งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Wireless Network เครือข่ายไร้สาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Wireless Network เครือข่ายไร้สาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
ความรู้พื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประวิทย์ พิมพิศาล

2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร? คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก(Microcontroller) ในยุคแรกมีการทำงานแบบ Stand Alone คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลางและสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Sneakernet ก่อนที่จะมีระบบเครือข่าย ถ้าต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะต้องใช้วิธีการเดินส่งเอกสาร ต้องแปลงเอกสารเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เช่น การพิมพ์ การสแกน เริ่มมีการใช้แผ่นดิสก์แทนเอกสาร คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลได้เลย ยุคเดินส่งเอกสารเรียกว่า Sneakernet เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำมาก

4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทำไมต้องสร้างเครือข่าย? การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ทดิส ลิงก์ต่อเข้าอินเตอร์เน็ต ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ การแชร์เอกสาร เช่นบันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่างๆ ใบส่งของ บัญชีต่างๆ สามารถใช้ ในการติดต่อผู้อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว สามารถสนทนาผ่านเครือข่าย การประชุมระยะไกล (Videoconference) การแชร์ไฟล์ต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ เพลง การแชร์ซอฟแวร์ต่างๆ

5 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ เน็ทเวิร์คการ์ด (NIC – Network Interface Card) สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูล โปรโตคอล (Protocol) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS – Network Operation System)

6 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย – คอมพิวเตอร์
Computer ระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องติดต่อกัน ไม่จำเป็นต้องแพลทฟอร์มเดียวกัน (Cross Platform) ต้องมีจุดเชื่อมต่อกับเครือข่าย มีระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่าย ประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน เครื่องลูกข่ายไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาก เครื่อง Server ต้องใช้ทรัพยากรสูง

7 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - เน็ตเวิร์คการ์ด
NIC (Network Interface Card) คือจุดเชื่องต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นรูปแบบสัญญาณที่ส่งไปตามสื่อรูปแบบต่างๆ โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า การ์ดแลน (LAN Card) ชนิดของการ์ดแลนขึ้นอยู่กับสื่อที่เชื่อมต่อ เช่น PCI แบบพอร์ท RJ-45 USB แบบพอร์ท RJ-45 USB Wireless LAN Fiber Optic LAN

8 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - สายสัญญาณ
สายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณในยุคแรกของระบบเครือข่าย (ปัจจุบันยังมีใช้มีใช้งานอยู่) มีแกนกลางเป็นทองแดง ถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก ชั้นต่อมาเป็นเส้นใยโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นฉนวนป้องกันสายสัญญาณ มีหัวเชื่อมต่อ (Connector) แบบ BNC ลักษณะคล้ายสายอากาศทีวี

9 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - สายสัญญาณ
สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) สายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน เป็นสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นบิดเป็นเกลียว บิดเป็นเกลียวเพื่อลดทอนสัญญาณรบกวน ถ้าใช้กับงานโทรศัพท์จะเป็นสาย 2 คู่ ใช้คู่กับหัว RJ-11 งานด้านเครือข่ายใช้สาย 4 คู่ มี 2 แบบ คือ UTP (Unshielded Twisted Pairs) STP (Shielded Twisted Pairs) มาตรฐานสายในปัจจุบันใช้ CAT5 และ CAT5e

10 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - สายสัญญาณ
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สายที่รับส่งข้อมูลด้วยสัญญาณแสง ไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถรับส่งข้อมูลในอัตราที่สูงและระยะไกล ส่วนประกอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ Core เป็นท่อแก้ว หรือพลาสติกใส ขนาดประมาณเส้นผม Cladding ป้องกันแสงภายในแกนกลางไม่ให้สูญเสียพลังแสง Coating หุ้มป้องกันการกระแทกเสียหาย

11 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - อุปกรณ์เครือข่าย
Switch ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อกระจายข้อมูลไปยังเครื่องต่างๆ ทำงานใน Layer 2 จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ทที่มาการใช้งาน Switch แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Managed Switch สามารถปรับแต่งความสามารถได้ Unmanaged Switch สามารถเสียบใช้งานได้เลย

12 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - อุปกรณ์เครือข่าย
Router ทำหน้าที่ในการค้นหาและเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลในเครือข่าย ทำงานใน Layer 3 เชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน และสามารถเชื่อมต่อระยะไกลได้ (WAN) เครือข่าย Internet ประกอบด้วย Router จำนวนมากมายเชื่อมต่อกันอยู่ มีซอฟแวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงาน คือ IOS (Internetwork Operating System)

13 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - อุปกรณ์เครือข่าย
ADSL Modem เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผ่านสายโทรศัพท์ แปลงสัญญาณระหว่าง Digital และ Analog ใช้เชื่อมต่อกับ Broadband Internet ผ่านผู้ให้บริการ ADSL

14 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - อุปกรณ์เครือข่าย
Splitter ใช้กับระบบ ADSL เพื่อแยกสัญญาณที่สายโทรศัพท์ออกเป็น ย่านที่ใช้กับโทรศัพท์ (0-4 kHz) และย่าน ADSL (30 kHz - 1.1MHz) ทำให้สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ทไปพร้อมกับโทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้ มีช่องสัญญาณ 3 ช่องคือ Line ช่องสัญญาณเข้า Phone แยกออกไปต่อโทรศัพท์ Modem แยกออกไปต่อ ADSL Modem

15 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - อุปกรณ์เครือข่าย
Wireless Router เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาความสามารถหลายๆอุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน เช่น Wireless ADSL Modem Router Wireless Router

16 องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย - โปรโตคอล
Protocol คือมาตรฐานที่ใช้สื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ คือภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน การสื่อสารกันของคอมพิวเตอร์ต้องใช้ภาษาเดียวกัน โปรโตคอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ TCP/IP TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่ใช้กับระบบ Internet

17 ประเภทของเครือข่าย สามารถจำแนกออกได้ตามขนาดทางกายภาพของเครือข่าย ดังนี้ LAN (Local Area Network) เครือข่ายท้องถิ่น MAN (Metropolitan Area Network) เครือข่ายเมือง (ปัจจุบันถูกรวมเข้ากับ WAN) WAN (Wide Area Network) เครือข่ายบริเวณกว้าง WAN MAN LAN

18 ประเภทของเครือข่าย - ตามขนาดกายภาพ
LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป อาจเป็นเครือข่ายอย่างง่ายที่มีเพียงแค่ 2 เครื่อง ไปจนถึง ซับซ้อนที่มีเป็นพันเครื่อง เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่อย่างจำกัด เทคโนโลยีเครือข่ายมีหลายประเภท เช่น Ethernet Token Ring ATM Ethernet เป็นเทคโนโลยีแลนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

19 ประเภทของเครือข่าย - ตามขนาดกายภาพ
LAN (Local Area Network) - Ethernet ใช้โปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) คอยควบคุมการส่งข้อมูลไม่ให้ชนกัน จะต้องหยุดส่งและส่งใหม่หากมีการชนกันเกิดขึ้น มาตรฐานการส่งข้อมูลของ Ethernet ได้แก่ Ethernet ความเร็ว 10 Mbps Fast Ethernet ความเร็ว 100 Mbps Gigabit Ethernet ความเร็ว 1,000 Mbps 10G Ethernet ความเร็ว 10,000 Mbps

20 ประเภทของเครือข่าย - ตามขนาดกายภาพ
LAN (Local Area Network) – Token Ring เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ข้อดีคือการส่งข้อมูลไม่เกิดการชนกัน ข้อเสียคือปัญหาการบริหารจัดการ และการขยายเครือข่ายที่ค่อนข้างยาก ถูกใช้กับระบบเครือข่ายในยุคแรก ปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ล้าสมัย

21 ประเภทของเครือข่าย - ตามขนาดกายภาพ
LAN (Local Area Network) – ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่รวมเอาบริการต่างๆ เช่น ข้อมูลเสียง วีดีโอเข้าไว้ด้วยกัน แล้วส่งเป็น cell ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับ Bandwidth ตั้งแต่ Mbps ไปจนถึง Gbps ปัจจุบันการใช้งานยังไม่นิยมเท่ากับ Ethernet เนื่องจากลักษณะของเฟรมข้อมูลที่แตกต่างกันมาก และการใช้งาน Ethernet ที่มีอยู่จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการเชื่อมต่อระหว่างกัน

22 ประเภทของเครือข่าย - ตามขนาดกายภาพ
WAN (Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นการเชื่อมต่อภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้กระทั่งการเชื่อต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยี WAN เช่น Remote Access, Leased Line, ISDN, ADSL, Frame Relay ระบบดาวเทียม

23 เครือข่ายในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ทความเร็วสูงที่ให้บริการทั่วไปในประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ Fiber Optic ระยะส่งไกลและมีความเร็วสูงที่สุด ไม่มีผลต่อสัญญาณรบกวนด้านไฟฟ้า สามารถใช้บริการได้ทั้ง โทรศัพท์ Cable TV และ Internet ได้ในสายสัญญาณเดียว Docsis เป็น Internet ผ่านสาย Coaxial ซึ่งมีความทนทานและรองรับความเร็วสูง แต่ระยะบริการสั้น สามารถให้บริการ Cableได้ทั้ง โทรศัพท์ Cable TV และ Internet ได้ในสายสัญญาณเดียว ADSL เป็น Broadband Internet ที่ให้บริการผ่านสายโทรศัพท์ มีระยะส่งไกลสูงสุดที่ 5 Km และเป็นเครือข่ายที่ขยายต่อเพิ่มเติมได้ง่าย ความเร็ว Download สูงสุดทำได้ที่ 25 Mbps VDSL เทคโนโลยีเดียวกับ ADSL ที่ลดระยะให้สั้นลง แต่เพิ่มความเร็วให้มากกว่าเดิมหลายเท่า

24 เครือข่ายในปัจจุบัน ตัวอย่างเครือข่ายองค์กรขนาดเล็ก

25 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
โปรโตคอล (Protocol) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณเป็นสิ่งที่ง่ายของการสร้างเครือข่าย หากแต่สิ่งที่ท้าทายคือ การสร้างมาตรฐานให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โปรโตคอล คือ กฎ ขั้นตอน และรูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โปรโตคอลของเครือข่ายอาจเรียกว่า สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) เพราะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก ทำให้ยากต่อการออกแบบโดยคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว การออกแบบโปรโตคอล ถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ (Layer) โดยที่แต่ละชั้นจะมีการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยชั้นที่อยู่ต่ำกว่าจะทำหน้าที่ให้บริการ (Service) กับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดยที่ชั้นสูงกว่าไม่จำเป็นต้องรู้ชั้นต่ำกว่ามีวิธีการให้บริการอย่างไร รู้เพียงแค่ว่าชั้นต่ำกว่ามีบริการอะไรบ้างก็พียงพอแล้ว

26 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer OSI (Open System Intercorrect) ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การมาตรฐานนานาชาติ (The International Organization for Standardization - ISO) ซึ่งเป็นโปรโตคอลการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเปิด เพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตด้วยบริษัทต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ถูกเรียกว่า แบบอ้างอิง OSI เพราะเป็นโปรโตคอลแบบอ้างอิงเพื่อใช้สำหรับพัฒนาโปรโตคอลอื่นๆ สามารถใช้อธิบายกลไกการทำงานของโปรโตคอลในเครือข่ายได้ OSI จะแบ่งการทำงานออกเป็น 7 ชั้น (Layer) ที่ได้ยึดหลักการทำงานของการสื่อสารทั่วไป

27 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer ข้อความถูกบรรจุในซอง และจ่าหน้าซองด้วยที่อยู่ผู้รับและผู้ส่ง หย่อนซองจดหมายลงตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งต่อ ใช้ระบบขนส่งทั่วไปในการขนย้ายจดหมาย จดหมายถูกส่งต่อตามที่อยู่ที่จ่าไว้หน้าซอง

28 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer

29 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ในเครือข่าย จะเริ่มจากผู้ส่ง ส่งข้อมูลผ่านไปยังเลเยอร์ที่ 7 ซึ่งจะถูกดัดแปลงและใส่ข้อมูลบางอย่างลงไปแล้วถูกส่งต่อไปยังเลเยอร์ที่อยู่ต่ำลงมา และทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนถึงเลเยอร์ที่อยู่ต่ำสุด ในชั้นนี้ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณเพื่อส่งไปตามสายสัญญาณหรือตามสื่อไร้สายที่เชื่อมกันไปจนถึงเครื่องผู้รับ และในกระบวนการรับก็จะทำตรงกันข้ามกับเครื่องที่ส่ง การทำงานในแต่ละเลเยอร์จะเป็นในรูปแบบที่ว่า แต่ละเลเยอร์จะคอยให้บริการ (Service) ให้กับเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่าและติดกัน การจัดเรียงเป็นชั้นๆเพื่อการไหลของข้อมูลจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ คือถ้าเป็นเครื่องส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งลงมายังชั้นที่ต่ำลงมา แต่ถ้าเป็นเครื่องรับข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งจากล่างขึ้นบน

30 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer ในแต่ละชั้นจะเพิ่มข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา เรียกว่า Header ซึ่งจะถูกนำไปใช้และเข้าใจเฉพาะโปรโตคอลที่อยู่ระดับเดียวกันเท่านั้น ในส่วนของผู้ส่งจะบรรจุ Header ของแต่ละชั้นลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงชั้นล่างสุด ในส่วนของผู้รับแปลความหมายแล้วนำ Header ออก ก่อนจะส่งขึ้นไปชั้นถัดไป เพิ่มส่วนที่เรียกว่า Trailer ใน Data Link Layer เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

31 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer A B ประกอบ Header ถอด Header Switch Router Port Mac Address s:A , d:B 25 (SMTP) Data Mail

32 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Protocol OSI Reference Model OSI Protocols 7 Application DNS, P2P, , POP3, Telnet, FTP 6 Presentation Presentation Service, DOCX, JPEG, MP3, MP4, AVI 5 Session Socket, Session Service, Session Protocol 4 Transport TCP, UDP, SCTP, SSL, TLS 3 Network IP, IPsec, ICMP, IGMP, OSPF 2 Data Link IEEE802.2, IEEE802.3, IEEE802.11 1 Physical IEEE802.x Hardware

33 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Application Layer ไม่ได้ถูกรวมเข้ากับ Application ของผู้ใช้ แต่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง Application ของผู้ใช้กับกระบวนการสื่อสารผ่านเครือข่าย ทำตามคำสั่งที่ได้รับจากโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างโปรโตคอลในชั้นนี้ เช่น HTTP, FTP, POP3

34 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Presentation Layer กำหนดรูปแบบของข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอาจมีการเข้ารหัสข้อมูล(Encoding) ที่ต่างกัน เช่นบางเครื่องเข้ารหัสแบบ ASCII และบางเครื่องเข้ารหัสแบบ EBCDIC จึงจำเป็นต้องแปลงให้เป็นมาตรฐานกลาง ตัวอย่างรูปแบบในชั้นนี้เช่น ASCII, EDCDI, Binary, JPEG, MP3, MP4 รวมถึงการเข้ารหัส (Encryption)

35 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Session Layer ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End คอยควบคุมช่องทางการสื่อสารกรณีที่มีหลายๆโปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆกันบนเครื่องเดียวกัน ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะในการรับส่งของทั้งสองฝั่งให้มีความสอดคล้องกัน (Synchronization) และกำหนดวิธีที่ใช้ในการส่งข้อมูล เช่น สลับกันส่ง (Half Duplex) หรือส่งพร้อมกันทั้งสองด้าน (Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งจะอยู่บนรูปแบบของประโยคข้อความที่ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างผู้รับและผู้ส่ง (Dialog) เป็นชั้นที่บอกว่าสามารถเข้าถึง Application ได้หรือไม่ ตัวอย่าง Protocol ในชั้นนี้เช่น RPC, SQL, Socket, Windows Socket

36 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Transport Layer รับผิดชอบการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างโปรเซสของผู้รับและโปรเซสของผู้ส่ง ตรวจเช็ค Packet ที่ถูกละทิ้งโดยเร้าเตอร์ และส่งข้อมูลออกไปใหม่ จัดเรียง Packet ข้อมูลให้เป็นไปตามลำดับ เนื่องจาก Packet ข้อมูลอาจจะส่งมาอย่างไม่เป็นลำดับ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ Packet ดินทางมาคนละเส้นทาง หน่วยของข้อมูลในชั้นนี้เรียกว่า Segment ทำหน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปยังเครื่องปลายทางและได้รับข้อมูลถูกต้องเรียบร้อยแล้ว (TCP) ตัวอย่าง Protocol ในชั้นนี้เช่น TCP, UDP

37 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Network Layer รับผิดชอบในการจัดการเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ เป็นการส่งแพกเก็ตจากเครื่องต้นทางไปถึงเครื่องปลายด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (Best Effort Delivery) กำหนดให้ใช้ Logical Address เพื่อบ่งบอกตัวตน ที่ได้รับความนิยมคือ IP Address โดยทั่วไปแล้วชั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ทแวร์ในระบบเครือข่าย ได้แก่ Router Protocol ที่ทำงานในชั้นนี้จะไม่รู้ว่า Packet ที่ถูกส่งไปนั้น ถึงผู้รับหรือไม่ หน่วยของข้อมูลในชั้นนี้เรียกว่า Packet ตัวอย่าง Protocol ในชั้นนี้เช่น IP, IPX, Apple Talk

38 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Data Link Layer รับผิดชอบในการรับส่งข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย ในส่วนของสถานีจัดส่งข้อมูล จะแบ่งข้อมูลออกเป็น Frame และแต่ละเฟรมเพิ่มชุดข้อมูลพิเศษ (Trailer)เพื่อใช้ตรวจสอบความผิดพลาดในการรับส่ง การส่งข้อมูลในชั้นนี้จะสำเร็จได้ต้องประกอบไปด้วย สถานีรับได้เฟรมแล้วตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วแจ้งไปกลับไปยังสถานีส่ง สถานีส่งได้รับการตอบรับ ว่า ได้รับเฟรมถูกต้องแล้ว (Acknowledge) แต่ละอุปกรณ์ Network จะมีหมายเลข MAC Address ซึ่งเป็นค่าที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในชั้นนี้จะอ้างอิงถึงตัวอุปกรณ์ผ่าน MAC Address

39 สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Architecture)
OSI Layer – Physical Layer คือคุณสมบัติทางกายภาพของ Hardware ที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะรับผิดชอบการส่งข้อมูลที่เป็นบิต (0 กับ 1) ส่ง Frame ข้อมูลที่ได้จาก layer 2 เรียงออกไปทีละบิต และฝั่งรับจะรับทีละบิตแล้วส่งต่อไปให้ layer 2 เพื่อประมวลผล ในชั้นนี้จะไม่สนใจความหมายของข้อมูลที่ส่ง

40


ดาวน์โหลด ppt Wireless Network เครือข่ายไร้สาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google