโอกาสศึกษาต่อ ให้ได้รับการฝากครรภ์อย่างถูกต้อง ดูแลทางด้านอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดในครอบครัว หรือในสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ในพื้นที่ โภชนาการที่เหมาะสม การดูแลตนเองและบุตรในครรภ์ ประเมินปัญหาความเสี่ยงจากการทอดทิ้งเด็กในอนาคต

33 ขั้นตอนสำคัญของการให้คำปรึกษา
การสร้างสัมพันธภาพที่ดี ไม่ตัดสินคุณค่าของผู้หญิงในทางลบ การสำรวจปัญหา พัฒนามุมมองและทัศนคติต่อตัวผู้หญิงและ โครงสร้างทางสังคม การประคับประคองจิตใจวางแผนแก้ไขปัญหา มองปัญหาท้องไม่พร้อม อย่างเข้าใจโดยตระหนักถึงสังคม ครอบครัว ที่หล่อหลอมระบบความคิดต่างๆ การแก้ปัญหากระตุ้นให้มองหาทางเลือกให้ข้อมูลประกอบ ข้อดีข้อเสีย การให้เขาตัดสินใจอย่างเป็นกลาง เสริมศักยภาพในการใคร่ครวญปัญหาตนเอง ฟื้นฟูการเห็นคุณค่าของตนเองกลับคืนมา... ยุติการช่วยเหลือ

34 ผู้ให้คำปรึกษา..เป็นบุคคลสำคัญ
ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเอื้ออำนวยให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ใช้ศักยภาพใคร่ครวญปัญหาของตนเองอย่างถ่องแท้และเข้าใจ มีความสามารถในการใช้ทักษะต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อที่จะสรุปแนวทางการตัดสินใจที่ถูกต้องสามารถให้ผู้หญิงที่ประสบกับปัญหาสามารถแก้ไขปัญหาตนเองได้ต่อไป มีความเข้าใจต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ใช้องค์ความรู้ มากกว่าความรู้สึก

35 การให้คำปรึกษามีเพศสัมพันธ์แล้ว กังวลว่าจะตั้งครรภ์
ควรให้ความรู้และทำความเข้าใจเรื่องการตั้งครรภ์ว่าขึ้นอยู่กับการตก ไข่และช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ กรณีมีเพศสัมพันธ์ ในช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัย ก็จะมีภาวะความกังวล ภายใต้การรอคอยว่า ท้องหรือไม่ท้อง ต้องช่วยเหลือด้านจิตใจและให้คำแนะนำเพื่อดูแลจิตใจตัวเอง กรณีที่ผู้รับบริการมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ชัดเจน ประเมินผลกระทบด้านจิตใจ ส่งต่อหรือแนะนำบริการ

36 การเปิดเผยหรือยอมรับผล การตั้งครรภ์
เมื่อผลตรวจว่าพบว่า เกิดตั้งท้อง สำรวจความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่อการตั้งครรภ์ ผลกระทบที่ตามมาต่างๆ การเตรียมความพร้อมในการเปิดเผย ต่อพ่อ/แม่หรือคนในครอบครัว เสริมทักษะการรับมือต่อปฏิกิริยาของผู้รับทราบผลการตั้งครรภ์ ให้กำลังใจให้สติ อย่าตกใจเกินไป แต่ก็ไม่ควรให้ปล่อยเวลาโดยไม่รู้จะทำอย่างไร อายุครรภ์เป็นตัวสำคัญในการกำหนดทางเลือก ให้คำปรึกษาทางเลือก

37 ความต้องการ การช่วยเหลือ
กรณีตั้งครรภ์ต่อ : เปลี่ยนใจ/จำใจ ต้องการความช่วยเหลือ/สนับสนุน ดังนี้ ค่าอุปโภค บริโภค เช่น นมผง เสื้อผ้า ของใช้เด็ก การสงเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ เช่น เงินช่วยเหลือเฉพาะหน้า บ้านพักระหว่างการตั้งครรภ์และรอคลอด ต้องการฝากบุตรเลี้ยงชั่วคราวหลังคลอด ต้องการยกบุตรให้อยู่ในความอุปการะของรัฐ หรือผู้อื่น ต้องการให้ช่วยเหลือทางกฎหมายให้ผู้ชายรับผิดชอบเด็ก

38 การมีความต้องการ..ยุติการตั้งครรภ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ทำได้ในกรณีใดบ้าง การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทำได้ควรอายุครรภ์ไม่เกิน 12 wk อายุครรภ์ตั้งแต่ wk สามารถทำได้แต่มีโอกาสเกิดอันตราย การยุติการตั้งครรภ์ต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ ผู้รับริการต้องเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ก่อน ช่วยให้ทบทวนความต้องการอย่างถ่องแท้ของตนเอง มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นซึ่งต้องรับผิดชอบเอง

39 ยุติการตั้งครรภ์ทำได้ในกรณีใดบ้าง
ข้อบังคับของแพทย์สภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548 1. กรณีหญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพกาย 2. กรณีหญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพจิต จะต้องได้รับการ รับรองจากแพทย์ที่มิใช่ผู้ทำงานยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อย หนึ่งคน *** ทั้งนี้ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน และ ต้องมีการบันทึกการตรวจและวินิจฉัยโรคไว้ในเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน ***

40 ยุติการตั้งครรภ์ทำได้ในกรณีใดบ้าง
3. เมื่อทารกในครรภ์มีความพิการอย่างรุนแรง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่รุนแรง และหญิงนั้นมีความเครียดซึ่งรับรองโดยสูตินรีแพทย์หรือแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ให้ถือว่าหญิงตั้งครรภ์นั้นมีปัญหาสุขภาพจิต 4. กรณีถูกข่มขืน ต้องมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงอันควรเชื่อว่ามีครรภ์เนื่องจากการถูกข่มขืน(อาจมีใบแจ้งความหรือไม่ตามความจำเป็น) กรณีถูกข่มขืนลูกที่เกิดมาจะเป็นตราบาป และตอกย้ำความรู้สึกจำเป็นต้องให้คำปรึกษา และดูแลพิเศษระหว่างการตั้งท้อง

41 ข้อจำกัดของผู้หญิงที่มีปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ทางเลือกคือการยุติการตั้งครรภ์ - บริการที่ปลอดภัยมีจำกัด ประกอบกับสังคมมักตีตราในทางลบทำ ให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องแสวงหาทางออกที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทางเลือกในการตั้งครรภ์ต่อไป - ความช่วยเหลือทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ในระยะยาวกลับ มีไม่เพียงพอ ที่จะเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

42 ความพร้อมของระบบรองรับ? ความพร้อมของแม่เลี้ยงเดี่ยว
เยียวยาสภาพจิตใจ เด็กและสตรีที่ท้องไม่พร้อม ปรึกษาทางเลือก ดูแลเป็นพิเศษ ยุติการท้อง ท้องต่อ ยกเป็นบุตรบุญธรรม ดูแลเอง การยุติที่ปลอดภัย ความพร้อมของระบบรองรับ? ความพร้อมของแม่เลี้ยงเดี่ยว

43 วงจรชีวิตของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
ก่อนท้อง เพศศึกษาและการคุมกำเนิด เป้าหมาย: คุณภาพชีวิตผู้หญิง คุณภาพชีวิตเด็ก ท้องไม่พร้อม การปรึกษาทางเลือก ท้องต่อ ยุติการท้อง บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด บริการยุติที่ปลอดภัย ยกเป็นบุตรบุญธรรม ดูแลเอง การอุปการะเด็ก ครอบครัวทดแทน ช่วยเลี้ยงเด็กอ่อน สังคมสงเคราะห์ สนับสนุนอาชีพ กลุ่มสนับสนุน ปรึกษา ทุนการศึกษา การปรึกษาหลังยุติการท้อง

44 ประเด็นคุณภาพ ให้ความช่วยเหลือโดยคำนึงถึงความสะดวก ปลอดภัย ผ่อนคลาย
ไว้วางใจและรักษาความลับผู้ป่วยและครอบครัว

45 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt การจัดบริการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google